โทรศัพท์ 1358
หมู่บ้าน CIV คือ
หมู่บ้าน CIV คือ
กระทรวงอุตสาหกรรม หนึ่งในหน่วยงานที่ยึดแนวทางการเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาทในการน้อมนำแนวพระราชดำริ พระราชกรณียกิจ พระราชจริยวัตร ตลอดจนนำพระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มาใช้เป็นแนวทางสู่การพัฒนาคนในชุมชน ตามหลักการนี้พระองค์ทรงตรัสว่า “ต้องระเบิดจากข้างใน” หมายความว่า มุ่งการพัฒนาเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้คนและครอบครัวในชุมชนที่จะเข้าไปพัฒนา ให้มีความพร้อมที่จะรับการพัฒนาเสียก่อน แล้วจึงค่อยออกมาสู่สังคมภายนอก มิใช่การนำเอาความเจริญจากสังคมภายนอกเข้าไปหาชุมชนและหมู่บ้าน ซึ่งหลายชุมชนยังต้องมีการเตรียมตัวหรือต้องใช้เวลากับการตั้งตัวก่อนที่จะปรับตัวให้ทันกับกระแสการเปลี่ยนแปลง กระทรวงอุตสาหกรรม โดย พสุ โลหารชุน ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ได้น้อมนำแนวทางพระราชดำริดังกล่าวมาเป็น “หัวใจ” ต่อการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Industry Village : CIV) ด้วยตระหนักถึงการสร้างรากฐานชุมชนให้แกร่งมาจาก “ข้างใน” พัฒนาก้าวสู่ชุมชนเพื่อรองรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการตามยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 ด้วยมีธุรกิจการท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นเครื่องมือกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชนในแทบทุกมิติ ทั้งด้านสินค้าและการบริการ ในแนวคิดการดำเนินงาน ประกอบด้วย อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ทุนวัฒนธรรมและภูมิปัญญา และแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน และให้มีการบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานเติมเต็มองค์ความรู้กับ “หมู่บ้าน CIV” ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรม น้อมนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงของพระองค์ท่านมาใช้ในการพัฒนาหมู่บ้านที่มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ตามหลัก 7 ประการ คือ 1. ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม กล่าวคือ ใช้เทคโนโลยีที่มีราคาไม่แพงแต่ถูกหลักวิชาการ 2. มีขนาดผลิตที่เหมาะสมสอดคล้องกับความสามารถในการบริหารจัดการ 3. ไม่โลภ หลง ไม่เห็นกำไรระยะสั้นเป็นหลัก 4. มีความซื่อสัตย์สุจริตในการประกอบการ ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค 5. เน้นการกระจายความเสี่ยงด้วยการสร้างผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย และหรือมีความสามารถในการปรับเปลี่ยนผลผลิตได้ 6. เน้นการบริหารความเสี่ยงต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ก่อหนี้จนเกินขีดความสามารถในการจัดการ 7. เป็นการใช้เสน่ห์ในท้องถิ่นเพื่อการขับเคลื่อน จากหลักการศาสตร์ของพระราชาต่อการพัฒนาหมู่บ้านสร้างสรรค์ (Creative Industry Village : CIV) หมายถึง หมู่บ้านแห่งความสมดุลที่นำทุนวัฒนธรรม วิถีชีวิตมาผสมผสานกับความคิดสร้างสรรค์และการออกแบบ เพื่อสร้างมูลค่าใหม่ของสินค้าที่ระลึกจากชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวให้เกิดมูลค่าใหม่ทางเศรษฐกิจบนแนวคิดอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ โดยกระทรวงอุตสาหกรรมได้คัดเลือกหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ต้นแบบ 9 ชุมชน ในปี 2560 ก้าวเดิน “ตามรอยพ่อ” ร้อยเรียงเรื่องราวเพื่อถวายความอาลัยต่อพ่อของแผ่นดิน "ชุมชนน้อมนำสู่การปฏิบัติและร่วมขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อประโยชน์ของส่วนรวมให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม และใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างมีความสุขตลอดไป" พสุ กล่าวทิ้งท้าย
