โทรศัพท์ 1358
Advanced Search

Category
กสอ.​ ติดตามความคืบหน้าโรงงานต้นแบบผลิตแบตตอรี่​ แห่งแรกในไทย
29 พ.ย. 60 - นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมประชุมหารือกับ อ.ธีรวัฒน์ เหล่านภากุล และ อ.นงลักษณ์ มีทอง จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อติดตามความคืบหน้าการก่อสร้างโรงงานต้นแบบผลิตวัสดุนาโนเพื่อแบตตอรี่จากแกลบ Li-ion Battery Material Pilot Plant ซึ่งเป็นโรงงานผลิตแบตตอรี่ชนิดลิเทียมไอออนระดับเซลล์แห่งแรกในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่มีเป้าหมายเชื่อมโยงงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์ในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า รวมถึงอนาคตจะพัฒนาไปสู่การใช้งานในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า นอกจากนี้ กสอ. ยังเตรียมแผนการนำระบบออโตโมชั่นเข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตให้กับโรงงานแห่งนี้ด้วย สำหรับความคืบหน้าของโรงงานต้นแบบแห่งนี้กำลังอยู่ในช่วงของการพิจารณากลั่นกรองโครงการจากคณะทีมงานรองนายกรัฐมนตรี (ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์) เพื่อดำเนินการในขั้นตอนต่อไป #PR.DIP (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สล.กสอ.) รายงาน/ภาพข่าว
29 พ.ย. 2017
พิธีเปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร การวินิจฉัยสถานประกอบการ (shindan) ภาคทฤษฎี
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งที่ดำเนินการพัฒนาผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรมในภูมิภาค ได้ดำเนินงานโครงการ "การสร้างระบบสนับสนุน SMEs แบบบูรณาการในระดับท้องถิ่น” หรือ Regional Integrated SME Promotion Mechanism (RISMEP) ในปีงบประมาณ 2560 ที่ผ่านมาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบและส่งเสริมความแข็งแกร่งของระบบการส่งเสริม SME ในระดับภูมิภาค พร้อมทั้งช่วยยกระดับประสิทธิภาพการให้บริการของหน่วยงานส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และวิสาหกิจชุมชน โดยศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 จังหวัดอุบลราชธานี ได้สร้างและผลักดันให้เกิดเครือข่ายการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม (BDSP) และ ผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม(SP) ในพื้นที่ วันที่ 29 พฤศจิกายน 2560 นายรังสรร บุญสะอาด อุตสาหกรรมจังหวัดอุบลราชธานี พร้อมด้วยนางวีระวรรณ ปัณฑรสูตร ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 ให้เกียรติเป็นประธาน ในพิธีเปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร การวินิจฉัยสถานประกอบการ (shindan) ภาคทฤษฎี ระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน ถึง 1 ธันวาคม 2560 ณ โรงแรมสุนีย์ แกรนด์ โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ จังหวัดอุบลราชธานี โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “การวินิจฉัยสถานประกอบการ (Shindan)” ภายใต้โครงการพัฒนาระบบการให้บริการและสนับสนุนปัจจัยเอื้อต่อการประกอบธุรกิจยุกต์ใหม่โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการวินิจฉัยสถานประกอบการ เพื่อให้เกิดทักษะประสบการณ์การในการวินิจฉัยสถานประกอบการอย่างมืออาชีพ ทั้งนี้ในปีงบประมาณ 2561 มีกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นบุคลากรของหน่วยงานเครือข่ายสังกัดมหาวิทยาลัย ในพื้นที่รับผิดชอบของ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 ที่ยังไม่เคยผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรดังกล่าว มาก่อน เพื่อให้ผู้ผ่านการฝึกอบรมได้รับความรู้ ทักษะและประสบการณ์ในการวินิจฉัยสถานประกอบการ และผ่านการฝึกอบรมสามารถวินิจฉัยปัญหาของผู้ประกอบการ SMEs ในเขตภูมิภาคได้อย่างมีประสิทธิภาพ https://ipc7.dip.go.th/ ---------------------------------------------------------- ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม ให้มีสมรรถนะและขีดความสามารถในการประกอบการที่เป็นเลิศและมีความยั่งยืนสู่สากล โทรศัพท์ : (045)311987 โทรสาร : (045)311987 website : https://ipc7.dip.go.th
29 พ.ย. 2017
ร่วมเป็นวิทยากร บรรยายเกี่ยวกับการพัฒนางานวิจัยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม
29 พฤศจิกายน 2560 นางวีระวรรณ ปัณฑรสูตร ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 มอบหมายให้ นายอุเทน โชติชัย ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงานภูมิภาค ร่วมเป็นวิทยากร บรรยายเกี่ยวกับการพัฒนางานวิจัยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ในโครงการ การพัฒนาโจทย์เพื่อขอรับทุนวิจัยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ประจำปี 2561 โดยมี ผศ. สพ.ญ. ดร.สุรีรัตน์ บุตรพรหม รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนานวัตกรรม เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการณ ห้องประชุมโกมุท ชั้น 4 อาคารเรียนและปฏิบัติการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี สถาบันวิจัยและพัฒนา ขอบคุณภาพประกอบจาก งานประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี https://ipc7.dip.go.th/ ---------------------------------------------------------- ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม ให้มีสมรรถนะและขีดความสามารถในการประกอบการที่เป็นเลิศและมีความยั่งยืนสู่สากล โทรศัพท์ : (045)311987 โทรสาร : (045)311987 website : https://ipc7.dip.go.th
29 พ.ย. 2017
เริ่มต้นธุรกิจ
เริ่มต้นธุรกิจ อยู่ระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา
29 พ.ย. 2017
ก.อุต ปล่อยกู้กองทุนประชารัฐรอบ 2 ทุ่ม 320 ล้านหนุน SMEsทั่วปท.
