แผนงาน โครงการ และงบประมาณรายจ่ายประจำปี
แผนงาน โครงการ และงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2568
15 ต.ค. 2017
โครงสร้างการแบ่งส่วนราชการ
โครงสร้างการแบ่งส่วนราชการ ** กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม พ.ศ.2560 โครงสร้างการแบ่งส่วนราชการ [ คลิกที่รูปภาพ หรือลิงก์นี้เพื่อดาวน์โหลดโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการ กสอ. ในรูปแบบ PDF file ]
15 ต.ค. 2017
Chief Information Officer : CIO
Chief Information Officer : CIO นายภานุวัฒน์ ตริยางกูรศรี โทรศัพท์ : 02-202-4445 อีเมล์ : panuwat@dip.go.th กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ถ.พระรามที่ 6 ราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 วิสัยทัศน์ (Vision) วิสัยทัศน์ด้านแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พ.ศ.2559-2561 “เป็นศูนย์กลางทางดิจิทัลในการส่งเสริมอุตสาหกรรม” พันธกิจ (Mission) 1) วางยุทธศาสตร์ แผน และการพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาและยุทธศาสตร์ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศและกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม 2) ปรับปรุงและพัฒนา กฎ ระเบียบ วิธีการ และกระบวนการทางาน เพื่อเอื้ออำนวยต่อการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลที่ดี 3) ส่งเสริมและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมในแนวทางเชิงนิเวศด้วยการบูรณาการ ข้อมูล ระบบงาน โครงสร้างพื้นฐาน และบุคลากร ระหว่างหน่วยงานภายในกรมและหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง ให้เป็นไปตามมาตรฐานในระดับประเทศ ภูมิภาค และสากล มีความเข้มแข็ง มั่นคงปลอดภัย และสามารถให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง 4) พัฒนาบุคลากรให้มีความพร้อมและรู้เท่าทันการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในทุกระดับชั้น 5) พัฒนาผู้ประกอบการให้มีศักยภาพด้านดิจิทัลด้วยการให้ความรู้ความเข้าใจในเทคโนโลยีดิจิทัล รวมไปถึงการให้บริการเครื่องมือทางดิจิทัลที่ทันสมัย นโยบายและระเบียบต่างๆ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ พ.ศ. 2555 แนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พ.ศ. 2555 แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พ.ศ. 2559 - 2561
15 ต.ค. 2017
เกี่ยวกับศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7
ประวัติศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 เป็นหน่วยงานราชการส่วนกลาง สังกัดกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เดิมชื่อ “ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดบุรีรัมย์” ได้จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี เพื่อการส่งเสริมการกระจายอุตสาหกรรมไปสู่ภูมิภาค เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ.2537 มีสำนักงานตั้งอยู่เลขที่ 107 หมู่ที่ 5 ตำบลหนองกระทิง อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์และมีพื้นที่รับผิดชอบ 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดอำนาจเจริญ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2539 ตามพระราชกฤษฎีกาการแบ่งส่วนราชการของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7” โดยยังมีพื้นที่รับผิดชอบ 5 จังหวัดเช่นเดิม วันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2548 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้ย้ายที่ตั้งสำนักงานศูนย์ฯ จากจังหวัดบุรีรัมย์ มาตั้งที่จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีพื้นที่รับผิดชอบ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดยโสธร และจังหวัดอำนาจเจริญ ทั้งนี้เพื่อการสอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีนัดพิเศษ วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2540 เรื่อง การจำแนกกลุ่มเพื่อการพัฒนาเป็น 19 กลุ่มจังหวัด โดยในช่วงแรกศูนย์ฯ ได้ขอใช้อาคารเก่าของสำนักงานที่ดินอำเภอเมือง ซึ่งตั้งอยู่ภายในบริเวณศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี เป็นอาคารสำนักงานชั่วคราว ปัจจุบัน ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ ตั้งอยู่เลขที่ 222 หมู่ 24 ถนนคลังอาวุธ ตำบลขามใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 34000
19 ก.ย. 2017
ถาม & ตอบ
ถาม : ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 ตั้งอยู่ที่ไหน ? ตอบ : ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 ตั้งอยู่ เลขที่ 222 หมู่ 24 ถนนคลังอาวุธ ตำบลขามใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 34000 ถาม : จะเข้าร่วมโครงการต่างๆ ของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 ได้ยังไง ? ตอบ : สามารถสอบถามรายละเอียดของโครงการต่างๆ ได้ที่เว็บไซต์ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 หรือติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.facebook.com/dip.ipc7 สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/dip.ipc7
01 ส.ค 2017
วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ ค่านิยม