27 ส.ค 2561
ITC ศภ.7 จัดกิจกรรมสร้างความตระหนักเพื่อสร้างการรับรู้ การบริการของศูนย์ ITC
ITC ศภ.7 จัดกิจกรรมสร้างความตระหนักเพื่อสร้างการรับรู้ การบริการของศูนย์ ITC
อุบลราชธานี - วันที่ 27 สิงหาคม 2561 ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม Industry Tranformation Center : ITC ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จัดกิจกรรมสร้างความตระหนักเพื่อสร้างการรับรู้ การบริการของศูนย์ ITC การสร้างแรงบันดาลใจสู่แนวคิดการออกแบบบรรจุภัณฑ์ และการใช้เทคโนโลยี ซึ่งได้รับเกียรติจาก บริษัท อาร์เอสที โรโบติกส์ จำกัด (RST Robotic) นายอินทัช อนุพรรณสว่าง เป็นวิทยากร พร้อมสาธิตการทำงานของหุ่นยนต์แขนกลอัตโนมัติ และการแนะนำ สาธิตการใช้เครื่องมือของศูนย์ ITC จากเจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 ขอขอบพระคุณผู้ประกอบการทุกท่านเป็นอย่างยิ่งที่เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ สำหรับในพรุ่งนี้ (28 สิงหาคม 2561) จะมีการจัดกิจกรรมอยู่ที่โรงแรมลายทอง ห้องบอลลูม 1 การสร้างแรงบัลดาลใจสู่แนวคิดการออกแบบบรรจุภัณฑ์ #แล้วเจอกันนะครับ ดูอัลบั้มภาพทั้งหมด ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 โทร 045 314 217 website : ipc7.dip.go.th facebook : fb.com/dip.ipc7 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 ตั้งอยู่ถนนคลังอาวุธ เส้นเดียวกันกับโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ อุบลราชธานี อยู่ฝั่งตรงข้ามกับกองร้อยอาสารักษาดินแดนจังหวัดอุบลราชธานีที่ 1 นะครับ
27 ส.ค 2561
บริการฟรี ITC พื้นที่ จ.ศรีสะเกษ
บริการฟรี ITC พื้นที่ จ.ศรีสะเกษ
บริการฟรี ระหว่างวันที่ 20-22 สิงหาคม 2561 ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม (ITC) ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 ร่วมสาธิตการใช้งานเครื่องบรรจุของเหลว, เครื่องปิดฝากระป๋อง, เครื่องติดฉลาก ณ สถานประกอบการ ในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ สำหรับผู้ประกอบการท่านไหนที่สนใจร่วมทดลองใช้เครื่องจักร หรือร่วมแลกเปลี่ยนแนวทางการดำเนินธุรกิจ สามารถเข้ามาติดต่อสอบถามได้ที่ ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม (ITC) ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 ได้เลยครับ หรือสามารถโทรเข้ามาสอบถามก่อนได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 045-314-217 ต่อ 115 เจ้าหน้าที่ร่วมดำเนินกิจกรรม นายจักรพงศ์ มูลสมบัติ, นายชิติพัทธ์ กรไกร, นายสิทธิศักดิ์ วันพุฒ, นางสาวศิริวรรณ เจริญสุข, นายสังวาลย์ จันทะเวช ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 โทร 045 314 217 website : ipc7.dip.go.th facebook : fb.com/dip.ipc7 . ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 ตั้งอยู่ถนนคลังอาวุธ เส้นเดียวกันกับโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ อุบลราชธานี อยู่ฝั่งตรงข้ามกับกองร้อยอาสารักษาดินแดนจังหวัดอุบลราชธานีที่ 1 นะครับ
23 ส.ค 2561
บอกต่อ ห้ามพลาด ฟรี แถมยังมีงบสนับสนุนอีกด้วยนะ
บอกต่อ ห้ามพลาด ฟรี แถมยังมีงบสนับสนุนอีกด้วยนะ
