กระทรวงอุตฯ ลงพื้นที่ดึง​ Big Brothers​ มอบเครื่องมือ เสริมแกร่งเกษตรกรไทย
จ.เพชรบุรี 5 มีนาคม 2561- นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายภานุวัฒน์ ตริยางกูรศรี รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางสาวสุนีย์รัตน์ ภู่ขำ นายอำเภอบ้านลาด จ.เพชรบุรี คณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม และคณะสื่อมวลชน ลงพื้นที่เยี่ยมชมการดำเนินงานและรับฟังปัญหาต่าง ๆ ของสหกรณ์การเกษตรบ้านลาด จ.เพชรบุรี ซึ่งเป็นกลุ่มผลิตกล้วยหอมทองบรรจุหีบห่อที่มีขายตามเซเว่นต่างๆ สำหรับการเยี่ยมชมครั้งนี้ ทางสหกรณ์การเกษตรฯ มีความต้องการให้ภาครัฐเข้ามาสนับสนุนอุปกรณ์การผลิตและเทคโนโลยีผ่านระบบสหกรณ์ รวมถึงการเพิ่มพูนความรู้ให้กับบุคลากรในการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมอาหารที่สามารถนำไปต่อยอดธุรกิจให้สามารถแข่งขันในตลาดได้ โดยเฉพาะผลผลิตที่มีในท้องถิ่น เช่น กล้วยหอม ละมุด ตาลโตนด มะนาว และผักในท้องถิ่น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้การดำเนินธุรกิจของสหกรณ์เกิดศักยภาพ สามารถสร้างรายได้ให้กับสมาชิก และทำให้เศรษฐกิจภายในชุมชนโตขึ้นได้ โดยที่ผ่านมา กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ได้เข้ามาส่งเสริมด้านการสร้างมูลค่าเพิ่มการแปรรูปผลไม้กล้วยหอมทองเป็นกล้วยอบหรือกล้วยอาบแดด ด้วยการนำงานวิจัยมาประยุกต์ใช้ในเชิงพาณิชย์ นอกจากนี้ บริษัท โปรแกรส เทคโนโลยี คอนเซาท์แท็นส์ บริษัทเอกชนขนาดใหญ่ที่เข้าร่วมโครงการ Big Brother กับทาง กสอ. ได้เข้าไปช่วยติดตั้งตู้อบแห้งระบบลมร้อน 1 เครื่อง เครื่องรีดกล้วย 1 เครื่องให้แก่กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านละหานใหญ่สามัคคี สหกรณ์การเกษตรบ้านลาด นับเป็นรายแรกหลังจากที่ได้มีการลงนามความร่วมมือโครงการ “ปั้นนักธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปไทย (SMEs เกษตร) ตามแนวประชารัฐ ภายใต้มาตรการ Local Economy 1 ใน 9 มาตรการพิเศษของกระทรวงอุตสาหกรรม ทั้งนี้ ปัจจุบันสหกรณ์ฯ กำลังดำเนินโครงการสนับสนุนกลุ่มสมาชิกสหกรณ์เพื่อนำผลผลิตกล้วยตกเกรดไปแปรรูปเป็นกล้วยกวน (กล้วยหอมทอง) เพื่อเพิ่มมูลค่าต่อไป PR. DIP (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
05 มี.ค. 2561
รมช.อุตสาหกรรม หารือร่วมเอกชน 4 จังหวัดภาคกลางตอนล่าง 2
5 มีนาคม 2561 - นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วยนางสาวนิสากร จึงเจริญธรรม รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมหารือกับหัวหน้าส่วนราชการและเอกชนในพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง 2 ที่มีสภาอุตสาหกรรม และสภาหอการค้าไทย ทั้ง 4 จังหวัด คือ จังหวัดสมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ เข้าร่วม ระหว่างการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 2/2561 ณ โรงแรมรอยัล ไดมอนด์ เพชรบุรี โดยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้รับฟังปัญหาจากภาคเอกชน และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนด้านการตลาดและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ยังขาดการพัฒนาให้สามารถแข่งขันในตลาดได้ ทั้งในด้านการส่งเสริมให้ จ.