AI ทำการคิดค้นยาใหม่สำหรับใช้กับมนุษย์ได้เป็นครั้งแรก
สตาร์ทอัพจากประเทศอังกฤษร่วมมือกับ Sumitomo Dainippon Pharma ซึ่งเป็นบริษัทยาของประเทศญี่ปุ่น ประสบความสำเร็จในการใช้ AI ในการคิดค้นยาตัวใหม่สำหรับใช้ในผู้ป่วยโรคย้ำคิดย้ำทำ หรือ Obsessive-Compulsive Disorder (OCD) ได้เป็นผลสำเร็จ ความสำเร็จครั้งนี้สามารถช่วยลดเวลาในการพัฒนาตัวยา จากเดิมที่ใช้เวลามากถึง 5 ปีตอนนี้สามารถลดลงเหลือเพียงแค่ 12 เดือนเท่านั้น นี่เป็นความสำเร็จครั้งแรกในเรื่องใช้ AI คิดค้นยา หลังจากที่เราเห็นกันไปแล้วว่า AI สามารถทำการวินิจฉัยผู้ป่วย, วิเคราะห์ข้อมูล และทำการสแกนร่างกายของผู้ป่วย ครั้งนี้แตกต่างไปตรงที่เป็นการใช้ AI สร้างยาใหม่ขึ้นมาโดยตรง ยาตัวแรกจะเข้าสู่การทดลองระยะที่หนึ่งในญี่ปุ่น ซึ่งหากประสบความสำเร็จจะตามด้วยการทดสอบระดับโลกมากขึ้น ที่มา : www.smartsme.co.th
24 พ.ย. 2021
ความเป็นมา เงินทุนหมุนเวียนเพื่อการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
ความเป็นมา เงินทุนหมุนเวียนเพื่อการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทยจัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2525 โดยการจัดตั้งดังกล่าวคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ความเห็นชอบในการจัดตั้งเงินทุนหมุนเวียนฯเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2524 ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมได้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาเพื่อต้องการให้ความช่วยเหลือราษฎรที่ยากจนและมีความต้องการให้ความช่วยเหลือราษฎร ที่ยากจนและมีความต้องการเงินทุนในการประกอบอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทยให้มีรายได้เพิ่มเติมจากอาชีพหลักโดยใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ วัตถุประสงค์ และหัตถกรรมโดยการสนับสนุน ด้านการเงิน สำหรับการจัดหาวัตถุดิบเครื่องมือ อุปกรณ์ การผลิต การจ้างแรงงาน ในการผลิตการแปรรูปผลิตภัณฑ์และการให้กู้ยืมเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียน สำหรับการประกอบอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรม แก่ราษฎรและกลุ่มผู้ประกอบอาชีพอุตสาหกรรมในอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัว 6 ประเภท ดังนี้ 1.ราษฎรซึ่งเคยได้รับการฝึกอบรมตามหลักสูตรใดหลักสูตรหนึ่งของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมและมีวัตถุประสงค์ที่จะประกอบอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรม2.ราษฎรซึ่งเคยได้รับความช่วยเหลือจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมในด้านการตลาด การปรับปรุงรูปแบบ ผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์ การปรับปรุงกรรมวิธีการผลิตหรือวิธีปฏิบัติหรือวิธีการจัดการในการดำเนินธุรกิจ และมีวัตถุประสงค์ที่จะประกอบอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรม3. กลุ่มอาชีพที่จัดตั้งขึ้นเพื่อประกอบอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมมีคณะกรรมการดำเนินงานของกลุ่มพร้อมทั้งมีทะเบียนสมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่า 10 คน และจัดตั้งมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน เป็นหลักฐานโดยมีเขตหรืออำเภอหรือหน่วยงานราชการอื่นที่อยู่ในพื้นที่ที่สนับสนุนกลุ่มอาชีพนั้นให้การรองรับเป็นหนังสือ4.ห้างหุ้นส่วนสามัญที่จัดตั้งขึ้นเพื่อประกอบอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมมีหุ้นส่วนดำเนินงานของห้างโดยมีหนังสือสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือนพร้อมทั้งใบทะเบียนพาณิชย์เป็นหลักฐาน5.กลุ่มอาชีพ หรือองค์กรที่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล รวมทั้งนิติบุคคลตามกฎหมาย ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีพด้านอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมของราษฎร เช่น องค์การส่วนบริหารตำบล สมาคมกลุ่มเกษตรกร หรือ สหกรณ์ เป็นต้น6.บุคคลผู้ประกอบอาชีพที่สนับสนุนเกื้อกูลแก่ผู้ประกอบอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกร
