หมวดหมู่
แท็ก:
ผอ.ศภ.7 นางวีระวรรณ ปัณฑรสูตร ร่วมต้อนรับ นายวรมิตร ครุฑโต รองกรรมการผู้จัดการฯ
วันที่ 4 กรกฎาคม 2560 ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (ผอ.ศภ.7 กสอ.) นางวีระวรรณ ปัณฑรสูตร , นายอุเทน โชติชัย ผู้อำนวยการส่วนแผนงานและบริหารทั่วไป และเจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 ร่วมต้อนรับ นายวรมิตร ครุฑโต รองกรรมการผู้จัดการ ผู้รับผิดชอบกลุ่มงานปฏิบัติการและการตลาด ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Development Bank หรือ ธพว.) และคณะฯ ในโอกาสเข้าเยี่ยมชมหน่วยงานและประชุมหารือแลกเปลี่ยนแนวทางในการทำงานร่วมกัน เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจภายในประเทศ ณ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7
04 ก.ค. 2560
ผู้อำนวยการส่วนพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรม เข้าร่วมเวทีรับฟังความคิดเห็น บทบาทมหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี
วันที่ 4 กรกฎาคม 2560 ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (ผอ.ศภ.7 กสอ.) นางวีระวรรณ ปัณฑรสูตร มอบหมายให้ นางละเอียด ไขศรีมธุรส ผู้อำนวยการส่วนพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรม เข้าร่วมเวทีรับฟังความคิดเห็น บทบาทมหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี ตามความคาดหวังของสังคมและท้องถิ่น เพื่อประกอบการจัดทำยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี พ.ศ. 2560-2564 ณ ห้องประชุมบุษกร อาคาร 100 ปี ประสิทธิ์ สุนทรโรทก ชั้น 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี โดยมี รองศาสตราจารย์ธรรมรักษ์ ละอองนวล อธิการบดี เป็นประธานเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นดังกล่าว จากนั้น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภาสกร นันทพานิช รองอธิการบดีฝ่ายยุทธศาสตร์ แผนและประกันคุณภาพ ประธานคณะทำงานจัดเก็บ วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลฯ ผู้ดำเนินการแสดงความคิดเห็นของผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อรวบรวม วิเคราะห์ สังเคราะห์ ความคิดเห็นต่าง ๆ ประกอบการจัดทำ (ร่าง) แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ผ่านกระบวนการและขั้นตอนต่าง ๆ ต่อไป ขอบคุณภาพจาก งานประชาสัมพันธ์ และสื่อสารองค์กร ม.ราชภัฏอุบลฯ
04 ก.ค. 2560
กิจกรรมสื่อมวลชนสัญจร เยี่ยมชม บริษัท อาร์เอสที โรโบติกส์ จำกัด
วันที่ 4 กรกฎาคม 2560 นายชัชพงศ์ เอมะสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี,ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (ผอ.ศภ.7 กสอ.) นางวีระวรรณ ปัณฑรสูตร, นายรังสรร บุญสะอาด อุตสาหกรรมจังหวัดอุบลราชธานี , SME Banks, นายอรัญ อนุพรรณสว่าง กรรมการผู้จัดการบริษัทฯ พร้อมครอบครัวและพนักงาน บริษัท อาร์เอสที โรโบติกส์ จำกัด ร่วมต้อนรับ นางสาวนิสากร จึงเจริญธรรม รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานในกิจกรรมสื่อมวลชนสัญจร เยี่ยมชม บริษัท อาร์เอสที โรโบติกส์ จำกัด ซึ่งได้รับสินเชื่อ จากกองทุนเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ เพื่อประกอบการดำเนินธุรกิจโรงงานผลิต 'หุ่นแขนกล' และนำเข้าเครื่องจักรเพื่อการผลิตฯ โดยคาดว่าผลประกอบการบริษัทฯ จะเพิ่มขึ้นและจะเน้นการสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เพื่อขยายการตลาด หุ่นยนต์เป็น 1 ใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายของไทย และเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนประเทศสู่ยุค 4.0 ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับกองทุนได้ที่ http://www.smessrc.com/fund20000
04 ก.ค. 2560
Industry Expo 2017 วันที่ 25 - 30 กรกฎาคม 2560