เพชรบุรี เป็นนครแห่งครัวโลก เนื่องจากเป็นแหล่งอาหารนานาชนิด ทั้งอาหารทะเล และเกษตรแปรรูป โดยเฉพาะของฝากประเภทขนมหวานที่ขึ้นชื่อของจังหวัด รวมถึงการส่งเสริมการนำสัปปะรดมาแปรรูปเป็นเยื่อกระดาษ การยกระดับให้เกลือเข้าสู่มาตรฐานในภาคอุตสาหกรรม การปรับผังเมืองให้สอดรับกับสถานการณ์ปัจจุบัน การให้ความสำคัญกับมาตรการด้านการกำจัดน้ำเสียของโรงงานอุตสาหกรรม การเชื่อมโยงการท่องเที่ยวกับแหล่งชุมชน รวมถึงการส่งเสริมให้ภาคบริการนำสินค้า OTOP ไปจัดแสดงในสถานบริการต่าง ๆ ตลอดจนการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินในรูปแบบสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ PR. DIP (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
05 มี.ค. 2561
"อีจีเอ"หนุน อุบลฯ สู่นครอัจฉริยะภาคอีสาน ปี 20
หนุนโมเดลจังหวัดอุบลราชธานีสู่นครอัจฉริยะภาคอีสาน ปี 2020 สอดรับปีแห่งข้อมูลภาครัฐ “Year of Data 2018” เร่งขยายจุดติดตั้ง “ตู้บริการอเนกประสงค์ภาครัฐ” ให้ประชาชน “เช็คได้ทุกสิทธิ์ รู้ทุกสวัสดิการรัฐ” ง่ายๆ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดย สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ EGA (อีจีเอ) จึงได้จัดงานสัมมนา “GovChannel Roadshow 2018 : Digital Local Government ขับเคลื่อนราชการทันสมัย บริการประชาชนรวดเร็ว ทันใจ” โดยผนึกกำลังร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร ได้แก่ สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กรมวิชาการเกษตร และสำนักงานประกันสังคม ต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 ซึ่งล่าสุดจัดขึ้นที่จังหวัดอุบลราชธานี น.ส.อัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ประธานในพิธีฯ เปิดเผยว่า กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้เร่งดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล โดยส่งเสริมและวางรากฐานด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมให้เริ่มขับเคลื่อนได้อย่างจริงจัง ซึ่งภารกิจเร่งด่วนด้านโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีดิจิทัล ล่าสุดได้มีการติดตั้งโครงการเน็ตประชารัฐแล้วเสร็จครบทั้ง 24,700 หมู่บ้าน ตามเป้าหมายปี พ.ศ. 2560 และได้จัดอบรมวิทยากรแกนนำเพื่อให้ขยายต่อยอดความรู้การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลไปยังหมู่บ้านและชุมชนต่างๆ แล้ว โดยมีเป้าหมาย 100,000 คน ภายในปีนี้ ส่วนอีกโครงการที่เป็นหัวใจสำคัญในการก้าวสู่รัฐบาลดิจิทัล คือ โครงการ Big Data หรือ ศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่ ที่กำลังวางกรอบแนวทางให้ทุกหน่วยงานรัฐเตรียมความพร้อมในการจัดทำ Big Data เพื่อส่งเสริมให้มีการบูรณาการข้อมูลร่วมกัน ในอนาคตหากศูนย์ข้อมูลกลาง Big Data สามารถนำมาใช้ได้เร็วจะยิ่งส่งผลดีเพราะจะทำให้มีแหล่งข้อมูลที่ใช้ในการพัฒนาประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรม ด้าน ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ กล่าวถึง เป้าหมายในปีนี้คือ “Year of Data ปีแห่งข้อมูลภาครัฐ” จึงได้เร่งขยายจุดติดตั้ง “ตู้บริการอเนกประสงค์ภาครัฐ” (Government Smart Kiosk) ให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลของตนเองได้ง่ายๆ ใกล้บ้าน สามารถ “เช็คได้ทุกสิทธิ์ รู้ทุกสวัสดิการรัฐ” โดยไม่ต้องเตรียมเอกสารให้ยุ่งยากหรือรอติดต่อเวลาราชการ ซึ่งได้นำมาติดตั้งอย่างเป็นทางการแล้ว ณ บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ สาขาอุบลราชธานี สำหรับการจัดงานสัมมนา GovChannel Roadshow 2018 ที่จังหวัดอุบลราชธานีเป็นจังหวัดแรกในปีนี้ EGA ได้นำบริการด้านเทคโนโลยีดิจิทัลภายใต้โครงการ “GovChannel ศูนย์กลางบริการภาครัฐสำหรับประชาชน” เป็นโครงการสำคัญที่ช่วยสร้างราษฎร์ เสริมรัฐได้ชัดเจนที่สุด เนื่องจากเป็นช่องทางหลักในการเข้าถึงบริการภาครัฐสำหรับประชาชน ที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างหน่วยงานรัฐทุกภาคส่วน ในการนำบริการดิจิทัลของแต่ละหน่วยงานมารวมกันเพื่อบริการประชาชน ณ จุดเดียว สามารถตอบคำถามได้ว่า ประชาชนได้อะไร จากรัฐบาลดิจิทัล? ได้อย่างแท้จริง อาทิ GNews แอปพลิเคชัน แจ้งข้อมูลข่าวสารบริการภาครัฐมาช่วยให้ประชาชนไม่พลาดทุกข้อมูลข่าวสารภาครัฐได้อย่างทันการณ์ แม่นยำ เชื่อถือได้ และ ภาษีไปไหน? (Thailand Government Spending) ระบบสืบค้นข้อมูลการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐในรูปแบบเว็บไซต์ govspending.data.go.th และแอปพลิเคชันภาษีไปไหน ที่จะช่วยให้ทราบว่าภาครัฐนำภาษีไปใช้จ่ายในการพัฒนาประเทศอย่างไรบ้าง เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานพันธมิตรนำบริการอัจฉริยะภาครัฐมาให้แบบจัดเต็ม อาทิ โครงการเน็ตประชารัฐ, โครงการ Smart City, แอปพลิเคชัน รู้จริงเรื่องพืชกับกรมวิชาการเกษตร, การตรวจสอบสิทธิ์บัตรสุขภาพ และตรวจสอบสิทธิ์บัตรทอง, บริการ E-Payment การชำระเงินสมทบกองทุนประกันสังคม ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์, แอปพลิเคชัน EMS 1669 รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน และ ระบบร้องเรียนผู้ตรวจการแผ่นดินผ่านแอปพลิเคชัน เป็นต้น ด้าน นายสฤษดิ์ วิฑูรย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เปิดเผยว่า จังหวัดอุบลราชธานีมีการวางรากฐานการพัฒนาเมืองในระยะยาว ภายใต้วิสัยทัศน์ “เมืองน่าอยู่ทันสมัย ประตูสู่การค้าการลงทุน ท่องเที่ยวหลายมิติ เกษตรสู่สากล” โดยกำหนดยุทธศาสตร์ ดังนี้ 1. การพัฒนาเมืองน่าอยู่ทันสมัยและเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของประชาชน 2. การส่งเสริมการค้าการลงทุน 3. การส่งเสริมและการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ 4. การยกระดับการผลิตและแปรรูปสินค้าเกษตรสู่สากล 5. การสร้างความมั่นคงและความปลอดภัยของประชาชน และได้เข้าร่วมลงทุนโครงการเมืองอัจฉริยะ Ubon Ratchathani’s Smart City 2020 โดยนำนวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้าไปสนับสนุนการพัฒนาจังหวัดในหลายมิติ ซึ่งได้ดำเนินโครงการที่เกี่ยวข้องหลายโครงการ ได้แก่ โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมจังหวัดอุบลราชธานี สู่ Industry 4.0 ฯลฯ... อ้างอิง : https://www.dailynews.co.th/it/629430
26 ก.พ. 2561
ก.อุตฯ จับมือภาคีรีมิกซ์ SSRC ใช้แพลตฟอร์มเดียว ประกาศเดินหน้าเต็มสูบ!! ติดปีก SMEs
