กสอ. เยี่ยมชม บริษัท สยาม อาซาฮีฯ ศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต SMEs ไทย ด้วยระบบดิจิทัล เสริมแกร่งจรวด 3 ขั้นผลักดัน SMEs สู่ 4.0
จ.ระยอง 21 มิถุนายน 2561 - นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ลงพื้นที่ศึกษาดูงานสถานประกอบการ บริษัท สยาม อาซาฮี แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด จังหวัดระยอง โดยมี Mr.Tetsuya Kimura Vice President of ISTC และเจ้าหน้าที่ของบริษัท สยาม อาซาฮี แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ให้การต้อนรับพร้อมบรรยายสรุปการดำเนินงานของบริษัท บริษัท สยาม อาซาฮีฯ เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ ในส่วนระบบเกียร์เป็นหลัก และมีความร่วมกับ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ผ่านกิจกรรม “3–Stage Rocket Approach” หรือ“จรวด 3 ขั้นผลักดัน SMEs สู่ 4.0” ภายใต้โครงการ Connected Industries ในส่วนของการดำเนินงานขั้นที่ 1 Visualize Machine ซึ่งเป็นการรวบรวมข้อมูลจากเครื่องจักรแปลงเป็นดิจิทัล เพื่อนำมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิต โดยมีการนำร่องติดตั้งระบบในผู้ประกอบการ SMEs ที่ผ่านการคัดเลือกจำนวน 10 ราย ซึ่งในเครือบริษัท สยาม อาซาฮีฯ เข้าร่วมโครงการถึง 8 บริษัทด้วยกัน ทั้งนี้ ทางบริษัทฯ ได้นำเสนอการใช้งานระบบ RMS (Remote Monitoring Service) ที่ใช้กระบวนการตรวจเฝ้าระวังไลน์การผลิตแบบทางไกล(CT-Monitoring)โดยมีการทำงานผ่านอุปกรณ์ sensor ที่ใช้ติดตั้งเครื่องจักรได้ทั้งแบบเคลื่อนไหวและแบบไม่เคลื่อนไหว ด้วยการจับสัญญาณแสงหรือการเคลื่อนไหวของเครื่องจักร เพื่อนับชิ้นงานที่เครื่องจักรผลิต ซึ่ง sensor ตรวจรับแสง และ sensor แม่เหล็กไฟฟ้า ผ่านเครื่องส่งสัญญาณที่รับการนับจากเครื่องจักรเข้าสู่เครื่องรับสัญญาณเพื่อจัดเก็บข้อมูล และประมวลผลการทำงานของเครื่องจักรผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรินิกส์ที่สามารถใช้งานกับระบบได้ เช่น smart phone, tablet หรือ smart TV ซึ่งระบบ CT-Monitoring สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้กับผู้ประกอบการหรือ SMEs ไทย โดยการลดเวลา ลดค่าใช้จ่าย รวมถึงสามารถปรับปรุงกระบวนการขั้นตอนการทำงานให้ดีขึ้น (kaizen) และแก้ปัญหาได้ทันเวลา สำหรับ Three-Stage Rocket Approach" หรือ จรวด 3 ขั้น เปรียบเสมือนเครื่องมือช่วยขับเคลื่อนให้ SMEs ของไทยสามารถเข้าถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล หุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ 1 Visualize Machine คือ การรวบรวมข้อมูลจากเครื่องจักรให้เป็นดิจิทัลและนำมาใช้วิเคราะห์เพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิต ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง กสอ. กับบริษัท iSmart Technologies Corporation 2. Visualize Craftsmanship คือ การเก็บข้อมูลการเคลื่อนไหวของแรงงานด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อวิเคราะห์การทำงานให้มีเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ เป็นความร่วมมือระหว่าง กสอ. กับ บริษัท iSmart Technologies Corporation บริษัท Toyo Business Engineering corporation 3. Lean Automation System Integrators : หรือ LASI Project คือ การพัฒนาโครงการสาธิตการผลิตแบบลีนออโตเมชั่น ซึ่ง กสอ. ร่วมกับบริษัท เด็นโซ่คอร์เปอเรชั่น ติดตั้งสายการผลิตต้นแบบเป็นแหล่งการเรียนรู้เทคโนโลยีระบบอัตโนมัติแก่ภาคอุตสาหกรรมไทย และภาคการศึกษาไทย #PRDIP(กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
21 มิ.ย. 2018
โครงการปั้นนักธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปไทย หรือ SMEs เกษตรตามแนวทางประชารัฐ
โครงการปั้นนักธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปไทย หรือ SMEs เกษตรตามแนวทางประชารัฐ จะดึงเกษตรกรเข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่าโครงการระยะแรก ที่มีเกษตรกรเข้าร่วม 600 กลุ่ม และเชื่อว่าภายใน 4 ปีนับจากนี้ไปจะผลักดันให้เกษตรกรที่มีทั้งหมด 2,500 กลุ่มได้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด สำหรับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจะชี้แจงทำความเข้าใจรายละเอียดและประโยชน์ของการเข้าร่วมโครงการให้กับวิสาหกิจกลุ่มเป้าหมายพร้อมทั้งติดตามการดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการโดยมีกิจกรรมทั้งสิ้น 3 กิจกรรมคือ การอบรมบ่มเพาะการเป็นผู้ประกอบการ การแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากวัตถุดิบการเกษตรให้มีมูลค่าสูงขึ้น และสนับสนุนโดยจัดตั้งหน่วยผลิตอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปต้นแบบในพื้นที่ โดยการดำเนินการจะบูรณาการความร่วมมือกับหลายภาคส่วนตามแนวทางประชารัฐ วันที่ 18 มิถุนายน 2561 ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 นางวีระวรรณ ปัณฑรสูตร มอบหมายให้ นางละเอียด ไขศรีมธุรส ผู้อำนวยการพัฒนาการส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรม ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 ร่วมเป็นวิทยากรบรรยาย เรื่อง บทบาทศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมกับการแปรรูปสินค้าเกษตร และร่วมประชาสัมพันธ์โครงการปฏิรูปอุตสาหกรรม (ITC) ในโครงการปั้นนักธุรกิจอุตสาหกรรมแปรรูปไทย (SMEs เกษตร) ตามแนวประชารัฐ โดยสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดศรีสะเกษ ณ วัดบ้านซำขี้เหล็ก ต.พราน อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ เจ้าหน้าที่เข้าร่วมกิจกรรมนายชิติพัทธ์ กรไกร , นายนำชัย แย้มพิวัน และนายมิตร แสงกล้า ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 ตั้งอยู่ถนนคลังอาวุธ เส้นเดียวกันกับโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ อุบลราชธานี อยู่ฝั่งตรงข้ามกับกองร้อยอาสารักษาดินแดนจังหวัดอุบลราชธานีที่ 1 นะครับ https://ipc7.dip.go.th/----------------------------------------------------ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 อุบลราชธานี (1) เป็นหน่วยงานวิชาการในการเสนอความเห็นข้อเสนอแนะ สําหรับการกําหนดนโยบายยุทธศาสตร์ และจัดทําแผนพัฒนาอุตสาหกรรมระดับภูมิภาค เพื่อส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและวิสาหกิจชุมชนในภูมิภาคให้เกิดการเชื่อมโยงเชิงยุทธศาสตร์ในกลุ่มจังหวัดและจังหวัดที่รับผิดชอบ(2) ดําเนินการเกี่ยวกับการผลักดันนโยบาย ยุทธศาสตร์และแผนการพัฒนาอุตสาหกรรมในภูมิภาคไปสู่การปฏิบัติ(3) ศึกษา ค้นคว้า พัฒนาองค์ความรู้รูปแบบ หลักสูตรต่าง ๆ ระบบและเทคนิควิธีการในการส่งเสริมพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและวิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และบุคลากรภาคอุตสาหกรรม ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่(4) เป็นศูนย์กลางในการให้คําปรึกษาแนะนําการบริการข้อมูล การออกแบบและพัฒนาเทคโนโลยีบ่มเพาะธุรกิจและสร้างต้นแบบอุตสาหกรรมในระดับพื้นที่ ที่เชื่อมโยงการดําเนินงานกับสํานักงานอุตสาหกรรมจังหวัด(5) ส่งเสริม สนับสนุน ให้บริการ และประสานการดําเนินงานตามนโยบาย แนวทางและมาตรการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการสามารถในการประกอบการที่เป็นเลิศและมีความยั่งยืนสู่สากล #ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 #กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม #กระทรวงอุตสาหกรรม โทรศัพท์ : 045314216-7โทรสาร : (045)311987website : https://ipc7.dip.go.th
18 มิ.ย. 2018
ขอเชิญเข้าร่วมโครงการเชื่อมโยงการค้าชายแดน สู่ Industry 4.0
ฟรี ! ด่วน รับจำนวนจำกัด !------ขอเชิญผู้ประกอบการในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดอำนาจเจริญ จังหวัดยโสธร เข้าร่วมโครงการเชื่อมโยงการค้าชายแดน สู่ Industry 4.0 (เวียดนาม กัมพูชา ลาว) ภายใต้กองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ ------ สำหรับผู้ประกอบการ/สถานประกอบการ ประเภท นิติบุคคลอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ,เกษตรแปรรูป (เวชสำอางและสมุนไพร),การค้าและบริการ (การค้า ท่องเที่ยว โลจิสติกส์ ฯลฯ),และเครื่องจักรกลทางการเกษตรขนาดเล็ก------ รับสมัครและคัดเลือก 14 มิ.ย. 61 ณ โรงแรมพรหมพิมาน อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ 15 มิ.ย. 61 ณ โรงแรมเนวาด้า อ.เมือง จ.อุบลราชธานี 16 มิ.ย. 61 ณ โรงแรมฝ้ายขิด อ.เมือง จ.อำนาจเจริญ 17 มิ.ย. 61 ณ โรงแรมเดอะกรีนปาร์ค แกรนด์ อ.เมือง จ.ยโสธร------สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่บริษัท ไอคิวเอส แมนเนจเม้นท์ จำกัด เลขที่ 120 ซ.คู้บอน 6 แขวงรามอินทรา เขตคันนายาว กทม. 10230โทร. 02-943-0367 โทรสาร. 02-943-0368มือถือ 081-837-4265, 084-564-6546 หรือ E-mail : marketing@iqs-training.com------ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 ตั้งอยู่ถนนคลังอาวุธ เส้นเดียวกันกับโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ อุบลราชธานี อยู่ฝั่งตรงข้ามกับกองร้อยอาสารักษาดินแดนจังหวัดอุบลราชธานีที่ 1 นะครับ https://ipc7.dip.go.th/---------------------------------------------------- ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 อุบลราชธานี (1) เป็นหน่วยงานวิชาการในการเสนอความเห็นข้อเสนอแนะ สําหรับการกําหนดนโยบายยุทธศาสตร์ และจัดทําแผนพัฒนาอุตสาหกรรมระดับภูมิภาค เพื่อส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและวิสาหกิจชุมชนในภูมิภาคให้เกิดการเชื่อมโยงเชิงยุทธศาสตร์ในกลุ่มจังหวัดและจังหวัดที่รับผิดชอบ(2) ดําเนินการเกี่ยวกับการผลักดันนโยบาย ยุทธศาสตร์และแผนการพัฒนาอุตสาหกรรมในภูมิภาคไปสู่การปฏิบัติ(3) ศึกษา ค้นคว้า พัฒนาองค์ความรู้รูปแบบ หลักสูตรต่าง ๆ ระบบและเทคนิควิธีการในการส่งเสริมพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและวิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และบุคลากรภาคอุตสาหกรรม ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่(4) เป็นศูนย์กลางในการให้คําปรึกษาแนะนําการบริการข้อมูล การออกแบบและพัฒนาเทคโนโลยีบ่มเพาะธุรกิจและสร้างต้นแบบอุตสาหกรรมในระดับพื้นที่ ที่เชื่อมโยงการดําเนินงานกับสํานักงานอุตสาหกรรมจังหวัด(5) ส่งเสริม สนับสนุน ให้บริการ และประสานการดําเนินงานตามนโยบาย แนวทางและมาตรการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการสามารถในการประกอบการที่เป็นเลิศและมีความยั่งยืนสู่สากล #ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 #กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม #กระทรวงอุตสาหกรรม โทรศัพท์ : 045314216-7โทรสาร : (045)311987website : https://ipc7.dip.go.th
08 มิ.ย. 2018
ธปท.แจงไม่เลื่อนมาตรฐาน “บัญชีเดียว” แบงก์พาณิชย์พร้อมใช้บัญชีเดียวพิจารณาสินเชื่อ1 ม.ค. 62
นายปรีดี ดาวฉาย ประธานสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่า ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ได้กำหนดนโยบายให้สถาบันการเงินทุกแห่งให้ใช้งบการเงินที่ธุรกิจเอสเอ็มอีแสดงต่อกรมสรรพากรในการยื่นเสียภาษีเงินได้เป็นหลักฐานในการทำธุรกรรมทางการเงิน หรือขอสินเชื่อกับสถาบันการเงิน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562 เป็นต้นไปนั้น ธนาคารพาณิชย์พร้อมดำเนินการตามแนวนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งจะเริ่มใช้งบการเงินที่ธุรกิจเอสเอ็มอีนำส่งสรรพากร ประกอบในการพิจารณาสินเชื่อ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562 เป็นต้นไป เพราะธนาคารพาณิชย์เห็นว่าการที่ธุรกิจเอสเอ็มอีทำบัญชีเดียวจะส่งผลดีต่อธุรกิจ ในการเห็นสถานะทางการเงินที่แท้จริงของธุรกิจจะส่งผลดีต่อการขยายธุรกิจของลูกค้าในอนาคต และในด้านการขอสินเชื่อก็ทำให้ธนาคารพาณิชย์เห็นข้อมูลที่เป็นจริงของธุรกิจสามารถอนุมัติสินเชื่อได้ง่ายขึ้นด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลง ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ได้ออกโครงการสำหรับสินเชื่อบัญชีเดียว อัตราดอกเบี้ย 5% คงที่ 2 ปี ซึ่งมีธุรกิจเอสเอ็มอีที่มีความพร้อมสนใจเข้าร่วมโครงการนี้อย่างต่อเนื่อง และคาดว่าหลังจากที่ธุรกิจเอสเอ็มอียื่นงบการเงินปี 2560 ส่งกรมสรรพากรเมื่อสิ้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา น่าจะมีธุรกิจเอสเอ็มอีเข้าร่วมโครงการสินเชื่อบัญชีเดียวมากขึ้น ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 ตั้งอยู่ถนนคลังอาวุธ เส้นเดียวกันกับโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ อุบลราชธานี อยู่ฝั่งตรงข้ามกับกองร้อยอาสารักษาดินแดนจังหวัดอุบลราชธานีที่ 1 นะครับ https://ipc7.dip.go.th/----------------------------------------------------ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 อุบลราชธานี (1) เป็นหน่วยงานวิชาการในการเสนอความเห็นข้อเสนอแนะ สําหรับการกําหนดนโยบายยุทธศาสตร์ และจัดทําแผนพัฒนาอุตสาหกรรมระดับภูมิภาค เพื่อส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและวิสาหกิจชุมชนในภูมิภาคให้เกิดการเชื่อมโยงเชิงยุทธศาสตร์ในกลุ่มจังหวัดและจังหวัดที่รับผิดชอบ(2) ดําเนินการเกี่ยวกับการผลักดันนโยบาย ยุทธศาสตร์และแผนการพัฒนาอุตสาหกรรมในภูมิภาคไปสู่การปฏิบัติ(3) ศึกษา ค้นคว้า พัฒนาองค์ความรู้รูปแบบ หลักสูตรต่าง ๆ ระบบและเทคนิควิธีการในการส่งเสริมพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและวิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และบุคลากรภาคอุตสาหกรรม ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่(4) เป็นศูนย์กลางในการให้คําปรึกษาแนะนําการบริการข้อมูล การออกแบบและพัฒนาเทคโนโลยีบ่มเพาะธุรกิจและสร้างต้นแบบอุตสาหกรรมในระดับพื้นที่ ที่เชื่อมโยงการดําเนินงานกับสํานักงานอุตสาหกรรมจังหวัด(5) ส่งเสริม สนับสนุน ให้บริการ และประสานการดําเนินงานตามนโยบาย แนวทางและมาตรการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการสามารถในการประกอบการที่เป็นเลิศและมีความยั่งยืนสู่สากล #ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 #กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม#กระทรวงอุตสาหกรรม โทรศัพท์ : 045314216-7โทรสาร : (045)311987website : https://ipc7.dip.go.th
07 มิ.ย. 2018
แนะสตาร์ทอัพไทยมองให้ยาวปรับใช้ AI
หลังจากที่ทั้งภาครัฐและเอกชนเร่งสร้างสตาร์ทอัพ ให้ตอบรับนโยบาย 4.0 มากว่าสามปี เราได้รวบรวมความเห็นของผู้เชี่ยวชาญในวงการถึงทิศทางสตาร์ทอัพไทยว่าไปถูกทางหรือไม่ โดยสรุป นับจากไทยเริ่มพัฒนาสตาร์ทอัพไทยก็ถือว่าเติบโตดีในระดับที่น่าพอใจ แต่เนื่องจากยังอยู่ในขั้นเริ่มต้น เมื่อเทียบกับต่างชาติที่เน้นพัฒนาสตาร์ทอัพมาแล้วเป็นสิบปี ภาครัฐยังต้องลงแรงลงเงินต่อเนื่องต่อไปอีกนาน กว่าจะไปถึงเป้าหมายที่สตาร์ทอัพเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ ต่อจิ๊กซอว์ระบบนิเวศน์ ซีอีโอ Bualuang Ventures ในเครือธนาคารกรุงเทพ ยาญชัย ตันติรัฐพงศ์ ชี้ว่าประเทศไทยพัฒนามาถูกทางแล้ว แต่ก็ยังต้องพัฒนาต่ออีกมาก โดยเฉพาะ ecosystem ไทยยังต้องพัฒนาอีกหลายส่วน เริ่มจากเงินทุนจากเอกชนอย่าง venture capital และ angel investor มีน้อยเกินไป ส่วนใหญ่กองทุนเป็น corporate VC ซึ่งเน้นแต่เทคโนโลยีที่ต่อยอดเฉพาะธุรกิจตน ทำให้ธุรกิจสตาร์ทอัพที่ได้รับเงินทุนสนับสนุนยังไม่ค่อยหลากหลาย ความร่วมมือจากภาคการศึกษาก็สำคัญ ปัจจุบันยังมีไม่มากพอ ในหลายๆประเทศ มหาวิทยาลัยร่วมมือกับสตาร์ทอัพช่วยเติมเต็มการพัฒนาไอเดียนวัตกรรมของสตาร์ทอัพได้ดี และแม้แต่อาจารย์ก็กลายเป็นผู้ก่อตั้งสตาร์ทอัพกันเยอะ แต่ของไทยยังมีน้อย น่าจะขยายได้อีกมาก ที่สำคัญ ในระบบนิเวศน์สตาร์ทอัพไทย มีผู้ที่ผ่านความล้มเหลวมาก่อนจะเติบโตน้อยเกินไป ประสบการณ์ของคนเหล่านี้เป็นบทเรียนที่ชัดเจน ที่จะช่วยเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จให้กับสตาร์ทอัพมือใหม่ได้ดีที่สุด ขยายวิสัยทัศน์ เพิ่มขนาดธุรกิจ ธนพงษ์ ณ ระนอง กรรมการผู้จัดการ Beacon Venture Capital มองสตาร์ทอัพไทย ว่า เติบโตได้ดี แต่ขนาดของแต่ละรายก็ยังเล็กเกินกว่าจะเป็นผู้เล่นหลักในตลาด เมื่อเทียบกับเพื่อนบ้านอย่างสิงค์โปร์ มาเลเซีย ที่มีสตาร์ทอัพขึ้นเป็นผู้นำตลาดได้แล้ว 2-3 ราย ดึงดูดให้ VC ใหม่ๆจากจีน ญี่ปุ่นเข้าไปลงทุน “สตาร์ทอัพไทยที่สามารถพัฒนาขึ้นเป็นผู้ชี้นำตลาดได้มีเพียง 1-2 รายเท่านั้น แต่บริษัทเหล่านี้ก็ยังเล็กเกินไปเมื่อเทียบกับต่างประเทศ ที่มีการระดมทุนกันเป็นหลายสิบล้านเหรียญสหรัฐ เป็นเพราะเมืองไทยมีการแข่งขันสูงมาก ทั้งไทยแข่งกันเอง และยังมีจากต่างประเทศอีก” ธนพงษ์ กล่าว เขาแนะนำสตาร์ทอัพให้ขยายไซส์โดยจับมือกับรายใหญ่เพื่อให้รายใหญ่ที่ครองตลาดและเนตเวิร์กอยู่ ช่วยนำสินค้าไปหาลูกค้า หรือเป็นธุรกิจ B to B to C แทนที่จะเป็น B to C ที่มีการแข่งขันสูง อีกทั้งไทยยังนิยมทำธุรกิจโดยใช้ไอเดียธุรกิจจากต่างประเทศเป้นต้นแบบ ทั้งที่มีบริบทในประเทศ (local context) ที่ต่างกัน ผลคือความล้มเหลวตั้งแต่เริ่มต้น ขาด Tech Talent เพื่อแจ้งเกิดยูนิคอร์น ดุสิต ชัยรัตน์ ผู้จัดการกองทุน AddVentures by SCG มองว่าสตาร์ทอัพไทยจะเติบโตได้เร็วขึ้น จำเป็นต้องสร้างจากไอเดียที่โดดเด่นพอจะขึ้นเป็นยูนิคอร์นได้ ยูนิคอร์นเป็นเสมือนฮีโร่ ช่วยสร้างแรงจูงใจ ปลุกกระแส ดึง tech talent ที่ทำงานองค์กรใหญ่ในต่างประเทศอย่าง Facebook Google Apple ให้กลับมาทำสตาร์ทอัพในไทย และช่วยดึงดูดนักลงทุนให้มาให้น้ำหนักกับการลงทุนในไทยเป็นลำดับต้นๆ มากขึ้นเช่นกัน อย่างอินโดนีเซีย มี GoJek และมาเลเซียมี Grab ที่ดึงมูลค่าการระดมทุนขนาดใหญ่เข้าประเทศระดับกว่าพันล้านเหรียญสหรัฐ รัฐบาลไทยเองก็ต้องร่วมมือในการแก้ไขระเบียบต่างๆให้ดึงดูดหัวกะทิและนักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติให้เข้ามาในประเทศ สร้างเนตเวิร์กนวัตกรรมไปในระดับโลก ดุสิต กล่าวว่า เราต้องขยายความร่วมมือไปในระดับโลก ที่เป็น Global Innovation Hub อย่าง Silicon Valley ของสหรัฐ เทลาวีฟ ในอิสราเอล หรือจากเซี่ยงไฮ้ ปักกิ่ง ที่โดดเด่นเรื่อง automation ในฐานะที่ SCG เป็นกลุ่มทุนอุตสาหกรรมระดับภูมิภาคก็มีบทบาทช่วยเชื่อมโยงความร่วมมือเข้ามาในไทย ล่าสุด SCG ได้จับมือกับ PlugandPlay Accelerator จากซิลิคอน วัลเลย์มีเครือข่ายสตาร์ทอัพจำนวนกว่า 200-300 บริษัท รวมทั้งเคยลงทุน early stage ใน Dropbox จนโด่งดังไปทั่วโลกมาแล้ว หนึ่งฟันเฟืองใหญ่ดันสตาร์ทอัพไทยโต เหล่ากิจการใหญ่ที่เนทเวิร์กแข็งแกร่งต้องมาช่วยสตาร์ทอัพ อย่าง SCG ที่มีเครือข่ายในเกือบทุกประเทศในอาเซียน ก็เข้ามาช่วยลงทุนและร่วมมือกับสตาร์ทอัพไทยของเรา จะทำให้สตาร์ทอัพ พัฒนานวัตกรรม และขยายสเกลได้รวดเร็วขึ้นผ่านเครือข่ายพันธมิตรและลูกค้าของบริษัท แนะสตาร์ทอัพไทยมองให้ยาวปรับใช้ AI Bualuang Ventures ที่มีประสบการณ์ยาวนานในการลงทุนในสตาร์ทอัพในต่างประเทศ ชี้ว่า สตาร์ทอัพไทยควรทุ่มเทกับการพัฒนาระดับ deep tech ให้มากขึ้น และสร้างสินค้าก็ตอบโจทย์ pain point ของลูกค้าให้มากขึ้น ดุสิต เห็นด้วยว่าควรมองระยะไกล การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้องใช้ automation และ artificial intelligence ให้มากขึ้น มากกว่าการทำฟีเจอร์แบบพื้นฐาน อีกทั้ง การหา pain point ก็ควรมองไกลไปถึงเพื่อนบ้านมากกว่าการมองแค่ตลาดในประเทศ โดยมองหาจุดร่วมที่ทุกประเทศมีใกล้เคียงกัน เพื่อให้ได้ตลาดที่ใหญ่ขึ้น อ้างอิง https://www.startupthailand.org/whats-next-path-for-thai-startups-th/
05 มิ.ย. 2018
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 ประกาศ รับสมัครผู้เชี่ยวชาญสนับสนุนงานบริการศูนย์ปฏิรุปอุตสาหกรรม (ITC) จำนวน 1 อัตรา
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 ประกาศ รับสมัครผู้เชี่ยวชาญสนับสนุนงานบริการศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม (ITC) จำนวน 1 อัตรา ตำแหน่ง ผู้เชี่ยวชาญสนับสนุนงานบริการศูนย์ปฏิรุปอุตสาหกรรม (ITC)จำนวน 1 อัตรา ค่าจ้าง 22,500.00 บาท ระยะเวลาการจ้าง ตั้งแต่วันที่ 11 มิถุนายน 2561 ถึง วันที่ 30 กันยายน 2561 รับสมัครตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันที่ 7 มิถุนายน 2561 ประกาศเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2561 Download
30 พ.ค. 2018
AUTOMOTIVE SUMMIT 2018 “ออโตเมชัน และ โรโบติก ก้าวต่อไปของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย”
AUTOMOTIVE SUMMIT 2018 “ออโตเมชัน และ โรโบติก ก้าวต่อไปของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย” สถาบันยานยนต์ขอเชิญคุณมาให้รู้เทรนด์ก่อนใครในวันที่ 20 มิถุนายน 2561 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนาฟัง! “แนวทางการพัฒนาและส่งเสริม SMEs เข้าถึงระบบอัตโนมัติ เพื่อขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมสู่ยุค 4.0” จาก ดร.อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม รู้! เทรนด์การพัฒนาระบบอัตโนมัติของโลกก่อนใคร โดยคุณสุพันธ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เห็น! มุมมอง “การเลือกใช้เทคโนโลยีด้าน Automation ที่เหมาะสมกับธุรกิจยานยนต์สมัยใหม่” จากบริษัทชั้นนำของไทย ดร.ฉัตรแก้ว ฮาตระวัง กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยซัมมิท ออโตโมทีฟ จำกัด ล้วงลึก! บทวิเคราะห์ความท้าทายของการพัฒนากำลังคน มุ่งสู่อุตสาหกรรมยานยนต์ 4.0 จาก คุณสมหวัง บุญรักษ์เจริญ ผู้อำนวยการไทย-เยอรมัน เผยกลยุทธ์! กับกลยุทธ์ความสำเร็จ และตัวอย่างกรณีศึกษาของ SMEs กับการปรับตัวสู่ Automation โดย ศ.ดร.