Category
Tags:
ศภ. 7 ประชุมชี้แจงการใช้งานระบบฐานข้อมูลผู้รับบริการ กสอ. Member ผ่านระบบ VDO Conferrence
วันที่ 3 พฤศจิกายน 2560 เจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 ร่วมประชุมชี้แจงการใช้งานระบบฐานข้อมูลผู้รับบริการ กสอ. Member ผ่านระบบ VDO Conferrence ณ ห้องประชุมแก่งสะพือ อาคารอำนวยการ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7https://ipc7.dip.go.th/----------------------------------------------------------ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม ให้มีสมรรถนะและขีดความสามารถในการประกอบการที่เป็นเลิศและมีความยั่งยืนสู่สากลโทรศัพท์ : (045)311987โทรสาร : (045)311987website : https://ipc7.dip.go.th/
03 พ.ย. 2017
ศภ. 7 ร่วมประชุมการติดตามประเมินผลการดำเนินงาน
วันที่ 2 พฤศจิกายน 2560 นางวีระวรรณ ปัณฑรสูตร ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 มอบหมายให้ นายอุเทน โชติชัย ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงานภูมิภาค (ผกง.ศภ.7 กสอ.) , นางสาวจันทร์จิรา ทองนำ เข้าร่วมประชุมการติดตามประเมินผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2560 และแผนการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2561 ตามมติ ครม. ณ ศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี โดยมี นายเฉลิมพล มั่งคั่ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราช เป็นประธาน https://ipc7.dip.go.th/----------------------------------------------------------ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม ให้มีสมรรถนะและขีดความสามารถในการประกอบการที่เป็นเลิศและมีความยั่งยืนสู่สากลโทรศัพท์ : (045)311987โทรสาร : (045)311987website : https://ipc7.dip.go.th
02 พ.ย. 2017
ศภ. 7 ร่วมกันกำหนดแผนการฝึกอบรมแก่ ผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม ร่วมกับ UBI UBRU
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมมีบทบาทในการส่งเสริมผู้ประกอบการให้มีศักยภาพพร้อมสู่การแข่งขัน แต่ด้วยข้อจำกัดทางด้านบริการในระดับท้องถิ่น ซึ่งมีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอยู่เป็นจำนวนมาก จึงจำเป็นต้องหาเครื่องมือและหาแนวทางแก้ปัญหาดังกล่าวให้ได้ หนึ่งในนั้นคือการสร้างระบบส่งเสริม SMEs ในระดับท้องถิ่น หรือโครงการ Regional Integrated SMEs Promotion (RISMEP) โดยการเสริมสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริม SMEs หรือ Business Development Service Provider : BDSP และผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม หรือ Service Provider (SP) ซึ่งมีการบูรณาการทำงานร่วมกัน เพิ่มประสิทธิภาพการบริการในระดับท้องถิ่น อีกทั้งยังเป็นการกระจายบริการของภาครัฐสู่วิสาหกิจชุมชนได้อย่างทั่วถึง วันที่ 1 พฤศจิกายน 2560 นางวีระวรรณ ปัณฑรสูตร ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 มอบหมายให้ นายรัฐนนท์ บุญญา, นายจักรพงศ์ มูลสมบัติ, นายตระกูล อ่อนรัตน์, เข้าพบ นายรวิ กลางประพันธ์ ผู้จัดการหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี และคณะฯ เพื่อร่วมกันกำหนดแผนการฝึกอบรมแก่ ผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นการพัฒนาระบบการให้บริการร่วมกัน ระหว่างหน่วยงานภายในเครือข่าย ภายใต้ โครงการสร้างระบบสนับสนุน SMEs แบบบูรณาการในระดับท้องถิ่น (RISMEP) https://ipc7.dip.go.th/----------------------------------------------------------ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม ให้มีสมรรถนะและขีดความสามารถในการประกอบการที่เป็นเลิศและมีความยั่งยืนสู่สากลโทรศัพท์ : (045)311987โทรสาร : (045)311987website : https://ipc7.dip.go.th
01 พ.ย. 2017
ประชาสัมพันธ์และเข้าร่วมโครงการ กิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ที่มีอัตลักษณ์ฯ
กระทรวงอุตสาหกรรม ได้น้อมนำแนวพระราชดำรัสมาเป็นหัวใจในการสร้างฐานรากชุมชนให้แข็งแกร่งจากข้างในเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับชุมชนและรองรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการตามยุทธศาสตร์ Thailand ๔.๐ ภายใต้กรอบการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมของประเทศ โดยมีธุรกิจการท่องเที่ยวเป็นเรือธงนำหน้า ด้วยการจัดกิจกรรมการพัฒนา “ หมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ” (Creative Industry Village : CIV ) หรือ “ หมู่บ้าน CIV ” ภายใต้โครงการสร้างสรรค์อุตสาหกรรมเชิงวัฒนธรรม เพื่อให้หมู่บ้าน CIV เป็นหมู่บ้านแห่งความสมดุลที่นำทุนวัฒนธรรม วิถีชีวิต มาผนวกกับความคิดสร้างสรรค์และการออกแบบ เพื่อสร้างมูลค่าใหม่ของสินค้าที่ระลึกเพื่อการท่องเที่ยวและบริการ เพื่อให้เกิดมูลค่าใหม่ทางเศรษฐกิจบนแนวคิดอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ หมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ หรือ หมู่บ้าน CIV ตามรอยเบื้องพระยุคลบาท ในหลวงรัชกาลที่ 9 วันที่ 27-31 ตุลาคม 2560 นางวีระวรรณ ปัณฑรสูตร ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 (ผอ.ศภ.7 กสอ.) มอบหมายให้ นายสุเทพ ทุตา , นายประหยัด ดาราย้อย และนายสมชาย เชาว์ประโคน สำรวจกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหมู่บ้าน CIV และกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เพื่อประชาสัมพันธ์และเข้าร่วมโครงการ กิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ที่มีอัตลักษณ์ฯ และโครงการ Green OTOP ในปีงบประมาณ 2561 https://ipc7.dip.go.th/----------------------------------------------------------ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม ให้มีสมรรถนะและขีดความสามารถในการประกอบการที่เป็นเลิศและมีความยั่งยืนสู่สากลโทรศัพท์ : (045)311987โทรสาร : (045)311987website : https://ipc7.dip.go.th
31 ต.ค. 2017
ศูนย์ภาค 7 นำ SME พบรองผู้ว่าฯ อุบลฯ
