Category
Tags:
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบเพื่อคัดเลือกเป็นลูกจ้างชั่วคราว ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่วิเคราะห์โครงการ
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบเพื่อคัดเลือกเป็นลูกจ้างชั่วคราวตำแหน่ง เจ้าหน้าที่วิเคราะห์โครงการ
14 พ.ย. 2022
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 ประกาศรับสมัครสอบคัดเลือกลูกจ้างชั่วคราว ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่วิเคราะห์โครงการ
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 ประกาศรับสมัครสอบคัดเลือกลูกจ้างชั่วคราว ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่วิเคราะห์โครงการ
04 พ.ย. 2022
"ผอ.ละเอียด" นำทีมดีพร้อมเซนเตอร์ 7 จัดกิจกรรมวันรักต้นไม้แห่งชาติ ประจำปี 2565
อุบลราชธานี 26 ตุลาคม 2565 นางละเอียด มธุรส ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM CENTER 7) นำคณะผู้บริหาร นายกฤษณะ นอขุนทด ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรรม, นายฉาย ทองละมุล ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงานภูมิภาค, นายสุเทพ ทุตา ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมอุตสาหกรรมชุมชน, นางละออง ธงสอาด รักษาการผู้อำนวยการกลุ่มบริการธุรกิจอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ พร้อมเจ้าหน้าที่ดีพร้อมเซนเตอร์ 7 (DIPROM CENTER 7) จัดกิจกรรมวันรักต้นไม้แห่งชาติ ประจำปี 2565 ณ บริเวณโดยรอบศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดความรักและหวงแหนทรัพยากรป่าไม้ ให้ความสำคัญบำรุงรักษาต้นไม้ ฟื้นฟูสมดุลของธรรมชาติ บำรุง รดน้ำ ต้นไม้ กำจัดวัชพืช."วันรักต้นไม้แห่งชาติ" หรือ วันรักต้นไม้ประจำปีของชาติ National Annual Tree Care Day ที่ถือกำเนิดขึ้นจากแรงปณิธานของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือ สมเด็จย่า ที่ทรงให้ความสำคัญต่อการบำรุงรักษา ต้นไม้ และต้องการฟื้นฟูความสมดุลของ ธรรมชาติ ให้มากขึ้น โดยทรงปลูกและบำรุง ต้นไม้ ด้วยพระองค์มาโดยตลอดและทรงให้ความสำคัญของการบำรุงรักษา ต้นไม้ที่ปลูก ว่ามีความสำคัญและน่าเป็นห่วงมากกว่าการปลูก.ดังนั้นเพื่อเป็นการแสดงควากตัญญูกตเวทิตาต่อสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีที่ทรงงานพัฒนาชนบทของประเทศไทย โดยเฉพาะการฟื้นฟูความสมดุลของ ธรรมชาติ เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2533 คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการกำหนดให้วันพระราชสมภพของพระองค์คือวันที่ 21 ตุลาคมของทุกปี เป็นวันบำรุงรักษาต้นไม้ประจำปีของชาติ และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการระดมความเห็นจากบุคคลทั่วไป เพื่อเสนอชื่อที่เหมาะสมซึ่งจากการระดมความคิดเห็นปรากฎว่าชื่อที่เหมาะสมคือ "วันรักต้นไม้แห่งชาติ" และได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบแล้วเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2533 เพื่อให้ประชาชนชาวไทย ได้มีโอกาสแสดงความเสียสละแรงกายแรงใจความสามัคคีน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นราชสักการะแด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ด้วยการร่วมกันบำรุงรักษา ต้นไม้ ที่ปลูกไว้ตามสถานที่ต่าง ๆ อันเป็นช่วงปลายฤดูฝนของทุกปี.#DIPROM #ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่7
