Category
Tags:
"ผอ.ละเอียด" เปิดรุ่น 8 ปั้นนักธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม อำนาจเจริญ
อำนาจเจริญ 29 พฤศจิกายน 2565 นางละเอียด มธุรส ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM CENTER 7) ให้เกียรติเป็นประธานเปิดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “การปั้นนักธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม” กิจกรรมยกระดับสินค้าเกษตรสู่เกษตรอุตสาหกรรม ภายใต้โครงการส่งเสริมเกษตรอุตสาหกรรมครบวงจร ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ณ โรงแรมฝ้ายขิด อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ กล่าวรายงานโดย นางละออง ธงสอาด รักษาการผู้อำนวยการกลุ่มบริการธุรกิจอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ.สำหรับการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ มีเนื้อหาอาทิ Module 1 แนวทางการบริหารจัดการ การปรับตัวของธุรกิจภาคเกษตรอุตสาหกรรมสู่ Next normal, การต่อยอดธุรกิจเพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน, การบริหารจัดการธุรกิจด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม, การผลิตและการเลือกผู้รับจ้างผลิตที่มีคุณภาพ, Module ที่ 2 การจัดการด้านการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ, กลยุทธ์การบริหารเงินและการจัดหาเงินทุน เพื่อธุรกิจที่เติบโต, เรียนรู้การทำงบกระแสเงินสดอย่างง่าย , รายงานสำคัญทางการเงินที่ต้องรู้ก่อนการตัดสินใจทางธุรกิจ , Module ที่ 3 การจัดการด้านการตลาดธุรกิจสมัยใหม่, เจาะลึกตลาดและการส่งเสริมการขายแบบใหม่, การสร้างการรับรู้ของแบรนด์ด้วยการทำประชาสัมพันธ์ในยุคดิจิตัล, การสร้างนวัตกรรมเพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่โดนใจผู้บริโภค, การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการตามความต้องการของตลาด, Module ที่ 4 การจัดทำแผนธุรกิจ แผนธุรกิจสู่ภาคธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม(integrated Business Plan) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน 2565 - 3 ธันวาคม 2565 มีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ OTOP ผู้ประกอบการในภาคเกษตรอุตสาหกรรม เกษตรกรรายย่อย สถาบันเกษตรกร สาขา อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป, อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป, เกษตร เกษตรแปรรูป อาหารแปรรูป และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องตลอดห่วงโซ่อุปทานคาดว่าหลังจากการอบรมจะเกิดการพัฒนาและเพิ่มศักยภาพในการเป็นนักธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมอย่างมืออาชีพ เกิดการแลกเปลี่ยนและการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจ ส่งผลให้เกิดผลิตภาพหรือนวัตกรรมระหว่างกัน สร้างความสามารถในการแข่งขันและการดำเนินธุรกิจให้ได้ผลกำไร เติบโต เข้มแข็ง และเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน.เจ้าหน้าที่ร่วมกิจกรรมนายพัฒนพงษ์ กลิ่นลั่นทม, นายตระกูล อ่อนรัตน์, นายอัครภณ จำปารัตน์, นายสังวาลย์ จันทะเวช, นายศุภชัย สืบวงศ์.#DIPROM #ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่7 #ดีพร้อม #ดีพร้อมเซนเตอร์7
29 พ.ย. 2022