ชิต เหล่าวัฒนา ผู้ก่อตั้งสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เจาะกระแส! “นวัตกรรมยานยนต์สมัยใหม่กับ Automotive Intelligent” โดย ผศ.ดร.นักสิทธ์ นุ่มวงษ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กำหนดการ : https://goo.gl/2WMBst ลงทะเบียนออนไลน์ : https://goo.gl/HkJNi6 ***ลงทะเบียนก่อนมีสิทธิก่อน*** สัมมนา AUTOMOTIVE SUMMIT ภายในงาน “แมนูแฟกเจอริ่ง เอ็กซ์โป 2018” ร่วมเคียงข้างธุรกิจคุณ สู่ไทยแลนด์ 4.0
29 พ.ค. 2018
ก.อุตฯ เร่งอุ้ม SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นราคาน้ำมัน และราคาพลังงาน
กระทรวงอุตสาหกรรม โดย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) เร่งบรรเทาผลกระทบจากการปรับขึ้นราคาน้ำมัน และราคาพลังงาน ด้วยการออกมาตรการเร่งด่วนทางด้านการเงิน และการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของ SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นราคาน้ำมัน และราคาพลังงาน นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า จากการหารือกับสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทยในเรื่องการขอปรับขึ้นราคาค่าขนส่งตามราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นไม่เกินร้อยละ 5 นั้น พบว่ายังไม่ส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าอุปโภคบริโภคอย่างมีนัยสําคัญในช่วง 2-3 เดือนข้างหน้านี้ อย่างไรก็ดี เพื่อเป็นการช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางขนาดย่อม (SMEs) ทั้งในภาคการผลิตและภาคบริการที่อาจได้รับ ผลกระทบจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้น กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) มีโครงการและมาตรการพิเศษสําหรับ SMEs ทั้ง 2 กลุ่ม.....อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
28 พ.ค. 2018
รมช.ก.อุตฯ นำคณะผู้บริหารลงพื้นที่อุบลราชธานี เยี่ยมชมฟาร์มเกษตรอินทรีย์ ที่มีระบบการจัดการในรูปแบบสมาร์ทฟาร์ม
25 พฤษภาคม 2561 นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เยี่ยมชมบริษัท เป็นตาฮักออร์แกนิค ฟาร์ม จำกัด อำเภอสว่างวีระวงศ์ จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีนายจารุพันธุ์ จารโยภาส รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายเอกภัทร วังสุวรรณ รองเลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย นายรังสรร บุญสะอาด อุตสาหกรรมจังหวัดอุบลราชธานี นางวีระวรรณ ปัณฑรสูตร ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 ร่วมลงพื้นที่ บริษัท เป็นตาฮักออร์แกนิค ฟาร์ม จำกัด เป็นฟาร์มที่ผลิตผักอินทรีย์และแปรรูปพืชผลทางการเกษตร โดยใช้ระบบปลูกและจำหน่ายผักออร์แกนิค เน้นการทำการผลิตเกษตรอินทรีย์ บริหารจัดการด้วยระบบกึ่งอัจริยะ (Smart Farm) เป็นศูนย์จำหน่ายสินค้าทางการเกษตรและสินค้าชุมชน และศูนย์เรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์แบบครบวงจร ซึ่งมีเป้าหมายในการยกระดับคุณภาพ มาตรฐาน และความคุ้มค่า โดยการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ
25 พ.ค. 2018