Category
Tags:
ดีพร้อมเซนเตอร์ 7 พบ SMEs | โรงงานผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวชุนกี่ กับ กิจกรรมกระตุ้นการตลาด/ การตลาดออนไลน์สร้างเครือข่ายผู้ประกอบการใหม่ #NEC
ดีพร้อมเซนเตอร์ 7 พบ SMEs | โรงงานผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวชุนกี่ กับ กิจกรรมกระตุ้นการตลาด/ การตลาดออนไลน์สร้างเครือข่ายผู้ประกอบการใหม่ #NEC
22 มี.ค. 2022
ดีพร้อมเซนเตอร์ 7 พบ SMEs | น้ำอ้อยสดแม่คำสิงห์ กับ กิจกรรมกระตุ้นการตลาด/ การตลาดออนไลน์สร้างเครือข่ายผู้ประกอบการใหม่ #NEC
ดีพร้อมเซนเตอร์ 7 พบ SMEs | น้ำอ้อยสดแม่คำสิงห์ กับ กิจกรรมกระตุ้นการตลาด/ การตลาดออนไลน์สร้างเครือข่ายผู้ประกอบการใหม่ #NEC
22 มี.ค. 2022
ดีพร้อมเซนเตอร์ 7 พบ SMEs | บ้านกล่องศรีสะเกษ กับ กิจกรรมกระตุ้นการตลาด/ การตลาดออนไลน์สร้างเครือข่ายผู้ประกอบการใหม่ #NEC
ดีพร้อมเซนเตอร์ 7 พบ SMEs | บ้านกล่องศรีสะเกษ กับ กิจกรรมกระตุ้นการตลาด/ การตลาดออนไลน์สร้างเครือข่ายผู้ประกอบการใหม่ #NEC
22 มี.ค. 2022
ดีพร้อมเซนเตอร์ 7 พบ SMEs | คาเฟ่บลู กับ กิจกรรมกระตุ้นการตลาด/ การตลาดออนไลน์สร้างเครือข่ายผู้ประกอบการใหม่ #NEC
ดีพร้อมเซนเตอร์ 7 พบ SMEs | คาเฟ่บลู กับ กิจกรรมกระตุ้นการตลาด/ การตลาดออนไลน์สร้างเครือข่ายผู้ประกอบการใหม่ #NE
22 มี.ค. 2022
ดีพร้อมเซนเตอร์ 7 ร่วมติดตามการดำเนินโครงการ สร้างขวัญ เสริมกำลังใจ SMEs
ระหว่างวันที่ 21-22 มีนาคม 2565 ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือดีพร้อม (DIPROM) มอบหมายให้ นายสุมิตร ส่งเสริม, สิบเอกกรุงรัตน์ อยู่คล้ำ, นายสังวาลย์ จันทะเวช ร่วมติดตามการดำเนินโครงการ แลกเปลี่ยนแนวทางการดำเนินธุรกิจ ในกิจกรรมการพัฒนาเทคโนโลยีเกษตรอุตสาหกรรมอัจฉริยะ ภายใต้โครงการการยกระดับสินค้าเกษตรสู่เกษตรอุตสาหกรรม พื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี, จังหวัดยโสธรและจังหวัดอำนาจเจริญ . #DIPROM #ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่7
22 มี.ค. 2022
ดีพร้อมเซนเตอร์ 7 ร่วมถ่ายทอดองค์ความรู้การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์สินค้าเกษตรแปรรูป
อำนาจเจริญ วันที่ 22 มีนาคม 2565 ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือดีพร้อม (DIPROM) มอบหมายให้ นายรัฐนนท์ บุญญา, นายพิจิตต์ จอมหงษ์, นายศุภชัย สืบวงศ์ ร่วมลงพื้นที่ประสานงานโครงการยกระดับศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม พร้อมทั้งร่วมเป็นวิทยากรบรรยายบทบาท หน้าที่ ภารกิจ ของดีพร้อมเซนเตอร์ 7 ในการช่วยเหลือผู้ประกอบการ เรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์ ให้กับหน่วยงานเครือข่าย สำนักงานเกษตรจังหวัดอำนาจเริญ ในการฝึกอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์สินค้าเกษตรแปรรูปตามความต้องการ ซึ่งจัดขึ้น ณ ห้องประชุม สำนักงานเกษตรจังหวัดอำนาจเจริญ มีผู้เข้าร่วมฝึกอบรม เป็นกลุ่ม แปรรูปสินค้าเกษตรบ้านนาไร่ใหญ่ อ.