Category
Tags:
สตาร์ทอัพด้านหุ่นยนต์ ยกระดับการทำพิซซ่าให้กลายเป็นงานด้านบริการ
Picnic สตาร์ทอัพที่สร้างชื่อจากการใช้หุ่นยนต์ผลิตพิซซ่า ตอนนี้ได้ทำการระดมทุนเพิ่มเพื่อก้าวเข้าสู่ขั้นตอนของการรับผลิตอาหารให้กับร้านค้าต่างๆ ที่ไม่ต้องการลงทุนเรื่องของหุ่นยนต์ Picnic เป็นที่รู้จักกันดีในเรื่องของระบบประกอบพิซซ่าอัตโนมัติ ที่ทำการเปิดตัวไปเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ตอนนี้ได้พัฒนาต่อเนื่องให้กลายเป็นแพลตฟอร์มการผลิตพิซซ่าจำนนวนมาก ในรูปแบบที่สามารถกำหนดการตั้งค่าในการผลิตได้แล้ว โดยสามารถเลือกได้ว่าจะผลิดพิซซ่าขนาด 18 นิ้ว ในความเร็ว 180 ถาดต่อชั่วโมง หรือจะเป็นขนาด 12 นิ้ว ในความเร็ว 300 ถาดต่อชั่วโมง นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาการออกแบบให้ใช้พื้นที่ในห้องครัวได้อย่างเหมาะสม สามารถติดตั้งบน food trucks และร้านแล้วตู้ kiosks ได้ด้วย ล่าสุดเปิดบริการแบบ "Robotics-as-a-Service" โดยให้ลูกค้าเลือกที่จะทำการสมัครสมาชิกเพื่อใช้บริการหุ่นยนต์ทำพิซซ่า โดยไม่ต้องทำการซื้อและลงทุนทั้งระบบ ที่มา : www.smartsme.co.th
10 ธ.ค. 2021
สตาร์ทอัพด้านหุ่นยนต์ ยกระดับการทำพิซซ่าให้กลายเป็นงานด้านบริการ
Picnic สตาร์ทอัพที่สร้างชื่อจากการใช้หุ่นยนต์ผลิตพิซซ่า ตอนนี้ได้ทำการระดมทุนเพิ่มเพื่อก้าวเข้าสู่ขั้นตอนของการรับผลิตอาหารให้กับร้านค้าต่างๆ ที่ไม่ต้องการลงทุนเรื่องของหุ่นยนต์ Picnic เป็นที่รู้จักกันดีในเรื่องของระบบประกอบพิซซ่าอัตโนมัติ ที่ทำการเปิดตัวไปเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ตอนนี้ได้พัฒนาต่อเนื่องให้กลายเป็นแพลตฟอร์มการผลิตพิซซ่าจำนนวนมาก ในรูปแบบที่สามารถกำหนดการตั้งค่าในการผลิตได้แล้ว โดยสามารถเลือกได้ว่าจะผลิดพิซซ่าขนาด 18 นิ้ว ในความเร็ว 180 ถาดต่อชั่วโมง หรือจะเป็นขนาด 12 นิ้ว ในความเร็ว 300 ถาดต่อชั่วโมง นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาการออกแบบให้ใช้พื้นที่ในห้องครัวได้อย่างเหมาะสม สามารถติดตั้งบน food trucks และร้านแล้วตู้ kiosks ได้ด้วย ล่าสุดเปิดบริการแบบ "Robotics-as-a-Service" โดยให้ลูกค้าเลือกที่จะทำการสมัครสมาชิกเพื่อใช้บริการหุ่นยนต์ทำพิซซ่า โดยไม่ต้องทำการซื้อและลงทุนทั้งระบบ ที่มา : www.smartsme.co.th
10 ธ.ค. 2021
IoT & Low cost automation เสริมองค์ความรู้ SMEs เพิ่ม Productivity
