ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จัดทำผลิตภัณฑ์ต้นแบบด้วยทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญา สร้างโอกาสทางการตลาด
ระหว่างวันที่ 15 - 18 มิถุนายน 2564 ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มอบหมายให้ นายสุเทพ ทุตา ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมอุตสาหกรรมชุมชน ร่วมลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงาน/ โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาสู่สากล โดยการจัดทำผลิตภัณฑ์ต้นแบบ จำนวน 11 ผลิตภัณฑ์ เพื่อส่งเสริมและประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา วัฒนธรรม อัตลักษณ์ของท้องถิ่น ให้สามารถสร้างโอกาส เพิ่มมูลค่า ยกระดับการผลิตผลิตภัณฑ์และสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน.เจ้าหน้าที่ร่วมนายประสพ รักษา, นายสมชาย เชาว์ประโคน
18 มิ.ย. 2021
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโลจิสติกส์ ลดต้นทุน เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ
ระหว่างวันที่ 16 - 18 มิถุนายน 2564 ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มอบหมายให้ นายกฤษณะ นอขุนทด ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรม ร่วมลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงาน/ โครงการ ในกิจกรรมให้คำแนะนำเชิงลึกเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโลจิสติกส์ เพื่อการลดต้นทุนและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ภายใต้โครงการเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานภาคอุตสาหกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ณ สถานประกอบการ โดยมี บริษัท บัวทองสมุนไพรและสปา จำกัด จ.อุบลราชธานี ผู้ผลิตภัณฑ์ แชมพูสมุนไพร สบู่เหลว และผลิตภัณฑ์อื่นๆ จากสมุนไพร ในเรื่องระบบการวางแผนหรือคาดการณ์ความต้องการของลูกค้า โดยจัดทำระบบการจัดการสินค้าเพื่อวัดความถูกต้องของการคาดการณ์ยอดขาย, บริษัท อีสานคอนกรีต (1991 ) จำกัด จ.อุบลราชธานี ผู้ผลิตและจำหน่าย ผลิตภัณฑ์คอนกรีตผสมเสร็จและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในงานก่อสร้าง เรื่องระบบการจัดเก็บสินค้าคงคลัง การสร้างระบบสามารถติดตามสถานะการเคลื่อนไหวสินค้าคงคลัง รวมทั้งวางแผนการกำหนดเป้าหมายของระดับสินค้าและวัตถุดิบคงคลังแต่ละชนิด , บริษัท 3เอ เบฟเวอเรจ จำกัด จ.ยโสธร ผู้ผลิตและจำหน่าย ผลิตภัณฑ์ น้ำดื่มบรรจุขวด บรรจุถัง ในเรื่องของการลดต้นทุนในการขนส่งสินค้า โดยการสร้างระบบในการวางแผนการขนส่งสินค้าเพื่อให้ใช้รถขนส่งสินค้าได้เต็มประสิทธิภาพ และ บริษัท พรูเด็นเชียล แอมพรี (ไทยแลนด์) จำกัด จ.อุบลราชธานี ผู้ผลิต ชุดปลอดเชื้อ อุปกรณ์และชุดสำหรับใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เรื่องการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง (Inventory Management) โดยการศึกษาและรวบรวมข้อมูลปริมาณการสั่งซื้อ และวัตถุดิบแต่ละล็อตการผลิตเพื่อจัดทำระบบควบคุม.เจ้าหน้าที่ร่วมนายรัฐนนท์ บุญญา, นายพิจิตต์ จอมหงษ์ , นายจิตติ โสบุญ
18 มิ.ย. 2021
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นำผู้เชี่ยวชาญพัฒนาผลิตภัณฑ์ ยกระดับผ้าทอมือด้วยอัตลักษณ์ท้องถิ่น
