Category
Tags:
SMEs ต้องชนะ...จัดสรร ค้ำฯ สินเชื่อ 100,000 ล้านบาท “บสย. SMEs ไทย สู้ภัย COVID-19” เปิดตัว 6 โครงการ กลุ่มเปราะบาง - SMEs ทั่วไป สถาบันการเงินตบเท้า ลงนาม ปล่อยสินเชื่อ
นายรักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เปิดเผยว่า บสย. เปิด 6 โครงการ วงเงินค้ำประกันสินเชื่อรวมกว่า 100,000 ล้านบาท โดยจะเป็นการช่วยเหลือกลุ่มผู้ประกอบการเปราะบาง และผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทั่วไป คาดช่วยเหลือเอสเอ็มอีได้กว่า 1 แสนราย ซึ่งโครงการดังกล่าวแบ่งวงเงินมาจากโครงการค้ำประกันสินเชื่อ บสย. SMEs สร้างชาติ (PGS9) จำนวน 40,000 ล้านบาท และวงเงินจากโครงการค้ำประกันสินเชื่อ บสย. Micro ต้องชนะ (Micro 4) จำนวน 8,000 ล้านบาท เพื่อนำมาช่วยเหลือเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด รอบ 2 รักษ์ วรกิจโภคาทร “โควิดกลับมาระบาดรอบ 2 เราจึงมีการปรับแผนทำผลิตภัณฑ์ให้ละเอียดขึ้น เพราะผลกระทบที่ผู้ประกอบการได้รับแต่ละกลุ่มแตกต่างกัน และ บสย. มีการดูผลกระทบรายเดือน จึงเชื่อว่าในเดือนม.ค.64 จะสามารถเข้าไปค้ำประกันสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการได้อย่างเพียงพอ เพราะที่ผ่านมาในยามมีวิกฤต บสย.จะค้ำประกันได้เฉลี่ยเดือนละ 10,000 ล้านบาท โดยวงเงินที่แบ่งมาจากโครงการค้ำประกันสินเชื่อ PGS9 จำนวน 40,000 ล้านบาท ก็คาดว่าจะสามารถดูแลเอสเอ็มอีได้นานกว่า 4-5 เดือน ซึ่งหากไม่พอเราก็ยังมีวงเงินเหลือในส่วนของ PGS9 อีกกว่า 1 แสนล้านบาท ที่เตรียมไว้” สำหรับโครงการค้ำประกันสินเชื่อ 6 โครงการนั้น แบ่งเป็น 2 โครงการ ที่ช่วยเหลือกลุ่มผู้ประกอบการเปราะบาง สู้ภัยโควิด ประกอบด้วย 1.โครงการ บสย. เอสเอ็มอีไทย สู้ภัยโควิด ซึ่งจะฟรีค่าธรรมเนียมค้ำประกัน 2 ปี วงเงินค้ำประกันสินเชื่อรายละ 200,000 บาท -20 ล้านบาท ระยะเวลาค้ำประกัน 10 ปี วงเงินจัดสรร 5,000 ล้านบาท และ MAX CLAIM สูงสุด 35% ส่วนโครงการที่ 2 คือ บสย. รายย่อยไทย สู้ภัยโควิด ฟรีค่าธรรมเนียมค้ำประกัน 3 ปีแรก วงเงินค้ำประกันสินเชื่อต่อราย 10,000-100,000 บาท ระยะเวลาค้ำประกัน 10 ปี วงเงินจัดสรร 5,000 ล้านบาท MAX CLAIM สูงสุด 40% โดยที่ผ่านมา บสย. ให้ MAX CLAIM สูงสุดอยู่ที่ 25-30% แต่เมื่อโควิดกลับมา จึงเพิ่มเสื้อเกาะให้ผู้ประกอบการ โดยขยาย MAX CLAIM สูงสุดถึง 40% เพื่อให้สามารถดูดพิษหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ขณะที่โครงการช่วยเหลือกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทั่วไปจะมี 4 โครงการ โดยจะฟรีค่าธรรมเนียมค้ำประกัน 2 ปี ระยะเวลาค้ำประกันสินเชื่อ 10 ปี ประกอบด้วย 1.โครงการ บสย. เอสเอ็มอี ดีแน่นอน วงเงินค้ำประกันต่อราย ตั้งแต่ 200,000 บาท-100 ล้านบาท วงเงินจัดสรร 20,000 ล้านบาท 2.โครงการ บสย. เอสเอ็มอี บัญชีเดียว วงเงินค้ำประกันต่อราย ตั้งแต่ 200,000 บาท-100 ล้านบาท วงเงินจัดสรร 5,000 ล้านบาท 3.โครงการ บสย.