มองหาโอกาสธุรกิจ เพื่อรองรับการก้าวเข้าสู่ สังคมผู้สูงวัย
โลกกำลังเข้าสู่ สังคมผู้สูงวัย (aging society) โดยเฉพาะในกลุ่มอาเซียนที่มีประชากรอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไปถึง 36.9 ล้านคน คิดเป็น 5.89% ของประชากรทั้งหมดในอาเซียน สำหรับประเทศไทยมีประชากร กว่า 66 ล้านคน มีจำนวนผู้สูงอายุที่อายุมากกว่า 65 ปี ราว 6.5 ล้านคน คิดเป็น 9.9% ของประชากรทั้งหมด ซึ่งไทยเป็นประเทศที่มีสัดส่วนผู้สูงอายุมากเป็นอันดับสองของอาเซียนรองจากสิงคโปร์ โดยประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างเต็มรูปแบบในปี 2564 สำหรับประเภทสินค้าและบริการเกี่ยวกับผู้สูงอายุที่มีโอกาสเติบโต ได้แก่ เวชภัณฑ์ และการดูแลสุขภาพ (Pharma & Healthcare) ลักษณะโรคของกลุ่มผู้สูงอายุเปลี่ยนไปเป็นโรคเรื้อรัง มากขึ้น กว่า 80% ของผู้สูงอายุมี 1 โรคเรื้อรัง ได้แก่โรคหัวใจและหลอดเลือด (อันดับ 1) โรคมะเร็ง, ภาวะสมองเสื่อม เบาหวาน โรคกระดูกพรุน โรคข้ออักเสบ ระบบการเงินผู้สูงวัย รัฐมีภาระที่จะต้องจ่ายภาระเบี้ยหวัดบำนาญมากขึ้น จนกองทุนบำเหน็จบำนาญเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ และจะเปลี่ยนจากกองทุนรัฐ เป็นของเอกชนมาช่วยแบกภาระ สินค้าอุปโภค บริโภค อุตสาหกรรมอาหารแปรรูปโดยเฉพาะอาหารเพื่อสุขภาพ เช่น อาหารไขมันต่ำ ไม่มีคอเลสเตอรอล น้ำตาลน้อยหรือไม่ใส่เลย ผลิตภัณฑ์ที่ป้องกันหรือช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ อาทิ โรคหัวใจและหลอดเลือด มะเร็ง เบาหวาน และระบบย่อย เป็นต้น กลุ่มผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพที่มาแรงที่สุด คือ กลุ่มอาหารและเครื่องดื่มรองลงมาคือ อาหารที่มาจากธรรมชาติและดีต่อสุขภาพ และกลุ่มที่มีแนวโน้มเติบโตมาก คือ วิตามินและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางประเภทออร์แกนิกส์ (Organics) ที่ผลิตจากธรรมชาติหรือสมุนไพร และกำลังได้รับความสนใจจากผู้สูงอายุ เนื่องจากผู้บริโภคมั่นใจว่าปลอดภัยกว่าการใช้สารเคมี การท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุ เป็นการเดินทางที่มีกิจกรรมไม่หนัก ไม่ต้องเดินไกล ใช้เวลาแต่ละสถานที่ค่อนข้างนาน มีการแวะพักเพื่อเอื้อต่อการเข้าห้องน้ำที่บ่อยขึ้น ติดตั้งอุปกรณ์อำนวยความสะดวกอยู่ในรถ เช่น วีลแชร์ เป็นต้น หรือสินค้าที่จำหน่ายในระหว่างเส้นทางท่องเที่ยวก็ใช้ชื่อว่า “มุมสุขภาพ” เพื่อให้ผู้ซื้อไม่รู้สึกเขิน เช่นที่ประเทศญี่ปุ่นใช้แทนการระบุว่าเป็นสินค้าพื่อผู้สูงวัย ธุรกิจบริการผู้สูงวัย มีการปรับเปลี่ยนแบบแผนการดำเนินธุรกิจของตนเองเพื่อให้เหมาะสมกับการบริการผู้สูงวัยมากขึ้น เช่น ซุปเปอร์มาร์เก็ตบางรายในญี่ปุ่น ที่เริ่มปรับเปลี่ยนเวลาเปิดบริการให้เช้าขึ้น จากแต่เดิมที่เปิด 9 โมงเช้ามาเป็นเปิด 7 โมงเช้า ซุปเปอร์มาร์เก็ตบางแห่ง ยังได้มีการเพิ่มบริการรับจัดงานศพแบบเรียบง่ายในราคาย่อมเยาอีกด้วย เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ผู้ที่คาดว่าจะต้องใช้บริการ เนื่องจากบริษัทรับจัดงานศพใหญ่ๆ ในญี่ปุ่นมีค่าบริการที่สูงมาก ร้านกาแฟ-ร้านอาหาร ออกแบบทางเดินให้กว้างขวางกว่าปกติ เพียงพอให้ทั้งรถเข็นและอุปกรณ์ช่วยเดินผ่านได้ เก้าอี้ก็มั่นคงแข็งแรงและโต๊ะก็มีขนาดที่ค่อนข้างเตี้ยกว่ามาตรฐาน เมนูอาหารที่ขายก็เป็นอาหารที่เคี้ยวง่าย พนักงานก็จะบริการส่งอาหารให้ที่โต๊ะ วัสดุก่อสร้าง-อุปกรณ์ สำหรับผู้สูงอายุ กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการสร้างและตกแต่งบ้านที่มีผลต่อความปลอดภัยในการใช้ชีวิตภายในบ้าน การออกแบบผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับกายภาพและชีวิตความเป็นอยู่ของผู้สูงวัย เช่น ก๊อกน้ำ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เลือกแบบปัดไปด้านข้างมากกว่าแบบหมุนหรือกด ลูกบิดประตู เลือกแบบก้านโยก จับถนัดมือ สวิทซ์-ปลั๊กไฟ ที่ใหญ่ มีสีสันที่เห็นชัดเจน เฟอร์นิเจอร์สำหรับผู้สูงอายุ กลุ่มผู้สูงอายุมีข้อจำกัดในการดำเนินชีวิตเนื่องจากสภาพร่างกายเริ่มเสื่อมถอย ดังนั้น ผู้ประกอบการในธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ และเครื่องใช้ภายในบ้าน โดยเฟอร์นิเจอร์เพื่อผู้สูงอายุได้แก่ เตียงนอนที่สามารถปรับระดับได้และไม่สูงเกินไป ที่นอนยางพาราที่มีความแข็งตัว เก้าอี้ไม้ที่มีพนักพิง และหมอนเพื่อผู้สูงอายุ เป็นต้น อสังหาริมทรัพย์ ที่เกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุ จะเป็นธุรกิจอันดับต้นๆ ที่ได้รับประโยชน์จากการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยคาดว่าในระยะแรกจะเป็นโอกาสของธุรกิจที่ให้บริการดูแลผู้สูงอายุเป็นระยะสั้นๆ เช่น การดูแลระหว่างวันแบบไปเช้าเย็นกลับ(Daycare) และการพักฟื้นระยะยาว(Longstay) ที่พำนักระยะยาวจะมีโอกาสขยายตัวมากขึ้นซึ่งจะได้รับแรงผลักดันจากทั้งผู้สูงอายุคนไทยและชาวต่างชาติ ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยควรเริ่มปรับตัวและติดตามพฤติกรรมของสังคมไทยที่จะเปลี่ยนไป รวมถึงศึกษารูปแบบธุรกิจที่เหมาะสมกับตลาดคนไทย อย่างไรก็ตามจะพบว่า ทั้ง 8 ธุรกิจนี้ มีโอกาสสำคัญในการขยายฐานลูกค้าของผู้ประกอบการ ซึ่งหากมองในมุมอาเซียน และอาเซียน +3 (จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้) ที่มีจำนวนผู้สูงอายุรวมกันกว่า 300 ล้านคน ถือเป็นจำนวนที่ค่อนข้างสูงและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจึงเป็นโอกาสที่ดีที่ผู้ประกอบการจะผลิตสินค้าให้ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคกลุ่มนี้ ที่มา
05 ก.พ. 2018
อุตฯชงครม.เคาะมาตรการเสริม หนุนอุตฯเชื้อเพลิงชีวภาพ-อาหารแปรรูป
นายพสุ โลหารชุน ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ในปี 2561 กระทรวงได้เตรียมนำเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.)ให้พิจารณามาตรการส่งเสริม 2 อุตสาหกรรม ตามแผนพัฒนาและขับเคลื่อน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) คือ 1.อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ โดยผลักดันโครงการเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio economy) ผ่านคณะทำงานด้านการพัฒนาคลัสเตอร์อุตสาหกรรมแห่งอนาคต ภายใต้การสานพลังประชารัฐ โดยการนำของภาครัฐและเอกชนรายใหญ่ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศสู่ยุค 4.0 คือ การทำเกษตรสมัยใหม่ (Modern Farming) อาทิ การเกษตรแม่นยำสูงด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และเครื่องจักรกลการเกษตรอย่างเต็มประสิทธิภาพ และการสร้างศูนย์อุตสาหกรรมชีวภาพครบวงจร (Bio refinery Complex) เพื่อต่อยอดผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มสูง โดยขณะนี้มีโครงการนำร่องที่อยู่ระหว่างดำเนินการคือโครงการอุตสาหกรรมน้ำตาลครบวงจร (Sugar Complex) ที่ จ.นครสวรรค์ การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมชีวภาพ (Bio refinery) ที่ จ.