Category
Tags:
ศภ. 7 ร่วมกันกำหนดแผนการฝึกอบรมแก่ ผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม ร่วมกับ UBI UBRU
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมมีบทบาทในการส่งเสริมผู้ประกอบการให้มีศักยภาพพร้อมสู่การแข่งขัน แต่ด้วยข้อจำกัดทางด้านบริการในระดับท้องถิ่น ซึ่งมีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอยู่เป็นจำนวนมาก จึงจำเป็นต้องหาเครื่องมือและหาแนวทางแก้ปัญหาดังกล่าวให้ได้ หนึ่งในนั้นคือการสร้างระบบส่งเสริม SMEs ในระดับท้องถิ่น หรือโครงการ Regional Integrated SMEs Promotion (RISMEP) โดยการเสริมสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริม SMEs หรือ Business Development Service Provider : BDSP และผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม หรือ Service Provider (SP) ซึ่งมีการบูรณาการทำงานร่วมกัน เพิ่มประสิทธิภาพการบริการในระดับท้องถิ่น อีกทั้งยังเป็นการกระจายบริการของภาครัฐสู่วิสาหกิจชุมชนได้อย่างทั่วถึง วันที่ 1 พฤศจิกายน 2560 นางวีระวรรณ ปัณฑรสูตร ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 มอบหมายให้ นายรัฐนนท์ บุญญา, นายจักรพงศ์ มูลสมบัติ, นายตระกูล อ่อนรัตน์, เข้าพบ นายรวิ กลางประพันธ์ ผู้จัดการหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี และคณะฯ เพื่อร่วมกันกำหนดแผนการฝึกอบรมแก่ ผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นการพัฒนาระบบการให้บริการร่วมกัน ระหว่างหน่วยงานภายในเครือข่าย ภายใต้ โครงการสร้างระบบสนับสนุน SMEs แบบบูรณาการในระดับท้องถิ่น (RISMEP) https://ipc7.dip.go.th/----------------------------------------------------------ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม ให้มีสมรรถนะและขีดความสามารถในการประกอบการที่เป็นเลิศและมีความยั่งยืนสู่สากลโทรศัพท์ : (045)311987โทรสาร : (045)311987website : https://ipc7.dip.go.th
01 พ.ย. 2017
ประชาสัมพันธ์และเข้าร่วมโครงการ กิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ที่มีอัตลักษณ์ฯ
กระทรวงอุตสาหกรรม ได้น้อมนำแนวพระราชดำรัสมาเป็นหัวใจในการสร้างฐานรากชุมชนให้แข็งแกร่งจากข้างในเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับชุมชนและรองรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการตามยุทธศาสตร์ Thailand ๔.