กระทรวงอุตสาหรรม โดย กสอ. เผยความคืบหน้ากองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐปล่อยกู้ไปแล้วกว่า 4พันล้านบาท เตรียมปล่อยสินเชื่อ รอบ 2 เดือนธ.ค.นี้ พร้อมเตรียมทุ่มงบกว่า 320 ล้าน ให้อุตฯ ภาคทั้ง 11 แห่ง เร่งให้การส่งเสริม SMEs ทั่วประเทศ ตั้งเป้าช่วยเหลือเอสเอ็มอี 5,000 ราย นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยถึง ความคืบหน้ากองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ วงเงิน 20,000 ล้านบาท จากนโยบายของรัฐบาล โดยล่าสุดนับตั้งแต่เปิดโครงการเดือนพฤษภาคม ถึงตุลาคม 2560 มีการอนุมัติเงินกู้ผ่านทางธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SME Development Bank ไปแล้วกว่า 1,118 ราย วงเงินกว่า 4,423 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ในการพิจารณาหลักเกณฑ์คุณสมบัติของโครงการมี SMEs จำนวนหนึ่งที่คุณสมบัติไม่ครบตามเกณฑ์การพิจารณา ทำให้ขณะนี้ทางกองทุนฯ ยังมีวงเงินเหลือให้กับ SMEs ที่ประสงค์ จะยื่นคำขอสินเชื่อ คณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนา เอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ จึงมีมติให้ขยายการเปิดรับการยื่นขอสินเชื่อออกไปจนถึงเดือนธันวาคม 2560สำหรับในปี 2561 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ในฐานะหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อน SMEs ได้เตรียมออกมาตรการช่วยเหลือ SMEs อย่างต่อเนื่องตามแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจระดับท้องถิ่น (Local Economy) และ ยุทธศาสตร์จังหวัด ซึ่งขณะนี้ได้สั่งการให้ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคทั้ง 11 แห่ง เร่งจัดทำแผนปฏิบัติการที่เป็นรูปธรรม ในการช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในแต่ละจังหวัดแล้ว รวมถึงการออกคูปอง สำหรับใช้บริการด้านต่าง ๆ อาทิ บริการปรึกษาแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ การใช้บริการ ศูนย์วิเคราะห์ วิจัย และทดสอบผลิตภัณฑ์ และการพัฒนาบุคลากร เป็นต้น ทั้งนี้ 2 กิจกรรมดังกล่าวมีเป้าหมายให้ SMEs ใช้บริการจำนวน 5,000 ราย ในวงเงินทั้งสิ้น 320 ล้านบาท โดยใช้งบประมาณจากกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ (กองทุน 20,000 ล้าน) นอกจากนี้ กสอ. ยังเตรียมแผนการ ใช้โมเดลศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมแห่งอนาคต (ITC) จากส่วนกลางที่ได้เริ่มดำเนินการแล้ว เพื่อเป็นต้นแบบในการยกระดับ งานบริการไปยังศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคทั้ง 11 แห่ง นำไปใช้เป็นเครื่องมือสนับสนุน SMEs ให้เข้มแข็งในระดับภูมิภาคต่อไป ขณะเดียวกันก็ได้มีการเชิญชวนผู้ประกอบการรายใหญ่ที่มีความเชี่ยวชาญแต่ละด้านมาให้คำปรึกษาแนะนำแก่ SMEs เสมือนเป็นพี่เลี้ยง กว่า 20 บริษัท อาทิ SCG ปตท. เด็นโซ่ เดลต้า โตโยต้า ฮอนดา นิสสัน เป็นต้น นอกจากนี้ กสอ. และ สสว. ยังมีการเตรียมสร้างกลไกเชื่อมโยงเพื่อส่งเสริม SMEs เข้าสู่ Digital Value Chai