โอกาสดี โอกาสเดียว ที่คุณจะได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยผู้เชี่ยวชาญ
โอกาสดี โอกาสเดียว ที่คุณจะได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยผู้เชี่ยวชาญ กิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด (Agro-Processing Product 4.0 : APP) ภายใต้โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปแบบครบวงจร (Agro-Processing Industry Esan Lower 2) ปีงบประมาณ 2564 กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปหรืออุตสาหกรรมอื่นที่เกี่ยวข้อง ในพื้นที่ 4 จังหวัด (อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร ศรีสะเกษ) จำนวนไม่น้อยกว่า 50 ราย ???????????????? ผลที่ได้จากการเข้าร่วมโครงการ : สถานประกอบการได้รับการพัฒนายกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ตอบสนองความต้องการ การดำเนินงาน : ได้รับการประเมินศักยภาพสถานประกอบการ จำนวน 50 ราย ได้รับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 30 ราย/ 30 ผลิตภัณฑ์ . ระยะเวลา : จำนวน 8 เดือน ตั้งแต่ เดือนมีนาคม 2564 ถึง เดือนกรกฎาคม 2564 จัดโดย : กลุ่มพัฒนาการส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรม ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เลขที่ 222 หมู่ที่ 24 ถ.คลังอาวุธ ต.ขามใหญ่ อ.เมืองอุบลราชธานี 34000 โทรศัพท์ : 08 9190 5725 (รัฐนนท์) 06 2889 4156 (เกษรินทร์) รับสมัครแล้ววันนี้ จนถึงวันที่ 8 มีนาคม 2564 สมัครก่อนมีสิทธิ์ก่อน สมัครเลย หมายเหตุ : ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 ขอสงวนสิทธิ์ในการคัดเลือกผู้เข้าร่วมกิจกรรม ดังนี้ 1. ลำดับในการสมัครเข้ากิจกรรมใน กูเกิ้ลฟอร์ม 2. ขอสงวนสิทธิ์ให้กับผู้ที่ไม่เคยเข้าร่วมกิจกรรม/โครงการ ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ปีงบประมาณ 2564 3. ขอสงวนสิทธิ์ในการคัดเลือกสถานประกอบการ โดยใช้เกณฑ์ของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 4. ปิดรับสมัครวันที่ 8 มีนาคม 2564
01 มี.ค. 2021
แตกต่างอย่างสร้างสรรค์...เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์สู้ Covid-19
แตกต่างอย่างสร้างสรรค์...เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์สู้ Covid-19.1-3 มีนาคม 2564ณ ห้องประทุมมาศ โรงแรมสุนีย์ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี.โดย ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมภายใต้กิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด : APP ภายใต้โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปแบบครบวงจร (Agro-Processing Industry Esan Lower 2).ทีมวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างกลยุทธ์ทางการตลาดทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแปรรูปสินค้าเกษตรแปรรูป (จากสถาบันอาหาร)ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างและพัฒนาแบรนด์.ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการก่อนเข้าสู่การให้คำแนะนำเชิงลึกต่อไปลงทะเบียนเลยhttps://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLScOuIJi5oEVhz7a-Unhncm2dSR5drWnMfZ1E6-EeWJQGAHNUg/viewform *ในข้อ 8 เลือกกิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด.สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม08-77858217 (คุณฝ้าย), 09-02426265 (คุณติ้ม)
25 ก.พ. 2021
กิจกรรมออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ (Thai – idc)
