หมวดหมู่
แท็ก:
รางวัลอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมดีเด่น ประเภทการพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ Creative SME ประจำปี 2564
ขั้นตอนการสมัครเพื่อเข้ารับการคัดเลือกรางวัลอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2564 ประเภทการพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ (Creative SME) 1. พิจารณาข้อกำหนดและคุณสมบัติทั่วไป/คุณสมบัติเฉพาะของผู้สมัคร (กรณีคุณสมบัติผ่าน ให้ดำเนินการในขั้นตอนต่อไป) 2. ใบสมัครและแนบเอกสารประกอบการคัดเลือก (กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ชัดเจน และลงนามให้เรียบร้อย) 2.1 กรอกแบบฟอร์มใบสมัคร 2.2 เอกสารแนบ เอกสารสำเนาใบอนุญาตประประกอบการจากภาครัฐ อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ - ตามทะเบียนโรงงานพระราชบัญญัติโรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 - ตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 ที่มีประทานบัตร หรือใบอนุญาตแต่งแร่ - ตามทะเบียนผู้ผลิตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข - ตามทะเบียนพาณิชย์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ - หรือใบอนุญาตประกอบการจากภาครัฐอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง การจัดรูปองค์กรหรือแผนภูมิขององค์กร การเข้าร่วมกิจกรรมและความรับผิดชอบขององค์กรต่อสังคม จัดส่งทาง E-mail : creativesmeaward@gmail.com หลังจากส่งแบบฟอร์มการสมัครและเอกสารประกอบแล้วกรุณาโทรยืนยันการสมัครที่เบอร์ 061-4040302 , 02-3678386 3. เกณฑ์การพิจารณาและขั้นตอนการคัดเลือก (เพื่อเตรียมการจัดทำข้อมูลนำเสนอ) 4. จัดทำข้อมูลนำเสนอตามเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกเพื่อนำเสนอ / คู่มือการจัดทำข้อมูลนำเสนอ เปิดรับสมัครวันนี้ ถึง 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ทางไปรษณีย์: ฝ่ายเลขานุการคณะทำงานพิจารณาคัดเลือกรางวัลอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมดีเด่น ประเภทการพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ กองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กล้วยน้ำไท) 86/6 ซอยตรีมิตร ถนนพระรามที่ 4 แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 ทาง E-mail: creativesmeaward@gmail.com ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม 0 2367 8386 / 061 4040302 Email: creativesmeaward@gmail.com
06 ม.ค. 2564
“สุริยะ เข้มสถานประกอบการ 28 จังหวัด พื้นที่เสี่ยงสูงสุด ป้องกันเฝ้าระวังโควิด – 19 บุคลากร ก.อุตฯ เหลื่อมเวลาทำงาน ปฏิบัติงานที่บ้าน ร้อยละ 50 เริ่ม 5 ม.ค. นี้
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ตามที่มีการระบาดระลอกใหม่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ออกเป็นวงกว้างกระจายในหลายเขตพื้นที่ และรัฐบาลมีความจำเป็นที่ต้องกำหนดและบังคับใช้มาตรการต่าง ๆ เพื่อเข้าแก้ไขและระงับยับยั้งสถานการณ์ดังกล่าวด้วยมาตรการทางกฎหมาย และการขอความร่วมมือทั้งผู้ประกอบการเอกชน และประชาชน อย่างเข้มข้น นั้น เพื่อเป็นการสนับสนุนมาตรการที่รัฐบาลออกมาเพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพสูงสุด กระทรวงอุตสาหกรรมได้ติดตามสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างใกล้ชิด โดยขอความร่วมมือให้ผู้ประกอบการภาคเอกชนที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงอุตสาหกรรม เช่น โรงงานอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน ทั้งที่อยู่ในหรือนอกนิคมอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ผู้ประกอบการวัตถุอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย ผู้ประกอบการตามกฎหมายว่าด้วยการจดทะเบียนเครื่องจักร ผู้ประกอบการตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม รวมทั้งเหมืองแร่ตามกฎหมายว่าด้วยแร่ ใน 