อุบลราชธานี ระหว่างวันที่ 1-3 และ 7-8 ธันวาคม 2564 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM IPC7) จัดกิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร "พัฒนาการผลิตยุคใหม่ด้วยเทคโนโลยี IOT & Low Cost Automation" ณ ห้องประชุมผาแต้ม ชั้น 2 อาคารอำนวยการ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 โดย ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มอบหมายให้ นายกฤษณะ นอขุนทด ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดกิจกรรม กล่าวรายงานโดย นายจักรพงศ์ มูลสมบัติ นักเทคนิคอุตสาหกรรม ส3 มีผู้เข้าอบรมจำนวน 20 ท่าน ซึ่งเทคโนโลยี IoT & Low cost automation หรือที่เรียกกันง่ายๆว่า “ระบบอัตโนมัติต้นทุนต่ำ” ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมมากขึ้น เพื่อการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพ และลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ซึ่งทักษะความรู้ ที่จำเป็นสำหรับการออกแบบ กระบวนการอัตโนมัติต้นทุนต่ำ คือการนำหลักการของ Lean มาพัฒนาให้เกิดความเสถียร ในกระบวนการผลิต ควบคู่ไปกับความรู้ด้าน Karakuri Kaizen หรือการใช้แรงโน้มถ่วงเพื่อให้เกิดพลังงานจลน์ แทนการใช้พลังงานไฟฟ้ามาออกแบบระบบอัตโนมัติต้นทุนต่ำ ให้เหมาะสมกับอุตสาหกรรม โดยวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรมในครั้งนี้ เป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับบุคลากรในภาคอุตสาหกรรม ในด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วย IoT & Low cost automation เพิ่มองค์ความรู้ด้านนวัตกรรม ระบบอัตโนมัติต้นทุนต่ำ สร้างความเข้าใจ ในการนำระบบ IoT & Low cost automation มาประยุกต์ใช้ ในสถานประกอบการ และเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น และผู้ประกอบการสามารถนำองค์ความรู้ ไปพัฒนาและปรับปรุงการผลิตให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นในอนาคต โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือผู้ประกอบการ บุคลากรภาคอุตสาหกรรม และผู้ที่สนใจทั่วไป
09 ธ.ค. 2021
Unocups แก้วกาแฟที่ได้รับการออกแบบใหม่ ช่วยลดการใช้ฝาพลาสติกได้ 100%
Unocups ผลิตผลของนักออกแบบผลิตภัณฑ์และสถาปนิก สามารถเก็บของเหลวร้อนได้โดยไม่ต้องใช้ฝาพลาสติกแบบเดิมอีกต่อไป Unocup มุ่งมั่นที่จะลดปริมาณขยะพลาสติกจำนวนกว่า 8 ล้านตันต่อปีที่ไหลลงสู่มหาสมุทร โดยแทนที่ฝาพลาสติกด้วยการออกแบบแก้วแบบใหม่ ที่พับด้านบนให้เป็นฝาได้ ทำให้ลดจำนวนของฝาพลาสติกได้ 100% ถ้ามีการใช้อย่างกว้างขวาง