ทุกวันนี้โลกเราหมุนเวียนไปเร็วมาก ผลิตภัณฑ์ของเราจะตามเค้าให้ทันได้อย่างไร ?.ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 ขอแนะนำกิจกรรมออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ (Thai – idc)...พัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ Product Design...ภายใต้โครงการการสร้างมูลค่าเพิ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564----------------------------------------------พิเศษสุดๆ!! สำหรับผู้ประกอบการในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี, ศรีสะเกษ, อำนาจเจริญ, ยโสธร! ไม่มีค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร! คุณจะได้ร่วม :กิจกรรมที่ 1 ฝึกอบรม/สัมมนาเชิงปฏิบัติการ เพื่อค้นหาแนวทางการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์/บรรจุภัณฑ์ กิจกรรมที่ 2 การพัฒนาผลิตภัณฑ์/บรรจุภัณฑ์ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ จนกระทั่งได้ต้นแบบผลิตภัณฑ์/บรรจุภัณฑ์ (คัดเลือกผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 10 ท่าน จากกิจกรรมที่ 1เข้าสู่กิจกรรมที่ 2 โดยคณะกรรมการฯ ).#อย่าลืมรีบสมัครกันมานะครับ .https://forms.gle/NcfMwWFViJVr7hUn8รับสมัครตั้งแต่วันนี้ - 25 มกราคม 2564.สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม1. คุณม๊าเหมี่ยว 08 2151 99732. คุณหนึ่ง 08 5495 34323. คุณเก่ง 08 6246 1388______#ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7
19 ม.ค. 2021
การรับสมัครการเข้ารับการคัดเลือกรางวัลอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2564 ประเภทการบริหารธุรกิจสู่สากล
ขอเชิญ SME สมัครเข้ารับการคัดเลือก รางวัลอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมดีเด่น ประจำปี 2564 (The Prime Miniter's Small and Medium Industry Award) ประเภท การบริหารธุรกิจสู่สากล (Global SME) ส่งใบสมัครได้ที่ E-mail : globalsmeaward@gmail.com สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม 02 202 4575 หรือ 02 202 4493
14 ม.ค. 2021
พาณิชย์ หนุนเกษตรกร-SMEs ปรับแผนรับมือโควิด ใช้ FTA ควบคู่ค้าขายออนไลน์
นายวีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล รมช.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้มอบนโยบายให้กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ปรับกลยุทธ์การทำงาน ปี 2564 แก้เกมโควิด-19 ระบาดระลอกใหม่ โดยให้เน้นการใช้เทคโนโลยีออนไลน์สำหรับกิจกรรมฝึกอบรมเสริมสร้างองค์ความรู้ เพื่อติดอาวุธให้กับกลุ่มเกษตรกร, SMEs, สหกรณ์ และวิสาหกิจชุมชน พร้อมใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรี (FTA) ควบคู่ไปด้วย เพื่อให้สามารถจับคู่ธุรกิจเพิ่มยอดขาย และบุกตลาดต่างประเทศได้จริง ในช่วงปีที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่ากรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้ทำงานร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร อาทิ สภาเกษตรกรแห่งชาติ วิสาหกิจชุมชน และกลุ่มสหกรณ์มาอย่างต่อเนื่อง โดยได้จัดฝึกอบรมเสริมสร้างองค์ความรู้ด้านการทำธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ กฎระเบียบและมาตรการทางการค้า รวมถึงพฤติกรรมผู้บริโภคในตลาดส่งออก และการพัฒนาสินค้าให้ตอบโจทย์ความต้องการของตลาด ซึ่งสามารถช่วยเพิ่มยอดขายและโอกาสทางการตลาดให้กับเกษตรกร และ SME ได้มากขึ้น โดยเฉพาะในตลาดที่ไทยมี FTA ด้วย "ดังนั้น ในปีนี้จึงเน้นย้ำให้กรมฯ เพิ่มการนำเทคโนโลยีออนไลน์ มาเป็นตัวช่วยในการจัดกิจกรรม เพื่อให้เกษตรกร SME สหกรณ์ และวิสาหกิจชุมชน สามารถเจาะตลาดต่างประเทศ และเพิ่มยอดขายได้มากขึ้น แม้ในช่วงวิกฤติโควิด" นายวีรศักดิ์กล่าว ด้านนางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า สำหรับโครงการสำคัญที่กรมฯ จะดำเนินการ ในปี 2564 และจะเพิ่มการนำเทคโนโลยีออนไลน์มาใช้ในการจับคู่ธุรกิจ ตามนโยบายของ รมช.