26 ต.ค. 2022
ดีพร้อมเซนเตอร์ 7 หารือแนวทางบูรณาการ ร่วม คพอ. อำนาจเจริญ เสริมแกร่งผู้ประกอบการ
อุบลราชธานี 26 ตุลาคม 2565 นางละเอียด มธุรส ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM CENTER 7) ร่วมหารือแนวทางบูรณาการทำงานและเพิ่มประสิทธิภาพในการขับเคลื่อนนโยบายการส่งเสริมผู้ประกอบการในพื้นที่ ร่วมกับผู้แทนผู้ประกอบการ นางภัสนารินทร์ ชินภัทรจีรัสถ์ ประธาน คพอ.จังหวัดอำนาจเจริญ.#DIPROM #ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่7
26 ต.ค. 2022
"อุตสาหกรรมรวมใจ ช่วยพี่น้องชาวไทย"
อุบลราชธานี 26 ตุลาคม 2565 นางละเอียด มธุรส ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM CENTER 7) พร้อมด้วย นายฉาย ทองละมุล ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงานภูมิภาค รับมอบสิ่งของบริจาคเพื่อช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนให้กับผู้ประสบอุทกภัยน้ำท่วมในจังหวัดอุบลราชธานี จาก นายชาติศักดิ์ จันทร์สุคนธ์ อุตสาหกรรมจังหวัดยโสธร ภายใต้กิจกรรม "อุตสาหกรรมรวมใจ ช่วยพี่น้องชาวไทย".#DIPROM #ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่7
26 ต.ค. 2022
"ผอ.ละเอียด" ร่วมประชุมคณะกรมการจังหวัดอุบลราชธานี ประจำเดือน ตุลาคม 2565
อุบลราชธานี 26 ตุลาคม 2565 นางละเอียด มธุรส ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM CENTER 7) เข้าร่วมประชุมคณะกรมการจังหวัดอุบลราชธานี ประจำเดือน ตุลาคม 2565 ณ ห้องประชุมพรหมวรราช ชั้น 4 ศาลางกลางจังหวัดอุบลราชธานี โดยมี นายชลธี ยังตรง ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เป็นประธานคณะกรมการจังหวัดอุบลราชธานี หัวหน้าส่วนราชการ หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน จังหวัดอุบลราชธานี และนายอำเภอ ประจำเดือนตุลาคม 2565 เพื่อติดตามผลการดำเนินงาน ปัญหาและอุปสรรคการดำเนินงาน ตามแผนงานโครงการ พร้อมทั้งร่วมหารือและบูรณาการเชิงปฏิบัติการกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง .เจ้าหน้าที่ร่วมนางสาวนิสา แจ่มใส, นายตระกูล อ่อนรัตน์, นายสมชาย เชาว์ประโคน.#DIPROM #ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่7
26 ต.ค. 2022
"อุตสาหกรรมรวมใจ ช่วยพี่น้องชาวไทย"
อุบลราชธานี : 25 ตุลาคม 2565 นางละเอียด มธุรส ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM CENTER 7) มอบหมายให้ นายกฤษณะ นอขุนทด ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรรม, นายฉาย ทองละมุล ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงานภูมิภาค, นางละออง ธงสอาด รักษาการผู้อำนวยการกลุ่มบริการธุรกิจอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ พร้อมเจ้าหน้าที่ดีพร้อมเซนเตอร์ 7 (DIPROM CENTER 7) เป็นผู้แทนรับมอบสิ่งของบริจาคเพื่อช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนให้กับผู้ประสบอุทกภัยน้ำท่วมในจังหวัดอุบลราชธานี จาก นางณัฏฐินา ไชยกาล นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสกลนคร ภายใต้กิจกรรม "อุตสาหกรรมรวมใจ ช่วยพี่น้องชาวไทย".#DIPROM #ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่7