วิสัยทัศน์ (VISION) “เป็นองค์กรนำอุตสาหกรรมไทยสู่อุตสาหกรรม 4.0” ภารกิจ (DUTY) ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรมให้มีสมรรถนะและขีดความสามารถในการประกอบการที่เป็นเลิศและมีความยั่งยืนสู่สากล โดยมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ 1. เสนอความเห็นเพื่อกำหนดนโยบายและมาตรการในการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการและผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม 2. ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาเครือข่ายองค์กรภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาบุคลากร การบริหารจัดการ การพัฒนาเทคโนโลยีและวิชาการ รวมทั้งกำกับดูแลติดตามและประเมินผลการให้บริการเพื่อการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรม 3. ดำเนินมาตรการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาสมรรถนะของอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรมสาขาต่างๆ ให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนของกระทรวงอุตสาหกรรม และแผนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของประเทศ 4. ปฏิบัติงานอื่นๆ ใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรม หรือตามที่รัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย พันธกิจ (MISSION) 1. ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรมให้มีขีดความสามารถที่สูงขึ้น 2. เสริมสร้างความเข้มแข็งของหน่วยงานให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรมให้มีประสิทธิภาพ 3. พัฒนาองค์การและศักยภาพบุคลากรสู่องค์การที่มีสมรรถนะสูง 4. สร้างเครือข่ายความร่วมมือการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทุกระดับ ยุทธศาสตร์ (STRATEGY) พ.ศ. 2559 - 2563 ยุทธศาสตร์ที่ 1 เพิ่มขีดความสามารถอุตสาหกรรมเป้าหมายตลอดโซ่อุปทาน เป้าประสงค์ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการ ด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยี ดิจิทัล ความคิดสร้างสรรค์ รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในอุตสาหกรรมเป้าหมายตลอดโซ่อุปทานให้มีขีดความสามารถที่สูงขึ้น กลยุทธ์ 1.1 เพิ่มศักยภาพอุตสาหกรรมด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยี ดิจิทัลและความคิดสร้างสรรค์ 1.2 สร้างและพัฒนาผู้ประกอบการและบุคลากรภาคอุตสาหกรรม 1.3 พัฒนาและยกระดับอุตสาหกรรมชุมชน 1.4 พัฒนาศักยภาพและการรวมกลุ่มอุตสาหกรรม 1.5 เพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานภาคอุตสาหกรรม ตัวชี้วัด 1.1 วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และวิสาหกิจชุมชน ที่เข้าร่วมโครงการมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนดไม่น้อยกว่าร้อยละ 67 1.2 ผู้ประกอบการที่ได้รับการพัฒนาผลิตภัณฑ์มีมูลค่าเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 69 1.3 ต้นทุนโลจิสติกส์และโซ่อุปทานของสถานประกอบการเป้าหมายลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาปัจจัยสนับสนุนที่เอื้อต่อการประกอบการ และสร้างเครือข่ายหน่วยงานและผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม เป้าประสงค์ เพื่อสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการเข้าถึงบริการที่มีประสิทธิภาพและทันสมัยอย่างครบวงจร กลยุทธ์ 2.1 พัฒนาการบริการให้มีประสิทธิภาพทันสมัย และครบวงจร 2.2 สร้างและพัฒนาเครือข่ายหน่วยงานและผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม 2.3 พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ รูปแบบและวิธีการในการส่งเสริมอุตสาหกรรม ตัวชี้วัด 2.1 จำนวนผู้เข้ารับบริการเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 2.2 ผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรมที่ได้รับการพัฒนาไม่น้อยกว่าร้อยละ 45 สามารถให้บริการผู้ประกอบการได้2.3 ผู้รับบริการมีความความพึงพอใจต่อการให้บริการไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาสมรรถนะองค์การให้รองรับต่อการเปลี่ยนแปลง เป้าประสงค์ เพื่อพัฒนาบุคลากรและองค์การให้พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง สามารถให้บริการที่ตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ กลยุทธ์ 3.1 พัฒนาองค์ความรู้ ทักษะและสมรรถนะบุคลากร 3.2 สร้างแรงจูงใจ กระตุ้นจิตสำนึก ค่านิยม วัฒนธรรม และธรรมาภิบาลในองค์การ 3.3 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและ สภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน ตัวชี้วัด 3.1 บุคลากรขององค์การได้รับการพัฒนาสมรรถนะตามแผนปฏิบัติการพัฒนาบุคลากรไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 3.2 บุคลากรมีระดับความพึงพอใจต่อระบบการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมในการทำงานไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 ค่านิยม "รับผิดชอบในหน้าที่เสนอแนะอย่างสร้างสรรค์ มีความซื่อสัตย์สุจริต มุ่งผลสัมฤทธิ์" ASIA - Accountability - Suggestion - Integrity - Achievement Motivation
28 ก.ย. 2016
ประวัติหน่วยงาน
ประวัติศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 เป็นหน่วยงานราชการส่วนกลาง สังกัดกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เดิมชื่อ “ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดบุรีรัมย์” ได้จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี เพื่อการส่งเสริมการกระจายอุตสาหกรรมไปสู่ภูมิภาค เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ.2537 มีสำนักงานตั้งอยู่เลขที่ 107 หมู่ที่ 5 ตำบลหนองกระทิง อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์และมีพื้นที่รับผิดชอบ 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดอำนาจเจริญ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2539 ตามพระราชกฤษฎีกาการแบ่งส่วนราชการของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7” โดยยังมีพื้นที่รับผิดชอบ 5 จังหวัดเช่นเดิม วันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2548 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้ย้ายที่ตั้งสำนักงานศูนย์ฯ จากจังหวัดบุรีรัมย์ มาตั้งที่จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีพื้นที่รับผิดชอบ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดยโสธร และจังหวัดอำนาจเจริญ ทั้งนี้เพื่อการสอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีนัดพิเศษ วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2540 เรื่อง การจำแนกกลุ่มเพื่อการพัฒนาเป็น 19 กลุ่มจังหวัด โดยในช่วงแรกศูนย์ฯ ได้ขอใช้อาคารเก่าของสำนักงานที่ดินอำเภอเมือง ซึ่งตั้งอยู่ภายในบริเวณศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี เป็นอาคารสำนักงานชั่วคราว ปัจจุบัน ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ ตั้งอยู่เลขที่ 222 หมู่ 24 ถนนคลังอาวุธ ตำบลขามใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 34000
27 ก.ย. 2016