Category
Tags:
35 องค์กรลงนามร่วมมือเครือข่ายหน่วยงานสนับสนุน SMEs เชียงใหม่-บูรณาการช่วยเหลือเบ็ดเสร็จ
ศูนย์ข่าวเชียงใหม่ - ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และรองผู้ว่าฯ เชียงใหม่ เป็นสักขีพยานลงนามความร่วมมือเครือข่ายหน่วยงานสนับสนุน SMEs ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และสถาบันการเงิน 35 หน่วยงานร่วมลงนาม พร้อมเป็นกลไกผลักดัน SMEs สู่ความสำเร็จ (8 ส.ค. ) ที่โรงแรมอิมพีเรียลแม่ปิง จังหวัดเชียงใหม่ นายสมชาย หาญหิรัญ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และนายกฤษณ์ ธนาวณิช รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมเป็นสักขีพยานพิธีลงนามความร่วมมือเครือข่ายหน่วยงานสนับสนุน SMEs ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ (เครือข่ายคู่คิดอุตสาหกรรม iP: Industrial Partner)ระหว่าง 35 หน่วยงานผู้ให้บริการ SMEs ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และสถาบันการเงิน ที่จะเป็นกลไกสนับสนุนช่วยเหลือ SMEs ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ พร้อมทั้งต่อยอดธุรกิจให้ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมกล่าวว่า การลงนามความร่วมมือครั้งนี้เป็นการสร้างเครือข่ายหน่วยงานสนับสนุน SMEs ในพื้นที่ในการให้บริการแบบบูรณาการ ที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการได้รับบริการ ทั้งการผลิต การตลาด การบริหารจัดการ การเงิน หรือเทคโนโลยีและนวัตกรรม อย่างครบวงจร และสามารถแนะนำหรือส่งต่อบริการภายในเครือข่ายได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ SMEs ในจังหวัดเชียงใหม่ ให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขันอันจะเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงใหม่และประเทศโดยรวม นางจันทรรัตน์ ปิยพัทธไชย์ อุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า ในปีงบประมาณ 2560 สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ได้ดำเนินโครงการสร้างเครือข่ายหน่วยงานสนับสนุน SMEs ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ในการให้บริการแบบบูรณาการ (One Stop Service Network For SMEs) เพื่อสร้างระบบบูรณาการความช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ในจังหวัดเชียงใหม่อย่างเป็นรูปธรรม โดยตั้งเป้าหมายเพิ่มจำนวนองค์กรหรือหน่วยงานเครือข่ายคู่คิดอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ จากเดิม 13 หน่วยงาน เป็นอย่างน้อย 30 หน่วยงาน ซึ่งการลงนามครั้งนี้มีทั้งสิ้น 35 หน่วยงานที่ได้ร่วมลงนามและจะได้ร่วมกันบูรณาการโครงการในระยะต่อไปของเครือข่าย อ้างอิง https://goo.gl/vkCyFZ ---------------------------------------------------------- ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา ธุรกิจอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม เพื่อให้มีสมรรถนะและขีดความสามารถในการประกอบการ ที่เป็นเลิศและมีความยั่งยืนสู่สากล โทรศัพท์ : (045)314135, (045)314216-7, (045)311987 โทรสาร : (045)311987 website : https://ipc7.dip.go.th facebook : https://www.facebook.com/dip.ipc7
10 ส.ค 2017
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมมือบริษัท เดลต้า อีเลคทรอนิคส์ มอบทุนจัดตั้งธุรกิจกว่า 1 ล้านบาท
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกับบริษัท เดลต้า อีเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) จัดพิธีมอบเงินทุนครั้งที่ 1 ประจำปี 2560 ภายใต้กิจกรรมสนับสนุนแหล่งเงินทุนเพื่อการจัดตั้งวิสาหกิจเริ่มต้นในนาม Angel Fund for Startup เมื่อวันเสาร์ที่ 29 กรกฎาคม 2560 ณ อาคารชาเลนเจอร์ฮอลล์ อิมแพคเมืองทองธานี โดยมีดร.สมชาย หาญหิรัญ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ดร.พสุ โลหารชุน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมเปิดงานและดร.