โทรศัพท์ 1358
@@@ป.เกรียบกุ้ง จุดเริ่มของธุรกิจ@@@
@@@ป.เกรียบกุ้ง จุดเริ่มของธุรกิจ@@@
ผ่านมาหมดแล้วสำหรับธุรกิจในฝันของมนุษย์เงินเดือน ไม่ว่าจะเป็นร้านกาแฟสด กาแฟโบราณ ร้านชา ขายของออนไลน์ สุดท้ายมาจบที่การขายข้าวเกรียบกุ้ง แบรนด์ 'ป.เกรียบกุ้ง' ต่อยอดสู่หมอนยางพารา ขนมขบเคี้ยวจากข้าวกล้อง สร้างมิติใหม่วงการเกษตรบ้านเกิดเมืองอุบลฯ@@@ป.เกรียบกุ้ง จุดเริ่มของธุรกิจ@@@ไม่ธรรมดาจริงๆ สำหรับ “พิริยศาสตร์ ตระการจันทร์” หนุ่มต่างจังหวัดเข้ามาศึกษาต่อในเมืองหลวง เมื่อเรียนจบก็เป็นมนุษย์เงินเดือนในหลากหลายสาขาอาชีพ อย่างวงการโทรคมนาคม วงการยา รวมถึงค้าส่งและค้าปลีก กระทั่งคิดที่จะทำธุรกิจของตัวเองก็เริ่มต้นด้วยธุรกิจในฝันของใครหลายคน ด้วยการเปิดร้านกาแฟสด กาแฟโบราณ ร้านชานม รวมถึงการขายของออนไลน์ด้วยการสั่งซื้อสินค้าจากเว็บไซต์ชื่อดังอาลีบาบา (Alibaba) มาขายทำกำไร แต่ทุกอย่างก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร นายพิริยศาสตร์ ตระการจันทร์ เจ้าของธุรกิจ ป.เกรียบกุ้ง กระทั่งไปสะดุดกับข้อมูลตลาดขนมขบเคี้ยวของไทยที่มีมูลค่าสูงถึง 2.7 หมื่นล้านบาท/ปี ถือว่าเป็นตลาดใหญ่ที่น่าสนใจ เขาจึงศึกษาผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวอย่างจริงจัง จนไปพบว่า 'ข้าวเกรียบ' เป็นสินค้าที่ทำง่าย คนในท้องถิ่นรู้จัก รับประทานได้บ่อย ขณะที่ขั้นตอนการผลิตก็ไม่ยุ่งยาก แถมยังใช้เครื่องจักรในราคาไม่แพงมากนัก“ที่ผ่านมาเราทำธุรกิจมาหลากหลายมาก เรียกได้ว่าธุรกิจในฝันของบรรดามนุษย์เงินเดือนที่อยากทำผมทำมาหมดแล้ว ทำให้รู้ว่าการทำธุรกิจไม่ง่ายเลย ซึ่งสุดท้ายกลับมาบ้านเกิด มองหาธุรกิจที่ทำให้ชาวบ้านในชุมชนมีรายได้ และสามารถใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นได้ ซึ่งข้าวเกรียบกุ้งเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์ โดยการผลิตนั้นผมศึกษาจากยูทูป (youtube) ลองผิดลองถูกเองทั้งหมดจนได้สูตรที่ลงตัว และขับรถไปขายเอง ส่งตามร้านขายของชำ และร้านค้าทั่วไป จนสินค้าติดตลาดและเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค” นำเศษยางพารามาต่อยอดเป็นหมอนแฟนซี ความกรุบกรอบ และสดใหม่ถือเป็นหัวใจหลักของขนมขบเคี้ยว ซึ่งพิริยศาสตร์ สามารถตอบโจทย์เหล่านี้ได้ทั้งหมด อาศัยความได้เปรียบในการเป็นผู้ผลิตเอง ผลิตวันต่อวัน คำนวณปริมาณการผลิตตามความต้องการของลูกค้า ไม่สต๊อกสินค้าเป็นจำนวนมาก รวมถึงเป็นการผลิตแบบเอสเอ็มอีซึ่งเหมาะสมกับการเริ่มต้นธุรกิจข้าวเกรียบกุ้ง อบแห้งด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ลดต้นทุนการผลิต กระทั่งเขามีกำไรจากการขายข้าวเกรียบกุ้งมาก้อนหนึ่ง ก็นำธุรกิจเข้าสู่ระบบธนาคาร เพื่อขอสินเชื่อนำมาขยายกิจการ ซึ่ง SME Development Bank เป็นธนาคารแรกที่ให้เงินกู้ก้อนแรกจำนวน 2 แสนบาทมาต่อยอดธุรกิจ จากนั้นก็ได้เพิ่มมาอีก 8 แสนบาทนำมาต่อยอดโรงงานผลิตและเงินทุนหมุนเวียน ต่อมาเพิ่มเป็น 5 ล้านบาท ซึ่งการที่ธนาคารปล่อยสินเชื่อให้เขาเพิ่มขึ้นเช่นนี้ถือเป็นกำลังใจสำคัญที่ทำให้เขามุ่งมั่นพัฒนาธุรกิจต่อไป เพราะนอกจากการได้รับสินเชื่อแล้ว ทางธนาคารยังช่วยเหลือด้านการตลาด เช่น การพาไปออกบูทแสดงสินค้าทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศ CLMV ญี่ปุ่น และมาเลเซีย ทำให้รู้ว่ากลุ่มลูกค้าคือใคร หมอนยางพาราเพื่อสุขภาพ Parato @@@สแน็กข้าวกล้อง Jambo@@@เมื่อธุรกิจข้าวเกรียบเริ่มอยู่ตัว เขาก็ยังไม่หยุดนิ่งที่จะพัฒนาธุรกิจ โดยมองหาวัตถุดิบในท้องถิ่นเพิ่มมูลค่า โดยเน้นไปที่สินค้าเกษตร ก็พบว่าในพื้นที่มีข้าวหักที่ไร้ค่าแต่เขากลับนำมาแปรรูปเป็นขนมขบเคี้ยวข้าวกล้องธัญพืชอบกรอบโดยไม่ใช้น้ำมันเอาใจคนรักสุขภาพโดยเฉพาะ ภายใต้แบรนด์ “แจมโบ้” (JAMBO) ผลิตออกมาในรูปของซีเรียลอาหารเช้า รับประทานคู่กับนม สู่สแน็กเพื่อสุขภาพ (Healthy snacks) ตอบโจทย์กระแสของการรักสุขภาพที่กำลังเป็นที่นิยม และสร้างฐานลูกค้าใหม่ให้เกิดความหลากหลาย โดยเน้นการใช้วัตถุดิบจากแหล่งชุมชนให้เกิดประโยชน์ ทั้งข้าวปลายหัก, ข้าวกล้อง, ข้าวไรซ์เบอร์รี และเมล็ดธัญพืช สารพัดหมอนแฟนซี @@@หมอนสุขภาพ เพิ่มค่ายางพาราอีสาน@@@หลังจากที่นายพิริยศาสตร์มุ่งมั่นนำผลผลิตทางการเกษตรในท้องถิ่นมาเพิ่มค่า และรังสรรค์เป็นธุรกิจ เขาจึงไม่หยุดเพียงแค่ขนมขบเคี้ยว แต่พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ อย่าง “หมอนยางพารา” เพราะเป็นที่รู้กันว่าภาคอีสานกลายเป็นอีกหนึ่งแหล่งที่นิยมปลูกยางพารากันมากหลังเป็นที่ต้องการของตลาด แต่รายได้ของเกษตรกรกลับไม่เพิ่มขึ้น ดังนั้นการ 'แปรรูป' คือคำตอบ “ผมใช้เวลาลองผิดลองถูกในการทำหมอนยางพาราประมาณ 1 ปี เน้นที่คุณภาพ แต่ราคาย่อมเยา และที่สำคัญต้องทำให้ทุกกระบวนการผลิตชาวบ้านมีส่วนร่วม แม้กระทั่งผู้สูงอายุได้มีรายได้จากผลิตภัณฑ์นี้ สุดท้ายมาลงตัวที่แบรนด์ 'Parato' (พาราโต) หมอนยางพาราเพื่อสุขภาพ และถือเป็นรายแรกที่ทำหมอนแบบแฮนด์เมด ใช้แรงงานคนในท้องถิ่นขึ้นรูป เก็บรายละเอียด ตัดเศษยางส่วนเกิน โดยใช้วิธีอบแห้งด้วยพลังแสงอาทิตย์ 100% ด้วยโรงเรือนพาราโบลา ซึ่งข้อดีคือประหยัดต้นทุนในเรื่องเครื่องอบแห้ง ส่งผลให้สามารถขายในราคาไม่แพงและแข่งขันได้” ไม่เพียงแต่หมอนยางพาราเท่านั้นที่เป็นการนำน้ำยางดิบมาเพิ่มมูลค่า