องค์กรทั่วโลก วางแผนใช้ 5G ในปี 2020 ว่าแต่เขาจะใช้ทำอะไรกัน
การ์ดเนอร์ระบุว่าตอนนี้ความต้องการเกี่ยวกับเทคโนโลยี 5G พุ่งขึ้นสูง เกินกว่าที่ผู้ให้บริการด้านการสื่อสารจะรับมือได้ องค์กรชั้นนำทั่วโลกมากกว่า 66% วางแผนติดตั้งใช้งาน 5G ภายในสิ้นปี 2020 อ้างอิงจากรายงานเรื่องนี้ของการ์ดเนอร์ มาตรฐาน 5G คือการเชื่อมต่อของโลกไร้สายในยุคต่อไป ซึ่งคาดหวังกันว่ามันจะเพิ่มขนาดของช่องทางการสื่อสารให้ใหญ่ขึ้น มีความเร็วที่มากขึ้น และชัดเจนมากขึ้น โดยงานหลักๆ ที่องค์กรต่างๆ คาดหวังจากเครือข่ายนี้คือเรื่องของ Internet of Things (IoT) และ วิดีโอ โลกของเซนเซอร์กำลังเกิดขึ้นจริง และอุปกรณ์ IoT นั้น มีความต้องการเรื่องของการเชื่อมต่อตลอดเวลา ถึงปริมาณการส่งข้อมูลจะน้อย แต่มีความถี่ในการส่งสูง และแน่นอนว่าจำนวนอุปกรณ์จะมีมากชนิดที่เราคาดไม่ถึง ความเร็วและความเสถียรของเครือข่ายจึงเป็นเรื่องสำคัญอันดับหนึ่งของ 5G ส่วนความต้องการด้าน Video นั้น ทุกวันนี้มีความต้องการใช้งานด้าน streaming เพิ่มมากขึ้น และไม่ใช่เพียงจำนวนคนใช้งานเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น เรากำลังคาดหวังว่าเราจะก้าวเข้าสู่ความคมชัดระดับ 4K และ 8K กันในเร็ววันนี้ เพราะอุปกรณ์ต่างๆ ที่รองรับเริ่มออกมาให้เห็นแล้ว จะเหลือก็เพียงเครือข่ายความเร็วสูงอย่าง 5G ที่จะทำให้ความฝันเรื่องนี้เป็นจริงขึ้นมา สุดท้ายข้อมูลจากการ์ดเนอร์ยังคาดการณ์เอาไว้ว่า 5G จะเป็นเทคโนโลยีการสื่อสารที่จะมีระยะเวลาในการติดตั้งยาวนานเกือบ 10 ปีเลยทีเดียว จึงจะครอบคลุมทุกความต้องการ อ้างอิง
20 ธ.ค. 2561
มีไอเดียทำธุรกิจ แต่ต้องเริ่มยังไงก่อนดีล่ะ
“เจ้าของธุรกิจ หรือ Entrepreneur” ที่ใคร ๆ ก็มีความฝันที่อยากจะเป็น เพราะการทำงานประจำมันค่อนข้างน่าเบื่อและยังไม่ตอบโจทย์คนที่คิดนอกกรอบเท่าไหร่นัก หลายปีมานี้มีเจ้าของธุรกิจหน้าใหม่เกิดขึ้นมากมายทั้งที่เป็น SME และ Startup ที่หลายคนคิดว่าทำงานได้ดั่งใจ ได้เงินง่าย รวยเร็ว แต่ในความเป็นจริงแล้ว การทำธุรกิจให้ “รวย” นั้น ยากเสียยิ่งกว่าหางานที่ให้ค่าตอบแทนดี ๆ เสียอีก เพราะต้องอาศัยความมุ่งมั่น ทุ่มเท และทำงานหนักไม่หยุดตั้งแต่ริเริ่มไปจนธุรกิจเข้าที่เข้าทาง ก็ต้องไม่ลืมที่จะพัฒนาธุรกิจให้คงอยู่อย่างยั่งยืน ตลอดจนไม่พลาดในเรื่องการเงินหรือภาษีที่ใช้หลักคำนวณยากและเยอะกว่าภาษีเงินได้ของคนทำงานประจำ ดังนั้นคำว่า “รวยเร็ว รวยง่าย” สำหรับเจ้าของธุรกิจจึงไม่มี มีแต่ต้องริเริ่มและคิดอย่างเป็นขั้นตอนถี่ถ้วน ถามตัวเองชัด ๆ ว่า อยากทำอะไรคำถามแรกที่ต้องถามใจตัวเองว่า มีไอเดียอยากทำอะไร