Category
Tags:
ดีพร้อมเซนเตอร์ 7 ติดตามการดำเนินโครงการในพื้นที่
อุบลราชธานี 9 มิถุนายน 2565 ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM CENTER 7) มอบหมายให้ นายรัฐนนท์ บุญญา, นายพิจิตต์ จอมหงษ์, นายสังวาลย์ จันทะเวช ร่วมติดตามการดำเนินโครงการ กิจกรรมการเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานภาคอุตสาหกรรม, กิจกรรมประยุกต์ใช้ระบบดิจิทัลในการบริหารจัดการธุรกิจ ณ สถานประกอบการ สามชัยกรุ๊ป ผลิตภัณฑ์ หมูยอ, บริษัทมาริโอ้ สตีล จำกัด จำหน่ายเหล็กและวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง, ห้างหุ้นส่วนจำกัด อุบลชัยศิริการเกษตร 6395 ผลิตภัณฑ์ จำหน่ายปุ๋ยและวัสดุสินค้าทางการเกษตร.#DIPROM #ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่7
09 มิ.ย. 2022
ความเป็นมา เงินทุนหมุนเวียนเพื่อการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
ความเป็นมา เงินทุนหมุนเวียนเพื่อการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทยจัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2525 โดยการจัดตั้งดังกล่าวคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ความเห็นชอบในการจัดตั้งเงินทุนหมุนเวียนฯเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2524 ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมได้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาเพื่อต้องการให้ความช่วยเหลือราษฎรที่ยากจนและมีความต้องการให้ความช่วยเหลือราษฎร ที่ยากจนและมีความต้องการเงินทุนในการประกอบอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทยให้มีรายได้เพิ่มเติมจากอาชีพหลักโดยใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ วัตถุประสงค์ และหัตถกรรมโดยการสนับสนุน ด้านการเงิน สำหรับการจัดหาวัตถุดิบเครื่องมือ อุปกรณ์ การผลิต การจ้างแรงงาน ในการผลิตการแปรรูปผลิตภัณฑ์และการให้กู้ยืมเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียน สำหรับการประกอบอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรม แก่ราษฎรและกลุ่มผู้ประกอบอาชีพอุตสาหกรรมในอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัว 6 ประเภท ดังนี้ 1.ราษฎรซึ่งเคยได้รับการฝึกอบรมตามหลักสูตรใดหลักสูตรหนึ่งของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมและมีวัตถุประสงค์ที่จะประกอบอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรม2.ราษฎรซึ่งเคยได้รับความช่วยเหลือจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมในด้านการตลาด การปรับปรุงรูปแบบ ผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์ การปรับปรุงกรรมวิธีการผลิตหรือวิธีปฏิบัติหรือวิธีการจัดการในการดำเนินธุรกิจ และมีวัตถุประสงค์ที่จะประกอบอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรม3. กลุ่มอาชีพที่จัดตั้งขึ้นเพื่อประกอบอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมมีคณะกรรมการดำเนินงานของกลุ่มพร้อมทั้งมีทะเบียนสมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่า 10 คน และจัดตั้งมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน เป็นหลักฐานโดยมีเขตหรืออำเภอหรือหน่วยงานราชการอื่นที่อยู่ในพื้นที่ที่สนับสนุนกลุ่มอาชีพนั้นให้การรองรับเป็นหนังสือ4.ห้างหุ้นส่วนสามัญที่จัดตั้งขึ้นเพื่อประกอบอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมมีหุ้นส่วนดำเนินงานของห้างโดยมีหนังสือสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือนพร้อมทั้งใบทะเบียนพาณิชย์เป็นหลักฐาน5.กลุ่มอาชีพ หรือองค์กรที่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล รวมทั้งนิติบุคคลตามกฎหมาย ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีพด้านอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมของราษฎร เช่น องค์การส่วนบริหารตำบล สมาคมกลุ่มเกษตรกร หรือ สหกรณ์ เป็นต้น6.บุคคลผู้ประกอบอาชีพที่สนับสนุนเกื้อกูลแก่ผู้ประกอบอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกร
23 พ.ย. 2021
ผอ.ศภ.7 กสอ. พบ SMEs สร้างขวัญ เสริมกำลังใจ ฝ่าวิกฤต Co-vid 19
ระหว่างวันที่ 5-6 กรกฎาคม 2564 ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม ติดตามผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรมของผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการในปีงบประมาณ พ.ศ.2564 เพื่อรับฟังปัญหาและอุปสรรค รวมทั้งแลกเปลี่ยนมุมมอง แนวทางในการดำเนินธุรกิจในช่วงสถานการณ์การระบาดของ ไวรัสโคโรนา 2019 : Co-vid 19 เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถปรับตัว ก้าวผ่านวิกฤตโควิด-19 ไปได้ . เจ้าหน้าที่ร่วม นายธีระยุทธ เกลื้อกิจ, นายมิตร แสงกล้า
06 ก.ค. 2021
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จัดทำผลิตภัณฑ์ต้นแบบด้วยทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญา สร้างโอกาสทางการตลาด
ระหว่างวันที่ 15 - 18 มิถุนายน 2564 ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มอบหมายให้ นายสุเทพ ทุตา ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมอุตสาหกรรมชุมชน ร่วมลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงาน/ โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาสู่สากล โดยการจัดทำผลิตภัณฑ์ต้นแบบ จำนวน 11 ผลิตภัณฑ์ เพื่อส่งเสริมและประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา วัฒนธรรม อัตลักษณ์ของท้องถิ่น ให้สามารถสร้างโอกาส เพิ่มมูลค่า ยกระดับการผลิตผลิตภัณฑ์และสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน.เจ้าหน้าที่ร่วมนายประสพ รักษา, นายสมชาย เชาว์ประโคน
18 มิ.ย. 2021
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโลจิสติกส์ ลดต้นทุน เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ
ระหว่างวันที่ 16 - 18 มิถุนายน 2564 ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มอบหมายให้ นายกฤษณะ นอขุนทด ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรม ร่วมลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงาน/ โครงการ ในกิจกรรมให้คำแนะนำเชิงลึกเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโลจิสติกส์ เพื่อการลดต้นทุนและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ภายใต้โครงการเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานภาคอุตสาหกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ณ สถานประกอบการ โดยมี บริษัท บัวทองสมุนไพรและสปา จำกัด จ.อุบลราชธานี ผู้ผลิตภัณฑ์ แชมพูสมุนไพร สบู่เหลว และผลิตภัณฑ์อื่นๆ จากสมุนไพร ในเรื่องระบบการวางแผนหรือคาดการณ์ความต้องการของลูกค้า โดยจัดทำระบบการจัดการสินค้าเพื่อวัดความถูกต้องของการคาดการณ์ยอดขาย, บริษัท อีสานคอนกรีต (1991 ) จำกัด จ.