Category
Tags:
นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวปาฐกถาในงานสัมมนาเชิงปฎิบัติการ
จ.จันทบุรี 5 กุมภาพันธ์ 2561 - นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวปาฐกถาในงานสัมมนาเชิงปฎิบัติการ “การยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนภายใต้แนวคิดเชิงเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน ด้วยการสนับสนุนองค์ความรู้เกี่ยวกับแนวคิดและความสำคัญของเทคโนโลยีและนวัตกรรมในยุค Thailand 4.0 การพัฒนาและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ด้วยคุณภาพและมาตรฐานในเชิงสร้างสรรค์ และการแก้ไขปัญหาคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน รวมทั้งส่งเสริมให้ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนสามารถเข้าไปจำหน่ายในร้านตามโครงการ “ร้าน มอก.” ทั้งนี้ นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายพสุ โลหารชุน ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวนิสากร จึงเจริญธรรม รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายสุรพล ชามาตย์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม และสื่อมวลชนเข้าร่วมงานดังกล่าว ณ โรงแรมแทรเวิล ลอร์ด โฮเทล อ.เมือง PR. DIP (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
05 ก.พ. 2018
นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ตรวจราชการและหารือร่วมภาคเอกชนในพื้นที่ภาคตะวันออก
จ.จันทบุรี 5 กุมภาพันธ์ 2561 - นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ตรวจราชการและหารือร่วมภาคเอกชนในพื้นที่ภาคตะวันออก โดยภาคเอกชนต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือในด้านลดต้นทุนการผลิต เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งกระทรวงฯมีมาตรการช่วยเหลือ คือ มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการบริหารธุรกิจ SME ระยะเวลาดำเนินโครงการตั้งแต่ปีงบประมาณ 2561-2563 โดยคาดว่า SME ที่เข้าร่วมโครงการจะสามารถลดต้นทุนการผลิตได้ร้อยละ 10 และช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายหรือลดต้นทุนได้ประมาณร้อยละ 3-5 ของต้นทุนทั้งหมด สำหรับการลงพื้นที่ตรวจราชการและหารือกับภาคเอกชนในพื้นที่ภาคตะวันออกครั้งนี้ นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายพสุ โลหารชุน ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวนิสากร จึงเจริญธรรม รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายสุรพล ชามาตย์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ได้เข้าร่วมประชุมดังกล่าว ณ โรงแรมแทรเวิล ลอร์ด โฮเทล อ.เมือง PR. DIP (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
05 ก.พ. 2018
นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วยนางสาวนิสากร จึงเจริญธรรม รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายณัฐพล รังสิตพล เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม นายสุรพล ชามาตย์ หัวหน้าผ