Industry Expo 2017 จากความสำเร็จของการจัดงาน Thailand Industry Expo 2016 มหกรรมซื้อของไทย ใช้ของดี ในปีที่ผ่านมา กระทรวงอุตสาหกรรมเห็นว่าการจัดงานดังกล่าวเป็นประโยชน์ ทั้งต่อภาคธุรกิจ และภาคประชาชน รวมทั้งยังเป็นเวทีสำคัญของกระทรวงอุตสาหกรรมในการสื่อสาร และเผยแพร่องค์ความรู้ต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ และประชาชนผู้สนใจทั่วไป ในปีนี้จึงมีการจัดงาน Thailand Industry Expo ขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ ๔ สำหรับงาน Thailand Industry Expo 2017 จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “อุตสาหกรรม ๔.๐ ขับเคลื่อนอนาคตไทย” Thailand Industry 4.0 : Shift Our Future กระทรวงอุตสาหกรรมมีความตั้งใจที่จะต่อยอดและขยายผลความสำเร็จของงานไปสู่ระดับนานาชาติมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ในปีนี้จึงจัดให้มีพื้นที่ International Pavilion ขึ้น เพื่อเป็นการขยายโอกาสทางธุุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการไทยในการพบปะเจรจาการค้า การลงทุนกับคู่ค้าต่างประเทศ งาน Thailand Industry Expo 2017 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 25 - 30 กรกฎาคม 2560 ณ อาคารชาเลนเจอร์ 1 - 3 อิมแพ็ค เมืองทองธานี
03 ก.ค. 2560
คู่มือ การเริ่มต้น ธุรกิจ SMEs โดย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
หนังสือแนะนำคู่มือ การเริ่มต้น ธุรกิจ SMEsโดย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หนังสือเล่มนี้รวบรวมเกี่ยวกับแนวทางการบริหารธุรกิจ โดยเริ่มต้นตั้งแต่การประเมินโอกาสในการทำธุรกิจการบริหารการตลาด การจัดการผลิต การบริหารการเงิน และการบริหารงานบบุคลากรอย่างมืออาชีพตลอดจนถึงการพัฒนาธุรกิจไปสู่การเป็นองค์กรระดับโลก มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเหมาะสำหรับผู้ที่สนใจจะเป็นเจ้าห้องธุรกิจเอง หรือผู้ที่มีธุรกิจอยู่แล้วและต้องการปรับปรุงประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานวิสาหกิจชุมชน ณ ห้องสมุดศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 อุบลราชธานี
03 ก.ค. 2560
ครม.ไฟเขียวเว้นเก็บภาษีเอสเอ็มอีใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เสริมธุรกิจ
ครม.ไฟเขียวเว้นเก็บภาษีเอสเอ็มอีซื้อหรือจ้างทำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สูงสุด 1 แสนบาท ในรอบระยะเวลาบัญชี 1 ม.ค. 60 ถึง 31 ธ.ค. 62 ภาครัฐยอมเสีย 800 ล้านแลกจูงใจเอสเอ็มอีใช้โปรแกรมเพิ่มศักยภาพธุรกิจ และเข้าสู่ฐานข้อมูลภาครัฐมากขึ้น เมื่อวันที่ 27 มิ.ย.ที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) ออกตามความในประมวลรัษฎากร เพื่อเป็นมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการบริหารจัดการธุรกิจ สำหรับสาระสำคัญของร่าง พ.ร.ฎ.ฉบับนี้ กำหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทุนชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท หรือมีรายได้จากการขายสินค้าและการให้บริการวนรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 30 ล้านบาท สำหรับเงินได้เป็นจำนวน 100% ของรายจ่ายที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหรือจ้างทำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยได้ซื้อหรือจ้างทำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือได้ใช้บริการโปรแกรมคอมพิวเตอร์จากผู้ขายหรือผู้รับจ้างที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) เฉพาะในส่วนที่ไม่เกิน 1 แสนบาท สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 ม.ค. 60 แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธ.