Category
Tags:
ดีพร้อมเซนเตอร์ 7 ร่วมศึกษารูปแบบการพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชนเชิงพื้นที่แบบดีพร้อม
ระหว่างวันที่ 16-19 - ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM CENTER 7) มอบหมายให้ นายสุเทพ ทุตา ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมอุตสาหกรรมชุมชน เข้าร่วมประชุมการศึกษารูปแบบการพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชนเชิงพื้นที่แบบดีพร้อมในชุมชนหรือตำบลนำร่อง เพื่อเรียนรู้และพัฒนาการเก็บข้อมูลความต้องการ แนวทางการส่งเสริมพัฒนา นำไปสู่การกำหนดแนวทางในการพัฒนาชุมชน รวมทั้งแลกเปลี่ยนแนวทางการพัฒนาชุมชนเชิงพื้นที่แบบองค์รวม ณ กลุ่มสตรีสหกรณ์ทอผ้าไหมบ้านหัวฝาย ต.ปอแดง อ.ชนบท จ.ขอนแก่น โดยมี นางสาวนิลเนตร โลหะพจน์พิลาศ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 5 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุม มีผู้นำท้องถิ่นและเจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 5,6,7 เข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง . เจ้าหน้าที่ร่วมกิจกรรม นางเปลี่ยน จำปาหอม, นายสังวาลย์ จันทะเวช . #DIPROM #ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่7
19 พ.ค. 2022
ยูเครนปล่อยคอลเลกชัน NFT ระดมทุนคริปโต สะท้อนการต่อสู้กับรัสเซีย
สินทรัพย์ดิจิทัลกลายเป็นทางเลือกในเรื่องการระดมทุนยุคใหม่ในช่วงสถานการณ์ความขัดแย้ง ก่อนหน้านี้หากจำกันได้รัฐบาลยูเครนได้เปิดโดเนทสกุลเงินคริปโตฯ ให้ผู้คนได้ร่วมบริจาคเพื่อนำไปใช้บริหารจัดการ ล่าสุด ยูเครนยังไม่หยุดแค่นั้น โดยจับเทรนด์ NFT ที่อยู่ในกระแสออกคอลเลกชันเป็นรูปภาพศิลปะสะท้อนเรื่องราวสื่อถึงการต่อสู้กับรัสเซีย Alex Bornyakov รัฐมนตรีช่วยว่าการดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันยูเครน กล่าวว่าคอลเลกชัน NFT จะเปรียบเสมือนพิพิธภัณฑ์สงคราวระหว่างชาวรัสเซีย-ยูเครน โดยเราต้องการบอกให้โลกรู้ผ่านรูปแบบ NFT โดยยูเครนได้รับการบริจาคผ่านสกุลเงินคริปโตฯ มากกว่า 60 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตั้งแต่เดือนที่แล้ว หลังจากมีการรุกรานจากรัสเซีย ซึ่ง Bornyakov โพสต์ผ่านทวิตเตอร์ว่าเงินบริจาคที่ได้รับมาจะถูกนำไปใช้ซื้อชุดเกราะกันกระสุน, อาหารกลางวันแบบแพคกล่อง, ยา และอุปกรณ์อื่น ๆ ให้กับกองทัพ นอกจากนี้ Bornyakov ยังกล่าวกับ The Guardian อีกว่ายูเครนกำลังพัฒนา NFT ให้มีความสมบูรณ์แบบก่อนที่จะเผยแพร่ออกสู่สายตาชาวโลก “เราต้องการให้มันออกมาดูเท่ ดูดี และต้องใช้เวลา” Bornyakov กล่าว ทั้งนี้ รัฐบาลยูเครนได้ประกาศโครงการเกี่ยวกับ NFT เมื่อวันที่ 3 มีนาคม ที่ผ่านมา หลังยกเลิก Airdrops สำหรับผู้ต้องการบริจาคคริปโตฯ ที่มา: theblockcrypto, https://www.smartsme.co.th/content/246592
18 พ.ค. 2022