อนุสรณ์ มุทราอิศ กรรมการบริหารบริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เป็นผู้มอบเงินทุนแก่ผู้ประกอบการหรือกลุ่ม Startupเป็นปีที่ 2 ต่อเนื่องจากปีที่แล้ว กลุ่ม Startup หรือผู้ประกอบการใหม่ของประเทศไทย ถือเป็นฐานใหญ่ของการจ้างงานและการเกิดนวัตกรรมใหม่ การสร้างกลุ่ม Startup ให้มีความเข้มแข็งจึงมีความจำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญ และเข้าใจในบริบทของผู้ที่เป็นเจเนอเรชั่นใหม่ที่มีความกล้าคิด กล้าเสี่ยง มีไอเดียแปลกใหม่ รักการเรียนรู้อยู่เสมอ กล้าลองผิดลองถูก ต้องการการเปลี่ยนแปลง แต่ข้อจำกัดคืออาจไม่มีเงินทุน ดังนั้น การจัดหาเงินทุนเพื่อสนับสนุนการเริ่มต้นของกิจการหรือต่อยอดให้กับกิจการจะช่วยส่งผลให้ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ได้ดำเนินกิจการต่อไปได้อย่างมั่นคง โดยไม่เป็นเพียงแค่การคิดฝันแต่ไม่สามารถสร้างธุรกิจให้เกิดขึ้นจริงได้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมโดยสำนักพัฒนาผู้ประกอบการ ร่วมกับภาคเอกชนโดย บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) จึงได้ร่วมมือกันจัดกิจกรรมสนับสนุนแหล่งเงินทุนเพื่อการจัดตั้งวิสาหกิจเริ่มต้นในนาม Angel Fund for Startup ขึ้น เน้นโอกาสให้เจ้าของไอเดียธุรกิจที่พร้อมจะเป็นผู้ประกอบการใหม่หรือกลุ่ม Startupนำเสนอแนวคิดต่อแหล่งเงินทุนสนับสนุนเพื่อการเริ่มธุรกิจโดยมีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมเป็น"พี่เลี้ยง" ให้คำปรึกษาแนะนำทางด้านธุรกิจ ให้ความรู้เพื่อเติมเต็มไอเดียสู่การวางแผนธุรกิจที่มั่นคง การสร้างแบบจำลองธุรกิจให้น่าสนใจฝึกทักษะการเรียนรู้เทคนิคการนำเสนอแนวคิดอย่างมืออาชีพ และบริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ให้การสนับสนุนเงินลงทุนในรูปแบบ Angel Fund โดยไม่หวังผลตอบแทนใดๆ จากการสนับสนุนเงินทุน โครงการ Angel Fund ในปี 2560 นี้มีผู้สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการ 254 ทีม และผ่านเข้ารอบเพื่อร่วมกิจกรรมแคมป์อบรมเชิงลึกด้านธุรกิจจำนวน 24 ทีมท้ายสุดสามารถพิชิตเงินทุนเพื่อสานฝันต่อให้กับธุรกิจของตนจำนวน 4 ทีม ได้แก่ 1. ทีม Pure Control System โดยนายบรรจง ปัญญาศรีวินิจ 2. ทีม The Brother System โดยนายบรรทัศน์ สร้อยระย้า และนายวันพืช สร้อยระย้า 3. ทีม OM FOR YOU โดยนายณัฐปคัลภ์ ลิไชยกุล 4. ทีม ReadRing โดยนายทรงปกรณ์ ภูหนองโอง โครงการยังคงเปิดโอกาสให้กับผู้ที่สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการอีกครั้ง โดยสามารถสมัครเป็นรายบุคคล (เดี่ยว) หรือเป็นทีม (ทีมละไม่เกิน 3 คน) โดยแนวคิด/แผนการลงทุนต้องเป็นของตนเองและไม่เคยได้รับรางวัลที่ใดมาก่อน (1 ทีมต่อ 1แผน) และต้องมีสัญชาติและเชื้อชาติไทย อายุไม่เกิน 35 ปี ณ วันสมัคร และไม่เป็นตัวแทนจากหน่วยงาน องค์กร สถาบันการศึกษาหรือบริษัทใดๆ โดยสามารถจัดส่งแนวคิดแผนการลงทุนในรูปแบบคลิปวีดีโอความยาวไม่เกิน 5 นาทีเพื่อแนะนำตนเองและโครงการลงทุนและจัดทำเนื้อหาแผนการลงทุนโปรแกรม Power point จำนวนไม่เกิน 10 หน้าส่งได้ที่ plantobiz2016@gmail.com หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อ 02-202-4574 , 02-354-3171 , 02-202-4570-4 รับสมัครถึงวันที่ 15 สิงหาคม 2560 อ่านต่อได้ที่ : https://goo.gl/TFMktg ----------------------------------------------------------ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา ธุรกิจอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม เพื่อให้มีสมรรถนะและขีดความสามารถในการประกอบการ ที่เป็นเลิศและมีความยั่งยืนสู่สากลโทรศัพท์ : (045)314135, (045)314216-7, (045)311987โทรสาร : (045)311987website : https://ipc7.dip.go.thfacebook : https://www.facebook.com/dip.ipc7
10 ส.ค 2017
“ศูนย์ ITC พร้อมให้บริการอัพเกรดนวัตกรรมของเอสเอ็มอีด้วยเครื่องจักรและเทคโนโลยีที่ทันสมัย เริ่มให้บริการแล้วตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป”
10 สิงหาคม 2560 – กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมมือกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสำนักพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ขานรับนโยบายการปฏิรูปประเทศไทยเข้าสู่ยุค 4.0 ด้วยการร่วมมือกันจัดตั้งศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมแห่งอนาคต (Industry Transformation Center : ITC ) เพื่อสนับสนุนให้ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมของประเทศไทยต่อยอดนวัตกรรมและงานวิจัยไปสู่ผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ที่มีมูลค่าสูง โดยริเริ่มตั้งแต่การวิเคราะห์และคัดเลือกผลิตภัณฑ์ การให้บริการด้านวิศวกรรม การจัดหาผู้ผลิต ทำการทดสอบและรับรองมาตรฐาน การทดสอบตลาด เพื่อบ่มเพาะให้สามารถนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาสินค้าและดำเนินธุรกิจได้เอง โดยมีการแบ่งปันเครื่องจักรอุปกรณ์จากเครือข่ายหน่วยงานภาครัฐมาให้บริการแก่ผู้ประกอบการเพื่อเป็นการลดต้นทุนการประกอบกิจการ และยังมีความช่วยเหลือต่าง ๆ ผ่านโครงการของภาครัฐที่จะทยอยตามมาอีกด้วย นายพสุ โลหารชุน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในในปัจจุบันที่ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้ประกอบการต่างเผชิญความท้าทายใหม่ ๆ มากยิ่งขึ้นทุกวันบนโลกธุรกิจ ดังนั้น ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมแห่งอนาคตที่นี้ จะทำหน้าที่สนับสนุนผู้ประกอบการไทยให้มีแต้มต่อในการแข่งขันให้มากขึ้น โดยอาศัยความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรมใหม่ ๆ และงานวิจัย จาก 3 หน่วยงานภาครัฐที่ประสานพลังกันขับเคลื่อนให้ภาคอุตสาหกรรมเป้าหมายของไทย พัฒนาไปสู่ระบบเศรษฐกิจใหม่ ตามแผนนโยบายของรัฐบาลมุ่งสู่ Thailand 4.0 และด้วยรูปแบบการทำงานของศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมแห่งอนาคต (Industry Transformation Center : ITC) จะไม่ได้ทำงานเพียงลำพังเท่านั้น แต่จะเป็นศูนย์กลางที่ดึงความหลากหลายของหน่วยงานที่มีความชำนาญด้านการออกแบบและวิศวกรรมจากผู้นำเทคโนโลยีระดับโลก จากสถาบันเครือข่ายผู้ประกอบการ จากสมาคมอุตสาหกรรมสนับสนุนต่าง ๆ มาให้บริการแก่ภาคเอกชน โดยล่าสุดมีทั้งมหาวิทยาลัย สถาบันเครือข่าย และบริษัทเอกชนต่าง ๆ เข้ามาแสดงเจตจำนงในการสนับสนุนศูนย์ ITC นี้ อีกกว่า 20 หน่วยงาน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวเพิ่มเติมว่า ศูนย์ดังกล่าวจะประกอบไปด้วยแพลทฟอร์มบริการ 4 ส่วน ได้แก่ 1. ITC Match ทำหน้าที่เชื่อมโยงสร้างเครือข่ายความร่วมมือจากผู้นำอุตสาหกรรมทั้งในและนอกประเทศ เพื่อสร้างความแข็งแกร่งในการพัฒนาองค์ความรู้กับผู้ประกอบการ 2. ITC Innovate ศูนย์สาธิตและฝึกอบรมร่วมภาครัฐและเอกชนในการรับและถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ ระหว่าง Global Players และ SMEs 3. ITC Share แหล่งรวมบริการเครื่องมือ เครื่องจักร ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมให้กับผู้ประกอบการ และ 4. ITC Fund นโยบายสนับสนุนทางการเงินผ่านช่องทางต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยเชื่อมโยงนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ โดยทั้ง 4 แพลตฟอร์มจะถูกบรรจุเป็นการบริการในรูปแบบต่าง ๆ ในศูนย์ ITC ซึ่งประกอบไปด้วย 1. อาคารต้นคิดสตูดิโอ 2. อาคารต้นกล้าแกลลอรี่ 3. อาคารปฏิบัติการต่างๆ โดยศูนย์จัดตั้งอยู่ที่ซอยตรีมิตร ถนนพระรามที่ 4 ซึ่งอยู่ใกล้เคียงกับหน่วยงานสถาบันเครือข่าย อาทิ สถาบันพลาสติก สถาบันสิ่งทอ สถาบันไทย-เยอรมัน สถาบันยานยนต์ สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย นอกจากนี้บริเวณรอบ ๆ ยังมีหน่วยงานเอกชนที่เกี่ยวข้องกับภาคอุตสาหกรรมตั้งอยู่ โดยการรวมตัวที่เกิดขึ้นจะช่วยเอื้อประโยชน์และความสะดวกต่อการดำเนินงานในบางประเภทได้อย่างมีนัยสำคัญในการนี้ ดร.สมชาย หาญหิรัญ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ดร.พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รศ.