หมวดหมู่
แท็ก:
Caper รถเข็นอัจฉริยะสำหรับร้านค้าปลีก
Caper สตาร์ทอัพรุ่นใหม่ที่ต้องการแก้ปัญหาในเรื่องของการคิดเงินจากการซื้อของในร้านค้าปลีก งานนี้ระบบไม่ซับซ้อนขนาดต้องเช็คราคาสินค้าตลอดเวลา ไม่ต้องเสียเวลาวุ่นวายกับการต้องรอคิวในพื้นที่สำหรับการจ่ายเงิน ทุกอย่างถูกยกรวมเอาไปไว้ในรถเข็นแทน นี่ถือเป็นอีกทางออกของร้านค้าปลีกที่ไม่ต้องการลงทุนระบบใหญ่โตอย่าง AI ที่มาพร้อมกล้องเป็นร้อยๆ ตัวเพื่อทำการเช็คราคาสินค้าและจำนวนสินค้าที่มีลูกค้าหยิบออกไปจากชั้นวางของ แน่นอนว่ามันทำให้ค่าใช้จ่ายในการลงทุนด้านเทคโนโลยีลดลงไปถึง 1 ใน 10 เลยทีเดียว ทุกกิจกรรมของการเลือกซื้อสินค้าจะถูกย้ายมาอยู่ที่รถเข็นทั้งหมด ทำให้ง่ายต่อการเช็คราคาสินค้าด้วยกล้องและเซนเซอร์ในรถเข็น คุณสามารถเช็คราคาสินค้าได้โดยตรงด้วยการหยิบสินค้าลงไปในรถเข็น ระบบจะทำการแสดงราคาและยอดรวมของสินค้าที่อยู่ในรถเข็นให้เอง แน่นอนเมื่อคุณเปลี่ยนใจหยิบสินค้าออกรถเข็นก็จะทำการคำนวณราคาสินค้าใหม่ให้เอง ด้วยเทคโนโลยีนี้สามารถช่วยกลุ่มร้านค้าปลีกสามารถทำการเช็คเอาท์ได้อย่างราบรื่นมากขึ้น ส่วนรายละเอียดหรือการต่อยอดอื่นๆ สามารถทำเพิ่มเติมผ่านทางหน้าจอที่ติดอยู่กับรถเข็น แบบนี้ก็สะดวกดีเหมือนกัน ที่มา : www.smartsme.co.th
25 ธ.ค. 2564
Jeff Bezos สั่งซื้อรถตู้พลัง EV 100,000 คัน จากบริษัทสตาร์ทอัพ
หลังจากที่ถูกสื่อโจมตีมาอย่างต่อเนื่องกับการวางเฉยไม่สนใจเรื่องของสิ่งแวดล้อม ก็ได้เวลาที่ Jeff Bezos เจ้าพ่อ Amazon ออกมาบอกกล่าวถึงแผนงานที่บริษัทจะทำเพื่อสิ่งแวดล้อมเสียที งานนี้จะเป็นการสั่งซื้อรถตู้พลัง EV จำนวนมากถึง 100,000 คันเลยทีเดียว Bezos กล่าวว่าเขาคาดหวังว่ารถตู้จำนวน 100,000 คันของบริษัทสตาร์ทอัพอย่าง Rivian พร้อมจะออกมาวิ่งส่งสินค้าบนถนนอย่างครบถ้วนในปี พ.ศ. 2567 โดยรถคันแรกจะเริ่มนำมาใช้งานในปี พ.ศ. 2564 ส่วนรถต้นแบบนั้นจะได้เห็นกันในปีหน้า Rivian เป็นสตาร์ทอัพที่ชื่อไม่ค่อยคุ้นหูในอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า ที่ผ่านมาทำการเปิดตัวเฉพาะรถกระบะและ SUV เมื่อปลายปี 2561 แต่บริษัทได้ดำเนินโครงการลับเพื่อที่จะแข่งขันกับรถคันแรกของเทสลามาเป็นเวลานานแล้ว การที่ Amazon เข้ามาผลักดัน Rivian อย่างเป็นรูปธรรม มันย่อมแสดงให้เห็นว่าสตาร์ทอัพรายนี้มีดีไม่แพ้ใคร ไม่อย่างนั้น Amazon คงไม่ลงมาทำการสนับสนุนมากมายขนาดนี้ อย่างไรก็ตามการประกาศของ Bezos คงพอจะทำให้ทั้งโลกเห็นว่า Amazon ไม่ได้นิ่งนอนใจเรื่องของการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาวิกฤตของโลกใบนี้ ที่มา : www.smartsme.co.th
24 ธ.ค. 2564
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 ปรุงไอเดีย วิสาหกิจชุมชน เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์
