Category
Tags:
ศภ.7 ร่วมให้คำปรึกษาแนะนำผู้ประกอบการในพื้นที่
วันที่ 22 สิงหาคม 2560 นางวีระวรรณ ปัณฑรสูตร ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 (ผอ.ศภ.7 กสอ.) มอบหมายให้ นายรัฐนนท์ บุญญา, นายจักรพงศ์ มูลสมบัติ, นายชิติพัทธิ์ กรไกร, นายตระกูล อ่อนรัตน์ ร่วมให้คำปรึกษาแนะนำผู้ประกอบการในพื้นที่ สมุนไพรปทุมทิพย์ ผลิตและจำหน่าย ยาสระผมและครีมนวดผมจากสมุนไพรธรรมชาติ ซึ่งได้รับการส่งต่อบริการจากสำนักงานพาณิชย์จังหวัดอุบลราชธานี โดยส่วนงานออกแบบบรรจุภัณฑ์ ได้เก็บข้อมูล และสรุป Concept ที่ ผู้ประกอบการต้องการ เพื่อใช้ในการออกแบบ ฉลากและตราสินค้า ให้มีความทันสมัยและดึงดูดลูกค้ามากขึ้น พร้อมทั้งได้ให้คำปรึกษาแนะนำด้านอื่นๆ เช่น วางแผนการดำเนินกิจการ มาตรฐานสินค้า การจัดขออนุญาติตั้งโรงงาน เป็นต้น ซึ่งเป็นการดำเนินงาน ภายใต้โครงการ RISMEPในการบูรณาการ การทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานในพื้นที่ ----------------------------------------------------------ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา ธุรกิจอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม เพื่อให้มีสมรรถนะและขีดความสามารถในการประกอบการ ที่เป็นเลิศและมีความยั่งยืนสู่สากลโทรศัพท์ : (045)314135, (045)314216-7, (045)311987โทรสาร : (045)311987facebook : https://www.facebook.com/dip.ipc7
22 ส.ค 2017
นางวีระวรรณ ปัณฑรสูตร เข้าร่วมงาน Industry 4.0@Korat
วันที่ 21 สิงหาคม 2560 ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 นางวีระวรรณ ปัณฑรสูตร ,ผู้อำนวยการส่วนแผนงานและบริหารทั่วไป นายอุเทน โชติชัย, นางสาวจันทร์จิรา ทองนำ และนายสมชาย เชาว์ประโคน เข้าร่วมงาน Industry 4.0@Korat ณ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 จังหวัดนครราชสีมา ----------------------------------------------------------ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา ธุรกิจอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม เพื่อให้มีสมรรถนะและขีดความสามารถในการประกอบการ ที่เป็นเลิศและมีความยั่งยืนสู่สากลโทรศัพท์ : (045)314135, (045)314216-7, (045)311987โทรสาร : (045)311987website : https://ipc7.dip.go.thfacebook : https://www.facebook.com/dip.ipc7
21 ส.ค 2017
กสอ.ชี้ตลาดคุณแม่สายโซเชียลโต พบมีอำนาจในการตัดสินใจซื้อสูง
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมเผยตลาดคุณแม่สายโซเชียลมีแนวโน้มขยายตัวทางเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น พบปี 2560 มีปริมาณกว่า 8 ล้านคน ชี้เป็นตลาดที่น่าสนใจสำหรับผู้ประกอบการ มีอำนาจในการตัดสินใจซื้อ ทั้งยังนิยมใช้สื่อดิจิตอล ให้ความสำคัญในเรื่องการดูแลสุขภาพ ตามกระแสแฟชั่น นิยมสินค้าออร์แกนิก และใส่ใจในเรื่องโปรโมชัน พร้อมเผย 5 กลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับอานิสงส์ และมีแนวโน้มการเติบโตดี ดร.พสุ โลหารชุน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยผลสำรวจของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมเกี่ยวกับกลยุทธ์การเจาะตลาดใหม่ที่น่าจับตามองในขณะนี้ก็คือ กลุ่มคุณแม่ โดยเฉพาะที่เป็นคุณแม่รุ่นใหม่ ซึ่งถือว่ามีความน่าสนใจทั้งในแง่ของกำลังซื้อสูง ความชัดเจนของพฤติกรรมการบริโภคที่ต่างจากกลุ่มอื่นๆ การให้ความสนใจในการรับสื่อ ตลอดจนการให้ความสำคัญต่อการเข้าถึงเทคโนโลยีและช่องทางออนไลน์ที่ผนวกเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งผู้บริโภคในกลุ่มนี้ถือได้ว่าเป็นกลุ่มที่มีประสิทธิภาพทางกลไกตลาด เนื่องจากมีความต้องการในการบริโภคหลากหลาย มีกลุ่มประเภทสินค้ามากมายไม่จำกัด นอกจากนี้ยังเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพทั้งในด้านกำลังและอำนาจในการตัดสินใจซื้อสูง