ผู้ตรวจราชการฯ ลงพื้นที่ เขตตรวจราชการที่ 14 ขับเคลื่อนโยบายสำคัญของกระทรวง
อุบลราชธานี 7 เมษายน 2564 ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วยคณะผู้บริหารฯ อุตสาหกรรมจังหวัดอุบลราชธานี, อุตสาหกรรมจังหวัดศรีสะเกษ, อุตสาหกรรมจังหวัดอำนาจเจริญ, อุตสาหกรรมจังหวัดยโสธร และคณะเจ้าหน้าที่ฯ ร่วมต้อนรับ นายใบน้อย สุวรรณชาตรี รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม รักษาการผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม ในโอกาสลงพื้นที่ กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการและมอบนโนบายการปฏิบัติงานฯ ครั้งที่ 2/2564 โดยเยี่ยมชมโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ทุ่นลอยน้ำ เขื่อนสิรินธร อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี พร้อมทั้ง ประชุมติดตามการดำเนินงาน รับฟังปัญหาและอุปสรรค แลกเปลี่ยน มอบนโยบายการดำเนินงาน/โครงการสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด รวมทั้งโครงการกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 และโครงการพัฒนาผู้ประกอบการชุมชนในการยกระดับหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์สู่เศรษฐกิจอย่างยั่งยืน (Creative Industry Village : CIV) ซึ่งเป็นการบูรณาการทำงานร่วมทั้งทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการเชื่อมโยงกับการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว กระจายรายได้ให้กับชุมชนอย่างยั่งยืน
07 เม.ย. 2564
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 จัดชี้แจงโครงการ คพอ.รุ่นที่ 374 จังหวัดยโสธร เสริมแกร่งทายาท สร้างธุรกิจโต ด้วยพลัง คพอ.
ยโสธร 2 เมษายน 2564 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จัดกิจกรรมชี้แจงรายละเอียดโครงการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมหรือเรียกสั้นๆ ว่า คพอ. จังหวัดยโสธร ซึ่งเป็นรุ่นที่ 374 ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ได้มีการดำเนินกิจกรรมตลอดมา โดยมี คุณธนมน วัฒนเรืองโกวิท ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดยโสธร ให้เกียรติกล่าวต้อนรับและร่วมพิธีเปิดในครั้งนี้.นายสุริยา โพธิยา ผู้อำนวยการกลุ่มบริการธุรกิจอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เผยว่า การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ โครงการพัฒนาผู้ประกอบการสู่การเป็นสมาร์ท SME และโกลบอล SME (คพอ.) เหมาะสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม ที่ต้องการขยายกิจการหรือปรับปรุงกิจการเดิม หรือผู้ที่กำลังก้าวเข้ามาลงทุนในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ที่เรียกทั่วไปว่า SMEs การฝึกอบรม คพอ. จะทำให้ท่านได้พัฒนาความรู้ความสามารถในเชิงธุรกิจด้านต่างๆ โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิและมีประสบการณ์ทั้งภาครัฐและเอกชน จะมาถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ รวมทั้งวิธีการคิดการประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมที่แตกต่างจากในอดีต เพื่อให้ทันกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ ยุคใหม่ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จึงนำหลักสูตรฝึกอบรมโครงการพัฒนาผู้ประกอบการสู่การเป็นสมาร์ท SME และ โกลบอล SME หรือที่เรารู้จักกันในชื่อของ คพอ. นี้ มาเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือในการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย และได้ดำเนินการติดต่อกันมาแล้วถึงรุ่นปัจจุบันจากทั่วทุกภาคของประเทศไทย และจังหวัดยโสธรในครั้งนี้ถือเป็น รุ่นที่ 374 สำหรับการจัดกิจกรรมในวันนี้ได้รับความร่วมมือจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน อาทิ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดยโสธร, สภาอุตสาหกรรมจังหวัดยโสธร รวมทั้งรุ่นพี่ คพอ. ร่วมเล่าประสบการณ์และให้กำลังใจผู้ที่เข้าร่วมโครงการเพื่อพัฒนาธุรกิจของตัวเอง สร้างเครือข่าย เสริมแกร่งเศรษฐกิจของประเทศต่อไป.