แต่เขายังต่อยอดเป็น อาสนะรองนั่ง, หมอนแฟนซี, อุปกรณ์กายภาพบำบัดยางพารา เนื่องจากคุณสมบัติที่ดี นุ่ม ยืดหยุ่น รองรับสรีระได้ดีและออกแบบตามหลักสรีรศาสตร์ จึงเหมาะสำหรับกลุ่มลูกค้าที่รักสุขภาพ รวมทั้งผู้ป่วย ผู้ป่วยในระยะพักฟื้น และอุปกรณ์ทางการแพทย์ อย่าง แขนจำลองให้นักศึกษาแพทย์ศึกษาเส้นเลือดและกล้ามเนื้อ ลดการนำเข้าจากต่างประเทศ นำมาต่อยอดเป็นหมอนขิดแดนอีสานยางยางพารา “เรามองเห็นศักยภาพของตลาดสินค้าแปรรูปยางพาราที่มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องค่อนข้างสูง เพราะสามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ ได้หลากหลายนับกว่า 10,000 รายการ ซึ่งเมื่อเราผลิตสินค้าที่มีคุณภาพไม่เฉพาะตลาดในประเทศเท่านั้น ยังสามารถส่งสินค้าออกไปต่างประเทศได้ เช่น ประเทศจีน สหรัฐอเมริกา เบลเยียม สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์” สำหรับช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้า นอกจากจะจำหน่ายผ่านตัวแทนจำหน่ายในทุกจังหวัดของประเทศไทยแล้ว ยังมีแผนที่จะจัดจำหน่ายสินค้าในร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ เช่น BigC, TescoLotus, Dohome ฯลฯ ซึ่งร้านค้าปลีกเหล่านี้มีสาขาตั้งอยู่ทั่วประเทศไทย สามารถกระจายได้ครอบคลุมทั้งประเทศ และยังจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์อีกด้วย แขนเทียมจากยางพารา ใช้เพื่อการศึกษาลดการนำเข้า ล้วงแนวคิดโตยั่งยืนกับเกษตรแปรรูป แบบฉบับ ป.เกรียบกุ้ง เศษยางพาราที่เหลือจากการทำหมอน นับเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของมนุษย์เงินเดือนที่กลับมาพัฒนาบ้านเกิดโดยใช้สิ่งที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาเพิ่มมูลค่าจนประสบความสำเร็จ และพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าสินค้าเกษตรของไทยก็ไม่ด้อยกว่าชาติอื่น เครื่องผสมน้ำยางพาราดิบ ก่อนนำมาขึ้นรูปเป็นหมอนเพื่อสุขภาพ แม่พิมพ์หมอนยางพารา บริเวณหน้าโรงงานผลิตข้าวเกรียบกุ้ง และหมอนยางพารา อ้างอิง https://goo.gl/x9a6hV
03 ต.ค. 2560
โครงการเพิ่มศักยภาพวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้สู่อุตสาหกรรม 4.1
โครงการเพิ่มศักยภาพวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้สู่อุตสาหกรรม 4.1
โครงการดีๆ มาอีกแล้วครับ โครงการเพิ่มศักยภาพวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้สู่อุตสาหกรรม 4.1 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นายจักรพงศ์ มูลสมบัติ091-8324139 ----------------------------------------------------------ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา ธุรกิจอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม เพื่อให้มีสมรรถนะและขีดความสามารถในการประกอบการ ที่เป็นเลิศและมีความยั่งยืนสู่สากลโทรศัพท์ : (045)311987โทรสาร : (045)311987website : https://ipc7.dip.go.thfacebook : https://www.facebook.com/dip.ipc7
19 ก.ย. 2560
แนะนำวิธีการใช้งาน ระบบกรอกข้อมูล ร.ง.8 ออนไลน์
แนะนำวิธีการใช้งาน ระบบกรอกข้อมูล ร.ง.8 ออนไลน์
แนะนำวิธีการใช้งาน ระบบกรอกข้อมูล ร.ง.8 ออนไลน์ ข้อมูล ร.ง. 8 คือ แบบสำรวจข้อมูลการผลิต โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ได้นำมาจัดทำเป็นดัชนีอุตสาหกรรม เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการรายงานสภาวะอุตสาหกรรมในปัจจุบัน และคาดการณ์ในอนาคต แบบสอบถามร.ง.8 ซึ่งประกอบไปด้วย สินค้า(จำนวน) สินค้าสำเร็จรูป(มูลค่า) แรงงาน วัตถุดิบ ความคิดเห็นต่อสภาวะธุรกิจ หมายเหตุภาพรวมโรงงาน สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมผ่านทาง http://indexes.oie.go.th https://www.youtube.com/watch?v=a5QX11uVnN0 ----------------------------------------------------------ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา ธุรกิจอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม เพื่อให้มีสมรรถนะและขีดความสามารถในการประกอบการ ที่เป็นเลิศและมีความยั่งยืนสู่สากลโทรศัพท์ : (045)311987โทรสาร : (045)311987website : https://ipc7.dip.go.thfacebook : https://www.facebook.com/dip.ipc7
18 ก.ย. 2560
ขอเชิญพบกับงานแสดงสินค้าคุณภาพจากภาคตะวันออก และงานแสดงเทคโนโลยีเครื่องจักรที่จะนำท่านสู่ อุตสาหกรรม 4.0
ขอเชิญพบกับงานแสดงสินค้าคุณภาพจากภาคตะวันออก และงานแสดงเทคโนโลยีเครื่องจักรที่จะนำท่านสู่ อุตสาหกรรม 4.0
ขอเชิญพบกับงานแสดงสินค้าคุณภาพจากภาคตะวันออก และงานแสดงเทคโนโลยีเครื่องจักรที่จะนำท่านสู่ อุตสาหกรรม 4.0 มหกรรมเครือข่ายสินค้าดีภาคตะวันออกณ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 ระหว่างวันที่ 7-10 กันยายน 2560----------------------------------------------------------ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา ธุรกิจอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม เพื่อให้มีสมรรถนะและขีดความสามารถในการประกอบการ ที่เป็นเลิศและมีความยั่งยืนสู่สากลโทรศัพท์ : (045)311987โทรสาร : (045)311987website : https://ipc7.dip.go.thfacebook : https://www.facebook.com/dip.ipc7
04 ก.ย. 2560