ขอนแก่น รวมถึงโครงการอุตสาหกรรมแปรรูปปาล์มครบวงจร (Palm Complex) ที่ จ.ชลบุรี ซึ่งเริ่มดำเนินการแล้ว 2.อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป จะเน้นการปรับเปลี่ยนโครงสร้างจากเดิมไปสู่ผลิตภัณฑ์แปรรูปที่มีมูลค่าเพิ่มสูงบนฐานของนวัตกรรม ได้แก่ อาหารสุขภาพและอาหารแห่งอนาคต เช่น อาหารเชิงสุขภาพที่ปรับลดปริมาณอาหารให้เหมาะสมต่อความต้องการพลังงาน รวมถึงการยกระดับวิสาหกิจชุมชนที่ผลิตยา สมุนไพร ให้มีการผลิตเป็นอุตสาหกรรมมากขึ้น โดยทั้ง 2 มาตรการข้างต้น คาดว่าจะนำเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาได้ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2561 ทั้งนี้ในปีที่ผ่านมาครม.ได้อนุมัติ 2 มาตรการ ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมได้นำเสนอ คือ อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน เป้าหมายเพื่อเปลี่ยนผ่านสู่ยุครถยนต์ไฟฟ้า และรักษาฐานการผลิตยานยนต์ระดับโลกให้อยู่ในประเทศไทยต่อไป โดยผลักดันให้เกิดการลงทุนผลิตรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า (xEV) และการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ที่เกี่ยวข้อง และอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ เป้าหมายภายใน 5 ปี จะมีการลงทุนขยายตัว 200,000 ล้านบาท มีการใช้หุ่นยนต์ที่ผลิตภายในเพิ่มขึ้น 50% และลดการนำเข้าหุ่นยนต์จากต่างประเทศลง 30% นายพสุ กล่าวว่า ในปี 2560 กรมโรงงานอุตสาหกรรม ได้จัดเก็บสถิติ กลุ่ม 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย มียอดการแจ้งประกอบและขยายกิจการโรงงาน จำนวนรวม 1,487 ราย เงินลงทุน 182,577 ล้านบาท มีการจ้างใหม่ จำนวน 91,563 คน โดยอุตสาหกรรมที่มีการลงทุนมากที่สุด คือ อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร เงินลงทุน 92,338 ล้านบาท อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เงินลงทุน 41,840 ล้านบาท และอุตสาหกรรมยานยนต์ เงินลงทุน 35,804 ล้านบาท ทั้งนี้อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ได้รับใบอนุญาตประกอบและขยายกิจการมากที่สุด 974 โรงงาน รองลงมา อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 175 โรงงาน และอุตสาหกรรมยานยนต์ จำนวน 111 โรงงาน อ้างอิง แนวหน้า
04 ก.พ. 2018
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ผนึกกำลังสถาบันอาหาร ผุดหลักสูตรอบรมติวเข้ม ยกระดับ SMEs สู่ตลาดโลก
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) จับมือสถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดตัวกิจกรรมพัฒนาผู้ประกอบการด้วยเครื่องมือการบริหารจัดการสมัยใหม่ (Advance SME Program) ประจำปี 2561 นำร่องหลักสูตรอบรม SMEs แบบครบเครื่อง ทั้งด้านทักษะการผลิต การบริหารจัดการ เทคโนโลยี และนวัตกรรม โดยปีแรกเน้นพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต หวังยกระดับเป็น Smart SMEs และ Global SMEs ตั้งเป้าเกิดนวัตกรรมใหม่ 1 เรื่อง และเพิ่มมูลค่ายอดขาย หรือลดต้นทุนให้ผู้ประกอบการได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 – 5 ชี้แนวโน้มโครงสร้างอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มของไทย ทั้งรูปแบบสินค้า และตลาดส่งออกจะเปลี่ยนแปลงไป อาหารอนาคตหรือ Future Food มีศักยภาพสูง ไทยจะลดการพึ่งพิงตลาดเดิมนอกภูมิภาคและหันมากระจายสินค้าสู่ตลาดอาเซียน ญี่ปุ่น และจีนมากขึ้น.....อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม / ภาพกิจกรรม