ดร. วีระศักดิ์ อุดมกิจเดช รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ พร้อมด้วยแขกผู้เกียรติจากหลากหลายหน่วยงาน ได้เข้าเยี่ยมชมความพร้อมของศูนย์ ITC ที่ถูกพัฒนาขึ้นเป็น Co-Working Space ที่รวบรวมเครื่องจักรอุปกรณ์สำหรับการผลิตชิ้นงานต้นแบบเชิงอุตสาหกรรมอีกมากมาย เช่น เครื่องจักรที่ช่วยขึ้นรูปงานต้นแบบด้วยเทคโนโลยี 3D Printer ทั้งโลหะ โพลีเมอร์ และเรซินต่าง ๆ เครื่องขึ้นรูปงานพลาสติกด้วยเครื่องฉีดพลาสติกขนาด 20 - 150 ตัน เครื่องเป่าลมพลาสติก เครื่องผสมเม็ดพลาสติก เครื่อง CNC ต่างๆ และ ต้นแบบของ Learning Factory เป็นต้น ภาพ/ข่าว #กระทรวงอุตสาหกรรมhttps://goo.gl/DKHxno ----------------------------------------------------------ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา ธุรกิจอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม เพื่อให้มีสมรรถนะและขีดความสามารถในการประกอบการ ที่เป็นเลิศและมีความยั่งยืนสู่สากลโทรศัพท์ : (045)314135, (045)314216-7, (045)311987โทรสาร : (045)311987website : https://ipc7.dip.go.thfacebook : https://www.facebook.com/dip.ipc7
10 ส.ค 2017
แก้ลำสตาร์ทอัพไร้ทิศทาง”อุตตม”สั่งทำแผนขับเคลื่อนดูแลตรงจุด
นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) และสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(สศอ.) ร่วมกันยกร่างแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนคลัสเตอร์เป้าหมายระยะที่ 2 ต่อเนื่องจากระยะแรกที่มีการจัดทำโรดแมปในการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยแผนปฏิบัติการระยะนี้ก็เพื่อวางยุทธศาสตร์สนับสนุนกลุ่มสตาร์ทอัพอย่างเป็นรูปธรรม เนื่องจากปัจจุบันการพัฒนาของรัฐยังกระจัดกระจาย มีหลายอุตสาหกรรมเกิดขึ้นแต่ไม่ตอบโจทย์มากนัก โดยระยะที่ 2 นี้จะเริ่มดำเนินการในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายทั้ง 4 กลุ่มคือ กลุ่มยานยนต์ กลุ่มหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ กลุ่มอาหาร และกลุ่มเศรษฐกิจชีวภาพ (ไบโออีโคโนมิค) เพราะเป็นอุตสาหกรรมที่ไทยมีศักยภาพและผู้ประกอบการมีความพร้อม โดยจะรายงานต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อทราบเร็วๆ นี้ สำหรับแผนดำเนินงานระยะ 2 กระทรวงจะยกระดับการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่เชิงสร้างสรรค์(นิว อองเทรอเพรอเนอร์ ครีเอชั่น หรือ เอ็นอีซี) เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงกับผู้ประกอบการรายใหญ่ ขณะเดียวกันจะดึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) สภาหอการค้าไทย มหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษาต่างๆ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ เข้ามาร่วมกันพัฒนาอุตสาหกรรมรายใหม่ให้เกิดขึ้นในคลัสเตอร์อย่างเข้มแข็ง และจะใช้กลไกด้านการเงินจากสถาบันการเงินของรัฐและเอกชน มาเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดอุตสาหกรรมอย่างเป็นรูปธรรม และสอดคล้องกับแนวทางที่รัฐบาลต้องการให้เกิดสตาร์ทอัพในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย อ้างอิง https://goo.gl/VJu92Z ---------------------------------------------------------- ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา ธุรกิจอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม เพื่อให้มีสมรรถนะและขีดความสามารถในการประกอบการ ที่เป็นเลิศและมีความยั่งยืนสู่สากล โทรศัพท์ : (045)314135, (045)314216-7, (045)311987 โทรสาร : (045)311987 website : https://ipc7.dip.go.th facebook : https://www.facebook.com/dip.ipc7
09 ส.ค 2017
กสอ. กางแผนแอคชั่นดัน SMEs ครึ่งหลังปี 60 รุกเศรษฐกิจระดับท้องถิ่น
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) เผยยุทธศาสตร์การส่งเสริม SMEs ในช่วงครึ่งปีหลัง 2560 และปีงบประมาณ 2561 โดย กสอ. ได้กำหนดแนวทางและวางเป้าหมายการส่งเสริมผู้ประกอบการด้วยกลยุทธ์พัฒนาSMEs 4.0 ด้วยมาตรการใหญ่ 3 ด้าน คือ 1. มาตรการยกระดับศูนย์สนับสนุนและช่วยเหลือ SMEs ในระดับท้องถิ่นให้มีความครอบคลุมในระบบบริการด้านที่ปรึกษาธุรกิจ ระบบเทคโนโลยี และเครื่องมือส่งเสริมที่มีความทันสมัย 2. มาตรการการผลักดัน SMEs ที่มีศักยภาพตามแต่ละพื้นที่ด้วยแนวทางประชารัฐ และ 3. มาตรการการเชื่อมโยง SMEs ไทยสู่ระดับสากล ทั้งประเทศในระดับคู่ค้าร่วมทุน ลงทุน ประเทศร่วมพัฒนา อาทิญี่ปุ่น เยอรมนี เกาหลีใต้ และฮ่องกง โดยจะอาศัยแนวทาง การขับเคลื่อนที่มีประสิทธิภาพ เช่น การพัฒนาอุตสาหกรรม S-Curve การเชื่อมโยงระบบการผลิตไร้แรงงานมนุษย์ การเชื่อมโยงเส้นทางสายไหม และการจัดตั้งศูนย์แลกเปลี่ยนเทคโนโลยี เป็นต้น ดร.