กระทรวงอุตฯ อัดฉีดสินเชื่อเอสเอ็มอีภาคอีสาน 111 ล้าน
กระทรวงอุตฯ อัดฉีดสินเชื่อเอสเอ็มอีภาคอีสาน 111 ล้าน
นายอุตตม สาวนายน รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยในโอกาสเป็นประธานมอบนโยบายศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาค 6 ที่จ.นครราชสีมา ว่าขณะนี้กระทรวงได้เร่งให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) อย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้รับรายงานจากการลงพื้นที่ครั้งนี้ว่า ล่าสุดมีเอสเอ็มอีในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 67 ราย ได้รับอนุมัติสินเชื่อรวมจากโครงการต่างๆ 111.10 ล้านบาท โดยเอสเอ็มอีที่ได้รับความช่วยเหลือ แบ่งเป็นสินเชื่อจากกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ 12 ราย โครงการสินเชื่อฟื้นฟูเอสเอ็มอีจากอุทกภัยและภัยพิบัติ 5 ราย โครงการสินเชื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ (เอสเอ็มอี ทรานส์ฟอร์เมชั่น โลน) 12 ราย โครงการเงินทุนฟื้นฟูวิสาหกิจขนาดย่อม 28 ราย และความช่วยเหลือจากคูปองตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ (OSMEP Voucher) 10 ราย ขณะที่ ภาพรวมการยื่นคำขอสินเชื่อของเอสเอ็มอีในจ.นครราชสีมามีจำนวน 400 ราย ได้รับอนุมัติสินเชื่อแล้วเป็นเงิน 40 ล้านบาท
22 ส.ค 2560
กสอ.ชี้ตลาดคุณแม่สายโซเชียลโต พบมีอำนาจในการตัดสินใจซื้อสูง
กสอ.ชี้ตลาดคุณแม่สายโซเชียลโต พบมีอำนาจในการตัดสินใจซื้อสูง
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมเผยตลาดคุณแม่สายโซเชียลมีแนวโน้มขยายตัวทางเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น พบปี 2560 มีปริมาณกว่า 8 ล้านคน ชี้เป็นตลาดที่น่าสนใจสำหรับผู้ประกอบการ มีอำนาจในการตัดสินใจซื้อ ทั้งยังนิยมใช้สื่อดิจิตอล ให้ความสำคัญในเรื่องการดูแลสุขภาพ ตามกระแสแฟชั่น นิยมสินค้าออร์แกนิก และใส่ใจในเรื่องโปรโมชัน พร้อมเผย 5 กลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับอานิสงส์ และมีแนวโน้มการเติบโตดี ดร.พสุ โลหารชุน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยผลสำรวจของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมเกี่ยวกับกลยุทธ์การเจาะตลาดใหม่ที่น่าจับตามองในขณะนี้ก็คือ กลุ่มคุณแม่ โดยเฉพาะที่เป็นคุณแม่รุ่นใหม่ ซึ่งถือว่ามีความน่าสนใจทั้งในแง่ของกำลังซื้อสูง ความชัดเจนของพฤติกรรมการบริโภคที่ต่างจากกลุ่มอื่นๆ การให้ความสนใจในการรับสื่อ ตลอดจนการให้ความสำคัญต่อการเข้าถึงเทคโนโลยีและช่องทางออนไลน์ที่ผนวกเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งผู้บริโภคในกลุ่มนี้ถือได้ว่าเป็นกลุ่มที่มีประสิทธิภาพทางกลไกตลาด เนื่องจากมีความต้องการในการบริโภคหลากหลาย มีกลุ่มประเภทสินค้ามากมายไม่จำกัด นอกจากนี้ยังเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพทั้งในด้านกำลังและอำนาจในการตัดสินใจซื้อสูง เนื่องจากอยู่ในกลุ่มคุณแม่ยุค Digital ที่ประกอบด้วย กลุ่มที่กำลังคั้งครรภ์ จนถึงคุณแม่ที่มีบุตรอายุไม่เกิน 16 ปี และคุณแม่ในกลุ่มอายุ 21-35 ปี ซึ่งมีจำนวนประมาณ 8 ล้านคน (ศูนย์วิจัยสถาบันอาร์แอลจี) สำหรับด้านพฤติกรรมและทัศนคติในการบริโภคของกลุ่มดังกล่าวที่น่าสนใจในการนำมาเป็นเครื่องมือทางการตลาดของผู้ประกอบการ พบว่ากว่า 58% เริ่มมีพฤติกรรมในการรับชมโทรทัศน์น้อยลง ให้ความนิยมในการรับและเชื่อถือสื่อดิจิตอลทั้งบนอุปกรณ์ PC แท็บเล็ต และสมาร์ทโฟนมากกว่าสื่อดั้งเดิม โดยกิจกรรมบนโลกออนไลน์ที่ใช้สูงสุดก็คือ เช็กอีเมล 85% เข้าเว็บไซต์เกี่ยวกับการเลี้ยงลูก 83% ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์ก 81% ชอปปิ้งออนไลน์ 73% และค้นหาข้อมูลทั่วไป 72% (ที่มา theAsianparent.com) นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญในเรื่องการดูแลรูปร่าง การออกกำลังกาย การแต่งกายตามกระแสแฟชั่น นิยมบริโภคอาหารและเครื่องดื่มประเภทออร์แกนิกที่ดีต่อสุขภาพ สินค้าอื่นๆ ที่ต้องปราศจากหรือเลี่ยงสารเคมีให้น้อยที่สุด รวมถึงพฤติกรรมแบบปัจเจก ทั้งความจงรักภักดีต่อแบรนด์ รูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ที่ตรงใจ ความใส่ใจในเรื่องโปรโมชัน รวมถึงสินค้าที่สามารถสร้างสังคมกับเพื่อนๆ ในโลกโซเชียลมีเดียได้ เป็นต้น ทั้งนี้ จากข้อมูลด้านทัศนคติและพฤติกรรมข้างต้น กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมพบว่า 5 กลุ่มอุตสาหกรรมที่กำลังได้รับอานิสงส์จากกลุ่ม พร้อมทั้งคาดว่าจะมีแนวโน้มการเติบโตที่ดีและเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการไทย ได้แก่ 1. กลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าสำหรับเด็ก ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้มากที่สุดพบว่า จะต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีฟังก์ชันหรือคุณสมบัติพิเศษ โดยเฉพาะสินค้าที่ชูในเรื่องของการส่งเสริมความฉลาดหรือพัฒนาการจะเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมสูง โดยอุตสาหกรรมที่คาดว่าจะได้รับอานิสงส์ ได้แก่ อุตสาหกรรมเสื้อผ้า โดยมีปัจจัยจากพัฒนาการทางการเติบโตและกระแสแฟชั่น โดยเฉพาะเสื้อผ้าในกลุ่มเส้นใยธรรมชาติและฝ้าย อุตสาหกรรมด้านผลิตภัณฑ์สำหรับชีวิตประจำวันและของเล่น เช่น ครีมอาบน้ำ ผ้าอ้อม ของเล่นที่ผลิตจากยางพารา และอุตสาหกรรมอาหารสำหรับเด็ก เช่น นมผง อาหาร ขนมพร้อมรับประทาน ทั้งนี้ ในปี 2558-2563 มีการคาดการณ์ว่ากลุ่มอาหารทั่วโลกจะมีการเติบโตร้อยละ 6 ต่อปี มีมูลค่าราว 7.3 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับต้นๆ ของโลก ได้แก่ อินเดีย จีน และอินโดนีเซีย (ที่มา Exim Bank) 2. อุตสาหกรรมอาหารเพื่อสุขภาพ ผู้บริโภคในกลุ่มคุณแม่ยุคดิจิตอลถือว่าเป็นกลุ่มต้นๆ ที่ให้ความสำคัญต่อการดูแลสุขภาพ โดยเฉพาะในเรื่องรูปร่าง ผิวพรรณ ระบบภายใน และการรักษาโรค โดยในกลุ่มนี้ยังเป็นกลุ่มที่มีกำลังและยินดีในการใช้จ่ายเพื่อการเลือกสรรสิ่งที่ดีที่สุดแม้จะราคาสูง สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมในกลุ่มอุตสาหกรรมนี้สูงสุดก็คือ อาหารเสริมความงาม อาหารเสริมสุขภาพและรักษาโรค และอาหารเสริมเพิ่มสมรรถภาพทางร่างกาย โดยมีมูลค่ารวมกันกว่า 6.67 แสนล้านบาท ซึ่งยังมีการคาดการณ์ไว้อีกว่าในปี 2560 จะเติบโตขึ้นอีกประมาณ 11% หรือ 7.38 แสนล้านบาท (ที่มา ศูนย์วิจัย ธ.ไทยพาณิชย์) โดยผู้ประกอบการที่ต้องการอาศัยโอกาสดังกล่าวจะต้องเน้นการขยายตลาดในเชิงลึก ด้วยการมุ่งเน้นนวัตกรรมใหม่ๆ และคุณสมบัติที่หลากหลาย เพื่อให้สินค้าเกิดความน่าสนใจมากขึ้น 3. อุตสาหกรรมแฟชั่น กว่า 91% ของคุณแม่วัย 21-35 ปี และส่วนใหญ่ยังคงมีการดำเนินชีวิตประจำวันใกล้เคียงกับตอนมีบุตร โดยเฉพาะการตามกระแสแฟชั่น ซึ่งสินค้ากลุ่มนี้เองก็ถือได้ว่ามีทางเลือก โดยเฉพาะการเน้นการออกแบบที่มีประสิทธิภาพขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการตัดเย็บเสื้อผ้า ไซส์ของเครื่องแต่งกาย การออกแบบลวดลาย สี และรูปทรงของเครื่องประดับและอุปกรณ์เพื่อการสวมใส่ที่สอดคล้องกับผู้หญิงบุคลิกต่างๆ มากขึ้น นอกจากนี้ ผู้ประกอบการบางรายยังได้พัฒนานวัตกรรมและฟังก์ชันเพื่อชูจุดเด่นของแบรนด์สินค้า เช่น เสื้อผ้าที่ผลิตจากเส้นใยฟิลาเจน เช่น ชุดคลุมท้อง ถุงเท้า ผ้าขนหนู สิ่งทอจากเส้นใยสับปะรด เสื้อผ้ากันน้ำ ซึ่งเชื่อว่าแฟชั่นไทยในปีนี้จะยังคงมีการเติบโตที่ระดับ 9 แสนล้านบาทตามคาด 4. อุตสาหกรรมด้านอุปกรณ์ดิจิตอลและบริการแอปพลิเคชัน พฤติกรรมของผู้บริโภคในกลุ่มนี้ยังคงต้องการเข้าสังคม ชอบความบันเทิง ชอบเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ใช้ง่ายไม่ซับซ้อนเพื่อช่วยลดภาระ และเพิ่มความสะดวกสบายให้ตัวเองและครอบครัว สำหรับกลุ่มสินค้าและการบริการในกลุ่มนี้ถือได้ว่าเป็นกลุ่มที่โตเงียบ เนื่องจากมีผู้ประกอบการในตลาดน้อยรายแต่มีความต้องการในปริมาณมาก ซึ่งสินค้าที่กลุ่มนี้นิยมเลือกซื้อและมีความน่าสนใจ เช่น ร้านค้าออนไลน์ เครื่องปั๊มและถุงเก็บน้ำนม เบบี้มอนิเตอร์ อุปกรณ์เสริมเพื่อการถ่ายภาพ แอปพลิเคชันด้านดีลิเวอรี เช่น บริการทำความสะอาด ขนส่ง แอปพลิเคชันเพื่อการติดตามลูก อุปกรณ์เครื่องทำความสะอาดอัตโนมัติ เป็นต้น 5. อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง จากค่านิยมเรื่องความสวยความงาม และการดูแลตนเอง เครื่องสำอางได้กลายเป็นสินค้าที่ก้าวเข้ามามีบทบาทกับผู้บริโภคสตรีแทบทุกวัย โดยยังถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคยอมจ่ายเนื่องจากกำลังซื้อ ความภักดีต่อแบรนด์ และโฆษณาชวนเชื่อจากสื่อต่างๆ สำหรับความนิยมและการเติบโตในกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องสำอางของกลุ่มคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์พบว่าต้องการสินค้าประเภทให้ความชุ่มชื่น ดูแลผิวพรรณ ลดภาวะการเกิดสิว ส่วนคุณแม่อื่นๆ ยังคงนิยมทั้งด้านผลิตภัณฑ์เพื่อการดูแลและผลิตภัณฑ์เพื่อการตกแต่ง เช่น ลิปสติก น้ำหอม ผลิตภัณฑ์ปกปิดริ้วรอย อย่างไรก็ดี มีการคาดการณ์ว่าในปี 2560 นี้อุตสาหกรรมเครื่องสำอางน่าจะมีการเติบโตที่เกือบระดับ 3 แสนล้านบาท (ที่มา : คลัสเตอร์เครื่องสำอางไทย) โดยเทรนด์ที่ผู้ประกอบการยังต้องปรับในอนาคตคือ ลดการใช้น้ำ เน้นผลิตภัณฑ์ที่มาจากธรรมชาติ รวมถึงการผลิตเครื่องสำอางสำหรับเด็ก เป็นต้น ----------------------------------------------------------ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา ธุรกิจอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม เพื่อให้มีสมรรถนะและขีดความสามารถในการประกอบการ ที่เป็นเลิศและมีความยั่งยืนสู่สากลโทรศัพท์ : (045)314135, (045)314216-7, (045)311987โทรสาร : (045)311987website : https://ipc7.dip.go.thfacebook : https://www.facebook.com/dip.ipc7
16 ส.ค 2560
“อุตตม” เผยสัญญาณเศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัวโดยมีหลายปัจจัยขับเคลื่อนโดยเฉพาะภาคการส่งออก ความเชื่อมั่นการลงทุนจากเอกชน ขณะที่สภาองค์กรนายจ้างยอมรับส่งออกไทยปีนี้มีลุ้นโต 6-7% สัญญาณคำสั่งซื้อเริ่มทยอยมา
“อุตตม” เผยสัญญาณเศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัวโดยมีหลายปัจจัยขับเคลื่อนโดยเฉพาะภาคการส่งออก ความเชื่อมั่นการลงทุนจากเอกชน ขณะที่สภาองค์กรนายจ้างยอมรับส่งออกไทยปีนี้มีลุ้นโต 6-7% สัญญาณคำสั่งซื้อเริ่มทยอยมา
นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ขณะนี้พบปัจจัยหลายอย่างที่บ่งชี้ว่าสถานการณ์เศรษฐกิจไทยเริ่มปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะภาคการส่งออกที่มีการขยายตัวอย่างมาก ความเชื่อมั่นจากนักลงทุนโดยเฉพาะจากองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (เจโทร กรุงเทพฯ) ที่ทำการสำรวจแนวโน้มทางเศรษฐกิจของบริษัทร่วมทุนญี่ปุ่นในประเทศไทย ในครึ่งปี 2560 ก็ชี้ชัดว่าทิศทางนักลงทุนญี่ปุ่นมองการเติบโตในประเทศไทยดีขึ้น ดัชนีขึ้นไปอยู่ที่ระดับ 26 เพิ่มขึ้นจากต้นปีที่ค่าดัชนีอยู่ที่ระดับ 20 และยังเป็นบวกในทุกอุตสาหกรรม “มีหลายปัจจัยที่ชี้ว่าเศรษฐกิจไทยกำลังฟื้นตัวแต่อาจจะยังไม่ถึงระดับฐานราก นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี จึงได้มอบนโยบายให้กระทรวงอุตสาหกรรมเร่งขับเคลื่อนวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม (เอสเอ็มอี) ให้มากขึ้นเพื่อที่จะรองรับเศรษฐกิจขยายตัว ขณะเดียวกันก็จะมีการลงทุนในระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ทยอยในสิ้นปีนี้ก็จะเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในปีต่อไป อย่างไรก็ตาม ในเรื่องของหนี้ครัวเรือนของภาคประชาชนนั้นกระทรวงการคลังยืนยันว่าเริ่มดีขึ้นและไม่กระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลังแน่นอน” นายอุตตมกล่าว นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์กรนายจ้างผู้ประกอบการค้าอุตสาหกรรมไทย กล่าวว่า แนวโน้มการส่งออกของไทยปี 2560 คาดว่าจะมีโอกาสลุ้นเติบโตได้ระดับ 6-7% เนื่องจาก 6 เดือนแรกการส่งออกของไทยโตถึง 7.8% หรือสูงสุดในรอบ 6 ปี และขณะนี้มีสัญญาณคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเข้ามามากขึ้นซึ่งสอดรับกับการนำเข้าวัตถุดิบ 6 เดือนแรกโต 21% และการนำเข้าเครื่องจักรโต 7.4% ซึ่งชี้ให้เห็นว่าเอกชนเตรียมขยายการลงทุน “มีสัญญาณว่าเศรษฐกิจเรากำลังฟื้นตัวอย่างมีนัยสำคัญจากภาคการส่งออก โดยขณะนี้อัตรากำลังผลิตเริ่มดีขึ้นเพราะสต๊อกสินค้าที่ค้างอยู่เดิมเริ่มลดลงทำให้มีการผลิตใหม่ และมีออร์เดอร์เข้ามาเพิ่ม โดยผมทำธุรกิจขนส่ง (ลอจิสติกส์) เองก็เห็นชัดว่าเริ่มมีการขยายตัวในรอบหลายปี” นายธนิตกล่าว อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยต้องติดตามในแง่ของเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะนโยบายของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาต่อประเทศรัสเซียและเกาหลีเหนือ อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทที่ภายใน 1 ปีที่ผ่านมาไทยมีการแข็งค่าระดับ 8.3% ซึ่งเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอาจจะแข็งค่าเล็กน้อย แต่ในเรื่องของภาพรวมต่อเศรษฐกิจนั้นมีทั้งผลบวกและลบ โดยบาทที่แข็งค่าก็มีผลดีในแง่ของการนำเข้าวัตถุดิบและเครื่องจักรที่ถูกลง แต่ผลเสียอาจกระทบรายได้จากการส่งออกในแง่มูลค่าลดลงไป
16 ส.ค 2560
ปลุกเศรษฐกิจพิเศษ‘แม่สอด’  เปิดทางธุรกิจ‘เอสเอ็มอี’สู่สากล
ปลุกเศรษฐกิจพิเศษ‘แม่สอด’  เปิดทางธุรกิจ‘เอสเอ็มอี’สู่สากล
อีกไม่กี่อึดใจชายแดนไทย-เมียนมาร์ ฝั่ง อ.แม่สอด จ.ตาก จะกลายเป็นเมืองอุตสาหกรรมใหม่อย่างเต็มรูปแบบ เมื่อรัฐบาลมีเป้าหมายพัฒนาเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษเชื่อมโยงกับเขตเศรษฐกิจพิเศษเมียวดี ประเทศเมียนมาร์ ที่มีมูลค่านับหมื่นล้านบาท ขณะที่กระทรวงอุตสาหกรรมร่วมกับ กระทรวงมหาดไทย สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย และหน่วยงานเครือข่ายการพัฒนาเอสเอ็มอี เร่งเดินหน้าสานต่อ “กองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ” มุ่งเป้าหมายพื้นที่เขตเศรษฐกิจจังหวัดตาก กลุ่มภาคเหนือตอนล่าง ประกอบด้วย จ.ตาก จ.สุโขทัย จ.อุตรดิตถ์ จ.เพชรบูรณ์ จ.พิษณุโลก จ.พิจิตร จ.กำแพงเพชร จ.นครสวรรค์ และ จ.อุทัยธานี พร้อมเร่งบูรณาการส่งเสริมเอสเอ็มอีไทยเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 เสริมแกร่งเอสเอ็มอีไทยครอบคลุมทุกมิติอย่างสมดุล รองรับการขยายตัวของเมืองทั้งด้านศักยภาพและความพร้อม ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ การลงทุนภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตร และการท่องเที่ยว อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวระหว่างเป็นประธานเปิดงาน “คลินิกเอสเอ็มอีสัญจรแนวประชารัฐ” ครั้งที่ 7 อ.แม่สอด จ.ตาก โดยระบุว่า ตามนโยบายของรัฐบาล ที่กระทรวงอุตสาหกรรมมุ่งเน้นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจตามนโยบายอุตสาหกรรม 4.0 ด้วยการเร่งพัฒนาเอสเอ็มอี และเศรษฐกิจท้องถิ่นให้เข้มแข็ง โดยมีเป้าหมาย จ.ตาก ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญระเบียงเศรษฐกิจตามแนว ตะวันออก-ตะวันตก หรือ East-West Economic Corridor (EWEC) หรือที่เรียกว่าเส้นทาง R9 ที่เชื่อมระหว่าง 2 มหาสมุทร คือ มหาสมุทรอินเดีย กับ มหาสมุทรแปซิฟิก หรือทะเลจีนใต้ จากเมืองเมาะละแหม่ง ประเทศเมียนมาร์ ผ่าน จ.ตาก จ.พิษณุโลก จ.ขอนแก่น จ.มุกดาหาร ข้ามเขตแดนไปยังเมืองดองฮาและไปจรดปลายทางที่เมืองดานัง ประเทศเวียดนาม “จ.