จ.จันทบุรี 5 กุมภาพันธ์ 2561- นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วยนางสาวนิสากร จึงเจริญธรรม รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายณัฐพล รังสิตพล เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม นายสุรพล ชามาตย์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม และสื่อมวลชน ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงเกษตร วิสาหกิจชุมชนเกษตรเพื่อสุขภาพบ้านปัถวี อ.มะขาม จ.จันทบุรี ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการหมู่บ้านอุตสาหกรรมชุมชนเชื่อมโยงการท่องเที่ยว (CIV 4.0) ตามมาตรการยกระดับเศรษฐกิจฐานชุมชน (Local Economy) ของกระทรวงอุตสาหกรรม โดยชุมชนดังกล่าวมีอัตลักษณ์ที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยผลไม้นานาพันธุ์ เป็นสวนอินทรีย์และแหล่งเรียนรู้ ซึ่งมีจุดเด่นคือ สุดยอดผลไม้อินทรีย์เพื่อสุขภาพ และจากอัตลักษณ์ดังกล่าวเมื่อได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากโครงฯ คาดว่าจะสามารถเพิ่มมูลค่าสินค้าและการท่องเที่ยวให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากเดิมได้ ### PR. DIP (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
05 ก.พ. 2018
มองหาโอกาสธุรกิจ เพื่อรองรับการก้าวเข้าสู่ สังคมผู้สูงวัย
โลกกำลังเข้าสู่ สังคมผู้สูงวัย (aging society) โดยเฉพาะในกลุ่มอาเซียนที่มีประชากรอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไปถึง 36.9 ล้านคน คิดเป็น 5.89% ของประชากรทั้งหมดในอาเซียน สำหรับประเทศไทยมีประชากร กว่า 66 ล้านคน มีจำนวนผู้สูงอายุที่อายุมากกว่า 65 ปี ราว 6.5 ล้านคน คิดเป็น 9.9% ของประชากรทั้งหมด ซึ่งไทยเป็นประเทศที่มีสัดส่วนผู้สูงอายุมากเป็นอันดับสองของอาเซียนรองจากสิงคโปร์ โดยประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างเต็มรูปแบบในปี 2564 สำหรับประเภทสินค้าและบริการเกี่ยวกับผู้สูงอายุที่มีโอกาสเติบโต ได้แก่ เวชภัณฑ์ และการดูแลสุขภาพ (Pharma & Healthcare) ลักษณะโรคของกลุ่มผู้สูงอายุเปลี่ยนไปเป็นโรคเรื้อรัง มากขึ้น กว่า 80% ของผู้สูงอายุมี 1 โรคเรื้อรัง ได้แก่โรคหัวใจและหลอดเลือด (อันดับ 1) โรคมะเร็ง, ภาวะสมองเสื่อม เบาหวาน โรคกระดูกพรุน โรคข้ออักเสบ ระบบการเงินผู้สูงวัย รัฐมีภาระที่จะต้องจ่ายภาระเบี้ยหวัดบำนาญมากขึ้น จนกองทุนบำเหน็จบำนาญเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ และจะเปลี่ยนจากกองทุนรัฐ เป็นของเอกชนมาช่วยแบกภาระ สินค้าอุปโภค บริโภค อุตสาหกรรมอาหารแปรรูปโดยเฉพาะอาหารเพื่อสุขภาพ เช่น อาหารไขมันต่ำ ไม่มีคอเลสเตอรอล น้ำตาลน้อยหรือไม่ใส่เลย ผลิตภัณฑ์ที่ป้องกันหรือช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ อาทิ โรคหัวใจและหลอดเลือด มะเร็ง เบาหวาน และระบบย่อย เป็นต้น กลุ่มผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพที่มาแรงที่สุด คือ กลุ่มอาหารและเครื่องดื่มรองลงมาคือ อาหารที่มาจากธรรมชาติและดีต่อสุขภาพ และกลุ่มที่มีแนวโน้มเติบโตมาก คือ วิตามินและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางประเภทออร์แกนิกส์ (Organics) ที่ผลิตจากธรรมชาติหรือสมุนไพร และกำลังได้รับความสนใจจากผู้สูงอายุ เนื่องจากผู้บริโภคมั่นใจว่าปลอดภัยกว่าการใช้สารเคมี การท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุ เป็นการเดินทางที่มีกิจกรรมไม่หนัก ไม่ต้องเดินไกล ใช้เวลาแต่ละสถานที่ค่อนข้างนาน มีการแวะพักเพื่อเอื้อต่อการเข้าห้องน้ำที่บ่อยขึ้น