อุบลราชธานี 18 มิถุนายน 2564 ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มอบหมายให้ นางเปลี่ยน จำปาหอม เจ้าพนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมอาวุโส ร่วมติดตามการดำเนินงานการให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกโดยผู้เชี่ยวชาญในกิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์และเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ ภายใต้โครงการยกระดับผ้าทอมืออัตลักษณ์อีสานสู่สากล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ณ สถานประกอบการ สุภาพรผ้าไทย จ.อุบลราชธานี , สถานประกอบการ บุญนภา จ.อุบลราชธานี และ สถานประกอบการ โอลีฟหน่อย จ.อุบลราชธานี.เจ้าหน้าที่ร่วมนางสาวอภิชญา มาศรักษา , นายมิตร แสงกล้า
18 มิ.ย. 2021
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พบผู้ประกอบการ ชี้แจงรายละเอียดกิจกรรมส่งเสริมเกษตรอุตสาหกรรมครบวงจร
ระหว่างวันที่ 16 - 18 มิถุนายน 2564 ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มอบหมายให้ นายกฤษณะ นอขุนทด ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรม ร่วมลงพื้นที่ชี้แจงรายละเอียดการดำเนินกิจกรรม/ โครงการ พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนแนวทางในการดำเนินธุรกิจ ความต้องการของสถานประกอบการ ภายใต้โครงการ การส่งเสริมเกษตรอุตสาหกรรมครบวงจร ในปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ณ ร้านไผ่ทองประสาร จ.ยโสธร , ร้านโกดังข้าวไชยกุล ฟาร์มเอาท์เลท จ.ยโสธร , บ้านขนมระฆังทอง จ.ศรีสะเกษ , หจก.พี.วาย.เอส.ไทยฟูดส์ จ.ศรีสะเกษ และร้านโจโจ้หมูกระทะ จ.อุบลราชธานี.เจ้าหน้าที่ร่วมนางสาวนราวดี จันทร์จำปา, นายสังวาลย์ จันทะเวช
18 มิ.ย. 2021
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม บริการให้คำปรึกษาแนะนำผู้ประกอบการ
อุบลราชธานี 18 มิถุนายน 2564 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม บริการให้คำปรึกษาแนะนำด้านการอออกแบบฉลาก ด้านการตลาด ด้านการเงิน/บัญชี แก่ผู้ประกอบการ ผลิตภัณฑ์มูลไส้เดือน และผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ กล้วยตากแห้ง อบกรอบ.เจ้าหน้าที่ร่วมนายชิติพัทธ์ กรไกร, นางสาวเกษรินทร์ ศรีคำ , นายบุญสาร แสนโท
18 มิ.ย. 2021
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพการผลิตให้วิสาหกิจชุมชน ปรับปรุงประสิทธิภาพ เพิ่มผลิตผล ลดต้นทุนการผลิต
ระหว่างวันที่ 10-11 มิถุนายน 2564 ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 มอบหมายให้ นายกฤษณะ นอขุนทด ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรม ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จัดกิจกรรมการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในหลักสูตร "การพัฒนาศักยภาพการผลิตด้วยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป" กิจกรรมการพัฒนาเทคโนโลยีเกษตรอุตสาหกรรมอัจฉริยะ ภายใต้โครงการส่งเสริมเกษตรอุตสาหกรรมครบวงจร เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้แก่วิสาหกิจ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการและบุคลากรในสถานประกอบการ ให้นำเครื่องมือในเรื่องการลดต้นทุนการผลิต และไปประยุกต์ใช้ในการวางแผนลดต้นทุนการผลิตในองค์กร ให้สามารถบริหารจัดการการผลิต เพิ่มผลผลิตและเพิ่มผลิตภาพได้ โดยมี ผศ.รัฐพงศ์ ปฏิกานัง, ผศ.ถนัดกิจ ศรีโชค, ดร.สุรเจษฐ์ ก้อนจันทร์ อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ร่วมเป็นวิทยากร.การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ ดำเนินการ ณ วิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวตำบลไผ่ อ.ทรายมูล จ.ยโสธร , กลุ่มเพาะเลี้ยงและแปรรูปปลาตะเพียนอินทรีย์บ้านคำครตา อ.ทรายมูล จ.ยโสธร , วิสาหกิจชุมชนแปรรูปไม้ไผ่และสมุนไพรบ้านเชียงเพ็ง ต.เชียงเพ็ง อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 24 คน .เจ้าหน้าที่ร่วมนายสุมิตร ส่งเสริม, นางสาวใหม่นภา พุฒพิมพ์, นายสมชาย เชาว์ประโคน