ตาก ถือเป็นจุดแข็งที่รัฐบาลเล็งเห็นความสำคัญ ซึ่งได้มีการกำหนดบทบาทของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตาก ให้เป็น ศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าระหว่างประเทศ เครือข่ายอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น โดยมีอุตสาหกรรมเป้าหมายคือ สิ่งทอเครื่องนุ่งห่ม เกษตรแปรรูปและอาหาร เครื่องเรือนจากไม้ และอัญมณีเครื่องประดับ” จากลักษณะภูมิศาสตร์ที่เป็นพื้นที่ชายแดน และเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในเรื่องของระบบโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค รวมถึงความเข้มแข็งทางด้านเศรษฐกิจการค้า การลงทุนภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตร และการท่องเที่ยว โดยพื้นที่แม่สอดสามารถเชื่อมโยงกับเขตเศรษฐกิจพิเศษเมียวดี ของเมียนมาร์ ซึ่งตั้งอยู่ห่างออกไปเพียง 10 กิโลเมตร และมีพื้นตั้งอยู่ปลายแนวเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก เป็นจุดตัดระหว่างแนวเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ (North-South Economic Corridor : NSEC) มีโครงข่ายการคมนาคมทางบกที่สนับสนุนการขนส่งทั้งผู้โดยสารและสินค้า มีสนามบินพาณิชย์เป็นแหล่งผลิตทางการเกษตรและแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่มีความโดดเด่นเฉพาะตัว ตลอดจนเป็นประตูสู่อันดามัน และประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง คือ เมียนมาร์ จีน และสามารถเชื่อมโยงกับเส้นทางการค้าขายเป็นประตูสู่ยุโรปได้ รมว.อุตสาหกรรม กล่าวต่อว่า ในส่วนของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ก็ได้เตรียมโครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตากไว้แล้ว ณ ต.ท่าสายลวด อ.แม่สอด บนเนื้อที่ประมาณ 671 ไร่ อยู่ห่างจากห่างจากทางหลวง EWEC ประมาณ 7 กิโลเมตร ในบริเวณที่ติดกับพื้นที่ก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-เมียนมาร์แห่งที่ 2 โดยขณะนี้มีระบบไฟฟ้าเข้าถึงพื้นที่แล้ว และมีแหล่งน้ำคือแม่น้ำเมย ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของเขตเศรษฐกิจจังหวัดตาก คือ การให้บริการโลจิสติกส์ เช่น คลังสินค้า ศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าและยานพาหนะ (มีพื้นที่รวมประมาณ 33%) และอุตสาหกรรมเป้าหมาย เช่น สิ่งทอเครื่องนุ่งห่ม เกษตรแปรรูปและอาหาร เครื่องเรือนจากไม้ และอัญมณีเครื่องประดับ (มีพื้นที่รวมประมาณ 66%) โดยมีการกำหนดพื้นที่โซนสำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี รวมทั้งมีศูนย์ SMEs Development Center ซึ่งจะให้บริการสนับสนุนเครื่องมืออุปกรณ์กลาง เช่น 3D-Priner Co-Working Space และการพัฒนาเอสเอ็มอีที่ตั้งอยู่ในนิคมและบริเวณใกล้เคียงด้วย “ในส่วนพื้นที่ที่เหลือจะถูกกันไว้เป็นเขตพาณิชยกรรม ระบบสาธารณูปโภค และพื้นที่สีเขียวเพื่อเป็นแนวกันชน โดยประมาณการมูลค่าการพัฒนาไว้ที่ 835 ล้านบาท คาดว่าจะเริ่มเปิดดำเนินการพื้นที่ในเฟสแรกได้ตั้งแต่ปลายปี 2561 เป็นต้นไป” รมว.อุตสาหกรรม กล่าวยืนยัน แน่งน้อย เวทยพงษ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เผยว่า เพื่อเป็นการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของเมืองหน้าด่านชายแดนไทยและเมียนมาร์ รองรับก่อนเปิดเป็นเขตเศรษฐกิจอย่างเป็นทางการ ขณะนี้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้เร่งให้การช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในประเทศไทยผ่านเครื่องมือในการช่วยต่อยอดทางธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการไทยในทุกมิติอย่างสมดุล ทั้งการต่อยอดการออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ที่ตรงความต้องการของตลาด เพื่อยกระดับและเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้าและบริการ การขับเคลื่อนผลงานนวัตกรรมไปสู่เชิงพาณิชย์ในรูปแบบของศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมเพื่ออนาคต “มีการพัฒนาผู้ประกอบการโดยการเติมองค์ความรู้ในการเพิ่มผลิตภาพและมาตรฐาน การพัฒนาระบบบริหารจัดการ การบัญชีและการเงินให้ก้าวสู่ SMART SMEs พร้อมส่งเสริมการใช้ระบบดิจิทัลเพื่อเชื่อมโยงสู่โลกการค้าสมัยใหม่ โดยมีศูนย์สนับสนุนและช่วยเหลือเอสเอ็มอีทำหน้าที่สนับสนุนการดำเนินการภายใต้กลไกประชารัฐ ซึ่งกองทุนตามแนวประชารัฐดำเนินการให้ความช่วยเหลือในรูปแบบกองทุนต่างๆ” รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมกล่าวระหว่างนำสื่อมวลชนลงพื้นที่ดูงานเอสเอ็มอีตามโครงการประชารัฐ พร้อมย้ำว่า การลงพื้นที่ จ.ตาก ครั้งนี้มุ่งเน้นการสร้างการรับรู้และความเข้าใจในนโยบายการสนับสนุนและช่วยเหลือเอสเอ็มอี จังหวัดยุทธศาสตร์ภาคเหนือตอนล่าง 9 จังหวัด ประกอบด้วย ตาก สุโขทัย อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ พิษณุโลก พิจิตร กำแพงเพชร นครสวรรค์ และอุทัยธานี โดยขณะนี้มีผู้ประกอบการจากทั่วประเทศยื่นคำขอทั้ง 4 มาตรการแล้ว 10,558 ราย วงเงิน 30,161.60 ล้านบาท อนุมัติแล้วจำนวน 2,954 ราย ในวงเงิน 8,514.86 ล้านบาท อ้างอิง https://goo.gl/fdB1K7 ----------------------------------------------------------ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา ธุรกิจอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม เพื่อให้มีสมรรถนะและขีดความสามารถในการประกอบการ ที่เป็นเลิศและมีความยั่งยืนสู่สากลโทรศัพท์ : (045)314135, (045)314216-7, (045)311987โทรสาร : (045)311987website : https://ipc7.dip.go.thfacebook : https://www.facebook.com/dip.ipc7