โดยพัฒนาแพลตฟอร์มรูปแบบเว็บไซต์ T-Good Tech ขึ้นมา เพื่อนำ SMEs ในแต่ละโครงการของรัฐจำนวน 5,000 ราย เข้าไปทำการเชื่อมโยงเป็นซัพพลายเชนกับผู้ประกอบการรายใหญ่ โดยล่าสุดกระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรม ของญี่ปุ่น หรือ METI ได้มอบหมายให้องค์การเพื่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและนวัตกรรม ภูมิภาคแห่งประเทศญี่ปุ่น หรือ SMRJ ส่งผู้เชี่ยวชาญเข้ามาประจำที่ไทยเพื่อช่วยจัดทำแพลตฟอร์มการเชื่อมโยง SMEs ของไทยกับไทย และในอนาคตจะเชื่อมไทยไปยังผู้ประกอบการของญี่ปุ่น รวมถึงเชื่อมไทยไปยัง กลุ่ม AEC อีกด้วย ด้านนายบุ่นเอี้ยน ศรีแสนสุชาติ กรรมการผู้จัดการ บจก. ศรีทรัพย์ ขนส่ง หนึ่งในผู้ประกอบการที่ได้ ยื่นขอกู้จำนวน 10 ล้านบาท เพื่อนำไปซื้อหัวรถลากคอนเทนเนอร์รุ่นใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ประหยัดพลังงาน เป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อม และมีระบบ GPS“ผมได้ทราบข่าวว่ากระทรวงอุตสาหกรรม มีกองทุนดอกเบี้ยต่ำเพียง 1% ก็เลยไป ขอกู้ผ่านธนาคาร SME Development Bank จำนวนเงิน 10 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นข่าวดีที่ทำให้เราได้เปลี่ยนรถรุ่นใหม่ ที่ประหยัดเชื้อเพลิง ช่วยลดต้นทุน และมีระบบ GPS สามารถตรวจสอบพฤติกรรมคนขับรถว่ามีความประมาท สุ่มเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหรือไม่ ถ้ามีเราก็สั่งหยุดรถคนนั้นได้ และนำตัวคนขับรถคนนั้นไปเข้าโครงการอบรม เพื่อลดอุบัติเหตุ ทำให้การบริการของเรามีคุณภาพมากขึ้นในยุคไทยแลนด์ 4.0 และที่สำคัญการเกิดขึ้นของกองทุนฯ มีประโยชน์เป็นอย่างมาก ทั้งช่วยลดต้นทุนในการพัฒนาและขยายกิจการ เมื่อเราสามารถขยายกิจการหรือเพิ่มศักยภาพธุรกิจของเราได้ ก็จะสามารถให้บริการได้ดี มีคุณภาพมากขึ้น สามารถรับ-ส่งของได้ตรงตามเวลา ซึ่งถือเป็นหัวใจสำหรับธุรกิจการขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์”ขณะที่ นางกิตติมา ทองเกตุ รองกรรมการผู้จัดการ บจก. ด.เด็ก กินผัก ที่นอกจากจะได้รับเงินส่งเสริมในการทำธุรกิจแล้ว ยังได้รับการสนับสนุนจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมอีกหลายด้าน อย่างโครงการ SMEs Spring Up การได้รับคำปรึกษาแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญจนทำให้บริษัทได้รับรองมาตรฐานทั้ง GMP HACCP หรืออย่างล่าสุด ได้เข้าโครงการ Future Food เพื่อขยายตลาดโดยการทำ Digital Marketing “โครงการเหล่านี้ ล้วนมีประโยชน์มากกับผู้ประกอบการ SMEs นับเป็นจุดเริ่มและเป็นบันไดให้กับเราในการยื่นขอสินเชื่อกับกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ อย่างไรก็ดีสิ่งหนึ่ง ที่บริษัทยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่องคือ การใช้นวัตกรรมในการดำเนินธุรกิจ เพราะถ้าสินค้าไม่มีนวัตกรรม บริษัทก็แข่งขันไม่ได้ อย่างตอนนี้ ไม่ว่าจะคุยกับช่องทางการจัดจำหน่ายที่ไหน ถ้าสินค้าเรามีลักษณะเหมือนกับคนอื่น เขาก็ไม่จะอยากคุยกับเรา แต่ถ้าสินค้าเราแปลก แตกต่าง ก็จะมีแต่คนอยากคุยกับเรา อยากเป็นตัวแทนเรา อยากจะร่วมทำธุรกิจกับเรา เพราะฉะนั้นแล้ว สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องคำนึงถึงคือ 1. เรื่องของนวัตกรรม ไม่ว่าจะเป็นนวัตกรรมสินค้า นวัตกรรมการผลิต หรือแม้แต่นวัตกรรมในการสร้างแบรนด์ 2.