เนื่องจากอยู่ในกลุ่มคุณแม่ยุค Digital ที่ประกอบด้วย กลุ่มที่กำลังคั้งครรภ์ จนถึงคุณแม่ที่มีบุตรอายุไม่เกิน 16 ปี และคุณแม่ในกลุ่มอายุ 21-35 ปี ซึ่งมีจำนวนประมาณ 8 ล้านคน (ศูนย์วิจัยสถาบันอาร์แอลจี) สำหรับด้านพฤติกรรมและทัศนคติในการบริโภคของกลุ่มดังกล่าวที่น่าสนใจในการนำมาเป็นเครื่องมือทางการตลาดของผู้ประกอบการ พบว่ากว่า 58% เริ่มมีพฤติกรรมในการรับชมโทรทัศน์น้อยลง ให้ความนิยมในการรับและเชื่อถือสื่อดิจิตอลทั้งบนอุปกรณ์ PC แท็บเล็ต และสมาร์ทโฟนมากกว่าสื่อดั้งเดิม โดยกิจกรรมบนโลกออนไลน์ที่ใช้สูงสุดก็คือ เช็กอีเมล 85% เข้าเว็บไซต์เกี่ยวกับการเลี้ยงลูก 83% ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์ก 81% ชอปปิ้งออนไลน์ 73% และค้นหาข้อมูลทั่วไป 72% (ที่มา theAsianparent.com) นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญในเรื่องการดูแลรูปร่าง การออกกำลังกาย การแต่งกายตามกระแสแฟชั่น นิยมบริโภคอาหารและเครื่องดื่มประเภทออร์แกนิกที่ดีต่อสุขภาพ สินค้าอื่นๆ ที่ต้องปราศจากหรือเลี่ยงสารเคมีให้น้อยที่สุด รวมถึงพฤติกรรมแบบปัจเจก ทั้งความจงรักภักดีต่อแบรนด์ รูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ที่ตรงใจ ความใส่ใจในเรื่องโปรโมชัน รวมถึงสินค้าที่สามารถสร้างสังคมกับเพื่อนๆ ในโลกโซเชียลมีเดียได้ เป็นต้น ทั้งนี้ จากข้อมูลด้านทัศนคติและพฤติกรรมข้างต้น กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมพบว่า 5 กลุ่มอุตสาหกรรมที่กำลังได้รับอานิสงส์จากกลุ่ม พร้อมทั้งคาดว่าจะมีแนวโน้มการเติบโตที่ดีและเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการไทย ได้แก่ 1. กลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าสำหรับเด็ก ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้มากที่สุดพบว่า จะต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีฟังก์ชันหรือคุณสมบัติพิเศษ โดยเฉพาะสินค้าที่ชูในเรื่องของการส่งเสริมความฉลาดหรือพัฒนาการจะเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมสูง โดยอุตสาหกรรมที่คาดว่าจะได้รับอานิสงส์ ได้แก่ อุตสาหกรรมเสื้อผ้า โดยมีปัจจัยจากพัฒนาการทางการเติบโตและกระแสแฟชั่น โดยเฉพาะเสื้อผ้าในกลุ่มเส้นใยธรรมชาติและฝ้าย อุตสาหกรรมด้านผลิตภัณฑ์สำหรับชีวิตประจำวันและของเล่น เช่น ครีมอาบน้ำ ผ้าอ้อม ของเล่นที่ผลิตจากยางพารา และอุตสาหกรรมอาหารสำหรับเด็ก เช่น นมผง อาหาร ขนมพร้อมรับประทาน ทั้งนี้ ในปี 2558-2563 มีการคาดการณ์ว่ากลุ่มอาหารทั่วโลกจะมีการเติบโตร้อยละ 6 ต่อปี มีมูลค่าราว 7.3 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับต้นๆ ของโลก ได้แก่ อินเดีย จีน และอินโดนีเซีย (ที่มา Exim Bank) 2. อุตสาหกรรมอาหารเพื่อสุขภาพ ผู้บริโภคในกลุ่มคุณแม่ยุคดิจิตอลถือว่าเป็นกลุ่มต้นๆ ที่ให้ความสำคัญต่อการดูแลสุขภาพ โดยเฉพาะในเรื่องรูปร่าง ผิวพรรณ ระบบภายใน และการรักษาโรค โดยในกลุ่มนี้ยังเป็นกลุ่มที่มีกำลังและยินดีในการใช้จ่ายเพื่อการเลือกสรรสิ่งที่ดีที่สุดแม้จะราคาสูง สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมในกลุ่มอุตสาหกรรมนี้สูงสุดก็คือ อาหารเสริมความงาม อาหารเสริมสุขภาพและรักษาโรค และอาหารเสริมเพิ่มสมรรถภาพทางร่างกาย โดยมีมูลค่ารวมกันกว่า 6.67 แสนล้านบาท ซึ่งยังมีการคาดการณ์ไว้อีกว่าในปี 2560 จะเติบโตขึ้นอีกประมาณ 11% หรือ 7.38 แสนล้านบาท (ที่มา ศูนย์วิจัย ธ.