Category
Tags:
รายงานงบทดลองหน่วยเบิกจ่ายรายเดือน ประจำเดือน กันยายน 2561 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
รายงานงบทดลองหน่วยเบิกจ่ายรายเดือน ประจำเดือน กันยายน 2561 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม Download
22 ต.ค. 2018
งานบริการ / โครงการ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7
แนะนำตัวอย่างงานบริการ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ส่งเสริม สนับสนุนผู้ประกอบการอุตสาหกรรมรายย่อย ผู้ผลิตอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรม กลุ่มวิสาหกิจชุมชน SME SMCE นักวินิจฉัยสถานประกอบการ หน่วยงานผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม รวมทั้งยังมีพื้นที่ Co-Working Space Cousulting : บริการให้คำปรึกษาแนะนำ แลกเปลี่ยนแนวทางการดำเนินธุรกิจ โดยเจ้าหน้าที่ที่ปรึกษาและผู้เชียวชาญ เช่น ด้านการผลิต การบริหารจัดการ การลดต้นทุนการผลิต ด้านบัญชี/การเงิน สินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการ ด้านการตลาด ด้านมาตรฐานสินค้า รวมทั้งยังมีบริการส่งต่อให้กับหน่วยงานภายในเครือข่าย Design : บริการออกแบบ พัฒนาผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ ตราสินค้า โดยนักออกแบบ ออกแบบพัฒนาตราสินค้า (Logo) ออกแบบบรรจุภัณฑ์และผลิตภัณฑ์ ถ่ายภาพบรรจุภัณฑ์และผลิตภัณฑ์ Machine : บริการเครื่องมือ สำหรับทดลองใช้ในการบริการผลิต การบรรจุ เพื่อเป็นต้นแบบหรือทดลองตลาด อาทิ เครื่องพิมพ์ฉลาก/บาร์โค้ด เครื่องพิมพ์ 3 มิติ เครื่องซีลสูญญากาศ เครื่องปิดฝากระป่อง อัตโนมัติ เครื่องบรรจุของเหลว เครื่องติดฉลาก เครื่องผิดฝาขวด/ฝาฟอยล์ เครื่องตัดอเนกประสงค์ (Flated Cutter)
21 ต.ค. 2018
รมช.อุตฯ เยี่ยมชมโรงงานรีไซเคิลโลหะมีค่าของญี่ปุ่น เล็งนำมาปรับใช้ในไทย
ประเทศญี่ปุ่น 20 ตุลาคม 2561 - นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ศึกษาดูงานโรงงานบริษัท Matsuda Sangyo จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ดำเนินการรีไซเคิลโลหะมีค่าจากกากอุตสาหกรรม โดยมี Mr. Yoshiaki Matsuda ประธานบริษัท Matsuda Sangyo จำกัด ให้การต้อนรับ ในการนี้ นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วมศึกษาดูงาน ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น สำหรับการมาเยือนประเทศญี่ปุ่นครั้งนี้ เพื่อศึกษาระบบการจัดการขยะ กากอุตสาหกรรมและกฎหมายของประเทศญี่ปุ่น โดยได้เข้าเยี่ยมชมศึกษาดูงานบริษัท Matsuda Sangyo จำกัด ที่ดำเนินการซื้อขายโลหะมีค่า (Precious Metals) โดยการรวบรวมเศษโลหะที่มีค่าจากกระบวนการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง นำมาผ่านกระบวนการทางเคมีเพื่อหลอมเป็นทองคำ เงินแพลทินัม แพลเลเดียม และโรเดียม นอกจากโลหะมีค่าแล้ว Matsuda ยังได้ดำเนินการจัดหาวัตถุดิบและสารประกอบจากอลูมิเนียม โครเมียม นิกเกิล การผลิตและขายเคมีภัณฑ์ เครื่องมือวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ และเครื่องกรองอากาศ อีกด้วย ทั้งนี้ บริษัทมีสาขาในประเทศต่างๆ อาทิ ไทย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ จีน มาเลเซีย และเวียดนาม ซึ่งการดูงานครั้งนี้จะนำผลการศึกษาไปออกแบบนโยบายที่เหมาะสมในการส่งเสริมพัฒนาผู้ประกอบการไทยต่อไป ### PR.DIP (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน / ภาพข่าว
20 ต.ค. 2018
ศภ.7 ติดตามการดำเนินงานของโครงการฯ ร่วมกับที่ปรึกษาโครงการฯ