25 ต.ค. 2022
"ผอ.ละเอียด" นำทีมดีพร้อมเซนเตอร์ 7 ร่วมบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เตรียมสตาร์ทโครงการเสริมแกร่งผู้ประกอบการ
อุบลราชธานี 12 ตุลาคม 2565 นางละเอียด มธุรส ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM CENTER 7) นำคณะผู้บริหาร นายกฤษณะ นอขุนทด ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรรม, นายฉาย ทองละมุล ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงานภูมิภาค, นายสุเทพ ทุตา ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมอุตสาหกรรมชุมชน, นางละออง ธงสอาด รักษาการผู้อำนวยการกลุ่มบริการธุรกิจอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ พร้อมเจ้าหน้าที่ดีพร้อมเซนเตอร์ 7 (DIPROM CENTER 7) ร่วมสักการะพระนารายและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ พร้อมวางพวงมาลัยไหว้ศาลพระภูมิประจำศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ณ อาคารอำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 เนื่องในโอกาสเข้ารับตำแหน่ง ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 และเริ่มต้นการดำเนินโครงการกิจกรรม ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และขอให้ผู้ประกอบการในพื้นที่ผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปได้อย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งได้มอบนโยบายการดำเนินโครงการ/กิจกรรม ให้กับทีมดีพร้อมเซนเตอร์ 7 ณ ห้องประชุมผาแต้ม ชั้น 2 อาคารอำนวยการ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 .#DIPROM #ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่7
12 ต.ค. 2022
ดีพร้อมเซนเตอร์ 7 ร่วมประชุมแนวทางการดำเนินงาน'66 ผลักดันผู้ประกอบการสู่ความยั่งยืน
อุบลราชธานี 11 ตุลาคม 2565 ผู้บริหารศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM CENTER 7) นายกฤษณะ นอขุนทด ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรรม, นายฉาย ทองละมุล ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงานภูมิภาค, นายสุเทพ ทุตา ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมอุตสาหกรรมชุมชน, นางละออง ธงสอาด รักษาการผู้อำนวยการกลุ่มบริการธุรกิจอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ พร้อมคณะเจ้าหน้าที่ เข้าร่วมประชุมรายละเอียดโครงการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยมี นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นประธาน.สำหรับในปีงบประมาณ พ.