Category
Tags:
ดีพร้อมเซนเตอร์ 7 เสริมแกร่งทักษะชุมชน เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์
อำนาจเจริญ ระหว่างวันที่ 18-22 กุมภาพันธ์ 2565 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือดีพร้อม (DIPROM) จัดฝึกอบรมหลักสูตร การพัฒนาผู้ประกอบการขั้นกลางด้านการบริหารจัดการธุรกิจอย่างเป็นระบบ ภายใต้โครงการยกระดับธุรกิจอุตสาหกรรมและวิสาหกิจชุมชน กิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพและขีดความสามารถเศรษฐกิจชุมชน ณ หมู่ 1 ตำบลนาหมอม้า อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ เสริมศักยภาพในการดำเนินธุรกิจให้กับกลุ่มเป้าหมายโดยการสร้างทักษะพื้นฐานที่จำเป็นและความถนัดที่แตกต่างและหลากหลายให้เกิดการพึ่งพาได้ด้วยตนเอง ตลอดจนกระบวนการผลิต การจัดการการตลาด การสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ สามารถบริหารจัดการธุรกิจและให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ . เจ้าหน้าที่ นายประหยัด ดาราย้อย, นายศุภชัย สืบวงศ์ . #DIPROM #ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่7 #กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
21 ก.พ. 2022
มิจฉาชีพเยอะ! Whoscall เผยสถิติโทรศัพท์หลอกลวงในไทยปี 64 มีมากกว่า 6.4 ล้านครั้ง รูปแบบ SMS เยอะสุด
จะเห็นได้ว่าในช่วงหลังมีกลุ่มมิจฉาชีพโทรศัพท์เข้ามาหลอกลวงประชาชนมากขึ้น โดยบทสนทนาจะมีหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น การมีพัสดุติดค้าง, การเป็นหนี้บัตรเครดิต, เชิญชวนให้ลงทุน, ปล่อยเงินกู้ อย่างไรตาม คนส่วนใหญ่เริ่มรู้ทันได้ว่ากรณีที่เกิดขึ้นนี้เป็นการหลอกหลวง และอัดคลิปวิดีโอระหว่างคุยกันเผยแพร่ลงบนช่องทางออนไลน์ Whocall แอปพลิเคชันป้องกันการฉ้อโกง เปิดเผยสถิติที่น่าสนใจเกี่ยวกับโทรศัพท์หลอกลวงว่า ในปี 2564 มีการใช้โทรศัพท์หลอกลวงในไทยมากกว่า 6.4 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้น 270% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในรูปแบบของข้อความ SMS ที่เพิ่มขึ้นถึง 57% ซึ่งวิธีที่พบบ่อยคือการเชิญชวนให้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน และดึงข้อมูลส่วนตัวไป ในเรื่องนี้คุณฐิตินันท์ สุทธินราพรรณ หัวหน้าฝ่ายการตลาด Gogolook ประเทศไทย ผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน Whocall กล่าวว่าการส่งข้อความมีต้นทุนต่ำ สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายและเหยื่อในอัตราสูง โดยเมื่อดูสถิติในส่วนของข้อความ SMS หลอกลวงเพิ่มสูงขึ้น 57% เมื่อเทียบกับปี 2563 ซึ่งประชาชนต้องระมัดระวังเบอร์แปลกที่โทรเข้ามา รูปแบบการหลอกลวงที่พบบ่อยคือโทรมาอ้างว่าเป็นคอลเซนเตอร์บริการจัดส่งสินค้า และมีผู้เสียหายสูญเสียเงินรวมกันมากกว่า 100 ล้านบาท อีกทั้ง รูปแบบหนึ่งที่พบ คือการอ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ กล่าวหาเหยื่อว่ามีคดีฉ้อโกง ทั้งนี้ เมื่อดูในภาพรวมก็จะพบอีกว่า ในปี 2564 ข้อความหลอกลวงทั่วโลกเพิ่มขึ้นกว่า 70% โดยลิ้งค์ฟิชชิ่งเป็นรูปแบบการหลอกลวงที่พบบ่อยที่สุดที่เหยื่อจะถูกล่อให้เพิ่มเพื่อนกับบัญชีปลอมบนโซเชียลมีเดีย หรือหลอกให้เข้าถึงเว็บไซต์ปลอม ที่มา : www.smartsme.co.th