กรุงเทพฯ 22 ก.พ. 2561- นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมให้เกียรติเป็นประธานเปิดงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “แนวทางการดำเนินงานศูนย์สนับสนุนและช่วยเหลือเอสเอ็มอี” ณ ห้องจตุรทิศ ชั้น 3 โรงแรมโกลเด้น ทิวลิป ซอฟเฟอริน ถนนพระราม 9 โดยมี นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวรายงานและมอบนโยบายการดำเนินงานของศูนย์ SSRC สำหรับศูนย์สนับสนุนและช่วยเหลือเอสเอ็มอี (SME Support & Rescue Center : SSRC) เป็น 1 ใน 9 มาตรการพิเศษเพื่อการขับเคลื่อน SMEs 4.0 โดยให้บริการแก่ SMEs ที่ประสบปัญหาทางธุรกิจในทุกพื้นที่ให้สามารถเข้าถึงบริการทั้งในด้านการเงินและด้านอื่น ๆ ที่ไม่ใช่การเงิน โดยมีสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดทั้ง 76 จังหวัด กระทรวงอุตสาหกรรม ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1-11 ศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมเซรามิก จังหวัดลำปาง ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ศูนย์ให้บริการ OSS (SME One-Stop Service Center) ของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว./SME Bank) การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) และหน่วยงานเครือข่าย รวมทั้งสิ้น 270 แห่งทั่วประเทศ ผ่านแพลตฟอร์มการทำงานเดียวกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึงการบริการทั่วประเทศ เชื่อมโยงกลไกและบริการทั้งหมด ผ่านระบบดิจิทัล เพื่อให้สามารถส่งเสริมและสนับสนุน SMEs ได้อย่างคล่องตัว รวดเร็ว และตรงตามความต้องการของ SMEs ทั่วประเทศมากที่สุด PR. DIP (กส.สล.กสอ.) รายงาน/ภาพข่าว
22 ก.พ. 2561
มองหาโอกาสธุรกิจ เพื่อรองรับการก้าวเข้าสู่ สังคมผู้สูงวัย
โลกกำลังเข้าสู่ สังคมผู้สูงวัย (aging society) โดยเฉพาะในกลุ่มอาเซียนที่มีประชากรอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไปถึง 36.9 ล้านคน คิดเป็น 5.89% ของประชากรทั้งหมดในอาเซียน สำหรับประเทศไทยมีประชากร กว่า 66 ล้านคน มีจำนวนผู้สูงอายุที่อายุมากกว่า 65 ปี ราว 6.5 ล้านคน คิดเป็น 9.9% ของประชากรทั้งหมด ซึ่งไทยเป็นประเทศที่มีสัดส่วนผู้สูงอายุมากเป็นอันดับสองของอาเซียนรองจากสิงคโปร์ โดยประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างเต็มรูปแบบในปี 2564 สำหรับประเภทสินค้าและบริการเกี่ยวกับผู้สูงอายุที่มีโอกาสเติบโต ได้แก่ เวชภัณฑ์ และการดูแลสุขภาพ (Pharma & Healthcare) ลักษณะโรคของกลุ่มผู้สูงอายุเปลี่ยนไปเป็นโรคเรื้อรัง มากขึ้น กว่า 80% ของผู้สูงอายุมี 1 โรคเรื้อรัง ได้แก่โรคหัวใจและหลอดเลือด (อันดับ 1) โรคมะเร็ง, ภาวะสมองเสื่อม เบาหวาน โรคกระดูกพรุน โรคข้ออักเสบ ระบบการเงินผู้สูงวัย รัฐมีภาระที่จะต้องจ่ายภาระเบี้ยหวัดบำนาญมากขึ้น จนกองทุนบำเหน็จบำนาญเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ และจะเปลี่ยนจากกองทุนรัฐ เป็นของเอกชนมาช่วยแบกภาระ สินค้าอุปโภค บริโภค อุตสาหกรรมอาหารแปรรูปโดยเฉพาะอาหารเพื่อสุขภาพ เช่น อาหารไขมันต่ำ ไม่มีคอเลสเตอรอล น้ำตาลน้อยหรือไม่ใส่เลย ผลิตภัณฑ์ที่ป้องกันหรือช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ อาทิ โรคหัวใจและหลอดเลือด มะเร็ง เบาหวาน และระบบย่อย เป็นต้น กลุ่มผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพที่มาแรงที่สุด คือ กลุ่มอาหารและเครื่องดื่มรองลงมาคือ อาหารที่มาจากธรรมชาติและดีต่อสุขภาพ และกลุ่มที่มีแนวโน้มเติบโตมาก คือ วิตามินและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางประเภทออร์แกนิกส์ (Organics) ที่ผลิตจากธรรมชาติหรือสมุนไพร และกำลังได้รับความสนใจจากผู้สูงอายุ เนื่องจากผู้บริโภคมั่นใจว่าปลอดภัยกว่าการใช้สารเคมี การท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุ เป็นการเดินทางที่มีกิจกรรมไม่หนัก ไม่ต้องเดินไกล ใช้เวลาแต่ละสถานที่ค่อนข้างนาน มีการแวะพักเพื่อเอื้อต่อการเข้าห้องน้ำที่บ่อยขึ้น ติดตั้งอุปกรณ์อำนวยความสะดวกอยู่ในรถ เช่น วีลแชร์ เป็นต้น หรือสินค้าที่จำหน่ายในระหว่างเส้นทางท่องเที่ยวก็ใช้ชื่อว่า “มุมสุขภาพ” เพื่อให้ผู้ซื้อไม่รู้สึกเขิน เช่นที่ประเทศญี่ปุ่นใช้แทนการระบุว่าเป็นสินค้าพื่อผู้สูงวัย ธุรกิจบริการผู้สูงวัย มีการปรับเปลี่ยนแบบแผนการดำเนินธุรกิจของตนเองเพื่อให้เหมาะสมกับการบริการผู้สูงวัยมากขึ้น เช่น ซุปเปอร์มาร์เก็ตบางรายในญี่ปุ่น ที่เริ่มปรับเปลี่ยนเวลาเปิดบริการให้เช้าขึ้น จากแต่เดิมที่เปิด 9 โมงเช้ามาเป็นเปิด 7 โมงเช้า ซุปเปอร์มาร์เก็ตบางแห่ง ยังได้มีการเพิ่มบริการรับจัดงานศพแบบเรียบง่ายในราคาย่อมเยาอีกด้วย เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ผู้ที่คาดว่าจะต้องใช้บริการ เนื่องจากบริษัทรับจัดงานศพใหญ่ๆ ในญี่ปุ่นมีค่าบริการที่สูงมาก ร้านกาแฟ-ร้านอาหาร ออกแบบทางเดินให้กว้างขวางกว่าปกติ เพียงพอให้ทั้งรถเข็นและอุปกรณ์ช่วยเดินผ่านได้ เก้าอี้ก็มั่นคงแข็งแรงและโต๊ะก็มีขนาดที่ค่อนข้างเตี้ยกว่ามาตรฐาน เมนูอาหารที่ขายก็เป็นอาหารที่เคี้ยวง่าย พนักงานก็จะบริการส่งอาหารให้ที่โต๊ะ วัสดุก่อสร้าง-อุปกรณ์ สำหรับผู้สูงอายุ กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการสร้างและตกแต่งบ้านที่มีผลต่อความปลอดภัยในการใช้ชีวิตภายในบ้าน การออกแบบผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับกายภาพและชีวิตความเป็นอยู่ของผู้สูงวัย เช่น ก๊อกน้ำ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เลือกแบบปัดไปด้านข้างมากกว่าแบบหมุนหรือกด ลูกบิดประตู เลือกแบบก้านโยก จับถนัดมือ สวิทซ์-ปลั๊กไฟ ที่ใหญ่ มีสีสันที่เห็นชัดเจน เฟอร์นิเจอร์สำหรับผู้สูงอายุ กลุ่มผู้สูงอายุมีข้อจำกัดในการดำเนินชีวิตเนื่องจากสภาพร่างกายเริ่มเสื่อมถอย ดังนั้น ผู้ประกอบการในธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ และเครื่องใช้ภายในบ้าน โดยเฟอร์นิเจอร์เพื่อผู้สูงอายุได้แก่ เตียงนอนที่สามารถปรับระดับได้และไม่สูงเกินไป ที่นอนยางพาราที่มีความแข็งตัว เก้าอี้ไม้ที่มีพนักพิง และหมอนเพื่อผู้สูงอายุ เป็นต้น อสังหาริมทรัพย์ ที่เกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุ จะเป็นธุรกิจอันดับต้นๆ ที่ได้รับประโยชน์จากการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยคาดว่าในระยะแรกจะเป็นโอกาสของธุรกิจที่ให้บริการดูแลผู้สูงอายุเป็นระยะสั้นๆ เช่น การดูแลระหว่างวันแบบไปเช้าเย็นกลับ(Daycare) และการพักฟื้นระยะยาว(Longstay) ที่พำนักระยะยาวจะมีโอกาสขยายตัวมากขึ้นซึ่งจะได้รับแรงผลักดันจากทั้งผู้สูงอายุคนไทยและชาวต่างชาติ ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยควรเริ่มปรับตัวและติดตามพฤติกรรมของสังคมไทยที่จะเปลี่ยนไป รวมถึงศึกษารูปแบบธุรกิจที่เหมาะสมกับตลาดคนไทย