พสุ โลหารชุน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า ด้วยสถานการณ์ทางด้านการดำเนินธุรกิจและอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจึงได้ปรับแนวทางการดำเนินงานในครึ่งปีหลัง 2560 ต่อเนื่องถึงปีงบประมาณ 2561 ซึ่งทางกรมฯ ได้กำหนดนโยบายและวางเป้าหมาการดำเนินงานที่จะเดินหน้าผลักดันความสำเร็จให้กับผู้ประกอบการด้วยกลยุทธ์การพัฒนา SMEs 4.0 โดยวางมาตรการใหญ่ไว้ 3 เรื่อง ได้แก่ 1. มาตรการยกระดับศูนย์สนับสนุนและช่วยเหลือ SMEs ที่จะขยายการให้บริการครอบคลุมทุกจังหวัด ทั่วประเทศอย่างทั่วถึง โดยการยกระดับสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดขึ้นเป็นเครือข่ายศูนย์สนับสนุน และช่วยเหลือ SMEs ประจำจังหวัด ซึ่งรูปแบบและโครงสร้างจะเหมือนกับศูนย์SME Support & Rescue Center ที่ขณะนี้ได้ดำเนินการครบแล้วในทุกจังหวัด นอกจากนี้ ยังจะยกระดับศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมทั้ง 11 แห่ง ทั่วประเทศ ได้แก่ เชียงใหม่ พิษณุโลก พิจิตร อุดรธานี ขอนแก่นนครราชสีมา อุบลราชธานี สุพรรณบุรี ชลบุรี สุราษฎร์ธานี และสงขลาเพื่อที่จะพัฒนาศักยภาพ SMEs ด้วยระบบนิเวศรูปแบบใหม่หรือ Ecosystem ให้ครอบคลุมทุกมิติ ได้แก่ การขับเคลื่อนผลงานนวัตกรรมไปสู่เชิงพาณิชย์ด้วยการส่งเสริมระบบดิจิทัล และเครื่องมือทันสมัยสำหรับการต่อยอดผลิตภัณฑ์เช่น 3D Printer ระบบหุ่นยนต์อัตโนมัติ เพื่อให้ SMEs ในพื้นที่ทั่วประเทศได้มาทดลองเรียนรู้ ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์เพื่อยกระดับและเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า โดยมีนักออกแบบที่คอยให้บริการการพัฒนาผลิตภัณฑ์ พร้อมด้วยการเชื่อมโยงผู้ประกอบการ และเครือข่ายที่เป็นหน่วยงานหลักด้านการออกแบบให้สามารถแชร์ไอเดียและดำเนินธุรกิจร่วมกัน การเติมองค์ความรู้ในการเพิ่มผลิตภาพและมาตรฐาน การพัฒนาระบบบริหารจัดการ การบัญชีและการเงิน ให้ก้าวสู่ SMART SMEs ในลักษณะของ SME Academy โดยเฉพาะการใช้ระบบดิจิทัลในการดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น E-Commerce ระบบ Application หรือการเรียนรู้บทเรียนต่างๆ ผ่านแพลทฟอร์มเว็บไซต์เพื่อก้าวสู่โลกการค้าสมัยใหม่ การจัดที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านข้อมูลทางอุตสาหกรรมประจำศูนย์เพื่อให้คำแนะนำเบื้องต้น จนถึงเชิงลึก อาทิ การบริหารจัดการโอกาสด้านการลงทุน โอกาสทางธุรกิจ ซึ่งจะเริ่มเปิดตัว การให้บริการรูปแบบใหม่ผ่านกิจกรรม Open House ราวในเดือนกันยายนนี้ที่จังหวัดชลบุรีเป็นที่แรก และจะดำเนินการให้ครบทั้ง 11 แห่งภายในปีนี้ 2. มาตรการการผลักดัน SMEs ที่มีศักยภาพตามแต่ละพื้นที่ ด้วยการแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนา SMEs ตามแนวประชารัฐ โดยบูรณาการแนวทางร่วมกันระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรมกับกระทรวงมหาดไทยเบื้องต้นได้เสนอนายกรัฐมนตรีให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนา SMEs ตามแนวประชารัฐจังหวัด โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน สำหรับภารกิจสำคัญก็คือกำหนดแนวทางการพัฒนา SMEs ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ความต้องการและศักยภาพของจังหวัด และคณะกรรมการชุดนี้จะมีองค์ประกอบของหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจในจังหวัดทุกภาคส่วน มาร่วมกันส่งเสริมพัฒนาพร้อมผลักดัน SMEs ที่มีศักยภาพให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน 3. มาตรการเชื่อมโยง SMEs ไทยให้ก้าวสู่ระดับสากลมากขึ้น โดยจะอาศัยความร่วมมือกับต่างประเทศในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นประเทศในระดับคู่ค้า ร่วมทุน ลงทุน ส่งออก หรือการร่วมมือพัฒนา