♥️ วันที่ 31 ตุลาคม 2560 นางวีระวรรณ ปัณฑรสูตร ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 นำคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 และตัวแทนผู้ประกอบการที่ผ่านการเข้าร่วมโครงการของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าพบ นายเฉลิมพล มั่งคั่ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ในโอกาสมารับตำแหน่ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี และแนะนำงานบริการของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 พร้อมทั้งรับมอบนโยบาย เพื่อพัฒนาและส่งเสริมผู้ประกอบการในพื้นที่ให้มีศักยภาพสูงสุด ♥️ https://ipc7.dip.go.th/----------------------------------------------------------♥️ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7♥️ ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม ให้มีสมรรถนะและขีดความสามารถในการประกอบการที่เป็นเลิศและมีความยั่งยืนสู่สากลโทรศัพท์ : (045)311987โทรสาร : (045)311987website : https://ipc7.dip.go.th
31 ต.ค. 2017
“เอิบอิ่ม” เห็ดขอนเพื่อสุขภาพ ทางเลือกคนรักขนมขบเคี้ยวไขมันต่ำ
เห็ดขอนทอด แบรนด์ "เอิบอิ่ม" เรื่องสุขภาพต้องมาก่อนเสมอไม่เว้นแม้แต่ขนมขบเคี้ยว ที่มีการปรับตัวภายใต้โจทย์ดีต่อสุขภาพ ทำให้หนึ่งในเกษตรกรผู้เพาะเห็ดใน จ.ศรีษะเกษ คิดนำมาแปรรูปเป็นของทานเล่น พร้อมพัฒนาแพคเกจจิ้งให้เก็บได้นาน ล่าสุดวางขายในซูเปอร์มาร์เก็ตชื่อดังโกยยอดขายไม่ธรรมดา วรรณภา รุ่งคำ เจ้าของธุรกิจขนมเห็ดอบกรอบ และเห็ดทอด “เอิบอิ่ม” เห็ดขอนทอด และ ขนมอบกรอบ "เอิบอิ่ม” วรรณภา รุ่งคำ เจ้าของธุรกิจขนมเห็ดอบกรอบ และเห็ดทอด “เอิบอิ่ม” ที่หันมาเอาดีทางด้านการแปรรูปเห็ดเพิ่มมูลค่า โดยเดิมเธอเป็นเกษตรกรผู้เพาะเห็ดใน จ.ศรีษะเกษ แต่กลับพบว่ามีผลผลิตป้อนตลาดเป็นจำนวนมาก ทำให้ราคาเริ่มตกต่ำ เกษตรผู้ปลูกเห็ดมีรายได้ลดลง จึงเกิดแนวคิดที่จะนำเห็ดมาแปรรูป โดยทำออกมาเป็นขนมทานเล่น เพราะเป็นสิ่งที่ผู้คนคุ้ยเคย และรับประทานง่าย เห็ดขอนทอด เน้นสไตล์บางกรอบ เธอใช้เวลาในการนำเห็ดมาลองแปรรูปประมาณ 1 ปี โดยเลือกใช้ 'เห็ดขอน' ซึ่งเป็นเห็ดที่ครอบครัวเธอปลูกได้ผลผลิตดี และมีจำนวนมาก เนื่องจากเห็ดชนิดนี้จะปลูกได้ดีในพื้นที่ร้อนชื้น และคิดว่ายังไม่มีคนนำมาแปรรูป โดยเห็ดขอน มีสรรพคุณทางยา เช่น เสริมสร้างระบบขับถ่าย ใช้เป็นยาบำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง แก้พิษ เป็นต้น เห็ดขอนสด ปลูกได้ดีในพื้นที่ร้อนชื้น “เอิมอิ่ม ได้นำเห็ดขอนมาแปรรูป เป็นสินค้าเกษตรอินทรีย์ ตั้งอยู่ที่ อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ เป็นโรงงานผลิตจัดตั้งโดยกลุ่มเกษตรพันธะสัญญาส่งเสริมพี่น้องชาวเกษตรกรในพื้นที่ให้มีอาชีพเสริม คือการเพาะเห็ดป้อนสู่โรงงาน ก่อนที่เราจะก่อตั้งโรงงานเอิบอิ่มขึ้นมาเราเป็นฟาร์มเพาะเห็ดมาก่อนเอิบอิ่มสามารถเพาะเห็ดเพื่อป้อนโรงงานเองได้แต่เอิบอิ่มเลือกที่จะแบ่งปันพี่น้องเกษตรกรให้มีรายได้มีอาชีพเสริมจากการทำไร่ทำนา เอิบอิ่มกับชุมชนเราจะเติบโตไปพร้อมๆ กัน” ขนมอบกรอบ "เอิบอิ่ม" ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเห็ดขอนแบรนด์ “เอิบอิ่ม” ขณะนี้มี 3 ผลิตภัณฑ์หลัก คือ 1.ขนมอบกรอบ ”เอิบอิ่ม” ผลิตจากแป้งข้าวโพด แป้งสาลี แป้งถั่วเหลือง ผ่านกระบวนการ Extrusion โดยใช้การอบแทนการทอด ปรุงรสด้วยผงปรุงรสโนริสาหร่าย บรรจุในซองลามิเนต ขนาด 13 กรัม 2.