หมวดหมู่
แท็ก:
นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่เยี่ยมชมการดำเนินงานและรับฟังปัญหาต่างๆ ของบริษัท สยามโปรฟรุตส์ จำกัด
จ.จันทบุรี 5 กุมภาพันธ์ 2561- นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วยนางสาวนิสากร จึงเจริญธรรม รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายสุรพล ชามาตย์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวศรชนก ทองมั่นคง อุตสาหกรรมจังหวัดจันทบุรี และคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่เยี่ยมชมการดำเนินงานและรับฟังปัญหาต่างๆ ของบริษัท สยามโปรฟรุตส์ จำกัด ต.แสลง อ. เมือง ผู้ผลิตสินค้าเกษตรแปรรูปน้ำผักและผลไม้เพื่อสุขภาพบรรจุขวดสูญญากาศ ที่มีมาตรฐานระดับสูง อาทิ น้ำมังคุด ผลิตภัณฑ์จากเปลือกมังคุด น้ำเสารส น้ำสำรอง เป็นต้น ซึ่งบริษัทรับจ้างผลิตแบบ OEM และ ODM โดยจำหน่ายในตลาดทั้งในและต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น จีน เกาหลี อเมริกา มาเลเซีย รัสเซีย เป็นต้น ทั้งนี้ บริษัทดังกล่าวเป็นผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการคลัสเตอร์ผลไม้แปรรูปคุณภาพชายฝั่งตะวันออก และโครงการต่างๆ กับทางกรมส่งเสริมอุตสากรรม กระทรวงอุตสาหกรรม PR. DIP (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
05 ก.พ. 2561
นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวปาฐกถาในงานสัมมนาเชิงปฎิบัติการ
จ.จันทบุรี 5 กุมภาพันธ์ 2561 - นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวปาฐกถาในงานสัมมนาเชิงปฎิบัติการ “การยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนภายใต้แนวคิดเชิงเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน ด้วยการสนับสนุนองค์ความรู้เกี่ยวกับแนวคิดและความสำคัญของเทคโนโลยีและนวัตกรรมในยุค Thailand 4.0 การพัฒนาและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ด้วยคุณภาพและมาตรฐานในเชิงสร้างสรรค์ และการแก้ไขปัญหาคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน รวมทั้งส่งเสริมให้ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนสามารถเข้าไปจำหน่ายในร้านตามโครงการ “ร้าน มอก.” ทั้งนี้ นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายพสุ โลหารชุน ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวนิสากร จึงเจริญธรรม รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายสุรพล ชามาตย์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม และสื่อมวลชนเข้าร่วมงานดังกล่าว ณ โรงแรมแทรเวิล ลอร์ด โฮเทล อ.เมือง PR. DIP (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
05 ก.พ. 2561
นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ตรวจราชการและหารือร่วมภาคเอกชนในพื้นที่ภาคตะวันออก
จ.จันทบุรี 5 กุมภาพันธ์ 2561 - นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ตรวจราชการและหารือร่วมภาคเอกชนในพื้นที่ภาคตะวันออก โดยภาคเอกชนต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือในด้านลดต้นทุนการผลิต เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งกระทรวงฯมีมาตรการช่วยเหลือ คือ มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการบริหารธุรกิจ SME ระยะเวลาดำเนินโครงการตั้งแต่ปีงบประมาณ 2561-2563 โดยคาดว่า SME ที่เข้าร่วมโครงการจะสามารถลดต้นทุนการผลิตได้ร้อยละ 10 และช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายหรือลดต้นทุนได้ประมาณร้อยละ 3-5 ของต้นทุนทั้งหมด สำหรับการลงพื้นที่ตรวจราชการและหารือกับภาคเอกชนในพื้นที่ภาคตะวันออกครั้งนี้ นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายพสุ โลหารชุน ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวนิสากร จึงเจริญธรรม รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายสุรพล ชามาตย์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ได้เข้าร่วมประชุมดังกล่าว ณ โรงแรมแทรเวิล ลอร์ด โฮเทล อ.เมือง PR. DIP (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
