Category
Tags:
Magic Leap ซื้อซอฟต์แวร์การประชุมทางไกลผ่านโฮโลแกรมจากสตาร์ทอัพเบลเยียม
การฝากส่งข้อความแบบโฮโลแกรมของเจ้าหญิงเลอาถึงโอบีวัน ในภาพยนตร์เรื่อง Star wars ใกล้ความจริงเข้าไปทุกทีแล้ว แน่นอนว่ามันจะกลายเป็นเทคโนโลยีที่ต้องใช้ประสิทธิภาพของเครือข่ายความเร็วสูง ในระดับของ 5G Magic Leap ประกาศว่าพวกเขาตกลงที่จะรับ Mimesys ชาวเบลเยียม เข้าเป็นส่วนหนึ่งของทีมงาน เพื่อให้ได้มาซึ่งทีมงานเกี่ยวกับการทำวิดีโอคอลในเชิงปริมาตร มาสู่แพลตฟอร์ม Magic Leap เพื่อพัฒนาระบบดังกล่าวให้ดีขึ้น การเริ่มต้นครั้งแรกแสดงให้เห็นถึงเทคโนโลยีการประชุมทางวิดีโอของพวกเขาที่งาน CES ในปีนี้ ช่วยให้ใครที่ใช้ชุดหูฟัง Magic Leap One มองเห็นการแสดงภาพ 3 มิติของบุคคลในระหว่างการโทรผ่าน "วิดีโอ" การทำงานเกิดขึ้นจากการใช้กล้อง RealSense เชิงลึกของ Intel เพื่อรวบรวมและต่อภาพวิดีโอจากนั้นสตรีมไปยังชุดหูฟังของผู้ใช้ ทำให้ต้องมีการพัฒนาฮาร์ดแวร์กล้องความลึกภายนอกของตัวเองเพื่อดึงดูดลูกค้าระดับองค์กร นี่คือการปฏิวัติการสนทนาทางวิดีโอ เพราะเป็นกิจกรรมที่ใช้แบนด์วิดท์สูงมากกว่าที่เราเคยใช้กันอยู่เป็นประจำ การสื่อสารแบบนี้จะยากกว่าการใช้ AR เพราะนี่คือการส่งวิดีโอ 3 มิติแบบสดของผู้คนผ่านทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งต้องใช้พลังของเทคโนโลยีในระดับ 5G เท่านั้นจึงจะทำได้ ที่มา : www.smartsme.co.th
15 ธ.ค. 2021
Anyplace สตาร์ทอัพด้านที่อยู่อาศัยสำหรับ “คนเร่ร่อนทางดิจิทัล”
Anyplace เป็นสตาร์ทอัพที่ทำการนำเสนอห้องพักของโรงแรมและอพาร์ทเมนท์ที่ได้รับการตกแต่งพร้อมเข้าพัก เพื่อแก้ไขปัญหาสำหรับคนที่ไม่ต้องการทำสัญญาเช่าระยะยาว ซึ่ง Satoru Steve Naito ผู้ก่อตั้งมีจุดเริ่มต้นจากความต้องการแก้ไขปัญหาให้ตัวเขาเองในฐานะ “คนเร่ร่อนทางดิจิทัล” ที่ชอบย้ายจากเมืองหนึ่งไปอีกเมืองหนึ่งในทุกๆ 2-3 เดือน ความต้องการของคนในยุคนี้ก็คือห้องพักต้องสะดวกสะอาดและมีไวไฟ มีความปลอดภัยสูง และอีกหนึ่งในความต้องการคือไม่ชอบการทำสัญญาระยะยาว Anyplace จะทำการเจรจาส่วนลด 30% - 50% กับโรงแรมต่างๆ ที่ต้องการรายได้ใหม่จากแหล่งรายเดือนซึ่งอาจจะมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากพวกเขาสูญเสียรายได้ไปกับ Airbnb จำนวนมาก Anyplace ทำหน้าที่เสมือนตลาดออนไลน์โดยไม่ต้องมีคุณสมบัติใดๆ เป็นของตัวเอง ดังนั้นความร่วมมือกับอพาร์ทเมนท์และโรงแรมจึงทำได้ง่ายมากขึ้น โดย Anyplace จะเรียกเก็บค่านายหน้า 10 เปอร์เซ็นต์จากการเข้าพักและจองผ่านระบบ นอกจากนี้ยังมีการให้รางวัลกับลูกค้าที่ใช้บริการบ่อยๆ เพิ่มเติมอีกด้วย “เราไม่ต้องการที่จะกลายเป็นตลาดเช่าบ้านที่น่าเบื่อ เราไม่ใช่ธุรกิจที่อยู่อาศัย เราเป็นชุมชนของคนรักอิสระ” Naito กล่าว เขายอมรับว่ากลุ่มลูกค้าของเขา หรือที่เขาเรียกว่า คนเร่ร่อนทางดิจิทัล ดังนั้น Anyplace จึงได้รับการออกแบบมาเพื่อรองรับทุกคนที่ต้องการที่อยู่อาศัยชั่วคราวไม่ว่าพวกเขาจะย้ายที่อยู่เพื่อหางานใหม่ ที่ไหนสักแห่ง หรือแม้แต่สำหรับการฝึกงาน ที่มา : www.smartsme.co.th
15 ธ.ค. 2021
สตาร์ทอัพพลังงานสะอาดที่มา Refill ถึงหน้าบ้าน
Algramo สตาร์ทอัพที่เริ่มต้นธุรกิจในชิลี โดยการให้บริการ Refill สบู่และผงซักฟอก เพื่อลดการทิ้งบรรจุภัณฑ์พลาสติก ตอนนี้ธุรกิจกำลังไปได้ดีและกำลังจะบุกเข้าตลาดสหรัฐอเมริกา หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ทิ้งขวดเปล่าของสบู่เหลวและน้ำยาซักผ้าอยู่เป็นประจำ เราแนะนำว่าต่อจากนี้ไปขอให้คุณเลิกทิ้งแล้วหันมาใช้บริการของ Algramo รถสามล้อมพลังงานไฟฟ้าที่พร้อมจะวิ่งไปทำการ Refill ของที่คุณใช้หมดแล้วโดยไม่ต้องทิ้งขวดให้เป็นภาระกับโลกใบนี้ และถ้าคุณทำการเริ่มต้นซื้อพร้อมบรรจุภัณฑ์ของเขา จะทำให้คุณได้รับส่วนลดในการ Refill แต่ละครั้งผ่านทางเทคโนโลยี RFID ที่อยู่ที่ขวด ถือว่าเป็นการออกแบบที่เอาใจใส่ทั้งคนใช้และโลกใบนี้ไปพร้อมๆ กัน นี่ถือเป็นการนำเสนอวิธีแก้ปัญหาขยะจากบรรจุภัณฑ์ที่ได้ผลดีมาก และจากผลงานที่เข้าตาของ Algramo ทำให้มีกลุ่มนักลงทุนสนใจให้ทำการเปิดตลาดสู่สหรัฐอเมริกา โดยยังคงรูปแบบของการ Refill เอาไว้แต่อาจจะเพิ่มความหลากหลายของสินค้าที่จะเติมลงไปในขวดที่ใช้แล้ว งานนี้ไม่ธรรมดาถึงขนาดที่ยักษ์ใหญ่อย่าง Unilever ยังชายตามอง เพราะบริษัทก็กำลังหาทางออกสำหรับปัญหาบรรจุภัณฑ์ของตนเองเช่นกัน ว่าจะทำอย่างไรถึงจะลดการก่อให้เกิดขยะพลาสติกได้ ทางออกของการเปิดร้านที่มีสินค้าให้ Refill จึงเป็นทางออกที่น่าสนใจ ตอนนี้คนทั้งโลกกำลังหาทางออกสำหรับปัญหาขยะพลาสติดล้นโลก การที่สตาร์ทอัพได้เข้ามาช่วยแก้ไขในเรื่องนี้ก็ถือว่าเป็นแนวโน้มที่ดี และนี่ไม่ใช่บริษัทเดียวที่คิดแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ ที่มา : www.smartsme.co.th
14 ธ.ค. 2021
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ขับเคลื่อนรณรงค์แต่งกายด้วยผ้าไทยและผ้าพื้นเมือง
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ขับเคลื่อนรณรงค์แต่งกายด้วยผ้าไทยและผ้าพื้นเมือง
14 ธ.ค. 2021
"Wellness Center" ศูนย์สุขภาพดีวัยทำงานในสถานประกอบการ
