Category
Tags:
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม บริการให้คำปรึกษาแนะนำผู้ประกอบการ ทดลองใช้งานเครื่องปิดฝากระป๋อง
อุบลราชธานี 24 มิถุนายน 2564 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม บริการให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ประกอบการ พร้อมให้ผู้ประกอบการทดลองใช้งานเครื่องปิดฝากระป๋อง ผลิตภัณฑ์กล้วยน้ำว้า ตากแห้ง แฟนตาซี.ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม หรือ ITC เป็นบริการที่ให้ความช่วยเหลือ/ แลกเปลี่ยน ให้คำปรึกษาแนะนำด้านการประกอบธุรกิจ การวิจัยเชิงพาณิชย์ การเงิน ตลอดจนบ่มเพาะผู้ประกอบการให้สามารถปรับเปลี่ยนไปสู่การดำเนินธุรกิจและการพัฒนาสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
24 มิ.ย. 2021
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นำผู้เชี่ยวชาญแลกเปลี่ยนแนวทาง เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโลจิสติกส์ ลดต้นทุนของผู้ประกอบการ
วันที่ 24 มิถุนายน 2564 ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มอบหมายให้ นายกฤษณะ นอขุนทด ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรม ร่วมลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงาน/ โครงการ ในกิจกรรมให้คำแนะนำเชิงลึกเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโลจิสติกส์ของผู้เชี่ยวชาญ เพื่อการลดต้นทุนและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ภายใต้โครงการเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานภาคอุตสาหกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ณ ห้างหุ้นส่วนจำกัด จรินทร์กิจ อ.เหล่าเสือโก้ก จ.อุบลราชธานี ผลิตภัณฑ์ ไม้สับ WOODSHIP ร่วมแลกเปลี่ยนแนวทางและการวางแผนระบบการขนส่ง (Transportation) สินค้า นำข้อมูลที่ได้วางแผนระยะเวลาการจัดส่งสินค้าให้กับลูกค้า หรือจัดหาผู้ให้บริการขนส่งสินค้าเพิ่มเติม เพื่อให้สถานประกอบการ สามารถคำนวณต้นทุนการขนส่งที่แท้จริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ.เจ้าหน้าที่ร่วมนายรัฐนนท์ บุญญา, นายพิจิตต์ จอมหงษ์ , นายศุภชัย สืบวงศ์
24 มิ.ย. 2021
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโลจิสติกส์ ลดต้นทุน เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ
ระหว่างวันที่ 16 - 18 มิถุนายน 2564 ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มอบหมายให้ นายกฤษณะ นอขุนทด ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรม ร่วมลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงาน/ โครงการ ในกิจกรรมให้คำแนะนำเชิงลึกเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโลจิสติกส์ เพื่อการลดต้นทุนและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ภายใต้โครงการเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานภาคอุตสาหกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ณ สถานประกอบการ โดยมี บริษัท บัวทองสมุนไพรและสปา จำกัด จ.อุบลราชธานี ผู้ผลิตภัณฑ์ แชมพูสมุนไพร สบู่เหลว และผลิตภัณฑ์อื่นๆ จากสมุนไพร ในเรื่องระบบการวางแผนหรือคาดการณ์ความต้องการของลูกค้า โดยจัดทำระบบการจัดการสินค้าเพื่อวัดความถูกต้องของการคาดการณ์ยอดขาย, บริษัท อีสานคอนกรีต (1991 ) จำกัด จ.อุบลราชธานี ผู้ผลิตและจำหน่าย ผลิตภัณฑ์คอนกรีตผสมเสร็จและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในงานก่อสร้าง เรื่องระบบการจัดเก็บสินค้าคงคลัง การสร้างระบบสามารถติดตามสถานะการเคลื่อนไหวสินค้าคงคลัง รวมทั้งวางแผนการกำหนดเป้าหมายของระดับสินค้าและวัตถุดิบคงคลังแต่ละชนิด , บริษัท 3เอ เบฟเวอเรจ จำกัด จ.