ศ.2566 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม มีโครงการ/กิจกรรม เพื่อขับเคลื่อนภารกิจต่าง ๆ อาทิ การส่งเสริมและสนับสนุนการรับรองมาตรฐานฮาลาล, การยกระดับสินค้าเกษตรสู่เกษตรอุตสาหกรรม,การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจไทยด้วยดิจิทัล, การเร่งการจัดตั้งและขยายธุรกิจของผู้ประกอบการอัจฉริยะ, การพัฒนาและส่งเสริมศัยภาพผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมสู่สากล, การสนับสนุนและพัฒนาปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจ และยังมีโครงการอื่นๆ ที่น่าสนใจที่จะช่วยยกระดับศักยภาพเศรษฐกิจชุมชน เสริมสร้างศักยภาพผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสู่การแข่งขันเศรษฐกิจวิถีใหม่ ได้อย่างยั่งยืน ผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วมโครงการต่างๆ สามารถติดตามข่าวสารได้ทางเพจ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม.#DIPROM #ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่7
11 ต.ค. 2022
MyVitalab เปิดโมเดลสุดเจ๋ง ขายอาหารเสริมแบบ Subscription ตอบโจทย์ลูกค้ายุคใหม่ ใส่ใจสุขภาพ
ช่วงที่ยังอายุน้อยกว่านี้ นาบิฮา ไอมี หญิงสาวชาวมาเลเซียซึ่งทำงานในสายโลจิสติกส์เคยเคลือบแคลงใจเกี่ยวกับคุณประโยชน์ของวิตามินและอาหารเสริม เธอไม่ให้ความสนใจในผลิตภัณฑ์เหล่านี้จนกระทั่งวันหนึ่งเมื่อผลตรวจสุขภาพบ่งชี้ว่าร่างกายเธอขาดวิตามิน นาบิฮาจึงเริ่มดูแลตัวเองด้วยการหาซื้ออาหารเสริมมารับประทาน แต่ปัญหาหนึ่งที่ประสบคือการต้องซื้อเป็นกระปุก หากรับประทานหลายชนิดก็ต้องซื้อหลายกระปุก และเมื่อต้องพกพาไปรับประทานระหว่างเดินทาง ก็ไม่สะดวกเอาเสียเลย ทำให้การรับประทานอาหารเสริมไม่สม่ำเสมอและขาดตอน นาบิฮาพบว่าปัญหานี้หลายคนก็ประสบเช่นกันโดยเฉพาะผู้สูงวัยในบ้านที่หลายครั้งหลงลืมทำให้การรับประทานอาหารเสริมไม่ต่อเนื่อง จากปัญหาตรงนี้ทำให้นาบิฮาคิดทำธุรกิจบริการอาหารเสริมในรูปแบบที่อำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าที่สุด ไอเดียธุรกิจผุดขึ้นช่วงต้นปี 2563 ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มเกิดการระบาดของโควิด-19 ระหว่างที่ศึกษาตลาด ทำวิจัย และหาข้อมูลก็เกิดกระแสผู้คนหันมาดูแลสุขภาพมากขึ้นเพื่อให้รอดจากโควิด นาบิฮาใช้เวลาเกือบ 2 ปีในการตระเตรียมทุกอย่างรวมถึงทีมงานที่ประกอบด้วยแพทย์ เภสัชกร และนักโภชนาการ กระทั่งเดือนพฤศจิกายน 2564 ธุรกิจ “MyVitalab” ก็เปิดตัวและพร้อมให้บริการ MyVitalab ให้บริการวิตามินและอาหารเสริมในรูปแบบสมาชิก (Subscription) โดยบริษัทจะส่งแพ็กเกจวิตามินที่บรรจุมาในซองเล็กๆ ให้ลูกค้าเดือนละกล่อง หนึ่งกล่องบรรจุวิตามิน 30 ซอง ซึ่งเพียงพอต่อการรับประทาน 1 เดือน เบื้องต้นมีอาหารเสริมและวิตามินให้เลือก 2 ชุด ได้แก่ ชุด Vitarepair ราคา 163.90 ริงกิต (1,265 บาท) ประกอบด้วย อาหารเสริมที่มีส่วนผสมของขมิ้น และน้ำมันปลาที่อุดมด้วยกรดไขมันโอเมก้า-3 ช่วยลดการอักเสบในร่างกายและฟื้นความเสียหายของกล้ามเนื้อ ส่วนอีกชุดเป็น Vitamunity ซึ่งเน้นการเพิ่มภูมิต้านทานให้ร่างกายจึงมีวิตามินซีผสมแร่ธาตุสังกะสี วิตามินดี และสารสกัดเมล็ดองุ่น ชุดนี้ราคา 89.90 ริงกิต หรือราว 700 บาท นาบิฮาเล่าว่า อาหารเสริมและวิตามินต่างๆ บริษัทจัดหาจากผู้ผลิตทั่วโลก และทุกตัวผ่านการลงทะเบียนกับกระทรวงสาธารณสุขมาเลเซียในเรื่องความปลอดภัย และผ่านการรับรองตราฮาลาลแล้ว ลูกค้ามุสลิมจึงวางใจได้ นอกจากนั้น เพื่อให้การบรรจุวิตามินลงซองเป็นไปอย่างถูกหลักอนามัย