พาณิชย์ ได้แก่ โครงจัดทัพโคนมไทย บุกตลาดต่างประเทศด้วย FTA ซึ่งเน้นขยายตลาดส่งออกไปอาเซียนและจีน, โครงการจับมือผู้ประกอบการใน 4 จังหวัดชายแดนใต้ เพิ่มการส่งออกต่างประเทศด้วย FTA ร่วมกับ ศอ.บต., โครงการเพิ่มศักยภาพเกษตรกรไทยให้สามารถเพิ่มการส่งออกโดยใช้ประโยชน์จาก FTA ร่วมกับสภาเกษตรกรแห่งชาติ, โครงการพัฒนาความพร้อมทางการค้าสหกรณ์ไทยสู่โลกการค้าเสรี และโครงการยกระดับผู้ประกอบการไทยผ่านโลกการค้าเสรี ร่วมกับสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ปัจจุบันไทยมีความตกลง FTA จำนวน 14 ฉบับ (รวม RCEP) กับ 18 ประเทศ ได้แก่ สมาชิกอาเซียน 9 ประเทศ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เปรู ชิลี และฮ่องกง โดยในปี 2562 การค้าของไทยกับประเทศคู่ FTA 18 ประเทศ มีมูลค่ารวม 302,991 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือกว่า 2 ใน 3 (สัดส่วน 63% ของมูลค่าการค้าไทย กับโลก) โดยส่งออกไปประเทศคู่ FTA มูลค่า 150,933 ล้านเหรียญสหรัฐ และนำเข้ามูลค่า 152,639 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับในช่วงเดือน ม.ค. - พ.ย.63 การค้าของไทยกับประเทศคู่ FTA มีมูลค่า 250,721 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นการส่งออกมูลค่า 128,221 ล้านเหรียญสหรัฐ และนำเข้ามูลค่า 122,500 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งประเทศคู่ FTA ที่เป็นคู่ค้าสำคัญ 3 อันดับแรก ได้แก่ อาเซียน จีน และญี่ปุ่น อ้างอิง https://www.ryt9.com/s/iq03/3190864
13 ม.ค. 2021
บอกละเอียดยิบ! รวมมาตรการเยียวยาของสถาบันการเงินช่วยลูกค้าจากโควิด-19 ระบาดใหม่
การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ในประเทศไทยได้ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการ และประชาชนในวงกว้าง โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ถูกให้เป็นจังหวัดเสี่ยงทั้งหมด 28 จังหวัด ซึ่งมีมาตรการควบคุมที่เข้มงวดจากภาครัฐฯ ทั้งในเรื่องการเปิด-ปิดสถานประกอบการ, การเดินทางเข้า-ออก, การตรวจคัดกรองเชื้อ เหล่านี้นำมาสู่รายได้ที่ลดลง ตลอดจนสภาพคล่องทางการเงินของธุรกิจที่จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐฯ เข้ามาพยุงให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้ในสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 ที่กลับมาระบาดอีกครั้ง ซึ่งแน่นอนว่าผู้ประกอบการไทยยังอยู่ในสภาวะฟื้นตัวจากการระบาดครั้งแรกที่ต้องเจ็บตัวไปตาม ๆ กัน การประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 มกราคม 64 ที่ผ่านมา กระทรวงการคลังเปิดมาตรการด้านการเงินเพื่อดูแลและเยียวยาผู้ประกอบการ และประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทั้งมาตรการที่ทำได้ทันที และมาตรการอื่น ๆ จากสถาบันการเงินที่กำกับดูแลจากภาครัฐฯ ดังต่อไปนี้ ธนาคารออมสิน มาตรการเยียวยาลูกค้า สำหรับลูกค้าสินเชื่อในพื้นที่ควบคุมสูงสุด 28 จังหวัด พักชำระเงินต้น พัก/ลดดอกเบี้ย (แล้วแต่กรณีความรุนแรงแต่ละพื้นที่) ระยะเวลาพักชำระ 3-12 เดือน (แล้วแต่กรณีความรุนแรงแต่ละพื้นที่) หมดเขตวันที่ 31 มกราคม 2564 มาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ขยายเวลาถึง มิ.ย.64 หรือจนกว่าวงเงินจะหมด แบ่งเป็น สินเชื่อเพื่อค่าใช้จ่าย สำหรับผู้มีอาชีพอิสระ วงเงินสูงสุด 10,000 บาท สินเชื่อเสริมพลังฐานราก วงเงินสูงสุด 50,000 บาท ไม่มีหลักประกัน บุคคลค้ำ SMEs มีที่ มีเงิน กู้สูงสุด 70% ของราคาประเมิน สูงสุดไม่เกิน 3 ปี โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ช่วยเหลือ SMEs ภาคการท่องเที่ยว วงเงินสูงสุด 500,000 บาท ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน Soft Loan ฟื้นฟูท่องเที่ยวไทย สถาบันการเงินปล่อยให้กับผู้ประกอบการวงเงินสูงสุด 100 ล้านบาท สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: ธนาคารออมสิน 1115 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) พักชำระหนี้ พักหนี้ทั้งระบบ 1 ปี พักหนี้ต้นเงินโควิด-19 เกษตรกร และ SMEs 1ปี/ 6 เดือน (28 จังหวัด ที่อยู่ในเขตควบคุมสูงสุด และที่รัฐบาลประกาศเพิ่มเติม) พักหนี้ต้นเงินผู้ประกอบการ SME นอก LPH 6 เดือน (28 จังหวัด ที่อยู่ในเขตควบคุมสูงสุด และที่รัฐบาลประกาศเพิ่มเติม) พักหนี้ต้นเงินสินเชื่อฉุกเฉินโควิด-19 ระยะเวลา 6 เดือน (28 จังหวัด ที่อยู่ในเขตควบคุมสูงสุด และที่รัฐบาลประกาศเพิ่มเติม) พักหนี้ต้นเงินสินเชื่อแก้หนี้นอกระบบ 1 ปี (28 จังหวัด ที่อยู่ในเขตควบคุมสูงสุด และที่รัฐบาลประกาศเพิ่มเติม) เติมสินเชื่อฟื้นฟู&ปรับโครงสร้างธุรกิจ สินเชื่อฉุกเฉินโควิด-19 (0.1%/เดือน ปลอดต้น 6 เดือน) วงเงินสูงสุด 20,000 บาท สินเชื่อฉุกเฉินเสริมสภาพคล่องดอกเบี้ยต่ำ (4%) วงเงินสูงสุด 10,000 บาท สินเชื่อระยะสั้นฤดูกาลผลิตใหม่ (Jump Start) (4%) วงเงินสูงสุด 100,000 บาท• สินเชื่อพอเพียงเพื่อเลี้ยงชีพ (0% 3 เดือน, 4% วงเงินสูงสุด 10,000 บาท• สินเชื่อ New Gen Hug บ้านเกิด (0% 3 เดือน, MRR) วงเงินสูงสุด 60,000 บาท• สินเชื่อแก้หนี้นอกระบบ (1%ต่อเดือน) วงเงินสูงสุด 8,000 บาท• สินเชื่อ SMEs (Soft Loan ธปท. ระยะที่ 2) (2%) วงเงินสูงสุด 45,000 บาท สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 02-555-0555 ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) 4 มาตรการลดภาระให้ลูกค้าทั่วประเทศที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 รอบใหม่ ลูกค้าที่เคยเข้าร่วม หรืออยู่ระหว่างใช้มาตรการช่วยเหลือฯ ของ ธอส. ลูกค้าที่มีสิทธิ์แจ้งความประสงค์ขอใช้มาตรการจะต้องมีคุณสมบัติ คือ มีสถานะบัญชีปกติ ไม่อยู่ระหว่างการประนอมหนี้ ลดเงินงวดผ่อนชำระ (ตัดเงินต้นและตัดดอกเบี้ย) เหลือ 25% หรือ 50% หรือ 75% ของเงินงวดผ่อนชำระในปัจจุบันเป็นระยะเวลา 6 เดือน (ก.พ.-ก.ค. 64) ลูกหนี้สถานะ NPL และลูกหนี้สถานะ NPL ที่อยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้ ลดเงินงวดผ่อนชำระ ตัดเงินต้นและตัดดอกเบี้ย เหลือ 25% หรือ 50% หรือ 75% ของเงินงวดผ่อนชำระในปัจจุบันเป็นระยะเวลา 6 เดือน (ก.พ.-ก.ค. 64) ลูกค้าที่ไม่เคยเข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือฯ ของ ธอส. ลูกค้าที่มีสิทธิ์แจ้งความประสงค์ขอใช้มาตรการต้องมีคุณสมบัติ คือ มีสถานะบัญชีปกติ ไม่อยู่ระหว่างการประนอมหนี้ ลดเงินงวดผ่อนชำระตัดเงินต้นและตัดดอกเบี้ย เหลือ 25% หรือ 50% หรือ 75% ของเงินงวดผ่อนชำระในปัจจุบันเป็นระยะเวลา 6 เดือน (ก.พ.-ก.ค.64) ลูกค้าผู้ประกอบการ SMEs สินเชื่อประเภทแฟลต แบ่งเป็น 1.ได้ลดเงินงวดผ่อนชำระ ตัดเงินต้นและตัดดอกเบี้ย เหลือ 25% หรือ 50% หรือ 70% ของเงินงวดผ่อนชำระในปัจจุบันเป็นระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน หรือไม่เกินมิถุนายน 2564 หรือ 2.พักชำระหนี้ถึงมิถุนายน 2564 ในกรณีที่ได้รับผลกระทบทำให้รายได้ไม่เพียงพอในการชำระหนี้ ยื่นคำขอเข้ามาตรการระยะแรกได้ที่สาขาทั่วประเทศ ภายในวันที่ 31 มี.ค.64 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: ธนาคารอาคารสงเคราะห์ 02-645-9000 EXIM BANK มาตรการ “พักชำระหนี้เงินต้น-ดอกเบี้ย” ช่วยเหลือลูกค้าในพื้นที่สีแดง สีส้ม และสีเหลือง พักชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 6 เดือน พักชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 6 เดือน และพักชำระดอกเบี้ยสูงสุด 3 เดือน (สำหรับผู้ประกอบการอาหารแปรรูปอาหารทะเลแช่แข็ง และผักผลไม้เป็นพิเศษ) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย โทร. 0-2617-2111 กด 4 SME D Bank มาตรการ “พักหนี้อุ่นใจ” เติมเงินใหม่ไปต่อ ช่วยเหลือลูกค้าจากการแพร่ระบาดโควิด-19 ระลอกใหม่ พักชำระหนี้เงินต้น 6 เดือน ไม่เกิน 31 ธ.