อุบลราชธานี 13 ธันวาคม 2564 ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM IPC7) เข้าร่วมพิธีเปิดการสัมนาเชิงปฏิบัติการศูนย์สุขภาพดีวัยทำงานในสถานประกอบการ "Wellness Center" การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ภายใต้โครงการส่งเสริมสุขภาวะองค์กรในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs Happy and Productive Workplace : SHAP) และพิธีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกิจกรรมศูนย์สุขภาพดีวัยทำงานในสถานประกอบการ (Company's Wellness Center) ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยได้รับเกียรติจาก นายภาสกร ชัยรัตน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นประธานฯ กล่าวรายงานโดย นายวุฒิชัย ประชาพร ผู้อำนวยการกองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม . ซึ่ง กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้รับความร่วมมือจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ในการดำเนินโครงการส่งเสริมสุขภาวะองค์กรในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs Happy and Productive Workplace : SHAP) ระยะเวลาดำเนินงานปี 2563-2566 โดยทางโครงการฯ มีแผนดำเนินกิจกรรมศูนย์สุขภาพดีวัยทำงานในสถานประกอบการ (Company's Wellness Center) เพื่อให้เกิด "ศูนย์กลาง" ในการให้คำปรึกษาแบะส่งเสริมดูแลสุขภาพที่ครอบคลุมในทุกมิติหรือสุขภาพแบบองค์รวม (Total worker health) นำไปสู่การมีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่สมบูรณ์สำหรับพนักงานในสถานประกอบการ สำหรับพื้นที่ดำเนินงานของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มีสถานประกอบการที่ผ่านการเข้าร่วมโครงการ อาทิ หจก.ศูนย์รถยนต์อุบลเซอร์วิส 1997 โดย นายไพบูลย์ คำศรี, โรงงานผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวซุ่นกี่ ศรีสะเกษ โดย นายวีระยุทธ ฐิติสมบูรณ์ . สำหรับการจัดกิจกรรมสัมนาเชิงปฏิบัติการศูนย์สุขภาพดีวัยทำงานในสถานประกอบการ "Wellness Center" การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ภายใต้โครงการส่งเสริมสุขภาวะองค์กรในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs Happy and Productive Workplace : SHAP) ในครั้งนี้ จัดขึ้นทั้งหมด 2 วัน ระหว่างวันที่ 13-14 ธันวาคม 2564 มีการบรรยายถ่ายทอดองค์ความรู้ แนวคิดการเป็นแกนนำสุขภาพคุณทำงานองค์รวม Work Health Leader ในการขับเคลื่อนงานส่งเสริมและดูแลสุขภาพดีวัยทำงานในสถานประกอบการ วิทยากรโดย นางสาวรุ้งประกาย วิฤทธิ์ชัย กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค, เทคนิคการให้คำปรึกษาด้านการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมในสถานประกอบการ นายกันตินินท์ เดชจินดา นักจิตวิทยาองค์กรเครือข่ายคนไทยไร้พุง, การคัดกรองและจัดการเพื่อป้องกันปัญหาออฟฟิศซินโดรม ดร.