ยโสธร ผู้ผลิตและจำหน่าย ผลิตภัณฑ์ น้ำดื่มบรรจุขวด บรรจุถัง ในเรื่องของการลดต้นทุนในการขนส่งสินค้า โดยการสร้างระบบในการวางแผนการขนส่งสินค้าเพื่อให้ใช้รถขนส่งสินค้าได้เต็มประสิทธิภาพ และ บริษัท พรูเด็นเชียล แอมพรี (ไทยแลนด์) จำกัด จ.อุบลราชธานี ผู้ผลิต ชุดปลอดเชื้อ อุปกรณ์และชุดสำหรับใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เรื่องการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง (Inventory Management) โดยการศึกษาและรวบรวมข้อมูลปริมาณการสั่งซื้อ และวัตถุดิบแต่ละล็อตการผลิตเพื่อจัดทำระบบควบคุม.เจ้าหน้าที่ร่วมนายรัฐนนท์ บุญญา, นายพิจิตต์ จอมหงษ์ , นายจิตติ โสบุญ
18 มิ.ย. 2021
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นำผู้เชี่ยวชาญพัฒนาผลิตภัณฑ์ ยกระดับผ้าทอมือด้วยอัตลักษณ์ท้องถิ่น
อุบลราชธานี 18 มิถุนายน 2564 ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มอบหมายให้ นางเปลี่ยน จำปาหอม เจ้าพนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมอาวุโส ร่วมติดตามการดำเนินงานการให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกโดยผู้เชี่ยวชาญในกิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์และเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ ภายใต้โครงการยกระดับผ้าทอมืออัตลักษณ์อีสานสู่สากล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ณ สถานประกอบการ สุภาพรผ้าไทย จ.อุบลราชธานี , สถานประกอบการ บุญนภา จ.อุบลราชธานี และ สถานประกอบการ โอลีฟหน่อย จ.อุบลราชธานี.เจ้าหน้าที่ร่วมนางสาวอภิชญา มาศรักษา , นายมิตร แสงกล้า
18 มิ.ย. 2021
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พบผู้ประกอบการ ชี้แจงรายละเอียดกิจกรรมส่งเสริมเกษตรอุตสาหกรรมครบวงจร
ระหว่างวันที่ 16 - 18 มิถุนายน 2564 ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มอบหมายให้ นายกฤษณะ นอขุนทด ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรม ร่วมลงพื้นที่ชี้แจงรายละเอียดการดำเนินกิจกรรม/ โครงการ พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนแนวทางในการดำเนินธุรกิจ ความต้องการของสถานประกอบการ ภายใต้โครงการ การส่งเสริมเกษตรอุตสาหกรรมครบวงจร ในปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ณ ร้านไผ่ทองประสาร จ.ยโสธร , ร้านโกดังข้าวไชยกุล ฟาร์มเอาท์เลท จ.ยโสธร , บ้านขนมระฆังทอง จ.ศรีสะเกษ , หจก.พี.วาย.เอส.ไทยฟูดส์ จ.ศรีสะเกษ และร้านโจโจ้หมูกระทะ จ.อุบลราชธานี.เจ้าหน้าที่ร่วมนางสาวนราวดี จันทร์จำปา, นายสังวาลย์ จันทะเวช
18 มิ.ย. 2021
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม บริการให้คำปรึกษาแนะนำผู้ประกอบการ
อุบลราชธานี 18 มิถุนายน 2564 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม บริการให้คำปรึกษาแนะนำด้านการอออกแบบฉลาก ด้านการตลาด ด้านการเงิน/บัญชี แก่ผู้ประกอบการ ผลิตภัณฑ์มูลไส้เดือน และผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ กล้วยตากแห้ง อบกรอบ.เจ้าหน้าที่ร่วมนายชิติพัทธ์ กรไกร, นางสาวเกษรินทร์ ศรีคำ , นายบุญสาร แสนโท
18 มิ.ย. 2021
สุริยะ ยกเครื่องบริการ ก.อุตฯ เร่งพัฒนา iSingleForm ระบบแจ้งข้อมูลโรงงานในแบบฟอร์มเดียวผ่านระบบออนไลน์ ปฏิรูปการทำงานสู่ยุคดิจิทัล
