ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 ปรุงไอเดีย วิสาหกิจชุมชน เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์
อุบลราชธานี 23 ธันวาคม 2564 ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM IPC7) แลกเปลี่ยนแนวทางในการดำเนินธุรกิจ การออกแบบ การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ กับผู้เข้าร่วมฝึกอบรมในกิจกรรมการเพิ่มศักยภาพวิสาหกิจชุมชนด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูป (Agro Genius Community Enterprise) ภายใต้โครงการการยกระดับสินค้าเกษตรสู่เกษตรอุตสาหกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 23-24 ธันวาคม 2564 ณ โรงแรมบ้านสวนคุณตา กอล์ฟ แอนด์ รีสอร์ท อุบลราชธานี โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากภาคเอกชน บริษัท โพรแอค เน็ตเวิร์ก จำกัด ร่วมเป็นวิทยากรบรรยาย อาทิ การตลาดและพฤติกรรมผู้บริโภคในยุค New Normal, การตลาดออนไลน์ทำได้ด้วยตัวเอง, มาตรฐานการผลิตอาหารและกฏหมายที่เกี่ยวข้อง, การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่หรือต่อยอดผลิตภัณฑ์เดิม, เทคนิคการศึกษาและการยืดอายุผลิตภัณฑ์ การถนอมอาหาร การรักษาคุณภาพ, การใช้เครื่องมือเครื่องจักรให้เหมาะสมกับวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ เพื่อให้เกิดการพัฒนาสินค้าผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปได้อย่างยั่งยืน.เจ้าหน้าที่ร่วมนางสาวนราวดี จันทร์จำปา, นางสาวจันทร์จิรา เสือโคล่ง, นายตระกูล อ่อนรัตน์, นายสมชาย เชาว์ประโคน.#ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่7 #DIPROM
23 ธ.ค. 2021
เสริมแกร่ง SMEs รองรับการเปลี่ยนแปลง วิถี New Normal
อุบลราชธานี 23 ธันวาคม 2564 ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM IPC7) ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ"การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง วิถี New Normal" โครงการการปรับธุรกิจให้รองรับการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 23-24 ธันวาคม 2564 ณ ห้อง U2 โรงแรมยูเพลส มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เพื่อแลกเปลี่ยนมุมมอง สร้างแนวคิดใหม่ๆ สู่การพัฒนาศักยภาพของวิสาหกิจขนาดกลางขนาดย่อม (SMEs) ปรับทิศทางการดำเนินธุรกิจ ภายใต้สถานการณ์โควิด -19 ให้สามารถต่อยอดโมเดลธุรกิจ (Business Model) รูปแบบใหม่ ให้อยู่รอดหรือขยายธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน สำหรับการอบรมในครั้งนี้ มีผู้ประกอบการเข้าร่วม 15 คน ทั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานสถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีประสบการณ์การให้คำแนะนำ การบริการฝึกอบรมที่มีประสบการณ์ในการเป็นวิทยากรให้ความรู้เสริมทักษะ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้รับความรู้ในการพัฒนาองค์ความรู้และทักษะด้านการผลิต การบริหารจัดการ และช่องทางการจัดจำหน่าย รวมถึงพัฒนารูปแบบการดำเนินธุรกิจให้สามารถเพิ่มมูลค่าของสินค้า อีกทั้งส่งเสริมให้เกิดการแสวงหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ที่สามารถตอบโจทย์ทางธุรกิจและสามารถประยุกต์ใช้กับรูปแบบธุรกิจเดิมได้อย่างรวดเร็ว ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาสินค้าและบริการให้ตอบสนองต่อโจทย์ของตลาดและผู้บริโภคในสถานการณ์ปัจจุบันและอนาคตต่อไป.เจ้าหน้าที่ร่วมนายสุมิตร ส่งเสริม, นางสาวใหม่นภา พุฒพิมพ์,นางสาวจันทร์จิรา เสือโคล่ง, นายตระกูล อ่อนรัตน์, นายสมชาย เชาว์ประโคน
23 ธ.ค. 2021
ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ประชุมประจำเดือน ธ.ค.64 ติดตามความคืบหน้าการดำเนินโครงการ/กิจกรรม
อุบลราชธานี 22 ธันวาคม 2564 ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM IPC7) เป็นประธานการประชุมเจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 ครั้งที่ 6/2564 ณ ห้องประชุมผาแต้ม ชั้น 2 อาคารอำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 และผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยมีผู้อำนวยการกลุ่มฯ และเจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 เข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง.การประชุมในครั้งนี้เป็นการประชุมประจำเดือน ธันวาคม 2564 ติดตามความคืบหน้าการดำเนินโครงการ/ กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 อาทิ การดำเนินงานศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 (ITC 4.0), การดำเนินงานโครงการเงินทุนหมุนเวียนฯ, ผลการเบิกจ่ายงบประมาณและผลผลิต, โครงการ Made in Thailand, โครงการส่งเสริมสุขภาวะองค์กรในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SHAP), กิจกรรมศูนย์สุขภาพดีวัยทำงานในสถานประกอบการ (Wellness Center) อีกทั้งหารือแนวทางการดำเนินงานภายในองค์กร แลกเปลี่ยนทิศทางกรอบการทำงานส่งเสริมผู้ประกอบการในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด.#ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่7 #DIPROM
22 ธ.ค. 2021
เปิด NEC เสริมสร้างผู้ประกอบการ เริ่มต้นธุรกิจ ขยายกิจการ มุ่งสู่ผู้ประกอบการอัจฉริยะ
ศรีสะเกษ 20 ธันวาคม 2564 ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM IPC7) ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ กิจกรรมการถ่ายทอดความรู้ในการจัดตั้งและขยายธุรกิจ ภายใต้โครงการการเร่งการจัดตั้งและขยายธุรกิจของผู้ประกอบการอัจฉริยะ ณ ห้องซังฮี้ โรงแรมแกลเลอรี่ ดีไซน์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ กล่าวรายงานโดย นางสาวปริทัศน์ เชื้อประทุม ซึ่งกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้ดำเนินโครงการสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการใหม่เชิงสร้างสรรค์และนวัตกรรม ตั้งแต่ปี 2545 และดำเนินงานต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน มุ่งส่งเสริมและสนับสนุน เพื่อให้เกิดผู้ประกอบการใหม่ สร้างโอกาสและขับเคลื่อนกลไกสำคัญในการสร้างความเติบโตให้กับเศรษฐกิจในระยะยาว กระตุ้นให้เกิดผู้ประกอบการใหม่ สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ เช่น ผู้ประกอบการที่มีการใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม ผู้ประกอบการในงานสร้างสรรค์และออกแบบให้มีศักยภาพ ในการประกอบธุรกิจสมัยใหม่สามารถแข่งขันในตลาดได้อย่างยั่งยืน . การดำเนินการฝึกอบรมในครั้งนี้ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 ได้ประชาสัมพันธ์เพื่อรับสมัครคัดเลือก และสัมภาษณ์ ผู้ที่เหมาะสมเข้ารับการฝึกอบรม ผลจากการคัดเลือกปรากฏว่ามีผู้ที่เหมาะสมเข้ารับการฝึกอบรมกิจกรรมการถ่ายทอดความรู้ในการจัดตั้งและขยายธุรกิจ ภายใต้โครงการการเร่งการจัดตั้งและขยายธุรกิจของผู้ประกอบการอัจฉริยะ พื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 35 คน ซึ่งจะดำเนินการฝึกอบรมความรู้ทั่วไปในการจัดตั้ง/ดำเนินธุรกิจ และแนวคิดการสร้างธุรกิจเชิงอัจฉริยะ ระหว่างวันที่ 20 - 24 ธันวาคม 2564 การจัดทำแบบจำลองธุรกิจ/แผนธุรกิจ/โมเดลธุรกิจให้เกิดมูลค่า ระหว่างวันที่ 27 - 29 ธันวาคม 2564 และจัดกิจกรรมกระตุ้นตลาด