แก้วกาแฟได้รับการออกแบบมาเพื่อลดของเสียเป็นหลัก แต่ก็ยังคงสามารถใช้งานได้ถูกหลักสรีรศาสตร์ของแก้วทั้งหมด ส่วนที่พับเป็นฝาปิดสามารถเปิดปิดได้ง่าย และไม่มีชิ้นส่วนที่จะทำให้เกิดขยะพลาสติกแม้แต่ชิ้นเดียว ตอนนี้ความพยายามที่จะผลิตและจัดจำหน่ายแก้วกาแฟรีไซเคิลไปยังร้านกาแฟและร้านอาหาร พวกเขาได้ทำการเปิดแคมเปญ Kickstarter โดยหวังว่าจะได้ทุนระดับ 14,500 ดอลลาร์ เพื่อช่วยนำแก้วที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมนี้ออกสู่ตลาดอย่างเต็มรูปแบบ งานดีๆ แบบนี้คงต้องเข้าไปช่วยกันหน่อยแล้ว เพราะนอกเหนือจากเป็นการตัดพลาสติกออกไปแล้ว ผู้พัฒนา Unocups ยังบอกว่าการออกแบบของพวกเขายังเป็นมิตรกับผู้ใช้อีกด้วย ที่มา : www.smartsme.co.th
09 ธ.ค. 2021
วิศวกรอินเดียผุดไอเดียช่วยโลก สร้างอิฐที่ทำจากพลาสติกรีไซเคิล
อิฐที่ทำจากพลาสติกของเขาหนึ่งก้อน ช่วยกำจัดขยะพลาสติกไปได้ 1.6 กิโลกรัม ขั้นตอนการทำไม่ได้ใช้การเผาไหม้จึงช่วยลดการส่งคาร์บอนขึ้นไปในชั้นบรรยากาศได้อีก อินเดียมีเตาเผาอิฐมากกว่า 140,000 แห่ง ตัวเลขจากงานวิจัยคาดการณ์ว่าเตาเผาเหล่านี้ทำการเผาไหม้ถ่านหินประมาณ 15 - 20 ล้านตันต่อปี สิ่งนี้ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าสู่ชั้นบรรยากาศมากกว่า 40 ล้านตัน หากลดการเผาไหม้นี้ลงได้คงช่วยลดอุณหภูมิของโลกลงไปได้ นอกจากนี้ยังพบว่าในอินเดียมีขยะพลาสติกในแต่ละวันมากกว่า 25,000 ตัน และประมาณ 40% เป็นขยะที่ถูกปล่อยทิ้งไว้ หากสามารถนำขยะพลาสติกเหล่านั้นมาใช้ทำอะไรบางอย่างก็จะช่วยลดปัญหาขยะพลาสติกไปได้ จากแนวคิดเพื่อทำการแก้ไขปัญหาทั้งสองอย่างนี้ Jadavpur Banerjee นักศึกษาคณะวิศวกรรมทำงานร่วมกับเพื่อนๆ เพื่อนำเสนอ Plastiqube อิฐทางเลือกที่ทำมาจากขยะพลาสติก ผ่านทางกิจการเพื่อสังคมที่ชื่อว่า Qube Plastiqube เกิดขึ้นจากขยะพลาสติกอย่างขวดน้ำและถุงพลาสติกที่นำมาทำความสะอาด แล้วทำการตัดเป็นชิ้นๆ เพื่อนำไปอัดเข้ากับแม่พิมพ์เพื่อให้ได้ก้อนอิฐพลาสติกออกมา ความพิเศษของอิฐชนิดนี้คือมันไม่ต้องใช้ปูนในการเชื่อมต่ออิฐแต่ละก้อน เนื่องจากตัวของอิฐมีการออกแบบมาให้คล้ายคลึงกับชิ้นส่วนของ Lego ทำให้อิฐแต่ละก้อนสามารถเชื่อมต่อกันได้เอง Plastiqube สามารถลดการใช้พลังงานได้ถึง 70 เปอร์เซ็นต์ทำให้ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้จำนวนมาก นอกจากนี้ตัวอิฐแต่ละก้อนช่วยกำจัดขยะพลาสติกได้มากถึง 1.6 กิโลกรัม นี่คือผลงานที่เกิดจากการพยายามแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม อย่างการปล่อยคาร์บอนไอออกไซด์และเรื่องของขยะพลาสติก หากก้อนอิฐของเขาได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ก็จะทำให้อินเดียสามารถแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศได้ถึง 2 เรื่องเลยทีเดียว ที่มา : www.smartsme.co.th
