รู้หรือไม่? ขั้นตอนในการ ปรับปรุงคุณภาพด้านรสชาติของน้ำผลไม้ มีผลโดยตรงต่อ การยืดอายุการเก็บรักษา ของน้ำผลไม้ที่บรรจุในภาชนะที่ปิดสนิทนะ! ในกรณีที่การผลิตเพื่อจำหน่าย
บางครั้ง การควบคุมวัตถุดิบอาจทำได้ยาก
จึงจำเป็นต้องมี การปรับปรุงคุณภาพด้านรสชาติ
เพื่อให้เหมาะสมต่อผู้บริโภค และกระบวนการเก็บรักษา
พูดง่าย ๆ ก็คือ...
“น้ำผลไม้ที่ดี ต้องมีรสเปรี้ยว รสหวาน”
การปรับปรุง ด้านรสเปรี้ยว ซึ่งเป็นรสธรรมชาติของน้ำผลไม้
โดยทั่วไปจะใช้
กรดมะนาว หรือ กรดซิตริก (Citric acid)
ซึ่งเป็นกรดพื้นฐานที่พบในผลไม้ทั่วไป
หรืออาจใช้ กรดมาลิก (Malic acid)
ซึ่งเป็นกรดอ่อน กลิ่นอ่อน ก็ได้เช่นกัน
โดยจะใช้ระดับความเป็นกรด-ด่าง (pH)
ให้อยู่ในระดับต่ำกว่า 3.5 ซึ่งถือว่าเป็น อาหารประเภทกรดสูง
จึงสามารถใช้อุณหภูมิในการพาสเจอร์ไรซ์ได้ในระดับต่ำกว่าจุดเดือด!หรือ ต่ำกว่า 100 °C นั่นเอง มี 2 แบบ คือ
•1. อุณหภูมิพาสเจอร์ไรซ์ ที่ใช้ = 70-72°C นาน 15 นาที
เรียกว่า HTST (High Temperature Short Time)
หรือ
• 2. อุณหภูมิพาสเจอร์ไรซ์ ที่ใช้ = 60°C นาน 30 นาที
เรียกว่า LTST (Low Temperature Long Time)
ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ เพียงพอสำหรับการฆ่าเชื้อ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ความร้อนสูงระดับจุดเดือด (100°C)
ดังนั้น การปรับปรุงด้านรสเปรี้ยว จึงได้ประโยชน์ถึง 2 ทาง คือ:
- ให้รสชาติน้ำผลไม้ ตามธรรมชาติ
ที่มักมีรสเปรี้ยวอมหวาน และมีค่า pH ไม่เกิน 3.7
และช่วยให้สามารถใช้ ความร้อนต่ำในการฆ่าเชื้อ
ซึ่งช่วยรักษา สี กลิ่น รส และสารอาหาร ได้ใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด
โดยไม่ต้องพึ่ง สารกันบูด เลยด้วยซ้ำ!
แถมพิเศษอีกนิด!
กรดซิตริกยังมีคุณสมบัติทำให้ สีของน้ำผลไม้คมชัดขึ้น
เพราะมีผลต่อการเปลี่ยนรูปของ รงควัตถุ ในน้ำผลไม้
สรุปง่าย ๆ เลยว่า...
น้ำผลไม้ที่ผ่านการปรับรสเปรี้ยวอย่างเหมาะสม
จะทั้ง อร่อย ปลอดภัย เก็บได้นาน
และยัง คงคุณภาพธรรมชาติไว้ได้ดีที่สุด ค่ะ
อ้างอิงจาก : ปราณี อ่านเปรื่อง. (2541). ทฤษฎีการผลิตน้ำผลไม้บรรจุขวดพร้อมดื่ม และความรู้เกี่ยวกับการขอขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร และใบอนุญาตตั้งโรงงานผลิตอาหาร. สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร, ฉบับที่ 3.
เว็ปไซต์ : http://otop.dss.go.th/att.../article/155/CF%2070%20(A21).pdf