ดีพร้อมเซนเตอร์ 7 เสริมแกร่ง OTOP คัดเลือกผลิตภัณฑ์ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร
อุบลราชธานี (18 พฤษภาคม 2565) - ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM CENTER 7) ให้เกียรติเป็นหัวหน้าคณะทำงานการคัดสรรผลิตภัณฑ์ OTOP ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร ในโครงการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย ปี พ.ศ. 2565 (OTOP Product Champion : OPC) จังหวัดอุบลราชธานี ณ ห้องประชุมค้ำคูณ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี โดยมีผลิตภัณฑ์ OTOP เข้าร่วมคัดสรรรวมมากกว่า 600 รายการ . เจ้าหน้าที่ร่วมกิจกรรม นายนฤพนธ์ ทาวะรัตน์, นายสมชาย เชาว์ประโคน . #DIPROM #ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่7
18 พ.ค. 2022
ดีพร้อมเซนเตอร์ 7 ยกระดับสินค้าเกษตรสู่เกษตรอุตสาหกรรม
ยโสธร (18 พฤษภาคม 2565) - ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM CENTER 7) มอบหมายให้ นายสุมิตร ส่งเสริม, สิบเอกกรุงรัตน์ อยู่คล้ำ, นายมิตร แสงกล้า ร่วมติดตามการดำเนินงาน/กิจกรรม การพัฒนาเทคโนโลยีเกษตรอุตสาหกรรมอัจฉริยะ ภายใต้โครงการการยกระดับสินค้าเกษตรสู่เกษตรอุตสาหกรรม ในพื้นที่ จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดยโสธร . #DIPROM #ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่7
18 พ.ค. 2022
ดีพร้อมเซนเตอร์ 7 ยกระดับสินค้าเกษตรสู่เกษตรอุตสาหกรรมเกษตรอินทรีย์
ศรีสะเกษ (18 พฤษภาคม 2565) - ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM CENTER 7) มอบหมายให้ นายกฤษณะ นอขุนทด ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรม ร่วมประชาสัมพันธ์ และคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมเกษตรอินทรีย์ กิจกรรมภายใต้โครงการยกระดับสินค้าเกษตรสู่เกษตรอุตสาหกรรม สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 fb.com/dip.ipc7 . เจ้าหน้าที่ร่วมกิจกรรม นางสาวชุติกาดา ภาพสิงห์, นายศุภชัย สืบวงศ์ . #DIPROM #ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่7
18 พ.ค. 2022
3pic.github เว็บไซต์ลองรวย จำลองชีวิตเศรษฐีทิพย์ ก่อนลอตเตอรี่ออก
แน่นอนว่าวันที่ 1 และ วันที่ 16 ของเดือน ย่อมเป็นวันแห่งความหวังขอใครหลายคนกับการเสี่ยงโชคซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล ลุ้นรางวัลว่าจะแจ๊คพอตเป็นผู้โชคดีหรือไม่ ซึ่งอีกไม่กี่ชั่วโมงจะได้รู้กันแล้ว ตอนนี้เชื่อคงมีใครบางคนจินตนาการชีวิตที่มีเงินในกระเป๋าให้ใช้แบบไม่เคยมีมาก่อน วาดฝันถึงสิ่งของที่อยากได้ และจะดีไหมถ้าเราได้จำลองชีวิตตัวเองเป็นมหาเศรษฐีระดับโลกที่มีเงินในบัญชีจำนวนล้านล้านบาทนำไปวางแผนซื้อสิ่งที่ต้องการ เรากำลังพูดถึง 3pic.github.io/money เว็บไซต์ที่จำลองชีวิตคุณเป็นมหาเศรษฐีระดับ ไม่ว่าจะเป็น Jeff Bezos, Jeff Bezos, Mark Zuckerberg, Mike Bloomberg