20 ก.พ. 2022
สุดเจ๋ง! นักศึกษาอินเดียพัฒนา AI ช่วยแปลภาษามือ สร้างความเข้าใจอย่างรวดเร็ว
Priyanjali Gupta นักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ จากรัฐทมิฬนาฑู ประเทศอินเดีย ได้พัฒนาระบบ AI ที่สามารถแปลภาษามือแบบอเมริกัน (ASL) ได้แบบทันที ซึ่งจะช่วยให้คนที่มีปัญหาทางการได้ยิน สามารถสื่อสารกับคนที่ไม่เข้าใจภาษามือได้อย่างรวดเร็ว แต่ในเบื้องต้นระบบจะแปลได้เพียงคำง่าย ๆ 6 คำ และยังต้องพัฒนาระบบให้มีประสิทธิภาพได้มากขึ้นต่อไป แม้ว่าปัจจุบันจะมีเทคโนโลยีที่ทำให้การติดต่อสื่อสารเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น แต่ยังคงเป็นอุปสรรคสำหรับคนที่มีปัญหาการได้ยินจะสื่อสารกับคนปกติ โดยเฉพาะการสื่อสารแบบเห็นหน้าผ่านระบบวิดีโอคอล คู่สนทนาจะต้องเข้าใจภาษามือได้เป็นอย่างดี จึงจะเข้าใจว่าอีกฝ่ายหนึ่งต้องการพูดว่าอะไร เครื่องมือในการแปลภาษามือแบบอเมริกัน (American Sign Language: ASL) ด้วยระบบ AI ของ Priyanjali Gupta นักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์จาก Vellore Institute of Technology (VIT) รัฐทมิฬนาฑู ประเทศอินเดีย เป็นอีกหนึ่งความพยายามในการช่วยเหลือและลดช่องว่างระหว่างคนที่มีปัญหาทางการได้ยินให้สามารถสื่อสารกับคนปกติได้ง่ายขึ้น โดยเธอได้แชร์ผลงานลงบนแพลตฟอร์หางาน ซึ่งได้รับความสนใจและคำชื่นชมเป็นจำนวนมาก การทำงานของระบบแปลภาษามือด้วย AI เริ่มต้นจากการแปลภาษามือซึ่งเป็นการทำท่าทางต่าง ๆ จากอาสาสมัครให้เป็นภาษาอังกฤษ โดยได้ใช้เทคโนโลยีการจดจำภาพ (Image Recognition) แล้วนำผลที่ได้มาวิเคราะห์การเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะแขนและนิ้ว ระบบสามารถแปลภาษามือได้ทันที แต่ในช่วงแรกของการพัฒนา จะยังแปลได้เพียงคำภาษาอังกฤษง่าย ๆ และยังไม่ได้เป็นประโยคที่ซับซ้อน เช่น “สวัสดี , ฉักรักคุณ , ขอบคุณ , ได้โปรด , ใช่ หรือ ไม่ใช่ ซึ่งเป็นคำที่คนมักใช้งานบ่อยที่สุด สำหรับชุดข้อมูลที่ใช้แปลในปัจจุบัน เป็นสิ่งที่ Priyanjali Gupta พัฒนาขึ้นมาเองจากเว็บแคมแบบเฟรมเดียว จึงยังไม่สามารถใช้งานกับวิดีโอได้ แต่ได้พัฒนาต่อด้วยการนำเครือข่ายประสาทเทียมแบบ LSTM (Long-Short Term Memory) มาใช้งานร่วมด้วย และมีแผนที่จะนำเทคโนโลยีอื่น ๆ มาช่วยในการพัฒนา เพื่อให้การแปลภาษามือมีประสิทธิภาพมากขึ้น ที่มา : www.smartsme.co.th
19 ก.พ. 2022
ดีพร้อมเซนเตอร์ 7 สร้างขวัญ เสริมกำลังใจ SMEs ขับเคลื่อนเศรษฐกิจในพื้นที่