เห็ดทอดปรุงรส ผลิตจากเห็ดขอน 100% มีการควบคุมการผลิตตั้งแต่กระบวนการออกดอกของเห็ด เลือกวัตถุดิบจากฟาร์มที่ได้มาตรฐานตามที่โรงงานกำหนด ผ่านกระบวนการทอดตามอุณภูมิที่เหมาะสมและสะบัดน้ำมันออก บรรจุในซองลามิเนต ขนาด 10 กรัม และ 3.ขนมเห็ดอบกรอบ ผลิตจากเห็ดขอน 30%พร้อมด้วยแป้งข้าวโพด แป้งสาลี แป้งถั่วเหลือง ผ่านกระบวนการ Extrusion โดยใช้การอบแทนการทอด บรรจุในซองลามิเนต ขนาด 25 กรัม ขายในราคาเพียงซองละ 25 บาทเท่านั้น โดยมีกำลังการผลิตโดยรวมอยู่ที่ 10,000 ซอง/วัน ขนมขบเคี้ยวจากเห็ดเพื่อสุขภาพ ปัจจุบันสินค้า “เอิบอิ่ม” มีจำหน่ายที่ ฟู้ดแลนด์, เดอะมอลล์, ยงสงวนเซฟแลนด์, เดอะกีฟวิ่งทาวน์ (The Giving Town) ร้านสินค้าสุขภาพ, ร้านกาแฟอเมซอนในเขตพื้นที่ จ.อุบลราชธานี และ จ.ศรีสะเกษ พร้อมเตรียมเปิดตลาดในภาคเหนือต่อไป ขณะที่ตลาดต่างประเทศ พบว่าตลาดในประเทศจีน ดูไบ และอังกฤษ มีโอกาสสูงที่สินค้าแปรรูปจากเห็ดขอนจะมีโอกาสเติบโตได้ รวมถึงช่องทางออนไลน์ ที่จะทำให้กระจายสินค้าไปได้ไกลมากขึ้น ***สนใจติดต่อ 66 ม.4 ต.บักดอง อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ 33150 โทร.09-4532-4444, 045-960456 และ045-960457 หรือที่ Facebook: เอิบอิ่ม Erb-Im***
28 ต.ค. 2017
“แม่หม๊อก” แดดเดียวเมืองอุบลฯ ตำนาน 20 ปี ส่งเนื้อ-หมูรสชาติจัดเต็มกระจายความอร่อยทั่วไทย
“แม่หม๊อก” แดดเดียวเมืองอุบลฯ ตำนาน 20 ปี ส่งเนื้อ-หมูรสชาติจัดเต็มกระจายความอร่อยทั่วไทย หมูแดดเดียวแม่หม๊อก อาหารเมนูง่ายอย่างหมูแดดเดียวที่ทอดขายในตลาด เมื่อคนรุ่นใหม่ได้เข้ามาสานต่อทำให้รูปแบบเดิมๆ ที่คุ้นชินก็ต้องถูกปรับเปลี่ยนไปให้รับประทานง่ายขึ้น สะดวกในการจัดส่ง ถูกหลักอนามัย รองรับการเปิดตลาดได้ทั่วประเทศ อย่าง หมู และเนื้อแดดเดียว “แม่หม๊อก” เปิดขายมานานกว่า 20 ปี ได้ส่งไม้ต่อให้ลูกสาวคนโตสร้างแบรนด์พร้อมดันสู่หนึ่งในของฝากแห่งเมืองอุบลฯ นางวัลลภา เกียรตินาวิชัย (แม่หม๊อก) - วิภาวรรณ เกียรตินาวิชัย (น้องใหม่) ‘หากคิดที่จะรับประทานหมู และเนื้อแดดเดียว แบรนด์แม่หม๊อกจะต้องมาเป็นอันดับต้นๆ ของผู้บริโภค’ นี่คือปณิธานของ “วิภาวรรณ เกียรตินาวิชัย หรือน้องใหม่” ผู้เข้ามาสานต่อธุรกิจหมูแดดเดียวของมารดา “นางวัลลภา เกียรตินาวิชัย” (แม่หม๊อก) ที่เดิมเป็นร้านเขียงหมูในตลาดที่มีการตากหมูและเนื้อแดดเดียวขายเป็นกิโลฯ โดยให้ลูกค้านำกลับไปทอดเอง ซึ่งเปิดขายมานานกว่า 20 ปี และคงรูปแบบการขายในลักษณะนี้มาโดยตลอด โดยจุดขายโดดเด่นอยู่ที่รสชาติกลมกล่อมไม่หวานไม่เค็มจนเกินไป เลือกใช้หมูสันในมาหมักเป็นหมูแดดเดียว ส่วนเนื้อแดดเดียวจะเลือกส่วนสะโพกเนื้อไม่เหนียวมาทำ ซึ่งส่วนของเนื้อที่เลือกมาทำนั้นเป็นส่วนที่ดีที่สุดและเหมาะที่จะนำมาทำเป็นหมู และเนื้อแดดเดียว เนื้อแดดเดียวบรรจุลงในถุงสุญญากาศ ต่อมาในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาก็เพิ่มกรรมวิธีการปรุงสุกด้วยการทอดตามกระแสที่ผู้คนหันมารับประทานอาหารปรุงสำเร็จมากขึ้นแทนการทำอาหารเองที่บ้าน ซึ่งก็ได้รับการตอบรับดีจากลูกค้า บางคนก็ซื้อไปเป็นของฝากให้กัน แต่ด้วยการเก็บรักษาได้ไม่นานทำให้น้องใหม่ที่เลือกเรียนสาขาเทคโนโลยีการอาหาร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี นำวิชาความรู้มาปรับใช้กับธุรกิจด้วยการนำหมูและเนื้อแดดเดียวที่ทอดแล้วบรรจุลงในถุงสุญญากาศทำให้ไม่ขึ้นรา บรรจุขนาดถุงละ 80 กรัม ขายในราคา 100 บาท ส่วนเนื้อวัวก็จะขายในราคา 100 บาทเช่นกัน แต่จะลดปริมาณลงเหลือ 70 กรัม ขณะที่หมูและเนื้อแดดเดียวแบบสดก็บรรจุลงในถุงสุญญากาศ สามารถนำไปแช่แข็งจะอยู่ได้นาน 1 เดือน แพคเกจนี้พกพาง่าย เหมาะเป็นของฝากหรือรับประทานเอง “เมื่อมีการปรับในเรื่องของแพกเกจจิ้ง และพร้อมรับประทาน ทำให้หมู และเนื้อแดดเดียวแม่หม๊อกสามารถไปไกลขึ้น โดยเราสามารถขายในช่องทางออนไลน์ได้ โดยมีการเรียนรู้เพิ่มเติมในเรื่องการทำตลาดออนไลน์ ซึ่งเราทำตลาดในธุรกิจนี้มาได้ประมาณหนึ่งปี ทำให้แบรนด์แม่หม๊อกเป็นที่รู้จักมากขึ้น” หมูแดดเดียวแบบสดก็มีจำหน่าย สำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ น้องใหม่ก็ยังไม่ได้หยุดแค่เมนูเดิมๆ แต่กลับใช้วิธีการสังเกตพฤติกรรมผู้บริโภคว่าต้องการอะไร ก็พบว่ามีกลุ่มผู้สูงอายุที่อยากจะมาเป็นลูกค้าแม่หม๊อกจำนวนมาก แต่ด้วยความที่เป็นเมนูแดดเดียวอาจจะแข็งและเหนียวเกินไปสำหรับลูกค้ากลุ่มนี้ เธอจึงนำเนื้อหมูมาบดและอัดเป็นแท่งเข้าไปใหม่ทำให้รับประทานง่ายขึ้น ซึ่งก็ตอบโจทย์ลูกค้ากลุ่มนี้ได้เป็นอย่างดี หมูบดอัดแท่ง เอาใจผู้สูงอายุ เนื้อแดดเดียวชวนหิว ด้วยการทำธุรกิจจากการที่ต้องปรับเปลี่ยนในเรื่องของผลิตภัณฑ์ให้มีความทันสมัย ถูกหลักอนามัยมากขึ้น ทำให้ต้องมีการลงทุนในเรื่องของเครื่องจักรและเครื่องบรรจุสินค้า ซึ่งครอบครัวนี้ได้รับการสนับสนุนเงินทุนสินเชื่อจากธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ (SME Development Bank) จำนวน 2 แสนบาท นำมาสร้างโรงเรือนให้ได้มาตรฐาน อย. รวมถึงยังได้รับโอกาสในการไปออกบูทต่างๆ และยังเคยนำสินค้าไปจัดแสดงที่ทำเนียบรัฐบาลอีกด้วย ส่วนในเรื่องของเครื่องอัดไนโตรเจน เครื่องบด เครื่องสไลซ์หมู เครื่องซีลสุญญากาศ และเครื่องผสมเนื้อ เป็นการนำกำไรที่ได้จากการจำหน่ายมาลงทุนเพิ่ม เพื่อรองรับกำลังการผลิตที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต โดยปัจจุบันกำลังการผลิตเนื้อวัวประมาณ 30 กิโลกรัม/วัน และเนื้อหมูประมาณ 20 กิโลกรัม ซึ่งเนื้อวัวแดดเดียวจะเป็นเมนูที่ขายดีที่สุด ผลิตภัณฑ์ล่าสุด เบคอนกรอบ กรุบกรอบแบบนี้เด็กๆ ชอบมาก ล่าสุดน้องใหม่ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ 'เบคอนกรอบ' เพิ่มความอร่อยจากหมูสามชั้น ที่ลูกค้าจะได้ลิ้มลองทั้งเนื้อและมันไปในตัว ซึ่งกรรมวิธีค่อนข้างยุ่งยากจะใช้เวลาทำถึง 3 วัน แต่ก็คุ้มค่าเพราะลูกค้าชื่นชอบ แต่ขณะเดียวกันก็ยังพบข้อเสียคือเก็บได้เพียง 1 เดือน และแตกหักง่าย ซึ่งต้องมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์นี้อีกต่อไป ที่ผลิตสะอาดได้มาตรฐาน ส่วนใครที่อยากจะลิ้มลองหมูและเนื้อแดดเดียวแม่หม๊อกก็สามารถสั่งซื้อได้ทางช่องทางออนไลน์ Facebook: แม่หม๊อก แดดเดียวเมืองอุบล หรือมีหน้าร้านที่สี่แยกกกยาง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี สามารถโทร.สอบถามเส้นทางได้ที่ 08-9945-3048, 08-5026-1574 อ้างอิง https://goo.gl/W4t9oy https://ipc7.dip.go.th/----------------------------------------------------------ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา ธุรกิจอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม เพื่อให้มีสมรรถนะและขีดความสามารถในการประกอบการ ที่เป็นเลิศและมีความยั่งยืนสู่สากลโทรศัพท์ : (045)311987โทรสาร : (045)311987website : https://ipc7.dip.go.th