เสนางคนิคม และ Yong Smart Farmer ปี 2565 จำนวน 15 คน กิจกรรมดำเนินการตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 อย่างเคร่งครัด . #DIPROM #ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่7
22 มี.ค. 2022
ซีอีโอ Nissan ยอมรับชิปขาดตลาดส่งผลกระทบต่อการผลิตรถยนต์
การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วโลกที่ต้องพึ่งพาเซมิคอนดักเตอร์ เช่นเดียวกับNissan ที่ออกมายอมรับว่าได้รับผลกระทบต่อการผลิตรถยนต์ Makoto Uchida ซีอีโอของ Nissan ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว CNBC โดยยอมรับว่าปัญหาขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลกได้ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ทั้งใน และต่างประเทศ ความต้องการแก็ตเจต และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มขึ้นในช่วงของการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้เซมิคอนดักเตอร์ขาดตลาดไปทั่วโลก สิ่งนี้กระทบอย่างยิ่งกับอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีเป็นอย่างมาก “เราทำงานร่วมกับซัพพลายเออร์เพื่อลดผลกระทบนี้ และจับตาสถานการณ์อย่างใกล้ชิด พร้อมปรับการผลิตของธุรกิจ เราตระหนักถึงความไม่แน่นอนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต” Makoto Uchida กล่าว นอกจากนี้ ซีอีโอ Nissan ยังกล่าวถึงรถยนต์ไฟฟ้าซึ่งกำลังเป็นเทรนด์อยู่ ณ ตอนนี้ว่า Nissan ให้ความสำคัญกับยานยนต์ไฟฟ้าต่ออนาคตของบริษัท โดยบริษัทพร้อมจะสร้างจุดแข็งการผลิต และนำรถยนต์ไฟฟ้าแบบ 100% วางขายสู่ตลาดก่อนปี 2030 ความคิดเห็นของ Makoto Uchida สอดคล้องกับคำพูดที่เจ้าตัวเคยพูดไว้เมื่อปลายเดือนมกราคม ว่าญี่ปุ่น, ยุโรป, สหรัฐฯ และจีน จะเป็นตลาดหลักของรถยนต์ไฟฟ้า ทั้งนี้ 3 เดือนสุดท้ายของปี 2020 Nissan มีกำไรจากการดำเนินงานอยู่ที่ 27.1 พันล้านเยน เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีก่อนที่มีกำไร 22.7 พันล้านเยน ที่มา: CNBC https://www.smartsme.co.th/content/243637
21 มี.ค. 2022
เราไม่ทิ้งกัน! Google ลงทุน 2.2 พันล้าน ช่วย SME สู้โควิด-19