28 จังหวัด ที่เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชุมพร ชลบุรี ตราด ตาก นครนายก นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี พระนครศรีอยุธยา เพชรบุรี ราชบุรี ระนอง ระยอง ลพบุรี สิงห์บุรี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สุพรรณบุรี สระแก้ว สระบุรี อ่างทอง เป็นต้น ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและการเฝ้าระวังการระบาดของโรคโควิด-19 พร้อมป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคดังกล่าวในโรงงานอุตสาหกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ และลดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสดังกล่าว ไม่ให้ติดต่อไปยังบุคคลอื่นที่อยู่ในหรือนอกโรงงาน โดยในพื้น 28 จังหวัด มีสถานประกอบการ 49,391 โรงงาน จำนวนคนงานกว่า 3,020,000 คน โดยขอความร่วมมือผู้ประกอบการในพื้นที่เสี่ยงสูงสุดพิจารณาดำเนินการ ดังนี้ 1. ปรับเวลาการปฏิบัติงานของคนงาน เพื่อลดความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 2. คัดกรองพนักงานทุกคน (ตรวจวัดอุณหภูมิ / ตรวจสอบประวัติการเดินทาง) 3. สุ่มตรวจหาเชื้อโควิดในพนักงาน 4. เตรียมสถานที่กักตัวผู้ที่ติดเชื้อ 5. ประชาสัมพันธ์แนวทางป้องกันโควิด DMHTT (Distancing / Mask Wearing / Hand Washing / Testing / Thai Cha Na) 6. ใช้แอปพลิเคชัน หมอชนะในการ Monitor ความเสี่ยงจากการติดเชื้อ และให้ผู้ประกอบกิจการโรงงานติดตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุขหรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือติดการแถลงข่าวของรัฐบาลเพื่อปฏิบัติตามอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ ในส่วนของบุคลากรข้าราชการของกระทรวงอุตสาหกรรม ได้กำหนดแนวทางการปฏิบัติงาน ดังนี้ 1. ปรับเวลาการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่โดยการเหลื่อมเวลาเข้าปฏิบัติการ เพื่อลดความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 2. Work From Home ร้อยละ 50 ของบุคลากร โดยพิจารณาให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่แต่ละส่วนงานขยับเวลาการทำงาน เพื่อลดจำนวนผู้ปฏิบัติงานและปริมาณการเดินทาง ลดความแออัดในการใช้สถานที่ด้วยการปฏิบัติงานที่บ้าน เพื่อความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น โดยนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาปรับใช้กับ การทำงาน อาทิ การประชุมผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ วิดีโอคอล แอปพลิเคชันไลน์ หรืออีเมล์มาเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงาน เพื่อไม่ให้มีข้อติดขัด หรือเกิดปัญหากับการปฏิบัติหน้าที่เพื่อประชาชน ทั้งนี้ แม้ว่าจะปรับมาตรการในการทำงาน แต่ภารกิจในการขับเคลื่อนงานของกระทรวงฯ ก็ยังจะสามารถรักษาประสิทธิภาพการทำงานให้มีความต่อเนื่อง และมุ่งหวังว่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโควิด – 19 อย่างได้ผล 3. คัดกรองเจ้าหน้าที่ทุกคนที่ปฏิบัติงานในกระทรวงอุตสาหกรรม (ตรวจวัดอุณหภูมิ) 4. ประชาสัมพันธ์แนวทางป้องกันโควิด DMHTT (Distancing / Mask Wearing / Hand Washing / Testing / Thai Cha Na) 5. รณรงค์ให้ใช้ Application หมอชนะในการ Monitor ความเสี่ยงจากการติดเชื้อ "จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระลอก 2 ของไทย ทำให้เกิดผลกระทบต่อทุกภาคส่วน กระทรวงอุตสาหกรรมตระหนักถึงความจำเป็นต่อป้องกันและการเฝ้าระวังการระบาดของโรคโควิด-19 จึงมีการออกประกาศของกระทรวงอุตสาหกรรม และหนังสือขอความร่วมมือสถานประกอบการในพื้นที่เสี่ยงสูงสุด และบุคลากรของกระทรวงอุตสาหกรรมทั่วประเทศให้ปฏิบัติตามแนวป้องกันและควบคุมการระบาดของไวรัสโควิด-19 พร้อมเน้นย้ำการปรับมาตรการในการทำงานจะไม่กระทบต่อประสิทธิภาพการทำงาน เพื่อให้ประเทศไทยผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ไปได้" นายสุริยะ กล่าว ที่มา: สำนักบริหารกลาง...