อุบลราชธานี ผู้ผลิตและจำหน่าย ผลิตภัณฑ์คอนกรีตผสมเสร็จและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในงานก่อสร้าง เรื่องระบบการจัดเก็บสินค้าคงคลัง การสร้างระบบสามารถติดตามสถานะการเคลื่อนไหวสินค้าคงคลัง รวมทั้งวางแผนการกำหนดเป้าหมายของระดับสินค้าและวัตถุดิบคงคลังแต่ละชนิด , บริษัท 3เอ เบฟเวอเรจ จำกัด จ.ยโสธร ผู้ผลิตและจำหน่าย ผลิตภัณฑ์ น้ำดื่มบรรจุขวด บรรจุถัง ในเรื่องของการลดต้นทุนในการขนส่งสินค้า โดยการสร้างระบบในการวางแผนการขนส่งสินค้าเพื่อให้ใช้รถขนส่งสินค้าได้เต็มประสิทธิภาพ และ บริษัท พรูเด็นเชียล แอมพรี (ไทยแลนด์) จำกัด จ.อุบลราชธานี ผู้ผลิต ชุดปลอดเชื้อ อุปกรณ์และชุดสำหรับใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เรื่องการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง (Inventory Management) โดยการศึกษาและรวบรวมข้อมูลปริมาณการสั่งซื้อ และวัตถุดิบแต่ละล็อตการผลิตเพื่อจัดทำระบบควบคุม.เจ้าหน้าที่ร่วมนายรัฐนนท์ บุญญา, นายพิจิตต์ จอมหงษ์ , นายจิตติ โสบุญ
18 มิ.ย. 2021
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นำผู้เชี่ยวชาญพัฒนาผลิตภัณฑ์ ยกระดับผ้าทอมือด้วยอัตลักษณ์ท้องถิ่น
อุบลราชธานี 18 มิถุนายน 2564 ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มอบหมายให้ นางเปลี่ยน จำปาหอม เจ้าพนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมอาวุโส ร่วมติดตามการดำเนินงานการให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกโดยผู้เชี่ยวชาญในกิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์และเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ ภายใต้โครงการยกระดับผ้าทอมืออัตลักษณ์อีสานสู่สากล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ณ สถานประกอบการ สุภาพรผ้าไทย จ.อุบลราชธานี , สถานประกอบการ บุญนภา จ.อุบลราชธานี และ สถานประกอบการ โอลีฟหน่อย จ.อุบลราชธานี.เจ้าหน้าที่ร่วมนางสาวอภิชญา มาศรักษา , นายมิตร แสงกล้า
18 มิ.ย. 2021
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พบผู้ประกอบการ ชี้แจงรายละเอียดกิจกรรมส่งเสริมเกษตรอุตสาหกรรมครบวงจร
ระหว่างวันที่ 16 - 18 มิถุนายน 2564 ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มอบหมายให้ นายกฤษณะ นอขุนทด ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรม ร่วมลงพื้นที่ชี้แจงรายละเอียดการดำเนินกิจกรรม/ โครงการ พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนแนวทางในการดำเนินธุรกิจ ความต้องการของสถานประกอบการ ภายใต้โครงการ การส่งเสริมเกษตรอุตสาหกรรมครบวงจร ในปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ณ ร้านไผ่ทองประสาร จ.ยโสธร , ร้านโกดังข้าวไชยกุล ฟาร์มเอาท์เลท จ.ยโสธร , บ้านขนมระฆังทอง จ.ศรีสะเกษ , หจก.พี.วาย.เอส.ไทยฟูดส์ จ.ศรีสะเกษ และร้านโจโจ้หมูกระทะ จ.อุบลราชธานี.เจ้าหน้าที่ร่วมนางสาวนราวดี จันทร์จำปา, นายสังวาลย์ จันทะเวช
18 มิ.ย. 2021
เงินทุนหมุนเวียนเพื่อการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทย
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมมีโครงการ ”เงินทุนหมุนเวียนเพื่อการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทย” เพื่อให้ความช่วยเหลือราษฎรและกลุ่มผู้ประกอบอาชีพอุตสาหกรรมขนาดเล็ก ได้มีโอกาสการเข้าถึงสินเชื่อ เพื่อนำเงินทุนไปเริ่มต้นธุรกิจใหม่ หรือขยายการผลิตและปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต โดยมีกลุ่มอุตสาหกรรม 7 ประเภทที่สามารถยื่นขอสินเชื่อได้ ดังนี้ 1.อาหาร 2.เครื่องดื่ม 3. ผ้าและเครื่องแต่งกาย 4. ของใช้และเครื่องประดับตกแต่ง 5. ศิลปะประดิษฐ์และของที่ระลึกที่สะท้อนวิถีชีวิตภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น 6. สมุนไพรที่ไม่ใช่ยาและอาหาร และ 7. อุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่สนับสนุนเกื้อกูลกลุ่มวิสาหกิจชุมชน หรือ SMEs ใน 6 อุตสาหกรรมข้างต้น นอกจากนี้ยังมีอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปแบบกลางน้ำ และ Food Truck ภาคการผลิต ที่ผ่านโครงการของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
10 ม.ค. 2021
สุริยะ ยกเครื่องบริการ ก.อุตฯ เร่งพัฒนา iSingleForm ระบบแจ้งข้อมูลโรงงานในแบบฟอร์มเดียวผ่านระบบออนไลน์ ปฏิรูปการทำงานสู่ยุคดิจิทัล
อุตสาหกรรมเร่งพัฒนาแพลตฟอร์ม iSingleForm เชื่อมโยงข้อมูลหน่วยงานภายใน ปฏิรูปการให้บริการหน่วยงานในสังกัดแบบดิจิทัล พร้อมให้บริการออนไลน์แบบครบวงจร สอดรับการทำงานแบบนิว นอร์มอล ช่วยวิเคราะห์สถานะโรงงานและแจ้งสิทธิประโยชน์ พร้อมนำข้อมูลไปใช้ยกระดับภาคอุตสาหกรรมด้านต่าง ๆ สร้างปัจจัยแวดล้อมสำคัญในการยกระดับภาคอุตสาหกรรมไทยเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้เร่งขยายการบริการให้ครอบคลุมส่วนงานด้านข้อมูลการประกอบกิจการโรงงาน โดยมอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) พัฒนาจัดทำและเปิดใช้งานแพลตฟอร์ม iSingleform ขึ้น เพื่อเป็นช่องทางการบริการแจ้งข้อมูลของผู้ประกอบการให้แก่หน่วยงานต่าง ๆ ภายในกระทรวงให้เหลือเพียงแบบฟอร์มเดียวผ่านระบบออนไลน์ โดยกระทรวงอุตสาหกรรมมีเป้าหมายในการเร่งยกระดับการบริการของกระทรวงเข้าสู่ระบบออนไลน์ให้ครอบคลุมในทุกมิติเพื่อขับเคลื่อนการเป็นรัฐบาลดิจิทัล (Digital Government) ขณะเดียวกันปัจจุบันกระทรวงฯ ได้เปิดให้บริการผ่านระบบออนไลน์ในหลายบริการ อาทิ บริการด้านใบอนุญาต บริการยื่นขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน และบริการใบแจ้งการชำระค่าธรรมเนียมรายปี ซึ่งจะเป็นการลดภาระผู้ประกอบการในการเดินทางมาติดต่อหน่วยงานราชการ “การยกระดับภาคอุตสาหกรรมไทยเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ภาครัฐจำเป็นจะต้องพัฒนาปัจจัยแวดล้อมให้พร้อม อาทิ โครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารและคมนาคม การปรับกฎระเบียบให้ทันสมัย รวมทั้งการบริการของภาครัฐที่ต้องยกระดับให้สอดคล้องกับการทำงานในยุคชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) ซึ่งมีความคุ้นชินในการทำธุรกรรมออนไลน์โดยไม่ต้องเดินทางไปยังสถานที่ราชการเพื่อขอรับบริการ สามารถแจ้งข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลา โดยได้ตั้งเป้าหมายให้ผู้ประกอบการโรงงานแจ้งข้อมูลผ่านแพลตฟอร์ม iSingleForm อย่างทั่วถึงและครอบคลุมผู้ประกอบการในทุกขนาดและทุกพื้นที่มากขึ้นเพื่อสนับสนุนการสร้างกรอบตัวอย่าง (Sampling Frame) ที่ทันสมัยและมีมาตรฐานร่วมกัน ช่วยลดการสำรวจข้อมูลที่ซ้ำซ้อนภายในกระทรวงอุตสาหกรรมและสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการพัฒนาอุตสาหกรรมในด้านต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ” นายสุริยะ กล่าว นายทองชัย ชวลิตพิเชฐ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวต่อว่า สศอ. ได้เร่งพัฒนาระบบ iSingleForm และเปิดใช้งานให้ผู้ประกอบการได้แจ้งข้อมูลตามแบบฟอร์มเดียวซึ่งได้รวบรวมข้อคำถามจากหน่วยงานต่าง