23 พ.ย. 2021
สตาร์ทอัพอเมริกันเปิดตัว “เบคอนจากเชื้อรา” ตอบโจทย์เทรนด์ "เนื้อเทียม"
ตอบโจทย์เทรนด์ "เนื้อเทียม” Startup อเมริกันเปิดตัวนวัตกรรมอาหาร “เบคอนจากเชื้อรา” เผย หัวเชื้อชนิดเดียวกับมิโสะ สาเก โชยุ อร่อยได้รสธรรมชาติ วันที่ 26 พ.ค.63 เฟซบุ๊กแฟนเพจ “ศูนย์นวัตกรรมทางเทคโนโลยี” ได้นำเสนอความรู้ที่น่าสนใจเกี่ยวกับนวัตกรรมอาหารของผู้ประกอบการ ในการสร้างเบคอนจากเชื้อรา ศูนย์นวัตกรรมทางเทคโนโลยี ระบุว่า ในยุคนี้เทรนด์ "เนื้อเทียม" กำลังมา ซึ่งเนื้อเทียมส่วนมากที่เริ่มออกมาขายก็จะทำจากโปรตีนพืชเป็นหลัก เช่นโปรตีนถั่วเหลือง ถั่วเขียว มันฝรั่ง ข้าว หรือข้าวโพด แต่ล่าสุดผู้ผู้ประกอบการได้ผลิตเบคอนเทียมจากไฟเบอร์เชื้อราขึ้นมา โดยเบคอนเชื้อรานี้เป็นนวัตกรรมของบริษัท "Prime Roots" สตาร์ทอัพสัญชาติอเมริกา ซึ่งเชื้อราที่ใช้นั้นเป็นสายพันธุ์ที่ชื่อว่า "Koji" (โคจิ) ซึ่งเป็นเชื้อราที่คนญี่ปุ่นใช้หมักอาหารกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ จำพวกมิโสะ สาเก หรือโชยุ ความพิเศษของเชื้อรา Koji คือเส้นใยที่มีลักษณะใกล้เคียงเนื้ออกไก่ (ต่างจากเนื้อเทียมยี่ห้ออื่นที่ไม่มีเส้นใย แต่ออกแนวเนื้อบดมากกว่า) และยังมีรสความอร่อยตามธรรมชาติ เมื่อนำเชื้อราไปเพาะจนเกิดเส้นใย นำมาผสมกับไขมันและเครื่องปรุงรส แล้วรมควันให้หอม จึงได้เป็นเบคอนเทียมที่มีรสกลมกล่อมคล้ายของจริง นอกจากนี้ยังมีปริมาณโปรตีนสูงกว่าเบคอนจริง ตอนกินเมื่อเอาไปทอดให้กรอบ หรือย่างหอมๆ จะเหมือนกับเบคอนปกติเป็นอย่างมาก เบคอนเทียมตอบโจทย์คนที่ไม่กินเนื้อสัตว์ รวมถึงคนที่แพ้ถั่วเหลืองหรือแพ้กลูเตน ซึ่งหลังจากเปิดขายทางออนไลน์เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมามียอดขายดีมาก สะท้อนให้เห็นว่าตลาดเนื้อเทียมทุกวันนี้มีกำลังซื้อที่สูงมาก ทั้งนี้ กระบวนการทำเนื้อเทียมจาก Koji นี้ยังต่อยอดไปเป็นอย่างอื่นได้อีกมาก ซึ่งนับเป็นก้าวใหม่ของนวัตกรรมอาหารที่น่าจับตามองเป็นอย่างยิ่ง ที่มา : www.smartsme.co.th
23 พ.ย. 2021
EP.6 : การสื่อสารยุคใหม่ ให้โดนใจผู้บริโภคในยุค New & Next Normal
การอบรมเพื่อพัฒนาด้านกระบวนการคิด การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ตามหลักการของ BCG ผสานการจัดการความคิดสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบครบวงจร EP.6 : การสื่อสารยุคใหม่ ให้โดนใจผู้บริโภคในยุค New & Next Normal โดย : คุณแอ๋ม ณัฏฐณิชา ประสานนาม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม #กองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ #DIPROM
22 พ.ย. 2021
Takachar สตาร์ทอัพสายรักษ์โลก เปลี่ยนขยะการเกษตร ให้กลายเป็นเชื้อเพลิง ที่มีมูลค่าตลาดอยู่ราว 10,000 ล้านเหรียญ
ขยะที่เกิดจากภาคเกษตรกรรมนับว่าสร้างความเสียหายให้กับสภาพแวดล้อมโลกมาเป็นระยะเวลานานนับศตวรรษ อันเนื่องมาจากวิธีกำจัดขยะด้วยการเผา ซึ่งเป็นวิธีที่เร็วและใช้ต้นทุนที่ต่ำ จึงเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งผลจากการกระทำนี้ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับสภาพภูมิอากาศโลกต่อเนื่องหลายสิบปี จนในปัจจุบัน เทรนด์ของการฟื้นฟูโลกได้ถูกจุดขึ้นอีกครั้ง จากประชากรโลกที่เริ่มเห็นถึงผลร้ายที่จะตามมาในอนาคต รวมถึงมีกลุ่มคนที่ใช้เทคโนโลยีเข้ามาจัดการกับเรื่องนี้โดยเฉพาะ ดังเช่น Takachar สตาร์ทอัพจากเมืองบอสตัน ที่ประยุกต์เอาเทคนิคกระบวนการทางเคมีสำหรับผลิตเชื้อเพลิง หรือเทคโนโลยีที่เรียกว่า