อุบลราชธานี 23 ธันวาคม 2564 ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM IPC7) แลกเปลี่ยนแนวทางในการดำเนินธุรกิจ การออกแบบ การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ กับผู้เข้าร่วมฝึกอบรมในกิจกรรมการเพิ่มศักยภาพวิสาหกิจชุมชนด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูป (Agro Genius Community Enterprise) ภายใต้โครงการการยกระดับสินค้าเกษตรสู่เกษตรอุตสาหกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 23-24 ธันวาคม 2564 ณ โรงแรมบ้านสวนคุณตา กอล์ฟ แอนด์ รีสอร์ท อุบลราชธานี โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากภาคเอกชน บริษัท โพรแอค เน็ตเวิร์ก จำกัด ร่วมเป็นวิทยากรบรรยาย อาทิ การตลาดและพฤติกรรมผู้บริโภคในยุค New Normal, การตลาดออนไลน์ทำได้ด้วยตัวเอง, มาตรฐานการผลิตอาหารและกฏหมายที่เกี่ยวข้อง, การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่หรือต่อยอดผลิตภัณฑ์เดิม, เทคนิคการศึกษาและการยืดอายุผลิตภัณฑ์ การถนอมอาหาร การรักษาคุณภาพ, การใช้เครื่องมือเครื่องจักรให้เหมาะสมกับวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ เพื่อให้เกิดการพัฒนาสินค้าผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปได้อย่างยั่งยืน.เจ้าหน้าที่ร่วมนางสาวนราวดี จันทร์จำปา, นางสาวจันทร์จิรา เสือโคล่ง, นายตระกูล อ่อนรัตน์, นายสมชาย เชาว์ประโคน.#ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่7 #DIPROM
23 ธ.ค. 2564
อาลีบาบาเสริมแกร่งด้วยเทคโนโลยีจากสตาร์ทอัพในไต้หวัน
ยักษ์ใหญ่อีคอมเมิร์ซของจีน Alibaba ได้ตกลงที่จะลงทุนในสตาร์ทอัพอย่าง Perfect Corp. นี่คือการเดิมพันที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในไต้หวัน อาลีบาบากำลังเป็นผู้นำในการระดมทุนรอบใหม่สำหรับเพอร์เฟ็คคอร์ป Perfect Corp. ประกาศว่าบริษัทกำลังจัดตั้งทีมงานเชิงกลยุทธ์ร่วมกับอาลีบาบา เพื่อนำเทคโนโลยี augmented reality (AR) เข้าสู่แพลตฟอร์มออนไลน์ของอาลีบาบา แต่ไม่ได้กล่าวถึงข้อผูกมัดใดๆ ที่เกิดจากการลงทุนของบริษัทยักษ์ใหญ่จากจีนในไต้หวันครั้งนี้ อาลีบาบาจะทำการทดลองใช้เทคโนโลยี YouCam ที่ทำงานอยู่บนเทคโนโลยีเสมือนจริงของ Perfect Corp. ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้ได้เห็นว่าการแต่งหน้าจะเป็นอย่างไร บนใบหน้าจริงของพวกเขาก่อนที่จะตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อย่างลิปสติกและอายไลเนอร์ บนแพลตฟอร์มช้อปปิ้งออนไลน์ Taobao และ Tmall ความร่วมมือดังกล่าวจะช่วยให้ Perfect Corp. สร้างความสัมพันธ์กับแบรนด์ระดับโลกและเข้าถึงตลาดความงามในประเทศจีนได้อย่างเต็มรูปแบบ นี่คือความร่วมมือเชิงกลยุทธ์แบบ win-win ที่สุดยอดมาก เป็นการเติมเต็มความสมบูรณ์แบบให้กับธุรกิจความงาม ด้วยเทคโนโลยีของสตาร์ทอัพไต้หวันจะทำให้ประสบการณ์การช้อปปิ้งของคนจีนและคนทั้งโลกเปลี่ยนไป ที่มา : www.smartsme.co.th
23 ธ.ค. 2564
เสริมแกร่ง SMEs รองรับการเปลี่ยนแปลง วิถี New Normal
