หมวดหมู่
แท็ก:
“ก.อุตฯ”คุมเข้มมาตรการสกัด‘ฝุ่น PM2.5’ สั่งตรวจสอบโรงงานทั่วประเทศเสี่ยงปล่อยฝุ่นพิษเกินมาตรฐาน”
ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กำชับทุกหน่วยปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) พื้นที่ กทม.และปริมณฑลในระยะเร่งด่วน สั่งตรวจสอบ-บังคับใช้กฎหมายในโรงงานควบคุมมลพิษ ชงมาตรการจูงใจหนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า พร้อมอัดโปรสินเชื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยอย่างครบวงจรปีงบประมาณ 2562-2564 รวม 6,000 ล้านบาท! นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า จากการรายงานสถานการณ์และคุณภาพอากาศประเทศไทย โดยเฉพาะพื้นที่ กทม.และปริมณฑล ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา พบว่าค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) มีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งเป็นผลจากการดำเนินงานตามมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ของรัฐบาลที่ได้บูรณาการความร่วมมือจากหลายฝ่ายในการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ดังนั้น เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับปัญหาดังกล่าว กระทรวงอุตสาหกรรม ได้กำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาไว้ทั้ง 3 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ภาคอุตสาหกรรม ภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ และภาคเกษตรอุตสาหกรรม ทั้งมาตรการเร่งด่วนและมาตรการระยะยาว โดยในส่วนของมาตรการเร่งด่วนในภาคอุตสาหกรรม ให้ตรวจสอบ เฝ้าระวังและบังคับใช้กฎหมายกับโรงงานอุตสาหกรรมอย่างเข้มงวด โดยเฉพาะโรงงานที่มีการใช้หม้อน้ำ หรือแหล่งกำเนิดความร้อน และอุปกรณ์การเผาไหม้ในพื้นที่ กทม. และจังหวัดปริมณฑล พร้อมกับขอความร่วมมือผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรม ตรวจสอบ ควบคุมระบบบำบัดมลพิษทางอากาศ ให้ทำงานเต็มประสิทธิภาพ รวมถึงการปรับแผนการผลิตและขอความร่วมมือให้มีการติดตั้งระบบตรวจสอบ การระบายมลพิษอากาศแบบอัตโนมัติต่อเนื่อง (CEMS) และเชื่อมโยงข้อมูลมายังกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) รวมทั้ง การปรับแต่งการเผาไหม้เชื้อเพลิงจากหม้อน้ำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเผาไหม้และลดปัญหามลพิษทางอากาศ และสำหรับในระยะยาวจะดำเนินการขยายผลการติดตั้งระบบตรวจสอบการระบายมลพิษอากาศแบบอัตโนมัติต่อเนื่อง (CEMS) โดยมีการเชื่อมโยงข้อมูลให้ครอบคลุมพื้นที่และประเภทการประกอบกิจการเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมจำพวก 3 เตาเผาที่มีการใช้เชื้อเพลิง ชีวมวล และหม้อน้ำตามขนาดที่กำหนด รวมถึงการทบทวนและปรับปรุงมาตรฐานการระบายมลพิษทางอากาศจากโรงงานให้เข้มงวดมากขึ้น ตลอดจนการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และการออกกฎหมายรายงานการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษ (PRTR) มาตรการในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ ได้จัดทำมาตรการจูงใจเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการผลิตและการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าผ่านมาตรฐานที่เกี่ยวกับยานยนต์ไฟฟ้า ที่ประกาศใช้แล้ว 37 มาตรฐาน จากทั้งหมด 63 มาตรฐาน โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปีงบประมาณ 2564 พร้อมทั้งจัดหาเครื่องมือ อุปกรณ์ เพื่อรองรับการทดสอบรถยนต์หรือชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้า ส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในส่วนราชการ ส่งเสริมการลงทุนเพื่อให้เกิดการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า และรถบัสไฟฟ้า ภายในประเทศ และการกำหนดอัตราค่าไฟคงที่ทุกช่วงเวลาสำหรับการชาร์ตยานยนต์ไฟฟ้า รวมทั้งจัดทำแผนการขยายสถานีอัดประจุไฟฟ้าให้ครอบคลุมทั่วประเทศ นอกจากนี้ยังมีมาตรการในภาคเกษตรอุตสาหกรรม ด้วยการกำหนดนโยบายลดปริมาณอ้อยไฟไหม้ : อ้อยสด เป็นร้อยละ 20:80 ในฤดูการผลิตปี 2563/2564 โดยมีมาตรการกำหนดราคาอ้อยสดกับราคาอ้อยไฟไหม้ที่แตกต่างกัน เพื่อให้ชาวไร่อ้อยที่ตัดอ้อยไฟไหม้หันกลับมาตัดอ้อยสด จัดซื้อรถสางใบอ้อย เพื่อให้ชาวไร่อ้อยรายเล็กได้ยืมไปใช้ และมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐในการสนับสนุนเครื่องจักรกลการเกษตร โดยโครงการส่งเสริมสินเชื่อเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยอย่างครบวงจรปีงบประมาณ 