05 ม.ค. 2564
กระทรวงอุตสาหกรรม ขอเชิญผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสมัครเข้ารับการคัดเลือก "รางวัลแห่งเกียรติยศของอุตสาหกรรมไทย The Prime Minister's Industry Award 2021"
กระทรวงอุตสาหกรรม ขอเชิญผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสมัครเข้ารับการคัดเลือก "รางวัลแห่งเกียรติยศของอุตสาหกรรมไทย The Prime Minister's Industry Award 2021" สมัครตั้งแต่บัดนี้ - 28 กุมภาพันธ์ 2564 ประกาศผลและมอบรางวัลเดือนสิงหาคม 2564 สแกน QR Code หรือ 0 2202 3429 , 0 2202 3518 ที่มา: สำนักบริหารกลาง...
05 ม.ค. 2564
รู้จัก “สติ – STI” 3 ปัจจัยเร่งด่วนที่ SMEs ต้องมี เพื่อก้าวต่อไปในปี 2564
ในปี 2563 ทุกๆ คน ทั่วโลกได้รู้จักกับโรคโควิด - 19 โรคติดต่อร้ายแรงที่มุ่งหมายพรากชีวิต โดยไม่สนใจว่าคนนั้นจะรวยหรือจน และนอกจากชีวิตแล้ว โรคร้ายชนิดนี้ ก็ยังได้พรากวิถีชีวิตดั่งเดิมของทุกๆ คน จนทำให้ส่งผลกระทบไปสู่ทุกๆ ด้าน เช่น ด้านการดำเนินงานของผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม ในการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานเพื่อให้สอดคล้องและตอบโจทย์ธุรกิจในยุค New Normal บางกิจการไม่สามารถปรับตัวได้ทันก็ต้องปิดกิจการไป หรือ บางกิจการสามารถปรับเปลี่ยนได้ทันตามสถานการณ์ก็สามารถกอบโกยผลกำไรได้ จนพูดได้ว่าเป็นปีที่วิกฤตของหลายๆ กิจการเลยก็ว่าได้ ด้วยความพลิกผันอย่างฉับพลันจากวิกฤตโรคโควิด – 19 ที่ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการ จึงทำให้หน่วยงานต่างๆ ของภาครัฐที่ดูแลผู้ประกอบการ SMEs ได้พยายามหานโยบายใหม่ๆ เพื่อเป็นวิธีและแนะนำการดำเนินงานในยุค New - Normal ในการแก้ไขและปรับปรุงการดำเนินงานของธุรกิจๆ นั้น ให้ฝ่าฟันวิกฤตในครั้งนี้ ปัจจัยที่ 1. “Skill” หรือ “ทักษะเร่งด่วน” และในปีใหม่นี้ พ.ศ. 2564 หลายๆ หน่วยงานจึงได้มีการออกนโยบายต่างๆ มาแนะนำกับผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับการวิเคราะห์ในความเป็นไปได้จากฐานข้อมูลของปี 2563 เพื่อให้ผู้ประกอบการได้นำไปใช้เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการวิธีการทำงานในปี 2564 และเพื่อตอบโจทย์กิจการให้ตรงจุดในยุค New Normal ที่วิกฤตโควิด – 19 ยังไม่มีท่าทีว่าจะจางหายไป และหนึ่งในนโยบายที่น่าสนใจสำหรับผู้ประกอบการในปีใหม่นี้ ก็คือ “สติ - STI” นโยบายจาก กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ปัจจัยที่ 2 “Tools” หรือ “เครื่องมือเร่งด่วน” “สติ – STI” นั้นย่อมาจาก (Skill – Tools - Industry) ซึ่งหากอ่านทับศัพท์เป็นภาษาไทย ก็จะออกเสียงเป็นคำว่า “สติ” ซึ่งเป็นนโยบายและแนวความคิดของทาง กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ) กระทรวงอุตสาหกรรม ที่ได้มีการวิเคราะห์จากฐานข้อมูลของปี 2563 เพื่อเป็นแนวทางแบบ “เร่งด่วน” เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินกิจการได้อย่างเต็มศักยภาพในปี 2564 โดยประกอบด้วย 3 