พญ.ชุลีกร ธนธิติกร สถาบันเวชศาสตร์ป้องกันศึกษา กรมควบคุมโรค พร้อมทั้งหลักการประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพแบบองค์รวมและการจัดทำแผนการบริหารจัดการความเสี่ยง สำหรับวันที่ 14 ธันวาคม 2564 เป็นการบรรยายกฏหมายและการควบคุมบริโภคยาสูบในสถานประกอบการและรูปแบบการส่งเสริม การลด ละ เลิกบุหรี่ สุราและสิ่งเสพติดในสถานประกอบการ วิทยากรโดย นายจิระวัฒน์ อยู่สบาย รองผู้อำนวยการกองงานคณะกรรมมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ กรมควบคุมโรค, การคัดกรองและจัดการปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่พบบ่อย ผศ.นายแพทย์ สมเกียรติ แสวงวัฒนาโรจน์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, การประเมินด้านสุขภาพจิตและการจัดการความเครียดคนทำงาน นางสาวทิพวรรณ อังศิริ ผู้จัดการส่วนกลุ่มความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม องค์กรต้นแบบ Wellness Center . เจ้าหน้าที่ร่วม นายพัฒนพงษ์ กลิ่นลั่นทม, นายสุมิตร ส่งเสริม, นางแพงศรี พงษ์เกษม, นายธนเดช ศฤงคารนันต์, นางสาวนราวดี จันทร์จำปา, นายอัครภณ จำปารัตน์ . #ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่7
13 ธ.ค. 2021
หุ่นยนต์ทำสลัด Sally ตัวเลือกอาหารเพื่อสุขภาพ 24 ชั่วโมง
นักศึกษาที่ College of the Holy Cross ได้เชฟคนใหม่ที่พร้อมจะทำการปรุงอาหารเพื่อสุขภาพอย่างสลัดผักชนิดต่างๆ ให้กับนักศึกษา และที่สำคัญเขาพร้อมจะทำหน้าที่นี้ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่ว่านักศึกษาจะนอนดึกกินไม่เป็นเวลามากมายขนาดไหน Sally เอาอยู่ Sally หุ่นยนต์นักทำสลัดเป็นผลงานของ Chowbotics เริ่มทำการติดตั้งเพื่อเป็นทางเลือกให้กับนักศึกษาใน College of the Holy Cross งานนี้เป็นการให้บริการอาหารเพื่อสุขภาพ ทดแทนการสั่งพิซซ่าในยามค่ำคืน หุ่นยนต์นักปรุงตัวนี้จะถูกซ่อนเอาไว้ในเครื่องหยอดเหรียญที่มาพร้อมหน้าจอสัมผัส ลูกค้าสามารถทำการเลือกส่วนผสมที่หลากหลายของสลัดที่พวกเขาต้องการ ไม่ว่าจะเป็นชนิดของผัก ชนิดของน้ำสลัด เรื่อยไปจนถึงเนื้อสัตว์ที่ต้องการ จากนั้นลูกค้าก็แค่วางชามรอ หุ่นยนต์จะเริ่มกระบวนการทำสลัดตามส่วนผสมที่ลูกค้าเลือก แล้วก็ทำการวางลงในชามที่ลูกค้าเตรียมไว้ เท่านี้ก็พร้อมเสิร์ฟแล้ว การที่ได้เลือกให้ทำการติดตั้งและใช้งานใน Holy Cross ถือว่าหุ่นยนต์ตัวนี้สอบผ่านในทุกขั้นตอน ทั้งเรื่องของความสะอาดและความมีประสิทธิภาพ ตอนนี้ Sally กำลังได้รับความนิยมมีการนำไปติดตั้งมากกว่า 70 แห่งทั่วประเทศ โดยมีเป้าหมายอยู่ในสถานที่ต่างๆ ที่มีความต้องการตัวเลือกของอาหารเพื่อสุขภาพแบบ 24 ชั่วโมง ที่มา : www.smartsme.co.th