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ดันวิสาหกิจชุมชนสู่นวัตกรรม เสริมแกร่งอาชีพอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป
การส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อรองรับเศรษฐกิจวิถีใหม่ในการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจ เป็นอีกหนึ่งภารกิจของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์/บรรจุภัณฑ์ ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค มุ่งหวังให้ผู้ประกอบการ SMEs วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการในพื้นที่สามารถปรับตัว ปรับปรุงธุรกิจตนเองให้รองรับกับการเปลี่ยนแปลงกับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ พร้อมทั้งส่งเสริมการให้เกิดอาชีพที่มั่นคง สร้างงาน สร้างรายได้เพิ่มขึ้นตามแนวเศรษฐกิจวิถีใหม่ อุบลราชธานี 17 พฤศจิกายน 2564 ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM IPC7) ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร "พัฒนาผู้ประกอบการชุมชน วิสาหกิจชุมชน ในการประกอบอาชีพอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป และธุรกิจด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรม" ณ โรงแรมบ้านสวนคุณตา กอล์ฟ แอนด์ รีสอร์ท จ.อุบลราชธานี กล่าวรายงานโดย นายสุเทพ ทุตา ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมอุตสาหกรรมชุมชน ซึ่งกิจกรรมจัดขึ้นระหว่างวันที่ 17-18 พฤศจิกายน 2564 มีการบรรยาย การนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปให้รองรับเศรษฐกิจวิถีใหม่ และสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค ความสำคัญของนวัตกรรมทางการเกษตรและการเพิ่มมูลค่า การฝึกปฏิบัติด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม สร้างรายได้ตามแนวเศรษฐกิจวิถีใหม่ โดยมี รศ.ดร.ชวลิต ถิ่นวงศ์พิทักษ์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, ดร.ประชา คำภักดี ร่วมเป็นวิทยากรในวันนี้ การดำเนินการจัดกิจกรรมปฏิบัติตามมาตรการเฝ้าระวังและป้องกันโควิด-19 อย่างเคร่งครัด.เจ้าหน้าที่ร่วมนางเปลี่ยน จำปาหอม, นางสาวกุณชานัน มาศรักษา, นายตระกูล อ่อนรัตน์, นายจิตติ โสบุญ, นายมิตร แสงกล้า .ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่7 #กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม #DIPROM
17 พ.ย. 2021
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ดันกลยุทธ์การตลาดออนไลน์ "พร้อมสู้ อยู่ได้ ไปรอด"
ในช่วงที่ผ่านมาธุรกิจ e-commerce ได้เข้ามามีบทบาทเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในระบบเศรษฐกิจยุคปัจจุบัน ส่งผลให้บางธุรกิจอาจต้องออกจากตลาดไป ขณะที่บางธุรกิจต้องเร่งปรับตัวเพื่อความอยู่รอด ซึ่งวิธีการปรับตัวอาจแตกต่างกันไป ตามลักษณะหรือความเหมาะสมของธุรกิจ ความก้าวหน้าเทคโนโลยีกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในปัจจุบันส่งผลให้รูปแบบการขายซื้อสินค้าและบริการ รวมทั้งพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป จากวิถีชีวิตที่เร่งรีบขึ้น ความสะดวกสบายในการซื้อสินค้าที่เพิ่มขึ้นด้วยช่องทางการจำหน่ายที่หลากหลาย ทำให้ช่องทางออนไลน์สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี . อุบลราชธานี 15 พฤศจิกายน 2564 ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM IPC7) ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการสัมนาเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร "พร้อมสู้ อยู่ได้ ไปรอด หลังสถานการณ์โควิด 19 ด้วยกลยุทธ์การตลาดออนไลน์" ณ โรงแรมบ้านสวนคุณตา กอล์ฟ แอนด์ รีสอร์ท จ.