11 มิ.ย. 2021
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เสริมแกร่งศักยภาพการผลิตวิสาหกิจชุมชนด้วยเทคโนโลยี
ระหว่างวันที่ 7-8 มิถุนายน 2564 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในหลักสูตร "การพัฒนาศักยภาพการผลิตด้วยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป กิจกรรมการพัฒนาเทคโนโลยีเกษตรอุตสาหกรรมอัจฉริยะ" ภายใต้โครงการส่งเสริมเกษตรอุตสาหกรรมครบวงจร ณ วิสาหกิจชุมชนพัฒนาอาชีพสตรีบ้านดู่ใน อ.หัวตะพาน จ.อำนาจเจริญ , วิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผึ้ง อ.เมือง จ.อำนาจเจริญ และ วิสาหกิจชุมชนไผ่ตงสมสะอาด หมู่ 12 อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร.เจ้าหน้าที่ร่วมจัดกิจกรรมนางสาวประภาวดี มีนาเขตร, นายสุมิตร ส่งเสริม, นางสาวใหม่นภา พุฒพิมพ์, นายศุภชัย สืบวงศ์
08 มิ.ย. 2021
ศภ.7 กสอ. เปิด SHINDAN ออนไลน์ หัวใจของการดำเนินธุรกิจสู้ Covid-19
อุบลราชธานี วันจันทร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ.2564 ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร "การสร้างและพัฒนาผู้ให้บริการธุรกิจด้านวินิจฉัยสถานประกอบการ (SHINDAN)" กิจกรรมการสร้างและพัฒนาผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม (Service Provider : SP) โครงการพัฒนาระบบการส่งเสริม SMEs ผ่านระบบ ZOOM Application โดยมี นายสุริยา โพธิยา ผู้อำนวยการกลุ่มบริการธุรกิจอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ กล่าวรายงาน.การดำเนินธุรกิจในปัจจุบันความต้องการของลูกค้าที่ต้องการสินค้าหรือบริการที่มีความหลากหลายและทันสมัย อีกทั้งสถานการณ์ของ Covid-19 การปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ การบริหารจัดการด้านการตลาด โดยใช้ทักษะวิชาตัวเบา จะสามารถดำเนินการกิจได้ต่อเนื่อง ขณะเดียวกันจะต้องพัฒนาต่อยอดทักษะเดิม เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลง ทักษะการพัฒนานวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อการปรับใช้ในกระบวนการต่าง ๆ และทักษะความคิดสร้างสรรค์ ในการพัฒนาบุคลากรผู้ให้บริการธุรกิจด้านวินิจฉัยสถานประกอบการ ในหลักสูตร SHINDAN องค์ความรู้และทักษะนี้ จะสามารถวินิจฉัย วิเคราะห์สภาพปัญหา พร้อมกำหนดกลยุทธ์สำหรับการแก้ไขปัญหาของสถานประกอบการของตนเอง และสามารถนำความรู้ที่ถูกต้องไปปรับใช้กับอุตสาหกรรมกับเพื่อนผู้ประกอบการ ช่วยเหลือ แลกเปลี่ยน หรือให้คำปรึกษาแนะนำได้ เสริมแกร่งความสามารถในการผลิตเพื่อสร้างผลกำไร การลดต้นทุน การลดของเสีย เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป.หลักสูตรนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 24-25, 28, 30-31 พฤษภาคม 2564 และวันที่ 1-2 มิถุนายน 2564 โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญและมากประสบการณ์ อาทิ ด้านการบริหารและบุคคล คุณมนัสนันท์ ปัญญาสกุลวงศ์ , ด้านการตลาด คุณสุพัตรา บัวแสงจันทร์, ด้านบัญชีและการเงิน คุณปริญญา เร่งพินิจ โดยมีผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมที่ผ่านการคัดเลือก จำนวน 15 คน
24 พ.ค. 2021
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 ถ่ายทอดวิสาหกิจชุมชน สร้างทักษะที่จำเป็นในการทำงาน เชื่อมโยง ITC รองรับการเติบโต ยุค New Normal