08 ธ.ค. 2021
RaySecur ระบบสแกนหาสิ่งแปลกปลอมในพัสดุ ก่อนนำเข้าสำนักงาน
ในแต่ละวันมีคนส่งพัสดุจำนวนมากมายเข้ามาไปยังสำนักงานต่างๆ แล้วคุณเชื่อได้อย่างไรว่ามันจะไม่มาพร้อมกับวัตถุอันตรายในรูปแบบต่างๆ RaySecur ช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ให้คุณได้ สตาร์ทอัพจากบอสตันรายนี้ ใช้เทคโนโลยีการสแกนแบบเรียลไทม์ 3 มิติ ทำให้สามารถสกัดกั้นและตรวจจับภัยคุกคามที่มารวมกันอยู่ในห้องจดหมายก่อนที่จะถูกกระจายไปยังพื้นที่ต่างๆ ของสำนักงาน ความปลอดภัยห้องจดหมาย ฟังแล้วอาจจะไม่ค่อยน่าสนใจ แต่มีหลายองค์กรที่ถูกทำการโจมตีผ่านช่องทางนี้มาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการส่งสารพิษในรูปแบบแบบผงหรือของเหลวไปยังบุคคลต่างๆ ในสำนักงาน หรือแม้แต่การส่งฮาร์ดแวร์ที่ใช้ในการ hack wifi เพื่อเปิดช่องทางในการโจมตีด้านไซเบอร์ ทั้งหมดนี้ล้วนเคยเกิดขึ้นมาแล้ว Raysecur ใช้เทคโนโลยีใกล้เคียงกับการรักษาความปลอดภัยที่สนามบิน เพื่อตรวจสอบจดหมายที่น่าสงสัยไม่ว่าจะเป็นซองแบน ๆ หรือพัสดุขนาดเล็ก มันสามารถตรวจจับผงได้แม้มีปริมาณเพียงเล็กน้อย ด้วยความสามารถในการเพิ่มความปลอดภัยตอนนี้มีบริษัทใน Fortune 500 หลายสิบรายเป็นลูกค้าของ Raysecur ตอนนี้ได้รับการระดมทุนในระดับเริ่มต้น เป็นเงินจำนวน 3 ล้านดอลลาร์ ซึ่งจะเป็นการยืนยันว่าเทคโนโลยีนี้น่าสนใจ และพร้อมจะออกสู่ตลาดที่กว้างขึ้น ที่มา : www.smartsme.co.th
07 ธ.ค. 2021
ยุโรปกำลังส่งหุ่นยนต์ไปเก็บขยะนอกโลก
ในขณะที่เรากำลังเร่งทำการแก้ไขปัญหาขยะบนพื้นโลกอยู่นั้น องค์การอวกาศยุโรป (ESA) กำลังเตรียมการส่งหุ่นยนต์ออกไปไล่เก็บขยะอวกาศที่ลอยอยู่เต็มวงโคจรของโลก องค์การอวกาศยุโรป บอกว่าได้เวลาที่เราจะต้องทำการเก็บกวาดขยะอวกาศที่เกิดจากเศษซากของดาวเทียมที่หมดอายุ ส่วนประกอบที่ไม่ได้ใช้ของจรวด ซึ่นตอนนี้คาดว่ามีชิ้นส่วนเหล่านี้มากกว่า 170 ล้านชิ้นลอยอยู่ในวงโคจรของโลก หากทิ้งไว้จะเป็นอันตรายและอุปสรรคต่อการขนส่งทางอวกาศ เพราะชิ้นส่วนเหล่านี้จะมีการชนกันเองแล้วแตกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย บางชิ้นส่วนวิ่งด้วยความเร็วที่เร็วกว่ากระสุนปืน ภารกิจ ClearSpace-1 