ให้เงินทิพย์ไปซื้ออะไรก็ได้ตามที่คุณต้องการ เช่น รถยนต์ Tesla, เครื่องบิน Private jet, เครื่องบินรบ F35 jet, แฟรนไชส์ McDonalds, โรงงานพลังงานนิวเคลียร์, บ้านหรู, แมนชั่นหรู, สมาร์ตโฟน รวมไปถึงใบสำเร็จการศึกษา หากเราจำลองชีวิตเป็น Jeff Bezos ที่มีเงินหลายพันล้านจะซื้ออะไรได้บ้าง โดยเงินเหล่านี้สามารถนำไปทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม และประโยชน์ต่อตนเอง ซึ่งเรื่องแรกที่น่าสนใจ คือซื้ออาหารเพื่อยุติความหิวโหยของผู้คนทั่วโลก หรือจะซื้อจรวด Falcon 9 รวมไปถึงการเข้าถึงห้องน้ำสะอาด, การสร้างที่อยู่ให้กับคนไร้บ้าน เหล่านี้ทำได้ด้วยเงินของเขา นอกจากนี้ ใครเป็นสาย NFT เงินส่วนนี้ก็นำไปซื้อผลงานของ Mike Winkelmann อย่าง "Everydays: The First 5000 Days" ที่ขายในราคา 69 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ได้ถึง 2,600 ก๊อบปี้ และยังมีกิจกรรมอื่น ๆ ที่น่าสนใจ เช่น พาเพื่อนไปสำรวจดาวอังคารได้ถึง 64 คน, ไปค้างคืนบนสถานีอวกาศได้ถึง 14,544 ปี ที่มา: interestingengineering, 3pic.github, https://www.smartsme.co.th/content/246588
17 พ.ค. 2022
อดใจรอ! ORA Black Cat รถยนต์ไฟฟ้า 100% เตรียมเปิดตัวในไทยกลางปีนี้ คาดราคา 6-7 แสนบาท
รถยนต์ไฟฟ้าถือเป็นเทรนด์ยานยนต์ในอนาคตที่ถูกคาดหมายว่าจะเข้ามาแทนรถยนต์ที่ใช้น้ำมัน โดยหลายแบรนด์ผู้ผลิตเริ่มขยับตัวปรับเปลี่ยนกลยุทธ์มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับสัดส่วนการผลิตรถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น ปัจจุบันเราได้เห็นรถยนต์ไฟฟ้าที่ออกขายตามโชว์รูม ซึ่งแต่ละแบรนด์ แต่ละรุ่นล้วนมีจุดเด่นของตัวเองที่ดึงดูดให้ผู้บริโภคได้ซื้อมาขับบนท้องถนน โดยอีกหนึ่งแบรนด์ที่มุ่งตลาดรถยนต์ไฟฟ้าแบบเต็มตัว คือ Great Wall Motors ที่เตรียมเปิดตัวรถรุ่น ORA Black Cat รถยนต์ไฟฟ้า 100% ซึ่งเป็นการปัดฝุ่นนำกลับมาทำตลาดใหม่อีกครั้ง เพื่อเป็นทางเลือกในช่วงวิกฤตน้ำมันปรับราคาสูง สำหรับรถยนต์ไฟฟ้ารุ่น ORA Black Cat หรือที่รู้จักในชื่อย่อว่า ORA R1 มีขนาดกะทัดรัด โดยทำความเร็วสูงสุด (Top Speed) 102 กิโลเมตร/ชั่วโมง วิ่งระยะทางสูงสุด 405 กิโลเมตร (มาตรฐาน NEDC) หรือวิ่งระยะทางสูงสุด 301 กิโลเมตร (มาตรฐาน WLTP) ส่วนการชาร์จไฟนั้นสามารถชาร์จไฟฟ้า AC กระแสสลับ รองรับ 6.6 kW จาก 0-100% ภายใน 5 ชั่วโมง 40 นาที หรือชาร์จไฟฟ้า DC กระแสตรง Fast Charging จาก 30-80% ภายใน 30 นาที ทั้งนี้ คาดการณ์ว่ารถยนต์ไฟฟ้ารุ่น ORA Black Cat จะมีราคาอยู่ที่ 600,000-700,000 บาท โดยเป็นการนำเข้ามาจากประเทศจีน ที่มา: autolifethailand, https://www.smartsme.co.th/content/246574
16 พ.ค. 2022
จีนล็อกดาวน์เซินเจิ้น ฮับเทคโนโลยี หลังผู้ติดเชื้อโควิด-19 กลับมาพุ่งสูงในรอบ 2 ปี
สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ในประเทศจีนถูกจับตามองอีกครั้ง หลังพบผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มสูงถึง 3,400 คน ทำสถิติสูงสุดในรอบ 2 ปี จนล่าสุดมีมาตรการให้ประชาชนจำนวน 17.5 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในเซินเจิ้นทางตอนใต้ของจีนต้องล็อกดาวน์อย่างน้อย 1 สัปดาห์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อธุรกิจเทคโนโลยี เพราะเป็นฮับการผลิตที่สำคัญของประเทศ จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศจีนที่เพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่า ทำให้รัฐบาลจีนต้องประกาศมาตรการควบคุม โดยจะมีมาตรการทดสอบครั้งใหญ่ตรวจหาเชื้อโควิด-19 ให้กับประชาชนทั่วเมือง 3 รอบ และเมืองเซินเจิ้นซึ่งเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีจะถูกล็อกดาวน์ไปจนถึงวันที่ 20 มีนาคม ซึ่งรถประจำทาง และระบบรถไฟใต้ดินจะถูกปิดให้บริการทั้งหมด เช่นเดียวกับธุรกิจที่จะถูกปิดเช่นกัน ด้านพนักงานถูกสั่งให้ทำงานแบบ work from home โดยผู้อยู่อาศัยจะถูกห้ามไม่ให้ออกจากเซินเจิ้น ซึ่งเป็นที่ตั้งของบริษัท Huawei และ Tencent รวมถึงเป็นหนึ่งในท่าเรือที่ผู้คนพล่านมากที่สุดของจีน มีการมองว่าปัจจัยที่ทำให้ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มขึ้นมีความเชื่อมโยงมาจากฮ่องกงที่อยู่ใกล้เคียงกัน จากปัจจุบันมีผู้ป่วยจำนวน 300,000 คน ที่ต้องแยกกักตัว หรือกักตัวอยู่ที่บ้าน สำหรับเมืองเซินเจิ้น เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษมีประชากรราว 17 ล้านคน โดยเมื่อวันอาทิตย์ (13 มี.ค.65) พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ จำนวน 66 คน อย่างไรก็ตาม มาตรการล็อกดาวน์ที่เกิดขึ้นได้ส่งผลกระทบต่อบริษัทด้านเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็น Foxconn ผู้ผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ให้กับ Apple ที่ระงับการผลิตชั่วคราวจนกว่าจะมีมาตรการเปลี่ยนแปลง และจะไปใช้โรงงานในเมืองอื่น ๆ ทดแทนโรงงานที่ถูกระงับ นอกจากนี้ Unimicron ผู้ผลิตแผ่นชิป และจัดหาอุปกรณ์ให้กับ Intel ก็จะปิดโรงงานเป็นการชั่วคราวเช่นกัน ที่มา: businesstimes, reuters, https://www.smartsme.co.th/content/246568
15 พ.ค. 2022
สิงคโปร์ตั้งเป้าเปลี่ยนรถบัสเป็นรถไฟฟ้าทั้งหมดภายในปี 2040 ตามแผนลดมลพิษ
สำนักงานขนส่งทางบกสิงคโปร์ (LTA) กำหนดเป้าหมายการปล่อยมลพิษ โดยจะเปลี่ยนรถบัสโดยสารภายในประเทศเป็นรถไฟฟ้าทั้งหมด ภายในปี 2040 สิงคโปร์เป็นอีกหนึ่งประเทศที่มุ่งหวังที่จะลดมลพิษด้วยการนำเอาพลังงานสะอาดเข้ามาแทนที่ โดย LTA ระบุว่าจะเพิ่มพลังงานไฟฟ้ากับรถโดยสารสาธารณะ และนำเอาพลังงานสะอาดเข้ามาไว้ในโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง นอกจากนี้ ยังมีกระตุ้นนำรถยนต์ EV มาใช้ LTA มุ่งมั่นที่จะใช้รถบัสพลังงานสะอาดแบบ 100% ภายในปี 2040 ซึ่งตอนนี้มีการซื้อรถบัสไฟฟ้าแล้ว 60 คัน เพื่อทดสอบความเข้าใจในการดำเนินงาน