ค. 62 ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าวคาดว่ารัฐจะสูญเสียรายได้ประมาณ 800 ล้านบาทในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี แต่จะเป็นแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs มีการนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มศักยภาพในการดำเนินกิจการและสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน อีกทั้งยังทำให้ข้อมูลของผู้ประกอบการ SMEs เข้าสู่ระบบฐานข้อมูลภาครัฐมากขึ้น ซึ่งรัฐสามารถนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ในการกำหนดมาตรการหรือกลไกในการส่งเสริมและสนับสนุนด้านต่างๆ อ้างอิง https://goo.gl/N75Lwy
03 ก.ค. 2560
กสอ.ชี้ตลาด CLMV ขุมทอง ผปก.ไทยยังฮอต โตต่อเนื่อง 9.5% รวม 3 ปีซ้อน
นายพรเทพ การศัพท์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ชี้ตลาด CLMV ยังเติบโตต่อเนื่อง เผยภาคการส่งออกใน 3 ปีล่าสุดขยายตัวเฉลี่ยสูงถึง 9.5% ขณะที่พม่า กัมพูชา และลาว รุกพัฒนาความเป็นเมืองและความทันสมัยของประเทศมากขึ้น ส่งผลอุตสาหกรรมก่อสร้างและสินค้าจากไทยยังเป็นที่ต้องการอย่างสูง พร้อมแนะตลาดสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) ก็น่าสนใจไม่แพ้กัน นายพรเทพ การศัพท์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ตลาด CLMV ถือได้ว่าเป็นตลาดที่มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับประเทศไทย โดยมีความสำคัญเทียบเท่ากับประเทศพันธมิตรด้านอุตสาหกรรมอันดับต้นๆ ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ประเทศจีน ประเทศญี่ปุ่น รวมทั้งกลุ่มประเทศอาเซียนเดิม (อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ บรูไน ฟิลิปปินส์) สำหรับสถานการณ์ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับกลุ่มประเทศ CLMV นั้นถือว่ามีทิศทางที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในด้านการส่งออกสินค้าที่มีการขยายตัวในระดับ 7-8% ทุกปี และเมื่อพิจารณาในช่วง 3 ปีล่าสุดที่ผ่านมานี้ยังพบอีกว่ามีการขยายตัวเฉลี่ยสูงถึง 9.5% (ที่มา : ศูนย์ข้อมูลธนาคารไทยพาณิชย์) ทั้งนี้ จากข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของปี 2559 ยังชี้ให้เห็นอีกว่าพม่ามีอัตราการเติบโตของ GDP อยู่ที่ 8.5% กัมพูชา 7.2% ลาว 7.5% และเวียดนาม 6.3% (ที่มา : ข้อมูลโดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ) มีมูลค่าการนำเข้าสินค้าจากไทยอยู่ที่ 4.15, 4.6, 3.9 และ 9.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ (ที่มา : ข้อมูลจาก Trade statistics for international business development) โดยการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องเหล่านี้ยังทำให้ CLMV ติดอันดับอยู่ในกลุ่ม 15 ประเทศที่จะมีอัตราการเติบโตเร็วที่สุดในโลกในอีก 10 ปีข้างหน้า นอกจากนี้ยังมีความพร้อมในด้านทรัพยากร เสถียรภาพทางการเมือง ช่องทางการตลาดที่ขยายขึ้น ซึ่งไทยต้องเร่งสร้างความร่วมมือให้ครบทุกมิติเพื่อที่ในอนาคตจะได้ก้าวสู่การเป็นผู้นำในระดับมหภาคต่อไป นายพรเทพกล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับโอกาสของผู้ประกอบการ SMEs ไทยในการลงทุน ร่วมทุน และขยายสินค้าไปยังกลุ่ม CLMV ในปี 2560 นี้ พบว่าในประเทศพม่าและกัมพูชามีความต้องการอุตสาหกรรมก่อสร้างและสินค้าที่เกี่ยวข้อง เช่น สุขภัณฑ์ อุปกรณ์เพื่อการสาธารณูปโภค เครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างสูง เนื่องจากพม่ากำลังอยู่ในจุดของการพัฒนาและเปิดประเทศ กัมพูชาเริ่มขยายสู่ความเป็นเมือง โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของสิ่งก่อสร้างและศูนย์การค้ารองรับชาวต่างชาติ นอกจากนี้ ผู้ประกอบการไทยยังได้รับอานิสงส์จากมาตรการการอนุญาตให้ชาวต่างชาติลงทุน 4 ธุรกิจในพม่า ได้แก่ ปุ๋ย เมล็ดพันธุ์พืช ยาฆ่าแมลง และเครื่องมืออุปกรณ์การแพทย์ รวมทั้งโอกาสในการพัฒนาการร่วมค้าและลงทุนในอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตรในกัมพูชาที่ขณะนี้ประเทศดังกล่าวกำลังให้ความสำคัญอย่างมาก ซึ่งไทยเองถือได้ว่ามีความเชี่ยวชาญในด้านดังกล่าวเป็นอย่างดี ขณะที่ สปป.