อุตสาหกรรมเร่งพัฒนาแพลตฟอร์ม iSingleForm เชื่อมโยงข้อมูลหน่วยงานภายใน ปฏิรูปการให้บริการหน่วยงานในสังกัดแบบดิจิทัล พร้อมให้บริการออนไลน์แบบครบวงจร สอดรับการทำงานแบบนิว นอร์มอล ช่วยวิเคราะห์สถานะโรงงานและแจ้งสิทธิประโยชน์ พร้อมนำข้อมูลไปใช้ยกระดับภาคอุตสาหกรรมด้านต่าง ๆ สร้างปัจจัยแวดล้อมสำคัญในการยกระดับภาคอุตสาหกรรมไทยเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้เร่งขยายการบริการให้ครอบคลุมส่วนงานด้านข้อมูลการประกอบกิจการโรงงาน โดยมอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) พัฒนาจัดทำและเปิดใช้งานแพลตฟอร์ม iSingleform ขึ้น เพื่อเป็นช่องทางการบริการแจ้งข้อมูลของผู้ประกอบการให้แก่หน่วยงานต่าง ๆ ภายในกระทรวงให้เหลือเพียงแบบฟอร์มเดียวผ่านระบบออนไลน์ โดยกระทรวงอุตสาหกรรมมีเป้าหมายในการเร่งยกระดับการบริการของกระทรวงเข้าสู่ระบบออนไลน์ให้ครอบคลุมในทุกมิติเพื่อขับเคลื่อนการเป็นรัฐบาลดิจิทัล (Digital Government) ขณะเดียวกันปัจจุบันกระทรวงฯ ได้เปิดให้บริการผ่านระบบออนไลน์ในหลายบริการ อาทิ บริการด้านใบอนุญาต บริการยื่นขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน และบริการใบแจ้งการชำระค่าธรรมเนียมรายปี ซึ่งจะเป็นการลดภาระผู้ประกอบการในการเดินทางมาติดต่อหน่วยงานราชการ “การยกระดับภาคอุตสาหกรรมไทยเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ภาครัฐจำเป็นจะต้องพัฒนาปัจจัยแวดล้อมให้พร้อม อาทิ โครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารและคมนาคม การปรับกฎระเบียบให้ทันสมัย รวมทั้งการบริการของภาครัฐที่ต้องยกระดับให้สอดคล้องกับการทำงานในยุคชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) ซึ่งมีความคุ้นชินในการทำธุรกรรมออนไลน์โดยไม่ต้องเดินทางไปยังสถานที่ราชการเพื่อขอรับบริการ สามารถแจ้งข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลา โดยได้ตั้งเป้าหมายให้ผู้ประกอบการโรงงานแจ้งข้อมูลผ่านแพลตฟอร์ม iSingleForm อย่างทั่วถึงและครอบคลุมผู้ประกอบการในทุกขนาดและทุกพื้นที่มากขึ้นเพื่อสนับสนุนการสร้างกรอบตัวอย่าง (Sampling Frame) ที่ทันสมัยและมีมาตรฐานร่วมกัน ช่วยลดการสำรวจข้อมูลที่ซ้ำซ้อนภายในกระทรวงอุตสาหกรรมและสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการพัฒนาอุตสาหกรรมในด้านต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ” นายสุริยะ กล่าว นายทองชัย ชวลิตพิเชฐ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวต่อว่า สศอ. ได้เร่งพัฒนาระบบ iSingleForm และเปิดใช้งานให้ผู้ประกอบการได้แจ้งข้อมูลตามแบบฟอร์มเดียวซึ่งได้รวบรวมข้อคำถามจากหน่วยงานต่าง ๆ ภายในกระทรวงฯ ไว้ในแบบฟอร์มเดียวเพื่อลดภาระการแจ้งข้อมูล ไม่ให้เกิดความความซ้ำซ้อน โดยข้อมูลที่ผู้ประกอบการได้แจ้งมาตามแพลตฟอร์ม iSingleForm จะถูกนำมาวิเคราะห์ข้อมูลและจัดทำเป็นผลการประเมินสถานภาพของสถานประกอบการเป็นประจำทุกเดือนตามข้อมูลที่ได้แจ้งเข้ามา ซึ่งจะได้รับผลการวิเคราะห์สถานะของกิจการตนเองในแง่มุมต่าง ๆ อาทิ ประสิทธิภาพการผลิต ความสามารถในการจำหน่าย ความสามารถในการบริหารต้นทุน โดยเปรียบเทียบกับผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมทั้งหมด และในรายสาขาอุตสาหกรรม เพื่อให้ผู้ประกอบการนำผลการวิเคราะห์ไปใช้ประโยชน์ นอกจากนี้ ผู้ประกอบการที่แจ้งข้อมูลอย่างต่อเนื่องจะได้รับแจ้งสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เช่น สินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยพิเศษจากธนาคารที่ลงนามในบันทึกความเข้าใจร่วมกัน (MOU) กับทาง สศอ. ซึ่งในปัจจุบันมี 2 ธนาคาร คือ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SMEs Bank) และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM Bank) ได้รับแจ้งสิทธิการเข้ารับคำปรึกษาเพื่อการพัฒนาสถานประกอบการ และการเข้าร่วมโครงการต่าง ๆ ในการเพิ่มประสิทธิภาพสถานประกอบการโรงงาน
04 ม.ค. 2021