ติดตั้งอุปกรณ์อำนวยความสะดวกอยู่ในรถ เช่น วีลแชร์ เป็นต้น หรือสินค้าที่จำหน่ายในระหว่างเส้นทางท่องเที่ยวก็ใช้ชื่อว่า “มุมสุขภาพ” เพื่อให้ผู้ซื้อไม่รู้สึกเขิน เช่นที่ประเทศญี่ปุ่นใช้แทนการระบุว่าเป็นสินค้าพื่อผู้สูงวัย ธุรกิจบริการผู้สูงวัย มีการปรับเปลี่ยนแบบแผนการดำเนินธุรกิจของตนเองเพื่อให้เหมาะสมกับการบริการผู้สูงวัยมากขึ้น เช่น ซุปเปอร์มาร์เก็ตบางรายในญี่ปุ่น ที่เริ่มปรับเปลี่ยนเวลาเปิดบริการให้เช้าขึ้น จากแต่เดิมที่เปิด 9 โมงเช้ามาเป็นเปิด 7 โมงเช้า ซุปเปอร์มาร์เก็ตบางแห่ง ยังได้มีการเพิ่มบริการรับจัดงานศพแบบเรียบง่ายในราคาย่อมเยาอีกด้วย เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ผู้ที่คาดว่าจะต้องใช้บริการ เนื่องจากบริษัทรับจัดงานศพใหญ่ๆ ในญี่ปุ่นมีค่าบริการที่สูงมาก ร้านกาแฟ-ร้านอาหาร ออกแบบทางเดินให้กว้างขวางกว่าปกติ เพียงพอให้ทั้งรถเข็นและอุปกรณ์ช่วยเดินผ่านได้ เก้าอี้ก็มั่นคงแข็งแรงและโต๊ะก็มีขนาดที่ค่อนข้างเตี้ยกว่ามาตรฐาน เมนูอาหารที่ขายก็เป็นอาหารที่เคี้ยวง่าย พนักงานก็จะบริการส่งอาหารให้ที่โต๊ะ วัสดุก่อสร้าง-อุปกรณ์ สำหรับผู้สูงอายุ กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการสร้างและตกแต่งบ้านที่มีผลต่อความปลอดภัยในการใช้ชีวิตภายในบ้าน การออกแบบผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับกายภาพและชีวิตความเป็นอยู่ของผู้สูงวัย เช่น ก๊อกน้ำ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เลือกแบบปัดไปด้านข้างมากกว่าแบบหมุนหรือกด ลูกบิดประตู เลือกแบบก้านโยก จับถนัดมือ สวิทซ์-ปลั๊กไฟ ที่ใหญ่ มีสีสันที่เห็นชัดเจน เฟอร์นิเจอร์สำหรับผู้สูงอายุ กลุ่มผู้สูงอายุมีข้อจำกัดในการดำเนินชีวิตเนื่องจากสภาพร่างกายเริ่มเสื่อมถอย ดังนั้น ผู้ประกอบการในธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ และเครื่องใช้ภายในบ้าน โดยเฟอร์นิเจอร์เพื่อผู้สูงอายุได้แก่ เตียงนอนที่สามารถปรับระดับได้และไม่สูงเกินไป ที่นอนยางพาราที่มีความแข็งตัว เก้าอี้ไม้ที่มีพนักพิง และหมอนเพื่อผู้สูงอายุ เป็นต้น อสังหาริมทรัพย์ ที่เกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุ จะเป็นธุรกิจอันดับต้นๆ ที่ได้รับประโยชน์จากการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยคาดว่าในระยะแรกจะเป็นโอกาสของธุรกิจที่ให้บริการดูแลผู้สูงอายุเป็นระยะสั้นๆ เช่น การดูแลระหว่างวันแบบไปเช้าเย็นกลับ(Daycare) และการพักฟื้นระยะยาว(Longstay) ที่พำนักระยะยาวจะมีโอกาสขยายตัวมากขึ้นซึ่งจะได้รับแรงผลักดันจากทั้งผู้สูงอายุคนไทยและชาวต่างชาติ ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยควรเริ่มปรับตัวและติดตามพฤติกรรมของสังคมไทยที่จะเปลี่ยนไป รวมถึงศึกษารูปแบบธุรกิจที่เหมาะสมกับตลาดคนไทย อย่างไรก็ตามจะพบว่า ทั้ง 8 ธุรกิจนี้ มีโอกาสสำคัญในการขยายฐานลูกค้าของผู้ประกอบการ ซึ่งหากมองในมุมอาเซียน และอาเซียน +3 (จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้) ที่มีจำนวนผู้สูงอายุรวมกันกว่า 300 ล้านคน ถือเป็นจำนวนที่ค่อนข้างสูงและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจึงเป็นโอกาสที่ดีที่ผู้ประกอบการจะผลิตสินค้าให้ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคกลุ่มนี้ ที่มา
05 ก.พ. 2018