2562-2564 วงเงินปีละ 2,000 ล้านบาท รวมระยะเวลา 3 ปี เป็นจำนวน 6,000 ล้านบาท ตั้งเป้าเพื่อการพัฒนาแหล่งน้ำ และการบริหารจัดการน้ำในไร่อ้อย จัดซื้อรถตัดอ้อย รถคีบอ้อย รถแทรกเตอร์ รถบรรทุกอ้อย และเครื่องจักรกลการเกษตรอื่น ๆ “กระทรวงฯ มีการตรวจสอบ และติดตามสถานการณ์โรงงานที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่สามารถก่อให้เกิด ฝุ่นละออง PM2.5 ทั่วประเทศ โดยเฉพาะโรงงานที่มีการใช้พลังงานในหม้อน้ำ หม้อต้ม ที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อนและอุปกรณ์การเผาไหม้อื่นๆ ที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมากระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ได้จัดโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการเผาไหม้สำหรับหม้อน้ำและหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน เพื่อการอนุรักษ์พลังงานและลดฝุ่นละออง PM2.5 ของโรงงานในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งการปรับแต่งการเผาไหม้นอกจากจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตแล้วยังช่วยลดปัญหา ฝุ่นละอองแก่โรงงานอุตสาหกรรมที่เข้าร่วมโครงการเป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม กระทรวงฯ ได้กำชับไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ตรวจ ติดตาม โรงงานอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงสร้างปัญหาฝุ่น PM2.5 อย่างใกล้ชิด เพื่อผลักดันให้โรงงานลดการปล่อยมลพิษรวมถึงฝุ่น PM2.5 ให้เหลือน้อยที่สุด” ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวปิดท้าย
15 ม.ค. 2564
บอกละเอียดยิบ! รวมมาตรการเยียวยาของสถาบันการเงินช่วยลูกค้าจากโควิด-19 ระบาดใหม่
การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ในประเทศไทยได้ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการ และประชาชนในวงกว้าง โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ถูกให้เป็นจังหวัดเสี่ยงทั้งหมด 28 จังหวัด ซึ่งมีมาตรการควบคุมที่เข้มงวดจากภาครัฐฯ ทั้งในเรื่องการเปิด-ปิดสถานประกอบการ, การเดินทางเข้า-ออก, การตรวจคัดกรองเชื้อ เหล่านี้นำมาสู่รายได้ที่ลดลง ตลอดจนสภาพคล่องทางการเงินของธุรกิจที่จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐฯ เข้ามาพยุงให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้ในสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 ที่กลับมาระบาดอีกครั้ง ซึ่งแน่นอนว่าผู้ประกอบการไทยยังอยู่ในสภาวะฟื้นตัวจากการระบาดครั้งแรกที่ต้องเจ็บตัวไปตาม ๆ กัน การประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 มกราคม 64 ที่ผ่านมา กระทรวงการคลังเปิดมาตรการด้านการเงินเพื่อดูแลและเยียวยาผู้ประกอบการ และประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทั้งมาตรการที่ทำได้ทันที และมาตรการอื่น ๆ จากสถาบันการเงินที่กำกับดูแลจากภาครัฐฯ ดังต่อไปนี้ ธนาคารออมสิน มาตรการเยียวยาลูกค้า สำหรับลูกค้าสินเชื่อในพื้นที่ควบคุมสูงสุด 28 จังหวัด พักชำระเงินต้น พัก/ลดดอกเบี้ย (แล้วแต่กรณีความรุนแรงแต่ละพื้นที่) ระยะเวลาพักชำระ 3-12 เดือน (แล้วแต่กรณีความรุนแรงแต่ละพื้นที่) หมดเขตวันที่ 31 มกราคม 2564 มาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ขยายเวลาถึง มิ.ย.64 หรือจนกว่าวงเงินจะหมด แบ่งเป็น สินเชื่อเพื่อค่าใช้จ่าย สำหรับผู้มีอาชีพอิสระ วงเงินสูงสุด 10,000 บาท สินเชื่อเสริมพลังฐานราก วงเงินสูงสุด 50,000 บาท ไม่มีหลักประกัน บุคคลค้ำ SMEs มีที่ มีเงิน กู้สูงสุด 70% ของราคาประเมิน สูงสุดไม่เกิน 3 ปี โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ช่วยเหลือ SMEs ภาคการท่องเที่ยว วงเงินสูงสุด 500,000 บาท ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน Soft Loan ฟื้นฟูท่องเที่ยวไทย สถาบันการเงินปล่อยให้กับผู้ประกอบการวงเงินสูงสุด 100 ล้านบาท สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: ธนาคารออมสิน 1115 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) พักชำระหนี้ พักหนี้ทั้งระบบ 1 ปี พักหนี้ต้นเงินโควิด-19 เกษตรกร และ SMEs 1ปี/ 6 เดือน (28 จังหวัด ที่อยู่ในเขตควบคุมสูงสุด และที่รัฐบาลประกาศเพิ่มเติม) พักหนี้ต้นเงินผู้ประกอบการ SME นอก LPH 6 เดือน (28 จังหวัด ที่อยู่ในเขตควบคุมสูงสุด และที่รัฐบาลประกาศเพิ่มเติม) พักหนี้ต้นเงินสินเชื่อฉุกเฉินโควิด-19 ระยะเวลา 6 เดือน (28 จังหวัด ที่อยู่ในเขตควบคุมสูงสุด