ค.2564 (ขึ้นอยู่กับผลกระทบของลูกค้าแต่ละราย)สินเชื่อรายเล็ก Extra Cash (เติมทุนใหม่ให้ผู้ประกอบการ) วงเงินกู้สูงสุด 3,000,000 บาท/ราย อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น 3% ต่อปีใน 2 ปีแรก ระยะผ่อนชำระนานสูงสุด 5 ปี ปลอดชำระคืนเงินต้นสูงสุดไม่เกิน 12 เดือน ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน กู้ได้ทั้งบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล สินเชื่อเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน บุคคลธรรมดา อัตราดอกเบี้ย 4.875% ต่อปี นาน 3 ปีแรก วงเงินกู้สูงสุด 2,000,000 บาท ผ่อนนานสูงสุด 7 ปี นิติบุคคล อัตราดอกเบี้ย 2.875% ต่อปี นาน 3 ปีแรก วงเงินกู้สูงสุด 5,000,000 บาท สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: SME D Bank 1357 บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) 4 โครงการช่วยเหลือ SMEs สู้ภัยโควิด-19 ระลอกใหม่ บสย. SMEs ดีแน่นอน วงเงินค้ำประกันต่อราย ตั้งแต่ 2 แสนบาท -100 ล้านบาท วงเงินจัดสรร 20,000 ล้านบาท บสย. SMEs บัญชีเดียว วงเงินค้ำประกันต่อราย ตั้งแต่ 2 แสนบาท -100 ล้านบาท วงเงินจัดสรร 5,000 ล้านบาท บสย. SMEs ที่ได้รับสินเชื่อหนังสือค้ำประกัน (LG) วงเงินค้ำประกันต่อราย ตั้งแต่ 2 แสนบาท - 100 ล้านบาท วงเงินจัดสรร 2,000 ล้านบาท บสย. รายย่อย ทั่วไป วงเงินค้ำประกันต่อราย ตั้งแต่ 1 หมื่นบาท – 5 แสนบาท วงเงินจัดสรร 3,000 ล้านบาท สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม 02-890-9999 เงินทุนหมุนเวียนเพื่อการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมมีโครงการ ”เงินทุนหมุนเวียนเพื่อการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทย” เพื่อให้ความช่วยเหลือราษฎรและกลุ่มผู้ประกอบอาชีพอุตสาหกรรมขนาดเล็ก ได้มีโอกาสการเข้าถึงสินเชื่อ เพื่อนำเงินทุนไปเริ่มต้นธุรกิจใหม่ หรือขยายการผลิตและปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต โดยมีกลุ่มอุตสาหกรรม 7 ประเภทที่สามารถยื่นขอสินเชื่อได้ ดังนี้ 1.อาหาร 2.เครื่องดื่ม 3. ผ้าและเครื่องแต่งกาย 4. ของใช้และเครื่องประดับตกแต่ง 5. ศิลปะประดิษฐ์และของที่ระลึกที่สะท้อนวิถีชีวิตภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น 6. สมุนไพรที่ไม่ใช่ยาและอาหาร และ 7. อุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่สนับสนุนเกื้อกูลกลุ่มวิสาหกิจชุมชน หรือ SMEs ใน 6 อุตสาหกรรมข้างต้น นอกจากนี้ยังมีอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปแบบกลางน้ำ และ Food Truck ภาคการผลิต ที่ผ่านโครงการของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
13 ม.ค. 2021
โหลดแล้วลื่น! รวม 5 แอปพลิเคชันที่จะทำให้ทุกวันของคุณง่ายขึ้น (แม้จะเป็นช่วงโควิด-19)
การใช้ชีวิตในยุคนี้อาจจะเรียกได้ว่ามีความสะดวกสบายมากกว่าเมื่อก่อนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการเข้ามาของสมาร์ทโฟนที่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้คนจากหน้ามือเป็นหลังมือเลยก็ว่าได้ เพียงแค่อยากได้อะไรก็เข้าไปในสมาร์ทโฟนแล้วทุกอย่างที่ต้องการก็มาจะวางอยู่ตรงหน้า แอปพลิเคชัน กลายเป็นเครื่องมือสำคัญของผู้คนในยุคปัจจุบันที่จำเป็นต้องโหลดติดสมาร์ทโฟน ซึ่งมีบริการอย่างหลากหลายให้เลือกตามไลฟ์สไตล์ของแต่ละคน โดยในบทความนี้ Smartsme จะพามาแนะนำแอปพลิเคชันที่ควรดาวน์โหลดติดมือถือเพื่อให้การดำเนินชีวิตในแต่ละวันง่ายขึ้น แม้จะเป็นในช่วงโควิด-19 ก็ตามที แอปฯ partyhaan แอปพลิเคชัน partyhaan น่าจะเป็นแอปฯ ที่ถูกใจผู้ที่ชอบสั่งซื้อสินค้าโดยต้องการหาเพื่อนช่วยแชร์ โดยแอปฯ จะช่วยหาเพื่อนช่วยหาร ช่วยแชร์ค่าต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น โปรซื้อ 1 แถม 1, โปรเครื่องสำอาง, มา 