ALLY BAG” กระเป๋าหน้าสัตว์สุดฮิต ขวัญใจเซเลบริตี้ทั่วโลก!
“ALLY BAG” กระเป๋าหน้าสัตว์สุดฮิต ขวัญใจเซเลบริตี้ทั่วโลก! ถ้าพูดถึงกระเป๋าที่กำลังเป็นกระแสแรงในหมู่เซเลบริตี้และคนดังทั่วโลก “ALLY BAG” คือตัวท็อปที่ต้องพูดถึง! ด้วยดีไซน์สุดล้ำที่นำ ใบหน้าของสัตว์เลี้ยงแสนรัก มาสร้างเป็นกระเป๋าสุดเก๋ ทำให้กลายเป็นไอเท็มที่ทั้งแปลกใหม่และมีสไตล์ไม่ซ้ำใคร ไอเดียสุดครีเอทีฟ! กระเป๋าที่สะท้อนตัวตนเจ้าของ “ALLY BAG” ไม่ใช่แค่กระเป๋าธรรมดา แต่คือ "Personalized Luxury Bag" ที่ให้เจ้าของสามารถออกแบบกระเป๋าในแบบของตัวเอง โดยใช้ใบหน้าของสัตว์เลี้ยงแสนรักเป็นลวดลายหลัก ทำให้แต่ละใบมีเพียงใบเดียวในโลก! ทำไม “ALLY BAG” ถึงดังเปรี้ยง? ดีไซน์เก๋ ไม่ซ้ำใคร – กระเป๋าทุกใบถูกออกแบบให้สะท้อนเอกลักษณ์ของสัตว์เลี้ยงเจ้าของ วัตถุดิบพรีเมียม – ใช้วัสดุคุณภาพสูง งานตัดเย็บระดับหรู ขวัญใจเซเลบ! – ดาราและอินฟลูเอนเซอร์ชั้นนำ ต่างถือกระเป๋าออกงานหรือโพสต์ลงโซเชียลแบบรัว ๆ ตอบโจทย์คนรักสัตว์ – เป็นมากกว่ากระเป๋า แต่เป็นสัญลักษณ์ของความรักที่มีต่อสัตว์เลี้ยง จากไอเดียเล็ก ๆ สู่แบรนด์กระเป๋าสุดฮิตระดับโลก จากจุดเริ่มต้นของนักออกแบบที่รักสัตว์ ALLY BAG กลายเป็นแบรนด์ที่ครองใจคนทั่วโลก ด้วยแนวคิดที่ไม่เหมือนใคร และการตลาดที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างแม่นยำ โดยเฉพาะในยุคที่ผู้คนให้ความสำคัญกับสินค้า custom-made มากขึ้น เทรนด์ใหม่! กระเป๋าแบบ "เฉพาะฉัน" กำลังมาแรง! ใครอยากมีไอเท็มที่แสดงถึงตัวตน ต้องไม่พลาด ALLY BAG ________________________________________ . ติดตามข่าวสารและโครงการดี ๆ จาก DIPROM CENTER 7 ได้ที่นี่! •Facebook : www.facebook.com/dipromcenter7 •YouTube : https://www.youtube.com/@DIPROMCenter7 •Website : ipc7.dip.go.th/th •Call Center : 045 214 316 . #DIPROMCENTER7 #ดีพร้อมคอมมูนิตี้ #ผู้ประกอบการ #DIPROM #ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่7 #กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม #กระทรวงอุตสาหกรรม #อุบลราชธานี #อำนาจเจริญ #ยโสธร #ศรีสะเกษกันเอง
26 มี.ค. 2025
AI กับบทบาทสำคัญในหลากหลายอุตสาหกรรม
AI กับบทบาทสำคัญในหลากหลายอุตสาหกรรม ปัจจุบัน AI หรือปัญญาประดิษฐ์เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิต รวมถึงการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีเป็นหลัก โดยมีการประยุกต์ใช้งานในด้านต่าง ๆ ดังนี้: . 1. อุตสาหกรรมการผลิต AI ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต ตั้งแต่การทำงานของเครื่องจักร การจัดการสินค้า และการขนส่ง ช่วยประหยัดเวลาและลดต้นทุน 2. อุตสาหกรรมยานยนต์ AI ถูกใช้ในระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติ การสั่งการด้วยเสียง และการวิเคราะห์เส้นทาง รวมถึงช่วยลดความผิดพลาดในกระบวนการผลิตด้วยหุ่นยนต์ 3. อุตสาหกรรมโลจิสติกส์และการขนส่ง AI วิเคราะห์เส้นทางและจราจร ช่วยเพิ่มความรวดเร็วและความปลอดภัยของการขนส่ง รวมถึงการคาดการณ์ออเดอร์เพื่อปรับแผนการจัดส่ง 4. การแพทย์และการผ่าตัด หุ่นยนต์ AI ช่วยในการผ่าตัดอย่างแม่นยำ วิเคราะห์ข้อมูลจากเวชระเบียน และช่วยแพทย์วินิจฉัยโรค 5. ธุรกิจโทรคมนาคม แชตบอต (Chatbot) ช่วยตอบคำถามและให้บริการลูกค้าอัตโนมัติ เพิ่มความสะดวกและลดต้นทุนการดำเนินงาน 6. อุตสาหกรรมการเกษตร AI สนับสนุนระบบเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farm) วิเคราะห์ดิน พื้นที่เพาะปลูก และตรวจคุณภาพผลผลิต เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพ 7. ธุรกิจออนไลน์ AI วิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้า วางแผนการตลาด และใช้แชตบอตตอบสนองความต้องการลูกค้าแบบเรียลไทม์ 8. การเงินและการธนาคาร AI วิเคราะห์ข้อมูลการยื่นกู้ ประเมินความเสี่ยง และป้องกันการทุจริต เพิ่มความแม่นยำในการบริการ 9. กรมธรรม์และประกันภัย AI ช่วยวิเคราะห์ประวัติสุขภาพผู้ถือกรมธรรม์ ประเมินเงินประกันอย่างแม่นยำ และลดต้นทุนการดำเนินงาน AI ได้เข้ามาช่วยยกระดับศักยภาพของหลากหลายอุตสาหกรรม ทั้งในด้านความแม่นยำ ประสิทธิภาพ และการลดต้นทุน ทำให้อุตสาหกรรมเหล่านี้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ดียิ่งขึ้น และพร้อมที่จะก้าวสู่อนาคตที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีอย่างแท้จริง . ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ Facebook : www.facebook.com/dipromcenter7 Youtube : https://www.youtube.com/@DIPROMCenter7 Website : ipc7.dip.go.th/th Call Center : 045 214 316 ข้อมูลจาก : sme.krungthai.com/ #DIPROMCENTER7 #DIPROM #ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่7 #กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม #กระทรวงอุตสาหกรรม #อุบลราชธานี #อำนาจเจริญ #ยโสธร #ศรีสะเกษ
15 ม.ค. 2025
นักวิทยาศาสตร์ค้นพบ “แบคทีเรีย” กินพลาสติก ย่อยสลายพลาสติกได้ใน 3 วัน