ซึ่งที่ผ่านมาทางกระทรวงฯ ได้พยายามสร้างความสัมพันธ์กับประเทศที่เป็นผู้นำด้านอุตสาหกรรม เพื่อร่วมกันขับเคลื่อน การพัฒนาให้เกิดผลเป็นรูปธรรมทุก ๆปี อาทิ ญี่ปุ่นได้มีการลงนาม MOU ระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรมของไทยกับกระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรม (METI) ของญี่ปุ่นเพื่อยกระดับการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยสู่อุตสาหกรรม 4.0 โดยเชื่อมโยงกลุ่มประเทศ CLMV เพื่อออกสู่ตลาดโลกไปด้วยกันครอบคลุมความร่วมมือด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม S-Curve การพัฒนาพื้นที่ EEC รวมถึงการพัฒนาบุคลากรทุกระดับ รวมไปถึงSMEs ของไทย โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเป้าหมายสำคัญที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เช่น อุตสาหกรรมอุปกรณ์และเครื่องมือแพทย์ชิ้นส่วนอากาศยาน และอุตสาหกรรมอาหาร ให้สามารถปรับปรุงกระบวนการผลิตและเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ห่วงโซ่อุปทานในระดับภูมิภาคและระดับโลกได้ เกาหลีใต้ ได้มีการลงนาม MOU กับ SMBA หรือกระทรวงส่งเสริมSMEs ของเกาหลีใต้ในการจัดตั้ง Thai – Korea Technology Center (TKTEC) เพื่อส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนหรือถ่ายทอดเทคโนโลยีรวมทั้งนวัตกรรมที่โดดเด่นของเกาหลีใต้ ไม่ว่าจะเป็นนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ หรือกระบวนการผลิต พร้อมด้วยการส่งเสริมสตาร์ทอัพในด้านระบบนิเวศและ กองทุน การพัฒนา ด้านไมโครเอสเอ็มอี รวมถึงการขยายธุรกิจต้นแบบที่โดดเด่นของเกาหลีมายังประเทศไทย เป็นต้น ฮ่องกง ได้มีการลงนาม MOU กับ HKTDC หรือสภาพัฒนาการค้าแห่งฮ่องกง โดยฮ่องกงถือเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญของจีนในฐานะ“ตัวเชื่อม”ระหว่างจีนกับเขตเศรษฐกิจอื่น ๆ ในภูมิภาค ซึ่งจะช่วยสร้างโอกาสที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับSMEs ไทยในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจร่วมกับจีนและตลาดโลกผ่านช่องทางดังกล่าว สอดคล้องกับนโยบาย "One Belt-One Road" ที่มีความได้เปรียบที่สุดบนแถบยูเรเชีย เพื่อสร้างความมั่งคั่งได้ต่อไป เยอรมนี ซึ่งกำลังจัดตั้งคณะทำงานประชารัฐไทย-เยอรมัน เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรม 4.0 โดยเยอรมนีเป็นต้นคิดและต้นแบบของโลกและไทยในเรื่อง Industry 4.0 จึงสามารถที่จะถ่ายทอดองค์ความรู้ความก้าวหน้าในการนำเทคโนโลยีสื่อสารและสารสนเทศ(ICT) ไปใช้ในกระบวนการผลิตสินค้า ซึ่งจุดเด่นที่สำคัญ คือสามารถสร้างเครือข่ายเชื่อมต่อความต้องการผู้บริโภคกับผู้ผลิตเพื่อให้สามารถผลิตสินค้าให้ตรงกับความต้องการแบบอัตโนมัติ(Automation) ผลิตสิ่งของหลากหลายรูปแบบได้ในเวลาเดียวกันแทนการผลิตครั้งละจำนวนมากๆ ดังเช่นในปัจจุบัน และสามารถทำได้ทุกแห่งในโลกผ่านระบบอินเตอร์เน็ตซึ่งสามารถขับเคลื่อนได้แม้ไม่มีผู้ควบคุม อ้างอิง https://goo.gl/PQubTH ---------------------------------------------------------- ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา ธุรกิจอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม เพื่อให้มีสมรรถนะและขีดความสามารถในการประกอบการ ที่เป็นเลิศและมีความยั่งยืนสู่สากล โทรศัพท์ : (045)314135, (045)314216-7, (045)311987 โทรสาร : (045)311987 website : https://ipc7.dip.go.th facebook : https://www.facebook.com/dip.ipc7
09 ส.ค 2017
กระทรวงอุตสาหกรรม พัฒนาศักยภาพหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ภาคเหนือตอนบน