การจัดกิจกรรมในครั้งนี้มีเจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 ร่วมจัดฯ อาทิ นางสาวปริทัศน์ เชื้อประทุม, นายสมเกียรติ จันทร์เพ็ญมงคล, สิบเอกกรุงรัตน์ อยู่คล้ำ, นายศุภชัย สืบวงศ์.#DIPROM #ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 #กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
02 เม.ย. 2564
คณะนิเทศและติดตามฯ งบกลุ่มจังหวัดอีสานล่าง 2 พบศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 แลกเปลี่ยนแนวทางในการดำเนินงาน
อุบลราชธานี 31 กรกฎาคม 2564 ที่ห้องประชุมผาแต้ม ชั้น 2 อาคารอำนวยการ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 พร้อมด้วย นายสุริยา โพธิยา ผู้อำนวยการกลุ่มบริการธุรกิจอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ, นายกฤษณะ นอขุนทด ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรม, นายสุเทพ ทุตา ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมอุตสาหกรรมชุมชน, นายฉาย ทองละมุล ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงานภูมิภาค และคณะเจ้าหน้าที่ฯ ร่วมต้อนรับคณะนิเทศและติดตามการดำเนินโครงการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 ครั้งที่ 1/2564 อีกทั้งเพื่อรับทราบปัญหา อุปสรรค แลกเปลี่ยนแนวทางในการดำเนินงาน ตลอดจนเตรียมพร้อมการประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการ เพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาดำเนินโครงการในปีต่อไป ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้รับการจัดสรรงบประมาณ ภายใต้งบประมาณกลุ่มจังหวัดเฉียงเหนือตอนล่าง 2 จำนวน 1 โครงการ คือ โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปแบบครบวงจร ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการตามแผนงาน.#DIPROM #ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่7 #กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม #กระทรวงอุตสาหกรรม
31 มี.ค. 2564
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM IPC7)เปิดบ้านต้อนรับน้องๆ มมส. เสริมแรงบันดาลใจ สู่นักออกแบบผลิตภัณฑ์
อุบลราชธานี 30 มีนาคม 2564 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดบ้านต้อนรับ รองศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ชาย สิกขา อาจารย์ประจำภาควิชาวัฒนธรรมและการออกแบบ พร้อมด้วยคณาจารย์ และน้องๆ นักศึกษาจากคณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในโอกาสเยี่ยมชม ศึกษาดูงาน ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 เพื่อเสริมสร้างแรงบันดาลใจ แลกเลี่ยนแนวคิด ดูผลงานจริงจากผู้ประกอบการที่เข้ามาใช้บริการ เพื่อให้น้องๆ สามารถนำไปปรับใช้ในการศึกษาและต่อยอดการทำงานในอนาคตได้ โดยมี นายรัฐนนท์ บุญญา นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการ และคณะเจ้าหน้าที่ร่วมบรรยายถึงงานบริการและเครื่องมือของศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 หรือ ศูนย์ ITC 4.0 ให้น้องๆได้รับฟัง
30 มี.ค. 2564