แล้วสามารถพัฒนาต่อยอดไปได้แค่ไหน ไม่ใช่แค่อยากทำก็ทำ เพราะเจ้าของธุรกิจหลายต่อหลายคนล้มง่าย ๆ เพราะไม่รู้ว่าตัวเองอยากทำอะไร หรือทำอะไรอยู่ ไม่ได้ตั้งเป้าหมายของธุรกิจเอาไว้ พอเป้าหมายไม่ชัด ธุรกิจก็ไม่ดำเนินไปในทางที่ควร ดังนั้นสิ่งสำคัญก่อนจะไปไกลเกินก็คือ “เป้าหมายที่ชัดเจน” ที่นำไปสู่ Passion นั่นเองไอเดียที่คิดตอบโจทย์ตลาดอย่างไรสมัยนี้ที่ใคร ๆ ก็เปิดร้านกาแฟกันเป็นว่าเล่น ไม่ใช่เพราะเป็นเรื่องง่าย แต่เพราะอาจเป็นธุรกิจที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของคนเมือง แต่กลายเป็นว่าตอนนี้เรามีร้านกาแฟเต็มไปหมด แต่ถ้าหากคุณอยากจะเปิดร้านกาแฟเช่นกัน แต่สิ่งที่ควรมีก็คือ “ความแตกต่าง” หาจุดเด่นในธุรกิจของตนเอง เช่น การตกแต่งร้าน การตกแต่งเมนู รสชาติ ไปจนถึงกิมมิคอื่น ๆ ที่ตอบโจทย์ยุคดิจิทัล เช่น มุมถ่ายภาพ เป็นต้นมองหาลูกค้าไอเดียไม่ว่าจะดีแค่ไหน แต่ถ้าไม่มีคนซื้อ ธุรกิจก็ไปต่อได้ยาก เพราะถึงธุรกิจเราจะไอเดียดีขนาดไหนแต่ถ้าอินดี้จนหาลูกค้าไม่ได้ หรือลูกค้ากลุ่มแคบเกินไป ถ้าโมเดลธุรกิจไม่เจ๋งพอ ต้นทุนไม่หนาพอ ก็อาจดำเนินธุรกิจได้ไม่ไกลอย่างหวังวางกลยุทธ์แบบแผน A และแผน Bเช่นเดียวกับการทำงานประจำ แต่การเริ่มเป็นเจ้าของธุรกิจมีแผนที่ต้องคิดให้ถี่ถ้วน รอบคอบ และควรเตรียมแผนสำรองไว้เสมอ หากมีครอบครัว ก็ควรเปิดใจคุยกันว่า จากนี้จะออกจากงานประจำเพื่อทำธุรกิจ เพราะนอกจากแผนธุรกิจและแผนสำรองแล้ว คุณก็ต้องการกำลังใจจากคนใกล้ตัวไม่ลืมว่า Digital Never Dieในยุคแห่งเทคโนโลยีที่อะไร ๆ ก็ซื้อง่ายขายคล่องบนโลกเสมือนจริง จนการตลาดออนไลน์เป็นอีกช่องทางสำคัญ หรืออาจจะเป็นช่องทางของคุณก็เป็นได้ หากมีไอเดียทำธุรกิจแล้วล่ะก็ อย่าลืมนึกคิดแพลตฟอร์มนี้ด้วยล่ะ เพราะต้นทุนไม่สูงและมีโอกาสเข้าถึงลูกค้าได้ดี รวมทั้งใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลในการทำงาน ที่ช่วยให้การทำธุรกิจง่ายขึ้นเรียนรู้สิ่งที่เจ้าของธุรกิจควรมีนอกจากการคิดหาไอเดียวางโมเดลธุรกิจแล้ว ทักษะการเป็นนายตนเองและนายผู้อื่น คุณก็ควรเรียนรู้ไว้ ไม่ว่าจะมาจากการอ่านหนังสือ การศึกษาเพิ่มเติม หรือการเข้าอบรมต่าง ๆ เพราะนอกจากไอเดียที่ดีแล้ว ทักษะในการจัดการ การตลาด การเงิน การใช้นวัตกรรมทางการเงินเพื่อให้ดำเนินธุรกิจได้ไหลลื่น และที่สำคัญ “ภาษี” ก็ควรเข้าใจเอาไว้มองหาทุนเริ่มต้นและทุนสำรองเมื่อไอเดียพร้อม แผนพร้อม แล้วทุนล่ะ พร้อมหรือยัง ? เจ้าของธุรกิจบางคนเริ่มต้นจากการทำงานประจำ ค่อย ๆ เก็บหอมรอมริบ หรือเริ่มจากอาชีพเสริมหลังเลิกงาน และบางคนอาจโชคดีที่มีเงินทุนตั้งต้นจากที่บ้าน