และที่รัฐบาลประกาศเพิ่มเติม) พักหนี้ต้นเงินสินเชื่อแก้หนี้นอกระบบ 1 ปี (28 จังหวัด ที่อยู่ในเขตควบคุมสูงสุด และที่รัฐบาลประกาศเพิ่มเติม) เติมสินเชื่อฟื้นฟู&ปรับโครงสร้างธุรกิจ สินเชื่อฉุกเฉินโควิด-19 (0.1%/เดือน ปลอดต้น 6 เดือน) วงเงินสูงสุด 20,000 บาท สินเชื่อฉุกเฉินเสริมสภาพคล่องดอกเบี้ยต่ำ (4%) วงเงินสูงสุด 10,000 บาท สินเชื่อระยะสั้นฤดูกาลผลิตใหม่ (Jump Start) (4%) วงเงินสูงสุด 100,000 บาท• สินเชื่อพอเพียงเพื่อเลี้ยงชีพ (0% 3 เดือน, 4% วงเงินสูงสุด 10,000 บาท• สินเชื่อ New Gen Hug บ้านเกิด (0% 3 เดือน, MRR) วงเงินสูงสุด 60,000 บาท• สินเชื่อแก้หนี้นอกระบบ (1%ต่อเดือน) วงเงินสูงสุด 8,000 บาท• สินเชื่อ SMEs (Soft Loan ธปท. ระยะที่ 2) (2%) วงเงินสูงสุด 45,000 บาท สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 02-555-0555 ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) 4 มาตรการลดภาระให้ลูกค้าทั่วประเทศที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 รอบใหม่ ลูกค้าที่เคยเข้าร่วม หรืออยู่ระหว่างใช้มาตรการช่วยเหลือฯ ของ ธอส. ลูกค้าที่มีสิทธิ์แจ้งความประสงค์ขอใช้มาตรการจะต้องมีคุณสมบัติ คือ มีสถานะบัญชีปกติ ไม่อยู่ระหว่างการประนอมหนี้ ลดเงินงวดผ่อนชำระ (ตัดเงินต้นและตัดดอกเบี้ย) เหลือ 25% หรือ 50% หรือ 75% ของเงินงวดผ่อนชำระในปัจจุบันเป็นระยะเวลา 6 เดือน (ก.พ.-ก.ค. 64) ลูกหนี้สถานะ NPL และลูกหนี้สถานะ NPL ที่อยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้ ลดเงินงวดผ่อนชำระ ตัดเงินต้นและตัดดอกเบี้ย เหลือ 25% หรือ 50% หรือ 75% ของเงินงวดผ่อนชำระในปัจจุบันเป็นระยะเวลา 6 เดือน (ก.พ.-ก.ค. 64) ลูกค้าที่ไม่เคยเข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือฯ ของ ธอส. ลูกค้าที่มีสิทธิ์แจ้งความประสงค์ขอใช้มาตรการต้องมีคุณสมบัติ คือ มีสถานะบัญชีปกติ ไม่อยู่ระหว่างการประนอมหนี้ ลดเงินงวดผ่อนชำระตัดเงินต้นและตัดดอกเบี้ย เหลือ 25% หรือ 50% หรือ 75% ของเงินงวดผ่อนชำระในปัจจุบันเป็นระยะเวลา 6 เดือน (ก.พ.-ก.ค.64) ลูกค้าผู้ประกอบการ SMEs สินเชื่อประเภทแฟลต แบ่งเป็น 1.ได้ลดเงินงวดผ่อนชำระ ตัดเงินต้นและตัดดอกเบี้ย เหลือ 25% หรือ 50% หรือ 70% ของเงินงวดผ่อนชำระในปัจจุบันเป็นระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน หรือไม่เกินมิถุนายน 2564 หรือ 2.พักชำระหนี้ถึงมิถุนายน 2564 ในกรณีที่ได้รับผลกระทบทำให้รายได้ไม่เพียงพอในการชำระหนี้ ยื่นคำขอเข้ามาตรการระยะแรกได้ที่สาขาทั่วประเทศ ภายในวันที่ 31 มี.ค.64 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: ธนาคารอาคารสงเคราะห์ 02-645-9000 EXIM BANK มาตรการ “พักชำระหนี้เงินต้น-ดอกเบี้ย” ช่วยเหลือลูกค้าในพื้นที่สีแดง สีส้ม และสีเหลือง พักชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 6 เดือน พักชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 6 เดือน และพักชำระดอกเบี้ยสูงสุด 3 เดือน (สำหรับผู้ประกอบการอาหารแปรรูปอาหารทะเลแช่แข็ง และผักผลไม้เป็นพิเศษ) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย โทร. 0-2617-2111 กด 4 SME D Bank มาตรการ “พักหนี้อุ่นใจ” เติมเงินใหม่ไปต่อ ช่วยเหลือลูกค้าจากการแพร่ระบาดโควิด-19 ระลอกใหม่ พักชำระหนี้เงินต้น 6 เดือน ไม่เกิน 31 ธ.ค.2564 (ขึ้นอยู่กับผลกระทบของลูกค้าแต่ละราย)สินเชื่อรายเล็ก Extra Cash (เติมทุนใหม่ให้ผู้ประกอบการ) วงเงินกู้สูงสุด 3,000,000 บาท/ราย อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น 3% ต่อปีใน 2 ปีแรก ระยะผ่อนชำระนานสูงสุด 5 ปี ปลอดชำระคืนเงินต้นสูงสุดไม่เกิน 12 เดือน ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน กู้ได้ทั้งบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล สินเชื่อเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน บุคคลธรรมดา อัตราดอกเบี้ย 4.875% ต่อปี นาน 3 ปีแรก วงเงินกู้สูงสุด 2,000,000 บาท ผ่อนนานสูงสุด 7 ปี นิติบุคคล อัตราดอกเบี้ย 2.875% ต่อปี นาน 3 ปีแรก วงเงินกู้สูงสุด 5,000,000 บาท สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: SME D Bank 1357 บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) 4 โครงการช่วยเหลือ SMEs สู้ภัยโควิด-19 ระลอกใหม่ บสย. SMEs ดีแน่นอน วงเงินค้ำประกันต่อราย ตั้งแต่ 2 แสนบาท -100 ล้านบาท วงเงินจัดสรร 20,000 ล้านบาท บสย. SMEs บัญชีเดียว วงเงินค้ำประกันต่อราย ตั้งแต่ 2 แสนบาท -100 ล้านบาท