หมวดหมู่
แท็ก:
หาก ByteDance จะขายแอปฯ TikTok บริษัทจะตั้งมูลค่าไว้เท่าไหร่
หลังจากผลการเจรจาระหว่างรัฐบาลสหรัฐฯ และ ByteDance ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ TikTok ปรากฎว่า ByteDance ยินยอมให้บริษัทสหรัฐเป็นผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ในบริษัทแห่งใหม่ที่จะเกิดขึ้นจากการซื้อกิจการ TikTok ล่าสุด สำนักข่าว Bloomberg รายงานดีลการซื้อขายที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ ByteDance ประเมินมูลค่าของ TikTok อยู่ที่ 60,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดย Oracle จะเข้าถือหุ้นสัดส่วน 12.5% และจะเข้าดูแลในส่วนข้อมูลผู้ใช้ชาวอเมริกันผ่านระบบคลาวด์ เพื่อดูแลในเรื่องของความปลอดภัย ส่วน Walmart จะถือหุ้นสัดส่วน 7.5% มีการประเมินกันว่าทั้งสองบริษัทจะต้องจ่ายเงินรวมกัน 12,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หากสามารถเจรจาหาข้อตกลงร่วมกันในส่วนมูลค่าของ TikTok ได้ อย่างไรก็ตามการประเมินราคาขั้นสุดท้ายยังไม่ถูกกำหนดไว้ เนื่องจากบริษัทจะต้องกำหนดโครงสร้างทางธุรกิจ และความปลอดภัยของข้อมูลก่อนถึงจะสรุปออกมาเป็นตัวเลขมูลค่าได้ ด้านโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวว่าตนสนับสนุนหลักการข้อตกลงให้ TikTok ดำเนินการต่อไปได้ในสหรัฐฯ เนื่องจากความขัดแย้งกับ ByteDance ได้ทุเลาลงบ้างแล้ว จากก่อนหน้านี้ที่มีการคัดค้านจากทางการสหรัฐฯ ที่แบนแอปพลิเคชันจากจีนให้ไม่สามารถดาวน์โหลดใหม่ หรืออัพเดตข้อมูลได้ ที่มา: reuters, https://www.smartsme.co.th/content/241047
30 มี.ค. 2565
ไทยเล็งตั้ง ‘สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า’ ห่างกันทุก 50-70 กม. เพื่อกระตุ้นภาคการผลิต
กระทรวงพลังงานของไทยประกาศแผนการตั้งสถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าห่างกันทุก 50-70 กิโลเมตร หวังกระตุ้นภาคการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าให้ได้ร้อยละ 30 ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมดในประเทศภายในปี 2030 นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงานของกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า สำนักงานมีแผนกลยุทธ์ เพื่อกระตุ้นการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าให้ได้ร้อยละ 30 ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมดในประเทศภายในปี 2030 โดยการตั้งสถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าห่างกันทุก 50-70 กิโลเมตร “เราตั้งเป้าหมายมียานยนต์ไฟฟ้าวิ่งบนท้องถนนประมาณ 1.2 ล้านคันภายในปี 2030 และกำลังวางรากฐานสำหรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และแบตเตอรี่ รวมถึงนโยบายของกระทรวงฯ ที่ต้องการลดการใช้เชื้อเพลิงและสร้างความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม” นายวัฒนพงษ์ กล่าว นายวัฒนพงษ์ กล่าวต่อว่า สำนักงานฯ ยังได้ศึกษากรณีผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าจำหน่ายไฟฟ้าส่วนที่เหลือจากแบตเตอรี่ยานยนต์เข้าโครงข่ายไฟฟ้าของประเทศ ซึ่งจะช่วยเสริมความมั่นคงทางไฟฟ้าของประเทศ พร้อมเสริมว่ารัฐบาลไทยจะนำร่องใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในระบบขนส่งสาธารณะ แท็กซี่ และรถยนต์ของรัฐบาลก่อน “เมื่ออุปสงค์เพิ่ม มันจะช่วยให้บริษัทผลิตรถยนต์ บริษัทผลิตแบตเตอรี่ และบริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้าเข้ามาตั้งฐานการผลิตในไทย และเปลี่ยนไทยให้กลายเป็นศูนย์กลางยานยนต์ไฟฟ้าของภูมิภาคอาเซียน” นายวัฒนพงษ์ กล่าว ที่มา: สำนักข่าวซินหัว, https://www.smartsme.co.th/content/241963
29 มี.ค. 2565