4 จ่าย 3, แชร์ค่าทริป ตลอดจนค่าเดินทาง และอื่น ๆ อีกมากมาย โดยขั้นตอนการดำเนินงานก็ไม่ได้ยุ่งยากอะไร เพียงแค่หา Party ที่น่าสนใจ ดูรายละเอียดในห้องนั้นว่ามีกิจกรรมอะไร โดยผู้ใช้สามารถเป็นทั้งคนสร้างห้องปาร์ตี้ และขอเข้าร่วมปาร์ตี้ ซึ่งในปาร์ตี้สมาชิกจะร่วมพูดคุยผ่านระบบแชทเพื่อตกลงรายละเอียดระหว่างกัน รายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.partyhaan.com/ แอปฯ QPER ปัจจุบันการมีรายได้ทางเดียวคงไม่เพียงต่อสภาพความเป็นอยู่ ค่าครองชีพ ที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ หากใครกำลังมองหาอาชีพเสริม อยากใช้เวลาว่างในการสร้างรายได้ ขอแนะนำแอปพลิเคชัน QPER ที่จะทำให้คุณนำความรู้ ความสามารถ หรือขอแค่เพียงมีเวลาก็สามารถเพิ่มเงินในกระเป๋าสตางค์ได้แล้ว QPER ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองวิถีการใช้ชีวิตแบบ New Normal โดยการใช้เทคโนโลยีระบุตำแหน่งปัจจุบัน (Current Location) ค้นหาสิ่งที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว และไม่ต้องเสียเวลาค้นหาจากอินเทอร์เน็ต เช่น คุณอาจจะมีความสามารถในการซ่อมท่อประปา คุณก็ใช้ประโยชน์ตรงนี้รับงานหากมีท่อประปาแตกในพื้นที่ใกล้เคียง หรือหากมีเวลาว่างอาจจะใช้เวลาตรงนี้ไปต่อแถวซื้ออาหารได้ รายละเอียดเพิ่มเติม: https://qper.co/home/ แอปฯ Fixzy คงไม่ใช่เรื่องดีอย่างแน่นอน หากมีอุปกรณ์ เครื่องใช้ภายในบ้านเกิดเสียขึ้นมา แล้วไม่รู้จะทำยังไงดี เพราะใช่ว่าทุกคนจะมีทักษะ หรือความสามารถในเรื่องนี้ จะไปหาช่างซ่อมก็ไม่รู้จะติดต่อใครอีกแน่นอนว่าเรื่องบ้านจะเปลี่ยนเป็นเรื่องง่ายทันที หากโหลดแอปพลิเคชัน Fixzy ซึ่งให้บริการเกี่ยวกับบ้านแบบครบวงจร โดยช่างซ่อมมืออาชีพ สำหรับจุดเด่นของ Fixzy คือบริการดูแลบ้านที่มีให้เลือกอย่างหลากหลาย ตั้งแต่ขั้นตอนแรกไปจนถึงปิดงาน รวมถึงไม่ต้องกังวลเรื่องตารางนัดหมาย โดยผู้ใช้สามารถนัดหมาย เลือกช่างได้ด้วยตนเอง รายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.fixzy.net/ แอปฯ jord sabuy หลายคนมีความกังวลในเรื่องที่จอดรถ เวลาเดินทางไปสถานที่ใดสักที่หนึ่ง ความคิดภายในหัวตีกันไปหมด ไปแล้วจะมีที่จอดหรือไม่? ไปแล้วจะจอดที่ไหนดี จะไปจอดตามข้างทางก็หวั่นในเรื่องของความปลอดภัยที่เราไม่สามารถคาดการณ์ได้ แต่เรื่องนี้จะทำให้ง่ายขึ้นเพียงแค่โหลดแอปฯ jord sabuy โดยผู้ใช้สามารถค้นหาที่จอดรถ ด้วยการระบุตำแหน่ง วัน เวลาในการจอด รวมถึงบริการที่จอดรถ พร้อมเข้าจอดทันที นอกจากนี้ หากมีพื้นที่ลานจอดรถ หรือที่จอดรถว่างตั้งแต่ 1 ที่ขึ้นไป ไม่ว่าจะเป็นที่จอดในสำนักงาน คอนโด ภายในบ้าน ก็สามารถเข้ามาลงทะเบียนผ่านแอปฯ นี้ได้ รายละเอียดเพิ่มเติม: https://jordsabuy.com/ แอปฯ Call Zen Call Zen เป็นแอปพลิเคชันที่ช่วยในการติดต่อคอลเซ็นเตอร์ขององค์กรต่าง ๆ ที่มีระบบตอบรับอัตโนมัติ โดยผู้ใช้คอลเซนไม่จำเป็นต้องรอฟังเทป (เช่น กด1 เพื่อ… กด2 เพื่อ…) อีกต่อไป เพียงแค่เลือกเมนู และแอปพลิเคชันจะดำเนินการโทรออกไปยังเป้าหมายให้โดยอัตโนมัติ เพียงเลือกจากเมนูในแอปพลิเคชัน มาพร้อมระบบการทำงานต่าง ๆ สำหรับแอปฯ Call Zen ได้รวบรวมหมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ และจำเป็นมากกว่า 150 ที่โดยไว้ใน Contact list ไม่ว่าจะเป็น ธนาคาร, บัตรเครดิต, เครือข่ายโทรศัพท์มือถือ, ช่วยเหลือฉุกเฉิน, ไฟฟ้า, ไฟไหม้, ประปา เป็นต้น นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของแอปพลิเคชันที่นำมาแนะนำ ซึ่งยังคงมีแอปฯ อีกมากมายที่ให้ผู้ใช้ได้เลือกโหลดตามความชื่นชอบของตัวเอง เพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตให้มีความสะดวกยิ่งขึ้น อ้างอิง https://www.smartsme.co.th/content/243371
12 ม.ค. 2021
ทำความรู้จัก "พ.ร.บ.เก็บภาษีผู้ค้าออนไลน์" ขายแบบนี้ ต้องเสียภาษีแบบไหน?