11 ส.ค 2560
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมมือบริษัท เดลต้า อีเลคทรอนิคส์ มอบทุนจัดตั้งธุรกิจกว่า 1 ล้านบาท
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมมือบริษัท เดลต้า อีเลคทรอนิคส์ มอบทุนจัดตั้งธุรกิจกว่า 1 ล้านบาท
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกับบริษัท เดลต้า อีเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) จัดพิธีมอบเงินทุนครั้งที่ 1 ประจำปี 2560 ภายใต้กิจกรรมสนับสนุนแหล่งเงินทุนเพื่อการจัดตั้งวิสาหกิจเริ่มต้นในนาม Angel Fund for Startup เมื่อวันเสาร์ที่ 29 กรกฎาคม 2560 ณ อาคารชาเลนเจอร์ฮอลล์ อิมแพคเมืองทองธานี โดยมีดร.สมชาย หาญหิรัญ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ดร.พสุ โลหารชุน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมเปิดงานและดร.อนุสรณ์ มุทราอิศ กรรมการบริหารบริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เป็นผู้มอบเงินทุนแก่ผู้ประกอบการหรือกลุ่ม Startupเป็นปีที่ 2 ต่อเนื่องจากปีที่แล้ว กลุ่ม Startup หรือผู้ประกอบการใหม่ของประเทศไทย ถือเป็นฐานใหญ่ของการจ้างงานและการเกิดนวัตกรรมใหม่ การสร้างกลุ่ม Startup ให้มีความเข้มแข็งจึงมีความจำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญ และเข้าใจในบริบทของผู้ที่เป็นเจเนอเรชั่นใหม่ที่มีความกล้าคิด กล้าเสี่ยง มีไอเดียแปลกใหม่ รักการเรียนรู้อยู่เสมอ กล้าลองผิดลองถูก ต้องการการเปลี่ยนแปลง แต่ข้อจำกัดคืออาจไม่มีเงินทุน ดังนั้น การจัดหาเงินทุนเพื่อสนับสนุนการเริ่มต้นของกิจการหรือต่อยอดให้กับกิจการจะช่วยส่งผลให้ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ได้ดำเนินกิจการต่อไปได้อย่างมั่นคง โดยไม่เป็นเพียงแค่การคิดฝันแต่ไม่สามารถสร้างธุรกิจให้เกิดขึ้นจริงได้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมโดยสำนักพัฒนาผู้ประกอบการ ร่วมกับภาคเอกชนโดย บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) จึงได้ร่วมมือกันจัดกิจกรรมสนับสนุนแหล่งเงินทุนเพื่อการจัดตั้งวิสาหกิจเริ่มต้นในนาม Angel Fund for Startup ขึ้น เน้นโอกาสให้เจ้าของไอเดียธุรกิจที่พร้อมจะเป็นผู้ประกอบการใหม่หรือกลุ่ม Startupนำเสนอแนวคิดต่อแหล่งเงินทุนสนับสนุนเพื่อการเริ่มธุรกิจโดยมีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมเป็น"พี่เลี้ยง" ให้คำปรึกษาแนะนำทางด้านธุรกิจ ให้ความรู้เพื่อเติมเต็มไอเดียสู่การวางแผนธุรกิจที่มั่นคง การสร้างแบบจำลองธุรกิจให้น่าสนใจฝึกทักษะการเรียนรู้เทคนิคการนำเสนอแนวคิดอย่างมืออาชีพ และบริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ให้การสนับสนุนเงินลงทุนในรูปแบบ Angel Fund โดยไม่หวังผลตอบแทนใดๆ จากการสนับสนุนเงินทุน โครงการ Angel Fund ในปี 2560 นี้มีผู้สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการ 254 ทีม และผ่านเข้ารอบเพื่อร่วมกิจกรรมแคมป์อบรมเชิงลึกด้านธุรกิจจำนวน 24 ทีมท้ายสุดสามารถพิชิตเงินทุนเพื่อสานฝันต่อให้กับธุรกิจของตนจำนวน 4 ทีม ได้แก่ 1. ทีม Pure Control System โดยนายบรรจง ปัญญาศรีวินิจ 2. ทีม The Brother System โดยนายบรรทัศน์ สร้อยระย้า และนายวันพืช สร้อยระย้า 3. ทีม OM FOR YOU โดยนายณัฐปคัลภ์ ลิไชยกุล 4. ทีม ReadRing โดยนายทรงปกรณ์ ภูหนองโอง โครงการยังคงเปิดโอกาสให้กับผู้ที่สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการอีกครั้ง โดยสามารถสมัครเป็นรายบุคคล (เดี่ยว) หรือเป็นทีม (ทีมละไม่เกิน 3 คน) โดยแนวคิด/แผนการลงทุนต้องเป็นของตนเองและไม่เคยได้รับรางวัลที่ใดมาก่อน (1 ทีมต่อ 1แผน) และต้องมีสัญชาติและเชื้อชาติไทย อายุไม่เกิน 35 ปี ณ วันสมัคร และไม่เป็นตัวแทนจากหน่วยงาน องค์กร สถาบันการศึกษาหรือบริษัทใดๆ โดยสามารถจัดส่งแนวคิดแผนการลงทุนในรูปแบบคลิปวีดีโอความยาวไม่เกิน 5 นาทีเพื่อแนะนำตนเองและโครงการลงทุนและจัดทำเนื้อหาแผนการลงทุนโปรแกรม Power point จำนวนไม่เกิน 10 หน้าส่งได้ที่ plantobiz2016@gmail.com หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อ 02-202-4574 , 02-354-3171 , 02-202-4570-4 รับสมัครถึงวันที่ 15 สิงหาคม 2560 อ่านต่อได้ที่ : https://goo.gl/TFMktg ----------------------------------------------------------ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา ธุรกิจอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม เพื่อให้มีสมรรถนะและขีดความสามารถในการประกอบการ ที่เป็นเลิศและมีความยั่งยืนสู่สากลโทรศัพท์ : (045)314135, (045)314216-7, (045)311987โทรสาร : (045)311987website : https://ipc7.dip.go.thfacebook : https://www.facebook.com/dip.ipc7
10 ส.ค 2560
“ศูนย์ ITC พร้อมให้บริการอัพเกรดนวัตกรรมของเอสเอ็มอีด้วยเครื่องจักรและเทคโนโลยีที่ทันสมัย เริ่มให้บริการแล้วตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป”
“ศูนย์ ITC พร้อมให้บริการอัพเกรดนวัตกรรมของเอสเอ็มอีด้วยเครื่องจักรและเทคโนโลยีที่ทันสมัย เริ่มให้บริการแล้วตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป”