15 ต.ค. 2017
มอก.ไลท์
นายอุตตม สาวนายน รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้เตรียมออกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) สำหรับเอสเอ็มอี และผู้ประกอบการเริ่มต้นทำธุรกิจ หรือ มอก.ไลท์ ซึ่งเป็น มอก.ประเภทใหม่ จากปัจจุบันที่มีเพียง มอก.ภาคทั่วไป และ มอก. ภาคบังคับ ซึ่งเป็นระดับสากล และส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการอุตสาหกรรมรายใหญ่ มาขอ มอก. และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) เป็นมาตรฐานที่ใช้กับสินค้าชุมชนทั่วไป เนื่องจากกลุ่มเอสเอ็มอี และผู้ที่เริ่มต้นทำธุรกิจอยู่ระหว่างยกระดับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มี มอก. แต่ด้วยปัจจัยต่างๆ เช่น งบประมาณลงทุนอาจยังต้องใช้ระยะเวลา จึงให้ใช้ประเภทนี้ไปก่อนยกระดับเป็น มอก. “มีผู้ประกอบการที่อยู่ในกลุ่มเอสเอ็มอี หรือเริ่มต้นทำธุรกิจหลายรายต้องการได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์ เพื่อการันตีสินค้ากลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ได้มาตรฐานสูงกว่า มผช. แต่ยังไม่ถึง มอก. เพราะการได้ มอก. ภาคบังคับและภาคทั่วไปมีหลากหลายประเภท อาจต้องใช้เงินลงทุนในการพัฒนาสินค้า ผู้ประกอบการกลุ่มนี้ยังไม่พร้อม จึงต้องออกเป็น มอก.ไลท์ออกมาก่อน” ล่าสุด สมอ.ได้หารือกับสายการบินไทยสมายล์ และกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) เพื่อคัดสินค้าชุมชน ที่ได้ มผช.ขึ้นไปจำหน่ายบนเครื่องบินของสายการบินไทยสมายล์ เนื่องจากต้องการขยายช่องทางการจำหน่าย และกลุ่มนักท่องเที่ยว เพราะต้องยอมรับว่าช่องทางการจำหน่ายสินค้าชุมชนอยู่ในวงจำกัด แต่ละปีจะเปิดจำหน่ายไม่กี่งาน. อ้างอิง https://goo.gl/QcB4TZ https://ipc7.dip.go.th/----------------------------------------------------------ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา ธุรกิจอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม เพื่อให้มีสมรรถนะและขีดความสามารถในการประกอบการ ที่เป็นเลิศและมีความยั่งยืนสู่สากลโทรศัพท์ : (045)311987โทรสาร : (045)311987website : https://ipc7.dip.go.th
15 ต.ค. 2017
แผนงาน โครงการ และงบประมาณรายจ่ายประจำปี
แผนงาน โครงการ และงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2568
15 ต.ค. 2017
โครงสร้างการแบ่งส่วนราชการ
โครงสร้างการแบ่งส่วนราชการ ** กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม พ.ศ.2560 โครงสร้างการแบ่งส่วนราชการ [ คลิกที่รูปภาพ หรือลิงก์นี้เพื่อดาวน์โหลดโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการ กสอ. ในรูปแบบ PDF file ]
15 ต.ค. 2017