13 ธ.ค. 2021
นักวิจัยของ Google สอน AI ให้รู้จักกลิ่น
เป็นเวลาหลายสิบปีที่นักวิทยาศาสตร์พยายามที่จะทำนายความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างของโมเลกุลและกลิ่นของมัน ในเรื่องของสีนักวิทยาศาสตร์สามารถดูที่ความยาวคลื่นของแสงแล้วระบุได้ว่ามันคือสีอะไร แต่เมื่อพูดถึงเรื่องของกลิ่นนักวิทยาศาสตร์ไม่สามารถใช้เพียงรูปร่างของโมเลกุลเพื่อระบุกลิ่นของมันได้ นักวิจัยจาก Google Brain Team หวังว่า AI อาจจะเปลี่ยนแปลงเรื่องนี้ได้พวกเขากำลังทำการฝึกฝน AI เพื่อให้รับรู้เรื่องของกลิ่น นักวิจัยได้สร้างชุดข้อมูลเกือบ 5,000 แบบของโมเลกุล ที่ระบุว่าเป็นโมเลกุลของส่วนประกอบต่างๆ ของน้ำหอม เพื่อใช้ในการฝึกฝน AI ให้รู้จักเชื่อมโยงรูปแบบของโมเลกุลเข้ากับคำอธิบายที่พวกมันได้รับ จากนั้นนักวิจัยก็เริ่มใช้กลิ่นเพื่อทำการทดสอบ พบว่า AI สามารถทำนายกลิ่นได้จากโครงสร้างโมเลกุล อย่างไรก็ตามนักวิจัยของ Google เชื่อว่าการฝึกฝน AI เพื่อเชื่อมโยงรูปแบบของโมเลกุลกับกลิ่น เป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญ มันจะนำไปสู่ความเข้าใจเกี่ยวกับประสาทสัมผัสเรื่องกลิ่นของมนุษย์ รวมถึงวิธีใหม่ๆ ในการผลิตน้ำหอมสังเคราะห์ งานวิจัยลักษณะนี้ Google ไม่ได้ทำอยู่บริษัทเดียว ที่ Barbican Center ของกรุงลอนดอนเมื่อต้นปีที่ผ่านมานักวิทยาศาสตร์ใช้การเรียนรู้ด้วยเครื่องเพื่อสร้างกลิ่นของดอกไม้ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว ในรัสเซียมีการใช้ AI ในการดมกลิ่นของก๊าซอันตราย และ IBM กำลังทดลองใช้น้ำหอมที่ AI สร้างขึ้น ที่มา : www.smartsme.co.th
12 ธ.ค. 2021
Ganaz ซอฟต์แวร์สำหรับจัดการแรงงานเกษตรกร
Ganaz สตาร์ทอัพที่ต้องการแก้ไขปัญหาเรื่องของการขาดแคลนแรงงานด้านการเกษตร ซึ่งตอนนี้กลายเป็นปัญหาใหญ่ไปทั่วโลกแล้ว นี่คือ SaaS (Software as a Service) ของภาคการเกษตรอย่างแท้จริง แพลตฟอร์มของ Ganaz ช่วยให้บริษัททำการสื่อสารกับแรงงานจำนวนมากผ่านทางข้อความจากศูนย์ควบคุมกลาง นอกจากจะทำการเชื่อมต่อแรงงานเพื่อมอบงานให้แล้ว ยังมีระบบที่คอยบริหารจัดการเรื่องเงินค่าจ้างให้อีก ช่วยให้แรงงานสามารถบริหารจัดการเงินค่าแรงของตนเองได้อย่างสะดวก แน่นอนว่ามันรวมถึงการโอนเงินกลับประเทศบ้านเกิดด้วย สตาร์ทอัพรายนี้มองเห็นโอกาสอันยิ่งใหญ่ในการสร้างซอฟต์แวร์สำหรับอุตสาหกรรมที่ต้องทำการจ้างแรงงนา ในภาคเกษตรกรรมแรงงานจำนวนมากเป็นแรงงานต่างชาติและเข้ามาทำงานตามฤดูกาล ทุกวันนี้มีจำนวนแรงงานเหล่านี้มากขึ้นเรื่อยๆ การที่มีซอฟต์แวร์คอยบริหารจัดการจะทำให้ทุกอย่างง่ายขึ้น ตั้งแต่การว่าจ้างจนถึงการจ่ายค่าแรง Ganaz ได้รับการระดมทุนที่ 2.1 ล้านดอลลาร์ สำหรับการสร้างแพลตฟอร์มที่ช่วยให้บริษัทต่างๆ จัดการเรื่องของคนงานในภาคเกษตรกรรมและภาคการผลิต ตอนนี้ Ganaz มีพนักงาน 7 คนและกำลังเปิดรับคนที่มีความสามารถทางด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ที่มา : www.smartsme.co.th
