"โครงการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม (คพอ.) รุ่นที่ 331 จังหวัดอุบลราชธานี"
สมัครออนไลน์ รับสมัคร ตั้งแต่บัดนี้ - 15 ธันวาคม 2560 ประกาศผลการคัดเลือก วันที่ 20 ธันวาคม 2560 https://goo.gl/forms/ZLztmIDvSYvxC1Pu1 การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ "โครงการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม (คพอ.) รุ่นที่ 331 จังหวัดอุบลราชธานี" ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสู่การเป็นสมาร์ทเอสเอ็มอีและโกลบอลเอสเอ็มอี จัดขึ้นระหว่างวันที่ 14 มกราคม 2561 - 9 กุมภาพันธ์ 2561 ณ จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดใกล้เคียงกำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม หลักสูตรการฝึกอบรมประกอบด้วยหมวดวิชา 4 หมวด คือ1. ลักษณะของผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ2. การบริหารจัดการธุรกิจเชิงสร้างสรรค์3. การประเมินธุรกิจและการจัดทำแผนพัฒนาธุรกิจ4. สิ่งที่ควรรู้ในการบริหารจัดการธุรกิจ คุณสมบัติของผู้สมัครเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)เป็นเจ้าของธุรกิจ หุ้นส่วนหรือทายาทธุรกิจเป็นผู้บริหารที่มีอำนาจตัดสินใจในธุรกิจดำเนินธุรกิจในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี หรือจังหวัดศรีสะเกษ หรือจังหวัดอำนาจเจริญ หรือจังหวัดยโสธร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นางสาวจันทร์จิรา ทองนำโทร. 0821532001E-mail : janjirat@dip.go.th สมัครออนไลน์รับสมัคร ตั้งแต่บัดนี้ - 15 ธันวาคม 2560 ประกาศผลการคัดเลือก วันที่ 20 ธันวาคม 2560 https://goo.gl/forms/ZLztmIDvSYvxC1Pu1 https://ipc7.dip.go.th/----------------------------------------------------------ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา ธุรกิจอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม เพื่อให้มีสมรรถนะและขีดความสามารถในการประกอบการ ที่เป็นเลิศและมีความยั่งยืนสู่สากลโทรศัพท์ : (045)311987โทรสาร : (045)311987website : https://ipc7.dip.go.th
12 ต.ค. 2560
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 สำรวจกลุ่มเป้าหมายเพื่อเข้าร่วมโครงการ'61
วันที่ 6 ตุลาคม 2560 นางวีระวรรณ ปัณฑรสูตร ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 มอบหมายให้ นางสาวนราวดี จันทร์จำปา, นางสาวใหม่นภา พุฒพิมพ์, นายจิตติ โสบุญ สำรวจกลุ่มเป้าหมายและประชาสัมพันธ์โครงการเพื่อเข้าร่วมโครงการของ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ในปีงบประมาณ 2561 ในโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดและโครงการพัฒนาเครือข่ายเกษตรแปรรูป สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นางสาวนราวดี จันทร์จำปา โทรศัพท์ 09-09959932 https://ipc7.dip.go.th/ ---------------------------------------------------------- ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา ธุรกิจอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม เพื่อให้มีสมรรถนะและขีดความสามารถในการประกอบการ ที่เป็นเลิศและมีความยั่งยืนสู่สากล โทรศัพท์ : (045)311987 โทรสาร : (045)311987 website : https://ipc7.dip.go.th
06 ต.ค. 2560
@@@ป.เกรียบกุ้ง จุดเริ่มของธุรกิจ@@@
ผ่านมาหมดแล้วสำหรับธุรกิจในฝันของมนุษย์เงินเดือน ไม่ว่าจะเป็นร้านกาแฟสด กาแฟโบราณ ร้านชา ขายของออนไลน์ สุดท้ายมาจบที่การขายข้าวเกรียบกุ้ง แบรนด์ 'ป.เกรียบกุ้ง' ต่อยอดสู่หมอนยางพารา ขนมขบเคี้ยวจากข้าวกล้อง สร้างมิติใหม่วงการเกษตรบ้านเกิดเมืองอุบลฯ@@@ป.เกรียบกุ้ง จุดเริ่มของธุรกิจ@@@ไม่ธรรมดาจริงๆ สำหรับ “พิริยศาสตร์ ตระการจันทร์” หนุ่มต่างจังหวัดเข้ามาศึกษาต่อในเมืองหลวง เมื่อเรียนจบก็เป็นมนุษย์เงินเดือนในหลากหลายสาขาอาชีพ อย่างวงการโทรคมนาคม วงการยา รวมถึงค้าส่งและค้าปลีก กระทั่งคิดที่จะทำธุรกิจของตัวเองก็เริ่มต้นด้วยธุรกิจในฝันของใครหลายคน ด้วยการเปิดร้านกาแฟสด กาแฟโบราณ ร้านชานม รวมถึงการขายของออนไลน์ด้วยการสั่งซื้อสินค้าจากเว็บไซต์ชื่อดังอาลีบาบา (Alibaba) มาขายทำกำไร แต่ทุกอย่างก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร นายพิริยศาสตร์ ตระการจันทร์ เจ้าของธุรกิจ ป.