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM IPC7) เปิดเสวนา "อุตสาหกรรมเกษตร เปลี่ยนอย่างไร ไปได้เร็ว"
อุบลราชธานี 29 มีนาคม 2564 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จัดพิธีเปิดตัวโครงการโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปแบบครบวงจร ภายใต้งบประมาณกลุ่มจังหวัดเฉียงเหนือตอนล่าง 2 ภายใต้ชื่อ "อุตสาหกรรมเกษตร เปลี่ยนอย่างไร ไปได้เร็ว" โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี นายสฤษดิ์ วิฑรูย์ ให้เกียรติเป็นประธาน โดยมีผู้ประกอบการเข้าร่วมกว่า 270 คน.ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เผยว่า จากการที่ได้เห็นผลกระทบเกี่ยวกับการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปที่ผ่านมา ทั้งในด้านของปัจจัยการผลิต การสนับสนุน ส่งเสริม รวมทั้งการแปรรูปผลิตภัณฑ์ นั้น โครงการนี้จะช่วยส่งเสริมให้วัตถุดิบทางการเกษตรมีมูลค่าเพิ่มขึ้น โดยการพัฒนาตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ด้วยการสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการทางการ รวมทั้งเกษตรกร การพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์ การให้ความรู้ด้านการบริหารจัดการธุรกิจ เพื่อวางแผนการดำเนินธุรกิจให้มีประสิทธิภาพ การพัฒนามาตรฐานเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและสุดท้ายคือการพัฒนาด้านการตลาด ทั้งการตลาดดิจิทัล การแสดงสินค้า โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ประกอบการ SMEs วิสาหกิจชุมชน OTOP ในอุตสาหกรรมเกษตรและที่เกี่ยวเนื่อง จำนวนไม่น้อยกว่า 200 คน โดยแบ่งกิจกรรมเป็น 5 กิจกรรม ได้แก่.1. กิจกรรมเส้นทางเกษตรปลอดภัย2. กิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด3. กิจกรรมยกระดับอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปสู่มาตรฐาน4. กิจกรรมยกระดับธุรกิจสู่การบริหารจัดการที่ทันสมัย5. กิจกรรมขับเคลื่อนการตลาดด้วยระบบดิจิทัล.โดยข้อมูล ณ ปัจจุบัน มีผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการกว่า 200 ราย แบ่งเป็น จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 114 ราย, จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 44 ราย, จังหวัดยโสธร จำนวน 30 ราย, จังหวัดอำนาจเจริญ จำนวน 18 ราย ซึ่งคาดว่าผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการฯ จะมีผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีมูลค่าเพิ่มไม่น้อยกว่า 30 ผลิตภัณฑ์ เกิดเครือข่ายความร่วมมือทางธุรกิจหรือเครือข่ายเกษตรปลอดภัย และผู้ประกอบการสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการดำเนินธุรกิจ จนส่งผลให้มีรายได้เพิ่มขึ้นหรือเมื่อสิ้นสุดการดำเนินโครงการ มูลค่าเศรษฐกิจในภาพรวมเพิ่มจึ้น 3 เท่าตัว ในปีถัดไป.ภายในงานมีการบรรยายถึงแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตร มาตรการส่งเสริม SMEs ในภาพรวมของโครงการ โดย นายสุเทพ ทุตา ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมอุตสาหกรรมชุมชน, นายกฤษณะ นอขุนทด ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรม, นายสุริยา โพธิยา ผู้อำนวยการกลุ่มบริการธุรกิจอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ, นายฉาย ทองละมุล ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงานภูมิภาค รวมถึงแนวคิดการดำเนินธุรกิจจากผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมเกษตรที่ประสบความสำเร็จ ร่วมเสวนามุมมองการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตร เพื่อให้ผู้ประกอบการได้รับฟัง จำนวน 4 ท่าน อาทิ คุณชัยรัตน์ โสธรนพบุตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ผลไม้แปรรูปวรพร จำกัด (ผลไม้ดองร้อยล้าน), คุณรณภพ เถาว์โท ธุรกิจแฟรนไชส์ พิซซ่าเงินล้าน (เจ้าของพิซซ่าหน้าทุเรียนเจ้าแรกของประเทศไทย), คุณสายฝน ดวงคำ ฟาร์มคุณลุงกะทิ เจ้าของก๋วยเตี๋ยวเส้นเห็ด, คุณปัทมกร คุณากรจิตติรักษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ยูไนเต็ด โนเลจด์ คอนซัลแตนท์ จำกัด โดยมี อาจารย์ชวพจน์ ศุภสาร ร่วมเป็นพิธีกรดำเนินรายการ.#ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่7 #DIPROM
29 มี.ค. 2564
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ส่งเสริมสุขภาวะองค์กร เสริมแกร่งสถานประกอบการ
อุบลราชธานี 20 มีนาคม 2564 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมสุขภาวะองค์กรใน SMEs หรือ SHAP ซึ่งได้ดำเนินการสร้างองค์กรแห่งความสุขเพื่อเพิ่มผลิตภาพ SMEs ไทยมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีการถ่ายทอดองค์ความรู้การสร้างสุขภาวะองค์กรตามหลัก Happy Workplace จากทางผู้จัดและเครือข่ายหน่วยงานซึ่งทำหน้าที่สนับสนุนโครงการ ให้สถานประกอบการมีความสุข ทำงานเป็นทีมได้ดี ซึ่งจะเป็นรากฐานให้บุคลากรในองค์กรสามารถปรับตัว และนำไปใช้ในการขับเคลื่อนองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในวันนี้ (20 มีนาคม 2564) ได้รับเกียรติจาก ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในหลักสูตร "Happy and productive workplace คนสำราญ งานสำเร็จ" ณ บริษัท อุบลซันฟลาวเวอร์ จำกัด ต.นาดี อ.นาเยีย จ.อุบลราชธานี โดยมี คุณวินัยศักดิ์ เหมืองทอง ร่วมเป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้ ร่วมกันจัดทำค่านิยมองค์กร สนับสนุนให้พนักงานในองค์กรมีส่วนร่วมในการออกแบบกิจกรรมสำหรับสร้างความสุข พร้อมทั้งเขียนโครงการ วางแผน และ กรอบเวลา ในการเสริมแกร่งคุณภาพชีวิตของพนักงานเพื่อขับเคลื่อนองค์กรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยมีบุคลากรเข้าร่วมกว่า 50 คน สำหรับการจัดกิจกรรมในครั้งนี้มีเจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 ร่วมสนับสนุนการจัดกิจกรรม ได้แก่ นายสุริยา โพธิยา, นางแพงศรี พงษ์เกษม, นายอัครภณ จำปารัตน์, นายศุภชัย สืบวงศ์, นายมิตร แสงกล้า #DIPROM #ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่7 #กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม #กระทรวงอุตสาหกรรม
20 มี.ค. 2564
ศภ.7 กสอ. เสริมแกร่ง Logistics ร่วมเพิ่มศักยภาพ SMEs แลกเปลี่ยนโซ่อุปทานภาคอุตสาหกรรม
อุบลราชธานี 10 มีนาคม 2564 ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มอบหมายให้ นายกฤษณะ นอขุนทด ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรม พร้อมเจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 ร่วมลงพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดศรีสะเกษ เพื่อชี้แจงรายละเอียดโครงการและการดำเนินกิจกรรม ในโครงการเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานภาคอุตสาหกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 เพื่อเตรียมความพร้อมและแลกเปลี่ยนแนวทาง ความต้องการ และปัญหาในการดำเนินธุรกิจ ณ บริษัท อีสานคอนกรีต 1991 จำกัด ในผลิตภัณฑ์ ปูน คอนกรีต และอุปกรณ์ก่อสร้าง และ บริษัท อุบลซันฟลาวเวอร์ จำกัด ในผลิตภัณฑ์ แป้งมันสำปะหลัง.เจ้าหน้าที่ร่วมนายรัฐนนท์ บุญญา, นายพิจิตต์ จอมหงษ์, นายมิตร แสงกล้า
10 มี.ค. 2564