11 ธ.ค. 2021
สตาร์ทอัพด้านหุ่นยนต์ ยกระดับการทำพิซซ่าให้กลายเป็นงานด้านบริการ
Picnic สตาร์ทอัพที่สร้างชื่อจากการใช้หุ่นยนต์ผลิตพิซซ่า ตอนนี้ได้ทำการระดมทุนเพิ่มเพื่อก้าวเข้าสู่ขั้นตอนของการรับผลิตอาหารให้กับร้านค้าต่างๆ ที่ไม่ต้องการลงทุนเรื่องของหุ่นยนต์ Picnic เป็นที่รู้จักกันดีในเรื่องของระบบประกอบพิซซ่าอัตโนมัติ ที่ทำการเปิดตัวไปเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ตอนนี้ได้พัฒนาต่อเนื่องให้กลายเป็นแพลตฟอร์มการผลิตพิซซ่าจำนนวนมาก ในรูปแบบที่สามารถกำหนดการตั้งค่าในการผลิตได้แล้ว โดยสามารถเลือกได้ว่าจะผลิดพิซซ่าขนาด 18 นิ้ว ในความเร็ว 180 ถาดต่อชั่วโมง หรือจะเป็นขนาด 12 นิ้ว ในความเร็ว 300 ถาดต่อชั่วโมง นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาการออกแบบให้ใช้พื้นที่ในห้องครัวได้อย่างเหมาะสม สามารถติดตั้งบน food trucks และร้านแล้วตู้ kiosks ได้ด้วย ล่าสุดเปิดบริการแบบ "Robotics-as-a-Service" โดยให้ลูกค้าเลือกที่จะทำการสมัครสมาชิกเพื่อใช้บริการหุ่นยนต์ทำพิซซ่า โดยไม่ต้องทำการซื้อและลงทุนทั้งระบบ ที่มา : www.smartsme.co.th
10 ธ.ค. 2021
สตาร์ทอัพด้านหุ่นยนต์ ยกระดับการทำพิซซ่าให้กลายเป็นงานด้านบริการ
Picnic สตาร์ทอัพที่สร้างชื่อจากการใช้หุ่นยนต์ผลิตพิซซ่า ตอนนี้ได้ทำการระดมทุนเพิ่มเพื่อก้าวเข้าสู่ขั้นตอนของการรับผลิตอาหารให้กับร้านค้าต่างๆ ที่ไม่ต้องการลงทุนเรื่องของหุ่นยนต์ Picnic เป็นที่รู้จักกันดีในเรื่องของระบบประกอบพิซซ่าอัตโนมัติ ที่ทำการเปิดตัวไปเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ตอนนี้ได้พัฒนาต่อเนื่องให้กลายเป็นแพลตฟอร์มการผลิตพิซซ่าจำนนวนมาก ในรูปแบบที่สามารถกำหนดการตั้งค่าในการผลิตได้แล้ว โดยสามารถเลือกได้ว่าจะผลิดพิซซ่าขนาด 18 นิ้ว ในความเร็ว 180 ถาดต่อชั่วโมง หรือจะเป็นขนาด 12 นิ้ว ในความเร็ว 300 ถาดต่อชั่วโมง นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาการออกแบบให้ใช้พื้นที่ในห้องครัวได้อย่างเหมาะสม สามารถติดตั้งบน food trucks และร้านแล้วตู้ kiosks ได้ด้วย ล่าสุดเปิดบริการแบบ "Robotics-as-a-Service" โดยให้ลูกค้าเลือกที่จะทำการสมัครสมาชิกเพื่อใช้บริการหุ่นยนต์ทำพิซซ่า โดยไม่ต้องทำการซื้อและลงทุนทั้งระบบ ที่มา : www.smartsme.co.th
10 ธ.ค. 2021