ๆ ภายในกระทรวงฯ ไว้ในแบบฟอร์มเดียวเพื่อลดภาระการแจ้งข้อมูล ไม่ให้เกิดความความซ้ำซ้อน โดยข้อมูลที่ผู้ประกอบการได้แจ้งมาตามแพลตฟอร์ม iSingleForm จะถูกนำมาวิเคราะห์ข้อมูลและจัดทำเป็นผลการประเมินสถานภาพของสถานประกอบการเป็นประจำทุกเดือนตามข้อมูลที่ได้แจ้งเข้ามา ซึ่งจะได้รับผลการวิเคราะห์สถานะของกิจการตนเองในแง่มุมต่าง ๆ อาทิ ประสิทธิภาพการผลิต ความสามารถในการจำหน่าย ความสามารถในการบริหารต้นทุน โดยเปรียบเทียบกับผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมทั้งหมด และในรายสาขาอุตสาหกรรม เพื่อให้ผู้ประกอบการนำผลการวิเคราะห์ไปใช้ประโยชน์ นอกจากนี้ ผู้ประกอบการที่แจ้งข้อมูลอย่างต่อเนื่องจะได้รับแจ้งสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เช่น สินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยพิเศษจากธนาคารที่ลงนามในบันทึกความเข้าใจร่วมกัน (MOU) กับทาง สศอ. ซึ่งในปัจจุบันมี 2 ธนาคาร คือ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SMEs Bank) และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM Bank) ได้รับแจ้งสิทธิการเข้ารับคำปรึกษาเพื่อการพัฒนาสถานประกอบการ และการเข้าร่วมโครงการต่าง ๆ ในการเพิ่มประสิทธิภาพสถานประกอบการโรงงาน
04 ม.ค. 2021
คพอ. 362 อจ. กระตุ้น ตระหนัก รุกเร้าธุรกิจ เสริมความสำเร็จ สร้างแรงบันดาลใจจากเจ้าของธุรกิจ
วันที่ 31 กรกฎาคม 2563 -- ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดย ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 มอบหมายให้ นายสุริยา โพธิยา ผู้อำนวยการกลุ่มบริการธุรกิจอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ นำผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ หลักสูตร "พัฒนาผู้ประกอบการสู่การบริหารธุรกิจแบบมืออาชีพ (Smart SMEs Program)" คพอ. รุ่นที่ 362 จังหวัดอำนาจเจริญ ร่วมเยี่ยมชม โรงงานน้ำพริกท่านขุน บริษัท นิยมฟู๊ดส์ จำกัด โดยคุณวรนิยม พงษ์สุวรรณ และ เยี่ยมชม บริษัท โตโยต้าดีเยี่ยม จำกัด โดยคุณสมชาย เหล่าสายเชื้อ เพื่อเยี่ยมชมกิจการและรับฟังการบรรยายพิเศษ แลกเปลี่ยนมุมมองในการดำเนินธุรกิจ การสร้างความสำเร็จในการประกอบธุรกิจ การดำเนินกิจการภายในบริษัท แนวคิด เคล็ดลับการบริหารองค์กร การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ ประสบการณ์ในการฟันฝ่าอุปสรรคตลอดจนการสร้างธุรกิจให้ประสบความสำเร็จให้ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ เกิดแรงบันดาลใจในการสร้างความสำเร็จในการประกอบธุรกิจอุตสาหกรรม โดยมี ผศ.ดร.ภาดล อามาตย์คณบดีคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ร่วมสังเกตุการณ์ในการดำเนินกิจกรรมในครั้งนี้.เจ้าหน้าที่ร่วมนายกุศล ภูวภรณ์กุล, นางสาวปริทัศน์ เชื้อประทุม, นายสมเกียรติ จันทร์เพ็ญมงคล, สิบเอก กรุงรัตน์ อยู่คล้ำ, นายตระกูล อ่อนรัตน์, นายศุภชัย สืบวงศ์.https://www.facebook.com/dip.ipc7.☑ กด Like ☑ กด Share ☑ ติดตามข่าวสารผ่าน Page กันนะครับ#ipc7 #dip #ส่งเสริมพัฒนาผู้ประกอบการ #อุตสาหกรรม#ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่7#กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม #กระทรวงอุตสาหกรรมอัปเดตและติดตามข่าวสารได้ที่✔ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 อุบลราชธานี✔ Line: @ipc7 (มี @ ด้วยนะครับ)✔ Website: ipc7.dip.go.th
31 ก.ค. 2020