ศภ.7 กสอ. ร่วมประชุมติดตามการดำเนินโครงการกลุ่มจังหวัดอีสานล่าง 2 ผลักดันผู้ประกอบการสู่นักธุรกิจเกษตร
อุบลราชธานี 19 กุมภาพันธ์ 2564 ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มอบหมายให้ นายฉาย ทองละมุล ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงานภูมิภาค เข้าร่วมประชุมคณะอนุกรรมการติดตามเร่งรัดและประเมินผลการดำเนินโครงการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี ของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 ครั้งที่ 1/2564 ณ ห้องประชุมปทุมวรราช ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี โดยมี นายศุภศิษย์ กอเจริญยศ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เป็นประธาน
19 ก.พ. 2564
ศภ.7 กสอ. ลงพื้นที่พบผู้ประกอบการ...ร่วมบริหารจัดการโลจิสติกส์...เสริมโซ่อุปทานภาคอุตสาหกรรม
ระหว่างวันที่ 16-17 กุมภาพันธ์ 2564 ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 มอบหมายให้ นายรัฐนนท์ บุญญา, นายพิจิตต์ จอมหงษ์ และนายศุภชัย สืบวงค์ ร่วมลงพื้นที่สำรวจและประเมินศักยภาพ แลกเปลี่ยนแนวทางในการดำเนินกิจการ ความต้องการ ความพร้อม สถานประกอบการซึ่งสมัครเข้าร่วมโครงการ "การเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานภาคอุตสาหกรรม" ประจำปีงบประมาณ 2564 พื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดยโสธร ณ บริษัท บัวทองสมุนไพรและสปา จำกัด ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสมุนไพร, บริษัท พรูเด็นเชียลแอมพรี (ไทยแลนด์) จำกัด ผลิตภัณฑ์ ชุด Cleanroom, บริษัท 3 เอ เบฟเวอเรจ จำกัด ผลิตน้ำดื่ม, บริษัท จรินทร์กิจ แอนด์ ทรานสปอร์ต จำกัด ผลิตภัณฑ์วุ๊ดชิพ และกิจการการขนส่ง , หจก. ลำธารสราญรมย์ ผลิตน้ำตกจำลองจากไฟเบอร์กลาส
17 ก.พ. 2564
ศภ.7 กสอ. สร้างแนวคิดการเพิ่มมูลค่าการออกแบบและแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าทออีสาน ต่อยอดอัตลักษณ์ ลวดลาย ยกระดับสินค้า เพิ่มศักยภาพชุมชน ยุค New Normal
อุบลราชธานี 17 กุมภาพันธ์ 2564 - ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร "สร้างแนวคิดเพิ่มมูลค่าการออกแบบและแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าทออีสาน ยุค New Normal" ภายใต้โครงการยกระดับผ้าทอมืออัตลักษณ์อีสานสู่สากล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ณ โรงแรมบ้านสวนคุณตา กอล์ฟ แอนด์ รีสอร์ท กล่าวรายงานโดย นายสุเทพ ทุตา ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมอุตสาหกรรมชุมชน.ครั้งนี้เป็นการจัดกิจกรรมต่อเนื่องจากหลักสูตร "การสร้างอัตลักษณ์ ลวดลาย สี เส้นใย เทคนิคการทอ ตระหนัก วัตถุดิบ" ที่ผ่านมา เป็นการเพิ่มศักยภาพด้านการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ และสามารถเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมผ้าทอมือให้กับผู้ประกอบการ เป็นการสร้างแนวคิดเพิ่มมูลค่าการออกแบบและแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าทออีสาน ยุค New Normal ตัวอย่างเช่น ผ้า หมวก กระเป๋า ออกแบบและผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า มีมาตรฐาน มีคุณภาพ เหมาะสมกับการใช้งาน พัฒนาต่อยอดและเพิ่มรายได้ให้กับผู้ประกอบการ ยกระดับสินค้าผ้าทอมือได้อย่างยั่งยืน มี รศ.ดร.ศักดิ์ชาย สิกขา, คุณอุไร เสนสุคณธ์ และทีมผู้เชี่ยวชาญ ร่วมเป็นวิทยากร มีผู้ประกอบการเข้าร่วมกว่า 40 คน.เจ้าหน้าที่ร่วมนางเปลี่ยน จำปาหอม, นายนฤพนธ์ ทาวะรัตน์, นายตระกูล อ่อนรัตน์,นางสาวอภิชญา มาศรักษา, นายมิตร แสงกล้า.#ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่7
17 ก.พ. 2564