นักวิทยาศาสตร์ค้นพบ “แบคทีเรีย” กินพลาสติก ย่อยสลายพลาสติกได้ใน 3 วัน ในปัจจุบันมีขยะพลาสติกเป็นกว่า 8,000 ล้านตัน ถูกทิ้งลงสู่มหาสมุทรของโลกทุกๆ ปี พลาสติกเหล่านี้ต้องใช้เวลาย่อยสลายตัวเองนานถึง 400 ปี ซึ่งจากวิกฤตสิ่งแวดล้อมโลกที่มนุษย์ทุกคนเผชิญกันอยู่ตอนนี้ เรารอไม่ได้ถึง 400 ปี แต่วันนี้ เรามีข่าวดีที่เรียกได้ว่าเป็นความหวังของโลกในรอบทศวรรษนี้ก็ว่าได้ เมื่อทีมนักวิทยาศาสตร์จาก University of Portsmount สหราชอาณาจักร นำทีมโดย ศาสตราจารย์จอห์น แมคกีฮาน และนักวิทยาศาสตร์จากห้องปฏิบัติการพลังงานหมุนเวียนแห่งกระทรวงพลังงานสหรัฐอเมริกาประสบความสำเร็จในการศึกษาวิจัยจนค้นพบ เอนไซม์กินพลาสติก ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเอนไซม์นี้เป็นสารอินทรีย์ประเภทโปรตีนที่มีอยู่ในพืชและสัตว์ ช่วยเร่งปฏิกิริยาเคมีในการย่อยอาหารและการเผาผลาญ จากเดิมต้องรอถึง 400 ปี กว่าพลาสติกจะสามารถย่อยสลายตัวเองไปจากโลกนี้ เหลือเพียง 2-3 วันเท่านั้นโดยวิธีที่ทีมนักวิจัยใช้ คือดึงเอนไซม์ตัวนั้นออกมาจากแบคทีเรียและเพาะเลี้ยงมันในห้องแล็บ จากนั้นใช้โครงสร้างของเอนไซม์ PETase มาออกแบบโปรตีนกลายพันธุ์และยกระดับความสามารถให้มันย่อยสลายพลาสติกได้เร็วแบบทำลายล้าง และผลก็ออกมาเป็นที่น่าพอใจ คือ เอนไซม์ที่ว่านี้ใช้เวลากินพลาสติกแค่ไม่เกิน 3 วันเท่านั้น ซึ่งเชื้อแบคทีเรียนี้ มีชื่อว่า ไอดีโอเนลลา ซากาอิเอนซิส (Ideonella sakaiensis) ซึ่งเป็นแบคทีเรียจากธรรมชาติที่ค้นพบในประเทศญี่ปุ่นเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา จากนั้นทีมวิจัยได้สร้างแบบจำลอง 3 มิติความละเอียดสูงของ นักวิทยาศาสตร์พบว่าเอนไซม์เกิดการกลายพันธุ์ และสามารถกัดกินรวมถึงย่อยพลาสติกชนิด polyethylene terephthalate หรือ “เพ็ท” (PET) ซึ่งเป็นสารสำคัญที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในการทำขวดพลาสติกทั่วไป ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่Facebook : www.facebook.com/dipromcenter7Youtube : https://www.youtube.com/@DIPROMCenter7Website : ipc7.dip.go.th/thCall Center : 045 214 316 ข้อมูลจาก : : https://www.salika.co/2018/04/24/enzyme-destroy-plastic-waste/ภาพจาก : https://baboonhub.com/bacteria-culture-to-eat-plastic/ #DIPROMCENTER7 #DIPROM #ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่7 #กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม #กระทรวงอุตสาหกรรม #อุบลราชธานี #อำนาจเจริญ #ยโสธร #ศรีสะเกษ
12 ธ.ค. 2024
MyVitalab เปิดโมเดลสุดเจ๋ง ขายอาหารเสริมแบบ Subscription ตอบโจทย์ลูกค้ายุคใหม่ ใส่ใจสุขภาพ
ช่วงที่ยังอายุน้อยกว่านี้ นาบิฮา ไอมี หญิงสาวชาวมาเลเซียซึ่งทำงานในสายโลจิสติกส์เคยเคลือบแคลงใจเกี่ยวกับคุณประโยชน์ของวิตามินและอาหารเสริม เธอไม่ให้ความสนใจในผลิตภัณฑ์เหล่านี้จนกระทั่งวันหนึ่งเมื่อผลตรวจสุขภาพบ่งชี้ว่าร่างกายเธอขาดวิตามิน นาบิฮาจึงเริ่มดูแลตัวเองด้วยการหาซื้ออาหารเสริมมารับประทาน แต่ปัญหาหนึ่งที่ประสบคือการต้องซื้อเป็นกระปุก หากรับประทานหลายชนิดก็ต้องซื้อหลายกระปุก และเมื่อต้องพกพาไปรับประทานระหว่างเดินทาง ก็ไม่สะดวกเอาเสียเลย ทำให้การรับประทานอาหารเสริมไม่สม่ำเสมอและขาดตอน นาบิฮาพบว่าปัญหานี้หลายคนก็ประสบเช่นกันโดยเฉพาะผู้สูงวัยในบ้านที่หลายครั้งหลงลืมทำให้การรับประทานอาหารเสริมไม่ต่อเนื่อง จากปัญหาตรงนี้ทำให้นาบิฮาคิดทำธุรกิจบริการอาหารเสริมในรูปแบบที่อำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าที่สุด ไอเดียธุรกิจผุดขึ้นช่วงต้นปี 2563 ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มเกิดการระบาดของโควิด-19 ระหว่างที่ศึกษาตลาด ทำวิจัย และหาข้อมูลก็เกิดกระแสผู้คนหันมาดูแลสุขภาพมากขึ้นเพื่อให้รอดจากโควิด นาบิฮาใช้เวลาเกือบ 2 ปีในการตระเตรียมทุกอย่างรวมถึงทีมงานที่ประกอบด้วยแพทย์ เภสัชกร และนักโภชนาการ กระทั่งเดือนพฤศจิกายน 2564 ธุรกิจ “MyVitalab” ก็เปิดตัวและพร้อมให้บริการ MyVitalab ให้บริการวิตามินและอาหารเสริมในรูปแบบสมาชิก (Subscription) โดยบริษัทจะส่งแพ็กเกจวิตามินที่บรรจุมาในซองเล็กๆ ให้ลูกค้าเดือนละกล่อง หนึ่งกล่องบรรจุวิตามิน 30 ซอง ซึ่งเพียงพอต่อการรับประทาน 1 เดือน เบื้องต้นมีอาหารเสริมและวิตามินให้เลือก 2 ชุด ได้แก่ ชุด Vitarepair ราคา 163.90 ริงกิต (1,265 บาท) ประกอบด้วย อาหารเสริมที่มีส่วนผสมของขมิ้น และน้ำมันปลาที่อุดมด้วยกรดไขมันโอเมก้า-3 ช่วยลดการอักเสบในร่างกายและฟื้นความเสียหายของกล้ามเนื้อ ส่วนอีกชุดเป็น Vitamunity ซึ่งเน้นการเพิ่มภูมิต้านทานให้ร่างกายจึงมีวิตามินซีผสมแร่ธาตุสังกะสี วิตามินดี และสารสกัดเมล็ดองุ่น ชุดนี้ราคา 89.90 ริงกิต หรือราว 700 บาท นาบิฮาเล่าว่า อาหารเสริมและวิตามินต่างๆ บริษัทจัดหาจากผู้ผลิตทั่วโลก และทุกตัวผ่านการลงทะเบียนกับกระทรวงสาธารณสุขมาเลเซียในเรื่องความปลอดภัย และผ่านการรับรองตราฮาลาลแล้ว ลูกค้ามุสลิมจึงวางใจได้ นอกจากนั้น เพื่อให้การบรรจุวิตามินลงซองเป็นไปอย่างถูกหลักอนามัย