31 ม.ค. 2018
กสอ.ชู 3 P เน้นพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ผ่านงาน “มหกรรมผลิตภัณฑ์ชุมชน”
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) จัดกิจกรรมทดสอบตลาด ภายใต้ชื่องาน “มหกรรมผลิตภัณฑ์ชุมชน” เน้นหนุนผู้ประกอบการชุมชนตอบโจทย์ผู้บริโภคอย่างตรงจุด ยึดหลัก “การตลาดนำการผลิต” หวังต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตรงความต้องการของตลาด สร้างอำนาจต่อรอง และเพิ่มศักยภาพผ่านโมเดลการพัฒนา 3 P นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กสอ.ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาขีดความสามารถ และการสร้างโอกาสทางธุรกิจให้แก่ภาคอุตสาหกรรมทั้งระดับ SMEs และระดับฐานราก โดยเฉพาะการขยายตลาดจากระดับภายในประเทศสู่ตลาดต่างประเทศที่มีศักยภาพสำหรับสินค้าผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมชุมชน ซึ่ง กสอ.ได้มีโครงการที่เหมาะสมสำหรับกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากผ่านโมเดล 3 P คือ 1.People หรือ การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ โดยเป็นการให้คำแนะนำสำหรับการเป็นผู้ประกอบการมืออาชีพ โดยมีการแบ่งหลักสูตรที่เหมาะสม เช่น ผู้ประกอบการชุมชนคนรุ่นใหม่ ผู้ประกอบการชุมชนก้าวสู่สังคมดิจิทัล 2.Process หรือ การพัฒนาศักยภาพในการผลิต โดยมีการแนะนำให้ความรู้สำหรับการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green OTOP) รวมถึงกระบวนการผลิตที่ให้ได้สู่การรับรองมาตรฐานต่าง ๆ และ 3.Product หรือ การพัฒนาด้านผลิตภัณฑ์ ที่เป็นการให้คำแนะนำส่งเสริมการผลิตและการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้เข้าสู่มาตรฐานสากล โดยการสรรหาผู้มีความชำนาญในแต่ละประเภทอุตสาหกรรมเข้าไปช่วยแนะนำการพัฒนาการผลิตให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค.....อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม /ภาพข่าว
29 ม.ค. 2018
กระทรวงอุตฯ จับมือ เดนโซ่ ทุ่มเต็มที่จัดตั้งศูนย์สาธิตระบบการผลิตยุคใหม่ ในศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม เสริมความแข็งแกร่ง SMEs ไทย
นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม หรือ Industry Transformation Center : ITC เกิดขึ้นจากความร่วมมือของหน่วยงาน 3 กระทรวง คือ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงภาคเอกชนต่าง ๆ ในการช่วยเหลือพร้อมให้คำปรึกษาแนะนำทางธุรกิจ การวิจัยเชิงพาณิชย์ ออกแบบและผลิต รวมทั้งด้านการเงิน ตลอดจนการบ่มเพาะผู้ประกอบการให้สามารถปรับเปลี่ยนไปสู่การดำเนินธุรกิจ และการพัฒนาสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยให้ SMEs ไทยสามารถปรับตัวและพร้อมในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล นอกจากนี้ ยังให้บริการในส่วนของ Co-Working Space การบริการเครื่องจักรกลางที่ได้รับความร่วมมือจากองค์กรขนาดใหญ่ให้ยืมเครื่องจักรที่ทันสมัย เพื่อให้ SMEs สามารถเข้าไปใช้งานได้ เช่น เครื่องสกัดด่วน เครื่องทำอบแห้ง เครื่องสกัดน้ำมันหอมระเหย ฯลฯ ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลา 5 เดือน นับจากการเปิดตัวของศูนย์ ITC ตั้งแต่เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ได้พัฒนาผลงานนวัตกรรมให้ SMEs ไปแล้วกว่า 40 ชิ้นงาน คิดเป็นมูลค่ากว่า 3 ล้านบาท ซึ่งในระยะแรกถือว่าได้สร้างความตระหนักให้กับ SMEs ที่เข้ามาขอรับความช่วยเหลือในเบื้องต้น และเป็นตัวอย่างให้แก่ SMEs รายอื่น ๆ ในการเข้ามาใช้บริการศูนย์ ITC ในการพัฒนาตัวเองให้มากยิ่งขึ้นต่อไป.....อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