๐ ภายใต้กรอบการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมของประเทศ โดยมีธุรกิจการท่องเที่ยวเป็นเรือธงนำหน้า ด้วยการจัดกิจกรรมการพัฒนา “ หมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ” (Creative Industry Village : CIV ) หรือ “ หมู่บ้าน CIV ” ภายใต้โครงการสร้างสรรค์อุตสาหกรรมเชิงวัฒนธรรม เพื่อให้หมู่บ้าน CIV เป็นหมู่บ้านแห่งความสมดุลที่นำทุนวัฒนธรรม วิถีชีวิต มาผนวกกับความคิดสร้างสรรค์และการออกแบบ เพื่อสร้างมูลค่าใหม่ของสินค้าที่ระลึกเพื่อการท่องเที่ยวและบริการ เพื่อให้เกิดมูลค่าใหม่ทางเศรษฐกิจบนแนวคิดอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ หมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ หรือ หมู่บ้าน CIV ตามรอยเบื้องพระยุคลบาท ในหลวงรัชกาลที่ 9 วันที่ 27-31 ตุลาคม 2560 นางวีระวรรณ ปัณฑรสูตร ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 (ผอ.ศภ.7 กสอ.) มอบหมายให้ นายสุเทพ ทุตา , นายประหยัด ดาราย้อย และนายสมชาย เชาว์ประโคน สำรวจกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหมู่บ้าน CIV และกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เพื่อประชาสัมพันธ์และเข้าร่วมโครงการ กิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ที่มีอัตลักษณ์ฯ และโครงการ Green OTOP ในปีงบประมาณ 2561 https://ipc7.dip.go.th/----------------------------------------------------------ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม ให้มีสมรรถนะและขีดความสามารถในการประกอบการที่เป็นเลิศและมีความยั่งยืนสู่สากลโทรศัพท์ : (045)311987โทรสาร : (045)311987website : https://ipc7.dip.go.th
31 ต.ค. 2017
ศูนย์ภาค 7 นำ SME พบรองผู้ว่าฯ อุบลฯ
♥️ วันที่ 31 ตุลาคม 2560 นางวีระวรรณ ปัณฑรสูตร ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 นำคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 และตัวแทนผู้ประกอบการที่ผ่านการเข้าร่วมโครงการของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าพบ นายเฉลิมพล มั่งคั่ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ในโอกาสมารับตำแหน่ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี และแนะนำงานบริการของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 พร้อมทั้งรับมอบนโยบาย เพื่อพัฒนาและส่งเสริมผู้ประกอบการในพื้นที่ให้มีศักยภาพสูงสุด ♥️ https://ipc7.dip.go.th/----------------------------------------------------------♥️ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7♥️ ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม ให้มีสมรรถนะและขีดความสามารถในการประกอบการที่เป็นเลิศและมีความยั่งยืนสู่สากลโทรศัพท์ : (045)311987โทรสาร : (045)311987website : https://ipc7.dip.go.th
31 ต.ค. 2017
“เอิบอิ่ม” เห็ดขอนเพื่อสุขภาพ ทางเลือกคนรักขนมขบเคี้ยวไขมันต่ำ