ไทยพาณิชย์) โดยผู้ประกอบการที่ต้องการอาศัยโอกาสดังกล่าวจะต้องเน้นการขยายตลาดในเชิงลึก ด้วยการมุ่งเน้นนวัตกรรมใหม่ๆ และคุณสมบัติที่หลากหลาย เพื่อให้สินค้าเกิดความน่าสนใจมากขึ้น 3. อุตสาหกรรมแฟชั่น กว่า 91% ของคุณแม่วัย 21-35 ปี และส่วนใหญ่ยังคงมีการดำเนินชีวิตประจำวันใกล้เคียงกับตอนมีบุตร โดยเฉพาะการตามกระแสแฟชั่น ซึ่งสินค้ากลุ่มนี้เองก็ถือได้ว่ามีทางเลือก โดยเฉพาะการเน้นการออกแบบที่มีประสิทธิภาพขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการตัดเย็บเสื้อผ้า ไซส์ของเครื่องแต่งกาย การออกแบบลวดลาย สี และรูปทรงของเครื่องประดับและอุปกรณ์เพื่อการสวมใส่ที่สอดคล้องกับผู้หญิงบุคลิกต่างๆ มากขึ้น นอกจากนี้ ผู้ประกอบการบางรายยังได้พัฒนานวัตกรรมและฟังก์ชันเพื่อชูจุดเด่นของแบรนด์สินค้า เช่น เสื้อผ้าที่ผลิตจากเส้นใยฟิลาเจน เช่น ชุดคลุมท้อง ถุงเท้า ผ้าขนหนู สิ่งทอจากเส้นใยสับปะรด เสื้อผ้ากันน้ำ ซึ่งเชื่อว่าแฟชั่นไทยในปีนี้จะยังคงมีการเติบโตที่ระดับ 9 แสนล้านบาทตามคาด 4. อุตสาหกรรมด้านอุปกรณ์ดิจิตอลและบริการแอปพลิเคชัน พฤติกรรมของผู้บริโภคในกลุ่มนี้ยังคงต้องการเข้าสังคม ชอบความบันเทิง ชอบเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ใช้ง่ายไม่ซับซ้อนเพื่อช่วยลดภาระ และเพิ่มความสะดวกสบายให้ตัวเองและครอบครัว สำหรับกลุ่มสินค้าและการบริการในกลุ่มนี้ถือได้ว่าเป็นกลุ่มที่โตเงียบ เนื่องจากมีผู้ประกอบการในตลาดน้อยรายแต่มีความต้องการในปริมาณมาก ซึ่งสินค้าที่กลุ่มนี้นิยมเลือกซื้อและมีความน่าสนใจ เช่น ร้านค้าออนไลน์ เครื่องปั๊มและถุงเก็บน้ำนม เบบี้มอนิเตอร์ อุปกรณ์เสริมเพื่อการถ่ายภาพ แอปพลิเคชันด้านดีลิเวอรี เช่น บริการทำความสะอาด ขนส่ง แอปพลิเคชันเพื่อการติดตามลูก อุปกรณ์เครื่องทำความสะอาดอัตโนมัติ เป็นต้น 5. อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง จากค่านิยมเรื่องความสวยความงาม และการดูแลตนเอง เครื่องสำอางได้กลายเป็นสินค้าที่ก้าวเข้ามามีบทบาทกับผู้บริโภคสตรีแทบทุกวัย โดยยังถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคยอมจ่ายเนื่องจากกำลังซื้อ ความภักดีต่อแบรนด์ และโฆษณาชวนเชื่อจากสื่อต่างๆ สำหรับความนิยมและการเติบโตในกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องสำอางของกลุ่มคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์พบว่าต้องการสินค้าประเภทให้ความชุ่มชื่น ดูแลผิวพรรณ ลดภาวะการเกิดสิว ส่วนคุณแม่อื่นๆ ยังคงนิยมทั้งด้านผลิตภัณฑ์เพื่อการดูแลและผลิตภัณฑ์เพื่อการตกแต่ง เช่น ลิปสติก น้ำหอม ผลิตภัณฑ์ปกปิดริ้วรอย อย่างไรก็ดี มีการคาดการณ์ว่าในปี 2560 นี้อุตสาหกรรมเครื่องสำอางน่าจะมีการเติบโตที่เกือบระดับ 3 แสนล้านบาท (ที่มา : คลัสเตอร์เครื่องสำอางไทย) โดยเทรนด์ที่ผู้ประกอบการยังต้องปรับในอนาคตคือ ลดการใช้น้ำ เน้นผลิตภัณฑ์ที่มาจากธรรมชาติ รวมถึงการผลิตเครื่องสำอางสำหรับเด็ก เป็นต้น ----------------------------------------------------------ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา ธุรกิจอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม เพื่อให้มีสมรรถนะและขีดความสามารถในการประกอบการ ที่เป็นเลิศและมีความยั่งยืนสู่สากลโทรศัพท์ : (045)314135, (045)314216-7, (045)311987โทรสาร : (045)311987website : https://ipc7.dip.go.thfacebook : https://www.facebook.com/dip.ipc7
16 ส.ค 2017
“อุตตม” เผยสัญญาณเศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัวโดยมีหลายปัจจัยขับเคลื่อนโดยเฉพาะภาคการส่งออก ความเชื่อมั่นการลงทุนจากเอกชน ขณะที่สภาองค์กรนายจ้างยอมรับส่งออกไทยปีนี้มีลุ้นโต 6-7% สัญญาณคำสั่งซื้อเริ่มทยอยมา
นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ขณะนี้พบปัจจัยหลายอย่างที่บ่งชี้ว่าสถานการณ์เศรษฐกิจไทยเริ่มปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะภาคการส่งออกที่มีการขยายตัวอย่างมาก ความเชื่อมั่นจากนักลงทุนโดยเฉพาะจากองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (เจโทร กรุงเทพฯ) ที่ทำการสำรวจแนวโน้มทางเศรษฐกิจของบริษัทร่วมทุนญี่ปุ่นในประเทศไทย ในครึ่งปี 2560 ก็ชี้ชัดว่าทิศทางนักลงทุนญี่ปุ่นมองการเติบโตในประเทศไทยดีขึ้น ดัชนีขึ้นไปอยู่ที่ระดับ 26 