นาบิฮาลงทุนซื้อเครื่องแพ็กยาเกรดเดียวกับที่วงการเภสัชกรรมใช้และเป็นเครื่องที่ผ่านการรับรองจากองค์การอาหารและยาสหรัฐฯ และยุโรป ในส่วนของแพ็กเกจจิ้งหรือซองที่บรรจุวิตามิน นาบิฮาเลือกใช้แพ็กเกจจิ้งที่ใช้เป็นแบบย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม การทำธุรกิจอาหารเสริมและวิตามินแม้จะเป็นตลาดที่ดูสดใสน่าสนใจแต่ผู้บริโภคจำนวนหนึ่งยังมีความเชื่อว่าไม่ใช่สิ่งจำเป็นเพราะคุณค่าทางโภชนาการสามารถหาได้จากอาหารก็พอเพียงแล้ว ในจุดนี้ นาบิฮาอธิบายว่าเจ้าของธุรกิจจึงต้องให้ความรู้แก่ผู้บริโภค เราได้รับสารอาหารจากอาหารที่รับประทานในแต่ละมื้อแต่ละวันก็จริง แต่ร่างกายอาจดูดซึมไปใช้งานได้ไม่เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ ยกตัวอย่าง หากต้องการวิตามินซีจากส้ม ก็อาจจะต้องกินส้มจำนวนมากในคราวเดียวถึงจะเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือแม้ร่างกายสังเคราะห์วิตามินดีได้เองจากการรับแสงแดด แต่กลับพบว่ามีผู้คนขาดวิตามินจำนวนมากเนื่องจากการหลีกเลี่ยงไม่เจอแดด หรือสวมเสื้อผ้ามิดชิดและคลุมผมคลุมหน้าแบบชาวมุสลิม การรับประทานวิตามินเสริมจึงเป็นทางเลือกที่ดี นี่เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการพยายามจะสื่อถึงผู้บริโภค ซึ่งบริการอาหารเสริมและวิตามินแบบรายเดือนสามารถตอบโจทย์ตรงนี้ได้ ทั้งยังประหยัดกว่าเมื่อเทียบกับการซื้อวิตามินเป็นกระปุกหลายกระปุก นาบิฮา ยกตัวอย่างแพ็กเกจ Vitamunity ซึ่งประกอบด้วยวิตามินซี วิตามินดี และสารสกัดเมล็ดองุ่น หากไปหาซื้อเองตามร้าน ต้องซื้อ 3 กระปุกราคาจะแพงกว่าอย่างน้อยก็ 22 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับการสั่งซื้อแพ็กเกจ Vitamunity แม้ MyVitalab จะไม่ใช่เจ้าแรกในตลาดอาหารเสริมและยังมีคู่แข่งอีก 2 ราย เช่น Vitamine และ Vitapac ที่ทำธุรกิจ Supplement Subscription คล้ายๆ กัน แต่นาบิฮาก็ตั้งใจพัฒนา MyVitalab ให้มีบริการที่ดียิ่งขึ้น เช่น เพิ่มชุดผลิตภัณฑ์ให้ลูกค้ามีทางเลือกมากขึ้น และในอนาคตมีแผนจะบริการจัดอาหารเสริมและวิตามินส่วนบุคคลสำหรับลูกค้าแต่ละคน นาบิฮา ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง MyVitalab กล่าวว่าในโลกยุคใหม่ที่การจะดำเนินวิถีชีวิตแบบสุขภาพดีเต็มไปด้วยอุปสรรคมากมาย แต่การบริโภคอาหารเสริมและวิตามินในรูปแบบที่ทันสมัยและสะดวกสบายสามารถช่วยได้ โดยมีข้อแม้ว่าสิ่งหนึ่งที่ต้องทำให้ได้คือความสม่ำเสมอต่อเนื่องในการรักษาระดับสารอาหารต่างๆ ให้เพียงพอตามที่ร่างกายต้องการ การสมัครสมาชิกเพื่อรับอาหารเสริมและวิตามินรายเดือนจึงเป็นคำตอบที่ลงตัว ในมาเลเซีย การมีผู้เล่นหน้าใหม่ผุดขึ้นในตลาดชี้ให้เห็นว่าบริการวิตามินและอาหารเสริมเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพในการเติบโตเนื่องจากสถานการณ์โรคระบาดโควิดทำให้ผู้บริโภคใส่ใจสุขภาพมากขึ้น การสมัครเป็นสมาชิกรับผลิตภัณฑ์ที่ส่งถึงบ้านรายเดือนก็เป็นบริการที่ง่ายและสะดวก และไม่เฉพาะกับลูกค้าผู้ใหญ่หรือผู้สูงวัย แม้กระทั่งคนรุ่นใหม่ที่ทำงานหนักก็หันมาดูแลตัวเองด้วยการรับประทานอาหารเสริมเช่นกัน ที่มา : https://www.smethailandclub.com/startup-techstartup/8077.html
30 มิ.ย. 2022