19 ม.ค. 2018
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จับมือสถาบันอาหาร ติวเข้มเอสเอ็มอี เพิ่มผลิตภาพ
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมกับสถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม จัดอบรม เอสเอ็มอีอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป หวังเพิ่มผลิตภาพให้ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด และมีความพร้อมขอยื่นรับรองมาตรฐานด้านอาหารได้ในระดับสากลนางอารยา ดำรงศักดิ์ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการจัดการธุรกิจ กองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นประธานในพิธีเปิด “กิจกรรมการพัฒนาเอสเอ็มอีเพื่อเพิ่มผลิตภาพหรือเตรียมความพร้อมการขอการรับรองมาตรฐานสากล” ซึ่งกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้ร่วมกับสถาบันอาหารจัดขึ้น ภายใต้โครงการเพิ่มศักยภาพและยกระดับเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเป้าหมาย ปีงบประมาณ 2561 ในช่วงเช้ามีการบรรยายพิเศษ เรื่อง “บทบาทของ อย. กับมาตรฐานเชิงพาณิชย์ผลิตภัณฑ์อาหารแห่งอนาคต” โดยนางสาวจิรารัตน์ เทศะศิลป์ นักวิชาการอาหารและยาชำนาญการพิเศษ กลุ่มกำหนดมาตรฐานสำนักอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และชี้แจงข้อมูลรายละเอียดโครงการโดยผู้เกี่ยวข้อง มีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีสาขาอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป ทั้งในภาคการผลิต การบริการ และการค้าของไทย เข้ารับการอบรมจำนวน 92 คน โดยมีดร.วิเชียร ฤกษ์พัฒนกิจ ที่ปรึกษาสถาบันอาหาร และคณะให้การต้อนรับ เมื่อเร็วๆ นี้ ณ ศูนย์การเรียนรู้อาหารไทย ถ.อรุณอมรินทร์นางอารยา ดำรงศักดิ์ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการจัดการธุรกิจ กองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมและสถาบันอาหาร ได้จัดทำกิจกรรมดังกล่าวขึ้น เพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาเอสเอ็มอีในสาขาอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป ให้มีผลิตภาพเพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด ขณะเดียวกันก็เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของสถานประกอบการในการขอรับรองมาตรฐานสากลทางด้านอาหาร โดยอาศัยกระบวนการให้คำปรึกษาเชิงลึก จากทีมที่ปรึกษาที่มีความรู้และประสบการณ์เฉพาะทางจากสถาบันอาหาร มีเป้าหมายในการพัฒนาศักยภาพด้านการผลิต การบรรจุภัณฑ์ และการตลาด“คาดหวังว่าเอสเอ็มอีที่เข้าร่วมโครงการจะมีผลิตภาพเพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด เพื่อเตรียมความพร้อมให้สามารถขอรับรองมาตรฐานสากลทางด้านอาหาร อาทิ ลดของเสียไม่น้อยกว่า 3% ลดต้นทุนไม่น้อย 6% เพิ่มมูลค่ายอดขายไม่น้อยกว่า 9% และเตรียมความพร้อมให้เอสเอ็มอีในการยื่นขอการรับรองมาตรฐานสากลทางด้านอาหาร ได้แก่ GMP, HACCP, IFS, ISO 22000 หรือ FSSC 22000 เป็นต้น” อ้างอิง https://goo.gl/VW6MEu