เพิ่มขึ้นจากต้นปีที่ค่าดัชนีอยู่ที่ระดับ 20 และยังเป็นบวกในทุกอุตสาหกรรม “มีหลายปัจจัยที่ชี้ว่าเศรษฐกิจไทยกำลังฟื้นตัวแต่อาจจะยังไม่ถึงระดับฐานราก นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี จึงได้มอบนโยบายให้กระทรวงอุตสาหกรรมเร่งขับเคลื่อนวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม (เอสเอ็มอี) ให้มากขึ้นเพื่อที่จะรองรับเศรษฐกิจขยายตัว ขณะเดียวกันก็จะมีการลงทุนในระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ทยอยในสิ้นปีนี้ก็จะเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในปีต่อไป อย่างไรก็ตาม ในเรื่องของหนี้ครัวเรือนของภาคประชาชนนั้นกระทรวงการคลังยืนยันว่าเริ่มดีขึ้นและไม่กระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลังแน่นอน” นายอุตตมกล่าว นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์กรนายจ้างผู้ประกอบการค้าอุตสาหกรรมไทย กล่าวว่า แนวโน้มการส่งออกของไทยปี 2560 คาดว่าจะมีโอกาสลุ้นเติบโตได้ระดับ 6-7% เนื่องจาก 6 เดือนแรกการส่งออกของไทยโตถึง 7.8% หรือสูงสุดในรอบ 6 ปี และขณะนี้มีสัญญาณคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเข้ามามากขึ้นซึ่งสอดรับกับการนำเข้าวัตถุดิบ 6 เดือนแรกโต 21% และการนำเข้าเครื่องจักรโต 7.4% ซึ่งชี้ให้เห็นว่าเอกชนเตรียมขยายการลงทุน “มีสัญญาณว่าเศรษฐกิจเรากำลังฟื้นตัวอย่างมีนัยสำคัญจากภาคการส่งออก โดยขณะนี้อัตรากำลังผลิตเริ่มดีขึ้นเพราะสต๊อกสินค้าที่ค้างอยู่เดิมเริ่มลดลงทำให้มีการผลิตใหม่ และมีออร์เดอร์เข้ามาเพิ่ม โดยผมทำธุรกิจขนส่ง (ลอจิสติกส์) เองก็เห็นชัดว่าเริ่มมีการขยายตัวในรอบหลายปี” นายธนิตกล่าว อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยต้องติดตามในแง่ของเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะนโยบายของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาต่อประเทศรัสเซียและเกาหลีเหนือ อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทที่ภายใน 1 ปีที่ผ่านมาไทยมีการแข็งค่าระดับ 8.3% ซึ่งเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอาจจะแข็งค่าเล็กน้อย แต่ในเรื่องของภาพรวมต่อเศรษฐกิจนั้นมีทั้งผลบวกและลบ โดยบาทที่แข็งค่าก็มีผลดีในแง่ของการนำเข้าวัตถุดิบและเครื่องจักรที่ถูกลง แต่ผลเสียอาจกระทบรายได้จากการส่งออกในแง่มูลค่าลดลงไป
16 ส.ค 2017
RISMEP ศูนย์ภาค 7 ร่วมกับ หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี วางแผนการดำเนินงาน เพื่อช่วยเหลือ SMEs
วันที่ 15 สิงหาคม 2560 นางวีระวรรณ ปัณฑรสูตร ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 มอบหมายให้ นายรัฐนนท์ บุญญา, นายจักรพงศ์ มูลสมบัติ, นายตระกูล อ่อนรัตน์, เข้าพบ นายรวิ กลางประพันธ์ ผู้จัดการหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี และคณะฯ เพื่อแลกเปลี่ยนแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนา SMEs และส่งต่องานบริการภายใต้โครงการ RISMEP โดยได้ร่วมกันกำหนดแผนการให้คำปรึกษาแนะนำผู้ประกอบการที่ประสบปัญหาด้านการตลาด เพื่อเข้าให้ความช่วยเหลือต่อไป ซึ่งโครงการ RISMEP เป็นอีกหนึ่งโครงการการส่งเสริม SMEs ในรูปแบบบูรณาการ และยังเป็นประโยชน์ต่อ SMEs ในท้องถิ่นเป็นอย่างมาก #RISMEP ขอบคุณภาพจาก หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี (UBR UBI) ----------------------------------------------------------ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา ธุรกิจอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม เพื่อให้มีสมรรถนะและขีดความสามารถในการประกอบการ ที่เป็นเลิศและมีความยั่งยืนสู่สากลโทรศัพท์ : (045)314135, (045)314216-7, (045)311987โทรสาร : (045)311987website : https://ipc7.dip.go.thfacebook : https://www.facebook.com/dip.ipc7