จึงเกิดขึ้น นี่เป็นครั้งแรกที่จะมีการส่งหุ่นยนต์ขึ้นไปทำการเก็บซากชิ้นส่วนที่เกิดการสะสมในอวกาศตั้งแต่ปี 1957 โดยหุ่นยนต์ที่ว่านี้เป็นผลงานของสตาร์ทอัพชื่อ ClearSpace จากประเทศสวิสเซอร์แลนด์ การทำงานของมันก็คือการไล่เก็บขยะอวกาศ จากนั้นก็ทำการพุ่งตัวเองพร้อมขยะเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ เพื่อให้ทุกอย่างถูกเผาไหม้ให้หายไป โครงการนี้มีแผนจะเริ่มในต้นปี 2020 ซึ่งจะเป็นการทดสอบการเก็บขยะในวงโคจรต่ำ ก่อนที่จะเริ่มทำอย่างเต็มรูปแบบในปี 2025 ที่มา : www.smartsme.co.th
06 ธ.ค. 2021
สตาร์ทอัพให้บริการด้านการส่งของด้วยโดรน เตรียมส่งอาหารในไอร์แลนด์ต้นปี 2020
เรามักจะได้ยินข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งานโดรนในการส่งของว่า “วันหนึ่งจะถึงเวลาของการส่งอาหารด้วยโดรน แต่ไม่ใช่เร็ว ๆ นี้” ข้อมูลใหม่ล่าสุดบอกว่าปีหน้ามันจะเริ่มต้นแล้วในไอร์แลนด์ Mana คือสตาร์ทอัพที่ให้บริการเรื่องของ Drone Delivery - As a Service โดยบริการจัดส่งโดรนสำหรับส่งของสำหรับธุรกิจที่ต้องการ มันมีความสามารถในการบินได้นานและไกล นอกจากนี้ยังทนทานในทุกสภาพอากาศ มันบินอยู่ในระดับสูงไม่เกิน 500 ฟุต ทำให้หมดปัญหาเรื่องรบกวนการบินของเครื่องบิน ที่สำคัญมันถูกสร้างด้วยเทคโนโลยีระดับการบินและอวกาศของสหรัฐฯ เลยทีเดียว บริการแรกที่จะเริ่มทำคือการส่งอาหารจากแพลตฟอร์มการสั่งอาหารออนไลน์ ซึ่งเมื่อทำการเลือกรายการอาหารแล้ว จะได้รับการส่งมอบอาหารภายใน 3 นาที เห็นได้ชัดว่าวิธีการนี้ถูกและเร็วกว่าการขนส่งแบบอื่น ๆ โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกลอย่างชานเมืองและชนบท บริการโดรนส่งอาหารนี้จะเริ่มเปิดให้บริการในประเทศไอร์แลนด์ต้นปีหน้า หลังจากนั้นมีแผนจะเข้าไปให้บริการในสหรัฐอเมริกาต่อไป ที่มา : www.smartsme.co.th
05 ธ.ค. 2021
ใช้ AR เพิ่มข้อมูลบนขวดสำหรับนักดื่ม
แบรนด์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้นถูกจำกัดด้วยจำนวนข้อมูลทางการตลาดที่พวกเขาสามารถวางลงบนผลิตภัณฑ์ สตาร์ทอัพจากสิงคโปร์รายนี้ทำให้ข้อมูลมากมายไปอยู่บนขวดผ่านทาง AR เทคโนโลยีได้ ไวน์และเบียร์ทุกขวดมีข้อมูลมากมายที่สามารถยกระดับประสบการณ์การดื่ม ไม่ว่าจะเป็นที่มาของส่วนผสมส่วนผสม วิธีการจับคู่กับอาหารเพื่อเพิ่มรสชาติ วิธีการดื่ม ข้อมูลเหล่านี้มากเกินกว่าที่จะนำไปใส่ไว้บนขวดจริงของไวน์และเบียร์ ปัญหานี้กำลังจะหมดไปด้วยการนำเอาเทคโนโลยี AR เข้ามาใช้ นี่เป็นที่มาของแอปพลิเคชันจากสตาร์ทอัพอย่าง