บอกต่อ ห้ามพลาด ฟรี แถมยังมีงบสนับสนุนอีกด้วยนะ.วันที่ 28 สิงหาคม 2561พบกับ การสร้างแรงบันดาลใจสู่แนวคิดการออกแบบบรรจุภัณฑ์และการใช้เทคโนโลยี.ณ ห้องบอลรูม 1 โรงแรมลายทอง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี.สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่08-3995-9932 คุณไก่,08-5414-5355 คุณหน่อย, https://www.facebook.com/dip.ipc7/photos/a.162097624166091/794423590933488/?type=3&theater
22 ส.ค 2561
บริการเงินกู้ รายละไม่เกินสองล้านบาท ไม่เกิน 2,000,000 บาท
บริการเงินกู้ รายละไม่เกินสองล้านบาท ไม่เกิน 2,000,000 บาท
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม บริการเงินกู้ รายละไม่เกินสองล้านบาท ไม่เกิน 2,000,000 บาท ดอกเบี้ยต่ำ อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4 ต่อปีวัตถุประสงค์- เพื่อบรรเทาฟื้นฟูผู้ประกอบการฯ และให้ความช่วยเหลือราษฎรและกลุ่มผู้ประกอบการอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทย หรืออุตสาหกรรมรายย่อยให้มีการขยายการผลิตหรือปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ฯลฯผู้มีสิทธิขอกู้เงิน- ผู้ประกอบการรายเดิมของเงินทุนหมุนเวียนฯ ราษฎร กลุ่มอาชีพ ผู้ผลิตอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมและผู้ประกอบการรายย่อยประเภทอุตสาหกรรมที่ให้กู้เงินทุนหมุนเวียน ดังนี้- ประเภทอาหาร- ประเภทเครื่องดื่ม- ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย- ประเภทของใช้และเครื่องประดับตกแต่ง- ประเภทศิลปะประดิษฐ์และของที่ระลึก- ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหารและยา- ประเภทอื่นๆ เช่น กลุ่มงานบริการ ซ่อม เชื่อม กลึง หล่อ ชุบ บรรจุภัณฑ์และการพิมพ์ เป็นต้นหลักประกันเงินกู้- บุคคลค้ำประกัน เป็นข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ- หลักทรัพย์ค้ำประกัน เป็นโฉนดที่ดิน หรือ น.ส.3 ก. โดยหลักทรัพย์นั้นต้องมีทางสาธารณะประโยชน์ เป็นของตนเองหรือบุคคลอื่นที่ยินยอมไว้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน ซึ่งหลักทรัพย์ดังกล่าวจะต้องปลอดจำนองและภาระติดพันใดๆ ทั้งสิ้น วงเงินกู้และเงื่อนไข (วงเงินกู้ไม่เกิน 200,000 บาท (ใช้บุคคลค้ำประกัน))- วงเงินกู้ไม่เกิน 50,000 บาท บุคคลค้ำประกันไม่น้อยกว่า 1 คน เงินเดือนหรือรายได้คงเหลือไม่ต่ำกว่า 5,000 บาท ระยะเวลาการผ่อนชำระภายใน 2 ปี- วงเงินกู้เกิน 50,000-100,000 บาท บุคคลค้ำประกันไม่น้อยกว่า 2 คน เงินเดือนหรือรายได้คงเหลือไม่ต่ำกว่า 5,000 บาท ระยะเวลาการผ่อนชำระภายใน 4 ปี- วงเงินกู้เกิน 100,000 - 200,000 บาท บุคคลค้ำประกันไม่น้อยกว่า 2 คน เงินเดือนหรือรายได้คงเหลือไม่ต่ำกว่า 5,000 บาท ระยะเวลาการผ่อนชำระภายใน 6 ปีวงเงินกู้และเงื่อนไข (วงเงินกู้ไม่เกิน 2,000,000 บาท (ใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน))- วงเงินกู้ 200,000 - 1,000,000 บาท ผ่อนชำระภายใน 8 ปี- วงเงินกู้ 1,000,000 - 2,000,000 บาท ผ่อนชำระภายใน 10 ปี* โฉนดที่ดิน สามารถยื่นขอกู้ได้ไม่เกินร้อยละ 90 % ของราคาประเมินทางราชการ* น.ส.3ก. สามารถยื่นคำขอกู้ได้ไม่เกินร้อยละ 60 % ของราคาประเมินทางราชการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7โทร 045-313-482 คุณละออง ธงสอาดศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 ตั้งอยู่ถนนคลังอาวุธ เส้นเดียวกันกับโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ อุบลราชธานี อยู่ฝั่งตรงข้ามกับกองร้อยอาสารักษาดินแดนจังหวัดอุบลราชธานีที่ 1 นะครับhttps://ipc7.dip.go.th/----------------------------------------------------ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 อุบลราชธานี
09 ส.ค 2561