อุบลราชธานี กล่าวรายงานโดย นายสุริยา โพธิยา ผู้อำนวยการกลุ่มบริการธุรกิจอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ โดยมี นายชวพจน์ ศุภสาร มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, นายบุญส่ง นนทธิ, นางสาวศิริวรรณ เจริญชัย , ผู้แทนสถาบันการเงิน ร่วมเป็นวิทยากร พร้อมทั้งยังมีบูธให้บริการคำปรึกษาแนะนำผู้ประกอบการเบื้องต้น อาทิ ด้านการบริหารจัดการในการดำเนินธุรกิจ, ด้านตลาดออนไลน์ Social Media and Digital Marketing กลยุทธ์การตลาด / การตลาดแบบ Next step / การเขียน Content / ช่องทางการสื่อสารและการขาย (สื่อสังคม) และการบริการตามมาตรฐาน และทันสมัย ผ่านช่องทาง Shopee, ด้านการบัญชีการเงินและภาษี การประเมินรายได้จากธุรกิจ ภาษี, ด้านการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการ SME และวิสาหกิจชุมชน เพื่อให้ผู้ประกอบสร้างช่องทางการจำหน่ายออนไลน์ รวมทั้งผู้ประกอบการและผู้บริโภค สามารถเข้ามาซื้อ-ขาย สินค้าและบริการดี ๆ มีคุณภาพ เป็นการเสริมแกร่งผู้ประกอบการด้วย Social Commerce ตลอดจนสร้างโอกาสในการเข้าถึงตลาดและแหล่งเงินทุนได้อย่างเหมาะสม การดำเนินการจัดกิจกรรมปฏิบัติตามมาตรการเฝ้าระวังและป้องกันโควิด-19 อย่างเคร่งครัด . เจ้าหน้าที่ร่วม นางสาวปริทัศน์ เชื้อประทุม, นายสมเกียรติ จันทร์เพ็ญมงคล, สิบเอกกรุงรัตน์ อยู่คล้ำ, นายตระกูล อ่อนรัตน์, นายสังวาลย์ จันทะเวช, นายมิตร แสงกล้า . #ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่7 #DIPROM
15 พ.ย. 2021
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโลจิสติกส์ ลดต้นทุน เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ
ระหว่างวันที่ 16 - 18 มิถุนายน 2564 ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มอบหมายให้ นายกฤษณะ นอขุนทด ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรม ร่วมลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงาน/ โครงการ ในกิจกรรมให้คำแนะนำเชิงลึกเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโลจิสติกส์ เพื่อการลดต้นทุนและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ภายใต้โครงการเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานภาคอุตสาหกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ณ สถานประกอบการ โดยมี บริษัท บัวทองสมุนไพรและสปา จำกัด จ.อุบลราชธานี ผู้ผลิตภัณฑ์ แชมพูสมุนไพร สบู่เหลว และผลิตภัณฑ์อื่นๆ จากสมุนไพร ในเรื่องระบบการวางแผนหรือคาดการณ์ความต้องการของลูกค้า โดยจัดทำระบบการจัดการสินค้าเพื่อวัดความถูกต้องของการคาดการณ์ยอดขาย, บริษัท อีสานคอนกรีต (1991 ) จำกัด จ.อุบลราชธานี ผู้ผลิตและจำหน่าย ผลิตภัณฑ์คอนกรีตผสมเสร็จและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในงานก่อสร้าง เรื่องระบบการจัดเก็บสินค้าคงคลัง การสร้างระบบสามารถติดตามสถานะการเคลื่อนไหวสินค้าคงคลัง รวมทั้งวางแผนการกำหนดเป้าหมายของระดับสินค้าและวัตถุดิบคงคลังแต่ละชนิด , บริษัท 3เอ เบฟเวอเรจ จำกัด จ.