15 ส.ค 2017
ศภ.7 ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับ การใช้ระบบ E-consult เพื่อให้คำปรึกษาแนะนำแก่ SMEs ผ่านระบบ Online ร่วมกับเจ้าหน้าที่สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดอุบลราชธานี
วันที่ 15 สิงหาคม 2560 นางวีระวรรณ ปัณฑรสูตร ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 มอบหมายให้ นายรัฐนนท์ บุญญา, นายจักรพงศ์ มูลสมบัติ, นายตระกูล อ่อนรัตน์ ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับ การใช้ระบบ E-consult เพื่อให้คำปรึกษาแนะนำแก่ SMEs ผ่านระบบ Online ร่วมกับเจ้าหน้าที่สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดอุบลราชธานี นำโดย นายรังสรร บุญสะอาด อุตสาหกรรมจังหวัดอุบลราชธานี ณ ห้องประชุม สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดอุบลราชธานี ขอบคุณภาพจาก สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดอุบลราชธานี ----------------------------------------------------------ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา ธุรกิจอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม เพื่อให้มีสมรรถนะและขีดความสามารถในการประกอบการ ที่เป็นเลิศและมีความยั่งยืนสู่สากลโทรศัพท์ : (045)314135, (045)314216-7, (045)311987โทรสาร : (045)311987website : https://ipc7.dip.go.thfacebook : https://www.facebook.com/dip.ipc7
15 ส.ค 2017
นางวีระวรรณ ปัณฑรสูตร จัดพิธีลงนามถวายพระพรชัยมงคลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9
นางวีระวรรณ ปัณฑรสูตร ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นำคณะผู้บริหารฯ เจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 จัดพิธีลงนามถวายพระพรชัยมงคลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 85 พรรษา 12 สิงหาคม 2560 เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณและแสดงความจงรักภักดี ณ อาคารอำนวยการ ชั้น 1 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 ----------------------------------------------------------ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา ธุรกิจอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม เพื่อให้มีสมรรถนะและขีดความสามารถในการประกอบการ ที่เป็นเลิศและมีความยั่งยืนสู่สากลโทรศัพท์ : (045)314135, (045)314216-7, (045)311987โทรสาร : (045)311987website : https://ipc7.dip.go.thfacebook : https://www.facebook.com/dip.ipc7
12 ส.ค 2017
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 ร่วมพิธีลงนามถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9
วันที่ 12 สิงหาคม 2560 นางวีระวรรณ ปัณฑรสูตร ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มอบหมายให้ นางละออง ธงสอาด หัวหน้าส่วนพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน , นางเปลี่ยน จำปาหอม เจ้าพนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมอาวุโส นำคณะเจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 ร่วมพิธีลงนามถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 85 พรรษา 12 สิงหาคม 2560 โดยมี ดร.สมศักดิ์ จังตระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เป็นประธาน เพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดี และน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ ณ หอประชุมไพรพะยอม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี เจ้าหน้าที่ร่วมพิธีนางละออง ธงสอาด, นางเปลี่ยน จำปาหอม, นางกรรณิการ์ การกล้า, นายสุมิตร ส่งเสริม, นางวนิดา มูลสมบัติ, นางสาวชุติกาดา ภาพสิงห์, นางสาวรจนาภรณ์ ไกรรัตน์, นางสาวใหม่นภา พุฒพิมพ์, นางสาวมณี ศิละมัย, ว่าที่ร้อยตรีณัฐวุฒิ วงศาเลิศ, นายบุญสาร