ระหว่างวันที่ 17-18 กุมภาพันธ์ 2565 ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือดีพร้อม (DIPROM) ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการฝึกอบรม หลักสูตร "พัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม (คพอ.)" รุ่นที่ 387 DIPROM for New Normal 2022 Ubon Ratchathani ภายใต้โครงการ การพัฒนาผู้ประกอบการสู่ความเป็นอัจฉริยะ ในกิจกรรมเสริมสร้างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์(Achievement Motivation training) ณ โรงแรมอารียารีสอร์ท โขงเจียม ริเวอร์ไซร์ จ.อุบลราชธานี พร้อมทั้งลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงาน/ โครงการ แลกเปลี่ยนมุมมองในการดำเนินธุรกิจ สร้างขวัญ เสริมกำลังใจ SMEs ณ หจก.สตาร์แอนด์สตาร์พลาสติก จ.ศรีสะเกษ, บจก.นิยมฟู๊ดส์ จ.อำนาจเจริญ, หจก.โฟร์ดีคอฟฟี่ จ.อุบลราชธานี . เจ้าหน้าที่ นายธีระยุทธ เกลื้อกิจ, นายมิตร แสงกล้า . #DIPROM #ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่7 #กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
19 ก.พ. 2022
จับตา! อีก 10 ปี “เงินหยวนดิจิทัล” มีโอกาสเทียบเท่าเงินดอลลาร์ในตลาดโลก
สกุลเงินหยวนของจีนถูกจับตามองจากหลายฝ่ายว่าในอนาคตจะก้าวขึ้นมามีบทบาทสำคัญในโลกการชำระเงินที่อาจเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม Richard Turrin ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการเงิน และเป็นผู้เขียนเรื่อง “Cashless: การปฏิวัติสกุลเงินดิจิทัลของจีน” ออกมาเปิดเผยว่า เงินหยวนดิจิทัลที่จีนเพิ่งเริ่มต้นพัฒนาจะก้าวขึ้นมามีบทบาทท้าทายเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ในการชำระเงินระหว่างประเทศภายในศตวรรษหน้า “หากยังจำกันได้ จีนเป็นประเทศที่มีการค้าขนาดใหญ่ และคุณจะค่อย ๆ เห็นสกุลเงินหยวนดิจิทัลเข้ามาแทนที่ดอลลาร์ เมื่อซื้อของจากจีน” Turrin กล่าวกับรายการ “Squawk Box Asia” ของ CNBC ในอนาคต 5-10 ปี แน่นอนว่า “หยวนดิจิทัล” สามารถเข้ามามีบทบาทสำคัญแทนการใช้เงินดอลลาร์ในการค้าระหว่างประเทศ โดยการขับเคลื่อนระบบทางเลือกการชำระเงินมีแนวโน้มมาจากความต้องการของประเทศต่าง ๆ ที่จะลดการพึ่งพาสกุลเงินดอลลาร์ ซึ่งตอนนี้ส่วนใหญ่เกือบ 100% ใช้สกุลเงินดังกล่าว Turrin วิเคราะห์ว่าอนาคตจะเริ่มจะเห็นการตีกลับที่หลายประเทศเริ่มบริหารความเสี่ยงลดการพึ่งพาสกุลเงินดอลลาร์จาก 100% ลดลงเหลือ 80%, 85% โดยธนาคารประชาชนแห่งชาติจีนได้ดำเนินการเกี่ยวกับสกุลดิจิทัลมาตั้งแต่ปี 2014 ส่วนธนาคารกลางสหรัฐฯ ไม่ได้ยืนกรานว่าจะทำดอลลาร์ดิจิทัลหรือไม่ ขณะที่โจ ไบเดน เรียกร้องให้มีมาตรการเร่งด่วนในการวิจัย และพัฒนาเงินดอลลาร์ในรูปแบบดิจิทัลเพื่อศักยภาพในการชำระเงิน “จีนล้ำหน้าเทคโนโลยีด้านการเงินไปก่อนใครราว 10 ปี ด้านสหรัฐฯ ต้องใช้เวลาอีก 5 ปี ในการวางแผน และใช้สกุลเงินดิจิทัล” Turrin กล่าว อย่างไรก็ตาม เรื่องที่น่าจับตามองคือพันธมิตรของทั้งทางฝั่งจีน และสหรัฐฯ หลังจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครน ที่ทางฝั่งจีนเพิกเฉยต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และปฏิเสธโจมตีรัสเซียในฐานะผู้บุกรุกแต่อย่างใด ที่มา : www.smartsme.co.th