เกรียบกุ้ง กระทั่งไปสะดุดกับข้อมูลตลาดขนมขบเคี้ยวของไทยที่มีมูลค่าสูงถึง 2.7 หมื่นล้านบาท/ปี ถือว่าเป็นตลาดใหญ่ที่น่าสนใจ เขาจึงศึกษาผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวอย่างจริงจัง จนไปพบว่า 'ข้าวเกรียบ' เป็นสินค้าที่ทำง่าย คนในท้องถิ่นรู้จัก รับประทานได้บ่อย ขณะที่ขั้นตอนการผลิตก็ไม่ยุ่งยาก แถมยังใช้เครื่องจักรในราคาไม่แพงมากนัก“ที่ผ่านมาเราทำธุรกิจมาหลากหลายมาก เรียกได้ว่าธุรกิจในฝันของบรรดามนุษย์เงินเดือนที่อยากทำผมทำมาหมดแล้ว ทำให้รู้ว่าการทำธุรกิจไม่ง่ายเลย ซึ่งสุดท้ายกลับมาบ้านเกิด มองหาธุรกิจที่ทำให้ชาวบ้านในชุมชนมีรายได้ และสามารถใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นได้ ซึ่งข้าวเกรียบกุ้งเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์ โดยการผลิตนั้นผมศึกษาจากยูทูป (youtube) ลองผิดลองถูกเองทั้งหมดจนได้สูตรที่ลงตัว และขับรถไปขายเอง ส่งตามร้านขายของชำ และร้านค้าทั่วไป จนสินค้าติดตลาดและเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค” นำเศษยางพารามาต่อยอดเป็นหมอนแฟนซี ความกรุบกรอบ และสดใหม่ถือเป็นหัวใจหลักของขนมขบเคี้ยว ซึ่งพิริยศาสตร์ สามารถตอบโจทย์เหล่านี้ได้ทั้งหมด อาศัยความได้เปรียบในการเป็นผู้ผลิตเอง ผลิตวันต่อวัน คำนวณปริมาณการผลิตตามความต้องการของลูกค้า ไม่สต๊อกสินค้าเป็นจำนวนมาก รวมถึงเป็นการผลิตแบบเอสเอ็มอีซึ่งเหมาะสมกับการเริ่มต้นธุรกิจข้าวเกรียบกุ้ง อบแห้งด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ลดต้นทุนการผลิต กระทั่งเขามีกำไรจากการขายข้าวเกรียบกุ้งมาก้อนหนึ่ง ก็นำธุรกิจเข้าสู่ระบบธนาคาร เพื่อขอสินเชื่อนำมาขยายกิจการ ซึ่ง SME Development Bank เป็นธนาคารแรกที่ให้เงินกู้ก้อนแรกจำนวน 2 แสนบาทมาต่อยอดธุรกิจ จากนั้นก็ได้เพิ่มมาอีก 8 แสนบาทนำมาต่อยอดโรงงานผลิตและเงินทุนหมุนเวียน ต่อมาเพิ่มเป็น 5 ล้านบาท ซึ่งการที่ธนาคารปล่อยสินเชื่อให้เขาเพิ่มขึ้นเช่นนี้ถือเป็นกำลังใจสำคัญที่ทำให้เขามุ่งมั่นพัฒนาธุรกิจต่อไป เพราะนอกจากการได้รับสินเชื่อแล้ว ทางธนาคารยังช่วยเหลือด้านการตลาด เช่น การพาไปออกบูทแสดงสินค้าทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศ CLMV ญี่ปุ่น และมาเลเซีย ทำให้รู้ว่ากลุ่มลูกค้าคือใคร หมอนยางพาราเพื่อสุขภาพ Parato @@@สแน็กข้าวกล้อง Jambo@@@เมื่อธุรกิจข้าวเกรียบเริ่มอยู่ตัว เขาก็ยังไม่หยุดนิ่งที่จะพัฒนาธุรกิจ โดยมองหาวัตถุดิบในท้องถิ่นเพิ่มมูลค่า โดยเน้นไปที่สินค้าเกษตร ก็พบว่าในพื้นที่มีข้าวหักที่ไร้ค่าแต่เขากลับนำมาแปรรูปเป็นขนมขบเคี้ยวข้าวกล้องธัญพืชอบกรอบโดยไม่ใช้น้ำมันเอาใจคนรักสุขภาพโดยเฉพาะ ภายใต้แบรนด์ “แจมโบ้” (JAMBO) ผลิตออกมาในรูปของซีเรียลอาหารเช้า รับประทานคู่กับนม สู่สแน็กเพื่อสุขภาพ (Healthy snacks) ตอบโจทย์กระแสของการรักสุขภาพที่กำลังเป็นที่นิยม และสร้างฐานลูกค้าใหม่ให้เกิดความหลากหลาย โดยเน้นการใช้วัตถุดิบจากแหล่งชุมชนให้เกิดประโยชน์ ทั้งข้าวปลายหัก, ข้าวกล้อง, ข้าวไรซ์เบอร์รี และเมล็ดธัญพืช สารพัดหมอนแฟนซี @@@หมอนสุขภาพ เพิ่มค่ายางพาราอีสาน@@@หลังจากที่นายพิริยศาสตร์มุ่งมั่นนำผลผลิตทางการเกษตรในท้องถิ่นมาเพิ่มค่า และรังสรรค์เป็นธุรกิจ เขาจึงไม่หยุดเพียงแค่ขนมขบเคี้ยว แต่พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ อย่าง “หมอนยางพารา” เพราะเป็นที่รู้กันว่าภาคอีสานกลายเป็นอีกหนึ่งแหล่งที่นิยมปลูกยางพารากันมากหลังเป็นที่ต้องการของตลาด แต่รายได้ของเกษตรกรกลับไม่เพิ่มขึ้น ดังนั้นการ 'แปรรูป' คือคำตอบ “ผมใช้เวลาลองผิดลองถูกในการทำหมอนยางพาราประมาณ 1 ปี เน้นที่คุณภาพ แต่ราคาย่อมเยา และที่สำคัญต้องทำให้ทุกกระบวนการผลิตชาวบ้านมีส่วนร่วม แม้กระทั่งผู้สูงอายุได้มีรายได้จากผลิตภัณฑ์นี้ สุดท้ายมาลงตัวที่แบรนด์ 'Parato' (พาราโต) หมอนยางพาราเพื่อสุขภาพ และถือเป็นรายแรกที่ทำหมอนแบบแฮนด์เมด ใช้แรงงานคนในท้องถิ่นขึ้นรูป เก็บรายละเอียด ตัดเศษยางส่วนเกิน โดยใช้วิธีอบแห้งด้วยพลังแสงอาทิตย์ 100% ด้วยโรงเรือนพาราโบลา ซึ่งข้อดีคือประหยัดต้นทุนในเรื่องเครื่องอบแห้ง ส่งผลให้สามารถขายในราคาไม่แพงและแข่งขันได้” ไม่เพียงแต่หมอนยางพาราเท่านั้นที่เป็นการนำน้ำยางดิบมาเพิ่มมูลค่า แต่เขายังต่อยอดเป็น