ทดสอบตลาด/การตลาดออนไลน์ และการสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการรุ่นใหม่ พร้อมศึกษาดูงาน ในช่วงเดือน มกราคม และเดือนกุมภาพันธ์ อีกทั้งยังได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานอื่นๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน มาร่วมแชร์ประสบการณ์ ความรู้ ในการดำเนินธุรกิจมาเป็นวิทยากร อาทิ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี . เจ้าหน้าที่ร่วม นายสมเกียรติ จันทร์เพ็ญมงคล , สิบเอกกรุงรัตน์ อยู่คล้ำ , นายมิตร แสงกล้า
20 ธ.ค. 2021
เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป
อุบลราชธานี 20 ธันวาคม 2564 ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM IPC7) มอบหมายให้ นายฉาย ทองละมุล ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงานภูมิภาค ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 (DIPROM IPC7) เป็นประธานเปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป” กล่าวต้อนรับโดย นายกฤษณะ นอขุนทด ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรม และกล่าวรายงานโดย นายสุมิตร ส่งเสริม สำหรับกิจกรรมการพัฒนาเทคโนโลยีเกษตรอุตสาหกรรมอัจฉริยะ ภายใต้โครงการยกระดับสินค้าเกษตรสู่เกษตรอุตสาหกรรม การจัดการฝึกอบรม จำนวน 2 วัน ระหว่างวันที่ 20 - 21 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ณ โรงแรมอารยา รีสอร์ทโขงเจียมริเวอร์ไซด์ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี มีผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการจำนวน 20 คน ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานสถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี และมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีประสบการณ์การให้คำแนะนำ การบริการฝึกอบรมที่มีประสบการณ์ในการเป็นวิทยากรให้ความรู้เสริมทักษะ ให้กับผู้เข้าการฝึกอบรม เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ประกอบการอันเป็นเป้าหมายของการจัดฝึกอบรม.เจ้าหน้าที่ร่วมนายสุมิตร ส่งเสริม, นางสาวนราวดี จันทร์จำปา, นางสาวใหม่นภา พุฒพิมพ์ และนายศุภชัย สืบวงศ์
20 ธ.ค. 2021
เข้าใจการตลาดมองขาดยุค New Normal
อุบลราชธานี 18 ธันวาคม 2564 ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM IPC7) ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หัวข้อ “เข้าใจการตลาดมองขาดยุค New Normal” หลักสูตร การฝึกอบรมการเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการเพื่อก้าวสู่ยุค Industry 4.0 (Ready to SME 4.0) ภายใต้โครงการ การพัฒนาผู้ประกอบการสู่ความเป็นอัจฉริยะ โดยมี ดร. นราธิป อ่ำเที่ยงตรง วิทยากรและที่ปรึกษา ด้านการตลาด การขาย / การบริการ / การท่องเที่ยว / การพัฒนาศักยภาพบุคลากร องค์กรภาครัฐ เอกชน และการพัฒนาผู้ประกอบการ มาเป็นวิทยากรถ่ายทอดให้ความรู้ เสริมทักษะ ประสบการณ์ ให้กับผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้ศึกษา เรียนรู้และสามารถนำองค์ความรู้ ไปประยุกต์ใช้แก้ปัญหาในทางปฏิบัติจริง ซึ่งผู้เข้าอบรมจะได้รับความรู้ในเรื่องของการตลาด การรู้จักตัวตน สู่การสร้างคุณค่าและพัฒนาสู่การสร้างแบรนด์ที่ชัดเจน เข้าใจการตลาด ในยุค New Normal มากขึ้น โดยมีผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น 50 คน
18 ธ.ค. 2021
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ขับเคลื่อนรณรงค์แต่งกายด้วยผ้าไทยและผ้าพื้นเมือง
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ขับเคลื่อนรณรงค์แต่งกายด้วยผ้าไทยและผ้าพื้นเมือง