นาบิฮาลงทุนซื้อเครื่องแพ็กยาเกรดเดียวกับที่วงการเภสัชกรรมใช้และเป็นเครื่องที่ผ่านการรับรองจากองค์การอาหารและยาสหรัฐฯ และยุโรป ในส่วนของแพ็กเกจจิ้งหรือซองที่บรรจุวิตามิน นาบิฮาเลือกใช้แพ็กเกจจิ้งที่ใช้เป็นแบบย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม การทำธุรกิจอาหารเสริมและวิตามินแม้จะเป็นตลาดที่ดูสดใสน่าสนใจแต่ผู้บริโภคจำนวนหนึ่งยังมีความเชื่อว่าไม่ใช่สิ่งจำเป็นเพราะคุณค่าทางโภชนาการสามารถหาได้จากอาหารก็พอเพียงแล้ว ในจุดนี้ นาบิฮาอธิบายว่าเจ้าของธุรกิจจึงต้องให้ความรู้แก่ผู้บริโภค เราได้รับสารอาหารจากอาหารที่รับประทานในแต่ละมื้อแต่ละวันก็จริง แต่ร่างกายอาจดูดซึมไปใช้งานได้ไม่เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ ยกตัวอย่าง หากต้องการวิตามินซีจากส้ม ก็อาจจะต้องกินส้มจำนวนมากในคราวเดียวถึงจะเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือแม้ร่างกายสังเคราะห์วิตามินดีได้เองจากการรับแสงแดด แต่กลับพบว่ามีผู้คนขาดวิตามินจำนวนมากเนื่องจากการหลีกเลี่ยงไม่เจอแดด หรือสวมเสื้อผ้ามิดชิดและคลุมผมคลุมหน้าแบบชาวมุสลิม การรับประทานวิตามินเสริมจึงเป็นทางเลือกที่ดี นี่เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการพยายามจะสื่อถึงผู้บริโภค ซึ่งบริการอาหารเสริมและวิตามินแบบรายเดือนสามารถตอบโจทย์ตรงนี้ได้ ทั้งยังประหยัดกว่าเมื่อเทียบกับการซื้อวิตามินเป็นกระปุกหลายกระปุก นาบิฮา ยกตัวอย่างแพ็กเกจ Vitamunity ซึ่งประกอบด้วยวิตามินซี วิตามินดี และสารสกัดเมล็ดองุ่น หากไปหาซื้อเองตามร้าน ต้องซื้อ 3 กระปุกราคาจะแพงกว่าอย่างน้อยก็ 22 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับการสั่งซื้อแพ็กเกจ Vitamunity แม้ MyVitalab จะไม่ใช่เจ้าแรกในตลาดอาหารเสริมและยังมีคู่แข่งอีก 2 ราย เช่น Vitamine และ Vitapac ที่ทำธุรกิจ Supplement Subscription คล้ายๆ กัน แต่นาบิฮาก็ตั้งใจพัฒนา MyVitalab ให้มีบริการที่ดียิ่งขึ้น เช่น เพิ่มชุดผลิตภัณฑ์ให้ลูกค้ามีทางเลือกมากขึ้น และในอนาคตมีแผนจะบริการจัดอาหารเสริมและวิตามินส่วนบุคคลสำหรับลูกค้าแต่ละคน นาบิฮา ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง MyVitalab กล่าวว่าในโลกยุคใหม่ที่การจะดำเนินวิถีชีวิตแบบสุขภาพดีเต็มไปด้วยอุปสรรคมากมาย แต่การบริโภคอาหารเสริมและวิตามินในรูปแบบที่ทันสมัยและสะดวกสบายสามารถช่วยได้ โดยมีข้อแม้ว่าสิ่งหนึ่งที่ต้องทำให้ได้คือความสม่ำเสมอต่อเนื่องในการรักษาระดับสารอาหารต่างๆ ให้เพียงพอตามที่ร่างกายต้องการ การสมัครสมาชิกเพื่อรับอาหารเสริมและวิตามินรายเดือนจึงเป็นคำตอบที่ลงตัว ในมาเลเซีย การมีผู้เล่นหน้าใหม่ผุดขึ้นในตลาดชี้ให้เห็นว่าบริการวิตามินและอาหารเสริมเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพในการเติบโตเนื่องจากสถานการณ์โรคระบาดโควิดทำให้ผู้บริโภคใส่ใจสุขภาพมากขึ้น การสมัครเป็นสมาชิกรับผลิตภัณฑ์ที่ส่งถึงบ้านรายเดือนก็เป็นบริการที่ง่ายและสะดวก และไม่เฉพาะกับลูกค้าผู้ใหญ่หรือผู้สูงวัย แม้กระทั่งคนรุ่นใหม่ที่ทำงานหนักก็หันมาดูแลตัวเองด้วยการรับประทานอาหารเสริมเช่นกัน ที่มา : https://www.smethailandclub.com/startup-techstartup/8077.html
30 มิ.ย. 2022
รู้จักสตาร์ทอัพไทย CareerDemy แพลตฟอร์มช่วยคนตกงาน อัพสกิลให้คว้างานใหม่ได้ผ่านฉลุย
การเปลี่ยนจาก Passion สู่การลงมือทำ Startup ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ จิระนันท์ ปัลณติยารักษ์, ปิตินันท์ ปัญญาศรีวินิจ และจิรัชญา ศรีทักษิณากุล 3 ผู้ร่วมก่อตั้ง CareerDemy ใช้เวลาเพียงไม่กี่เดือนในการสร้าง CareerDemy แพลตฟอร์มการเรียนรู้ที่เพิ่มทักษะและจับคู่งานสำหรับคนตกงาน “ วิกฤตโควิดครั้งนี้ส่งผลให้คนจำนวนมากตกงานแบบกะทันหัน อย่างพี่ชายที่เคยทำงานด้าน Interior Design ในบริษัท ตกงานแบบไม่ทันได้ตั้งตัว เราสัมผัสด้วยตัวเองว่าการที่คนหนึ่งคนตกงาน นอกจากตัวเขาเองที่เครียด ครอบครัวและคนใกล้ตัวก็เครียด กลายเป็น Domino Effect และสร้างปัญหาในวงกว้าง เราเลยสนใจอยากทำอะไรบางอย่างที่ช่วยคนกลุ่มนี้” จิรัชญา เล่า Passion เริ่มต้นที่อยากช่วยกลุ่มคนตกงาน เมื่อกลุ่มเป้าหมายชัด ทีม CareerDemy จึงเริ่มพัฒนาหลักสูตรที่เหมาะกับคนกลุ่มนี้ โดย 3 หลักสูตรแรกเริ่มได้แก่ Entrepreneurship สำหรับคนที่อยากเริ่มธุรกิจ, Digital Marketing สำหรับคนที่อยากเปลี่ยนมาทำงานด้านการตลาดดิจิทัลที่มีความต้องการสูง และ Financial Planning สำหรับคนที่อยากวางแผนทางด้านการเงินระหว่างหางานใหม่ “เราเปิดรับสมัครเพื่อทดลองตลาด เราต้องการพิสูจน์ว่า 3 หลักสูตรที่เราคิดมีคนสนใจตามที่ตั้งสมมุติฐานหรือไม่? หากมีคนสนใจเราก็พัฒนาต่อยอด หากคนไม่สนใจเราจะได้ปรับเปลี่ยนหลักสูตรใหม่ หลังจากที่ CareerDemy เปิดรับสมัครเพียง 24 ชั่วโมง มีคนสมัครหลายร้อยคน เราและทีมรู้ว่าตอนนี้กำลังมาถูกทางแล้ว” จิระนันท์ เล่าวิธีทดสอบไอเดียซึ่งตรงกับทฤษฎี Lean Startup ที่แนะนำให้ทุกคน สร้างสิ่งใหม่ (Build) และนำสิ่งที่สร้างทดสอบเพื่อวัดผลกับกลุ่มเป้าหมาย (Mesure) หลังจากนั้นเรียนรู้จากการทดลอง (Learn) ในวันที่มีแพลตฟอร์ม Learning Online จำนวนมากทั้งของ Startup และองค์กรขนาดใหญ่ CareerDemy มองหาช่องว่างของตลาดและสร้างความแตกต่าง โดยสร้างหลักสูตร Career Bundle ที่คนไม่มีประสบการณ์สามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองจากศูนย์จนสามารถประกอบอาชีพนั้นได้จริง นอกจากนั้นเพื่อเพิ่มโอกาสการจ้างงานให้กับผู้เรียนจึงร่วมมือกับ Adecco เพื่อส่งต่อคนที่เรียนจบหลักสูตรสู่ตลาดการจ้างงานด้วย “จากที่เริ่มต้นจาก 3 คนที่มี Passion วันนี้เราขยายทีมงาน เรามีพาร์ทเนอร์ทั้ง บริษัทจัดหางาน สถานบันการศึกษาที่ร่วมออกแบบหลักสูตร รวมถึงบริษัทพาร์ทเนอร์ต่างๆ เราเริ่มต้นจาก Passion ที่อยากให้โอกาสทุกคนสามารถพัฒนาทักษะและได้รับโอกาสในการทำงาน แต่การเปลี่ยน Passion สู่การลงมือทำและไปต่อจนสำเร็จได้ เราต้องการวินัย การทำงานเป็นทีม และทักษะการบริหารจัดการ” ปิตินันท์ กล่าวทิ้งท้ายสำหรับคนรุ่นใหม่ที่มี Passion และสนใจเริ่มทำ Startup ที่มา : https://www.smethailandclub.com/startup-techstartup/8127.html
29 มิ.ย. 2022
เทรนด์นอนไม่หลับเป็นเหตุ! ส่องกระแส Sleep Tech มาแรง ญี่ปุ่นทุ่มพัฒนานวัตกรรมช่วยนอนหลับ
เป็นที่น่าสังเกตว่าช่วงที่ผ่านมา บริษัทญี่ปุ่นทั้งกลุ่มสตาร์ทอัพและบริษัทที่มีชื่ออยู่แล้วต่างพร้อมใจกันจับธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับ sleep tech หรือเทคโนโลยีที่ช่วยแก้ปัญหาด้านการนอน เช่น การนอนไม่หลับ รวมถึงนวัตกรรมที่ทำให้นอนหลับสบายที่สุด โดยนวัตกรรมที่มีการคิดค้นก็หลากหลายแตกต่างกันไป มีทั้งการพัฒนาเครื่องนอน และชุดนอนที่ทำให้หลับง่ายและสบาย ไปจนถึงการรบรวมข้อมูลแล้ววิเคราะห์เพื่อให้ลูกค้าปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนอน คำว่า “sleep tech” อาจทำให้คนส่วนใหญ่นึกถึงภาพอุปกรณ์ไฮเทคที่สามารถสวมใส่ได้ซึ่งเมื่อเทียบแล้ว บริษัทต่างชาติที่เป็นคู่แข่งบริษัทญี่ปุ่นจะมีความได้เปรียบกว่า เช่น นาฬิกาสมาร์ทวอทช์ของบริษัทแอปเปิล อุปกรณ์ที่ผลิตโดยบริษัทฟิตบิท และอีกหลายบริษัท เช่น บริษัท Dreem ของฝรั่งเศสที่พัฒนอุปกรณ์สวมศีรษะที่ช่วยวัดตำแหน่งศีรษะ อัตราการหายใจ และกิจกรรมของสมองระหว่างนอนหลับที่ได้รับความนิยมในญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม ทาคุโตะ โนโนมุระ หัวหน้าสถาบันวิทยาศาสตร์เพื่อการนอนในโตเกียวกล่าวว่านวัตกรรมเกี่ยวกับการช่วยให้นอนหลับไม่ได้จำกัดแค่เพียงอุปกรณ์ดิจิทัลเท่านั้น ตราบใดที่มีหลักฐานและข้อมูลสนับสนุน อุปกรณ์หรือเครื่องใช้ที่เป็นอนาล็อกก็สามารถยกให้เป็นเทคโนโลยีเกี่ยวกับการนอนได้เช่นกัน นับตั้งแต่ก่อตั้งเมื่อปี 1984 โดยบริษัทผลิตที่นอนนิชิคาว่า สถาบันวิทยาศาสตร์เพื่อการนอนได้วิจัยและศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งเสริมการนอนหลับอย่างมีคุณภาพ เช่น อุณหภูมิ ความสว่าง และท่วงท่าในการนอน ซึ่งงานวิจัยของสถาบันได้นำไปสู่การผลิตที่นอนรุ่น “AiR” ที่ช่วยลดแรงกดทับจากแผ่นหลัง ทำให้รักษาท่านอนที่สบาย ไม่ปวดหลังและไม่ทำร้ายสุขภาพ ขณะเดียวกัน บริษัทสตาร์ทอัพหลายแห่งก็ให้ความสนใจในธุรกิจเกี่ยวกับเครื่องนอนเช่นกัน ยกตัวอย่าง บริษัทเบรน สลีป (Brain Sleep) ในโตเกียวที่วางจำหน่ายหมอนระบายอากาศเมื่อปี 2020 คุณสมบัติของหมอนดังกล่าวคือช่วยระบายความร้อนจากร่างกายขณะนอนหลับนำไปสู่การนอนที่มีคุณภาพ โคสุเกะ มิชิบาตะ ซีอีโอเบรน สลีปเผยว่าบริษัทได้ระดมทุนผ่าน crowdfunding ซึ่งปรากฏว่ามีนักลงทุนให้ความสนใจและให้ทุนสนับสนุนเรียกได้ว่าเกินกว่าที่คาดไว้ “การนอนไม่หลับ นอนไม่พอเป็นปัญหาที่ค่อนข้างรุนแรงในญี่ปุ่น ผลิตภัณฑ์และบริการที่ช่วยแก้ปัญหานอนไม่หลับ นอนแบบไม่มีคุณภาพจึงเป็นที่ต้องการอย่างมากเมื่อเทียบกับหลายประเทศ” ข้อมูลระบุตลาด sleep tech ในญี่ปุ่นแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มหลัก ได้แก่ บริการทางการแพทย์ ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ผลิตภัณฑ์เพื่อการนอนหลับ และอุปกรณ์ดิจิทัล ทั้งนี้ ยานอนหลับถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มบริการทางการแพทย์ ขณะที่เครื่องดื่มและอาหารเสริมที่ช่วยให้นอนหลับจะอยู่ในกลุ่มผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ส่วนสินค้าในกลุ่มนี้ที่แพร่หลายในญี่ปุ่นประกอบด้วยผลิตภัณฑ์หรืออาหารฟังก์ชั่นที่มีสรรพคุณช่วยในการนอนหลับที่ผ่านการรับรองจากหน่วยงานของรัฐแล้ว แม้กระทั่งบริษัทยาคูลท์ ฮอนฉะ ผู้ผลิตเครื่องดื่มนมเปรี้ยวของญี่ปุ่นที่เก่าแก่กว่า 80 ปีก็ร่วมเล่นในตลาดนี้โดยแนะนำเครื่องดื่ม Yakult 1000 ในปี 2019 สิ่งที่แตกต่างจากยาคูลท์ทั่วไปคือการเพิ่มจุลินทรีย์ lactobacillus casei strain Shirota กว่าแสนล้านตัว จุลินทรีย์ที่ว่าบริษัทอ้างว่าช่วยคลายเครียดและทำให้นอนหลับ เบื้องต้นจำหน่ายใน 6 จังหวัด และเพิ่งจำหน่ายทั่วประเทศเมื่อปีที่ผ่านมา โดยช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2021 สามารถทำยอดขาย 1.14 ล้านขวด