Omniaz ผลิตแอปฯ ที่ชื่อว่า DRNK AR ออกมาให้พร้อมจะทำให้ข้อมูลเพิ่มเติมไม่ว่าจะเป็นเคล็ดลับในการดื่ม ข้อมูลสถานที่ของผู้ผลิตว่าอยู่ภูมิภาคไหนหรือผลิตจากประเทศใด รวมถึงข้อมูลต่าง ๆ อีกมากมายที่อยากจะใส่เข้าไป โซลูชันนี้จะทำให้ข้อจำกัดของฉลากบนขวดหมดไป ด้วยคุณสมบัตินี้จะทำให้ผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สามารถนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของตนต่อผู้บริโภค รวมถึงการออกแคมเปญทางการตลาดร่วมกับร้านค้าต่าง ๆ ได้อีกด้วย ตอนนี้บริษัทกำลังมองหาการสนับสนุนภาษาเอเชียอย่างญี่ปุ่น เกาหลี และไทย เนื่องจากเป้าหมายหลักของลูกค้าคือภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก นี่เป็นอีกหนึ่งผลงานของสตาร์ทอัพในสิงคโปร์ที่มีเป้าหมายที่จะขยายธุรกิจออกไปทั่วโลก ที่มา : www.smartsme.co.th
04 ธ.ค. 2021
“ไวน์เก่าในกระป๋องใหม่” สตาร์ทอัพในแอฟริกาใต้เปิดโอกาสใหม่ของการส่งออก
สตาร์ทอัพในแอฟริกาใต้หวังแก้ไขปัญหาเรื่องของราคาและความยุ่งยากในการส่งออกของไวน์บรรจุขวด โดยนำเสนอทางเลือกใหม่ที่เบากว่าสะดวกต่อการขนส่ง และแน่นอนว่าราคาจะถูกลง ถึงแม้ว่าไวน์บรรจุกระป๋องจะมีวางขายอยู่แล้วในสหรัฐอเมริกาและบางส่วนของยุโรป แต่สำหรับในแอฟริกาใต้ประเทศที่ติดอันดับ 1 ใน 10 ของผู้ผลิตไวน์ของโลก การนำไวน์มาบรรจุกระป๋องเป็นความแปลกใหม่ที่กำลังเริ่มต้นขึ้น Uncanny Wines บริษัทสตาร์ทอัพแห่งเมืองเคปทาวน์ เมืองซึ่งเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวของแอฟริกาใต้กล่าวว่า มีการกำหนดเป้าหมายของไวน์บรรจุกระป๋องไปที่นักดื่มในประเทศเป็นอันดับแรก แต่ก็มีบางส่วนสำหรับตลาดส่งออก ไวน์แดงและไวน์พรีเมี่ยมบรรจุกระป๋องของบริษัท เป็นรายแรกที่ผ่านการรับรองโดยคณะกรรมการไวน์ของแอฟริกาใต้ อีกทั้งยังได้รับการตอบรับแบบล้นหลามในช่วงแรกที่ทำการเปิดตัว ต่อจากนี้ไปในอีกไม่กี่สัปดาห์คนทั้งประเทศจะได้ลิ้มลอง นอกจากนี้ Uncanny Wines ยังใกล้ที่จะส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาในเร็ววันนี้ ซึ่งตลาดแห่งนี้ให้การตอบรับกับไวน์แบบกระป๋องเป็นอย่างดี และอีกตลาดหนึ่งที่ให้การยอมรับในเรื่องนี้ก็คือตลาดในยุโรป Uncanny ขายไวน์กระป๋องขนาด 250 มล. ในราคาประมาณ 80 กว่าบาท สตาร์ทอัพรายนี้จะเปลี่ยนประสบการณ์การดื่มไวน์ ให้กลายเป็นเรื่องที่ไม่ต้องมีขั้นตอนยุ่งยาก แค่แช่ไว้ในตู้เย็นก็พร้อมจะดื่มได้ทุกที่ทุกเวลาแล้ว ที่มา : www.smartsme.co.th
03 ธ.ค. 2021