แสนโท, นางผานิต ศรีภาค์, นางสาวจรัสศรี วงคำจันทร์, นายชิติพัทธ์ กรไกร, นายศุภชัย สืบวงศ์----------------------------------------------------------ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา ธุรกิจอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม เพื่อให้มีสมรรถนะและขีดความสามารถในการประกอบการ ที่เป็นเลิศและมีความยั่งยืนสู่สากลโทรศัพท์ : (045)314135, (045)314216-7, (045)311987โทรสาร : (045)311987website : https://ipc7.dip.go.thfacebook : https://www.facebook.com/dip.ipc7
12 ส.ค 2017
ปลุกเศรษฐกิจพิเศษ‘แม่สอด’  เปิดทางธุรกิจ‘เอสเอ็มอี’สู่สากล
อีกไม่กี่อึดใจชายแดนไทย-เมียนมาร์ ฝั่ง อ.แม่สอด จ.ตาก จะกลายเป็นเมืองอุตสาหกรรมใหม่อย่างเต็มรูปแบบ เมื่อรัฐบาลมีเป้าหมายพัฒนาเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษเชื่อมโยงกับเขตเศรษฐกิจพิเศษเมียวดี ประเทศเมียนมาร์ ที่มีมูลค่านับหมื่นล้านบาท ขณะที่กระทรวงอุตสาหกรรมร่วมกับ กระทรวงมหาดไทย สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย และหน่วยงานเครือข่ายการพัฒนาเอสเอ็มอี เร่งเดินหน้าสานต่อ “กองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ” มุ่งเป้าหมายพื้นที่เขตเศรษฐกิจจังหวัดตาก กลุ่มภาคเหนือตอนล่าง ประกอบด้วย จ.ตาก จ.สุโขทัย จ.อุตรดิตถ์ จ.เพชรบูรณ์ จ.พิษณุโลก จ.พิจิตร จ.กำแพงเพชร จ.นครสวรรค์ และ จ.อุทัยธานี พร้อมเร่งบูรณาการส่งเสริมเอสเอ็มอีไทยเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 เสริมแกร่งเอสเอ็มอีไทยครอบคลุมทุกมิติอย่างสมดุล รองรับการขยายตัวของเมืองทั้งด้านศักยภาพและความพร้อม ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ การลงทุนภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตร และการท่องเที่ยว อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวระหว่างเป็นประธานเปิดงาน “คลินิกเอสเอ็มอีสัญจรแนวประชารัฐ” ครั้งที่ 7 อ.แม่สอด จ.ตาก โดยระบุว่า ตามนโยบายของรัฐบาล ที่กระทรวงอุตสาหกรรมมุ่งเน้นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจตามนโยบายอุตสาหกรรม 4.0 ด้วยการเร่งพัฒนาเอสเอ็มอี และเศรษฐกิจท้องถิ่นให้เข้มแข็ง โดยมีเป้าหมาย จ.ตาก ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญระเบียงเศรษฐกิจตามแนว ตะวันออก-ตะวันตก หรือ East-West Economic Corridor (EWEC) หรือที่เรียกว่าเส้นทาง R9 ที่เชื่อมระหว่าง 2 มหาสมุทร คือ มหาสมุทรอินเดีย กับ มหาสมุทรแปซิฟิก หรือทะเลจีนใต้ จากเมืองเมาะละแหม่ง ประเทศเมียนมาร์ ผ่าน จ.ตาก จ.พิษณุโลก จ.ขอนแก่น จ.มุกดาหาร ข้ามเขตแดนไปยังเมืองดองฮาและไปจรดปลายทางที่เมืองดานัง ประเทศเวียดนาม “จ.ตาก ถือเป็นจุดแข็งที่รัฐบาลเล็งเห็นความสำคัญ ซึ่งได้มีการกำหนดบทบาทของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตาก ให้เป็น ศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าระหว่างประเทศ เครือข่ายอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น โดยมีอุตสาหกรรมเป้าหมายคือ สิ่งทอเครื่องนุ่งห่ม เกษตรแปรรูปและอาหาร เครื่องเรือนจากไม้ และอัญมณีเครื่องประดับ” จากลักษณะภูมิศาสตร์ที่เป็นพื้นที่ชายแดน และเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในเรื่องของระบบโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค รวมถึงความเข้มแข็งทางด้านเศรษฐกิจการค้า การลงทุนภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตร และการท่องเที่ยว โดยพื้นที่แม่สอดสามารถเชื่อมโยงกับเขตเศรษฐกิจพิเศษเมียวดี ของเมียนมาร์ ซึ่งตั้งอยู่ห่างออกไปเพียง 10 กิโลเมตร และมีพื้นตั้งอยู่ปลายแนวเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก เป็นจุดตัดระหว่างแนวเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ (North-South Economic Corridor : NSEC) มีโครงข่ายการคมนาคมทางบกที่สนับสนุนการขนส่งทั้งผู้โดยสารและสินค้า มีสนามบินพาณิชย์เป็นแหล่งผลิตทางการเกษตรและแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่มีความโดดเด่นเฉพาะตัว ตลอดจนเป็นประตูสู่อันดามัน และประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง คือ เมียนมาร์ จีน และสามารถเชื่อมโยงกับเส้นทางการค้าขายเป็นประตูสู่ยุโรปได้ รมว.