แต่นอกจากทุนเริ่มต้นแล้ว ก็อย่าลืมนึกถึงทุนสำรอง เพราะมันเป็นแผนสองเผื่อเกิดข้อผิดพลาดขึ้นมา หากไม่มีต้นทุนก็ควรเตรียมตัวมองหาทุนกู้ยืมให้ดีคำถามสุดท้าย “พร้อมไหม”หลังจากคุณคิดถึงการทำธุรกิจส่วนตัวและผ่านขั้นตอนด้านบนมาได้สักพัก ก็คงมีเสียงในจิตใจที่คอยกระซิบถามว่า พร้อมหรือไม่ คุณควรถามตัวเองให้ถี่ถ้วนและมั่นใจก่อนที่จะตัดสินใจเริ่มธุรกิจอย่างจริงจัง เพราะไม่มีใครรู้ดีไปกว่าตัวคุณแน่นอนได้เวลาลุย !ถ้าคำตอบของข้อที่แล้วตอบว่า “พร้อม !” คราวนี้ก็ได้เวลาออกไปลุยแล้วล่ะแนวโน้มและจำนวนของผู้เป็นเจ้าของธุรกิจมีเพิ่มมากขึ้นทุกวัน เพราะมีโอกาสและช่องทางเพิ่มมากขึ้น หากเริ่มต้นทำธุรกิจแค่เพียงว่าอยากทำ โดยไม่คิดวางแผนให้รอบคอบแล้ว ก็อาจพลาดท่าเสียทีได้ เพราะการเป็นเจ้าของธุรกิจไม่ใช่การลุ้นโชค แต่เป็นการวางแผนเตรียมตัวให้พร้อมจริง ๆ ต่างหาก By Krungsri Academy
14 ธ.ค. 2561
Business Model Canvas คืออะไร ต่างจาก Business Plan อย่างไร?
Business Model Canvas คืออะไร ต่างจาก Business Plan อย่างไร? Business Model Canvas คือ การอธิบายองค์ประกอบของธุรกิจซึ่งมี 9 ส่วน ในแบบที่เรียบง่ายบนหน้ากระดาษเพียงแผ่นเดียว เพื่อให้ทุกคน่ายทั้งภายในและภายนอกองค์กรสามารถสื่อถึงสิ่งเดียวกันได้อย่างตรงประเด็น เข้าใจง่าย และ นำไปใช้งานได้ทันที นอกจากจะทำให้การสื่อสารชัดเจนแล้ว จุดเด่นของ BMC คือ ทำให้เจ้าของกิจการและผู้บริหารสามารถเห็นภาพรวมของบริษัทเพื่อจะปรับจุดอ่อนหรือเสริมจุดแข็งรวมไปถึงการปรับกลยุทธ์ของบริษัทได้ง่ายและรวดเร็วอีกด้วย องค์ประกอบทั้ง 9 ของ Business Model Canvas ประกอบด้วย 9 องค์ประกอบที่เชื่องโยงกันตามภาพด้านล่างคือ ลูกค้า (Customer Segments—CS) ผู้ซื้อสินค้าหรือบริการ คุณค่า (Value Propositions—VP) จุดขายของสินค้า หรือ บริการนั้น ช่องทาง (Channels—CH) วิธีในการสื่อสารไปถึงลูกค้า ความสัมพันธ์กับลูกค้า (Customer Relationships—CR) วิธีในการรักษาลูกค้าเดิม กระแสรายได้ (Revenue Streams—RS) รายได้ของธุรกิจนี้ ทรัพยากรหลัก (Key Resources—KR) สิ่งที่ต้องมีในการดำเนินธุรกิจ กิจกรรมหลัก (Key Activities—KA) กิจกรรมที่ต้องทำเพื่อให้โมเดลธุรกิจอยู่ได้ พันธมิตรหลัก (Key Partners—KP) ส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งการช่วยป้อนวัตถุดิบและการช่วยขาย โครงสร้างต้นทุน (Cost Structure-C$) ต้นทุนทั้งหมดของธุรกิจ ดาวโหลดแผนภาพ BMC พร้อมคู่มือการสร้างโมเดลธุรกิจได้ที่นี่ Story of Business Model Canvas ประวัติความเป็นมาของ BMCแนวคิดเรื่องนี้ ถูกคิดค้นขึ้นโดย ดร.