เอสเอ็มอี ที่ได้รับสินเชื่อหนังสือค้ำประกัน (LG) วงเงินค้ำประกันต่อรายตั้งแต่ 200,000 บาท-100 ล้านบาท วงเงินจัดสรร 2,000 ล้านบาท 4.โครงการ บสย. รายย่อย ทั่วไป วงเงินค้ำประกันต่อราย ตั้งแต่ 10,000-500,000 บาท วงเงินจัดสรร 3,000 ล้านบาท “ทั้ง 6 โครงการนี้ บสย. จะรับความเสี่ยง ตั้งแต่ 20-40% พร้อมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์เงื่อนไขการรับความเสี่ยงระหว่าง บสย. และธนาคาร เช่น เกณฑ์การเครมโดยกำหนดสัดส่วนการรับความเสี่ยงแบบร่วมกัน Sharing ระหว่าง บสย.ที่สัดส่วน 70% และธนาคาร 30% กรณีที่ธนาคารยื่นเครมก่อนระยะเวลากำหนด เพื่อให้ธนาคารได้เข้ามามีบทบาทในการช่วยดูแลลูกหนี้ในด้านต่าง ๆ เช่น การปรับโครงการสร้างหนี้ จัดหนี้ หรือ ปรับปรุงเงื่อนไขให้ยืดหยุ่น” นอกจากนี้ บสย. ยังได้ร่วมค้ำประกันสินเชื่อในโครงการ Soft Loan Plus ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) วงเงิน 57,000 ล้านบาท โดยขณะนี้ค้ำประกันสินเชื่อไปแล้ว 2,000 ล้านบาท จึงมีวงเงินเหลืออยู่ 55,000 ล้านบาท ซึ่งหลังจากที่ธปท. ผ่อนปรนเกณฑ์ให้เอสเอ็มอีสามารถกู้ได้ 2 ครั้ง แต่ไม่เกิน 20% ของยอดหนี้คงค้าง ณ วันที่ 31 ธ.ค.62 จะสนับสนุนให้ บสย. สามารถค้ำประกันส่วนนี้ได้เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ บสย. ยังมีโครงการ บสย. เอสเอ็มอีไทยชนะ วงเงิน 5,000 ล้านบาท
09 ม.ค. 2021
อุบลฯ ปล่อยคาราวานรถขนส่งสินค้า“เติมสินค้า เติมใจ ห่วงใย สู้ภัยโควิด-19 ครั้งที่ 7 เพื่อให้ประชาชนลดการเดินทางออกจากบ้าน ยับยั้งการแพร่ระบาดโรคติดต่อเชื้อไวรัสโควิด 19
วันที่ 8 พฤษภาคม 2563 ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมพิธีปล่อยรถคาราวานรถขนส่งสินค้า “เติมสินค้า เติมใจ ห่วงใย สู้ภัยโควิด-19” ครั้งที่ 7 โดยมี นายสฤษดิ์ วิฑูรย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เป็นประธาน นำหัวหน้าส่วนราชการร่วมพิธี โดยจังหวัดอุบลราชานี และภาคเอกชน ได้จัดหาไข่ไก่สดเบอร์ 3 จำนวน 800 แผง หรือจำนวน 24,000 ฟอง จำหน่ายต่ำกว่าท้องตลาด แผงละ 10-15 บาท และปลานิลสด จำนวน 600 กิโลกรัม จำหน่ายราคาต่ำกว่าท้องตลาดประมาณกิโลกรัมละ 5-10 บาท สำหรับแผนการขนส่ง คาราวานสินค้าเติมสินค้า เติมใจ ห่วงใย สู้ภัยโควิด-19 ดำเนินการให้ครบทุกอำเภอจังหวัดอุบลราชธานี ในทุกวันอังคาร และวันศุกร์ ซึ่งได้กำหนดแผนระหว่างวันที่ 10 เมษายน – 8 พฤษภาคม 2563 เพื่อให้ประชาชนลดการเดินทางออกจากบ้าน เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโควิด 19 ในระดับหมู่บ้าน และชุมชนในวันนี้ (วันที่ 8 พฤษภาคม 2563) จังหวัดอุบลราชธานีได้ดำเนินการเป็นครั้งที่ 7 ปล่อยคาราวานสินค้าไปยัง 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอวารินชำราบ, อำเภอสว่างวีระวงศ์, อำเภอนาเยีย, อำเภอสำโรง ซึ่งสินค้าประกอบด้วย1. ไข่ไก่สด เบอร์ 3 จำนวน 24,000 ฟอง2. สินค้าประมง (ปลานิลสด) จำนวน 1,000 กิโลกรัม3. ปลานิลแดดเดียว ขนาด 250 กรัม/ถุง จำนวน 100 ถุง
08 พ.ค. 2020