วงเงินจัดสรร 5,000 ล้านบาท บสย. SMEs ที่ได้รับสินเชื่อหนังสือค้ำประกัน (LG) วงเงินค้ำประกันต่อราย ตั้งแต่ 2 แสนบาท - 100 ล้านบาท วงเงินจัดสรร 2,000 ล้านบาท บสย. รายย่อย ทั่วไป วงเงินค้ำประกันต่อราย ตั้งแต่ 1 หมื่นบาท – 5 แสนบาท วงเงินจัดสรร 3,000 ล้านบาท สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม 02-890-9999 เงินทุนหมุนเวียนเพื่อการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมมีโครงการ ”เงินทุนหมุนเวียนเพื่อการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทย” เพื่อให้ความช่วยเหลือราษฎรและกลุ่มผู้ประกอบอาชีพอุตสาหกรรมขนาดเล็ก ได้มีโอกาสการเข้าถึงสินเชื่อ เพื่อนำเงินทุนไปเริ่มต้นธุรกิจใหม่ หรือขยายการผลิตและปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต โดยมีกลุ่มอุตสาหกรรม 7 ประเภทที่สามารถยื่นขอสินเชื่อได้ ดังนี้ 1.อาหาร 2.เครื่องดื่ม 3. ผ้าและเครื่องแต่งกาย 4. ของใช้และเครื่องประดับตกแต่ง 5. ศิลปะประดิษฐ์และของที่ระลึกที่สะท้อนวิถีชีวิตภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น 6. สมุนไพรที่ไม่ใช่ยาและอาหาร และ 7. อุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่สนับสนุนเกื้อกูลกลุ่มวิสาหกิจชุมชน หรือ SMEs ใน 6 อุตสาหกรรมข้างต้น นอกจากนี้ยังมีอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปแบบกลางน้ำ และ Food Truck ภาคการผลิต ที่ผ่านโครงการของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
13 ม.ค. 2564
โหลดแล้วลื่น! รวม 5 แอปพลิเคชันที่จะทำให้ทุกวันของคุณง่ายขึ้น (แม้จะเป็นช่วงโควิด-19)
การใช้ชีวิตในยุคนี้อาจจะเรียกได้ว่ามีความสะดวกสบายมากกว่าเมื่อก่อนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการเข้ามาของสมาร์ทโฟนที่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้คนจากหน้ามือเป็นหลังมือเลยก็ว่าได้ เพียงแค่อยากได้อะไรก็เข้าไปในสมาร์ทโฟนแล้วทุกอย่างที่ต้องการก็มาจะวางอยู่ตรงหน้า แอปพลิเคชัน กลายเป็นเครื่องมือสำคัญของผู้คนในยุคปัจจุบันที่จำเป็นต้องโหลดติดสมาร์ทโฟน ซึ่งมีบริการอย่างหลากหลายให้เลือกตามไลฟ์สไตล์ของแต่ละคน โดยในบทความนี้ Smartsme จะพามาแนะนำแอปพลิเคชันที่ควรดาวน์โหลดติดมือถือเพื่อให้การดำเนินชีวิตในแต่ละวันง่ายขึ้น แม้จะเป็นในช่วงโควิด-19 ก็ตามที แอปฯ partyhaan แอปพลิเคชัน partyhaan น่าจะเป็นแอปฯ ที่ถูกใจผู้ที่ชอบสั่งซื้อสินค้าโดยต้องการหาเพื่อนช่วยแชร์ โดยแอปฯ จะช่วยหาเพื่อนช่วยหาร ช่วยแชร์ค่าต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น โปรซื้อ 1 แถม 1, โปรเครื่องสำอาง, มา 4 จ่าย 3, แชร์ค่าทริป ตลอดจนค่าเดินทาง และอื่น ๆ อีกมากมาย โดยขั้นตอนการดำเนินงานก็ไม่ได้ยุ่งยากอะไร เพียงแค่หา Party ที่น่าสนใจ ดูรายละเอียดในห้องนั้นว่ามีกิจกรรมอะไร โดยผู้ใช้สามารถเป็นทั้งคนสร้างห้องปาร์ตี้ และขอเข้าร่วมปาร์ตี้ ซึ่งในปาร์ตี้สมาชิกจะร่วมพูดคุยผ่านระบบแชทเพื่อตกลงรายละเอียดระหว่างกัน รายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.partyhaan.com/ แอปฯ QPER ปัจจุบันการมีรายได้ทางเดียวคงไม่เพียงต่อสภาพความเป็นอยู่ ค่าครองชีพ ที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ หากใครกำลังมองหาอาชีพเสริม อยากใช้เวลาว่างในการสร้างรายได้ ขอแนะนำแอปพลิเคชัน QPER ที่จะทำให้คุณนำความรู้ ความสามารถ หรือขอแค่เพียงมีเวลาก็สามารถเพิ่มเงินในกระเป๋าสตางค์ได้แล้ว QPER ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองวิถีการใช้ชีวิตแบบ New Normal โดยการใช้เทคโนโลยีระบุตำแหน่งปัจจุบัน (Current Location) ค้นหาสิ่งที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว และไม่ต้องเสียเวลาค้นหาจากอินเทอร์เน็ต เช่น คุณอาจจะมีความสามารถในการซ่อมท่อประปา คุณก็ใช้ประโยชน์ตรงนี้รับงานหากมีท่อประปาแตกในพื้นที่ใกล้เคียง หรือหากมีเวลาว่างอาจจะใช้เวลาตรงนี้ไปต่อแถวซื้ออาหารได้ รายละเอียดเพิ่มเติม: https://qper.co/home/ แอปฯ Fixzy คงไม่ใช่เรื่องดีอย่างแน่นอน หากมีอุปกรณ์ เครื่องใช้ภายในบ้านเกิดเสียขึ้นมา แล้วไม่รู้จะทำยังไงดี เพราะใช่ว่าทุกคนจะมีทักษะ หรือความสามารถในเรื่องนี้ จะไปหาช่างซ่อมก็ไม่รู้จะติดต่อใครอีกแน่นอนว่าเรื่องบ้านจะเปลี่ยนเป็นเรื่องง่ายทันที หากโหลดแอปพลิเคชัน Fixzy ซึ่งให้บริการเกี่ยวกับบ้านแบบครบวงจร โดยช่างซ่อมมืออาชีพ สำหรับจุดเด่นของ Fixzy คือบริการดูแลบ้านที่มีให้เลือกอย่างหลากหลาย ตั้งแต่ขั้นตอนแรกไปจนถึงปิดงาน รวมถึงไม่ต้องกังวลเรื่องตารางนัดหมาย