ลาว พบว่าสินค้าอุตสาหกรรมพื้นฐานที่ลาวยังต้องพึ่งพิงจากไทยสูงสุด ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป รถยนต์และส่วนประกอบ เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ สินค้าปศุสัตว์ และเคมีภัณฑ์ นอกจากนี้ สินค้าไลฟ์สไตล์และแฟชั่นรวมทั้งกลุ่มธุรกิจประเภทแฟรนไชส์และธุรกิจการบริการก็ได้เริ่มเข้ามามีบทบาทต่อผู้บริโภคชาวลาวมากขึ้น โดยมาจากการเริ่มผันตัวสู่วิถีชีวิตของการเป็นสังคมเมือง รวมทั้งการเข้ามาของตลาดโมเดิร์นเทรดและช่องทางการค้าออนไลน์ ซึ่งในอนาคตคาดว่าช่องทางเหล่านี้จะมีอิทธิพลต่อผู้บริโภคในกลุ่มดังกล่าวอย่างสูง ส่วนทางด้านประเทศเวียดนาม ถือได้ว่าเป็นทั้งประเทศคู่ค้าและคู่แข่งสำหรับไทย เนื่องจากมีความคล้ายคลึงกันทั้งกลุ่มตลาดส่งออกที่สำคัญเช่นเดียวกัน มีศักยภาพในด้านการเป็นฐานการผลิต โดยเฉพาะการผลิตสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออกสูง แต่อย่างไรก็ตาม แม้หลายฝ่ายจะมองว่าเวียดนามเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวโดยเฉพาะในเรื่องต้นทุน แต่ไทยเองก็ยังมีความได้เปรียบที่สูงกว่าทั้งในเรื่องคุณภาพของสินค้า กระบวนการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง โดยเฉพาะในกลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์ อาหารแปรรูป และอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งความสามารถในการเข้าสู่ช่องทางตลาดที่ไทยมีมากกว่า ดังนั้น ไทยต้องสร้างจุดแข็งด้วยความได้เปรียบดังกล่าวเพื่อยกระดับให้สินค้าไทยมีความยากที่จะแข่งขัน พร้อมผลักดันสู่ตลาดระดับบนได้ต่อไป นายพรเทพกล่าวเสริมว่า อีกหนึ่งตลาดที่มีความน่าสนใจการขยายสินค้าและน่าลงทุนสำหรับผู้ประกอบการไทยในขณะนี้ ได้แก่ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ หรือ UAE ซึ่งในปีที่ผ่านมามีมูลค่าการนำเข้าสินค้าจากไทย 2.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ และเป็นประเทศคู่ค้าอันดับหนึ่งในเขตตะวันออกกลางของไทย รวมทั้งเป็นศูนย์กลางที่สามารถส่งต่อสินค้าไปยังประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคได้ ความน่าสนใจของ UAE ยังอยู่ที่รัฐบาลของประเทศดังกล่าวได้พยายามส่งเสริมการค้าการลงทุน รวมทั้งสนับสนุนให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนในเขตเศรษฐกิจเสรีทั้งในรูปแบบการลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิต และการใช้ UAE เป็นฐานการกระจายสินค้า สำหรับสินค้า 5 อันดับแรกของปี 2559 ที่ UAE นำเข้าจากไทยมากที่สุด ได้แก่ รถยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ อุปกรณ์เครื่องจักรกล อัญมณีและเครื่องประดับ อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์จากไม้ นอกจากนี้ ตลาดอาหารและเครื่องดื่มใน UAE และตะวันออกกลางยังถือว่าเป็นตลาดที่มีความน่าสนใจ โดยมีปัจจัยส่งเสริมทั้งจากความต้องการอาหารตามมาตรฐานฮาลาลในปริมาณที่สูง ความสามารถในการผลิตอาหารที่อยู่ในระดับต่ำของ UAE และตะวันออกกลาง การใช้จ่ายค่าอาหารต่อหัวที่สูงกว่าไทยถึง 2.4 เท่า การเป็นประเทศที่มีผลผลิตและวัตถุดิบทางการเกษตรในปริมาณต่ำ ตลอดจนการประสบปัญหาน้ำหนักตัวของคนในภูมิภาคที่สูงเกินมาตรฐานที่เป็นช่องทางในการขยายกลุ่มอาหารประเภทฟังก์ชันและอาหารเพื่อสุขภาพไปยังร้านสะดวกซื้อหรือโมเดิร์นเทรดที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมากในขณะนี้ อ้างอิง https://goo.gl/1P4KHt
03 ก.ค. 2560
“บ้านคำปุน” เปิดปีละครั้ง...งานนี้ไม่ควรพลาด.
“บ้านคำปุน” เป็นแหล่งผลิตและจำหน่ายผ้าไหมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดอุบลราชธานี ถือแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมการทอผ้าไหม ความพิเศษของสถานที่แห่งนี้ คือ จะเปิดให้เข้าชมแค่ปีละหนึ่งครั้งในช่วงเทศกาลเข้าพรรษาจังหวัดอุบลราชธานีเท่านั้น บ้านคำปุน อ.วารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี แหล่งผลิตและอนุรักษ์ผ้าพื้นเมืองที่มีชื่อเสียง เปิดบ้านให้ผู้มาเยือนได้ชื่นชมศิลปวัฒนธรรมพื้นเมือง ที่บ้านคำปุนได้สืบสานอนุรักษ์มายาวนาน ไม่ว่าจะเป็นสถาปัตยกรรมที่งดงาม ผ้าโบราณที่สูงค่า กรรมวิธีการผลิต ผ้าทอพื้นเมืองที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของบ้านคำปุนและงานศิลปด้านอื่นๆ อีกมากมาย ภาพงานนิทรรศการ เปิดบ้านคำปุน ครั้งที่ 18 ประจำปี 2559 https://goo.gl/AmDytR ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมhttps://goo.gl/aw3A32https://goo.gl/hXbTKu
02 ก.ค. 2560
SMEs TALKS กับ ดร.สมชาย หาญหิรัญ (ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม) " ขจัดไขมัน สร้างกล้ามเนื้อ "️
SMEs TALKS กับ ดร.สมชาย หาญหิรัญ (ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม) " ขจัดไขมัน สร้างกล้ามเนื้อ "️
02 ก.ค. 2560
ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมงานการพัฒนาประสิทธิภาพองค์กร กลุ่มที่ 4
วันที่ 1 กรกฎาคม 2560 ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (ศภ.7 กสอ.) นางวีระวรรณ ปัณฑรสูตร มอบหมายให้ นายอุเทน โชติชัย ผู้อำนวยการส่วนแผนงานและบริหารทั่วไป, นายตระกูล อ่อนรัตน์ , นายศุภชัย สืบวงศ์ เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการส่งเสริมงานการพัฒนาประสิทธิภาพองค์กร กลุ่มที่ 4 ✨- กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2 (พิจิตร/กำแพงเพชร/นครสวรรค์/อุทัยธานี) ✨- กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 (นครราชสีมา/ชัยภูมิ/บุรีรัมย์/สุรินทร์) ✨- กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 (อุบลราชธานี/อำนาจเจริญ/ศรีสะเกษ/ยโสธร) เพื่อบูรณาการเสริมสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจภายในประเทศ ณ ห้องประชุม เขื่อนสิรินธร อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี โดยมี นายรังสรร บุญสะอาด อุตสาหกรรมจังหวัดอุบลราชธานี ( ประธานคณะกรรมการส่งเสริมงานการพัฒนาประสิทธิภาพองค์กร กลุ่มที่ 4 ) เป็นประธานฯ
01 ก.ค. 2560