เห็ดขอนทอด แบรนด์ "เอิบอิ่ม" เรื่องสุขภาพต้องมาก่อนเสมอไม่เว้นแม้แต่ขนมขบเคี้ยว ที่มีการปรับตัวภายใต้โจทย์ดีต่อสุขภาพ ทำให้หนึ่งในเกษตรกรผู้เพาะเห็ดใน จ.ศรีษะเกษ คิดนำมาแปรรูปเป็นของทานเล่น พร้อมพัฒนาแพคเกจจิ้งให้เก็บได้นาน ล่าสุดวางขายในซูเปอร์มาร์เก็ตชื่อดังโกยยอดขายไม่ธรรมดา วรรณภา รุ่งคำ เจ้าของธุรกิจขนมเห็ดอบกรอบ และเห็ดทอด “เอิบอิ่ม” เห็ดขอนทอด และ ขนมอบกรอบ "เอิบอิ่ม” วรรณภา รุ่งคำ เจ้าของธุรกิจขนมเห็ดอบกรอบ และเห็ดทอด “เอิบอิ่ม” ที่หันมาเอาดีทางด้านการแปรรูปเห็ดเพิ่มมูลค่า โดยเดิมเธอเป็นเกษตรกรผู้เพาะเห็ดใน จ.ศรีษะเกษ แต่กลับพบว่ามีผลผลิตป้อนตลาดเป็นจำนวนมาก ทำให้ราคาเริ่มตกต่ำ เกษตรผู้ปลูกเห็ดมีรายได้ลดลง จึงเกิดแนวคิดที่จะนำเห็ดมาแปรรูป โดยทำออกมาเป็นขนมทานเล่น เพราะเป็นสิ่งที่ผู้คนคุ้ยเคย และรับประทานง่าย เห็ดขอนทอด เน้นสไตล์บางกรอบ เธอใช้เวลาในการนำเห็ดมาลองแปรรูปประมาณ 1 ปี โดยเลือกใช้ 'เห็ดขอน' ซึ่งเป็นเห็ดที่ครอบครัวเธอปลูกได้ผลผลิตดี และมีจำนวนมาก เนื่องจากเห็ดชนิดนี้จะปลูกได้ดีในพื้นที่ร้อนชื้น และคิดว่ายังไม่มีคนนำมาแปรรูป โดยเห็ดขอน มีสรรพคุณทางยา เช่น เสริมสร้างระบบขับถ่าย ใช้เป็นยาบำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง แก้พิษ เป็นต้น เห็ดขอนสด ปลูกได้ดีในพื้นที่ร้อนชื้น “เอิมอิ่ม ได้นำเห็ดขอนมาแปรรูป เป็นสินค้าเกษตรอินทรีย์ ตั้งอยู่ที่ อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ เป็นโรงงานผลิตจัดตั้งโดยกลุ่มเกษตรพันธะสัญญาส่งเสริมพี่น้องชาวเกษตรกรในพื้นที่ให้มีอาชีพเสริม คือการเพาะเห็ดป้อนสู่โรงงาน ก่อนที่เราจะก่อตั้งโรงงานเอิบอิ่มขึ้นมาเราเป็นฟาร์มเพาะเห็ดมาก่อนเอิบอิ่มสามารถเพาะเห็ดเพื่อป้อนโรงงานเองได้แต่เอิบอิ่มเลือกที่จะแบ่งปันพี่น้องเกษตรกรให้มีรายได้มีอาชีพเสริมจากการทำไร่ทำนา เอิบอิ่มกับชุมชนเราจะเติบโตไปพร้อมๆ กัน” ขนมอบกรอบ "เอิบอิ่ม" ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเห็ดขอนแบรนด์ “เอิบอิ่ม” ขณะนี้มี 3 ผลิตภัณฑ์หลัก คือ 1.ขนมอบกรอบ ”เอิบอิ่ม” ผลิตจากแป้งข้าวโพด แป้งสาลี แป้งถั่วเหลือง ผ่านกระบวนการ Extrusion โดยใช้การอบแทนการทอด ปรุงรสด้วยผงปรุงรสโนริสาหร่าย บรรจุในซองลามิเนต ขนาด 13 กรัม 2.เห็ดทอดปรุงรส ผลิตจากเห็ดขอน 100% มีการควบคุมการผลิตตั้งแต่กระบวนการออกดอกของเห็ด เลือกวัตถุดิบจากฟาร์มที่ได้มาตรฐานตามที่โรงงานกำหนด ผ่านกระบวนการทอดตามอุณภูมิที่เหมาะสมและสะบัดน้ำมันออก บรรจุในซองลามิเนต ขนาด 10 กรัม และ 3.ขนมเห็ดอบกรอบ ผลิตจากเห็ดขอน 30%พร้อมด้วยแป้งข้าวโพด แป้งสาลี แป้งถั่วเหลือง ผ่านกระบวนการ Extrusion โดยใช้การอบแทนการทอด บรรจุในซองลามิเนต ขนาด 25 กรัม ขายในราคาเพียงซองละ 25 บาทเท่านั้น โดยมีกำลังการผลิตโดยรวมอยู่ที่ 10,000 ซอง/วัน ขนมขบเคี้ยวจากเห็ดเพื่อสุขภาพ ปัจจุบันสินค้า “เอิบอิ่ม” มีจำหน่ายที่ ฟู้ดแลนด์, เดอะมอลล์, ยงสงวนเซฟแลนด์, เดอะกีฟวิ่งทาวน์ (The Giving Town) ร้านสินค้าสุขภาพ, ร้านกาแฟอเมซอนในเขตพื้นที่ จ.อุบลราชธานี และ จ.ศรีสะเกษ พร้อมเตรียมเปิดตลาดในภาคเหนือต่อไป ขณะที่ตลาดต่างประเทศ พบว่าตลาดในประเทศจีน ดูไบ และอังกฤษ มีโอกาสสูงที่สินค้าแปรรูปจากเห็ดขอนจะมีโอกาสเติบโตได้ รวมถึงช่องทางออนไลน์ ที่จะทำให้กระจายสินค้าไปได้ไกลมากขึ้น ***สนใจติดต่อ 66 ม.4 ต.บักดอง อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ 33150 โทร.09-4532-4444, 045-960456 และ045-960457 หรือที่ Facebook: เอิบอิ่ม Erb-Im***