10 สิงหาคม 2560 – กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมมือกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสำนักพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ขานรับนโยบายการปฏิรูปประเทศไทยเข้าสู่ยุค 4.0 ด้วยการร่วมมือกันจัดตั้งศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมแห่งอนาคต (Industry Transformation Center : ITC ) เพื่อสนับสนุนให้ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมของประเทศไทยต่อยอดนวัตกรรมและงานวิจัยไปสู่ผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ที่มีมูลค่าสูง โดยริเริ่มตั้งแต่การวิเคราะห์และคัดเลือกผลิตภัณฑ์ การให้บริการด้านวิศวกรรม การจัดหาผู้ผลิต ทำการทดสอบและรับรองมาตรฐาน การทดสอบตลาด เพื่อบ่มเพาะให้สามารถนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาสินค้าและดำเนินธุรกิจได้เอง โดยมีการแบ่งปันเครื่องจักรอุปกรณ์จากเครือข่ายหน่วยงานภาครัฐมาให้บริการแก่ผู้ประกอบการเพื่อเป็นการลดต้นทุนการประกอบกิจการ และยังมีความช่วยเหลือต่าง ๆ ผ่านโครงการของภาครัฐที่จะทยอยตามมาอีกด้วย นายพสุ โลหารชุน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในในปัจจุบันที่ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้ประกอบการต่างเผชิญความท้าทายใหม่ ๆ มากยิ่งขึ้นทุกวันบนโลกธุรกิจ ดังนั้น ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมแห่งอนาคตที่นี้ จะทำหน้าที่สนับสนุนผู้ประกอบการไทยให้มีแต้มต่อในการแข่งขันให้มากขึ้น โดยอาศัยความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรมใหม่ ๆ และงานวิจัย จาก 3 หน่วยงานภาครัฐที่ประสานพลังกันขับเคลื่อนให้ภาคอุตสาหกรรมเป้าหมายของไทย พัฒนาไปสู่ระบบเศรษฐกิจใหม่ ตามแผนนโยบายของรัฐบาลมุ่งสู่ Thailand 4.0 และด้วยรูปแบบการทำงานของศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมแห่งอนาคต (Industry Transformation Center : ITC) จะไม่ได้ทำงานเพียงลำพังเท่านั้น แต่จะเป็นศูนย์กลางที่ดึงความหลากหลายของหน่วยงานที่มีความชำนาญด้านการออกแบบและวิศวกรรมจากผู้นำเทคโนโลยีระดับโลก จากสถาบันเครือข่ายผู้ประกอบการ จากสมาคมอุตสาหกรรมสนับสนุนต่าง ๆ มาให้บริการแก่ภาคเอกชน โดยล่าสุดมีทั้งมหาวิทยาลัย สถาบันเครือข่าย และบริษัทเอกชนต่าง ๆ เข้ามาแสดงเจตจำนงในการสนับสนุนศูนย์ ITC นี้ อีกกว่า 20 หน่วยงาน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวเพิ่มเติมว่า ศูนย์ดังกล่าวจะประกอบไปด้วยแพลทฟอร์มบริการ 4 ส่วน ได้แก่ 1. ITC Match ทำหน้าที่เชื่อมโยงสร้างเครือข่ายความร่วมมือจากผู้นำอุตสาหกรรมทั้งในและนอกประเทศ เพื่อสร้างความแข็งแกร่งในการพัฒนาองค์ความรู้กับผู้ประกอบการ 2. ITC Innovate ศูนย์สาธิตและฝึกอบรมร่วมภาครัฐและเอกชนในการรับและถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ ระหว่าง Global Players และ SMEs 3. ITC Share แหล่งรวมบริการเครื่องมือ เครื่องจักร ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมให้กับผู้ประกอบการ และ 4. ITC Fund นโยบายสนับสนุนทางการเงินผ่านช่องทางต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยเชื่อมโยงนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ โดยทั้ง 4 แพลตฟอร์มจะถูกบรรจุเป็นการบริการในรูปแบบต่าง ๆ ในศูนย์ ITC ซึ่งประกอบไปด้วย 1. อาคารต้นคิดสตูดิโอ 2. อาคารต้นกล้าแกลลอรี่ 3. อาคารปฏิบัติการต่างๆ โดยศูนย์จัดตั้งอยู่ที่ซอยตรีมิตร ถนนพระรามที่ 4 ซึ่งอยู่ใกล้เคียงกับหน่วยงานสถาบันเครือข่าย อาทิ สถาบันพลาสติก สถาบันสิ่งทอ สถาบันไทย-เยอรมัน สถาบันยานยนต์ สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย นอกจากนี้บริเวณรอบ ๆ ยังมีหน่วยงานเอกชนที่เกี่ยวข้องกับภาคอุตสาหกรรมตั้งอยู่ โดยการรวมตัวที่เกิดขึ้นจะช่วยเอื้อประโยชน์และความสะดวกต่อการดำเนินงานในบางประเภทได้อย่างมีนัยสำคัญในการนี้ ดร.สมชาย หาญหิรัญ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ดร.พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รศ.ดร. วีระศักดิ์ อุดมกิจเดช รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ พร้อมด้วยแขกผู้เกียรติจากหลากหลายหน่วยงาน ได้เข้าเยี่ยมชมความพร้อมของศูนย์ ITC ที่ถูกพัฒนาขึ้นเป็น Co-Working Space ที่รวบรวมเครื่องจักรอุปกรณ์สำหรับการผลิตชิ้นงานต้นแบบเชิงอุตสาหกรรมอีกมากมาย เช่น เครื่องจักรที่ช่วยขึ้นรูปงานต้นแบบด้วยเทคโนโลยี 3D Printer ทั้งโลหะ โพลีเมอร์ และเรซินต่าง ๆ เครื่องขึ้นรูปงานพลาสติกด้วยเครื่องฉีดพลาสติกขนาด 20 - 150 ตัน เครื่องเป่าลมพลาสติก เครื่องผสมเม็ดพลาสติก เครื่อง CNC ต่างๆ และ ต้นแบบของ Learning Factory เป็นต้น ภาพ/ข่าว #กระทรวงอุตสาหกรรมhttps://goo.gl/DKHxno ----------------------------------------------------------ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา ธุรกิจอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม เพื่อให้มีสมรรถนะและขีดความสามารถในการประกอบการ ที่เป็นเลิศและมีความยั่งยืนสู่สากลโทรศัพท์ : (045)314135, (045)314216-7, (045)311987โทรสาร : (045)311987website : https://ipc7.dip.go.thfacebook : https://www.facebook.com/dip.ipc7
10 ส.ค 2560