อาสนะรองนั่ง, หมอนแฟนซี, อุปกรณ์กายภาพบำบัดยางพารา เนื่องจากคุณสมบัติที่ดี นุ่ม ยืดหยุ่น รองรับสรีระได้ดีและออกแบบตามหลักสรีรศาสตร์ จึงเหมาะสำหรับกลุ่มลูกค้าที่รักสุขภาพ รวมทั้งผู้ป่วย ผู้ป่วยในระยะพักฟื้น และอุปกรณ์ทางการแพทย์ อย่าง แขนจำลองให้นักศึกษาแพทย์ศึกษาเส้นเลือดและกล้ามเนื้อ ลดการนำเข้าจากต่างประเทศ นำมาต่อยอดเป็นหมอนขิดแดนอีสานยางยางพารา “เรามองเห็นศักยภาพของตลาดสินค้าแปรรูปยางพาราที่มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องค่อนข้างสูง เพราะสามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ ได้หลากหลายนับกว่า 10,000 รายการ ซึ่งเมื่อเราผลิตสินค้าที่มีคุณภาพไม่เฉพาะตลาดในประเทศเท่านั้น ยังสามารถส่งสินค้าออกไปต่างประเทศได้ เช่น ประเทศจีน สหรัฐอเมริกา เบลเยียม สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์” สำหรับช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้า นอกจากจะจำหน่ายผ่านตัวแทนจำหน่ายในทุกจังหวัดของประเทศไทยแล้ว ยังมีแผนที่จะจัดจำหน่ายสินค้าในร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ เช่น BigC, TescoLotus, Dohome ฯลฯ ซึ่งร้านค้าปลีกเหล่านี้มีสาขาตั้งอยู่ทั่วประเทศไทย สามารถกระจายได้ครอบคลุมทั้งประเทศ และยังจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์อีกด้วย แขนเทียมจากยางพารา ใช้เพื่อการศึกษาลดการนำเข้า ล้วงแนวคิดโตยั่งยืนกับเกษตรแปรรูป แบบฉบับ ป.เกรียบกุ้ง เศษยางพาราที่เหลือจากการทำหมอน นับเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของมนุษย์เงินเดือนที่กลับมาพัฒนาบ้านเกิดโดยใช้สิ่งที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาเพิ่มมูลค่าจนประสบความสำเร็จ และพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าสินค้าเกษตรของไทยก็ไม่ด้อยกว่าชาติอื่น เครื่องผสมน้ำยางพาราดิบ ก่อนนำมาขึ้นรูปเป็นหมอนเพื่อสุขภาพ แม่พิมพ์หมอนยางพารา บริเวณหน้าโรงงานผลิตข้าวเกรียบกุ้ง และหมอนยางพารา อ้างอิง https://goo.gl/x9a6hV
03 ต.ค. 2560
โครงการเพิ่มศักยภาพวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้สู่อุตสาหกรรม 4.1
โครงการดีๆ มาอีกแล้วครับ โครงการเพิ่มศักยภาพวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้สู่อุตสาหกรรม 4.1 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นายจักรพงศ์ มูลสมบัติ091-8324139 ----------------------------------------------------------ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา ธุรกิจอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม เพื่อให้มีสมรรถนะและขีดความสามารถในการประกอบการ ที่เป็นเลิศและมีความยั่งยืนสู่สากลโทรศัพท์ : (045)311987โทรสาร : (045)311987website : https://ipc7.dip.go.thfacebook : https://www.facebook.com/dip.ipc7
19 ก.ย. 2560
แนะนำวิธีการใช้งาน ระบบกรอกข้อมูล ร.ง.8 ออนไลน์
แนะนำวิธีการใช้งาน ระบบกรอกข้อมูล ร.ง.8 ออนไลน์ ข้อมูล ร.ง. 8 คือ แบบสำรวจข้อมูลการผลิต โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ได้นำมาจัดทำเป็นดัชนีอุตสาหกรรม เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการรายงานสภาวะอุตสาหกรรมในปัจจุบัน และคาดการณ์ในอนาคต แบบสอบถามร.ง.8 ซึ่งประกอบไปด้วย สินค้า(จำนวน) สินค้าสำเร็จรูป(มูลค่า) แรงงาน วัตถุดิบ ความคิดเห็นต่อสภาวะธุรกิจ หมายเหตุภาพรวมโรงงาน สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมผ่านทาง http://indexes.oie.go.th https://www.youtube.com/watch?v=a5QX11uVnN0 ----------------------------------------------------------ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา ธุรกิจอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม เพื่อให้มีสมรรถนะและขีดความสามารถในการประกอบการ ที่เป็นเลิศและมีความยั่งยืนสู่สากลโทรศัพท์ : (045)311987โทรสาร : (045)311987website : https://ipc7.dip.go.thfacebook : https://www.facebook.com/dip.ipc7
18 ก.ย. 2560
ขอเชิญพบกับงานแสดงสินค้าคุณภาพจากภาคตะวันออก และงานแสดงเทคโนโลยีเครื่องจักรที่จะนำท่านสู่ อุตสาหกรรม 4.0