อุตฯชงครม.เคาะมาตรการเสริม หนุนอุตฯเชื้อเพลิงชีวภาพ-อาหารแปรรูป
นายพสุ โลหารชุน ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ในปี 2561 กระทรวงได้เตรียมนำเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.)ให้พิจารณามาตรการส่งเสริม 2 อุตสาหกรรม ตามแผนพัฒนาและขับเคลื่อน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) คือ 1.อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ โดยผลักดันโครงการเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio economy) ผ่านคณะทำงานด้านการพัฒนาคลัสเตอร์อุตสาหกรรมแห่งอนาคต ภายใต้การสานพลังประชารัฐ โดยการนำของภาครัฐและเอกชนรายใหญ่ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศสู่ยุค 4.0 คือ การทำเกษตรสมัยใหม่ (Modern Farming) อาทิ การเกษตรแม่นยำสูงด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และเครื่องจักรกลการเกษตรอย่างเต็มประสิทธิภาพ และการสร้างศูนย์อุตสาหกรรมชีวภาพครบวงจร (Bio refinery Complex) เพื่อต่อยอดผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มสูง โดยขณะนี้มีโครงการนำร่องที่อยู่ระหว่างดำเนินการคือโครงการอุตสาหกรรมน้ำตาลครบวงจร (Sugar Complex) ที่ จ.นครสวรรค์ การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมชีวภาพ (Bio refinery) ที่ จ.ขอนแก่น รวมถึงโครงการอุตสาหกรรมแปรรูปปาล์มครบวงจร (Palm Complex) ที่ จ.ชลบุรี ซึ่งเริ่มดำเนินการแล้ว 2.อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป จะเน้นการปรับเปลี่ยนโครงสร้างจากเดิมไปสู่ผลิตภัณฑ์แปรรูปที่มีมูลค่าเพิ่มสูงบนฐานของนวัตกรรม ได้แก่ อาหารสุขภาพและอาหารแห่งอนาคต เช่น อาหารเชิงสุขภาพที่ปรับลดปริมาณอาหารให้เหมาะสมต่อความต้องการพลังงาน รวมถึงการยกระดับวิสาหกิจชุมชนที่ผลิตยา สมุนไพร ให้มีการผลิตเป็นอุตสาหกรรมมากขึ้น โดยทั้ง 2 มาตรการข้างต้น คาดว่าจะนำเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาได้ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2561 ทั้งนี้ในปีที่ผ่านมาครม.ได้อนุมัติ 2 มาตรการ ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมได้นำเสนอ คือ อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน เป้าหมายเพื่อเปลี่ยนผ่านสู่ยุครถยนต์ไฟฟ้า และรักษาฐานการผลิตยานยนต์ระดับโลกให้อยู่ในประเทศไทยต่อไป โดยผลักดันให้เกิดการลงทุนผลิตรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า (xEV) และการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ที่เกี่ยวข้อง และอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ เป้าหมายภายใน 5 ปี จะมีการลงทุนขยายตัว 200,000 ล้านบาท มีการใช้หุ่นยนต์ที่ผลิตภายในเพิ่มขึ้น 50% และลดการนำเข้าหุ่นยนต์จากต่างประเทศลง 30% นายพสุ กล่าวว่า ในปี 2560 กรมโรงงานอุตสาหกรรม ได้จัดเก็บสถิติ กลุ่ม 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย มียอดการแจ้งประกอบและขยายกิจการโรงงาน จำนวนรวม 1,487 ราย เงินลงทุน 182,577 ล้านบาท มีการจ้างใหม่ จำนวน 91,563 คน โดยอุตสาหกรรมที่มีการลงทุนมากที่สุด คือ อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร เงินลงทุน 92,338 ล้านบาท อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เงินลงทุน 41,840 ล้านบาท และอุตสาหกรรมยานยนต์ เงินลงทุน 35,804 ล้านบาท ทั้งนี้อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ได้รับใบอนุญาตประกอบและขยายกิจการมากที่สุด 974 โรงงาน รองลงมา อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 175 โรงงาน และอุตสาหกรรมยานยนต์ จำนวน 111 โรงงาน อ้างอิง แนวหน้า