อย่างไรก็ตามจะพบว่า ทั้ง 8 ธุรกิจนี้ มีโอกาสสำคัญในการขยายฐานลูกค้าของผู้ประกอบการ ซึ่งหากมองในมุมอาเซียน และอาเซียน +3 (จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้) ที่มีจำนวนผู้สูงอายุรวมกันกว่า 300 ล้านคน ถือเป็นจำนวนที่ค่อนข้างสูงและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจึงเป็นโอกาสที่ดีที่ผู้ประกอบการจะผลิตสินค้าให้ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคกลุ่มนี้ ที่มา
05 ก.พ. 2561
อุตฯชงครม.เคาะมาตรการเสริม หนุนอุตฯเชื้อเพลิงชีวภาพ-อาหารแปรรูป
นายพสุ โลหารชุน ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ในปี 2561 กระทรวงได้เตรียมนำเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.)ให้พิจารณามาตรการส่งเสริม 2 อุตสาหกรรม ตามแผนพัฒนาและขับเคลื่อน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) คือ 1.อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ โดยผลักดันโครงการเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio economy) ผ่านคณะทำงานด้านการพัฒนาคลัสเตอร์อุตสาหกรรมแห่งอนาคต ภายใต้การสานพลังประชารัฐ โดยการนำของภาครัฐและเอกชนรายใหญ่ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศสู่ยุค 4.0 คือ การทำเกษตรสมัยใหม่ (Modern Farming) อาทิ การเกษตรแม่นยำสูงด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และเครื่องจักรกลการเกษตรอย่างเต็มประสิทธิภาพ และการสร้างศูนย์อุตสาหกรรมชีวภาพครบวงจร (Bio refinery Complex) เพื่อต่อยอดผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มสูง โดยขณะนี้มีโครงการนำร่องที่อยู่ระหว่างดำเนินการคือโครงการอุตสาหกรรมน้ำตาลครบวงจร (Sugar Complex) ที่ จ.นครสวรรค์ การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมชีวภาพ (Bio refinery) ที่ จ.ขอนแก่น รวมถึงโครงการอุตสาหกรรมแปรรูปปาล์มครบวงจร (Palm Complex) ที่ จ.ชลบุรี ซึ่งเริ่มดำเนินการแล้ว 2.อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป จะเน้นการปรับเปลี่ยนโครงสร้างจากเดิมไปสู่ผลิตภัณฑ์แปรรูปที่มีมูลค่าเพิ่มสูงบนฐานของนวัตกรรม ได้แก่ อาหารสุขภาพและอาหารแห่งอนาคต เช่น อาหารเชิงสุขภาพที่ปรับลดปริมาณอาหารให้เหมาะสมต่อความต้องการพลังงาน รวมถึงการยกระดับวิสาหกิจชุมชนที่ผลิตยา สมุนไพร ให้มีการผลิตเป็นอุตสาหกรรมมากขึ้น โดยทั้ง 2 มาตรการข้างต้น คาดว่าจะนำเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาได้ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2561 ทั้งนี้ในปีที่ผ่านมาครม.ได้อนุมัติ 2 มาตรการ ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมได้นำเสนอ คือ อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน เป้าหมายเพื่อเปลี่ยนผ่านสู่ยุครถยนต์ไฟฟ้า และรักษาฐานการผลิตยานยนต์ระดับโลกให้อยู่ในประเทศไทยต่อไป โดยผลักดันให้เกิดการลงทุนผลิตรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า (xEV) และการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ที่เกี่ยวข้อง และอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ เป้าหมายภายใน 5 ปี จะมีการลงทุนขยายตัว 200,000 ล้านบาท มีการใช้หุ่นยนต์ที่ผลิตภายในเพิ่มขึ้น 