อุตสาหกรรม กล่าวต่อว่า ในส่วนของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ก็ได้เตรียมโครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตากไว้แล้ว ณ ต.ท่าสายลวด อ.แม่สอด บนเนื้อที่ประมาณ 671 ไร่ อยู่ห่างจากห่างจากทางหลวง EWEC ประมาณ 7 กิโลเมตร ในบริเวณที่ติดกับพื้นที่ก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-เมียนมาร์แห่งที่ 2 โดยขณะนี้มีระบบไฟฟ้าเข้าถึงพื้นที่แล้ว และมีแหล่งน้ำคือแม่น้ำเมย ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของเขตเศรษฐกิจจังหวัดตาก คือ การให้บริการโลจิสติกส์ เช่น คลังสินค้า ศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าและยานพาหนะ (มีพื้นที่รวมประมาณ 33%) และอุตสาหกรรมเป้าหมาย เช่น สิ่งทอเครื่องนุ่งห่ม เกษตรแปรรูปและอาหาร เครื่องเรือนจากไม้ และอัญมณีเครื่องประดับ (มีพื้นที่รวมประมาณ 66%) โดยมีการกำหนดพื้นที่โซนสำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี รวมทั้งมีศูนย์ SMEs Development Center ซึ่งจะให้บริการสนับสนุนเครื่องมืออุปกรณ์กลาง เช่น 3D-Priner Co-Working Space และการพัฒนาเอสเอ็มอีที่ตั้งอยู่ในนิคมและบริเวณใกล้เคียงด้วย “ในส่วนพื้นที่ที่เหลือจะถูกกันไว้เป็นเขตพาณิชยกรรม ระบบสาธารณูปโภค และพื้นที่สีเขียวเพื่อเป็นแนวกันชน โดยประมาณการมูลค่าการพัฒนาไว้ที่ 835 ล้านบาท คาดว่าจะเริ่มเปิดดำเนินการพื้นที่ในเฟสแรกได้ตั้งแต่ปลายปี 2561 เป็นต้นไป” รมว.อุตสาหกรรม กล่าวยืนยัน แน่งน้อย เวทยพงษ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เผยว่า เพื่อเป็นการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของเมืองหน้าด่านชายแดนไทยและเมียนมาร์ รองรับก่อนเปิดเป็นเขตเศรษฐกิจอย่างเป็นทางการ ขณะนี้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้เร่งให้การช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในประเทศไทยผ่านเครื่องมือในการช่วยต่อยอดทางธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการไทยในทุกมิติอย่างสมดุล ทั้งการต่อยอดการออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ที่ตรงความต้องการของตลาด เพื่อยกระดับและเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้าและบริการ การขับเคลื่อนผลงานนวัตกรรมไปสู่เชิงพาณิชย์ในรูปแบบของศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมเพื่ออนาคต “มีการพัฒนาผู้ประกอบการโดยการเติมองค์ความรู้ในการเพิ่มผลิตภาพและมาตรฐาน การพัฒนาระบบบริหารจัดการ การบัญชีและการเงินให้ก้าวสู่ SMART SMEs พร้อมส่งเสริมการใช้ระบบดิจิทัลเพื่อเชื่อมโยงสู่โลกการค้าสมัยใหม่ โดยมีศูนย์สนับสนุนและช่วยเหลือเอสเอ็มอีทำหน้าที่สนับสนุนการดำเนินการภายใต้กลไกประชารัฐ ซึ่งกองทุนตามแนวประชารัฐดำเนินการให้ความช่วยเหลือในรูปแบบกองทุนต่างๆ” รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมกล่าวระหว่างนำสื่อมวลชนลงพื้นที่ดูงานเอสเอ็มอีตามโครงการประชารัฐ พร้อมย้ำว่า การลงพื้นที่ จ.