อเล็กซานเดอร์ ออสเทอร์วัลเดอร์ มหาวิทยาลัยโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ผู้เขียนหนังสือชื่อ Business Model Generation ซึ่งใช้เวลากว่า 9 ปีในการวิจัยพัฒนาและนำแนวคิดนี้ไปใช้โดยมีชุมชนนักธุรกิจกว่า 470 คนจาก 45 ประเทศทั่วโลกร่วมเขียนหนังสือเล่มนี้ด้วย จากการตีพิมพ์หนังสือ Business Model Generation ออกมาในปี คศ. 2010 ทำให้นักธุรกิจทั้งที่ทำกิจการมานานและเพิ่งเริ่มต้นได้เข้าใจภาพรวมของธุรกิจด้วยกระดาษเพียงแผ่นเดียว และนำภาพที่เข้าใจไปใช้ในการปรับกลยุทธ์องค์กรให้เติบโตก้าวกระโดดและทำกำไรได้เพิ่มขึ้นมหาศาลทำให้ปัจจุบันทฤษฎีนี้เป็นที่ยอมรับในองค์กรชั้นนำทั่วโลก ในไทยเองก็มีหลายหน่วยงานนำไปใช้งาน และหนังสือเล่มดังกล่าวได้รับการแปลเป็นภาษาไทยโดยสำนักพิมพ์ วีเลิร์น ในปี คศ. 2014 โดยใช้ชื่อภาษาไทยว่า คู่มือสร้างโมเดลธุรกิจ ทำไมถึงใช้คำว่า Canvas? ถ้าแปลเป็นภาษาไทยตรงตัว Business Model คือ รูปแบบธุรกิจ ซึ่งขอใช้ทับศัพท์ว่า โมเดลธุรกิจ นะคะส่วน Canvas คือ ผืนผ้าใบ ทั้งวลีนี้จึงหมายถึง การนำเอาการเขียนโมเดลธุรกิจไปใส่ไว้ในแผ่นเดียว โดยจะเป็นกระดาษเป็นผ้าใบหรือแผ่นโปสเตอร์ ก็ได้ ซึ่งทฤษฎีนี้เป็นการสื่อว่าทุกธุรกิจมีแม่แบบเดียวกัน คือองค์ประกอบ 9 ส่วนที่สำคัญในการทำธุรกิจ What is Business Model? What is the different between Business Plan and Business Model?แล้วคำว่าโมเดลธุรกิจ คืออะไร? ต่างจากแผนธุรกิจอย่างไร? Business Plan (แผนธุรกิจ) หมายถึงแผน ระยะยาว 3-5 ปี ที่กำหนดแนวทางการดำเนินธุรกิจทั้งหมด ซึ่งในการจะหาข้อมูลเพื่อทำออกมาเป็นแผนธุรกิจต้องใช้เวลาเป็นเดือนหรือกว่านั้น ในขณะที่ Business Model (โมเดลธุรกิจ) หมายถึงรูปแบบการสร้างรายได้ของธุรกิจ หรือจะให้ละเอียดกว่านั้น มันคือการที่เจ้าของธุรกิจต้องตอบคำถามได้ 2 ข้อ คือ “เราหารายได้อย่างไร” และผู้ซื้อเขา “ได้อะไรไปจากเรา”ซึ่งทฤษฎี Business Model Canvas ช่วยให้เห็นภาพชัดขึ้นในการตอบทั้ง 2 คำถามนี้เพื่อให้เจ้าของกิจการสามารถปรับรูปแบบรายได้ หรือ โมเดลธุรกิจที่เหมาะสมกับความต้องการได้ในระยะเวลาอันสั้น ทั่วโลกใช้ Business Model Canvas เพื่ออะไรบ้าง? จากผลสำรวจผู้นำไปใช้จริงแล้ว 1,300 คนจากผู้ที่ดาวโหลดแผนภาพไปใช้ทั่วโลกกว่า 5 ล้านคนในปี 2015 พบว่า ร้อยละ 36 นำไปใช้ในการพัฒนาธุรกิจใหม่ ร้อยละ 21 นำไปพัฒนาสินค้าใหม่ และ ร้อยละ 19 นำไปปรับกลยุทธ์ในองค์กร อ้างอิง
07 ธ.ค. 2561
Startup และ SME สองอย่างนี้ต่างกันอย่างไร