14 ธ.ค. 2021
"Wellness Center" ศูนย์สุขภาพดีวัยทำงานในสถานประกอบการ
อุบลราชธานี 13 ธันวาคม 2564 ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM IPC7) เข้าร่วมพิธีเปิดการสัมนาเชิงปฏิบัติการศูนย์สุขภาพดีวัยทำงานในสถานประกอบการ "Wellness Center" การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ภายใต้โครงการส่งเสริมสุขภาวะองค์กรในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs Happy and Productive Workplace : SHAP) และพิธีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกิจกรรมศูนย์สุขภาพดีวัยทำงานในสถานประกอบการ (Company's Wellness Center) ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยได้รับเกียรติจาก นายภาสกร ชัยรัตน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นประธานฯ กล่าวรายงานโดย นายวุฒิชัย ประชาพร ผู้อำนวยการกองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม . ซึ่ง กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้รับความร่วมมือจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ในการดำเนินโครงการส่งเสริมสุขภาวะองค์กรในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs Happy and Productive Workplace : SHAP) ระยะเวลาดำเนินงานปี 2563-2566 โดยทางโครงการฯ มีแผนดำเนินกิจกรรมศูนย์สุขภาพดีวัยทำงานในสถานประกอบการ (Company's Wellness Center) เพื่อให้เกิด "ศูนย์กลาง" ในการให้คำปรึกษาแบะส่งเสริมดูแลสุขภาพที่ครอบคลุมในทุกมิติหรือสุขภาพแบบองค์รวม (Total worker health) นำไปสู่การมีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่สมบูรณ์สำหรับพนักงานในสถานประกอบการ สำหรับพื้นที่ดำเนินงานของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มีสถานประกอบการที่ผ่านการเข้าร่วมโครงการ อาทิ หจก.ศูนย์รถยนต์อุบลเซอร์วิส 1997 โดย นายไพบูลย์ คำศรี, โรงงานผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวซุ่นกี่ ศรีสะเกษ โดย นายวีระยุทธ ฐิติสมบูรณ์ . สำหรับการจัดกิจกรรมสัมนาเชิงปฏิบัติการศูนย์สุขภาพดีวัยทำงานในสถานประกอบการ "Wellness Center" การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ภายใต้โครงการส่งเสริมสุขภาวะองค์กรในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs Happy and Productive Workplace : SHAP) ในครั้งนี้ จัดขึ้นทั้งหมด 2 วัน ระหว่างวันที่ 13-14 ธันวาคม 2564 มีการบรรยายถ่ายทอดองค์ความรู้ แนวคิดการเป็นแกนนำสุขภาพคุณทำงานองค์รวม Work Health Leader ในการขับเคลื่อนงานส่งเสริมและดูแลสุขภาพดีวัยทำงานในสถานประกอบการ วิทยากรโดย นางสาวรุ้งประกาย วิฤทธิ์ชัย กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค, เทคนิคการให้คำปรึกษาด้านการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมในสถานประกอบการ นายกันตินินท์ เดชจินดา นักจิตวิทยาองค์กรเครือข่ายคนไทยไร้พุง, การคัดกรองและจัดการเพื่อป้องกันปัญหาออฟฟิศซินโดรม ดร.พญ.ชุลีกร ธนธิติกร สถาบันเวชศาสตร์ป้องกันศึกษา กรมควบคุมโรค พร้อมทั้งหลักการประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพแบบองค์รวมและการจัดทำแผนการบริหารจัดการความเสี่ยง สำหรับวันที่ 14 ธันวาคม 2564 เป็นการบรรยายกฏหมายและการควบคุมบริโภคยาสูบในสถานประกอบการและรูปแบบการส่งเสริม การลด ละ เลิกบุหรี่ สุราและสิ่งเสพติดในสถานประกอบการ วิทยากรโดย นายจิระวัฒน์ อยู่สบาย รองผู้อำนวยการกองงานคณะกรรมมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ กรมควบคุมโรค, การคัดกรองและจัดการปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่พบบ่อย ผศ.