และวางแผนนำไปสู่การเปิดตัวที่สเกลใหญ่ขึ้นต่อไป โดยในอนาคตไปจนถึงปี 2030 สิงคโปร์จะซื้อรถบัสไฟฟ้าเป็นหลัก เพื่อทดแทนรถบัสเครื่องดีเซลที่ครบกำหนดอายุขัย และรสบัสเครื่องดีเซลจำนวน 400 คัน จะถูกทดแทนภายในปี 2025 เช่นเดียวกับในส่วนของผู้ให้บริการรถแท็กซี่ที่พร้อมนำรถไฟฟ้าเข้ามาใช้ และแท็กซี่ครึ่งหนึ่งของสิงคโปร์จะเป็นรถไฟฟ้าภายในปี 2030 และ LTA จะขยายอายุการใช้งานตามกฎหมายของรถแท็กซี่ไฟฟ้าจาก 8 ปี เป็น 10 ปี ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มากพอให้กับผู้ประกอบการลงทุนรถแท็กซี่ไฟฟ้า ที่มา:smartcitiesworld, https://www.smartsme.co.th/content/246550
14 พ.ค. 2022
ขนส่งสหรัฐฯ เริ่มใช้รถตู้พลังงานไฟฟ้า ตั้งเป้าลดมลพิษ 0% ภายในปี 2040
บริษัทขนส่งในสหรัฐฯ เริ่มนำรถตู้ขนส่งพลังงานไฟฟ้าเข้ามาใช้งาน ตั้งเป้าเป็นบริษัทที่ใช้พลังงานสะอาดและปล่อยมลพิษเข้าสู่อากาศเป็น 0% ภายในปี 2040 ปัจจุบันรถยนต์พลังงานไฟฟ้ากำลังถูกนำมาใช้ในหลายบริษัทเพื่อลดต้นทุนการใช้พลังงานในการเดินทางขนส่งและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ล่าสุดบริษัทขนส่งระดับโลกในประเทศสหรัฐอเมริกาเริ่มนำรถตู้ขนส่งพลังงานไฟฟ้าชุดแรก 5 คัน เข้ามาใช้งานในบริษัท จากแผนการเปลี่ยนรถตู้ขนส่งสินค้าเป็นพลังงานไฟฟ้าทั้งหมด 500 คันของบริษัท ตั้งเป้าหมายเป็นบริษัทที่ใช้พลังงานสะอาดและปล่อยมลพิษเข้าสู่อากาศเป็น 0% ภายในปี 2040 รถตู้ขนส่งพลังงานไฟฟ้ารุ่นแรกของบริษัทมีชื่อว่า "BrightDrop EV600" ออกแบบและผลิตโดยบริษัทรถยนต์ชั้นนำในประเทศสหรัฐอเมริกา ทีมงานวิศวกรของบริษัทผู้ผลิตรถตั้งเป้าสร้างฝูงรถตู้ขนส่งพลังงานไฟฟ้าที่เปลี่ยนโฉมการขนส่งสินค้าในประเทศ ก่อนหน้านี้บริษัทได้ทำการทดสอบประสิทธิภาพของรถตู้ขนส่งพลังงานไฟฟ้ามาได้ระยะหนึ่ง จนผ่านมาตรฐานการคมนาคมขนส่งในประเทศสหรัฐอเมริกา รถตู้ขนส่งพลังงานไฟฟ้าแต่ละคันมีพื้นที่บรรทุกสินค้าประมาณ 600 ลูกบาศก์ฟุต สามารถขับขี่ระยะทางไกลประมาณ 250 ไมล์ หรือประมาณ 400 กิโลเมตรต่อการชาร์จพลังงานไฟฟ้า 1 ครั้ง ซึ่งเพียงพอสำหรับการขนส่งสินค้าภายในตัวเมืองหรือระหว่างเมือง นอกจากใช้พลังงานไฟฟ้ารถตู้ยังติดตั้งระบบประตูล็อกอัตโนมัติเพื่อป้องกันไม่ให้สินค้าได้รับความเสียหายในระหว่างการเดินทาง รวมไปถึงระบบเบรกฉุกเฉินป้องกันการชนและระบบช่วยจอดอัตโนมัติในพื้นที่จอดรถ ในระยะเริ่มต้นบริษัทจะนำรถตู้พลังงานไฟฟ้ามาให้บริการในรัฐแคลิฟอร์เนียเป็นแห่งแรก ประเทศสหรัฐอเมริกามีความตื่นตัวในด้านการใช้งานรถยนต์พลังงานไฟฟ้ามากที่สุดประเทศหนึ่ง โดยทั้งภาครัฐบาลและเอกชนให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ เพื่อเป้าหมายการปล่อยมลพิษทางอากาศให้เป็นศูนย์ โดยเฉพาะรัฐแคลิฟอร์เนียที่มีอัตราการเพิ่มขึ้นของรถยนต์พลังงานไฟฟ้าสูงสุดในประเทศสหรัฐอเมริกา ที่มา : Thaipbs, https://www.smartsme.co.th/content/246499
13 พ.ค. 2022