50% และลดการนำเข้าหุ่นยนต์จากต่างประเทศลง 30% นายพสุ กล่าวว่า ในปี 2560 กรมโรงงานอุตสาหกรรม ได้จัดเก็บสถิติ กลุ่ม 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย มียอดการแจ้งประกอบและขยายกิจการโรงงาน จำนวนรวม 1,487 ราย เงินลงทุน 182,577 ล้านบาท มีการจ้างใหม่ จำนวน 91,563 คน โดยอุตสาหกรรมที่มีการลงทุนมากที่สุด คือ อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร เงินลงทุน 92,338 ล้านบาท อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เงินลงทุน 41,840 ล้านบาท และอุตสาหกรรมยานยนต์ เงินลงทุน 35,804 ล้านบาท ทั้งนี้อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ได้รับใบอนุญาตประกอบและขยายกิจการมากที่สุด 974 โรงงาน รองลงมา อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 175 โรงงาน และอุตสาหกรรมยานยนต์ จำนวน 111 โรงงาน อ้างอิง แนวหน้า
04 ก.พ. 2561
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ผนึกกำลังสถาบันอาหาร ผุดหลักสูตรอบรมติวเข้ม ยกระดับ SMEs สู่ตลาดโลก
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) จับมือสถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดตัวกิจกรรมพัฒนาผู้ประกอบการด้วยเครื่องมือการบริหารจัดการสมัยใหม่ (Advance SME Program) ประจำปี 2561 นำร่องหลักสูตรอบรม SMEs แบบครบเครื่อง ทั้งด้านทักษะการผลิต การบริหารจัดการ เทคโนโลยี และนวัตกรรม โดยปีแรกเน้นพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต หวังยกระดับเป็น Smart SMEs และ Global SMEs ตั้งเป้าเกิดนวัตกรรมใหม่ 1 เรื่อง และเพิ่มมูลค่ายอดขาย หรือลดต้นทุนให้ผู้ประกอบการได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 – 5 ชี้แนวโน้มโครงสร้างอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มของไทย ทั้งรูปแบบสินค้า และตลาดส่งออกจะเปลี่ยนแปลงไป อาหารอนาคตหรือ Future Food มีศักยภาพสูง ไทยจะลดการพึ่งพิงตลาดเดิมนอกภูมิภาคและหันมากระจายสินค้าสู่ตลาดอาเซียน ญี่ปุ่น และจีนมากขึ้น.....อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม / ภาพกิจกรรม
31 ม.ค. 2561
กสอ.ชู 3 P เน้นพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ผ่านงาน “มหกรรมผลิตภัณฑ์ชุมชน”
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) จัดกิจกรรมทดสอบตลาด ภายใต้ชื่องาน “มหกรรมผลิตภัณฑ์ชุมชน” เน้นหนุนผู้ประกอบการชุมชนตอบโจทย์ผู้บริโภคอย่างตรงจุด ยึดหลัก “การตลาดนำการผลิต” หวังต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตรงความต้องการของตลาด สร้างอำนาจต่อรอง และเพิ่มศักยภาพผ่านโมเดลการพัฒนา 3 P นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กสอ.ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาขีดความสามารถ และการสร้างโอกาสทางธุรกิจให้แก่ภาคอุตสาหกรรมทั้งระดับ SMEs และระดับฐานราก โดยเฉพาะการขยายตลาดจากระดับภายในประเทศสู่ตลาดต่างประเทศที่มีศักยภาพสำหรับสินค้าผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมชุมชน ซึ่ง กสอ.