ยักษ์ใหญ่ใจป๋า! Google ประกาศลงทุนกว่า 2.2 พันล้านบาท ผ่านกองทุนเงินกู้ยืม หวังช่วยธุรกิจขนาดกลาง-เล็ก สู้วิกฤติโควิด-19 กว่า 1 ปีที่ผ่านมากับสถานการณ์โควิด-19 ภาคธุรกิจทั่วโลกต่างได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการ SME ซึ่งมีไม่น้อยที่ได้ปิดตัวลง รวมถึงต้องปรับตัวเพื่ออยู่ให้รอดในภาวะซบเซาทางเศรษฐกิจ แต่ท่ามกลางวิกฤติก็ได้มีข่าวดีเกิดขึ้น เมื่อองค์กรธุรกิจยักษ์ใหญ่อย่าง Google ได้ประกาศร่วมมือกับ European Investment Fund (EIF) ซึ่งเป็นองค์กรด้านการให้กู้ยืมเงินของสหภาพยุโรป กับอีก 2 องค์กรในละตินอเมริกาและเอเชีย ระดมเงินทุนราว 75 ล้านดอลลาร์ (2.2 พันล้านบาท) เพื่อช่วยบริษัทขนาดเล็กและขนาดกลางที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 Google เปิดเผยว่าจะลงทุนในกองทุน EIF สองกองทุนโดยให้เงินกู้ยืม 15 ล้านดอลลาร์แก่ธุรกิจขนาดเล็กในยุโรป 1,000 แห่ง และอีก 10 ล้านดอลลาร์ในกองทุนร่วมของ EIF ที่สนับสนุนบริษัทด้านเวชภัณฑ์ หรือผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและการให้บริการทางสาธารณสุข 200 แห่ง ในละตินอเมริกา Google จะทำงานร่วมกับ Inter-American Development Bank เพื่อจัดสรรเงินจำนวน 8 ล้านดอลลาร์ให้กับบริษัทขนาดเล็ก นอกจากนี้ ธุรกิจขนาดเล็กในแอฟริกา, ตะวันออกกลาง และอินโดนีเซีย จะได้รับการช่วยเหลือจากโครงการเงินกู้มูลค่า 26 ล้านดอลลาร์ ผ่านองค์กรระดมเงินกู้ Kiva และจัดสรรอีก 15 ล้านดอลลาร์ เพื่อสนับสนุนธุรกิจขนาดเล็กในอินเดีย ที่มา : reuters https://www.smartsme.co.th/content/243699
20 มี.ค. 2022
แอปฯ “Clubhouse” ถูกอ้างส่งข้อมูลผู้ใช้งานให้ทางการจีน
แม้ว่าแอปพลิเคชัน Clubhouse จะได้รับความนิยมอย่างมากจากทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ที่มีคนดังในแต่ละวงการใช้แพลตฟอร์มนี้เป็นช่องทางสื่อสารสนทนากัน แต่อีกด้านหนึ่งกลับมีการตั้งคำถามเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลส่วนตัวว่าจะเกิดการรั่วไหลถูกส่งต่อไปยังบุคคลที่ 3 หรือไม่ หลังจากรายงานของ Stanford Internet Observatory (SIOX) ที่ออกมาระบุว่า บริษัท Agora บริษัทสตาร์ทอัพจากเซี่ยงไฮ้ เป็นผู้ดูแลระบบหลังบ้านให้กับแอปฯ Clubhouse ซึ่งข้อมูลทุกอย่างจะถูกส่งผ่านเซิร์ฟเวอร์ในจีน นอกจากนี้ ระบบป้องกันข้อมูลยังพบว่า Clubhouse มีการส่งต่อข้อมูลขึ้นเซิร์ฟเวอร์โดยไม่ต้องเข้ารหัสข้อมูล ดังนั้นจึงเปิดโอกาสให้บุคคลที่สามเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้ได้ ไม่เพียงเท่านั้น รายงานยังเผยอีกว่า Agora ได้เปลี่ยนแปลงตัวเลข ID Number และเข้าถึงห้องสนทนากับผู้ใช้ ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าจะนำข้อมูลเหล่านี้ส่งต่อไปให้กับรัฐบาลจีน อย่างไรก็ตาม Agora ออกมาปฏิเสธ โดยชี้แจงว่าบริษัทไม่ได้เก็บข้อมูลผู้ใช้งานแอปพลิเคชัน Clubhouse ตามที่รายงานระบุไว้ ซึ่งบริษัทจะไม่เก็บข้อมูลเสียง และไม่มีการจัดเก็บข้อมูลไว้ในจีน แต่จะเก็บไว้ในสหรัฐฯ นั่นหมายความว่า หากทางการจีนต้องการข้อมูลก็จะต้องส่งเรื่องไปทางรัฐบาลสหรัฐฯ ตามข้อตกลง U.S.-China Mutual Legal Assistance Agreement (MLAA) ดูแบบนี้แล้วจึงเป็นเรื่องยาก ย้อนกลับไปต้นเดือนกุมภาพันธ์ แอปพลิเคชัน “Clubhouse” ถูกแบนในจีน หลังมีการตรวจพบว่ามีการสร้างห้องสนทนาพูดคุยเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคง ทั้ง เรื่องสิทธิมนุษยชน, การเมืองฮ่องกง, อุยกูร์, การเรียกร้องประชาธิปไตยในไต้หวัน ทั้งนี้ หลังจากแอปพลิเคชัน Clubhouse กลายเป็นที่นิยมของผู้ที่อยากสร้างคอนเทนต์ จึงทำให้ Agora มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเกือบ 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นที่เรียบร้อย ที่มา: stanford https://www.smartsme.co.th/content/243701
19 มี.ค. 2022
ทลายข้อจำกัด! Clubhouse รุกต่อเนื่องจ้างทีมงานพัฒนาแอปฯ ขยายบริการสู่แอนดรอยด์
แอปพลิเคชัน Clubhouse กลายเป็นแอปฯ ที่ได้รับความนิยมจากผู้ใช้ในประเทศ ณ ขณะนี้ และเป็นกิจวัตรประจำวันต้องเข้าไปฟังประเด็นน่าสนใจในห้องต่าง ๆ ตามความชื่นชอบ อย่างไรก็ตาม Clubhouse ยังมีข้อจำกัดอยู่ที่สามารถโหลดใช้งานได้กับระบบปฏิบัติการ iOS เท่านั้น เพื่อรองรับการเติบโตของแอปฯ ในอนาคต ทำให้ Paul Davison และ Rohan Seth ผู้ก่อตั้งแอปฯ Clubhouse เตรียมจ้างนักพัฒนาซอฟท์แวร์ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์เข้ามาขยายบริการไปสู่กลุ่มผู้บริโภคใหม่ โดยเรื่องนี้ดูเหมือนว่าจะมีความเป็นไปได้ค่อนข้างสูง เมื่อ Mopewa Ogundipe นักพัฒนาแอปฯ ชื่อดังที่ร่วมพัฒนาแอปฯ มามากมาย ไม่ว่าจะเป็น Instagram, Khan Academy และ Medium ทวีตข้อความว่า “วันนี้เป็นวันแรกที่ได้ร่วมงานกับ Clubhouse” Clubhouse เปิดตัวในเดือนมีนาคม 2020 และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาบริษัทเติบโตอย่างรวดเร็ว กลายเป็นหนึ่งในแอปพลิเคชันที่ร้อนแรงที่สุดใน Silicon Valley โดยเป็นพื้นที่สำหรับผู้ใช้ได้รวมตัวกันพูดคุยเรื่องราวที่น่าสนใจผ่านเสียงสนทนา ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับเทคโนโลยี และมีนักธุรกิจระดับโลกอย่าง Elon Musk ใช้เช่นกัน แต่ด้วยข้อจำกัดด้านการใช้งานที่อนุญาตให้เฉพาะ iPhone เท่านั้น แม้ว่าจะมีผู้ใช้งานมากกว่า 10 ล้านคนต่อสัปดาห์ แต่ Clubhouse ยังมองตลาดไปไกลกว่านั้น โดยบริษัทเตรียมพัฒนาแอปพลิเคชัน ให้ใช้งานได้กับระบบแอนดรอยด์ หลังได้รับเงินทุนจากบริษัท Andreessen Horowitz เป็นเงินจำนวน 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ดังนั้น การขยายบริการสู่แอนดรอยด์จึงเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่มา: CNBC https://www.smartsme.co.th/content/243747
18 มี.ค. 2022