28 ต.ค. 2017
“แม่หม๊อก” แดดเดียวเมืองอุบลฯ ตำนาน 20 ปี ส่งเนื้อ-หมูรสชาติจัดเต็มกระจายความอร่อยทั่วไทย
“แม่หม๊อก” แดดเดียวเมืองอุบลฯ ตำนาน 20 ปี ส่งเนื้อ-หมูรสชาติจัดเต็มกระจายความอร่อยทั่วไทย หมูแดดเดียวแม่หม๊อก อาหารเมนูง่ายอย่างหมูแดดเดียวที่ทอดขายในตลาด เมื่อคนรุ่นใหม่ได้เข้ามาสานต่อทำให้รูปแบบเดิมๆ ที่คุ้นชินก็ต้องถูกปรับเปลี่ยนไปให้รับประทานง่ายขึ้น สะดวกในการจัดส่ง ถูกหลักอนามัย รองรับการเปิดตลาดได้ทั่วประเทศ อย่าง หมู และเนื้อแดดเดียว “แม่หม๊อก” เปิดขายมานานกว่า 20 ปี ได้ส่งไม้ต่อให้ลูกสาวคนโตสร้างแบรนด์พร้อมดันสู่หนึ่งในของฝากแห่งเมืองอุบลฯ นางวัลลภา เกียรตินาวิชัย (แม่หม๊อก) - วิภาวรรณ เกียรตินาวิชัย (น้องใหม่) ‘หากคิดที่จะรับประทานหมู และเนื้อแดดเดียว แบรนด์แม่หม๊อกจะต้องมาเป็นอันดับต้นๆ ของผู้บริโภค’ นี่คือปณิธานของ “วิภาวรรณ เกียรตินาวิชัย หรือน้องใหม่” ผู้เข้ามาสานต่อธุรกิจหมูแดดเดียวของมารดา “นางวัลลภา เกียรตินาวิชัย” (แม่หม๊อก) ที่เดิมเป็นร้านเขียงหมูในตลาดที่มีการตากหมูและเนื้อแดดเดียวขายเป็นกิโลฯ โดยให้ลูกค้านำกลับไปทอดเอง ซึ่งเปิดขายมานานกว่า 20 ปี และคงรูปแบบการขายในลักษณะนี้มาโดยตลอด โดยจุดขายโดดเด่นอยู่ที่รสชาติกลมกล่อมไม่หวานไม่เค็มจนเกินไป เลือกใช้หมูสันในมาหมักเป็นหมูแดดเดียว ส่วนเนื้อแดดเดียวจะเลือกส่วนสะโพกเนื้อไม่เหนียวมาทำ ซึ่งส่วนของเนื้อที่เลือกมาทำนั้นเป็นส่วนที่ดีที่สุดและเหมาะที่จะนำมาทำเป็นหมู และเนื้อแดดเดียว เนื้อแดดเดียวบรรจุลงในถุงสุญญากาศ ต่อมาในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาก็เพิ่มกรรมวิธีการปรุงสุกด้วยการทอดตามกระแสที่ผู้คนหันมารับประทานอาหารปรุงสำเร็จมากขึ้นแทนการทำอาหารเองที่บ้าน ซึ่งก็ได้รับการตอบรับดีจากลูกค้า บางคนก็ซื้อไปเป็นของฝากให้กัน แต่ด้วยการเก็บรักษาได้ไม่นานทำให้น้องใหม่ที่เลือกเรียนสาขาเทคโนโลยีการอาหาร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี นำวิชาความรู้มาปรับใช้กับธุรกิจด้วยการนำหมูและเนื้อแดดเดียวที่ทอดแล้วบรรจุลงในถุงสุญญากาศทำให้ไม่ขึ้นรา บรรจุขนาดถุงละ 80 กรัม ขายในราคา 100 บาท ส่วนเนื้อวัวก็จะขายในราคา 100 บาทเช่นกัน แต่จะลดปริมาณลงเหลือ 70 กรัม ขณะที่หมูและเนื้อแดดเดียวแบบสดก็บรรจุลงในถุงสุญญากาศ สามารถนำไปแช่แข็งจะอยู่ได้นาน 1 เดือน แพคเกจนี้พกพาง่าย เหมาะเป็นของฝากหรือรับประทานเอง “เมื่อมีการปรับในเรื่องของแพกเกจจิ้ง และพร้อมรับประทาน ทำให้หมู และเนื้อแดดเดียวแม่หม๊อกสามารถไปไกลขึ้น โดยเราสามารถขายในช่องทางออนไลน์ได้ โดยมีการเรียนรู้เพิ่มเติมในเรื่องการทำตลาดออนไลน์ ซึ่งเราทำตลาดในธุรกิจนี้มาได้ประมาณหนึ่งปี ทำให้แบรนด์แม่หม๊อกเป็นที่รู้จักมากขึ้น” หมูแดดเดียวแบบสดก็มีจำหน่าย สำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ น้องใหม่ก็ยังไม่ได้หยุดแค่เมนูเดิมๆ แต่กลับใช้วิธีการสังเกตพฤติกรรมผู้บริโภคว่าต้องการอะไร ก็พบว่ามีกลุ่มผู้สูงอายุที่อยากจะมาเป็นลูกค้าแม่หม๊อกจำนวนมาก แต่ด้วยความที่เป็นเมนูแดดเดียวอาจจะแข็งและเหนียวเกินไปสำหรับลูกค้ากลุ่มนี้ เธอจึงนำเนื้อหมูมาบดและอัดเป็นแท่งเข้าไปใหม่ทำให้รับประทานง่ายขึ้น ซึ่งก็ตอบโจทย์ลูกค้ากลุ่มนี้ได้เป็นอย่างดี หมูบดอัดแท่ง เอาใจผู้สูงอายุ เนื้อแดดเดียวชวนหิว ด้วยการทำธุรกิจจากการที่ต้องปรับเปลี่ยนในเรื่องของผลิตภัณฑ์ให้มีความทันสมัย ถูกหลักอนามัยมากขึ้น ทำให้ต้องมีการลงทุนในเรื่องของเครื่องจักรและเครื่องบรรจุสินค้า ซึ่งครอบครัวนี้ได้รับการสนับสนุนเงินทุนสินเชื่อจากธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ (SME Development Bank) จำนวน 2 แสนบาท นำมาสร้างโรงเรือนให้ได้มาตรฐาน อย. รวมถึงยังได้รับโอกาสในการไปออกบูทต่างๆ และยังเคยนำสินค้าไปจัดแสดงที่ทำเนียบรัฐบาลอีกด้วย ส่วนในเรื่องของเครื่องอัดไนโตรเจน เครื่องบด เครื่องสไลซ์หมู เครื่องซีลสุญญากาศ และเครื่องผสมเนื้อ เป็นการนำกำไรที่ได้จากการจำหน่ายมาลงทุนเพิ่ม เพื่อรองรับกำลังการผลิตที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต โดยปัจจุบันกำลังการผลิตเนื้อวัวประมาณ 30 กิโลกรัม/วัน และเนื้อหมูประมาณ 20 กิโลกรัม ซึ่งเนื้อวัวแดดเดียวจะเป็นเมนูที่ขายดีที่สุด ผลิตภัณฑ์ล่าสุด เบคอนกรอบ กรุบกรอบแบบนี้เด็กๆ ชอบมาก ล่าสุดน้องใหม่ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ 'เบคอนกรอบ' เพิ่มความอร่อยจากหมูสามชั้น ที่ลูกค้าจะได้ลิ้มลองทั้งเนื้อและมันไปในตัว ซึ่งกรรมวิธีค่อนข้างยุ่งยากจะใช้เวลาทำถึง 3 วัน แต่ก็คุ้มค่าเพราะลูกค้าชื่นชอบ แต่ขณะเดียวกันก็ยังพบข้อเสียคือเก็บได้เพียง 1 เดือน และแตกหักง่าย ซึ่งต้องมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์นี้อีกต่อไป ที่ผลิตสะอาดได้มาตรฐาน ส่วนใครที่อยากจะลิ้มลองหมูและเนื้อแดดเดียวแม่หม๊อกก็สามารถสั่งซื้อได้ทางช่องทางออนไลน์ Facebook: แม่หม๊อก แดดเดียวเมืองอุบล หรือมีหน้าร้านที่สี่แยกกกยาง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี สามารถโทร.สอบถามเส้นทางได้ที่ 08-9945-3048, 08-5026-1574 อ้างอิง https://goo.gl/W4t9oy https://ipc7.dip.go.th/----------------------------------------------------------ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา ธุรกิจอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม เพื่อให้มีสมรรถนะและขีดความสามารถในการประกอบการ ที่เป็นเลิศและมีความยั่งยืนสู่สากลโทรศัพท์ : (045)311987โทรสาร : (045)311987website : https://ipc7.dip.go.th