ระหว่างวันที่ 12-13 และ 15-19 ตุลาคม 2561 คณะกรรมการตรวจรับฯ โครงการเชื่อมโยงการค้าชายแดนสู่ Industry 4.0 ประกอบด้วย นางละเอียด ไขศรีมธรุส, นายสุริยา โพธิยา, นายพัฒนพงษ์ กลิ่นลั่นทม, นายศักดิ์สิทธิ์ ศรีวิลัย, นายรัฐนนท์ บุญญา, นางสาวจันทร์จิรา เสือโคร่ง ร่วมลงพื้นที่ จังหวัดอุบลราชธานี, จังหวัดศรีสะเกษ, จังหวัดยโสธรและจังหวัดอำนาจเจริญ เพื่อติดตามการดำเนินงานของโครงการฯ ร่วมกับที่ปรึกษาโครงการฯ
19 ต.ค. 2018
รมช.อุตฯ เยี่ยมชมการจัดการขยะพลาสติกของญี่ปุ่น พร้อมนำไอเดียมาปรับใช้ในภาคอุตสาหกรรมไทย
ประเทศญี่ปุ่น 19 ตุลาคม 2561 - นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ศึกษาดูงานที่หน่วยงาน JCPRA (The Japan Containers and Packaging Recycling Association) และร่วมหารือเกี่ยวกับการจัดการขยะพลาสติกกับ Mr. Hajime HORIDA, Executive Director of JCPRA และ Mr. Naoki AOYAMA, Director of Planning and Public Relations ในการนี้ นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย ผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วมศึกษาดูงาน ณ หน่วยงาน JCPRA กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น หน่วยงาน JCPRA เป็นองค์กรภาครัฐภายใต้กฎหมายว่าด้วยการรีไซเคิลตู้คอนเทนเนอร์และบรรจุภัณฑ์ ตามพระราชบัญญัติในความร่วมมือของรัฐบาล ผู้บริโภค และองค์กรธุรกิจ ทำหน้าที่สนับสนุนและประสานงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์ในการป้องกันสิ่งแวดล้อมในญี่ปุ่นและพัฒนาเศรษฐกิจภายในประเทศ มีกิจกรรมในด้านต่างๆ อาทิ การรีไซเคิล โดยดำเนินการรีไซเคิลในนามของนิติบุคคล เก็บภาชนะและหีบห่อของเสียที่เป็นไปตามมาตรฐานการคัดแยกจากเทศบาล กิจกรรมส่งเสริมการขาย/การศึกษา/การรวบรวม/การสัมมนา/การฝึกอบรมและประชุมชี้แจง รวมถึงการเผยแพร่ข้อมูลต่าง ๆ ผ่านเว็บไซต์ จดหมายข่าว แผ่นพับวิดีโอ การจัดนิทรรศการ และการแลกเปลี่ยนกับองค์กรทั้งในและต่างประเทศ เป็นต้น หลังจากนั้น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และคณะ ได้เดินทางเข้าเยี่ยมชมศึกษาดูงานการคัดแยกขยะที่หน่วยงาน Arakawa Recycling Center ของเทศบาล Arakawa กรุงโตเกียว โดยมีแนวคิดนำผลจากการศึกษาดูงานดังกล่าว ไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์กับภาคอุตสาหกรรมของไทยต่อไป PR.DIP (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน / ภาพข่าว
19 ต.ค. 2018
รมช.อุตฯ จับมือ รมช.สิ่งแวดล้อมญี่ปุ่น ศึกษาระบบจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์และกากอุตสาหกรรมญี่ปุ่น พร้อมเล็งนำมาปรับใช้ในภาคอุตสาหกรรมไทย
ประเทศญี่ปุ่น 19 ตุลาคม 2561 - นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าเยี่ยมคารวะ นายอาคิโมโตะ ซึคะสะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อม ประเทศญี่ปุ่น พร้อมทั้งรับฟังการบรรยาย เรื่อง การจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E – waste) พร้อมด้วย นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม และผู้บริหารกระทรวงสิ่งแวดล้อม ประเทศญี่ปุ่น ณ กระทรวงสิ่งแวดล้อม กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น โอกาสนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้กล่าวแสดงความยินดีที่นายอาคิโมโตะ ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งกล่าวขอบคุณในความร่วมมือของรัฐบาลญี่ปุ่น