โดยผู้ใช้สามารถนัดหมาย เลือกช่างได้ด้วยตนเอง รายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.fixzy.net/ แอปฯ jord sabuy หลายคนมีความกังวลในเรื่องที่จอดรถ เวลาเดินทางไปสถานที่ใดสักที่หนึ่ง ความคิดภายในหัวตีกันไปหมด ไปแล้วจะมีที่จอดหรือไม่? ไปแล้วจะจอดที่ไหนดี จะไปจอดตามข้างทางก็หวั่นในเรื่องของความปลอดภัยที่เราไม่สามารถคาดการณ์ได้ แต่เรื่องนี้จะทำให้ง่ายขึ้นเพียงแค่โหลดแอปฯ jord sabuy โดยผู้ใช้สามารถค้นหาที่จอดรถ ด้วยการระบุตำแหน่ง วัน เวลาในการจอด รวมถึงบริการที่จอดรถ พร้อมเข้าจอดทันที นอกจากนี้ หากมีพื้นที่ลานจอดรถ หรือที่จอดรถว่างตั้งแต่ 1 ที่ขึ้นไป ไม่ว่าจะเป็นที่จอดในสำนักงาน คอนโด ภายในบ้าน ก็สามารถเข้ามาลงทะเบียนผ่านแอปฯ นี้ได้ รายละเอียดเพิ่มเติม: https://jordsabuy.com/ แอปฯ Call Zen Call Zen เป็นแอปพลิเคชันที่ช่วยในการติดต่อคอลเซ็นเตอร์ขององค์กรต่าง ๆ ที่มีระบบตอบรับอัตโนมัติ โดยผู้ใช้คอลเซนไม่จำเป็นต้องรอฟังเทป (เช่น กด1 เพื่อ… กด2 เพื่อ…) อีกต่อไป เพียงแค่เลือกเมนู และแอปพลิเคชันจะดำเนินการโทรออกไปยังเป้าหมายให้โดยอัตโนมัติ เพียงเลือกจากเมนูในแอปพลิเคชัน มาพร้อมระบบการทำงานต่าง ๆ สำหรับแอปฯ Call Zen ได้รวบรวมหมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ และจำเป็นมากกว่า 150 ที่โดยไว้ใน Contact list ไม่ว่าจะเป็น ธนาคาร, บัตรเครดิต, เครือข่ายโทรศัพท์มือถือ, ช่วยเหลือฉุกเฉิน, ไฟฟ้า, ไฟไหม้, ประปา เป็นต้น นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของแอปพลิเคชันที่นำมาแนะนำ ซึ่งยังคงมีแอปฯ อีกมากมายที่ให้ผู้ใช้ได้เลือกโหลดตามความชื่นชอบของตัวเอง เพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตให้มีความสะดวกยิ่งขึ้น อ้างอิง https://www.smartsme.co.th/content/243371
12 ม.ค. 2564
เงินทุนหมุนเวียนเพื่อการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทย
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมมีโครงการ ”เงินทุนหมุนเวียนเพื่อการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทย” เพื่อให้ความช่วยเหลือราษฎรและกลุ่มผู้ประกอบอาชีพอุตสาหกรรมขนาดเล็ก ได้มีโอกาสการเข้าถึงสินเชื่อ เพื่อนำเงินทุนไปเริ่มต้นธุรกิจใหม่ หรือขยายการผลิตและปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต โดยมีกลุ่มอุตสาหกรรม 7 ประเภทที่สามารถยื่นขอสินเชื่อได้ ดังนี้ 1.อาหาร 2.เครื่องดื่ม 3. ผ้าและเครื่องแต่งกาย 4. ของใช้และเครื่องประดับตกแต่ง 5. ศิลปะประดิษฐ์และของที่ระลึกที่สะท้อนวิถีชีวิตภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น 6. สมุนไพรที่ไม่ใช่ยาและอาหาร และ 7. อุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่สนับสนุนเกื้อกูลกลุ่มวิสาหกิจชุมชน หรือ SMEs ใน 6 อุตสาหกรรมข้างต้น นอกจากนี้ยังมีอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปแบบกลางน้ำ และ Food Truck ภาคการผลิต ที่ผ่านโครงการของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
10 ม.ค. 2564
SMEs ต้องชนะ...จัดสรร ค้ำฯ สินเชื่อ 100,000 ล้านบาท “บสย. SMEs ไทย สู้ภัย COVID-19” เปิดตัว 6 โครงการ กลุ่มเปราะบาง - SMEs ทั่วไป สถาบันการเงินตบเท้า ลงนาม ปล่อยสินเชื่อ
นายรักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เปิดเผยว่า บสย. เปิด 6 โครงการ วงเงินค้ำประกันสินเชื่อรวมกว่า 100,000 ล้านบาท โดยจะเป็นการช่วยเหลือกลุ่มผู้ประกอบการเปราะบาง และผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทั่วไป คาดช่วยเหลือเอสเอ็มอีได้กว่า 1 แสนราย ซึ่งโครงการดังกล่าวแบ่งวงเงินมาจากโครงการค้ำประกันสินเชื่อ บสย. SMEs สร้างชาติ (PGS9) จำนวน 40,000 ล้านบาท และวงเงินจากโครงการค้ำประกันสินเชื่อ บสย. Micro ต้องชนะ (Micro 4) จำนวน 8,000 ล้านบาท เพื่อนำมาช่วยเหลือเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด รอบ 2 รักษ์ วรกิจโภคาทร “โควิดกลับมาระบาดรอบ 2 เราจึงมีการปรับแผนทำผลิตภัณฑ์ให้ละเอียดขึ้น เพราะผลกระทบที่ผู้ประกอบการได้รับแต่ละกลุ่มแตกต่างกัน และ บสย. มีการดูผลกระทบรายเดือน จึงเชื่อว่าในเดือนม.ค.64 จะสามารถเข้าไปค้ำประกันสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการได้อย่างเพียงพอ เพราะที่ผ่านมาในยามมีวิกฤต บสย.