อุบลราชธานี 23 ธันวาคม 2564 ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM IPC7) ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ"การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง วิถี New Normal" โครงการการปรับธุรกิจให้รองรับการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 23-24 ธันวาคม 2564 ณ ห้อง U2 โรงแรมยูเพลส มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เพื่อแลกเปลี่ยนมุมมอง สร้างแนวคิดใหม่ๆ สู่การพัฒนาศักยภาพของวิสาหกิจขนาดกลางขนาดย่อม (SMEs) ปรับทิศทางการดำเนินธุรกิจ ภายใต้สถานการณ์โควิด -19 ให้สามารถต่อยอดโมเดลธุรกิจ (Business Model) รูปแบบใหม่ ให้อยู่รอดหรือขยายธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน สำหรับการอบรมในครั้งนี้ มีผู้ประกอบการเข้าร่วม 15 คน ทั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานสถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีประสบการณ์การให้คำแนะนำ การบริการฝึกอบรมที่มีประสบการณ์ในการเป็นวิทยากรให้ความรู้เสริมทักษะ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้รับความรู้ในการพัฒนาองค์ความรู้และทักษะด้านการผลิต การบริหารจัดการ และช่องทางการจัดจำหน่าย รวมถึงพัฒนารูปแบบการดำเนินธุรกิจให้สามารถเพิ่มมูลค่าของสินค้า อีกทั้งส่งเสริมให้เกิดการแสวงหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ที่สามารถตอบโจทย์ทางธุรกิจและสามารถประยุกต์ใช้กับรูปแบบธุรกิจเดิมได้อย่างรวดเร็ว ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาสินค้าและบริการให้ตอบสนองต่อโจทย์ของตลาดและผู้บริโภคในสถานการณ์ปัจจุบันและอนาคตต่อไป.เจ้าหน้าที่ร่วมนายสุมิตร ส่งเสริม, นางสาวใหม่นภา พุฒพิมพ์,นางสาวจันทร์จิรา เสือโคล่ง, นายตระกูล อ่อนรัตน์, นายสมชาย เชาว์ประโคน
23 ธ.ค. 2564
AI จะเป็นผู้ช่วยคนสำคัญของแพทย์ เรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจ
ประเทศอินเดียมีปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านสุขภาพในพื้นที่ต่างๆ อย่างมากมาย ในบางพื้นที่คนได้รับการรักษาด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย แต่ในบางพื้นที่ยังเข้าถึงบริการพื้นฐานด้านสุขภาพไม่ได้เลย ทำให้บรรดาสตาร์ทอัพหลายแห่งในอินเดีย ทุ่มเทให้กับการแก้ไขปัญหานี้ โดยเฉพาะเรื่องของการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาอินเดียมีการเติบโตของสตาร์ทอัพทางด้านสุขภาพจำนวนมาก เพราะด้วยจำนวนประชากรและความแตกต่างของการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ ทำให้มีความตื่นตัวในการแก้ไขปัญหาด้านาสุขภาพ และมันก็สอดคล้องกับความก้าวหน้าของ AI ที่สามารถลดปัญหาเหล่านี้ โดยการทำตัวเป็นผู้ช่วยของแพทย์ในการตัดสินใจเพื่อการรักษาในเคสต่างๆ การทดสอบการวินิจฉัยหลายอย่างที่ดำเนินการผ่านความช่วยเหลือของ AI ช่วยให้โรงพยาบาลสามารถให้บริการผู้ป่วยได้ดีขึ้น การเกิดขึ้นของ AI ทำให้การตรวจหา “มะเร็ง” ทำได้ง่ายขึ้นและคล่องตัวมากกว่าเดิม Vishwas Mudagal ซีอีโอของ Good work Labs กล่าวว่า “AI กำลังรุกเข้าไปในพื้นที่ด้านการดูแลสุขภาพ เรากำลังช่วย บริษัท ต่างๆ ในการหาวิธีตรวจหามะเร็ง