การทำการตลาด เมื่อเราคิดจะก้าวกระโดดมาทำให้สินค้าเราเป็นที่จดจำของผู้บริโภค การสร้างแบรนด์ จึงเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งผู้ประกอบการหลายคนยังไม่เข้าใจจุดนี้ โดยเฉพาะในช่วงโลกดิจิทัลตอนนี้ เราสามารถใช้ระบบดิจิทัล ในการสร้างแบรนด์ได้”สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจรายละเอียด สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาค ศูนย์สนับสนุนและช่วยเหลือ SME ทั่วประเทศ หรือที่ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวี โทรศัพท์ 0-2202-4508-9 อ้างอิง https://goo.gl/RAUNnK
29 พ.ย. 2017
rismep
Vol 1 (เม.ย. - มิ.ย. 58) Download Vol 2 (ก.ค. - ก.ย. 58) Download Vol 3 (ต.ค. - ธ.ค. 58) Download Vol 4 (เม.ย. - มิ.ย. 60) Download Vol 5 (ม.ค. - มี.ค. 60) Download Vol 6 (พ.ค. - มิ.ย. 60) Download
29 พ.ย. 2017
อุตสาหกรรมสาร พ.ย.-ธ.ค.60
ม.ค.-ก.พ. 2560 มี.ค.-เม.ย. 2560 พ.ค.-มิ.ย. 2560 ก.ค.-ส.ค. 2560 ก.ย.-ต.ค. 2560 พ.ย.-ธ.ค. 2560 ม.ค.-ก.พ. 2559 มี.ค.-เม.ย. 2559 พ.ค.-มิ.ย. 2559 ก.ค.-ส.ค. 2559 ก.ย.-ต.ค. 2559 พ.ย.-ธ.ค. 2559 ม.ค.-ก.พ. 2558 มี.ค.-เม.ย. 2558 พ.ค.-มิ.ย. 2558 ก.ค.-ส.ค. 2558 ก.ย.-ต.ค. 2558 พ.ย.-ธ.ค. 2558 ม.ค.-ก.พ. 2557 มี.ค.-เม.ย. 2557 พ.ค.-มิ.ย. 2557 ก.ค.-ส.ค. 2557 ก.ย.-ต.ค. 2557 พ.ย.-ธ.ค. 2557 ม.ค.-ก.พ. 2556 มี.ค.-เม.ย. 2556 พ.ค.-มิ.ย. 2556 ก.ค.-ส.ค. 2556 ก.ย.- ต.ค. 2556 พ.ย.-ธ.ค. 2556 ม.ค.-ก.พ. 2555 มี.ค.-เม.ย. 2555 พ.ค.-มิ.ย. 2555 ก.ค.-ส.ค. 2555 ก.ย.-ต.ค. 2555 พ.ย.-ธ.ค. 2555 ม.ค.-ก.พ. 2554 มี.ค.-เม.ย. 2554 พ.ค.-มิ.ย. 2554 ก.ค.-ส.ค. 2554 ก.ย.-ต.ค. 2554 พ.ย.-ธ.ค. 2554 ม.ค.-ก.พ. 2553 มี.ค.-เม.ย. 2553 พ.ค.-มิ.ย. 2553 ก.ค.-ส.ค. 2553 ก.ย.-ต.ค. 2553 พ.ย.-ธ.ค. 2553 ม.ค.-ก.พ. 2552 มี.ค.-เม.ย. 2552 พ.ค.-มิ.ย. 2552 ก.ค.-ส.ค. 2552 ก.ย.-ต.ค. 2552 พ.ย.-ธ.ค. 2552 ม.ค.-ก.พ. 2551 มี.ค.-เม.ย. 2551 พ.ค.-มิ.ย. 2551 ก.ค.-ส.ค. 2551 ก.ย.-ต.ค. 2551 พ.ย.-ธ.ค. 2551 ม.ค.-ก.พ. 2550 มี.ค.-เม.ย. 2550 พ.ค.-มิ.ย. 2550 ก.ค.-ส.ค. 2550 ก.ย.-ต.ค. 2550 พ.ย.-ธ.ค. 2550
29 พ.ย. 2017
การแข่งขันทางธุรกิจเริ่มสูงขึ้น ผู้ประกอบการด้านธุรกิจก็เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ เราต้องมีการเตรียมความพร้อมอย่างไร ให้เติบโตได้ในปี 2018