Tesla พร้อมตั้งฐานผลิตในไทย ขอข้อมูลรัฐบาลเตรียมลงทุน
จัดมา! “Tesla” พร้อมตั้งฐานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย เดินหน้าขอข้อมูลรัฐบาลเตรียมลงทุน สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม อ้าแขนรับ สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานข่าวที่เชื่อมโยงระหว่างยักษ์ใหญ่ด้านการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของโลก Tesla และประเทศไทย โดยระบุว่า Tesla มีความมุ่งมั่นที่จะขยายฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าให้มากขึ้นในประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศที่มีความสัมพันธ์อันดี และเอื้อประโยชน์ต่อการเข้าไปลงทุน พร้อมระบุว่า “ประเทศไทย” จัดอยู่ในกลุ่มที่ Tesla ต้องการเข้ามาลงทุนในด้านการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า และยังมีการขอข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับนโยบายการลงทุน และการส่งเสริมการลงทุนมายังรัฐบาลไทยด้วย รายงานข่าวชิ้นนี้ถูกเผยแพร่เมื่อวันที่ 3 พ.ย.63 โดยนโยบายที่ Tesla สนใจคือการคาดหมายว่าจะมีแพ็กเกจลดหย่อนภาษี 8 ปี สำหรับการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ขณะที่ประชาชาติธุรกิจ รายงานบทสัมภาษณ์นายทองชัย ชวลิตพิเชษฐ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ระบุว่า รัฐบาลไทยกำลังเตรียมการประชุมคอนเฟอเรนซ์ผ่านกับตัวแทนจาก Tesla ที่ฐานใหญ่ของพวกเขาในแคลิฟอร์เนีย สหรัฐฯ หลังจากที่ Tesla เดินหน้าขอข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับนโยบายการลงทุนรถยนต์ไฟฟ้า รวมไปถึงภาพรวมการส่งเสริมการลงทุนด้านอุตสาหกรรม โดยนายทองชัย ระบุด้วยว่า รถยนต์ไฟฟ้าของ Tesla เป็นที่นิยมอย่างสูงในประเทศภูมิภาคอาเซียน และหาก Tesla ลงทุนตั้งฐานการผลิตที่ประเทศไทยก็น่าจะเป็นผลดี และได้ประโยชน์กับทั้งสองฝ่าย ทั้งนี้ ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ BOI ได้พุ่งเป้าส่งเสริมไปยังอุตสาหกรรมสีเขียว และรถยนต์ไฟฟ้าก็ถูกจัดอยู่ในประเภทนี้เช่นกัน เนื่องจากจะช่วยลดมลพิษ และรักษาสิ่งแวดล้อมจากการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากเครื่องยนต์แบบสันดาป อีกทั้งยังได้อนุมัติโครงการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าให้กับผู้ผลิตรถยนต์ 24 รายเพื่อผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ที่มา: Tesmanian, https://www.smartsme.co.th/content/242178
28 มี.ค. 2565
พจนานุกรมคอลลินส์ ยก "lockdown" เป็นคำแห่งปี 2020
ประสบการร่วมคนทั้งโลก! พจนานุกรมคอลลินส์ (Collins Dictionary) ยกให้ "Lockdown" (ล็อกดาวน์) เป็นคำศัพท์แห่งปี 2020 เผย ถูกค้นหามากถึง 250,000 ครั้ง สื่อต่างประเทศรายงานข่าวที่น่าสนใจ ระบุว่า พจนานุกรมคอลลินส์ (Collins Dictionary) ยกให้ "Lockdown" (ล็อกดาวน์)เป็นคำศัพท์แห่งปี 2020 หลังจากมีการใช้งานคำนี้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วท่ามกลางการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทีมงานพจนานุกรมคคอลลินส์ ระบุว่า มีการใช้คำนี้เพิ่มมากขึ้นเนื่องจากมีผู้คนหลายจำนวนพันล้าน ที่ต้องจำกัดกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันตั้งแต่การระบาดไวรัสโควิด-19 โดยในปีนี้คำว่า “Lockdown” ถูกค้นหาราว 250,000 ครั้ง เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลจากเดิมที่มีจากการค้นหาเพียง 4,000 ครั้งเมื่อปี 2019 โดยพจนานุกรมคอลลินส์ ให้ความหมาย “Lockdown” ไว้ว่า “การปิดกั้น หรือการกำหนดข้อจำกัดที่เข้มงวดในการเดินทาง การปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และการเข้าถึงพื้นที่สาธารณะ” ซึ่งถือเป็นประสบการณ์ร่วมของผู้คนทั้งโลก