ได้มีโครงการที่เหมาะสมสำหรับกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากผ่านโมเดล 3 P คือ 1.People หรือ การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ โดยเป็นการให้คำแนะนำสำหรับการเป็นผู้ประกอบการมืออาชีพ โดยมีการแบ่งหลักสูตรที่เหมาะสม เช่น ผู้ประกอบการชุมชนคนรุ่นใหม่ ผู้ประกอบการชุมชนก้าวสู่สังคมดิจิทัล 2.Process หรือ การพัฒนาศักยภาพในการผลิต โดยมีการแนะนำให้ความรู้สำหรับการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green OTOP) รวมถึงกระบวนการผลิตที่ให้ได้สู่การรับรองมาตรฐานต่าง ๆ และ 3.Product หรือ การพัฒนาด้านผลิตภัณฑ์ ที่เป็นการให้คำแนะนำส่งเสริมการผลิตและการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้เข้าสู่มาตรฐานสากล โดยการสรรหาผู้มีความชำนาญในแต่ละประเภทอุตสาหกรรมเข้าไปช่วยแนะนำการพัฒนาการผลิตให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค.....อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม /ภาพข่าว
29 ม.ค. 2561
SME Bank ตั้งศูนย์เคลียร์ปัญหาคาใจผู้ขอสินเชื่อ ผ่านสายด่วน 1357
นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ได้สั่งการให้ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว. หรือ SME Development Bank) ดำเนินการจัดตั้งศูนย์บริการติดตามการยื่น ขอสินเชื่อ ผ่านสายด่วน Call Center 1357 เพื่ออำนวยความสะดวกในการ ปล่อยสินเชื่อและตอบคำถามปัญหาให้กับผู้ประกอบการ SMEs ที่ยื่นขอสินเชื่อธนาคารผ่านโครงการต่างๆ และกองทุนสินเชื่อภาครัฐตามที่ธนาคารได้รับมอบหมาย จากรัฐบาลให้ความช่วยเหลือเงินทุนแก่ผู้ประกอบการ SMEs ทั่วประเทศ ประกอบด้วย กองทุนพัฒนา เอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ โดยกระทรวงอุตสาหกรรม วงเงินกองทุน 20,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยเพียง 1% กองทุนฟื้นฟู SMEs ของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว) วงเงิน 2,000 ล้านบาท ปลอดดอกเบี้ย และสินเชื่อต่างๆ ของธนาคาร ธนาคารได้ตั้งศูนย์ติดตามสินเชื่อ “เคลียร์ คัท ชัดเจน” ผ่านสายด่วน 1357 กด 1 สำหรับกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ กด 2 กองทุนฟื้นฟู SMEs ของ สสว. และ กด 3 โครงการสินเชื่อต่างๆ ของธนาคาร พร้อมให้บริการตั้งแต่วันที่ 4 ธันวาคม 2560 ในเวลาทำการจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.00-17.00 น. “จากการลงพื้นที่ ได้รับคำถามจากผู้ประกอบการหลายๆเรื่องเกี่ยวกับการยื่นขอสินเชื่อ เช่น จะอนุมัติ เมื่อไร ยื่นแล้วจะผ่านไหม อนุมัติแล้วจะเบิกได้เมื่อไร ทำไมถึงล่าช้า ติดปัญหาตรงไหน อย่างนี้เป็นต้น ซึ่งคำถามเหล่านี้ทราบดีว่าเป็นปัญหาคาใจของ ผู้ประกอบการ SMEs มาตลอด ดังนั้น ศูนย์ติดตามสินเชื่อ เคลียร์ คัท ชัดเจน จะตอบคำถามได้ตรงประเด็น ถูกต้อง และรวดเร็ว เบื้องต้นจะมีเจ้าหน้าที่ของธนาคารเป็นผู้ให้บริการข้อมูล และตอบคำถาม ผู้ประกอบการ เพื่อจะสร้างความเชื่อมั่นเรื่องความสุจริต และโปร่งใสในการทำงานทุกขั้นตอน” การจัดตั้งศูนย์ติดตามสินเชื่อดังกล่าว จะช่วยให้ผู้ประกอบการ SMEs ที่ยื่นขอสินเชื่อ กับธนาคารคลายความกังวลใจ เพราะทุกคำถามจะต้องเคลียร์ให้ชัดเจน ผู้ประกอบการเองก็จะได้รู้ถึงความคืบหน้าเพื่อแก้ไขให้ถูกต้องและรวดเร็วยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันศูนย์ฯ แห่งนี้ ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะนำไปพร้อมกันอีกทางหนึ่งด้วย
19 ม.ค. 2561