05 ก.พ. 2561
นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วยนางสาวนิสากร จึงเจริญธรรม รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายณัฐพล รังสิตพล เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม นายสุรพล ชามาตย์ หัวหน้าผ
จ.จันทบุรี 5 กุมภาพันธ์ 2561- นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วยนางสาวนิสากร จึงเจริญธรรม รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายณัฐพล รังสิตพล เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม นายสุรพล ชามาตย์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม และสื่อมวลชน ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงเกษตร วิสาหกิจชุมชนเกษตรเพื่อสุขภาพบ้านปัถวี อ.มะขาม จ.จันทบุรี ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการหมู่บ้านอุตสาหกรรมชุมชนเชื่อมโยงการท่องเที่ยว (CIV 4.0) ตามมาตรการยกระดับเศรษฐกิจฐานชุมชน (Local Economy) ของกระทรวงอุตสาหกรรม โดยชุมชนดังกล่าวมีอัตลักษณ์ที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยผลไม้นานาพันธุ์ เป็นสวนอินทรีย์และแหล่งเรียนรู้ ซึ่งมีจุดเด่นคือ สุดยอดผลไม้อินทรีย์เพื่อสุขภาพ และจากอัตลักษณ์ดังกล่าวเมื่อได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากโครงฯ คาดว่าจะสามารถเพิ่มมูลค่าสินค้าและการท่องเที่ยวให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากเดิมได้ ### PR. DIP (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
05 ก.พ. 2561
มองหาโอกาสธุรกิจ เพื่อรองรับการก้าวเข้าสู่ สังคมผู้สูงวัย
โลกกำลังเข้าสู่ สังคมผู้สูงวัย (aging society) โดยเฉพาะในกลุ่มอาเซียนที่มีประชากรอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไปถึง 36.9 ล้านคน คิดเป็น 5.89% ของประชากรทั้งหมดในอาเซียน สำหรับประเทศไทยมีประชากร กว่า 66 ล้านคน มีจำนวนผู้สูงอายุที่อายุมากกว่า 65 ปี ราว 6.5 ล้านคน คิดเป็น 9.9% ของประชากรทั้งหมด ซึ่งไทยเป็นประเทศที่มีสัดส่วนผู้สูงอายุมากเป็นอันดับสองของอาเซียนรองจากสิงคโปร์ โดยประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างเต็มรูปแบบในปี 2564 สำหรับประเภทสินค้าและบริการเกี่ยวกับผู้สูงอายุที่มีโอกาสเติบโต ได้แก่ เวชภัณฑ์ และการดูแลสุขภาพ (Pharma & Healthcare) ลักษณะโรคของกลุ่มผู้สูงอายุเปลี่ยนไปเป็นโรคเรื้อรัง มากขึ้น กว่า 80% ของผู้สูงอายุมี 1 โรคเรื้อรัง ได้แก่โรคหัวใจและหลอดเลือด (อันดับ 1) โรคมะเร็ง, ภาวะสมองเสื่อม เบาหวาน โรคกระดูกพรุน โรคข้ออักเสบ ระบบการเงินผู้สูงวัย รัฐมีภาระที่จะต้องจ่ายภาระเบี้ยหวัดบำนาญมากขึ้น จนกองทุนบำเหน็จบำนาญเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ และจะเปลี่ยนจากกองทุนรัฐ เป็นของเอกชนมาช่วยแบกภาระ สินค้าอุปโภค บริโภค อุตสาหกรรมอาหารแปรรูปโดยเฉพาะอาหารเพื่อสุขภาพ เช่น อาหารไขมันต่ำ ไม่มีคอเลสเตอรอล น้ำตาลน้อยหรือไม่ใส่เลย ผลิตภัณฑ์ที่ป้องกันหรือช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ อาทิ โรคหัวใจและหลอดเลือด มะเร็ง เบาหวาน และระบบย่อย เป็นต้น กลุ่มผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพที่มาแรงที่สุด คือ กลุ่มอาหารและเครื่องดื่มรองลงมาคือ อาหารที่มาจากธรรมชาติและดีต่อสุขภาพ และกลุ่มที่มีแนวโน้มเติบโตมาก คือ วิตามินและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางประเภทออร์แกนิกส์ (Organics) ที่ผลิตจากธรรมชาติหรือสมุนไพร และกำลังได้รับความสนใจจากผู้สูงอายุ เนื่องจากผู้บริโภคมั่นใจว่าปลอดภัยกว่าการใช้สารเคมี การท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุ เป็นการเดินทางที่มีกิจกรรมไม่หนัก ไม่ต้องเดินไกล ใช้เวลาแต่ละสถานที่ค่อนข้างนาน มีการแวะพักเพื่อเอื้อต่อการเข้าห้องน้ำที่บ่อยขึ้น ติดตั้งอุปกรณ์อำนวยความสะดวกอยู่ในรถ เช่น วีลแชร์ เป็นต้น หรือสินค้าที่จำหน่ายในระหว่างเส้นทางท่องเที่ยวก็ใช้ชื่อว่า “มุมสุขภาพ” เพื่อให้ผู้ซื้อไม่รู้สึกเขิน เช่นที่ประเทศญี่ปุ่นใช้แทนการระบุว่าเป็นสินค้าพื่อผู้สูงวัย ธุรกิจบริการผู้สูงวัย มีการปรับเปลี่ยนแบบแผนการดำเนินธุรกิจของตนเองเพื่อให้เหมาะสมกับการบริการผู้สูงวัยมากขึ้น เช่น ซุปเปอร์มาร์เก็ตบางรายในญี่ปุ่น ที่เริ่มปรับเปลี่ยนเวลาเปิดบริการให้เช้าขึ้น จากแต่เดิมที่เปิด 9 โมงเช้ามาเป็นเปิด 7 โมงเช้า ซุปเปอร์มาร์เก็ตบางแห่ง ยังได้มีการเพิ่มบริการรับจัดงานศพแบบเรียบง่ายในราคาย่อมเยาอีกด้วย เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ผู้ที่คาดว่าจะต้องใช้บริการ เนื่องจากบริษัทรับจัดงานศพใหญ่ๆ ในญี่ปุ่นมีค่าบริการที่สูงมาก ร้านกาแฟ-ร้านอาหาร ออกแบบทางเดินให้กว้างขวางกว่าปกติ เพียงพอให้ทั้งรถเข็นและอุปกรณ์ช่วยเดินผ่านได้ เก้าอี้ก็มั่นคงแข็งแรงและโต๊ะก็มีขนาดที่ค่อนข้างเตี้ยกว่ามาตรฐาน เมนูอาหารที่ขายก็เป็นอาหารที่เคี้ยวง่าย พนักงานก็จะบริการส่งอาหารให้ที่โต๊ะ วัสดุก่อสร้าง-อุปกรณ์ สำหรับผู้สูงอายุ กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการสร้างและตกแต่งบ้านที่มีผลต่อความปลอดภัยในการใช้ชีวิตภายในบ้าน การออกแบบผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับกายภาพและชีวิตความเป็นอยู่ของผู้สูงวัย เช่น ก๊อกน้ำ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เลือกแบบปัดไปด้านข้างมากกว่าแบบหมุนหรือกด ลูกบิดประตู เลือกแบบก้านโยก จับถนัดมือ สวิทซ์-ปลั๊กไฟ ที่ใหญ่ มีสีสันที่เห็นชัดเจน เฟอร์นิเจอร์สำหรับผู้สูงอายุ กลุ่มผู้สูงอายุมีข้อจำกัดในการดำเนินชีวิตเนื่องจากสภาพร่างกายเริ่มเสื่อมถอย ดังนั้น ผู้ประกอบการในธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ และเครื่องใช้ภายในบ้าน โดยเฟอร์นิเจอร์เพื่อผู้สูงอายุได้แก่ เตียงนอนที่สามารถปรับระดับได้และไม่สูงเกินไป ที่นอนยางพาราที่มีความแข็งตัว เก้าอี้ไม้ที่มีพนักพิง และหมอนเพื่อผู้สูงอายุ เป็นต้น อสังหาริมทรัพย์ ที่เกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุ จะเป็นธุรกิจอันดับต้นๆ ที่ได้รับประโยชน์จากการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยคาดว่าในระยะแรกจะเป็นโอกาสของธุรกิจที่ให้บริการดูแลผู้สูงอายุเป็นระยะสั้นๆ เช่น การดูแลระหว่างวันแบบไปเช้าเย็นกลับ(Daycare) และการพักฟื้นระยะยาว(Longstay) ที่พำนักระยะยาวจะมีโอกาสขยายตัวมากขึ้นซึ่งจะได้รับแรงผลักดันจากทั้งผู้สูงอายุคนไทยและชาวต่างชาติ ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยควรเริ่มปรับตัวและติดตามพฤติกรรมของสังคมไทยที่จะเปลี่ยนไป รวมถึงศึกษารูปแบบธุรกิจที่เหมาะสมกับตลาดคนไทย อย่างไรก็ตามจะพบว่า ทั้ง 8 ธุรกิจนี้ มีโอกาสสำคัญในการขยายฐานลูกค้าของผู้ประกอบการ ซึ่งหากมองในมุมอาเซียน และอาเซียน +3 (จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้) ที่มีจำนวนผู้สูงอายุรวมกันกว่า 300 ล้านคน ถือเป็นจำนวนที่ค่อนข้างสูงและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจึงเป็นโอกาสที่ดีที่ผู้ประกอบการจะผลิตสินค้าให้ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคกลุ่มนี้ ที่มา
05 ก.พ. 2561