04 ก.พ. 2018
กสอ.ร่วมกับ สภาอุตฯ จ.เชียงใหม่ พร้อมภาคีเครือข่าย เร่งต่อยอด SMEs เพิ่มช่องทางการตลาด ในงาน “อุตสาหกรรมแฟร์ 2018”
จ.เชียงใหม่ 2 กุมภาพันธ์ 2561 - นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน ”อุตสาหกรรมแฟร์ 2018” โดยมี นายกฤษณ์ ธนาวณิช รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวต้อนรับ นายชนาธิป สุรชัยสิทธิกุล นายกสมาคมส่งเสริมการรับช่วงผลิตไทย กล่าวแสดงความยินดี และนางสาวจงรักษ์ รัตนสะอาด ประธานจัดงานอุตสาหกรรมแฟร์ 2018 กล่าวรายงาน สำหรับการจัดงานในครั้งนี้นับเป็นงานแสดงสินค้าอุตสาหกรรมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ ซึ่งจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ SMEs เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและสร้างโอกาสการขยายช่องทางการตลาด รวมถึงเป็นเวทีเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ประกอบการส่วนกลางและกลุ่มภูมิภาคอาเซียนอันจะนำไปสู่ความร่วมมือทางการค้าและการลงทุนในอนาคต ทั้งนี้ คาดว่าตลอดการจัดงาน 10 วัน จะสามารถสร้างมูลค่าการซื้อขายหมุนเวียนกว่า 50 ล้านบาท สำหรับภายในงานมีการนำผลิตภัณฑ์จากผู้ประกอบการกว่า 400 บูธ มาจำหน่ายในราคาพิเศษ อาทิ ของใช้/ของตกแต่งบ้าน เครื่องประดับ เครื่องหนังและรองเท้า เครื่องแต่งกาย อาหารแปรรูปต่าง ๆ และสินค้าอุปโภคบริโภค เป็นต้น ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-11 กุมภาพันธ์ 2561 ณ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 ถ.ทุ่งโฮเต็ล อ.เมือง จ.เชียงใหม่ #PR.DIP (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สล.กสอ.) : รายงาน/ภาพข่าว
02 ก.พ. 2018
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ผนึกกำลังสถาบันอาหาร ผุดหลักสูตรอบรมติวเข้ม ยกระดับ SMEs สู่ตลาดโลก
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) จับมือสถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดตัวกิจกรรมพัฒนาผู้ประกอบการด้วยเครื่องมือการบริหารจัดการสมัยใหม่ (Advance SME Program) ประจำปี 2561 นำร่องหลักสูตรอบรม SMEs แบบครบเครื่อง ทั้งด้านทักษะการผลิต การบริหารจัดการ เทคโนโลยี และนวัตกรรม โดยปีแรกเน้นพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต หวังยกระดับเป็น Smart SMEs และ Global SMEs ตั้งเป้าเกิดนวัตกรรมใหม่ 1 เรื่อง และเพิ่มมูลค่ายอดขาย หรือลดต้นทุนให้ผู้ประกอบการได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 – 5 ชี้แนวโน้มโครงสร้างอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มของไทย ทั้งรูปแบบสินค้า และตลาดส่งออกจะเปลี่ยนแปลงไป อาหารอนาคตหรือ Future Food มีศักยภาพสูง ไทยจะลดการพึ่งพิงตลาดเดิมนอกภูมิภาคและหันมากระจายสินค้าสู่ตลาดอาเซียน ญี่ปุ่น และจีนมากขึ้น.....อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม / ภาพกิจกรรม
31 ม.ค. 2018