สำหรับคนที่คิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจ แต่ยังไม่เข้าใจ และเห็นภาพไม่มากพอ หลายคนสับสนว่า Startup และ SME สองอย่างนี้ต่างกันอย่างไร เรามาดูกันดีกว่าครับว่าสองธุรกิจนี้แท้จริงแล้วมีอะไรที่ต่างกัน และมีอะไรที่เหมือนกันบ้าง ติดตามกันเลยครับ วัดกันที่ขนาดเริ่มต้น หากเราวัดความแตกต่างที่ “ขนาดของกิจการ” เมื่อเริ่มต้นทำธุรกิจ สำหรับ Start Up มักจะมีขนาดที่เล็กมาก ๆ และสินทรัพย์ส่วนใหญ่ในตอนต้นจะมีน้ำหนักไปทาง “ไอเดียใหม่ ๆ” หรือสินทรัพย์ทางปัญญา ในขณะที่ SME จะมีขนาดกิจการที่ใหญ่กว่า และสินทรัพย์ส่วนใหญ่เป็นสินทรัพย์ที่จับต้องได้นั่นเองครับ วัดกันที่แนวคิดเริ่มต้นการทำธุรกิจ สำหรับ Start Up มักจะเริ่มต้นธุรกิจด้วยแนวคิดที่อยากจะแก้ไขปัญหาอะไรซักอย่าง ยกตัวอย่างเช่น ปัญหาการเรียกรถแท็กซี่ ที่เรียกใช้บริการค่อนข้างยาก และมีปัญหามากมาย ก็ทำให้เกิด Application บนมือถือ ที่เกี่ยวกับการเรียกใช้บริการรถแท็กซี่ผ่านมือถือ ก็ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว และขยายไปยังประเทศต่าง ๆ ได้หลายประเทศอีกด้วย ในขณะที่ SME อาจเริ่มต้นทำธุรกิจจากสินค้าที่มีอยู่แล้ว แต่อาจจะยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ ทำให้มีผู้ผลิตเข้ามาผลิตสินค้า หรือบริการต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการที่ยังไม่เพียงพอ วัดกันที่เทคโนโลยี หากเราวัดความแตกต่างกันที่เทคโนโลยี สำหรับ Start Up ส่วนใหญ่จะใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ในการขับเคลื่อนธุรกิจ หากเป็น Start Up ที่เกี่ยวกับการทำ Application บนมือถือ เพื่อตอบสนองความต้องการบางอย่างของลูกค้า ก็ต้องใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเป็นช่องทางในการเข้าถึงลูกค้า หรือแม้แต่งานที่เป็น “นวัตกรรม” ใหม่ ๆ เช่น รถยนต์ไร้คนขับ รถยนต์พลังงานไฟฟ้า เป็นต้น ในขณะที่ SME จะใช้เทคโนโลยีที่ตอบสนองกับกระบวนการผลิตเดิม ปรับปรุงให้ดีขึ้น อาจเป็นไอเดียที่ไม่ใหม่มาก แต่ช่วยให้สายการผลิต หรือกระบวนการบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้รวดเร็วขึ้น เป็นต้นอย่างไรก็ตามทั้ง Start Up และ SME ก็มีความเหมือนกันตรงที่เป็นการทำกิจการเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า และต้องคอยปรับตัวตามกระแสการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภคเหมือน ๆ กัน กระแสการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในโลก ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจแบบไหนหากไม่รู้จัก “ปรับตัว” ก็มีโอกาสที่จะล้มหายจากไปได้เหมือนกันนะครับ อ้างอิง By Krungsri Guru
05 ต.ค. 2561