Torrefaction แบบไม่ใช้ออกซิเจน ผ่านเครื่องจักรที่มีขนาดเล็กและต้นทุนต่ำ ในการเปลี่ยนของเสียเหล่านี้ให้กลายเป็นเชื้อเพลิงและปุ๋ย Takachar อยู่ในภารกิจต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จากการสำรวจ ทั่วโลกมีการเผาพืชผลและเศษซากป่ามูลค่า 120,000 ล้านดอลลาร์ในแต่ละปี หากใช้อย่างมีประสิทธิผล สารตกค้างเหล่านี้จะมีมูลค่าสูงถึง 1 หมื่นล้านเหรียญ โดยพวกเขาได้เปลี่ยนชีวมวลของเสียจำนวนมหาศาลให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่วางจำหน่ายในตลาดทั่วโลก . . . . นอกจากเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพราะลดการเกิดควันได้มากถึง 98 เปอร์เซ็นต์ของการเผาไหม้แบบปกติ กระบวนการนี้ยังสร้างรายได้ให้เกษตรกรด้วย เพราะขยะการเกษตรที่เต็มไปด้วยคาร์บอนไดออกไซด์และเหมาะกับการนำมาแปลงเป็นเชื้อเพลิงเหล่านี้จากทั่วโลกถูกประเมินว่ามีมูลค่าสูงถึง 10,000 ล้านเหรียญ “อุปกรณ์ของเรามีต้นกำเนิดมาจากการคั่วเมล็ดกาแฟสไตล์ฝรั่งเศส ที่ใช้วิธีการควบคุมอากาศในการอบ วิธีการนี้จะดึงโมเลกุลที่มีพลังงานต่ำออกมา และเหลือไว้แต่วัตถุดิบที่อุดมด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งสามารถนำมาเป็นเชื้อเพลิงหรือปุ๋ยได้” Vidyut Mohan ผู้ร่วมก่อตั้งของ Takachar กล่าว อันที่จริงเทคโนโลยี Torrefaction ถูกใช้อย่างแพร่หลายมาแล้วกว่าศตวรรษ ซึ่ง Takachar หวังว่าจะทำให้เทคโนโลยีดังกล่าวเข้าถึงเกษตรกรทั่วไปได้มากขึ้นโดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกล และเมื่อไม่นานมานี้ก็เพิ่งประสบความสำเร็จในโครงการนำร่องที่เคนยา ที่นำข้าวสารตกค้างมาเปลี่ยนเป็นเชื้อเพลิงและจำหน่ายให้กับเกษตรกรกว่า 5,000 ราย และกำลังมองหาความเป็นไปได้สำหรับการขยายบริการในเชิงพาณิชย์ และเมื่อเดือนที่ผ่านมา สตาร์ทอัพรักษ์โลกเจ้านี้ ก็เพิ่งคว้ารางวัล Earthshot ในงานประกวดด้านสิ่งแวดล้อมที่จัดขึ้นโดยเจ้าชายวิลเลียม และเคต มิดเดิลตัน ดยุกและดัชเชสแห่งเคมบริดจ์ เพราะเวทีนี้มองว่า Takachar แสดงให้เห็นถึงความเฉลียวฉลาดของมนุษย์ ในการลดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่ง Freethink ก็ได้ยกย่องความสำคัญของการประกวดเวทีนี้ว่าเปรียบเสมือนออสการ์ของวงการสิ่งแวดล้อมเลยทีเดียว ด้าน Mohan บอกว่ารางวัลนี้มีความหมายกับพวกเขามากๆ เพราะเปิดโอกาสในการยกระดับ Takachar ให้เป็นโครงการระดับโลก และยังทำให้เข้าถึงการสนับสนุนและแหล่งเงินทุนที่สำคัญ ซึ่งจำเป็นมากสำหรับภารกิจเปลี่ยนโลกในครั้งนี้ ที่มา https://www.smartsme.co.th/content/245666#!
22 พ.ย. 2021
EP.5 : Ways to BCG Design ออกแบบให้ Close Loop
การอบรมเพื่อพัฒนาด้านกระบวนการคิด การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ตามหลักการของ BCG ผสานการจัดการความคิดสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบ ครบวงจร EP.5 : Ways to BCG Design ออกแบบให้ Close Loop โดย : คุณวี - กวีนา ศรีวิโรจน์ ผู้เชี่ยวชาญจาก TIPMSE สถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม #กองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ #DIPROM
19 พ.ย. 2021
EP.4 : การสื่อสารภาพลักษณ์แบรนด์และสร้างเครือข่ายทางการตลาด(Brand Communication& Marketing Network)
การอบรมเพื่อพัฒนาด้านกระบวนการคิด การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ตามหลักการของ BCG ผสานการจัดการความคิดสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบครบวงจร EP.4 : การสื่อสารภาพลักษณ์ของแบรนด์และการสร้างเครือข่ายทางการตลาด (Brand Communication & Marketing Network) โดย : คุณวิชิต ตรีสุระอนันต์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม #กองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ #DIPROM
16 พ.ย. 2021