ซึ่งภายหลังซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านขายยาได้จำหน่ายผลิตภัณฑ์ใกล้เคียงกันนี้แพร่หลายไปหมด ด้านบริษัทไดกิ้น อินดัสตรี้ ผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศรายใหญ่สุดของโลกก็เป็นอีกรายที่ต้องการมีส่วนร่วมในการนอนหลับอย่างมีคุณภาพ บริษัทจึงศึกษาปัจจัยที่ทำให้ตื่นง่ายโดยการใช้เซนเซอร์จับอุณหภูมิที่ติดตั้งบนเพดานเพื่อมอนิเตอร์ใบหน้าของคนขณะนอนหลับ และคอยระบายอากาศให้หมุนเวียนบริเวณใบหน้า พบว่าให้ความรู้สึกเหมือนถูกกล่อมเบา ๆ ส่วนบริษัทพานาโซนิกก็เปิดตัวเครื่องปรับอากาศรุ่น Eolia ที่เชื่อมต่อกับแอปพลิเคชั่นบนบนสมาร์ทโฟน เมื่อวางมือถือใกล้หมอน แอปพลิเคชั่นจะบันทึกข้อมูลว่าผล็อยหลับตอนกี่โมง และพลิกตัวกี่ครั้ง นอกจากนั้น ยังมีเซนเซอร์ข้างเตียงที่วัดอุณหภูมิและความชื้นบริเวณรอบศีรษะและจะทำการปรับอุณหภูมิของเครื่องปรับอากาศให้เหมาะสมโดยอัตโนมัติ และระบบแสงของโคมไฟพานาโซนิกที่ค่อยเพิ่มแสงเพื่อปลุกผู้นอนในตอนเช้าแทนการปลุกด้วยนาฬิกา แม้ญี่ปุ่นจะเป็นรองคู่แข่งจากนอกในด้านสมาร์ทวอทช์ แต่สตาร์ทอัพในประเทศก็พยายามเต็มที่ในการตีตื้นขึ้นมา เช่น บริษัทแอคเซลสตาร์ส (ACCELStars) เทคสตาร์ทอัพจากเมืองคุรุเมะได้ร่วมมือกับทีมนักวิจัยมหาวิทยาลัยโตเกียวพัฒนานาฬิกาอัจฉริยะที่ติดตั้งเทคโนโลยีอัลกอริธึมซึ่งสามารถบอกได้แม่นยำเกี่ยวกับสภาวะการหลับหรือตื่นของผู้สวมใส่ มาซายูกิ อาซาโนะ ผู้บริหารแอคเซลสตาร์สกล่าวว่าการสวมใส่นาฬิกาเรือนนี้จะทำให้สามารถตรวจจับความไม่ปกติในการนอนได้ง่ายและเร็วขึ้น ลัดขั้นตอนในการเข้าสู่กระบวนการบำบัด ซึ่งหากเป็นการตรวจสอบทั่วไปจะซับซ้อนกว่านี้ เช่น ต้องวัดการทำงานของสมอง เป็นต้น แอคเซลสตาร์สมีแผนจะจำหน่ายสมาร์ทวอทช์รุ่นนี้แก่สถาบันการแพทย์ต่าง ๆ และเตรียมเปิดบริการตรวจสอบคุณภาพการนอนในปลายปีหน้าอีกด้วย ก่อนหน้านั้นมีสตาร์ทอัพหลายรายที่เข้ามาให้บริการด้านนี้ อาทิ บริษัทนูโรสเปซที่จัดทำโปรแกรมพัฒนาการนอนให้กับพนักงานในองค์กรต่าง ๆ ลูกค้ารายใหญ่ของนูโรสเปซคือราคูเท็น กรุ๊ป ผู้นำด้านอี-คอมเมิร์ซของญี่ปุ่นที่นำโปรแกรมนี้มาใช้กับพนักงานในบริษัทและพบว่าหลังเข้าโปรแกรม คุณภาพการนอนของพนักงานดีขึ้น ส่งผลให้พนักงานทำงานมีประสิทธิภาพและสร้างรายได้ให้บริษัทเพิ่มขึ้น 120,000 เยนต่อคนต่อปีเลยทีเดียว ข้อมูลองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาหรือ OECD (The Organisation for Economic Co-operation and Development) ระบุภาวะขาดการนอนหลับ หรือการนอนหลับไม่เต็มอิ่มเป็นปัญหาระดับชาติในญี่ปุ่น ประชากรญี่ปุ่นอายุระหว่าง 15-64 ปีนอนหลับเฉลี่ย 7 ชั่วโมง 22 นาทีซึ่งน้อยกว่าที่ OECD กำหนดกว่าชั่วโมง โดยเฉพาะประชากรวัยทำงาน ชั่วโมงการนอนจะยิ่งน้อยลง มีการประเมินว่าภาวะขาดการนอนหลับของประชากรญี่ปุ่นส่งผลต่อความเสียหายทางเศรษฐกิจราว 15 ล้านล้านเยนต่อปี ที่มา : https://www.smethailandclub.com/startup-techstartup/8130.html
28 มิ.ย. 2022
ส่อง Key Success ของสตาร์ทอัพ "Kollective" ที่ฉีกกฎการตลาดรีวิวสินค้าด้วย Data และ Technology
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า Influencers คือคลื่นลูกใหม่ของการตลาดดิจิทัล แต่การทำแคมเปญ Influencers ในยุคปัจจุบัน แค่ส่งสินค้าให้คนดังโพสต์อาจไม่ได้ยอดตามที่คาดหวัง ซึ่ง วราพล โล่วรรธนะมาศ ผู้ก่อตั้งและซีอีโอ Kollective สตาร์ทอัพด้าน Marketing ได้ใช้ Data และ Technology มาเล่าเบื้องลึกการทำ Influencer Marketing แบบหมดเปลือก ย้อนไปเมื่อ 3 ปีที่แล้ว วราพลมองเห็นเทรนด์ Influencer Marketing ที่กำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดด และเห็นช่องว่างของตลาด Influencers กลุ่ม Young Generation ที่ยังไม่มีคู่แข่ง ซึ่งเมื่อวิเคราะห์ความต้องการทางการตลาดพบว่า องค์กรต่างๆ มองหา Young Generation Influencers เพื่อเป็นสะพานเข้าถึงลูกค้าที่เป็นคนรุ่นใหม่ จึงก่อตั้ง Kollective “ต่อมาเรามองเห็นปัญหาในการทำ Influencer Marketing ที่หลายแบรนด์มองว่าแค่ส่งสินค้าให้คนดังโพสต์แล้วจบ แต่ในความเป็นจริงกระบวนการเลือก Influencers ให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย การเลือก Key Message ที่ใช้ในการสื่อสาร การติดตามและวัดผลเป็นปัจจัยที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพแคมเปญเพื่อให้คุ้มค่ากับเม็ดเงินที่ลงทุน จึงทำแพลตฟอร์ม Kolify ที่ใช้ข้อมูลและเทคโนโลยีในการเพิ่มประสิทธิภาพ Influencer Marketing โดยปัจจุบันมี Influencers ในเครือข่ายจำนวนกว่า 30,000 คน” จากประสบการณ์ที่ทำงานร่วมกับลูกค้าและ Influencers วราพลเล่า Key Success 3 ข้อของ Kollective ที่ฉีกกฎการตลาดที่ใช้คนดังรีวิวสินค้าแบบเดิมๆ ว่า Strategic Communication ก่อนจะเลือก Influencers ต้องเข้าใจกลุ่มลูกค้าให้ชัดเสียก่อน หลังจากนั้นเลือกใช้ Keyword ที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อสื่อสารแล้วตรงใจ โดย Kollective ทำ In-depth Analysis และ Social Monitoring เพื่อเข้าใจพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อค้นหา