ปัจจุบันการขายของออนไลน์กลายเป็นอีกหนึ่งช่องทางสำหรับการสร้างรายได้ที่ได้รับความนิยมจากผู้คนสมัยนี้เป็นอย่างมากทั้งทำเป็นอาชีพเสริม และอาชีพหลัก ให้สามารถเลี้ยงชีพได้ในยุคสมัยที่มีความไม่แน่นอนอยู่รอบตัว ข้อดีของการขายของออนไลน์ คือการมีต้นทุนที่ไม่สูงนัก เมื่อเปรียบเทียบกับการมีหน้าร้านที่ต้องเสียค่าเช่าที่, ค่าคนงาน ตลอดจนการมองหาทำเลที่ต้องมีผู้คนพลุกพล่านเพื่อลดความเสี่ยงว่าสินค้าที่ขายจะไม่เจ๊ง แตกต่างจากการขายของออนไลน์ที่ไม่ต้องใช้เงินทุนในเรื่องการจัดการมากนัก เพียงแค่ใช้สื่อโซเชียลมีเดีย, เว็บไซต์ และแพลตฟอร์มมาร์เก็ตเพลสก็สามารถดำเนินการได้แล้ว ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีผู้ประกอบการหลายรายประสบความสำเร็จจากการขายของออนไลน์ที่ทำรายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำจนสามารถสร้างเนื้อสร้างตัว ยกระดับฐานะขึ้นมาได้ ดังนั้น อาชีพขายของออนไลน์จึงกลายเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจที่ไม่ควรมองข้าม แม้ว่าการขายของออนไลน์จะมีรายได้ดี แต่ผู้ที่สนใจอยากจะเข้ามาทำธุรกิจนี้จำเป็นต้องศึกษารายละเอียดให้ดีก่อน โดยเฉพาะในเรื่องของ "ภาษี" เพื่อป้องกันผลกระทบที่จะตามมาภายหลัง หากปฏิบัติตามกติกาไม่ถูกต้อง และอาจถูกเก็บภาษีย้อนหลัง ขายของออนไลน์ต้องเสียภาษีแบบไหน สำหรับผู้ที่ขายของออนไลน์ แต่ไม่ได้จดทะเบียนในรูปแบบของบริษัท จะชำระภาษีในรูปแบบของเงินได้บุคคลธรรมดา โดยจะถูกจัดอยู่ในประเภท 8 คือเงินได้จากการค้าขาย ซึ่งระยะเวลาการยื่นภาษีจะมี 2 ช่วงด้วยกัน คือ 1.ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 (ช่วงเดือน ม.ค.-มี.ค.) 2.ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 (ช่วงเดือน ก.ค.-ก.ย.) หลักการคำนวณภาษี (รายได้ - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน) x อัตราภาษี = ภาษีที่ต้องจ่าย โดยอัตราการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะเป็นหลักเกณฑ์ของเงินได้สุทธิต่อปี ทำความรู้จัก พ.ร.บ.เก็บภาษีผู้ค้าออนไลน์ ผู้ประกอบการอาจมีความกังวลเกี่ยวกับ พ.ร.บ.เก็บภาษีผู้ค้าออนไลน์ ที่ประกาศให้สถาบันการเงินส่งรายงานธุรกรรมให้กับกรมสรรพากร เพื่อตรวจสอบข้อมูลของผู้ที่มีรายได้ ซึ่งมีร้านค้าออนไลน์อยู่ในกลุ่มเป้าหมายที่จะถูกบังคับใช้ด้วย การตรวจสอบที่เกิดขึ้นเพื่อให้กรมสรรพากรมีข้อมูลที่จะใช้ในการจัดเก็บภาษีที่แม่นยำ และมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยข้อมูลที่ได้รับจะเป็น ชื่อ-นามสกุล, เลขประจำตัวประชาชน, เลขที่บัญชีเงินฝาก, การฝากหรือโอนเงิน, จำนวนครั้งของการฝากหรือโอนรับเงิน สำหรับหลักเกณฑ์ของ พ.ร.บ.เก็บภาษีผู้ค้าออนไลน์ มีดังต่อไปนี้ 1.ฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีตั้งแต่ 3,000 ครั้ง/ปี หากเกินจะโดนตรวจสอบ ไม่ว่ามูลค่าเงินจะโอนมาก-น้อย แค่ไหนก็ตาม 2.ฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 400 ครั้ง และมียอดเงินรวมกันตั้งแต่ 2,000,000 บาท/ปี ขึ้นไป จะต้องโดนตรวจสอบ นั่นหมายความว่า หากผู้ประกอบการไม่เข้าเกณฑ์ที่กล่าวไปข้างต้นก็จะไม่โดนตรวจสอบ แต่ควรจะยื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยหากมีเงินได้สุทธิตั้งแต่ 150,000 บาท/ขึ้นไป ก็จะเสียภาษีตามอัตราของรายได้ที่กำหนด และหากมีรายได้มากกว้า 1.8 ล้านบาท/ปี จะต้องโดนเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย ที่มา: กรมสรรพากร
12 ม.ค. 2021
เงินทุนหมุนเวียนเพื่อการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทย
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมมีโครงการ ”เงินทุนหมุนเวียนเพื่อการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทย” เพื่อให้ความช่วยเหลือราษฎรและกลุ่มผู้ประกอบอาชีพอุตสาหกรรมขนาดเล็ก ได้มีโอกาสการเข้าถึงสินเชื่อ เพื่อนำเงินทุนไปเริ่มต้นธุรกิจใหม่ หรือขยายการผลิตและปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต โดยมีกลุ่มอุตสาหกรรม 7 ประเภทที่สามารถยื่นขอสินเชื่อได้ ดังนี้ 1.อาหาร 2.เครื่องดื่ม 3. ผ้าและเครื่องแต่งกาย 4. ของใช้และเครื่องประดับตกแต่ง 5. ศิลปะประดิษฐ์และของที่ระลึกที่สะท้อนวิถีชีวิตภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น 6. สมุนไพรที่ไม่ใช่ยาและอาหาร และ 7. อุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่สนับสนุนเกื้อกูลกลุ่มวิสาหกิจชุมชน หรือ SMEs ใน 6 อุตสาหกรรมข้างต้น นอกจากนี้ยังมีอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปแบบกลางน้ำ และ Food Truck ภาคการผลิต ที่ผ่านโครงการของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