ขอเชิญพบกับงานแสดงสินค้าคุณภาพจากภาคตะวันออก และงานแสดงเทคโนโลยีเครื่องจักรที่จะนำท่านสู่ อุตสาหกรรม 4.0 มหกรรมเครือข่ายสินค้าดีภาคตะวันออกณ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 ระหว่างวันที่ 7-10 กันยายน 2560----------------------------------------------------------ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา ธุรกิจอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม เพื่อให้มีสมรรถนะและขีดความสามารถในการประกอบการ ที่เป็นเลิศและมีความยั่งยืนสู่สากลโทรศัพท์ : (045)311987โทรสาร : (045)311987website : https://ipc7.dip.go.thfacebook : https://www.facebook.com/dip.ipc7
04 ก.ย. 2560
กระทรวงอุตฯ อัดฉีดสินเชื่อเอสเอ็มอีภาคอีสาน 111 ล้าน
นายอุตตม สาวนายน รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยในโอกาสเป็นประธานมอบนโยบายศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาค 6 ที่จ.นครราชสีมา ว่าขณะนี้กระทรวงได้เร่งให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) อย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้รับรายงานจากการลงพื้นที่ครั้งนี้ว่า ล่าสุดมีเอสเอ็มอีในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 67 ราย ได้รับอนุมัติสินเชื่อรวมจากโครงการต่างๆ 111.10 ล้านบาท โดยเอสเอ็มอีที่ได้รับความช่วยเหลือ แบ่งเป็นสินเชื่อจากกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ 12 ราย โครงการสินเชื่อฟื้นฟูเอสเอ็มอีจากอุทกภัยและภัยพิบัติ 5 ราย โครงการสินเชื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ (เอสเอ็มอี ทรานส์ฟอร์เมชั่น โลน) 12 ราย โครงการเงินทุนฟื้นฟูวิสาหกิจขนาดย่อม 28 ราย และความช่วยเหลือจากคูปองตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ (OSMEP Voucher) 10 ราย ขณะที่ ภาพรวมการยื่นคำขอสินเชื่อของเอสเอ็มอีในจ.นครราชสีมามีจำนวน 400 ราย ได้รับอนุมัติสินเชื่อแล้วเป็นเงิน 40 ล้านบาท
22 ส.ค 2560
กสอ.ชี้ตลาดคุณแม่สายโซเชียลโต พบมีอำนาจในการตัดสินใจซื้อสูง
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมเผยตลาดคุณแม่สายโซเชียลมีแนวโน้มขยายตัวทางเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น พบปี 2560 มีปริมาณกว่า 8 ล้านคน ชี้เป็นตลาดที่น่าสนใจสำหรับผู้ประกอบการ มีอำนาจในการตัดสินใจซื้อ ทั้งยังนิยมใช้สื่อดิจิตอล ให้ความสำคัญในเรื่องการดูแลสุขภาพ ตามกระแสแฟชั่น นิยมสินค้าออร์แกนิก และใส่ใจในเรื่องโปรโมชัน พร้อมเผย 5 กลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับอานิสงส์ และมีแนวโน้มการเติบโตดี ดร.พสุ โลหารชุน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยผลสำรวจของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมเกี่ยวกับกลยุทธ์การเจาะตลาดใหม่ที่น่าจับตามองในขณะนี้ก็คือ กลุ่มคุณแม่ โดยเฉพาะที่เป็นคุณแม่รุ่นใหม่ ซึ่งถือว่ามีความน่าสนใจทั้งในแง่ของกำลังซื้อสูง ความชัดเจนของพฤติกรรมการบริโภคที่ต่างจากกลุ่มอื่นๆ การให้ความสนใจในการรับสื่อ ตลอดจนการให้ความสำคัญต่อการเข้าถึงเทคโนโลยีและช่องทางออนไลน์ที่ผนวกเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งผู้บริโภคในกลุ่มนี้ถือได้ว่าเป็นกลุ่มที่มีประสิทธิภาพทางกลไกตลาด เนื่องจากมีความต้องการในการบริโภคหลากหลาย มีกลุ่มประเภทสินค้ามากมายไม่จำกัด นอกจากนี้ยังเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพทั้งในด้านกำลังและอำนาจในการตัดสินใจซื้อสูง เนื่องจากอยู่ในกลุ่มคุณแม่ยุค Digital ที่ประกอบด้วย กลุ่มที่กำลังคั้งครรภ์ จนถึงคุณแม่ที่มีบุตรอายุไม่เกิน 16 ปี และคุณแม่ในกลุ่มอายุ 21-35 ปี ซึ่งมีจำนวนประมาณ 8 ล้านคน (ศูนย์วิจัยสถาบันอาร์แอลจี) สำหรับด้านพฤติกรรมและทัศนคติในการบริโภคของกลุ่มดังกล่าวที่น่าสนใจในการนำมาเป็นเครื่องมือทางการตลาดของผู้ประกอบการ พบว่ากว่า 58% เริ่มมีพฤติกรรมในการรับชมโทรทัศน์น้อยลง ให้ความนิยมในการรับและเชื่อถือสื่อดิจิตอลทั้งบนอุปกรณ์ PC แท็บเล็ต และสมาร์ทโฟนมากกว่าสื่อดั้งเดิม โดยกิจกรรมบนโลกออนไลน์ที่ใช้สูงสุดก็คือ เช็กอีเมล 85% เข้าเว็บไซต์เกี่ยวกับการเลี้ยงลูก 83% ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์ก 81% ชอปปิ้งออนไลน์ 73% และค้นหาข้อมูลทั่วไป 72% (ที่มา