เนื่องจากรัฐบาลทุกปะรเทศในการล็อกดาวน์ตอบสนองต่อการแพร่ระบาดของโควิด-19 ตั้งแต่ต้นปี 2563 ทั้งนี้ มีคำศัพท์อีก 6 คำใน 10 อันดับแรกประจำปี 2020 ของพจนานุกรมคอลลินส์ ที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ประกอบไปด้วย Coronavirus (โคโรนาไวรัส) Self-isolate (การกักตัวเองเมื่อสงสัยติดเชื้อ) Social Distancing (การรักษาระยะห่างทางสังคม) Furlough (การสั่งพักงานชั่วคราว) Key worker (ลูกจ้างหรือพนักงานคนสำคัญ) ที่มา : eveningexpress, collinsdictionary, https://www.smartsme.co.th/content/242342
27 มี.ค. 2565
Tesla พร้อมบุกตลาดอาเซียน ล่าสุดเตรียมปิดดีลโรงงานผลิตแบตเตอรี่ในอินโดนีเซีย
ย้อนกลับไปเมื่อไม่นาน Tesla ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าจากสหรัฐฯ มีข่าวเชื่อมโยงว่าจะเข้ามาตั้งฐานผลิตในประเทศไทย เพื่อขยายฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าให้มากขึ้นในประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศที่มีความสัมพันธ์อันดี และเอื้อประโยชน์ต่อการเข้าไปลงทุน สำหรับประเทศไทย ถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่ Tesla ต้องการเข้ามาลงทุนในด้านการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า และยังมีการขอข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับนโยบายการลงทุน และการส่งเสริมการลงทุนมายังรัฐบาลไทย อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่า Tesla จะไม่ได้มองแค่การเปิดโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเท่านั้น แต่ยังมองไปถึงในส่วนของการตั้งโรงงานแบตเตอรี่ในอินโดนีเซียอีกด้วย เริ่มแรก Tesla มีการพูดคุยกับรัฐบาลอินโดนีเซียถึงความเป็นไปได้ที่จะเข้าลงทุน “แร่นิกเกิล” ต่อมาได้มีการขยายการพูดคุยไปถึงขั้นการผลิตโรงงานแบตเตอรี่ โดยเหตุผลที่ทำให้ Tesla ให้ความสนใจอินโดนีเซียเป็นพิเศษ คืออินโดนีเซียเป็นแหล่งผลิต “แร่นิกเกิล” ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญสำหรับนำมาผลิตแบตเตอรี่ สอดคล้องกับคำให้สัมภาษณ์ของ Joko Widodo ประธานาธิบดีของอินโดนีเซีย ที่ระบุว่ามีการเตรียมเจรจาพูดคุยกันระหว่างผู้บริหารระดับสูงของทั้งสองฝ่าย ซึ่งอินโดนีเซียเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีแร่นิกเกิลมากที่สุดในโลก และพร้อมที่จะเป็นผู้ผลิตยักษ์ใหญ่ในภูมิภาค หาก Tesla สามารถเข้ามาเปิดโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้า และแบตเตอรี่ จะช่วยกระตุ้นความคึกครื้นในเรื่องของเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียนที่มีบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลกเข้ามาลงทุน ขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดการจ้างงาน หลังจากต้องได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่มา : https://www.smartsme.co.th/content/242443
26 มี.ค. 2565
ยังไม่จบ! Apple เริ่มย้ายฐานผลิตบางส่วนจากจีนไปเวียดนาม ลดความเสี่ยงเรื่องสงครามการค้า
Foxconn เตรียมย้ายฐานผลิต iPad และ MacBook จากจีนไปยังเวียดนามตามความต้องการของ Apple เพื่อลดแรงกระทบในเรื่องของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน การย้ายโรงงานในครั้งนี้ของ Foxconn เป็นผลมาจากนโยบายสงครามการค้าของโดนัลด์ ทรัมป์ ที่ต้องการให้บริษัทจากสหรัฐฯ ย้ายฐานการผลิตออกจากจีน โดยมุ่งเป้าไปที่การเก็บภาษีสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่นำเข้าจากจีนในอตราที่สูง รวมถึงการแบนแพลตฟอร์มเทคโนโลยีจากจีนด้วยเหตุผลเป็นภัยด้านความมั่นคงต่อชาติ ดังนั้น จึงทำให้ Foxconn