ยโสธร ผู้ผลิตและจำหน่าย ผลิตภัณฑ์ น้ำดื่มบรรจุขวด บรรจุถัง ในเรื่องของการลดต้นทุนในการขนส่งสินค้า โดยการสร้างระบบในการวางแผนการขนส่งสินค้าเพื่อให้ใช้รถขนส่งสินค้าได้เต็มประสิทธิภาพ และ บริษัท พรูเด็นเชียล แอมพรี (ไทยแลนด์) จำกัด จ.อุบลราชธานี ผู้ผลิต ชุดปลอดเชื้อ อุปกรณ์และชุดสำหรับใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เรื่องการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง (Inventory Management) โดยการศึกษาและรวบรวมข้อมูลปริมาณการสั่งซื้อ และวัตถุดิบแต่ละล็อตการผลิตเพื่อจัดทำระบบควบคุม.เจ้าหน้าที่ร่วมนายรัฐนนท์ บุญญา, นายพิจิตต์ จอมหงษ์ , นายจิตติ โสบุญ
18 มิ.ย. 2021
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นำผู้เชี่ยวชาญพัฒนาผลิตภัณฑ์ ยกระดับผ้าทอมือด้วยอัตลักษณ์ท้องถิ่น
อุบลราชธานี 18 มิถุนายน 2564 ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มอบหมายให้ นางเปลี่ยน จำปาหอม เจ้าพนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมอาวุโส ร่วมติดตามการดำเนินงานการให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกโดยผู้เชี่ยวชาญในกิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์และเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ ภายใต้โครงการยกระดับผ้าทอมืออัตลักษณ์อีสานสู่สากล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ณ สถานประกอบการ สุภาพรผ้าไทย จ.อุบลราชธานี , สถานประกอบการ บุญนภา จ.อุบลราชธานี และ สถานประกอบการ โอลีฟหน่อย จ.อุบลราชธานี.เจ้าหน้าที่ร่วมนางสาวอภิชญา มาศรักษา , นายมิตร แสงกล้า
18 มิ.ย. 2021
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พบผู้ประกอบการ ชี้แจงรายละเอียดกิจกรรมส่งเสริมเกษตรอุตสาหกรรมครบวงจร
ระหว่างวันที่ 16 - 18 มิถุนายน 2564 ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มอบหมายให้ นายกฤษณะ นอขุนทด ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรม ร่วมลงพื้นที่ชี้แจงรายละเอียดการดำเนินกิจกรรม/ โครงการ พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนแนวทางในการดำเนินธุรกิจ ความต้องการของสถานประกอบการ ภายใต้โครงการ การส่งเสริมเกษตรอุตสาหกรรมครบวงจร ในปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ณ ร้านไผ่ทองประสาร จ.ยโสธร , ร้านโกดังข้าวไชยกุล ฟาร์มเอาท์เลท จ.ยโสธร , บ้านขนมระฆังทอง จ.ศรีสะเกษ , หจก.พี.วาย.เอส.ไทยฟูดส์ จ.ศรีสะเกษ และร้านโจโจ้หมูกระทะ จ.อุบลราชธานี.เจ้าหน้าที่ร่วมนางสาวนราวดี จันทร์จำปา, นายสังวาลย์ จันทะเวช
18 มิ.ย. 2021
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม บริการให้คำปรึกษาแนะนำผู้ประกอบการ
อุบลราชธานี 18 มิถุนายน 2564 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม บริการให้คำปรึกษาแนะนำด้านการอออกแบบฉลาก ด้านการตลาด ด้านการเงิน/บัญชี แก่ผู้ประกอบการ ผลิตภัณฑ์มูลไส้เดือน และผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ กล้วยตากแห้ง อบกรอบ.เจ้าหน้าที่ร่วมนายชิติพัทธ์ กรไกร, นางสาวเกษรินทร์ ศรีคำ , นายบุญสาร แสนโท
18 มิ.ย. 2021
ศภ.7 กสอ. เปิด SHINDAN ออนไลน์ หัวใจของการดำเนินธุรกิจสู้ Covid-19