15 ต.ค. 2017
มอก.ไลท์
นายอุตตม สาวนายน รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้เตรียมออกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) สำหรับเอสเอ็มอี และผู้ประกอบการเริ่มต้นทำธุรกิจ หรือ มอก.ไลท์ ซึ่งเป็น มอก.ประเภทใหม่ จากปัจจุบันที่มีเพียง มอก.ภาคทั่วไป และ มอก. ภาคบังคับ ซึ่งเป็นระดับสากล และส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการอุตสาหกรรมรายใหญ่ มาขอ มอก. และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) เป็นมาตรฐานที่ใช้กับสินค้าชุมชนทั่วไป เนื่องจากกลุ่มเอสเอ็มอี และผู้ที่เริ่มต้นทำธุรกิจอยู่ระหว่างยกระดับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มี มอก. แต่ด้วยปัจจัยต่างๆ เช่น งบประมาณลงทุนอาจยังต้องใช้ระยะเวลา จึงให้ใช้ประเภทนี้ไปก่อนยกระดับเป็น มอก. “มีผู้ประกอบการที่อยู่ในกลุ่มเอสเอ็มอี หรือเริ่มต้นทำธุรกิจหลายรายต้องการได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์ เพื่อการันตีสินค้ากลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ได้มาตรฐานสูงกว่า มผช. แต่ยังไม่ถึง มอก. เพราะการได้ มอก. ภาคบังคับและภาคทั่วไปมีหลากหลายประเภท อาจต้องใช้เงินลงทุนในการพัฒนาสินค้า ผู้ประกอบการกลุ่มนี้ยังไม่พร้อม จึงต้องออกเป็น มอก.ไลท์ออกมาก่อน” ล่าสุด สมอ.ได้หารือกับสายการบินไทยสมายล์ และกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) เพื่อคัดสินค้าชุมชน ที่ได้ มผช.ขึ้นไปจำหน่ายบนเครื่องบินของสายการบินไทยสมายล์ เนื่องจากต้องการขยายช่องทางการจำหน่าย และกลุ่มนักท่องเที่ยว เพราะต้องยอมรับว่าช่องทางการจำหน่ายสินค้าชุมชนอยู่ในวงจำกัด แต่ละปีจะเปิดจำหน่ายไม่กี่งาน. อ้างอิง https://goo.gl/QcB4TZ https://ipc7.dip.go.th/----------------------------------------------------------ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา ธุรกิจอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม เพื่อให้มีสมรรถนะและขีดความสามารถในการประกอบการ ที่เป็นเลิศและมีความยั่งยืนสู่สากลโทรศัพท์ : (045)311987โทรสาร : (045)311987website : https://ipc7.dip.go.th
15 ต.ค. 2017
แผนงาน โครงการ และงบประมาณรายจ่ายประจำปี
แผนงาน โครงการ และงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2568
15 ต.ค. 2017
โครงสร้างการแบ่งส่วนราชการ
โครงสร้างการแบ่งส่วนราชการ ** กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม พ.ศ.2560 โครงสร้างการแบ่งส่วนราชการ [ คลิกที่รูปภาพ หรือลิงก์นี้เพื่อดาวน์โหลดโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการ กสอ. ในรูปแบบ PDF file ]