ตัดสินใจหลีกเลี่ยงปัญหาสงครามการค้า พิจารณาย้ายฐานผลิตบางส่วนออกจากจีนไปยังประเทศอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น เวียดนาม, เม็กซิโก และอินเดีย โดยล่าสุด Foxconn เตรียมย้ายฐานผลิตอุปกรณ์ ไม่ว่าจะเป็น iPad และ Macbook ไปยังโรงงานในจังหวัด Bac Giang ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเวียดนาม ซึ่งคาดการณ์ว่าจะเริ่มการผลิตได้ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2021 แถลงการณ์ของ Foxconn ระบุว่า ตามนโยบายของบริษัท และเหตุผลเรื่องความอ่อนไหวทางการค้า เราไม่สามารถแสดงแง่มุมที่มีผลต่อสินค้าได้ อีกทั้ง Apple มีความต้องการที่กระจายฐานการผลิตให้มีความหลากหลายยิ่งขึ้นในประเทศอื่น ๆ ก่อนหน้านี้ Foxconn ประกาศลงทุนคิดเป็นมูลค่า 270 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จัดตั้งบริษัทย่อยที่มีชื่อเรียกว่า FuKang Technology ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการขยายฐานการผลิตสู่เวียดนาม สำหรับในสัญญาโรงงานนี้จะทำหน้าที่ผลิตโทรทัศน์ รวมถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ เช่น คีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์ อยู่ในพื้นที่เดียวกับ Sony จากญี่ปุ่น คาดการณ์ว่าจะเริ่มการผลิตได้ในช่วงปลายปี 2020 หรือช่วงต้นปี 2021 ทั้งนี้ การย้ายฐานผลิต iPad ไปยังเวียดนาม ถือเป็นครั้งแรกของ Foxconn ที่มีโรงงานนอกเหนือจากจีน ที่มา: channelnewsasia, https://www.smartsme.co.th/content/242640
25 มี.ค. 2565
ดีพร้อมเซนเตอร์ 7 ขับเคลื่อนองค์กรคุณธรรม
อุบลราชธานี 24 มีนาคม 2564 ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM IPC7) นำคณะผู้บริหาร นายฉาย ทองละมุล ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงานภูมิภาค, นายกฤษณะ นอขุนทด ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรม, นายสุเทพ ทุตา ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมอุตสาหกรรมชุมชน, นายพัฒนพงษ์ กลิ่นลั่นทม รักษาราชการผู้อำนวยการกลุ่มบริการธุรกิจอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ พร้อมเจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 ร่วมลงนามลายลักษณ์อักษร ร่วมประกาศเจตนารมณ์ ข้อตกลง ที่จะขับเคลื่อนให้เป็นองค์กรคุณธรรมร่วมกัน มีการกำหนดคุณธรรมเป้าหมายจาก “ปัญหาที่อยากแก้” และ “ความดีที่อยากทำ” สอดคล้องกับคุณธรรม 4 ประการ พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา การยึดมั่นในหลักธรรมทางศาสนา หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง วิถีวัฒนธรรม พร้อมทั้งมอบประกาศเกียรติบัตรเพื่อยกย่องหน่วยงานภายในที่มีการส่งเสริมคุณธรรมเป้าหมายจนเป็นแบบอย่าง ทั้ง 4 กลุ่มงาน ให้เป็นหน่วยงานส่งเสริมคุณธรรมที่ DIPROM.#ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่7 #DIPROM
24 มี.ค. 2565
ดีพร้อมเซนเตอร์ 7 เชิดชู คนดี ศรี ศภ.7 กสอ. ที่ได้รับคัดเลือกและเป็นแบบอย่างที่ดี
อุบลราชธานี 24 มีนาคม 2564 ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM IPC7) ให้เกียรติเป็นประธานมอบเกียรติบัตร ผู้ที่ได้รับการคัดเลือก ยกย่อง เชิดชู มีความประพฤติการปฏิบัติงานที่ดี และผลงานที่โดดเด่น จนเป็นแบบอย่าง ให้แก่ นางสาวนิสา แจ่มใส ตำแหน่ง นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ, สิบเอกกรุงรัตน์ อยู่คล้ำ ตำแหน่ง นักวิชาการอุตสาหกรรม อีกทั้งเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับเจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 ในการปฏิบัติราชการต่อไป.#ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่7 #DIPROM
24 มี.ค. 2565