อุบลราชธานี วันจันทร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ.2564 ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร "การสร้างและพัฒนาผู้ให้บริการธุรกิจด้านวินิจฉัยสถานประกอบการ (SHINDAN)" กิจกรรมการสร้างและพัฒนาผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม (Service Provider : SP) โครงการพัฒนาระบบการส่งเสริม SMEs ผ่านระบบ ZOOM Application โดยมี นายสุริยา โพธิยา ผู้อำนวยการกลุ่มบริการธุรกิจอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ กล่าวรายงาน.การดำเนินธุรกิจในปัจจุบันความต้องการของลูกค้าที่ต้องการสินค้าหรือบริการที่มีความหลากหลายและทันสมัย อีกทั้งสถานการณ์ของ Covid-19 การปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ การบริหารจัดการด้านการตลาด โดยใช้ทักษะวิชาตัวเบา จะสามารถดำเนินการกิจได้ต่อเนื่อง ขณะเดียวกันจะต้องพัฒนาต่อยอดทักษะเดิม เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลง ทักษะการพัฒนานวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อการปรับใช้ในกระบวนการต่าง ๆ และทักษะความคิดสร้างสรรค์ ในการพัฒนาบุคลากรผู้ให้บริการธุรกิจด้านวินิจฉัยสถานประกอบการ ในหลักสูตร SHINDAN องค์ความรู้และทักษะนี้ จะสามารถวินิจฉัย วิเคราะห์สภาพปัญหา พร้อมกำหนดกลยุทธ์สำหรับการแก้ไขปัญหาของสถานประกอบการของตนเอง และสามารถนำความรู้ที่ถูกต้องไปปรับใช้กับอุตสาหกรรมกับเพื่อนผู้ประกอบการ ช่วยเหลือ แลกเปลี่ยน หรือให้คำปรึกษาแนะนำได้ เสริมแกร่งความสามารถในการผลิตเพื่อสร้างผลกำไร การลดต้นทุน การลดของเสีย เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป.หลักสูตรนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 24-25, 28, 30-31 พฤษภาคม 2564 และวันที่ 1-2 มิถุนายน 2564 โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญและมากประสบการณ์ อาทิ ด้านการบริหารและบุคคล คุณมนัสนันท์ ปัญญาสกุลวงศ์ , ด้านการตลาด คุณสุพัตรา บัวแสงจันทร์, ด้านบัญชีและการเงิน คุณปริญญา เร่งพินิจ โดยมีผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมที่ผ่านการคัดเลือก จำนวน 15 คน
24 พ.ค. 2021
โหลดแล้วลื่น! รวม 5 แอปพลิเคชันที่จะทำให้ทุกวันของคุณง่ายขึ้น (แม้จะเป็นช่วงโควิด-19)
การใช้ชีวิตในยุคนี้อาจจะเรียกได้ว่ามีความสะดวกสบายมากกว่าเมื่อก่อนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการเข้ามาของสมาร์ทโฟนที่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้คนจากหน้ามือเป็นหลังมือเลยก็ว่าได้ เพียงแค่อยากได้อะไรก็เข้าไปในสมาร์ทโฟนแล้วทุกอย่างที่ต้องการก็มาจะวางอยู่ตรงหน้า แอปพลิเคชัน กลายเป็นเครื่องมือสำคัญของผู้คนในยุคปัจจุบันที่จำเป็นต้องโหลดติดสมาร์ทโฟน ซึ่งมีบริการอย่างหลากหลายให้เลือกตามไลฟ์สไตล์ของแต่ละคน โดยในบทความนี้ Smartsme จะพามาแนะนำแอปพลิเคชันที่ควรดาวน์โหลดติดมือถือเพื่อให้การดำเนินชีวิตในแต่ละวันง่ายขึ้น แม้จะเป็นในช่วงโควิด-19 ก็ตามที แอปฯ partyhaan แอปพลิเคชัน partyhaan น่าจะเป็นแอปฯ ที่ถูกใจผู้ที่ชอบสั่งซื้อสินค้าโดยต้องการหาเพื่อนช่วยแชร์ โดยแอปฯ จะช่วยหาเพื่อนช่วยหาร ช่วยแชร์ค่าต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น โปรซื้อ 1 แถม 1, โปรเครื่องสำอาง, มา 4 จ่าย 3, แชร์ค่าทริป ตลอดจนค่าเดินทาง และอื่น ๆ อีกมากมาย โดยขั้นตอนการดำเนินงานก็ไม่ได้ยุ่งยากอะไร เพียงแค่หา Party ที่น่าสนใจ ดูรายละเอียดในห้องนั้นว่ามีกิจกรรมอะไร โดยผู้ใช้สามารถเป็นทั้งคนสร้างห้องปาร์ตี้ และขอเข้าร่วมปาร์ตี้ ซึ่งในปาร์ตี้สมาชิกจะร่วมพูดคุยผ่านระบบแชทเพื่อตกลงรายละเอียดระหว่างกัน รายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.partyhaan.com/ แอปฯ QPER ปัจจุบันการมีรายได้ทางเดียวคงไม่เพียงต่อสภาพความเป็นอยู่ ค่าครองชีพ ที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ หากใครกำลังมองหาอาชีพเสริม อยากใช้เวลาว่างในการสร้างรายได้ ขอแนะนำแอปพลิเคชัน QPER ที่จะทำให้คุณนำความรู้ ความสามารถ หรือขอแค่เพียงมีเวลาก็สามารถเพิ่มเงินในกระเป๋าสตางค์ได้แล้ว QPER ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองวิถีการใช้ชีวิตแบบ New Normal โดยการใช้เทคโนโลยีระบุตำแหน่งปัจจุบัน (Current Location) ค้นหาสิ่งที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว และไม่ต้องเสียเวลาค้นหาจากอินเทอร์เน็ต เช่น คุณอาจจะมีความสามารถในการซ่อมท่อประปา คุณก็ใช้ประโยชน์ตรงนี้รับงานหากมีท่อประปาแตกในพื้นที่ใกล้เคียง หรือหากมีเวลาว่างอาจจะใช้เวลาตรงนี้ไปต่อแถวซื้ออาหารได้ รายละเอียดเพิ่มเติม: https://qper.co/home/ แอปฯ Fixzy คงไม่ใช่เรื่องดีอย่างแน่นอน หากมีอุปกรณ์ เครื่องใช้ภายในบ้านเกิดเสียขึ้นมา แล้วไม่รู้จะทำยังไงดี เพราะใช่ว่าทุกคนจะมีทักษะ หรือความสามารถในเรื่องนี้ จะไปหาช่างซ่อมก็ไม่รู้จะติดต่อใครอีกแน่นอนว่าเรื่องบ้านจะเปลี่ยนเป็นเรื่องง่ายทันที หากโหลดแอปพลิเคชัน Fixzy ซึ่งให้บริการเกี่ยวกับบ้านแบบครบวงจร โดยช่างซ่อมมืออาชีพ สำหรับจุดเด่นของ Fixzy คือบริการดูแลบ้านที่มีให้เลือกอย่างหลากหลาย ตั้งแต่ขั้นตอนแรกไปจนถึงปิดงาน รวมถึงไม่ต้องกังวลเรื่องตารางนัดหมาย โดยผู้ใช้สามารถนัดหมาย เลือกช่างได้ด้วยตนเอง รายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.fixzy.net/ แอปฯ jord sabuy หลายคนมีความกังวลในเรื่องที่จอดรถ เวลาเดินทางไปสถานที่ใดสักที่หนึ่ง ความคิดภายในหัวตีกันไปหมด ไปแล้วจะมีที่จอดหรือไม่? ไปแล้วจะจอดที่ไหนดี จะไปจอดตามข้างทางก็หวั่นในเรื่องของความปลอดภัยที่เราไม่สามารถคาดการณ์ได้ แต่เรื่องนี้จะทำให้ง่ายขึ้นเพียงแค่โหลดแอปฯ jord sabuy โดยผู้ใช้สามารถค้นหาที่จอดรถ ด้วยการระบุตำแหน่ง วัน เวลาในการจอด รวมถึงบริการที่จอดรถ พร้อมเข้าจอดทันที นอกจากนี้ หากมีพื้นที่ลานจอดรถ หรือที่จอดรถว่างตั้งแต่ 1 ที่ขึ้นไป ไม่ว่าจะเป็นที่จอดในสำนักงาน คอนโด ภายในบ้าน ก็สามารถเข้ามาลงทะเบียนผ่านแอปฯ นี้ได้ รายละเอียดเพิ่มเติม: https://jordsabuy.com/ แอปฯ Call Zen Call Zen เป็นแอปพลิเคชันที่ช่วยในการติดต่อคอลเซ็นเตอร์ขององค์กรต่าง ๆ ที่มีระบบตอบรับอัตโนมัติ โดยผู้ใช้คอลเซนไม่จำเป็นต้องรอฟังเทป (เช่น กด1 เพื่อ… กด2 เพื่อ…) อีกต่อไป เพียงแค่เลือกเมนู และแอปพลิเคชันจะดำเนินการโทรออกไปยังเป้าหมายให้โดยอัตโนมัติ เพียงเลือกจากเมนูในแอปพลิเคชัน มาพร้อมระบบการทำงานต่าง ๆ สำหรับแอปฯ Call Zen ได้รวบรวมหมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ และจำเป็นมากกว่า 150 ที่โดยไว้ใน Contact list ไม่ว่าจะเป็น ธนาคาร, บัตรเครดิต, เครือข่ายโทรศัพท์มือถือ, ช่วยเหลือฉุกเฉิน, ไฟฟ้า, ไฟไหม้, ประปา เป็นต้น นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของแอปพลิเคชันที่นำมาแนะนำ ซึ่งยังคงมีแอปฯ อีกมากมายที่ให้ผู้ใช้ได้เลือกโหลดตามความชื่นชอบของตัวเอง เพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตให้มีความสะดวกยิ่งขึ้น อ้างอิง https://www.smartsme.co.th/content/243371
12 ม.ค. 2021