15 ต.ค. 2017
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 ร่วมพิธีบำเพ็ญกุศลเพื่อถวายพระราชกุศลครบรอบ 1 ปี วันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร
วันที่ 13 ตุลาคม 2560 นางวีระวรรณ ปัณฑรสูตร ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 มอบหมายให้ นายอุเทน โชติชัย ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงานภูมิภาค นำคณะเจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 ร่วมพิธีบำเพ็ญกุศลเพื่อถวายพระราชกุศลครบรอบ 1 ปี วันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ณ มณฑลพิธีทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เจ้าหน้าที่ร่วมพิธี นายอุเทน โชติชัย, นางเปลี่ยน จำปาหอม, นางสาวสุภิญญา แก้วบ้านเหล่า, นางกรรณิการ์ การกล้า, นายพัฒนพงษ์ กลิ่นลั่นทม, นายประหยัด ดาราย้อย, นายสุมิตร ส่งเสริม, นางมัณฑนา ทองดวง, นางวนิดา มูลสมบัติ, นายพิจิตต์ จอมหงษ์, นายบุญสาร แสนโท, นางสาวอนุศรา เปลื้องทุกข์, นางสาวอภิชญา มาศรักษา และนายสมชาย เชาว์ประโคน https://ipc7.dip.go.th/ ---------------------------------------------------------- ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา ธุรกิจอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม เพื่อให้มีสมรรถนะและขีดความสามารถในการประกอบการ ที่เป็นเลิศและมีความยั่งยืนสู่สากล โทรศัพท์ : (045)311987 โทรสาร : (045)311987 website : https://ipc7.dip.go.th
13 ต.ค. 2017
นางวีระวรรณ ปัณฑรสูตร ร่วมพิธีบำเพ็ญกุศลเพื่อถวายพระราชกุศลครบรอบ 1 ปี
วันที่ 13 ตุลาคม 2560 นางวีระวรรณ ปัณฑรสูตร ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 นำคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 ร่วมพิธีบำเพ็ญกุศลเพื่อถวายพระราชกุศลครบรอบ 1 ปี วันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ณ วัดมณีวนาราม จังหวัดอุบลราชธานี เจ้าหน้าที่ร่วมพิธี นายอุเทน โชติชัย, นางสาวสุภิญญา แก้วบ้านเหล่า, นายสุมิตร ส่งเสริม, นางมัณฑนา ทองดวง, นางวนิดา มูลสมบัติ, นายพิจิตต์ จอมหงษ์, นายบุญสาร แสนโท, นางสาวอนุศรา เปลื้องทุกข์, นางสาวอภิชญา มาศรักษา และนายสมชาย เชาว์ประโคน https://ipc7.dip.go.th/ ---------------------------------------------------------- ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา ธุรกิจอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม เพื่อให้มีสมรรถนะและขีดความสามารถในการประกอบการ ที่เป็นเลิศและมีความยั่งยืนสู่สากล โทรศัพท์ : (045)311987 โทรสาร : (045)311987 website : https://ipc7.dip.go.th
13 ต.ค. 2017