อุบลราชธานี ระหว่างวันที่ 7-9 เมษายน พ.ศ.2564 ศูนย์ส่งสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จัดกิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร "การเพิ่มทักษะบุคลากรผ่านศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม (Reskill)" ภายใต้โครงการยกระดับศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมเพื่อขับเคลื่อนวิสาหกิจชุมชนสู่ความยั่งยืน ณ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยได้รับเกียรติจาก ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมพบปะพูดคุย ให้กำลังใจผู้ประกอบการที่เข้าร่วมกิจกรรม.สำหรับการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์อุตสาหกรรมเป้าหมาย กิจกรรมจำลอง การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอุตสาหกรรมเป้าหมาย ระบบมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเป้าหมาย การเตรียมเอกสารเพิ่มเข้าสู่ระบบมาตรฐานต่างๆ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ่านกลไกของศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม และการบูรณาการ ภาครัฐ ภาคเอกชน หน่วยงานเครือข่าย รวมทั้งพัฒนาศักยภาพในกระบวนการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิต ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ซึ่งท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจและโควิด-19 การ ReSkill หรือ UpSkill เป็นการเพิ่มทักษะของบุคลากรและการเชื่อมโยงกับศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 ของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 ถือเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือซึ่งผู้ประกอบการสามารถเข้ามารับบริการหรือขอคำแนะนำในการดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง
10 เม.ย. 2021
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 เปิดโครงการ คพอ.374 ยโสธร เสริมสร้างแรงจูงใจ ต่อยอดการดำเนินธุรกิจ ยุค New Normal
อุบลราชธานี ระหว่างวันที่ 8-9 เมษายน พ.ศ.2564 นายภาสกร ชัยรัตน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มอบหมายให้ นายรุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร "พัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม (คพอ.)" รุ่นที่ 374 DIPROM for New Normal 2021 Yasothon ณ โรงแรมบ้านสวนคุณตา กอล์ฟ แอนด์ รีสอร์ท จังหวัดอุบลราชธานี . นายรุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า พื้นที่รับผิดชอบของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้ดำเนินการจัดฝึกอบรมไปแล้วทั้งสิ้น 21 รุ่น คือ จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 9 รุ่น , จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 5 รุ่น, จังหวัดอำนาจเจริญ จำนวน 4 รุ่น และจังหวัดยโสธร จำนวน 3 รุ่น ซึ่งสำหรับในครั้งนี้ คพอ. 374 เป็นรุ่นที่ 4 ของจังหวัดยโสธร อีกทั้งต้องขอขอบคุณหน่วยงานเครือข่ายในพื้นที่ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่ร่วมประชาสัมพันธ์โครงการนี้ให้แก่กลุ่มเป้าหมายในจังหวัดยโสธร รวมทั้งจังหวัดใกล้เคียง แสดงให้เห็นว่าโครงการนี้ เป็นอีกหนึ่งโครงการที่ได้รับความสนใจ จากผู้ประกอบการ ซึ่งหลังจากการเปิดกิจกรรมในครั้งนี้ ต่อไปจะเป็นการจัดกิจกรรมฝึกอบรมอย่างเข้มข้นจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญพร้อมด้วยประสบการณ์ จะมาถ่ายทอด แลกเปลี่ยน ให้ข้อเสนอแนะ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้รับความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ เข้าใจ เรียนรู้ วิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการดำเนินธุรกิจ การลงทุน การปรับปรุงประสิทธิภาพ เพื่อให้สามารถนำข้อมูลไปใช้ประกอบในการตัดสินใจในอนาคต หรือสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะอย่างได้ด้วยตนเองดียิ่งขึ้นต่อไป
10 เม.ย. 2021