ตาก ครั้งนี้มุ่งเน้นการสร้างการรับรู้และความเข้าใจในนโยบายการสนับสนุนและช่วยเหลือเอสเอ็มอี จังหวัดยุทธศาสตร์ภาคเหนือตอนล่าง 9 จังหวัด ประกอบด้วย ตาก สุโขทัย อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ พิษณุโลก พิจิตร กำแพงเพชร นครสวรรค์ และอุทัยธานี โดยขณะนี้มีผู้ประกอบการจากทั่วประเทศยื่นคำขอทั้ง 4 มาตรการแล้ว 10,558 ราย วงเงิน 30,161.60 ล้านบาท อนุมัติแล้วจำนวน 2,954 ราย ในวงเงิน 8,514.86 ล้านบาท อ้างอิง https://goo.gl/fdB1K7 ----------------------------------------------------------ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา ธุรกิจอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม เพื่อให้มีสมรรถนะและขีดความสามารถในการประกอบการ ที่เป็นเลิศและมีความยั่งยืนสู่สากลโทรศัพท์ : (045)314135, (045)314216-7, (045)311987โทรสาร : (045)311987website : https://ipc7.dip.go.thfacebook : https://www.facebook.com/dip.ipc7
11 ส.ค 2017
35 องค์กรลงนามร่วมมือเครือข่ายหน่วยงานสนับสนุน SMEs เชียงใหม่-บูรณาการช่วยเหลือเบ็ดเสร็จ
ศูนย์ข่าวเชียงใหม่ - ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และรองผู้ว่าฯ เชียงใหม่ เป็นสักขีพยานลงนามความร่วมมือเครือข่ายหน่วยงานสนับสนุน SMEs ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และสถาบันการเงิน 35 หน่วยงานร่วมลงนาม พร้อมเป็นกลไกผลักดัน SMEs สู่ความสำเร็จ (8 ส.ค. ) ที่โรงแรมอิมพีเรียลแม่ปิง จังหวัดเชียงใหม่ นายสมชาย หาญหิรัญ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และนายกฤษณ์ ธนาวณิช รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมเป็นสักขีพยานพิธีลงนามความร่วมมือเครือข่ายหน่วยงานสนับสนุน SMEs ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ (เครือข่ายคู่คิดอุตสาหกรรม iP: Industrial Partner)ระหว่าง 35 หน่วยงานผู้ให้บริการ SMEs ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และสถาบันการเงิน ที่จะเป็นกลไกสนับสนุนช่วยเหลือ SMEs ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ พร้อมทั้งต่อยอดธุรกิจให้ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมกล่าวว่า การลงนามความร่วมมือครั้งนี้เป็นการสร้างเครือข่ายหน่วยงานสนับสนุน SMEs ในพื้นที่ในการให้บริการแบบบูรณาการ ที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการได้รับบริการ ทั้งการผลิต การตลาด การบริหารจัดการ การเงิน หรือเทคโนโลยีและนวัตกรรม อย่างครบวงจร และสามารถแนะนำหรือส่งต่อบริการภายในเครือข่ายได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ SMEs ในจังหวัดเชียงใหม่ ให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขันอันจะเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงใหม่และประเทศโดยรวม นางจันทรรัตน์ ปิยพัทธไชย์ อุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า ในปีงบประมาณ 2560 สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ได้ดำเนินโครงการสร้างเครือข่ายหน่วยงานสนับสนุน SMEs ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ในการให้บริการแบบบูรณาการ (One Stop Service Network For SMEs) เพื่อสร้างระบบบูรณาการความช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ในจังหวัดเชียงใหม่อย่างเป็นรูปธรรม โดยตั้งเป้าหมายเพิ่มจำนวนองค์กรหรือหน่วยงานเครือข่ายคู่คิดอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ จากเดิม 13 หน่วยงาน เป็นอย่างน้อย 30 หน่วยงาน ซึ่งการลงนามครั้งนี้มีทั้งสิ้น 35 หน่วยงานที่ได้ร่วมลงนามและจะได้ร่วมกันบูรณาการโครงการในระยะต่อไปของเครือข่าย อ้างอิง https://goo.gl/vkCyFZ ---------------------------------------------------------- ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา ธุรกิจอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม เพื่อให้มีสมรรถนะและขีดความสามารถในการประกอบการ ที่เป็นเลิศและมีความยั่งยืนสู่สากล โทรศัพท์ : (045)314135, (045)314216-7, (045)311987 โทรสาร : (045)311987 website : https://ipc7.dip.go.th facebook : https://www.facebook.com/dip.ipc7
10 ส.ค 2017