ดีพร้อมเซนเตอร์ 7 ติดตามความคืบหน้าการดำเนินโครงการ/กิจกรรม ประจำเดือน มีนาคม 2565
อุบลราชธานี 24 มีนาคม 2564 ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM IPC7) เป็นประธานการประชุมเจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 ครั้งที่ 3/2565 ณ ห้องประชุมผาแต้ม ชั้น 2 อาคารอำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 และผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยมีผู้อำนวยการกลุ่มฯ และเจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 เข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง.การประชุมในครั้งนี้เป็นการประชุมประจำเดือน มีนาคม 2565 ติดตามความคืบหน้าการดำเนินโครงการ/ กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 อาทิ การดำเนินงานศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 (ITC 4.0), การดำเนินงานโครงการเงินทุนหมุนเวียนฯ, ผลการเบิกจ่ายงบประมาณและผลผลิต, โครงการ Made in Thailand, โครงการส่งเสริมสุขภาวะองค์กรในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SHAP), อีกทั้งหารือแนวทางการดำเนินงานภายในองค์กร แลกเปลี่ยนทิศทางกรอบการทำงานส่งเสริมผู้ประกอบการในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด.#ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่7 #DIPROM
24 มี.ค. 2565
Tesla เร่งโปรเจ็กต์ เฟ้นหาหัวหน้าฝ่ายออกแบบรถยนต์ เจาะตลาดแดนมังกร
ผสาน 2 วัฒนธรรม! Tesla เฟ้นหาหัวหน้าฝ่ายออกแบบ สร้างรถยนต์เจาะตลาดแดนมังกร เล็งเปิดศูนย์ “ปักกิ่ง-เซี่ยงไฮ้” วางคอนเซ็ปต์ เชื่อมช่องว่างระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา ถือเป็นการเดินอย่างเต็มกำลังในการเจาะตลาดแดนมังกร สำหรับบริษัท Tesla ยักษ์ใหญ่ด้านยานยนต์ไฟฟ้า ที่ล่าสุดมีการเปิดเผยว่ากำลังเฟ้นหาค้นหาผู้อำนวยการฝ่ายออกแบบในประเทศจีน สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า โปรเจ็กต์ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการเปิดสำนักงาน ด้วย “ฟังก์ชันเต็มรูปแบบ” ในเซี่ยงไฮ้หรือปักกิ่ง และออกแบบรถยนต์ไฟฟ้าที่ปรับให้เหมาะกับรสนิยมของผู้บริโภคชาวจีน รายงานระบุว่า ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคลของ Tesla ตลอดจนทีมงานคัดเลือกบุคลากรได้ดำเนินการเรื่องนี้ในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมา พวกเขากำลังมองหาผู้มี "สองวัฒนธรรม" ในวิถีตะวันตก-ตะวันออก ประสบการณ์ 20 ปีขึ้นไป คุ้นเคยกับรสนิยมของชาวจีนและเชื่อมช่องว่างระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา ผู้สมัครบางคนได้รับการสัมภาษณ์โดย Franz von Holzhausen หัวหน้าฝ่ายออกแบบระดับโลกของ Tesla อย่างไรก็ตาม ไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดใด ๆ ถึงศักยภาพของผู้สมัครและการตัดสินใจของทาง Tesla ว่าได้คนที่เหมาะสมหรือยัง โดยแผนการผลิตรถยนต์ในจีนยังไม่ได้รับการพัฒนาอย่างสมบูรณ์ เนื่องจากมีการประเมินว่า Tesla น่าจะรอความชัดเจนเพิ่มเติมเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ-จีน (ก่อนหน้านี้เคยตึงเครียด) ภายใต้ประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนใหม่ ก่อนที่จะตัดสินใจขั้นสุดท้ายในเรื่องละเอียดทั้งหมด ทั้งนี้ จีนถือเป็นตลาดรถยนต์ไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดในโลก คาดการณ์ว่าจะมียอดขาย 1.5 ล้านคันในปีนี้ นอกจากนี้ยังเป็นตลาดอันดับ 2 ของ Tesla รองจากสหรัฐอเมริกา โดยผู้บริโภคชาวจีนซื้อรถ Tesla ราว 145,000 คันในปีที่แล้ว ซึ่งคิดเป็นประมาณหนึ่งในสามของปริมาณรถยนต์ทั่วโลก ที่มา : Reuters, https://www.smartsme.co.th/content/243365
24 มี.ค. 2565