19 ม.ค. 2018
วิเคราะห์ : Café Amazon ทำไมถึงประสบความสำเร็จ ?? คำถามนี้มีคำตอบ
วิเคราะห์ : Café Amazon ทำไมถึงประสบความสำเร็จ ?? อเมซอน คาเฟ่ ร้านกาแฟชื่อดังที่ทุกคนต่างคุ้นหูคุ้นตา จุดกำเนิดของ Amazon ได้ถือกำเนิดขึ้นที่แรกในปี 2545 จากวันนั้นจนถึงวันนี้ผ่านมาหลายปี แบรนด์นี้ก็ยังแข็งแกร่งอยู่ได้โดยไม่หวาดหวั่นคู่แข่งใดๆ ถ้าจะท้าวความถึงจุดเริ่มต้นร้านกาแฟ Amazon คงต้องบอกว่าธุรกิจกาแฟนี้เกิดขึ้นจากความต้องการของผู้ประกอบการที่ต้องการสร้างธุรกิจใหม่ให้เกิดขึ้นเพื่อต่อยอดจากธุรกิจน้ำมันที่มี และเพื่อใช้พื้นที่ที่เหลือในการสร้างรายได้ หมัดเด็ดของ Cafe Amazon ที่ใช้ฟาดฟันคู่แข่ง ราคา เรื่องของราคาถือว่าเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของลูกค้า โดยราคากาแฟที่ไม่แพงจนเกินไปทำให้ผู้บริโภคจับต้องได้ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้กาแฟอเมซอนสามารถทำกำไรได้ในแต่ละปี ทำเล ทำเล ถือได้ว่าเป็นองค์ประกอบที่สามารถตัดสินความสำเร็จของธุรกิจได้ ทำเลดีมีชัยไปกว่าครึ่ง ซึ่ง Amazon ส่วนใหญ่ทำเลอยู่ในปั๊มน้ำมัน ทำให้ผู้สัญจร นักเดินทางที่ผ่านไปมา สามารถหากาแฟดื่มระหว่างเดินทาง หรือ แวะพักผ่อนระหว่างพักรถได้ โดยทาง Amazon มีสโลแกนว่า “จุดแวะพักสำหรับผู้ใช้รถและคนเดินทาง” รสชาติ ในเรื่องของรสชาติกาแฟ Amazon สามารถสร้างความแตกต่างจากเจ้าอื่นได้ โดยรสชาติที่เข้มข้น กับแนวคิดที่ว่า “Cafe Amazon เข้มข้นเพื่อนคนเดินทาง” เวลา เวลาในการให้บริการของ Cafe Amazon นั้นเปิดตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบ ซึ่งร้านกาแฟส่วนใหญ่น้อยรายที่จะเปิดให้บริการทั้งวันทั้งคืนแบบนี้ สาขา สาขาที่กระจายไปทั่วประเทศไทย ทำให้ผู้บริโภคได้รับความสะดวกในการเข้าใช้บริการ ไปทางไหนก็เจอคาเฟ่อเมซอน หาเจอได้ง่าย และเชื่อได้ว่าคงมีสาขาเปิดเพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆเพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มมากขึ้น ภาพลักษณ์ Cafe Amazon มีการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีมาตั้งแต่เริ่มต้น ไม่ว่าจะเป็นโลโก้ การตกแต่งร้าน การดีไซน์ร้าน รวมไปถึงสโลแกน ที่เน้นความเป็นธรรมชาติ บวกกับการตอกย้ำให้ Cafe Amazon เป็นเพื่อนนักเดินทาง ทำให้ผู้บริโภคซึบซับ และเกิดการจดจำโดยที่ไม่รู้ตัวว่าเดินทางเมื่อไหร่ อยากกินกาแฟ ต้องนึกถึง Cafe Amazon เป็นอันดับแรกๆ ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นการสร้างแบรนด์ที่ถือได้ว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก เรื่องราวที่ลงตัวบวกกับการดีไซน์ภาพลักษณ์ให้สอดคล้องจึงทำให้ผู้บริโภคสามารถจดจำแบรนด์ได้ง่าย สำหรับใครที่มีธุรกิจเป็นของตัวเองก็อย่าลืมนำเทคนิคเหล่านี้ไปปรับใช้กันนะคะ ที่มา https://goo.gl/8YDihm
19 ม.ค. 2018
SME Bank ตั้งศูนย์เคลียร์ปัญหาคาใจผู้ขอสินเชื่อ ผ่านสายด่วน 1357
นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ได้สั่งการให้ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว. หรือ SME Development Bank) ดำเนินการจัดตั้งศูนย์บริการติดตามการยื่น ขอสินเชื่อ ผ่านสายด่วน Call Center 1357 เพื่ออำนวยความสะดวกในการ ปล่อยสินเชื่อและตอบคำถามปัญหาให้กับผู้ประกอบการ SMEs ที่ยื่นขอสินเชื่อธนาคารผ่านโครงการต่างๆ และกองทุนสินเชื่อภาครัฐตามที่ธนาคารได้รับมอบหมาย จากรัฐบาลให้ความช่วยเหลือเงินทุนแก่ผู้ประกอบการ SMEs ทั่วประเทศ ประกอบด้วย กองทุนพัฒนา เอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ โดยกระทรวงอุตสาหกรรม วงเงินกองทุน 20,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยเพียง 1% กองทุนฟื้นฟู SMEs ของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว) วงเงิน 2,000 ล้านบาท ปลอดดอกเบี้ย และสินเชื่อต่างๆ ของธนาคาร ธนาคารได้ตั้งศูนย์ติดตามสินเชื่อ “เคลียร์ คัท ชัดเจน” ผ่านสายด่วน 1357 กด 1 สำหรับกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ กด 2 กองทุนฟื้นฟู SMEs ของ สสว. และ กด 3 โครงการสินเชื่อต่างๆ ของธนาคาร พร้อมให้บริการตั้งแต่วันที่ 4 ธันวาคม 2560 ในเวลาทำการจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.00-17.00 น. “จากการลงพื้นที่ ได้รับคำถามจากผู้ประกอบการหลายๆเรื่องเกี่ยวกับการยื่นขอสินเชื่อ เช่น จะอนุมัติ เมื่อไร ยื่นแล้วจะผ่านไหม อนุมัติแล้วจะเบิกได้เมื่อไร ทำไมถึงล่าช้า ติดปัญหาตรงไหน อย่างนี้เป็นต้น ซึ่งคำถามเหล่านี้ทราบดีว่าเป็นปัญหาคาใจของ ผู้ประกอบการ SMEs มาตลอด ดังนั้น ศูนย์ติดตามสินเชื่อ เคลียร์ คัท ชัดเจน จะตอบคำถามได้ตรงประเด็น ถูกต้อง และรวดเร็ว เบื้องต้นจะมีเจ้าหน้าที่ของธนาคารเป็นผู้ให้บริการข้อมูล และตอบคำถาม ผู้ประกอบการ เพื่อจะสร้างความเชื่อมั่นเรื่องความสุจริต และโปร่งใสในการทำงานทุกขั้นตอน” การจัดตั้งศูนย์ติดตามสินเชื่อดังกล่าว จะช่วยให้ผู้ประกอบการ SMEs ที่ยื่นขอสินเชื่อ กับธนาคารคลายความกังวลใจ เพราะทุกคำถามจะต้องเคลียร์ให้ชัดเจน ผู้ประกอบการเองก็จะได้รู้ถึงความคืบหน้าเพื่อแก้ไขให้ถูกต้องและรวดเร็วยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันศูนย์ฯ แห่งนี้ ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะนำไปพร้อมกันอีกทางหนึ่งด้วย
19 ม.ค. 2018
เปิดตัวโครงการ กิจกรรมการพัฒนาผลิตภาพสถานประกอบการอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป
ภาคเกษตรของไทยมีบทบาทต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในแง่ของการผลิตที่พึ่งพาตนเองได้ และเป็นแหล่งสร้างรายได้ให้แก่ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ เพื่อให้อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปมีความเจริญก้าวหน้า ในด้านเทคโนโลยีการผลิตสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพได้มาตรฐานสากล มีการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ สนองตอบผู้บริโภคที่หลากหลาย 15 มกราคม 2561 นางวีระวรรณ ปัณฑรสูตร ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 ให้เกียรติเป็นประธาน ในพิธีเปิดตัวโครงการ กิจกรรมการพัฒนาผลิตภาพสถานประกอบการอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป ภายใต้โครงการเพิ่มศักยภาพและยกระดับเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเป้าหมาย ณ โรงแรมเนวาด้า คอนเวนชั่น โฮเทล อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ดำเนินกิจกรรมโดย บ.ไอคิวเอส แมเนจเม้นท์จำกัด https://ipc7.dip.go.th/ ---------------------------------------------------- ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม ให้มีสมรรถนะและขีดความสามารถในการประกอบการที่เป็นเลิศและมีความยั่งยืนสู่สากล โทรศัพท์ : 045314216-7 โทรสาร : (045)311987 website : https://ipc7.dip.go.th
15 ม.ค. 2018