จะค้ำประกันได้เฉลี่ยเดือนละ 10,000 ล้านบาท โดยวงเงินที่แบ่งมาจากโครงการค้ำประกันสินเชื่อ PGS9 จำนวน 40,000 ล้านบาท ก็คาดว่าจะสามารถดูแลเอสเอ็มอีได้นานกว่า 4-5 เดือน ซึ่งหากไม่พอเราก็ยังมีวงเงินเหลือในส่วนของ PGS9 อีกกว่า 1 แสนล้านบาท ที่เตรียมไว้” สำหรับโครงการค้ำประกันสินเชื่อ 6 โครงการนั้น แบ่งเป็น 2 โครงการ ที่ช่วยเหลือกลุ่มผู้ประกอบการเปราะบาง สู้ภัยโควิด ประกอบด้วย 1.โครงการ บสย. เอสเอ็มอีไทย สู้ภัยโควิด ซึ่งจะฟรีค่าธรรมเนียมค้ำประกัน 2 ปี วงเงินค้ำประกันสินเชื่อรายละ 200,000 บาท -20 ล้านบาท ระยะเวลาค้ำประกัน 10 ปี วงเงินจัดสรร 5,000 ล้านบาท และ MAX CLAIM สูงสุด 35% ส่วนโครงการที่ 2 คือ บสย. รายย่อยไทย สู้ภัยโควิด ฟรีค่าธรรมเนียมค้ำประกัน 3 ปีแรก วงเงินค้ำประกันสินเชื่อต่อราย 10,000-100,000 บาท ระยะเวลาค้ำประกัน 10 ปี วงเงินจัดสรร 5,000 ล้านบาท MAX CLAIM สูงสุด 40% โดยที่ผ่านมา บสย. ให้ MAX CLAIM สูงสุดอยู่ที่ 25-30% แต่เมื่อโควิดกลับมา จึงเพิ่มเสื้อเกาะให้ผู้ประกอบการ โดยขยาย MAX CLAIM สูงสุดถึง 40% เพื่อให้สามารถดูดพิษหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ขณะที่โครงการช่วยเหลือกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทั่วไปจะมี 4 โครงการ โดยจะฟรีค่าธรรมเนียมค้ำประกัน 2 ปี ระยะเวลาค้ำประกันสินเชื่อ 10 ปี ประกอบด้วย 1.โครงการ บสย. เอสเอ็มอี ดีแน่นอน วงเงินค้ำประกันต่อราย ตั้งแต่ 200,000 บาท-100 ล้านบาท วงเงินจัดสรร 20,000 ล้านบาท 2.โครงการ บสย. เอสเอ็มอี บัญชีเดียว วงเงินค้ำประกันต่อราย ตั้งแต่ 200,000 บาท-100 ล้านบาท วงเงินจัดสรร 5,000 ล้านบาท 3.โครงการ บสย.เอสเอ็มอี ที่ได้รับสินเชื่อหนังสือค้ำประกัน (LG) วงเงินค้ำประกันต่อรายตั้งแต่ 200,000 บาท-100 ล้านบาท วงเงินจัดสรร 2,000 ล้านบาท 4.โครงการ บสย. รายย่อย ทั่วไป วงเงินค้ำประกันต่อราย ตั้งแต่ 10,000-500,000 บาท วงเงินจัดสรร 3,000 ล้านบาท “ทั้ง 6 โครงการนี้ บสย. จะรับความเสี่ยง ตั้งแต่ 20-40% พร้อมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์เงื่อนไขการรับความเสี่ยงระหว่าง บสย. และธนาคาร เช่น เกณฑ์การเครมโดยกำหนดสัดส่วนการรับความเสี่ยงแบบร่วมกัน Sharing ระหว่าง บสย.ที่สัดส่วน 70% และธนาคาร 30% กรณีที่ธนาคารยื่นเครมก่อนระยะเวลากำหนด เพื่อให้ธนาคารได้เข้ามามีบทบาทในการช่วยดูแลลูกหนี้ในด้านต่าง ๆ เช่น การปรับโครงการสร้างหนี้ จัดหนี้ หรือ ปรับปรุงเงื่อนไขให้ยืดหยุ่น” นอกจากนี้ บสย. ยังได้ร่วมค้ำประกันสินเชื่อในโครงการ Soft Loan Plus ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) วงเงิน 57,000 ล้านบาท โดยขณะนี้ค้ำประกันสินเชื่อไปแล้ว 2,000 ล้านบาท จึงมีวงเงินเหลืออยู่ 55,000 ล้านบาท ซึ่งหลังจากที่ธปท. ผ่อนปรนเกณฑ์ให้เอสเอ็มอีสามารถกู้ได้ 2 ครั้ง แต่ไม่เกิน 20% ของยอดหนี้คงค้าง ณ วันที่ 31 ธ.ค.62 จะสนับสนุนให้ บสย. สามารถค้ำประกันส่วนนี้ได้เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ บสย. ยังมีโครงการ บสย. เอสเอ็มอีไทยชนะ วงเงิน 5,000 ล้านบาท
09 ม.ค. 2564
ขอเชิญองค์กรร่วมคว้าโอกาสครั้งสำคัญ สู่เส้นทางแห่งความเป็นเลิศกับ “รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ประจำปี 2564” เปิดรับสมัครขอรับรางวัลแล้ววันนี้
สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ สถาบันเครือข่ายของกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะของสำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ขอเชิญองค์กรที่สนใจเข้าร่วมสมัครขอรับ “รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ประจำปี 2564” รางวัลอันทรงเกียรติที่แสดงถึงความสามารถในการบริหารจัดการขององค์กรที่เป็นเลิศ และเปี่ยมด้วยศักยภาพทัดเทียมมาตรฐานโลก สร้างความภาคภูมิใจในการเป็นองค์กรคุณภาพ ทั้งนี้ องค์กรที่ได้รับรางวัลยังได้ร่วมเป็นผู้นำในการส่งเสริม แบ่งปันวิธีปฏิบัติที่จะนำไปสู่ความสำเร็จแก่องค์กรอื่น ๆ และพร้อมยืนหยัดเป็นกำลังสำคัญเพื่อขับเคลื่อนขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่อไปในอนาคต . สำหรับองค์กรที่สนใจสามารถยื่นใบรับรองคุณสมบัติองค์กร ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม - 1 มีนาคม 2564 ผ่านเว็บไซต์ https://www.tqa.or.th/th/applicant/ โดยมีกำหนดส่ง Application Report ภายในวันที่ 5 กรกฎาคม 2564
08 ม.ค. 2564
ปลัด ก.อุตฯ รับมอบเครื่องหมายเชิดชูเกียรติยศยิ่ง “รักษ์ทะเลยิ่งชีพ”