ที่ได้อำนวยความสะดวกในการเข้าศึกษาดูงานในครั้งนี้ โดยวัตถุประสงค์ของการมาเยือนญี่ปุ่น เพื่อศึกษาระบบการจัดการขยะ กากอุตสาหกรรม และกฎหมายของญี่ปุ่น เนื่องจากญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกที่ออกกฎหมายในการรีไซเคิลเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยปัจจุบันได้มีการรีไซเคิลมาแล้วกว่า 200 ล้านเครื่อง เช่น โทรศัพท์มือถือ กล้องถ่ายรูป และคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันเกี่ยวกับการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ พร้อมกันนี้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อม ได้เชิญชวนคณะของไทย เข้ามาศึกษาดูงานเกี่ยวกับโรงไฟฟ้าจากขยะของประเทศญี่ปุ่นในโอกาสต่อไปด้วย ### PR.DIP (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน / ภาพข่าว
19 ต.ค. 2018
รัฐมนตรีฯ อุตตม เปิดการเสวนาและปาฐกถาพิเศษ เรื่อง ก้าวต่อไปกับการพัฒนาอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายไทย
(19 ตุลาคม 2561) นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานในพิธีเปิดงานเสวนาพิเศษ ก้าวต่อไปกับการพัฒนาอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายไทย พร้อมด้วย นายศิริรุจ จุลกะรัตน์ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วม โดยมี นางวรวรรณ ชิตอรุณ เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย คณะผู้บริหาร และผู้เข้าร่วมงานเสวนาให้การต้อนรับ ณ โรงแรม เดอะ เบอร์เคลีย์ โฮเต็ล ประตูน้ำ กรุงเทพฯ นายอุตตมฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย เป็นอุตสาหกรรมที่มีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ถึงแม้ช่วงเวลาที่ผ่านมาจะเผชิญกับสภาวะการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ทั้งเงื่อนไขทางการค้าระหว่างประเทศ และปัญหาราคาสินค้าในตลาดโลกตกต่ำ ซึ่งนำมาสู่การปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายทั้งระบบ รวมถึงการปรับแก้กฎหมาย เพื่อให้สอดคล้องและรองรับกับสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้ นอกจากในด้านของการเพิ่มผลผลิตและการลดต้นทุนการผลิตในไร่อ้อยของเกษตรกรแล้ว การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพื่อก้าวไปสู่โมเดลประเทศไทย 4.0 ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม (Innovation Drive Economy) โดยมีเทคโนโลยีชีวภาพเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อน เพื่อให้อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายของไทยให้สามารถแข่งขันในตลาดอาเซียนและตลาดโลกได้อย่างยั่งยืน ตามแนวทางของรัฐบาล "มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน" สำหรับการเสวนาพิเศษ ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายของไทย ในการก้าวไปสู่อุตสาหกรรมยุค 4.0 และเพื่อให้ประชาชนเกษตรกรได้มีโอกาสรับทราบสถานการณ์ที่แท้จริง ทำความเข้าใจถึงผลกระทบที่มีต่ออุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายอย่างชัดเจน รวมถึงการดำเนินการภายใต้แผนการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย และสร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมให้เกษตรกรชาวไร่อ้อย โรงงานน้ำตาล และภาครัฐ ร่วมกันกำหนดทิศทางในการพัฒนาอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายของไทยในอนาคต ที่มา: สำนักบริหารกลาง...
19 ต.ค. 2018