การแข่งขันทางธุรกิจเริ่มสูงขึ้น ผู้ประกอบการด้านธุรกิจก็เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ เราต้องมีการเตรียมความพร้อมอย่างไร ให้เติบโตได้ในปี 2018 1.ศึกษาเทรนด์ธุรกิจและคู่แข่งให้ดี ว่าตอนนี้ได้มีการพัฒนาไปถึงไหนแล้ว พร้อมสังเกตคู่แข่งของเราด้วยว่า อยู่ในขั้นไหน ทำอะไรอยู่ เราสามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้หรือไม่ 2.เริ่มต้นเตรียมทีมธุรกิจให้พร้อมสำหรับการเติบโต คนในทีมถือว่ามีส่วนสำคัญในการเติบโตของธุรกิจ เราควรมีการเตรียมความพร้อม ทั้งใจ ทั้งกายให้ดี จะต้องมีทักษะ สร้างความประทับใจให้กับลูกค้าของเราด้วย 3.รู้ช่องทางการขายที่เหมาะสมกับลูกค้าของคุณ ทั้งนี้การขายของช่องทางเดียวมักจะไม่ตอบโจทย์กับลูกค้าแล้ว เช่น ขายออนไลน์ และต้องมีหน้าร้านขายด้วย เพื่อให้ลูกค้าได้เห็นหรือลองของจริงที่หน้าร้าน จะได้ตัดสินใจเลือกซื้อได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ต้องดูด้วยว่าสินค้าที่เราขายคนส่วนใหญ่สนใจในช่องทางไหน ออนไลน์หรือ หน้าร้าน ต้องดูให้ดี 4.มีระบบจัดเก็บข้อมูลที่ดี การจัดเก็บข้อมูลถือเป็นสิ่งสำคัญมาก ธุรกิจที่ดีต้องมีการจัดเก็บข้อมูลลูกค้า ข้อมูลสถิติการขาย ข้อมูลสต๊อกสินค้า หรือข้อมูลช่องทางการจัดจำหน่าย ดูที่สถิติว่าคนสนใจแบบใดมากที่สุด เพื่อนำมาปรับ หรือพัฒนาธุรกิจของเราให้ดียิ่งขึ้น ที่มา : ธนาคารออมสิน
28 พ.ย. 2017
เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ การจัดทำทบทวนแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมจังหวัดอุบลราชธานี
28 พฤศจิกายน 2560 นางวีระวรรณ ปัณฑรสูตร ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 มอบหมายให้ นายอุเทน โชติชัย ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงานภูมิภาค , นางสาวชุติกาดา ภาพสิงห์ เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ การจัดทำทบทวนแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมจังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ.2560-2564 ณ โรงแรมเดอะรีเจนท์ จังหวัดอุบลราชธานี https://ipc7.dip.go.th/----------------------------------------------------------ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม ให้มีสมรรถนะและขีดความสามารถในการประกอบการที่เป็นเลิศและมีความยั่งยืนสู่สากลโทรศัพท์ : (045)311987โทรสาร : (045)311987website : https://ipc7.dip.go.th
28 พ.ย. 2017
ร่วมประชุมคณะอนุกรรมการและคณะทำงานทบทวนแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2
28 พฤศจิกายน 2560 นางวีระวรรณ ปัณฑรสูตร ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 มอบหมายให้ นายอุเทน โชติชัย ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงานภูมิภาค , นางสาวชุติกาดา ภาพสิงห์ เข้าร่วมประชุมคณะอนุกรรมการและคณะทำงานทบทวนแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 และจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562 ครั้งที่ 1/2560 ณ ห้องประชุมปทุมวรราช ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี https://ipc7.dip.go.th/----------------------------------------------------------ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม ให้มีสมรรถนะและขีดความสามารถในการประกอบการที่เป็นเลิศและมีความยั่งยืนสู่สากลโทรศัพท์ : (045)311987โทรสาร : (045)311987website : https://ipc7.dip.go.th
28 พ.ย. 2017