วันนี้ (7 มกราคม 2564) นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รับมอบเครื่องหมายเชิดชูเกียรติยศยิ่ง “รักษ์ทะเลยิ่งชีพ” ซึ่งเป็นเครื่องหมายที่ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มอบให้เพื่อเชิดชูเกียรติสำหรับผู้ที่ประกอบคุณงามความดี ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความมานะบากบั่นอดทนและเสียสละอย่างสูง จนบังเกิดผลดีต่อส่วนรวม ในงานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยมี นายโสภณ ทองดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เป็นผู้แทนในการมอบ ณ บริเวณห้องโถง ชั้น 1 สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
07 ม.ค. 2564
รางวัลอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมดีเด่น ประเภทการพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ Creative SME ประจำปี 2564
ขั้นตอนการสมัครเพื่อเข้ารับการคัดเลือกรางวัลอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2564 ประเภทการพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ (Creative SME) 1. พิจารณาข้อกำหนดและคุณสมบัติทั่วไป/คุณสมบัติเฉพาะของผู้สมัคร (กรณีคุณสมบัติผ่าน ให้ดำเนินการในขั้นตอนต่อไป) 2. ใบสมัครและแนบเอกสารประกอบการคัดเลือก (กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ชัดเจน และลงนามให้เรียบร้อย) 2.1 กรอกแบบฟอร์มใบสมัคร 2.2 เอกสารแนบ เอกสารสำเนาใบอนุญาตประประกอบการจากภาครัฐ อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ - ตามทะเบียนโรงงานพระราชบัญญัติโรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 - ตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 ที่มีประทานบัตร หรือใบอนุญาตแต่งแร่ - ตามทะเบียนผู้ผลิตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข - ตามทะเบียนพาณิชย์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ - หรือใบอนุญาตประกอบการจากภาครัฐอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง การจัดรูปองค์กรหรือแผนภูมิขององค์กร การเข้าร่วมกิจกรรมและความรับผิดชอบขององค์กรต่อสังคม จัดส่งทาง E-mail : creativesmeaward@gmail.com หลังจากส่งแบบฟอร์มการสมัครและเอกสารประกอบแล้วกรุณาโทรยืนยันการสมัครที่เบอร์ 061-4040302 , 02-3678386 3. เกณฑ์การพิจารณาและขั้นตอนการคัดเลือก (เพื่อเตรียมการจัดทำข้อมูลนำเสนอ) 4. จัดทำข้อมูลนำเสนอตามเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกเพื่อนำเสนอ / คู่มือการจัดทำข้อมูลนำเสนอ เปิดรับสมัครวันนี้ ถึง 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ทางไปรษณีย์: ฝ่ายเลขานุการคณะทำงานพิจารณาคัดเลือกรางวัลอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมดีเด่น ประเภทการพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ กองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กล้วยน้ำไท) 86/6 ซอยตรีมิตร ถนนพระรามที่ 4 แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 ทาง E-mail: creativesmeaward@gmail.com ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม 0 2367 8386 / 061 4040302 Email: creativesmeaward@gmail.com
06 ม.ค. 2564
“สุริยะ เข้มสถานประกอบการ 28 จังหวัด พื้นที่เสี่ยงสูงสุด ป้องกันเฝ้าระวังโควิด – 19 บุคลากร ก.อุตฯ เหลื่อมเวลาทำงาน ปฏิบัติงานที่บ้าน ร้อยละ 50 เริ่ม 5 ม.ค. นี้
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ตามที่มีการระบาดระลอกใหม่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ออกเป็นวงกว้างกระจายในหลายเขตพื้นที่ และรัฐบาลมีความจำเป็นที่ต้องกำหนดและบังคับใช้มาตรการต่าง ๆ เพื่อเข้าแก้ไขและระงับยับยั้งสถานการณ์ดังกล่าวด้วยมาตรการทางกฎหมาย และการขอความร่วมมือทั้งผู้ประกอบการเอกชน และประชาชน อย่างเข้มข้น นั้น เพื่อเป็นการสนับสนุนมาตรการที่รัฐบาลออกมาเพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพสูงสุด กระทรวงอุตสาหกรรมได้ติดตามสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างใกล้ชิด โดยขอความร่วมมือให้ผู้ประกอบการภาคเอกชนที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงอุตสาหกรรม เช่น โรงงานอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน ทั้งที่อยู่ในหรือนอกนิคมอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ผู้ประกอบการวัตถุอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย ผู้ประกอบการตามกฎหมายว่าด้วยการจดทะเบียนเครื่องจักร ผู้ประกอบการตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม รวมทั้งเหมืองแร่ตามกฎหมายว่าด้วยแร่ ใน 28 จังหวัด ที่เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชุมพร ชลบุรี ตราด ตาก นครนายก นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี พระนครศรีอยุธยา เพชรบุรี ราชบุรี ระนอง ระยอง ลพบุรี สิงห์บุรี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สุพรรณบุรี สระแก้ว สระบุรี อ่างทอง เป็นต้น ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและการเฝ้าระวังการระบาดของโรคโควิด-19 พร้อมป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคดังกล่าวในโรงงานอุตสาหกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ และลดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสดังกล่าว ไม่ให้ติดต่อไปยังบุคคลอื่นที่อยู่ในหรือนอกโรงงาน โดยในพื้น 28 จังหวัด มีสถานประกอบการ 49,391 โรงงาน จำนวนคนงานกว่า 3,020,000 คน โดยขอความร่วมมือผู้ประกอบการในพื้นที่เสี่ยงสูงสุดพิจารณาดำเนินการ ดังนี้ 1. ปรับเวลาการปฏิบัติงานของคนงาน เพื่อลดความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 2. คัดกรองพนักงานทุกคน (ตรวจวัดอุณหภูมิ / ตรวจสอบประวัติการเดินทาง) 3. สุ่มตรวจหาเชื้อโควิดในพนักงาน 4. เตรียมสถานที่กักตัวผู้ที่ติดเชื้อ 5. ประชาสัมพันธ์แนวทางป้องกันโควิด DMHTT (Distancing / Mask Wearing / Hand Washing / Testing / Thai Cha Na) 6. ใช้แอปพลิเคชัน หมอชนะในการ Monitor ความเสี่ยงจากการติดเชื้อ และให้ผู้ประกอบกิจการโรงงานติดตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุขหรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือติดการแถลงข่าวของรัฐบาลเพื่อปฏิบัติตามอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ ในส่วนของบุคลากรข้าราชการของกระทรวงอุตสาหกรรม ได้กำหนดแนวทางการปฏิบัติงาน ดังนี้ 1. ปรับเวลาการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่โดยการเหลื่อมเวลาเข้าปฏิบัติการ เพื่อลดความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 2. Work From Home ร้อยละ 50 ของบุคลากร โดยพิจารณาให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่แต่ละส่วนงานขยับเวลาการทำงาน เพื่อลดจำนวนผู้ปฏิบัติงานและปริมาณการเดินทาง ลดความแออัดในการใช้สถานที่ด้วยการปฏิบัติงานที่บ้าน เพื่อความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น โดยนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาปรับใช้กับ การทำงาน อาทิ การประชุมผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ วิดีโอคอล แอปพลิเคชันไลน์ หรืออีเมล์มาเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงาน เพื่อไม่ให้มีข้อติดขัด หรือเกิดปัญหากับการปฏิบัติหน้าที่เพื่อประชาชน ทั้งนี้ แม้ว่าจะปรับมาตรการในการทำงาน แต่ภารกิจในการขับเคลื่อนงานของกระทรวงฯ ก็ยังจะสามารถรักษาประสิทธิภาพการทำงานให้มีความต่อเนื่อง และมุ่งหวังว่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโควิด – 19 อย่างได้ผล 3. คัดกรองเจ้าหน้าที่ทุกคนที่ปฏิบัติงานในกระทรวงอุตสาหกรรม (ตรวจวัดอุณหภูมิ) 4. ประชาสัมพันธ์แนวทางป้องกันโควิด DMHTT (Distancing / Mask Wearing / Hand Washing / Testing / Thai Cha Na) 5. รณรงค์ให้ใช้ Application หมอชนะในการ Monitor ความเสี่ยงจากการติดเชื้อ "จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระลอก 2 ของไทย ทำให้เกิดผลกระทบต่อทุกภาคส่วน กระทรวงอุตสาหกรรมตระหนักถึงความจำเป็นต่อป้องกันและการเฝ้าระวังการระบาดของโรคโควิด-19 จึงมีการออกประกาศของกระทรวงอุตสาหกรรม และหนังสือขอความร่วมมือสถานประกอบการในพื้นที่เสี่ยงสูงสุด และบุคลากรของกระทรวงอุตสาหกรรมทั่วประเทศให้ปฏิบัติตามแนวป้องกันและควบคุมการระบาดของไวรัสโควิด-19 พร้อมเน้นย้ำการปรับมาตรการในการทำงานจะไม่กระทบต่อประสิทธิภาพการทำงาน เพื่อให้ประเทศไทยผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ไปได้" นายสุริยะ กล่าว ที่มา: สำนักบริหารกลาง...
05 ม.ค. 2564
กระทรวงอุตสาหกรรม ขอเชิญผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสมัครเข้ารับการคัดเลือก "รางวัลแห่งเกียรติยศของอุตสาหกรรมไทย The Prime Minister's Industry Award 2021"
กระทรวงอุตสาหกรรม ขอเชิญผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสมัครเข้ารับการคัดเลือก "รางวัลแห่งเกียรติยศของอุตสาหกรรมไทย The Prime Minister's Industry Award 2021" สมัครตั้งแต่บัดนี้ - 28 กุมภาพันธ์ 2564 ประกาศผลและมอบรางวัลเดือนสิงหาคม 2564 สแกน QR Code หรือ 0 2202 3429 , 0 2202 3518 ที่มา: สำนักบริหารกลาง...
05 ม.ค. 2564