Key Message ที่ใช่ Media Ecosystem การจ้าง Influencers แต่ละครั้งต้องคิดให้ครบ เลือกใช้ Influencers ที่ตรงกับ Marketing Funnels ตั้งแต่ขั้น Awareness จนกระทั่งเกิด Traction นอกจากนั้นใช้ Assets และ Media ของ Influencers ที่จ้างให้เกิดประโยชน์สูงสุด Influencers Collaboration ไม่ควรเลือกด้วยวิธีสุ่มเดา Kollective มีแพลตฟอร์มที่นำข้อมูลมาช่วยวิเคราะห์ประกอบการเลือก Influencers เพื่อคำนวณ Cost Per Click รวมถึงติดตามผลทำให้การทำแคมเปญครั้งต่อไปมีความแม่นยำมากขึ้น และลดต้นทุนการตลาด “ปัจจุบัน Influencers ส่วนมากอยู่ในกลุ่ม Celebrity หรือ Lifestyle ทำให้ความหลากหลายน้อย เมื่อเทียบกับความต้องการของตลาด นอกจากนั้น Influencers Marketing ในอนาคต มีแนวโน้มเป็นโมเดล Pay Per Success ที่จ่ายค่าตอบแทนตามยอดขาย” วราพลกล่าวทิ้งท้าย ที่มา : https://www.smethailandclub.com/startup-techstartup/8148.html
27 มิ.ย. 2022
MyCloudFulfillment แชร์บทเรียน เพราะล้มจึงรู้ ทะยานสู่คลังสินค้าที่ออเดอร์ 4 แสนกล่องต่อเดือน
“เพราะล้มจึงรู้” คำคำนี้ดูจะเหมาะกับ นิธิ สัจจทิพวรรณ CEO, MyCloudFulfillment เพราะการที่เขาทำคลังสินค้าออนไลน์จนประสบความสำเร็จในวันนี้ เกิดจากการเรียนรู้ข้อผิดพลาดที่ได้จากความล้มเหลวของธุรกิจจิวเวลรีออนไลน์มาก่อน ซึ่งเมื่อเขาพบปัญหาของการทำธุรกิจออนไลน์อันเนื่องมาจากระบบหลังบ้าน จึงตัดสินใจเปิดธุรกิจใหม่ นั่นคือ MyCloudFulfillment ที่ในช่วงแรกๆ มีออร์เดอร์เพียง 5 กล่องต่อวัน แต่ในปัจจุบันมีถึง 4 แสนออร์เดอร์ต่อเดือน “จริงๆ เรายังโตได้ไม่ดีพอ เพราะว่าโอกาสมีอีกมากๆ สถานการณ์โควิด-19 เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้อีคอมเมิร์ซเติบโต มีผู้ประกอบการออนไลน์เพิ่มมากขึ้น มีความเปลี่ยนแปลงหลายๆ อย่างเกิดขึ้น แต่ด้วยความที่เรายังไม่มีเงินมากเพียงพอ จึงทำให้เรายังไปได้ไม่เร็วพอ” อย่างไรก็ตาม หลังจากได้รับเงินลงทุน Series A มูลค่า 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อปลายปี 2563 และรอบ Series B จำนวน 7.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จาก JWD และ SCB 10X เมื่อปลายปี 2564 นิธิก็บอกว่าจะเห็นความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ จาก MyCloudFulfillment ใน 3 เรื่องหลักๆ คือ ประการแรก การขยายศักยภาพคลังสินค้า เป็นการขยายพื้นที่เพื่อรองรับการเติบโตที่เพิ่มมากขึ้น ประการที่สอง กลุ่มลูกค้าเดิมแต่ทำบริการใหม่ ซึ่งต่อไปนี้ MyCloudFulfillment จะไม่ใช่แค่คลังสินค้าที่ให้พ่อค้า แม่ค้าออนไลน์มาเก็บสินค้าเท่านั้น แต่ยังจะหาวิธีช่วยเพิ่มโอกาสในการขายอีกด้วย “สินค้าที่วางไว้ในคลังบางตัวขายได้ก็ดี แต่ที่ขายไม่ได้เราจะหาวิธีช่วย เป็นการเพิ่มโอกาสในการขายโดยเฉพาะสินค้าที่ระบายออกได้ช้า ตรงนี้จะทำให้เราแตกต่างจากคลังสินค้าอื่น เป้าหมายในการทำคลังของเราตั้งแต่แรกคือ อยากให้ร้านค้ามีระบบที่จัดการได้ง่ายและเติบโตได้อย่างยั่งยืน ดังนั้น บริการใหม่นี้ก็จะสอดรับไปกับปณิธานของเราคือ ช่วยให้ลูกค้าขายของได้มากขึ้น” ประการที่สาม การทำบริการเดิมแต่ตลาดใหม่ ซึ่งก็คือการขยายธุรกิจไปต่างประเทศ “เวียดนามประเทศแรกที่เราจะไปในปีหน้า เพราะว่าเป็นประเทศที่มีความใกล้เคียงกับเรา พฤติกรรมของคนที่ใช้โซเชียลมีดีย พฤติกรรมการซื้อ-ขายออนไลน์เป็นที่รู้จักกันในวงกว้างมากกว่าเมืองไทยด้วยซ้ำ ตลาดกำลังเติบโตได้ดี และกำลังจะแซงขึ้นเป็นเบอร์ 2 ในอาเซียนแทนที่ไทย นั่นคือเหตุผลที่เรารับเงินลงทุนจาก JWD ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชนระดับอาเซียน เพราะถ้าจะไปต่างประเทศเราจะไปต่อกับคู่ค้าอย่างนี้ เพื่อทำให้เราไปถึงเป้าหมายได้เร็วขึ้น” นิธิกล่าวในตอนท้ายด้วยว่า ความตั้งใจของ MyCloudFulfillment คือ ต้องการช่วยให้ลูกค้าขายของได้มากขึ้น โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายเล็กๆ โดย MyCloudFulfillment จะเป็นตัวกลางที่จะทำให้ธุรกิจเล็กๆ เหล่านั้นสามารถไปต่อได้ ที่มา : https://www.smethailandclub.com/startup-techstartup/8153.html
26 มิ.ย. 2022
สตาร์ทอัพต้องรู้จักการเล่าเรื่องแบบ "Rhetorical" โน้มน้าวใจให้ได้เงินระดมทุนสไตล์ อริสโตเติล
การระดมทุนเป็นหนึ่งในงานที่ท้าทายสำหรับผู้ก่อตั้ง Startup มือใหม่ เพราะต้องอาศัยประสบการณ์การนำเสนอที่สร้างความน่าเชื่อถือและโน้มน้าวให้นักลงทุนเชื่อมั่นในไอเดียจนกล้าลงเงินสนับสนุน วันนี้เรามีตัวช่วยสุดคลาสสิก หลักการเล่าเรื่องแบบ Rhetorical ของอริสโตเติล ที่ใช้ในการโน้มน้าวใจให้ผู้ฟังคล้อยตาม โดยการเล่าเรื่องแบบ Rhetorical นั้นประกอบไปด้วย 3 หลัก คือ Pathos การสร้างอารมณ์ร่วมระหว่างผู้พูดและผู้ฟัง Logos การใช้ข้อมูล สถิติ และ Ethos ความน่าเชื่อถือของสิ่งที่พูดและผู้พูด ซึ่งด้วยวิธีการเหล่านี้จะช่วยให้ Startup Founder สามารถมัดใจนักลงทุนแบบอยู่หมัดได้ Pathos ความเข้าอกเข้าใจผู้ฟังและสร้างอารมณ์ร่วมระหว่างผู้พูดและผู้ฟัง การเริ่มต้นเล่าไอเดียด้วยเหตุการณ์ที่สร้างอารมณ์ร่วมช่วยดึงความสนใจของนักลงทุนตามหลักของ Pathos เนื่องจากเรื่องราวที่มนุษย์มีอารมณ์และความรู้สึกร่วมสามารถสร้างความจดจำได้ดีกว่า จากสถิติการเล่าเรื่องในหนังสือ Talk Like Ted ระบุว่า เรื่องเล่าบนเวที Ted Talk ของ Bryan Stevenson ที่ผู้ฟังปรบมือยาวนานที่สุด ใช้เวลากว่า 65 เปอร์เซ็นต์ในการเล่าเรื่องที่กระตุ้นอารมณ์และความสนใจของผู้ฟัง กลเม็ดเคล็ดลับข้อนี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการนำเสนอนักลงทุน แต่อาจปรับสัดส่วน โดยการนำเสนอในส่วนแรก Startup อาจคัดเลือกเรื่องราวที่น่าสนใจนำมาร้อยเรียงเป็นเรื่องเล่าสั้นๆ ยกตัวอย่างเช่น การหยิบเรื่องเล่าของคุณปู่วัย 70 ปีที่ชีวิตดีขึ้นเพราะ Startup ของเรา หรือเล่าเรื่องราวยอดการลงทะเบียนใช้บริการสูงเกินความคาดหมาย เนื่องจากในแต่ละวันนักลงทุนฟังไอเดีย Startup จากทั่วโลกมานับไม่ถ้วน ก้าวแรกของความสำเร็จคือทำอย่างไรให้การเริ่มต้นนำเสนอของคุณดึงความสนใจให้นักลงทุนตั้งใจฟังตั้งแต่ต้นจนจบ Logos การใช้ข้อมูล สถิติ แหล่งอ้างอิง เพื่อสร้างความสมเหตุสมผล นักลงทุนมักมองหาข้อมูลที่น่าเชื่อถือเพื่อสนับสนุนสิ่งที่นำเสนอ ดังนั้น การคัดเลือกข้อมูล สถิติที่น่าสนใจและสอดคล้องกับสิ่งที่นำเสนอเป็นหัวใจสำคัญ หลายคนคงตั้งคำถามในใจว่าเราจะเลือกข้อมูลที่น่าเชื่อถือในขณะเดียวกันน่าสนใจได้อย่างไรกัน? - เล่าข้อมูลแบบ Comparison เนื่องจากสมองของมนุษย์ชอบการเปรียบเทียบ ดังนั้น หากอยากนำเสนอให้เห็นความแตกต่างของสิ่งหนึ่งกับอีกสิ่งอย่างชัดเจน การนำเสนอคู่กัน จะทำให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น ยกตัวอย่างเช่น การเล่าว่ายอดขายของ Startup เติบโตอาจไม่เห็นภาพ หากมีข้อมูลเปรียบเทียบเปอร์เซ็นต์การเติบโตของ Startup และบริษัทคู่แข่ง จะทำให้เห็นได้ชัดเจนว่า เราเติบโตมากกว่าคู่แข่งกี่เท่า - เล่าข้อมูลแบบ Timeline เหมาะกับการเล่าข้อมูลที่เชื่อมโยงกับช่วงเวลา ยกตัวอย่างเช่น การเล่าแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และแผนในอนาคต หากใช้วิธีแบ่งช่วงเวลา จะทำให้ผู้ฟังเข้าใจง่ายยิ่งขึ้น - การเล่าข้อมูลแบบ Visualization การแปลงข้อมูลเป็นภาพช่วยสร้างความน่าสนใจและสร้างความน่าเชื่อถือ หากต้องการเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ยกตัวอย่าง การเล่าความรู้สึกของผู้ใช้ หากมีภาพประกอบหรือมีวิดีโอของผู้ใช้จริงจะช่วยให้นักลงทุนเชื่อในสิ่งที่เล่าได้มากกว่า Ethos ความน่าเชื่อถือของสิ่งที่พูดและผู้พูด สิ่งที่นักลงทุนให้ความสำคัญคือ ศักยภาพของทีมโดยเฉพาะกลุ่มผู้ก่อตั้ง เพื่อประเมินว่าทีมมีศักยภาพขับเคลื่อนไอเดียให้เป็นจริงตามเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่? ดังนั้น ประสบการณ์การทำงานของคนในทีมที่แตกต่างกัน ความสำเร็จของผู้ก่อตั้ง และผลงานที่ทำจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ด้วยเหตุนี้จึงไม่ควรหยิบเรื่องราวที่เล่าความสามารถเฉพาะด้านของแต่ละคนในทีมมานำเสนอ แต่ควรเล่าให้เห็นภาพรวมของทั้งทีม ซึ่งการเล่าความสามารถและศักยภาพของทีมสามารถทำได้หลากหลายรูปแบบ ตัวอย่างเช่น - การเล่าผ่านประสบการณ์การทำงานของแต่ละบุคคล กรณีนี้เหมาะกับการที่คนในทีมเคยทำงานในบริษัทที่มีชื่อเสียง หรืออยู่ในตำแหน่งที่ใหญ่ - การเล่าความสามารถของทีมผ่านรางวัล หรือการแข่งขัน เช่น CTO ของเราแข่งขันด้านปัญญาประดิษฐ์ในการแข่งขันที่ประเทศจีนและได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 3 ด้านความแม่นยำของการประมวลผล - เล่าผลงานที่เกิดขึ้นจากการทำงานและการบริหารงาน เช่น ปีที่ผ่านมา CBO ของเราสามารถสร้างพันธมิตรกับภาคธุรกิจกลุ่มค้าปลีกได้ 5 ราย ทำให้ฐานลูกค้าผู้ใช้งานเติบโตมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ การเล่าเรื่องแบบ Rhetorical ช่วยเป็นแนวทางในการร้อยเรียงเรื่องราวการนำเสนอของ Startup Founder ให้น่าสนใจและจูงใจนักลงทุน แต่สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือ การหมั่นฝึกซ้อมในการนำเสนอ ก่อนลงสนามจริง ที่มา : https://www.smethailandclub.com/startup-techstartup/8166.html
25 มิ.ย. 2022
รู้จัก Finda สตาร์ทอัพให้บริการสินเชื่อที่เอื้อคนรุ่นใหม่ กู้ง่ายบนออนไลน์ ใช้เวลาแค่ 6 นาที
เกาหลีใต้ขึ้นชื่อว่าเป็นสังคมปิตาธิปไตย ที่ผู้ชายมีบทบาทและเป็นใหญ่กว่าเพศหญิง จึงไม่แปลกที่จะเกิดช่องว่างความเสมอภาคทางเพศในแวดวง Startup ของเกาหลี ข้อมูลระบุในบรรดาผู้ก่อตั้ง Startup ทั้งหมดในเกาหลี มีไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ที่เป็นผู้หญิง ซึ่งเป็นตัวเลขที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับอีกหลายประเทศ แม้จะเผชิญกับอุปสรรคมากมาย แต่ก็มีผู้หญิงเกาหลีจำนวนหนึ่งสามารถฝ่าฟันจนได้รับการยอมรับในสังคม หนึ่งในนั้นคือ ลี ฮเย มิน ลี ฮเย มิน ผู้ประกอบการสาววัย 37 ปีเป็นอีกหนึ่งดาวรุ่งในวงการ Startup เกาหลี เธอเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทฟินด้า (Finda) ฟินเทคที่ให้บริการด้านผลิตภัณฑ์ทางการเงินแบบครบวงจร