18 ก.พ. 2022
Glossier เริ่มต้นจากบล็อกความงาม ตอนนี้เป็นบริษัทมูลค่า 1 พันล้าน
Glossier เจ้าของแบรนด์ความงามในนิวยอร์กตอนนี้มีมูลค่า 1.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ไปเรียบร้อยแล้วจากการระดมทุนรอบล่าสุด นี่คืออีกหนึ่งตัวอย่างของสตาร์ทอัพด้านความงามที่มีจุดเริ่มต้นจากสิ่งที่ตัวเองรัก จากนั้นค่อยๆ เติบโตขึ้นมาเรื่อยๆ จนกลายเป็นบริษัทพันล้าน ในปี 2010 Emily Weiss ได้เริ่มบล็อกยอดนิยมที่ชื่อว่า "Into the Gloss" โดยนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับเคล็ดลับความงาม เทรนด์ของเครื่องสำอาง และเทคนิคการแต่งหน้าในรูปแบบต่างๆ จากนั้นเธอใช้มันเพื่อเปิดตัวผลิตภัณฑ์ความงามและผลิตภัณฑ์บำรุงผิวภายใต้แบรนด์ Glossier ในอีก 4 ปีต่อมา ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของผลิตภัณฑ์ที่เรียบง่ายราคาไม่แพง แบรนด์ Glossier ได้ดึงดูดให้มีผู้ติดตามเกือบ 2 ล้านคน บน Instagram ทำให้ Weiss ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้หญิงเก่งที่สามารถรีดประสิทธิภาพจากการใช้โซเชียลมีเดียได้อย่างเต็มที่ในการเข้าถึงลูกค้า ปี 2017 Weiss บอกว่าเธอรู้ตัวว่าเธอสามารถใช้โซเชียลมีเดียเพื่อพูดคุยกับลูกค้าโดยตรง และสร้างสิ่งที่เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้าได้อย่างเต็มที่ ผู้หญิงมีหน้าที่ดูแลตัวเองให้ดูดี และควรจะค้นหาข้อมูลทั้งหมดที่พวกเขาต้องการจากเพื่อนหรือจากผู้หญิงคนอื่นๆ ในโลกและออนไลน์ ร้านออฟไลน์ 2 ร้านของ Glossier นั้นเต็มไปด้วยการตกแต่งที่เป็นมิตรกับ Instagram ทั่วทั้งพื้นที่กระตุ้นให้ผู้มาเยี่ยมชมทำการถ่ายภาพและแชร์ออกไปบนโลกโซเชียลมีเดีย มันเป็นวิธีที่ชาญฉลาดมากในการทำให้ผู้บริโภคของคุณกลายเป็นผู้ทำการโฆษณาให้กับสินค้าของคุณ นอกจากนั้นการสร้างคำแนะนำแบบปากต่อปาก ยังคงทรงพลังเสมอในการทำให้คนซื้อผลิตภัณฑ์ของคุณ ที่มา : www.smartsme.co.th
17 ก.พ. 2022
AI จะเป็นผู้ช่วยคนสำคัญของแพทย์ เรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจ
ประเทศอินเดียมีปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านสุขภาพในพื้นที่ต่างๆ อย่างมากมาย ในบางพื้นที่คนได้รับการรักษาด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย แต่ในบางพื้นที่ยังเข้าถึงบริการพื้นฐานด้านสุขภาพไม่ได้เลย ทำให้บรรดาสตาร์ทอัพหลายแห่งในอินเดีย ทุ่มเทให้กับการแก้ไขปัญหานี้ โดยเฉพาะเรื่องของการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาอินเดียมีการเติบโตของสตาร์ทอัพทางด้านสุขภาพจำนวนมาก เพราะด้วยจำนวนประชากรและความแตกต่างของการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ ทำให้มีความตื่นตัวในการแก้ไขปัญหาด้านาสุขภาพ และมันก็สอดคล้องกับความก้าวหน้าของ AI ที่สามารถลดปัญหาเหล่านี้ โดยการทำตัวเป็นผู้ช่วยของแพทย์ในการตัดสินใจเพื่อการรักษาในเคสต่างๆ การทดสอบการวินิจฉัยหลายอย่างที่ดำเนินการผ่านความช่วยเหลือของ AI ช่วยให้โรงพยาบาลสามารถให้บริการผู้ป่วยได้ดีขึ้น การเกิดขึ้นของ AI ทำให้การตรวจหา “มะเร็ง” ทำได้ง่ายขึ้นและคล่องตัวมากกว่าเดิม Vishwas Mudagal ซีอีโอของ Good work Labs กล่าวว่า “AI กำลังรุกเข้าไปในพื้นที่ด้านการดูแลสุขภาพ เรากำลังช่วย บริษัท ต่างๆ ในการหาวิธีตรวจหามะเร็ง สำหรับการตรวจจับมะเร็งคุณต้องใช้อัลกอริทึมที่คุณจะทำนายว่ามีใครบางคนกำลังเป็นมะเร็งหรือไม่ การดูตัวอย่างเลือดคุณสามารถคาดการณ์ได้ว่าผู้ป่วยบางรายจะเป็นมะเร็งในอนาคตหรือไม่” Deep Learning จะแนะนำการวินิจฉัยโรค การดูแลสุขภาพด้วยระบบดิจิทัลจะช่วยให้สามารถเข้าถึงได้มากและง่ายขึ้น นอกจากนี้อินเดียมีความไม่เท่าเทียมกันในอัตราส่วนของแพทย์ต่อผู้ป่วย AI จะมาเป็นผู้ช่วยเพื่อลดเวลาที่แพทย์ใช้ในการรักษาแบบเดิม เพื่อทำให้สามารถเพิ่มขอบเขตของการรักษาผู้ป่วยในจำนวนที่มากขึ้นได้ ที่มา : www.smartsme.co.th
16 ก.พ. 2022
ดีพร้อมเซนเตอร์ 7 เปิดสัมมนาชี้แจง คพอ.387 อุบลราชธานี พัฒนาผู้ประกอบการสู่ความเป็นอัจฉริยะ
อุบลราชธานี 15 กุมภาพันธ์ 2565 ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือดีพร้อม (DIPROM) ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการฝึกอบรมและสัมมนาชี้แจงโครงการ หลักสูตร "พัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม (คพอ.)" รุ่นที่ 387 DIPROM for New Normal 2022 Ubon Ratchathani ภายใต้โครงการ การพัฒนาผู้ประกอบการสู่ความเป็นอัจฉริยะ กล่าวรายงานโดย นายพัฒนพงษ์ กลิ่นลั่นทม นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการ ณ ห้องอิ่มบุญ 4 โรงแรมบ้านสวนคุณตา กอล์ฟ แอนด์ รีสอร์ท อุบลราชธานี โดยมี นายชลวิทย์ อภิรัตน์มนตรี ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย อีสานตอนล่าง ร่วมกล่าวต้อนรับ . การจัดกิจกรรมดำเนินการตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 อย่างเคร่งครัด ได้รับความอนุเคราะห์จาก ศูนย์วิทยาศาสตรฺการแพทย์ที่ 10 อุบลราชธานี ให้คำแนะนำวิธีตรวจ ATK และตรวจคัดกรอง ATK ก่อนเข้าร่วมกิจกรรม . เจ้าหน้าที่่ นางสาวปริทัศน์ เชื้อประทุม, นายสมเกียรติ จันทร์เพ็ญมงคง, สิบเอกกรุงรัตน์ อยู่คล้ำ, นายจิตติ โสบุญ
15 ก.พ. 2022
คณะทำงาน SME Startup PE VC เห็นพร้องเกณฑ์เปิดทางเอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพระดมทุนในวงกว้าง
ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมระดมความคิดเห็นต่อหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนและรองรับการระดมทุนของเอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพเพื่อสามารถระดมทุนในวงกว้างได้ ซึ่งหลักการของร่างหลักเกณฑ์ดังกล่าวได้ผ่านมติเห็นชอบของคณะกรรมการกำกับตลาดทุนในการประชุมครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2563 และร่างหลักเกณฑ์อยู่ระหว่างการเปิดรับฟังความเห็น โดยที่ประชุมคณะทำงานฯ เห็นด้วยกับหลักเกณฑ์ที่นำเสนอ ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญที่จะนำไปสู่การเปิดโอกาสให้เอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพระดมทุนได้รวดเร็วและในต้นทุนที่เหมาะสม ทั้งนี้ ร่างหลักเกณฑ์ดังกล่าวจะกำหนดให้เอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพที่เป็นบริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัดซึ่งมีผลการดำเนินการมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง (proven track record) หรือมีมูลค่ากิจการระดับหนึ่งแล้ว สามารถระดมทุนจากบุคคลในวงกว้างและนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดรองได้โดยไม่ต้องยื่นคำขออนุญาตจากสำนักงาน สำหรับคณะทำงาน SME Startup PE VC ประกอบด้วยหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จำนวน 14 แห่ง ได้แก่ ก.ล.ต. สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง, สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง, กรมพัฒนาธุรกิจการค้า, กระทรวงพาณิชย์, กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม, กระทรวงอุตสาหกรรม, ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย, ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ และคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย, สมาคมไทยผู้ประกอบธุรกิจเงินร่วมลงทุน, ชมรมวาณิชธนกิจ, สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์ และสภาธุรกิจตลาดทุนไทย ที่มา : www.smartsme.co.th
15 ก.พ. 2022
รับสมัครผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการการเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการ โลจิสติกส์และโซ่อุปทานภาคอุตสาหกรรม
เฉพาะสถานประกอบการในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร ศรีสะเกษ จำนวน 2 กิจการ พบกับผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาแนะนำถึงสถานประกอบการ วินิจฉัยปัญหา/ความต้องการ และหาแนวทางในการแก้ไข ปรับปรุง ให้คำแนะนำเชิงลึกในการปรับปรุงและพัฒนาด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน จำนวน 8 วัน (48 ชม.) (1 วันเท่ากับ 6 ชม.) จัดเก็บข้อมูล เปรียบเทียบผลก่อนและหลังปรับปรุง ในการลดต้นทุนทางด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน . ลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ไม่น้อยกว่า 15 % ดำเนินกิจกรรมตั้งแต่ เดือนเมษายน ถึง เดือนมิถุนายน 2565รับสมัครแล้ววันนี้ !!!!.สมัครเลยhttps://docs.google.com/.../1FAIpQLSczWhkHarGitR.../viewformสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม 08 9190 5725 (รัฐนนท์)
14 ก.พ. 2022