theAsianparent.com) นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญในเรื่องการดูแลรูปร่าง การออกกำลังกาย การแต่งกายตามกระแสแฟชั่น นิยมบริโภคอาหารและเครื่องดื่มประเภทออร์แกนิกที่ดีต่อสุขภาพ สินค้าอื่นๆ ที่ต้องปราศจากหรือเลี่ยงสารเคมีให้น้อยที่สุด รวมถึงพฤติกรรมแบบปัจเจก ทั้งความจงรักภักดีต่อแบรนด์ รูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ที่ตรงใจ ความใส่ใจในเรื่องโปรโมชัน รวมถึงสินค้าที่สามารถสร้างสังคมกับเพื่อนๆ ในโลกโซเชียลมีเดียได้ เป็นต้น ทั้งนี้ จากข้อมูลด้านทัศนคติและพฤติกรรมข้างต้น กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมพบว่า 5 กลุ่มอุตสาหกรรมที่กำลังได้รับอานิสงส์จากกลุ่ม พร้อมทั้งคาดว่าจะมีแนวโน้มการเติบโตที่ดีและเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการไทย ได้แก่ 1. กลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าสำหรับเด็ก ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้มากที่สุดพบว่า จะต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีฟังก์ชันหรือคุณสมบัติพิเศษ โดยเฉพาะสินค้าที่ชูในเรื่องของการส่งเสริมความฉลาดหรือพัฒนาการจะเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมสูง โดยอุตสาหกรรมที่คาดว่าจะได้รับอานิสงส์ ได้แก่ อุตสาหกรรมเสื้อผ้า โดยมีปัจจัยจากพัฒนาการทางการเติบโตและกระแสแฟชั่น โดยเฉพาะเสื้อผ้าในกลุ่มเส้นใยธรรมชาติและฝ้าย อุตสาหกรรมด้านผลิตภัณฑ์สำหรับชีวิตประจำวันและของเล่น เช่น ครีมอาบน้ำ ผ้าอ้อม ของเล่นที่ผลิตจากยางพารา และอุตสาหกรรมอาหารสำหรับเด็ก เช่น นมผง อาหาร ขนมพร้อมรับประทาน ทั้งนี้ ในปี 2558-2563 มีการคาดการณ์ว่ากลุ่มอาหารทั่วโลกจะมีการเติบโตร้อยละ 6 ต่อปี มีมูลค่าราว 7.3 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับต้นๆ ของโลก ได้แก่ อินเดีย จีน และอินโดนีเซีย (ที่มา Exim Bank) 2. อุตสาหกรรมอาหารเพื่อสุขภาพ ผู้บริโภคในกลุ่มคุณแม่ยุคดิจิตอลถือว่าเป็นกลุ่มต้นๆ ที่ให้ความสำคัญต่อการดูแลสุขภาพ โดยเฉพาะในเรื่องรูปร่าง ผิวพรรณ ระบบภายใน และการรักษาโรค โดยในกลุ่มนี้ยังเป็นกลุ่มที่มีกำลังและยินดีในการใช้จ่ายเพื่อการเลือกสรรสิ่งที่ดีที่สุดแม้จะราคาสูง สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมในกลุ่มอุตสาหกรรมนี้สูงสุดก็คือ อาหารเสริมความงาม อาหารเสริมสุขภาพและรักษาโรค และอาหารเสริมเพิ่มสมรรถภาพทางร่างกาย โดยมีมูลค่ารวมกันกว่า 6.67 แสนล้านบาท ซึ่งยังมีการคาดการณ์ไว้อีกว่าในปี 2560 จะเติบโตขึ้นอีกประมาณ 11% หรือ 7.38 แสนล้านบาท (ที่มา ศูนย์วิจัย ธ.ไทยพาณิชย์) โดยผู้ประกอบการที่ต้องการอาศัยโอกาสดังกล่าวจะต้องเน้นการขยายตลาดในเชิงลึก ด้วยการมุ่งเน้นนวัตกรรมใหม่ๆ และคุณสมบัติที่หลากหลาย เพื่อให้สินค้าเกิดความน่าสนใจมากขึ้น 3. อุตสาหกรรมแฟชั่น กว่า 91% ของคุณแม่วัย 21-35 ปี และส่วนใหญ่ยังคงมีการดำเนินชีวิตประจำวันใกล้เคียงกับตอนมีบุตร โดยเฉพาะการตามกระแสแฟชั่น ซึ่งสินค้ากลุ่มนี้เองก็ถือได้ว่ามีทางเลือก โดยเฉพาะการเน้นการออกแบบที่มีประสิทธิภาพขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการตัดเย็บเสื้อผ้า ไซส์ของเครื่องแต่งกาย การออกแบบลวดลาย สี และรูปทรงของเครื่องประดับและอุปกรณ์เพื่อการสวมใส่ที่สอดคล้องกับผู้หญิงบุคลิกต่างๆ มากขึ้น นอกจากนี้ ผู้ประกอบการบางรายยังได้พัฒนานวัตกรรมและฟังก์ชันเพื่อชูจุดเด่นของแบรนด์สินค้า เช่น เสื้อผ้าที่ผลิตจากเส้นใยฟิลาเจน เช่น ชุดคลุมท้อง ถุงเท้า ผ้าขนหนู สิ่งทอจากเส้นใยสับปะรด เสื้อผ้ากันน้ำ ซึ่งเชื่อว่าแฟชั่นไทยในปีนี้จะยังคงมีการเติบโตที่ระดับ 9 แสนล้านบาทตามคาด 4. อุตสาหกรรมด้านอุปกรณ์ดิจิตอลและบริการแอปพลิเคชัน พฤติกรรมของผู้บริโภคในกลุ่มนี้ยังคงต้องการเข้าสังคม ชอบความบันเทิง ชอบเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ใช้ง่ายไม่ซับซ้อนเพื่อช่วยลดภาระ และเพิ่มความสะดวกสบายให้ตัวเองและครอบครัว สำหรับกลุ่มสินค้าและการบริการในกลุ่มนี้ถือได้ว่าเป็นกลุ่มที่โตเงียบ เนื่องจากมีผู้ประกอบการในตลาดน้อยรายแต่มีความต้องการในปริมาณมาก ซึ่งสินค้าที่กลุ่มนี้นิยมเลือกซื้อและมีความน่าสนใจ เช่น ร้านค้าออนไลน์ เครื่องปั๊มและถุงเก็บน้ำนม เบบี้มอนิเตอร์ อุปกรณ์เสริมเพื่อการถ่ายภาพ แอปพลิเคชันด้านดีลิเวอรี เช่น บริการทำความสะอาด ขนส่ง แอปพลิเคชันเพื่อการติดตามลูก อุปกรณ์เครื่องทำความสะอาดอัตโนมัติ เป็นต้น 5. อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง จากค่านิยมเรื่องความสวยความงาม และการดูแลตนเอง เครื่องสำอางได้กลายเป็นสินค้าที่ก้าวเข้ามามีบทบาทกับผู้บริโภคสตรีแทบทุกวัย โดยยังถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคยอมจ่ายเนื่องจากกำลังซื้อ ความภักดีต่อแบรนด์ และโฆษณาชวนเชื่อจากสื่อต่างๆ สำหรับความนิยมและการเติบโตในกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องสำอางของกลุ่มคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์พบว่าต้องการสินค้าประเภทให้ความชุ่มชื่น ดูแลผิวพรรณ ลดภาวะการเกิดสิว ส่วนคุณแม่อื่นๆ ยังคงนิยมทั้งด้านผลิตภัณฑ์เพื่อการดูแลและผลิตภัณฑ์เพื่อการตกแต่ง เช่น ลิปสติก น้ำหอม ผลิตภัณฑ์ปกปิดริ้วรอย อย่างไรก็ดี มีการคาดการณ์ว่าในปี 2560 นี้อุตสาหกรรมเครื่องสำอางน่าจะมีการเติบโตที่เกือบระดับ 3 แสนล้านบาท (ที่มา : คลัสเตอร์เครื่องสำอางไทย) โดยเทรนด์ที่ผู้ประกอบการยังต้องปรับในอนาคตคือ ลดการใช้น้ำ เน้นผลิตภัณฑ์ที่มาจากธรรมชาติ รวมถึงการผลิตเครื่องสำอางสำหรับเด็ก เป็นต้น ----------------------------------------------------------ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา ธุรกิจอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม เพื่อให้มีสมรรถนะและขีดความสามารถในการประกอบการ ที่เป็นเลิศและมีความยั่งยืนสู่สากลโทรศัพท์ : (045)314135, (045)314216-7, (045)311987โทรสาร : (045)311987website : https://ipc7.dip.go.thfacebook : https://www.facebook.com/dip.ipc7
16 ส.ค 2560
“อุตตม” เผยสัญญาณเศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัวโดยมีหลายปัจจัยขับเคลื่อนโดยเฉพาะภาคการส่งออก ความเชื่อมั่นการลงทุนจากเอกชน ขณะที่สภาองค์กรนายจ้างยอมรับส่งออกไทยปีนี้มีลุ้นโต 6-7% สัญญาณคำสั่งซื้อเริ่มทยอยมา
นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ขณะนี้พบปัจจัยหลายอย่างที่บ่งชี้ว่าสถานการณ์เศรษฐกิจไทยเริ่มปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะภาคการส่งออกที่มีการขยายตัวอย่างมาก ความเชื่อมั่นจากนักลงทุนโดยเฉพาะจากองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (เจโทร กรุงเทพฯ) ที่ทำการสำรวจแนวโน้มทางเศรษฐกิจของบริษัทร่วมทุนญี่ปุ่นในประเทศไทย ในครึ่งปี 2560 ก็ชี้ชัดว่าทิศทางนักลงทุนญี่ปุ่นมองการเติบโตในประเทศไทยดีขึ้น ดัชนีขึ้นไปอยู่ที่ระดับ 26 เพิ่มขึ้นจากต้นปีที่ค่าดัชนีอยู่ที่ระดับ 20 และยังเป็นบวกในทุกอุตสาหกรรม “มีหลายปัจจัยที่ชี้ว่าเศรษฐกิจไทยกำลังฟื้นตัวแต่อาจจะยังไม่ถึงระดับฐานราก นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี จึงได้มอบนโยบายให้กระทรวงอุตสาหกรรมเร่งขับเคลื่อนวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม (เอสเอ็มอี) ให้มากขึ้นเพื่อที่จะรองรับเศรษฐกิจขยายตัว ขณะเดียวกันก็จะมีการลงทุนในระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ทยอยในสิ้นปีนี้ก็จะเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในปีต่อไป อย่างไรก็ตาม ในเรื่องของหนี้ครัวเรือนของภาคประชาชนนั้นกระทรวงการคลังยืนยันว่าเริ่มดีขึ้นและไม่กระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลังแน่นอน” นายอุตตมกล่าว นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์กรนายจ้างผู้ประกอบการค้าอุตสาหกรรมไทย กล่าวว่า แนวโน้มการส่งออกของไทยปี 2560 คาดว่าจะมีโอกาสลุ้นเติบโตได้ระดับ 6-7% เนื่องจาก 6 เดือนแรกการส่งออกของไทยโตถึง 7.8% หรือสูงสุดในรอบ 6 ปี และขณะนี้มีสัญญาณคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเข้ามามากขึ้นซึ่งสอดรับกับการนำเข้าวัตถุดิบ 6 เดือนแรกโต 21% และการนำเข้าเครื่องจักรโต 7.4% ซึ่งชี้ให้เห็นว่าเอกชนเตรียมขยายการลงทุน “มีสัญญาณว่าเศรษฐกิจเรากำลังฟื้นตัวอย่างมีนัยสำคัญจากภาคการส่งออก โดยขณะนี้อัตรากำลังผลิตเริ่มดีขึ้นเพราะสต๊อกสินค้าที่ค้างอยู่เดิมเริ่มลดลงทำให้มีการผลิตใหม่ และมีออร์เดอร์เข้ามาเพิ่ม โดยผมทำธุรกิจขนส่ง (ลอจิสติกส์) เองก็เห็นชัดว่าเริ่มมีการขยายตัวในรอบหลายปี” นายธนิตกล่าว อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยต้องติดตามในแง่ของเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะนโยบายของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาต่อประเทศรัสเซียและเกาหลีเหนือ อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทที่ภายใน 1 ปีที่ผ่านมาไทยมีการแข็งค่าระดับ 8.3% ซึ่งเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอาจจะแข็งค่าเล็กน้อย แต่ในเรื่องของภาพรวมต่อเศรษฐกิจนั้นมีทั้งผลบวกและลบ โดยบาทที่แข็งค่าก็มีผลดีในแง่ของการนำเข้าวัตถุดิบและเครื่องจักรที่ถูกลง แต่ผลเสียอาจกระทบรายได้จากการส่งออกในแง่มูลค่าลดลงไป
16 ส.ค 2560
ปลุกเศรษฐกิจพิเศษ‘แม่สอด’  เปิดทางธุรกิจ‘เอสเอ็มอี’สู่สากล
อีกไม่กี่อึดใจชายแดนไทย-เมียนมาร์ ฝั่ง อ.แม่สอด จ.ตาก จะกลายเป็นเมืองอุตสาหกรรมใหม่อย่างเต็มรูปแบบ เมื่อรัฐบาลมีเป้าหมายพัฒนาเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษเชื่อมโยงกับเขตเศรษฐกิจพิเศษเมียวดี ประเทศเมียนมาร์ ที่มีมูลค่านับหมื่นล้านบาท ขณะที่กระทรวงอุตสาหกรรมร่วมกับ กระทรวงมหาดไทย สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย และหน่วยงานเครือข่ายการพัฒนาเอสเอ็มอี เร่งเดินหน้าสานต่อ “กองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ” มุ่งเป้าหมายพื้นที่เขตเศรษฐกิจจังหวัดตาก กลุ่มภาคเหนือตอนล่าง ประกอบด้วย จ.ตาก จ.สุโขทัย จ.อุตรดิตถ์ จ.เพชรบูรณ์ จ.พิษณุโลก จ.พิจิตร จ.กำแพงเพชร จ.นครสวรรค์ และ จ.อุทัยธานี พร้อมเร่งบูรณาการส่งเสริมเอสเอ็มอีไทยเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 เสริมแกร่งเอสเอ็มอีไทยครอบคลุมทุกมิติอย่างสมดุล รองรับการขยายตัวของเมืองทั้งด้านศักยภาพและความพร้อม ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ การลงทุนภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตร และการท่องเที่ยว อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวระหว่างเป็นประธานเปิดงาน “คลินิกเอสเอ็มอีสัญจรแนวประชารัฐ” ครั้งที่ 7 อ.แม่สอด จ.ตาก โดยระบุว่า ตามนโยบายของรัฐบาล ที่กระทรวงอุตสาหกรรมมุ่งเน้นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจตามนโยบายอุตสาหกรรม 4.0 ด้วยการเร่งพัฒนาเอสเอ็มอี และเศรษฐกิจท้องถิ่นให้เข้มแข็ง โดยมีเป้าหมาย จ.ตาก ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญระเบียงเศรษฐกิจตามแนว ตะวันออก-ตะวันตก หรือ East-West Economic Corridor (EWEC) หรือที่เรียกว่าเส้นทาง R9 ที่เชื่อมระหว่าง 2 มหาสมุทร คือ มหาสมุทรอินเดีย กับ มหาสมุทรแปซิฟิก หรือทะเลจีนใต้ จากเมืองเมาะละแหม่ง ประเทศเมียนมาร์ ผ่าน จ.ตาก จ.พิษณุโลก จ.ขอนแก่น จ.มุกดาหาร ข้ามเขตแดนไปยังเมืองดองฮาและไปจรดปลายทางที่เมืองดานัง ประเทศเวียดนาม “จ.ตาก ถือเป็นจุดแข็งที่รัฐบาลเล็งเห็นความสำคัญ ซึ่งได้มีการกำหนดบทบาทของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตาก ให้เป็น ศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าระหว่างประเทศ เครือข่ายอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น โดยมีอุตสาหกรรมเป้าหมายคือ สิ่งทอเครื่องนุ่งห่ม เกษตรแปรรูปและอาหาร เครื่องเรือนจากไม้ และอัญมณีเครื่องประดับ” จากลักษณะภูมิศาสตร์ที่เป็นพื้นที่ชายแดน และเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในเรื่องของระบบโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค รวมถึงความเข้มแข็งทางด้านเศรษฐกิจการค้า การลงทุนภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตร และการท่องเที่ยว โดยพื้นที่แม่สอดสามารถเชื่อมโยงกับเขตเศรษฐกิจพิเศษเมียวดี ของเมียนมาร์ ซึ่งตั้งอยู่ห่างออกไปเพียง 10 กิโลเมตร และมีพื้นตั้งอยู่ปลายแนวเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก เป็นจุดตัดระหว่างแนวเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ (North-South Economic Corridor : NSEC) มีโครงข่ายการคมนาคมทางบกที่สนับสนุนการขนส่งทั้งผู้โดยสารและสินค้า มีสนามบินพาณิชย์เป็นแหล่งผลิตทางการเกษตรและแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่มีความโดดเด่นเฉพาะตัว ตลอดจนเป็นประตูสู่อันดามัน และประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง คือ เมียนมาร์ จีน และสามารถเชื่อมโยงกับเส้นทางการค้าขายเป็นประตูสู่ยุโรปได้ รมว.