นายแพทย์ สมเกียรติ แสวงวัฒนาโรจน์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, การประเมินด้านสุขภาพจิตและการจัดการความเครียดคนทำงาน นางสาวทิพวรรณ อังศิริ ผู้จัดการส่วนกลุ่มความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม องค์กรต้นแบบ Wellness Center . เจ้าหน้าที่ร่วม นายพัฒนพงษ์ กลิ่นลั่นทม, นายสุมิตร ส่งเสริม, นางแพงศรี พงษ์เกษม, นายธนเดช ศฤงคารนันต์, นางสาวนราวดี จันทร์จำปา, นายอัครภณ จำปารัตน์ . #ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่7
13 ธ.ค. 2021
IoT & Low cost automation เสริมองค์ความรู้ SMEs เพิ่ม Productivity
อุบลราชธานี ระหว่างวันที่ 1-3 และ 7-8 ธันวาคม 2564 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM IPC7) จัดกิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร "พัฒนาการผลิตยุคใหม่ด้วยเทคโนโลยี IOT & Low Cost Automation" ณ ห้องประชุมผาแต้ม ชั้น 2 อาคารอำนวยการ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 โดย ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มอบหมายให้ นายกฤษณะ นอขุนทด ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดกิจกรรม กล่าวรายงานโดย นายจักรพงศ์ มูลสมบัติ นักเทคนิคอุตสาหกรรม ส3 มีผู้เข้าอบรมจำนวน 20 ท่าน ซึ่งเทคโนโลยี IoT & Low cost automation หรือที่เรียกกันง่ายๆว่า “ระบบอัตโนมัติต้นทุนต่ำ” ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมมากขึ้น เพื่อการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพ และลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ซึ่งทักษะความรู้ ที่จำเป็นสำหรับการออกแบบ กระบวนการอัตโนมัติต้นทุนต่ำ คือการนำหลักการของ Lean มาพัฒนาให้เกิดความเสถียร ในกระบวนการผลิต ควบคู่ไปกับความรู้ด้าน Karakuri Kaizen หรือการใช้แรงโน้มถ่วงเพื่อให้เกิดพลังงานจลน์ แทนการใช้พลังงานไฟฟ้ามาออกแบบระบบอัตโนมัติต้นทุนต่ำ ให้เหมาะสมกับอุตสาหกรรม โดยวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรมในครั้งนี้ เป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับบุคลากรในภาคอุตสาหกรรม ในด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วย IoT & Low cost automation เพิ่มองค์ความรู้ด้านนวัตกรรม ระบบอัตโนมัติต้นทุนต่ำ สร้างความเข้าใจ ในการนำระบบ IoT & Low cost automation มาประยุกต์ใช้ ในสถานประกอบการ และเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น และผู้ประกอบการสามารถนำองค์ความรู้ ไปพัฒนาและปรับปรุงการผลิตให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นในอนาคต โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือผู้ประกอบการ บุคลากรภาคอุตสาหกรรม และผู้ที่สนใจทั่วไป
09 ธ.ค. 2021
ผอ.ศภ.7 กสอ. ประชุมประจำเดือน พ.ย.64 ติดตามผลการดำเนินงานโครงการ
อุบลราชธานี 24 พฤศจิกายน 2564 ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM IPC7) เป็นประธานการประชุมเจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 ครั้งที่ 5/2564 ณ ห้องประชุมผาแต้ม ชั้น 2 อาคารอำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 โดยมีผู้อำนวยการกลุ่มฯ และเจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 เข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง เพื่อหารือแนวทางการดำเนินงานภายในองค์กร และแลกเปลี่ยนทิศทางกรอบการทำงานส่งเสริมผู้ประกอบการในพื้นที่.#ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่7 #DIPROM
24 พ.ย. 2021