นายสมชาย หาญหิรัญ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดกิจกรรมการพัฒนา ‘หมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์’ หรือ Creative Industry Village (CIV) ภายใต้โครงการสร้างสรรค์อุตสาหกรรมเชิงวัฒนธรรม เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พัฒนาประเทศให้ก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0 ภายใต้กรอบการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศให้มีความเข้มแข็ง อุตสาหกรรมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ บนพื้นฐานความได้เปรียบเชิงวัฒนธรรม ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า หมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ คือ หมู่บ้านแห่งความสมดุลที่นำทุนทางวัฒนธรรม วิถีชีวิต มาผนวกกับความคิดสร้างสรรค์และการออกแบบ เพื่อสร้างมูลค่า มีจิตบริการ ที่บริหารงานโดยชุมชน เป็นการสร้างเสริมรายได้เพิ่มขึ้นภายในชุมชน ส่งเสริมให้เยาวชนรุ่นใหม่มีอาชีพ ลดการละทิ้งถิ่นฐานบ้านเกิด ซึ่งโครงการนี้จัดทำทุกจังหวัดทั่วประเทศ จังหวัดละ 1 หมู่บ้าน โดยขณะนี้ ได้ดำเนินการอยู่ 9 หมู่บ้าน และพยายามต่อยอดให้เต็มรูปแบบ เพื่อนำไปเป็นตัวอย่างให้กับหมู่บ้านอื่นๆ ต่อไปในอนาคต ทั้งนี้ หมู่บ้าน CIV ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2559 โดยกระทรวงอุตสาหกรรมร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ในรูปแบบของการบูรณาการงานร่วมกัน ซึ่งศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ภาคที่ 1 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้ตอบสนองแผนพัฒนาศักยภาพหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 เพื่อวางรากฐานแนวคิดในการนำทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญามาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมเพื่อสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน ตลอดจนส่งเสริมให้ชุมชนนำภูมิปัญญาและวัฒนธรรมมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ และบริการที่มีคุณค่าตรงกับความต้องการของผู้ซื้อในตลาดท่องเที่ยวต่อไป อ้างอิง https://goo.gl/NyTidC ---------------------------------------------------------- ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา ธุรกิจอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม เพื่อให้มีสมรรถนะและขีดความสามารถในการประกอบการ ที่เป็นเลิศและมีความยั่งยืนสู่สากล โทรศัพท์ : (045)314135, (045)314216-7, (045)311987 โทรสาร : (045)311987 website : https://ipc7.dip.go.th facebook : https://www.facebook.com/dip.ipc7
09 ส.ค 2017
ศภ.7 เข้าร่วมพิธีปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชการที่ 9
วันที่ 9 สิงหาคม 2560 ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (ผอ.ศภ.7 กสอ.) นางวีระวรรณ ปัณฑรสูตร มอบหมายให้ นายสุริยา โพธิยา หัวหน้าส่วนพัฒนาผู้ประกอบการและบุคลากรภาคอุตสาหกรรม (หส.สก.) , นางเปลี่ยน จำปาหอม เจ้าพนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมอาวุโส นำคณะเจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 เข้าร่วมพิธีปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชการที่ 9 ณ แม่น้ำมูล บริเวณท่าน้ำหน้าวัดช่างหม้อ ตำบลคำน้ำแซบ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี โดยมี นายพิจิตร บุญทัน ปลัดจังหวัดอุบลราชธานี เป็นประธานฯ เจ้าหน้าที่เข้าร่วมกิจกรรม นายสุริยา โพธิยา,นางเปลี่ยน จำปาหอม, นางสาวนิสา แจ่มใส, นางกรรณิการ์ การกล้า, นางสาวสุภิญญา แก้วบ้านเหล่า, นางสาวจันทร์จิรา ทองนำ, นางวนิดา มูลสมบัติ,นายจิรณัฐกานต์ ซาหา,นายสมชาย เชาว์ประโคน ---------------------------------------------------------- ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา ธุรกิจอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม เพื่อให้มีสมรรถนะและขีดความสามารถในการประกอบการ ที่เป็นเลิศและมีความยั่งยืนสู่สากล โทรศัพท์ : (045)314135, (045)314216-7, (045)311987 โทรสาร : (045)311987 website : https://ipc7.dip.go.th facebook : https://www.facebook.com/dip.ipc7
09 ส.ค 2017
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 จัดกิจกรรม “ปลูกดาวเรืองด้วยใจ ถวายพ่อ”