อุตสาหกรรม กล่าวต่อว่า ในส่วนของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ก็ได้เตรียมโครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตากไว้แล้ว ณ ต.ท่าสายลวด อ.แม่สอด บนเนื้อที่ประมาณ 671 ไร่ อยู่ห่างจากห่างจากทางหลวง EWEC ประมาณ 7 กิโลเมตร ในบริเวณที่ติดกับพื้นที่ก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-เมียนมาร์แห่งที่ 2 โดยขณะนี้มีระบบไฟฟ้าเข้าถึงพื้นที่แล้ว และมีแหล่งน้ำคือแม่น้ำเมย ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของเขตเศรษฐกิจจังหวัดตาก คือ การให้บริการโลจิสติกส์ เช่น คลังสินค้า ศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าและยานพาหนะ (มีพื้นที่รวมประมาณ 33%) และอุตสาหกรรมเป้าหมาย เช่น สิ่งทอเครื่องนุ่งห่ม เกษตรแปรรูปและอาหาร เครื่องเรือนจากไม้ และอัญมณีเครื่องประดับ (มีพื้นที่รวมประมาณ 66%) โดยมีการกำหนดพื้นที่โซนสำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี รวมทั้งมีศูนย์ SMEs Development Center ซึ่งจะให้บริการสนับสนุนเครื่องมืออุปกรณ์กลาง เช่น 3D-Priner Co-Working Space และการพัฒนาเอสเอ็มอีที่ตั้งอยู่ในนิคมและบริเวณใกล้เคียงด้วย “ในส่วนพื้นที่ที่เหลือจะถูกกันไว้เป็นเขตพาณิชยกรรม ระบบสาธารณูปโภค และพื้นที่สีเขียวเพื่อเป็นแนวกันชน โดยประมาณการมูลค่าการพัฒนาไว้ที่ 835 ล้านบาท คาดว่าจะเริ่มเปิดดำเนินการพื้นที่ในเฟสแรกได้ตั้งแต่ปลายปี 2561 เป็นต้นไป” รมว.อุตสาหกรรม กล่าวยืนยัน แน่งน้อย เวทยพงษ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เผยว่า เพื่อเป็นการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของเมืองหน้าด่านชายแดนไทยและเมียนมาร์ รองรับก่อนเปิดเป็นเขตเศรษฐกิจอย่างเป็นทางการ ขณะนี้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้เร่งให้การช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในประเทศไทยผ่านเครื่องมือในการช่วยต่อยอดทางธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการไทยในทุกมิติอย่างสมดุล ทั้งการต่อยอดการออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ที่ตรงความต้องการของตลาด เพื่อยกระดับและเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้าและบริการ การขับเคลื่อนผลงานนวัตกรรมไปสู่เชิงพาณิชย์ในรูปแบบของศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมเพื่ออนาคต “มีการพัฒนาผู้ประกอบการโดยการเติมองค์ความรู้ในการเพิ่มผลิตภาพและมาตรฐาน การพัฒนาระบบบริหารจัดการ การบัญชีและการเงินให้ก้าวสู่ SMART SMEs พร้อมส่งเสริมการใช้ระบบดิจิทัลเพื่อเชื่อมโยงสู่โลกการค้าสมัยใหม่ โดยมีศูนย์สนับสนุนและช่วยเหลือเอสเอ็มอีทำหน้าที่สนับสนุนการดำเนินการภายใต้กลไกประชารัฐ ซึ่งกองทุนตามแนวประชารัฐดำเนินการให้ความช่วยเหลือในรูปแบบกองทุนต่างๆ” รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมกล่าวระหว่างนำสื่อมวลชนลงพื้นที่ดูงานเอสเอ็มอีตามโครงการประชารัฐ พร้อมย้ำว่า การลงพื้นที่ จ.ตาก ครั้งนี้มุ่งเน้นการสร้างการรับรู้และความเข้าใจในนโยบายการสนับสนุนและช่วยเหลือเอสเอ็มอี จังหวัดยุทธศาสตร์ภาคเหนือตอนล่าง 9 จังหวัด ประกอบด้วย ตาก สุโขทัย อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ พิษณุโลก พิจิตร กำแพงเพชร นครสวรรค์ และอุทัยธานี โดยขณะนี้มีผู้ประกอบการจากทั่วประเทศยื่นคำขอทั้ง 4 มาตรการแล้ว 10,558 ราย วงเงิน 30,161.60 ล้านบาท อนุมัติแล้วจำนวน 2,954 ราย ในวงเงิน 8,514.86 ล้านบาท อ้างอิง https://goo.gl/fdB1K7 ----------------------------------------------------------ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา ธุรกิจอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม เพื่อให้มีสมรรถนะและขีดความสามารถในการประกอบการ ที่เป็นเลิศและมีความยั่งยืนสู่สากลโทรศัพท์ : (045)314135, (045)314216-7, (045)311987โทรสาร : (045)311987website : https://ipc7.dip.go.thfacebook : https://www.facebook.com/dip.ipc7
11 ส.ค 2560