สำหรับการตรวจจับมะเร็งคุณต้องใช้อัลกอริทึมที่คุณจะทำนายว่ามีใครบางคนกำลังเป็นมะเร็งหรือไม่ การดูตัวอย่างเลือดคุณสามารถคาดการณ์ได้ว่าผู้ป่วยบางรายจะเป็นมะเร็งในอนาคตหรือไม่” Deep Learning จะแนะนำการวินิจฉัยโรค การดูแลสุขภาพด้วยระบบดิจิทัลจะช่วยให้สามารถเข้าถึงได้มากและง่ายขึ้น นอกจากนี้อินเดียมีความไม่เท่าเทียมกันในอัตราส่วนของแพทย์ต่อผู้ป่วย AI จะมาเป็นผู้ช่วยเพื่อลดเวลาที่แพทย์ใช้ในการรักษาแบบเดิม เพื่อทำให้สามารถเพิ่มขอบเขตของการรักษาผู้ป่วยในจำนวนที่มากขึ้นได้ ที่มา : www.smartsme.co.th
22 ธ.ค. 2564
ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ประชุมประจำเดือน ธ.ค.64 ติดตามความคืบหน้าการดำเนินโครงการ/กิจกรรม
อุบลราชธานี 22 ธันวาคม 2564 ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM IPC7) เป็นประธานการประชุมเจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 ครั้งที่ 6/2564 ณ ห้องประชุมผาแต้ม ชั้น 2 อาคารอำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 และผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยมีผู้อำนวยการกลุ่มฯ และเจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 เข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง.การประชุมในครั้งนี้เป็นการประชุมประจำเดือน ธันวาคม 2564 ติดตามความคืบหน้าการดำเนินโครงการ/ กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 อาทิ การดำเนินงานศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 (ITC 4.0), การดำเนินงานโครงการเงินทุนหมุนเวียนฯ, ผลการเบิกจ่ายงบประมาณและผลผลิต, โครงการ Made in Thailand, โครงการส่งเสริมสุขภาวะองค์กรในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SHAP), กิจกรรมศูนย์สุขภาพดีวัยทำงานในสถานประกอบการ (Wellness Center) อีกทั้งหารือแนวทางการดำเนินงานภายในองค์กร แลกเปลี่ยนทิศทางกรอบการทำงานส่งเสริมผู้ประกอบการในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด.#ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่7 #DIPROM
22 ธ.ค. 2564
Clozette สตาร์ทอัพด้านคอนเทนต์ ได้รับการระดมทุนจาก Cool Japan Fund
บริษัทระดับรางวัลในแวดวงการตลาดคอนเทนต์บนโซเชียล เตรียมเร่งการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ พร้อมขับเคลื่อนการขยายธุรกิจในระดับสากล และพัฒนาระบบนิเวศ Cool Japan Ecosystem แบบอินเทอร์แอคทีฟ ที่จะนำวัฒนธรรมญี่ปุ่นสู่ผู้บริโภคยุคใหม่ Clozette บริษัทด้านสื่อใหม่สุดล้ำที่ช่วยสร้างแรงบันดาลใจและสนับสนุนผู้หญิงยุคใหม่ด้วยคอนเทนต์ระดับรางวัล ทั้งในเรื่องความงาม แฟชัน การท่องเที่ยว และสุขภาพ ประกาศว่าบริษัทระดมทุนระดับ Series C ได้ 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐจาก Cool Japan Fund กองทุนสาธารณะ-ส่วนบุคคลในสังกัดกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น (METI) ที่ให้เงินร่วมลงทุนแก่ภาคธุรกิจโดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการสร้างรายได้ตามยุทธศาสตร์ "Cool Japan" Clozette ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2553 โดยได้เข้ามาบุกเบิกการบอกเล่าเรื่องราวในรูปแบบใหม่ ที่ผสานข้อดีของบทความโฆษณาแบบ Editorial Authority เข้ากับความน่าเชื่อถือของคอนเทนต์แบบ User-generated ที่ผ่านการคัดสรรมาแล้ว Clozette มีบุคลากรกว่า 90 รายคอยให้บริการอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และญี่ปุ่น เพื่อส่งมอบแบรนด์คอนเทนต์ที่จะเข้ามาพลิกเกม จากการผสานผลงานต้นฉบับที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยเครือข่ายครีเอเตอร์และบุคคลผู้มากความสามารถรวมกันกว่า 3,500 ราย ครอบคลุมผู้ใช้งานในโลกโซเชียลถึง 600 ล้านคน ทั้งนี้ ทางบริษัทเคยร่วมงานกับแบรนด์และบริษัทตัวแทนสื่อมาแล้วกว่า 300 ราย ไม่ว่าจะเป็น Estee Lauder, Shiseido, Amore Pacific, Zalora, Charles & Keith, Procter & Gamble, Unilever, Johnson & Johnson, Beiersdorf, GroupM, IPG Mediabrands และ Omnicom Media Group ในช่วงเวลาที่นักการตลาดเริ่มก้าวออกจากการเน้นในเรื่องโฆษณา และหันไปใช้แนวทางที่ใส่ใจกับการบอกเล่าเรื่องราวมากขึ้น การลงทุนรอบใหม่นี้จะเข้ามาเติมเชื้อเพลิงและเสริมแกร่งให้กับแรงผลักดันและบทบาทผู้นำของ Clozette ในแวดวงการตลาดคอนเทนต์บนโลกโซเชียล โดยบริษัทจะนำเงินลงทุนก้อนใหม่นี้ไปใช้ในการยกระดับคอนเทนต์และแพลตฟอร์มวิเคราะห์ที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลอันเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท พร้อมเดินหน้าขยายธุรกิจในตลาดใหม่ๆ ที่มา : www.smartsme.co.th
21 ธ.ค. 2564
เปิด NEC เสริมสร้างผู้ประกอบการ เริ่มต้นธุรกิจ ขยายกิจการ มุ่งสู่ผู้ประกอบการอัจฉริยะ
ศรีสะเกษ 20 ธันวาคม 2564 ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM IPC7) ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ กิจกรรมการถ่ายทอดความรู้ในการจัดตั้งและขยายธุรกิจ ภายใต้โครงการการเร่งการจัดตั้งและขยายธุรกิจของผู้ประกอบการอัจฉริยะ ณ ห้องซังฮี้ โรงแรมแกลเลอรี่ ดีไซน์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ กล่าวรายงานโดย นางสาวปริทัศน์ เชื้อประทุม ซึ่งกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้ดำเนินโครงการสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการใหม่เชิงสร้างสรรค์และนวัตกรรม ตั้งแต่ปี 2545 และดำเนินงานต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน มุ่งส่งเสริมและสนับสนุน เพื่อให้เกิดผู้ประกอบการใหม่ สร้างโอกาสและขับเคลื่อนกลไกสำคัญในการสร้างความเติบโตให้กับเศรษฐกิจในระยะยาว กระตุ้นให้เกิดผู้ประกอบการใหม่ สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ เช่น ผู้ประกอบการที่มีการใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม ผู้ประกอบการในงานสร้างสรรค์และออกแบบให้มีศักยภาพ ในการประกอบธุรกิจสมัยใหม่สามารถแข่งขันในตลาดได้อย่างยั่งยืน . การดำเนินการฝึกอบรมในครั้งนี้ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 ได้ประชาสัมพันธ์เพื่อรับสมัครคัดเลือก และสัมภาษณ์ ผู้ที่เหมาะสมเข้ารับการฝึกอบรม ผลจากการคัดเลือกปรากฏว่ามีผู้ที่เหมาะสมเข้ารับการฝึกอบรมกิจกรรมการถ่ายทอดความรู้ในการจัดตั้งและขยายธุรกิจ ภายใต้โครงการการเร่งการจัดตั้งและขยายธุรกิจของผู้ประกอบการอัจฉริยะ พื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 35 คน ซึ่งจะดำเนินการฝึกอบรมความรู้ทั่วไปในการจัดตั้ง/ดำเนินธุรกิจ และแนวคิดการสร้างธุรกิจเชิงอัจฉริยะ ระหว่างวันที่ 20 - 24 ธันวาคม 2564 การจัดทำแบบจำลองธุรกิจ/แผนธุรกิจ/โมเดลธุรกิจให้เกิดมูลค่า ระหว่างวันที่ 27 - 29 ธันวาคม 2564 และจัดกิจกรรมกระตุ้นตลาด ทดสอบตลาด/การตลาดออนไลน์ และการสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการรุ่นใหม่ พร้อมศึกษาดูงาน ในช่วงเดือน มกราคม และเดือนกุมภาพันธ์ อีกทั้งยังได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานอื่นๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน มาร่วมแชร์ประสบการณ์ ความรู้ ในการดำเนินธุรกิจมาเป็นวิทยากร อาทิ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี . เจ้าหน้าที่ร่วม นายสมเกียรติ จันทร์เพ็ญมงคล , สิบเอกกรุงรัตน์ อยู่คล้ำ , นายมิตร แสงกล้า
20 ธ.ค. 2564
เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป
อุบลราชธานี 20 ธันวาคม 2564 ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM IPC7) มอบหมายให้ นายฉาย ทองละมุล ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงานภูมิภาค ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 (DIPROM IPC7) เป็นประธานเปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป” กล่าวต้อนรับโดย นายกฤษณะ นอขุนทด ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรม และกล่าวรายงานโดย นายสุมิตร ส่งเสริม สำหรับกิจกรรมการพัฒนาเทคโนโลยีเกษตรอุตสาหกรรมอัจฉริยะ ภายใต้โครงการยกระดับสินค้าเกษตรสู่เกษตรอุตสาหกรรม การจัดการฝึกอบรม จำนวน 2 วัน ระหว่างวันที่ 20 - 21 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ณ โรงแรมอารยา รีสอร์ทโขงเจียมริเวอร์ไซด์ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี มีผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการจำนวน 20 คน ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานสถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี และมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีประสบการณ์การให้คำแนะนำ การบริการฝึกอบรมที่มีประสบการณ์ในการเป็นวิทยากรให้ความรู้เสริมทักษะ ให้กับผู้เข้าการฝึกอบรม เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ประกอบการอันเป็นเป้าหมายของการจัดฝึกอบรม.เจ้าหน้าที่ร่วมนายสุมิตร ส่งเสริม, นางสาวนราวดี จันทร์จำปา, นางสาวใหม่นภา พุฒพิมพ์ และนายศุภชัย สืบวงศ์
20 ธ.ค. 2564