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 จัดกิจกรรม “ปลูกดาวเรืองด้วยใจ ถวายพ่อ” ----------------------------------------------------------ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา ธุรกิจอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม เพื่อให้มีสมรรถนะและขีดความสามารถในการประกอบการ ที่เป็นเลิศและมีความยั่งยืนสู่สากลโทรศัพท์ : (045)314135, (045)314216-7, (045)311987โทรสาร : (045)311987website : https://ipc7.dip.go.thfacebook : https://www.facebook.com/dip.ipc7
09 ส.ค 2017
รายงานงบทดลองหน่วยเบิกจ่ายรายเดือน ประจำเดือน กรกฎาคม 2560 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
รายงานงบทดลองหน่วยเบิกจ่ายรายเดือน ประจำเดือน กรกฎาคม 2560 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม Download
08 ส.ค 2017
แล็บประชารัฐจับมือมูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมยกระดับ SMEs
แล็บประชารัฐจับมือมูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยเร่งยกระดับสินค้าเอสเอ็มอีไทยกลุ่ม Non Food เน้นเครื่องสำอางและของใช้ในธุรกิจโรงงาน ต่อยอดบรรจุภัณฑ์ห่อหุ้มอาหารให้มีความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมตามเทรนด์ของโลก นายสุรชัย กำพลานนท์วัฒน์ กรรมการผู้อำนวยการ แล็บประชารัฐ เปิดเผยภายหลังการลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกับมูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ด้านการตรวจวิเคราะห์ วิจัย และพัฒนาองค์ความรู้ด้านการทดสอบและตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ สำหรับการรับรองเครื่องหมายฉลากเขียวในผลิตภัณฑ์ต่างๆ ว่า สอดคล้องกับทิศทางการดำเนินงานของแล็บประชารัฐที่กำลังขยายกลุ่มเป้าหมายไปยังผลิตภัณฑ์กลุ่มที่ไม่ใช่อาหาร หรือ Non-food โดยเน้นกลุ่มเครื่องสำอางและของใช้ในธุรกิจโรงแรมที่พักท่องเที่ยวซึ่งกำลังบูม นอกจากนี้ จะร่วมกันยกระดับบรรจุภัณฑ์ที่สัมผัสอาหาร ซึ่งทางมูลนิธิฯ กำลังจะออกเกณฑ์ใหม่เร็วๆ นี้ ดังนั้น หากร่วมมือกับมูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ซึ่งเป็นผู้ให้การรับรองเครื่องหมาย "ฉลากเขียว" รายเดียวในประเทศไทย ก็จะช่วยให้การยกระดับมาตรฐานและเพิ่มมูลค่าสินค้าคนตัวเล็กครอบคลุมทั้งกลุ่มอาหารและไม่ใช่อาหาร อันเป็นฐานรากเศรษฐกิจสำคัญของประเทศ นายเผดิมศักดิ์ จารยะพันธุ์ รักษาการผู้อำนวยการ มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย เปิดเผยว่า แล็บประชารัฐจะเป็นหน่วยงานแรกที่ได้รับการพิจารณาเลือกใช้เมื่อมูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยมีความจำเป็นต้องใช้บริการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ โดยนอกจากจะช่วยกันพัฒนาการดำเนินงานด้านการทดสอบและตรวจวิเคราะห์แล้ว ยังจะสนับสนุนการศึกษาวิจัยข้อมูลด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์และสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งพัฒนาบุคลากรของทั้ง 2 หน่วยงาน และสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ฉลากเขียวให้เป็นผู้ตรวจประเมินในกระบวนการขอรับรองฉลากเขียว ทั้งนี้ ฉลากเขียวเป็น 1 ใน 2 กลุ่มฉลากที่ได้รับการรับรองจากมูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย โดยจะให้การรับรองในสินค้าอุปโภคบริโภค ยกเว้นอาหาร เครื่องดื่ม และยา สินค้าที่ได้รับฉลากดังกล่าวจะเป็นสินค้าที่มีองค์ประกอบ กระบวนการผลิต การใช้ และการทิ้งทำลายที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าสินค้าที่ไม่ได้รับการรับรอง ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ในประเทศไทยที่ได้รับสิทธิ์ให้ใช้เครื่องหมายฉลากเขียวแล้ว 26 กลุ่มผลิตภัณฑ์ รวมทั้งสิ้น 631 รายการ อ้างอิง https://goo.gl/d1boMu ---------------------------------------------------------- ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา ธุรกิจอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม เพื่อให้มีสมรรถนะและขีดความสามารถในการประกอบการ ที่เป็นเลิศและมีความยั่งยืนสู่สากล โทรศัพท์ : (045)314135, (045)314216-7, (045)311987 โทรสาร : (045)311987 website : https://ipc7.dip.go.th facebook : https://www.facebook.com/dip.ipc7
08 ส.ค 2017