มีผลิตภัณฑ์ให้เลือกมากกว่า 17,000 รายการจาก 50 กว่าสถาบันการเงิน ทั้งนี้ ฟินด้าเน้นการให้สินเชื่อจากสถาบันการเงินต่างๆ ในรูปแบบที่ง่ายและสะดวกที่สุด โดยใช้เทคโนโลยีมาวิเคราะห์ว่าผู้กู้สามารถกู้ได้ต่ำสุดและสูงสุดเท่าไหร่ได้ในเวลาไม่กี่วินาที และผู้กู้กับผู้ให้กู้ไม่จำเป็นต้องเจอหน้ากัน ทุกธุรกรรมทำผ่านระบบออนไลน์หมด กว่าจะขึ้นแท่นผู้หญิงแนวหน้าในสังคม Startup เกาหลี ไปดูปูมหลังของผู้หญิงเก่งคนนี้กัน ลี ฮเย มินจบการศึกษาด้านบริหารธุรกิจจากมหาวิทยาลัยเกาหลี เคยฝึกงานที่กระทรวงการต่างประเทศและการค้าของเกาหลี เริ่มต้นทำงานที่บริษัทเอสทีเอ็กซ์ คอร์ปอเรชั่น ก่อนย้ายมาทำงานที่บริษัทร็อคเก็ต อินเตอร์เน็ต และมีส่วนร่วมริเริ่ม Glossybox ธุรกิจจัดส่งตัวอย่างเครื่องสำอางแบบสุ่มให้สมาชิกจนธุรกิจขยายไปใน 7 ประเทศเอเชีย หลังจากนั้น ลี ฮเย มินก็คลุกคลีในธุรกิจ Startup เรื่อยมา โดยตั้งบริษัทพีเพิ้ลแอนด์โคให้คำปรึกษาด้านการตลาดและอีคอมเมิร์ซ รวมถึงเป็นเจ้าของ Noom ที่พัฒนาแอปพลิเคชันเกี่ยวกับสุขภาพและฟิตเนสที่ได้รับความนิยมสูงสุดในเกาหลี ครั้นประสบความสำเร็จจาก 2 Startup ที่ก่อตั้งขึ้น ลี ฮเย มินก็เริ่มมองหาโอกาสจากธุรกิจอื่น และไปลงเอยที่ธุรกิจบริการสินเชื่อออนไลน์ ลี ฮเย มินมองว่าที่ผ่านมาบริษัทหรือสถาบันที่บริการสินเชื่อรายหลักที่มีอยู่ไม่ได้จับตลาดออนไลน์อย่างจริงจัง ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์บนออนไลน์มีไม่มากพอ ลีจึงตั้ง Startup แห่งที่ 3 ในชื่อฟินด้า (Finda) ขึ้นในปี 2559 เพื่อให้เป็นตลาดนัดผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ซึ่งมีตั้งแต่สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อธุรกิจ บริการเครดิตการ์ด และบริการประกันต่างๆ โดยมีบริษัทและสถาบันการเงินเข้าร่วมมากมาย แพลตฟอร์มฟินด้าเจาะกลุ่มผู้ใช้งานอายุ 20-30 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีรายได้แต่เครดิตอาจไม่ดีนักทำให้กู้สินเชื่อยาก ลี ฮเย มินจึงอยากรังสรรค์บริการที่ทำให้การซื้อผลิตภัณฑ์ทางการเงินนั้นง่ายและสะดวกเหมือนการซื้อสินค้าออนไลน์ทั่วไป ซึ่ง 90 เปอร์เซ็นต์ของลูกค้าเข้าชมแพลตฟอร์มฟินด้าผ่านสมาร์ทโฟน หลังเปิดบริการได้ 3 ปี ฟินด้าก็ได้รับการเชิดชูจากคณะกรรมาธิการบริการด้านการเงินว่าเป็นองค์กรให้บริการผลิตภัณฑ์ทางการเงินอันดับ 1 ของประเทศ และมีเงินลงทุนรอบซีรีส์ A ไหลเข้ามูลค่า 4,500 ล้านวอน หรือราว 125 ล้านบาท ซีอีโอฟินด้ากล่าวว่า การเปิดบริการฟินด้าถือว่าบรรลุเป้าหมายในการเข้าถึงสินเชื่อที่ง่ายและสะดวก เพราะก่อนหน้านั้น กว่าผู้บริโภคจะได้รับการอนุมัติต้องผ่านขั้นตอนมากมายกว่า 10 ขั้นตอน แต่ฟินด้าสามารถย่นเวลาลงเหลือเพียงเช็กอัตราดอกเบี้ย และเงื่อนไขต่างๆ ซึ่งใช้เวลาแค่นาทีเดียว จากนั้นดำเนินการกู้ การดำเนินธุรกรรมก็สำเร็จใน 6 นาทีเท่านั้น ข้อมูลระบุ 70 เปอร์เซ็นต์ของลูกค้าที่เคยกู้สินเชื่อจากช่องทางอื่นมาแล้ว เมื่อมากู้ผ่านฟินด้าจะได้รับข้อมูลจากหลากหลายบริษัทและสถาบันการเงิน ข้อมูลมีความรอบด้านมากขึ้นทำให้สามารถเปรียบเทียบจนนำไปสู่การยื่นขอสินเชื่อใหม่ที่ดอกเบี้ยต่ำกว่าเดิมประมาณ 11.8 เปอร์เซ็นต์ ช่วง 3 ปีแรกของการให้บริการ สินเชื่อที่อนุมัติการกู้ผ่านแพลตฟอร์มฟินด้ารวมแล้วมูลค่า 12.1 ล้านล้านวอน แม้ช่วงเกิดวิกฤตโควิด-19 จะมีหลายสถาบันการเงินต้องเปิดบริการสินเชื่อออนไลน์ของตัวเอง แต่จำนวนผู้ใช้บริการฟินด้ากลับเพิ่มขึ้น มีผู้เข้ามาหาข้อมูลสินเชื่อเฉลี่ยเดือนละ 4,000 ราย และแตะที่ประมาณ 1 ล้านรายต่อเดือน นั่นคือข้อได้เปรียบของการเข้ามาจับตลาดและยึดหัวหาดก่อน ในฐานะที่เป็นตัวกลางระหว่างลูกค้าซึ่งเป็นผู้กู้กับสถาบันการเงินที่ปล่อยสินเชื่อ ในการให้สินเชื่อแต่ละครั้ง ฟินด้าจะคิดค่าธรรมเนียมจากสถาบันการเงินเฉลี่ย 300,000 วอน (ราว 8,200 บาท) ต่อหนึ่งสินเชื่อซึ่งส่วนใหญ่การปล่อยกู้แต่ละครั้งจะอยู่ที่ประมาณ 5 ล้านวอน หรือราว 1.4 แสนบาท รายได้ส่วนหนึ่งของฟินด้ายังมาจากการทำการตลาดให้สถาบันการเงินที่เป็นพันธมิตรด้วย เมื่อมีลูกค้าคลิกเข้าไปชมโฆษณาสถาบันการเงินใดก็ตามบนแพลตฟอร์ม ฟินด้าจะได้รับ 6,000 วอนจากสถาบันการเงินนั้น ในส่วนของผู้กู้ นอกจากไม่คิดค่าธรรมเนียมใดๆ ฟินด้ายังมีโปรโมชันให้เป็นบางโอกาสอีกด้วย เช่น การร่วมมือกับธนาคารหรือบริษัทประกันแนะนำสินเชื่อ หากผู้กู้เป็นพนักงานออฟฟิศ จะได้ลดดอกเบี้ยลง 0.5 เปอร์เซ็นต์ เป็นต้น ลี ฮเย มินมีแผนขยายบริการไปยังสินเชื่อเพื่อการศึกษา และสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้วยหลังการให้สินเชื่อที่กระทำผ่านฟินด้าเพิ่มขึ้นทะลุนับพันเปอร์เซ็นต์ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะการระบาดของโควิด-19 ทำให้ผู้คนต้องการรักษาระยะห่าง การปล่อยสินเชื่อตามแบบ Untact ซึ่งมาจากคำว่า un + contact หรือการไม่ต้องพบปะกันตัวต่อตัว จึงกลายเป็นวิถีใหม่ที่ตอบโจทย์ความต้องการของคนในยุคปัจจุบัน ที่มา : https://www.smethailandclub.com/startup-techstartup/8176.html
24 มิ.ย. 2022