10 ม.ค. 2021
ครม.อนุมัติขยายเวลาบังคับใช้การแสดงรายละเอียดบนเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ออกไปอีก 180 วัน
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2564 ที่ผ่านมา มีการพิจารณาเรื่อง ร่างกฎกระทรวง กำหนดลักษณะ การทำ วิธีแสดง และการใช้เครื่องหมายมาตรฐานกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 2563 โดยคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ ขยายระยะเวลาบังคับใช้ออกไปอีก 180 วันทั้งนี้ ตามที่ได้มีกฎกระทรวงกำหนดลักษณะ การทำ วิธีแสดง และการใช้เครื่องหมายมาตรฐานกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2563 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2563 และจะมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป คือวันที่ 21 มกราคม 2564โดยมาตรา 5 วรรคท้าย แห่งกฎกระทรวงฯ บัญญัติให้การแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับเครื่องหมายมาตรฐานรวมทั้งใบอนุญาตและข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (QR Code) ซึ่งทางสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และกลุ่ม 7 สมาคมผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเหล็กไทยได้มีหนังสือถึง อก. เพื่อขอให้ อก.พิจารณาขยายระยะเวลาการบังคับใช้กฎกระทรวงดังกล่าวออกไปอีก 6 เดือน เพื่อให้ผู้ประกอบการได้มีเวลาในการเตรียมความพร้อมได้มากยิ่งขึ้นเนื่องจากการแสดงใบอนุญาตและข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (QR Code) ตามที่กำหนดในข้อ 5 วรรคท้ายของกฎกระทรวงดังกล่าว มีผลกระทบต่อผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมในหลายผลิตภัณฑ์ที่ไม่สามารถดำเนินการตามกรอบระยะเวลาที่กำหนดได้ เช่น การปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิต และการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง เป็นต้นอย่างไรก็ตาม ทาง อก.โดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมพิจารณาแล้วเพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการให้สามารถเตรียมความพร้อมในการดำเนินการแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับใบอนุญาตและข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (QR Code) ได้อย่างมีประสิทธิภาพอก.จึงได้ดำเนินการยกร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะ การทำ วิธีแสดง และการใช้เครื่องหมายมาตรฐานกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เพื่อขยายระยะเวลาการบังคับใช้กฎกระทรวงกำหนดลักษณะ การทำ วิธีแสดง และการใช้เครื่องหมายมาตรฐานกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2563 เฉพาะการแสดงรายละเอียดใบอนุญาตและข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามข้อ 5 วรรคสุดท้าย ออกไปอีกหนึ่งร้อยแปดสิบวันทั้งนี้ เมื่อครบกำหนด ผู้รับใบอนุญาตแสดงเครื่องหมายมาตรฐานกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ใบอนุญาตทำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ใบอนุญาตนำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเข้ามาเพื่อจำหน่ายในราชอาณาจักร จะต้องแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับเครื่องหมายมาตรฐาน รวมทั้งใบอนุญาตและข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (QR Code) ให้เห็นได้ง่ายและชัดเจนบนผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือสิ่งบรรจุ หีบห่อ สิ่งหุ้มห่อ หรือสิ่งผูกมัด อ้างอิง https://mgronline.com/smes/detail/9640000001169
10 ม.ค. 2021