ปัจจัยเร่งด่วนสำคัญ ได้แก่ ปัจจัยที่ 3. “Industry” หรือ “อุตสาหกรรมเร่งด่วน” ปัจจัยที่ 1. “Skill” หรือ “ทักษะเร่งด่วน” ที่ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ผู้ประกอบการต้องเร่งเรียนรู้ เพื่อให้สามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากข้อมูลในปี 2563 พบว่า SMEs จำเป็นต้องปรับตัวให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งทักษะวิชาตัวเบา (Lean) การบริหารจัดการค่าใช้จ่ายให้เหมาะสมกับรายได้ในปัจจุบัน ถือเป็นทักษะที่จะทำให้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินการกิจได้ต่อเนื่อง ขณะเดียวกันจะต้องพัฒนาต่อยอดทักษะเดิม เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลง ทักษะการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการปรับใช้ในกระบวนการต่างๆ และทักษะความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งจะช่วยสร้างมูลค่าให้กับภาคอุตสาหกรรม และทาง กสอ. ยังได้มีการขยายผลศูนย์ Mini Thai - IDC ไปยังภูมิภาค เพื่อส่งเสริมการพัฒนาออกแบบบรรจุภัณฑ์และผลิตภัณฑ์ในระดับท้องถิ่นไปสู่เชิงพาณิชย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจัยที่ 2 ได้แก่ “Tools” หรือ “เครื่องมือเร่งด่วน” ปัจจัยนี้จะเป็นตัวช่วยเร่งในการช่วยเหลือผู้ประกอบการ ซึ่งประกอบไปด้วย แพลตฟอร์มออนไลน์ (DIProm มาร์เก็ตเพลส) โดยรวบรวมผลิตภัณฑ์คุณภาพจากผู้ประกอบการที่ได้รับการส่งเสริมจาก กสอ. เพื่อเพิ่มช่องทางในการจำหน่ายสินค้า ทั้งยังช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค นิเวศอุตสาหกรรม โดยการเชื่อมโยงเครือข่ายของผู้ประกอบการทั้งมิติเชิงอุตสาหกรรมและพื้นที่ เพื่อสร้างความร่วมมือ ต่อยอดองค์ความรู้ และการยกระดับอุตสาหกรรม เงินทุนเพื่อการประกอบการ ถือเป็นเครื่องมือที่สำคัญสำหรับการประกอบกิจการ อาทิ เงินทุนหมุนเวียนเพื่อการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทย การสนับสนุนเงินกู้จากสถาบันการเงินทั้งในกำกับของรัฐ และเอกชน รวมถึงการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการได้เข้าถึงแหล่งเงินทุนจากภาพเอกชน เพื่อสร้างสภาพคล่องให้กับการดำเนินธุรกิจและก่อให้เกิดการจัดตั้งธุรกิจได้ในอนาคต และปัจจัยที่ 3. “Industry” หรือ “อุตสาหกรรมเร่งด่วน” ที่ได้มุ่งเน้นก็คือ เกษตรอุตสาหกรรม ซึ่งจากข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม มูลการส่งออกสินค้าเกษตรแปรรูป ระหว่างเดือนมกราคม – กันยายน 2563 อยู่ที่ 243,855 ล้านบาท ถือเป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพเพียงพอ สำหรับการสนับสนุนในระยะเวลาเร่งด่วน เพื่อให้เป็นปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในประเทศ ผ่านการยกระดับศักยภาพในภาคการผลิตสินค้าเกษตรแปรรูป การพัฒนานักธุรกิจเกษตร และการส่งเสริมให้เยาวชนรุ่นใหม่หันมาประกอบอาชีพและพัฒนาภาคการเกษตรให้มีศักยภาพรวมทั้งการพัฒนาเครือข่ายผู้ประกอบธุรกิจสู่กระบวนการผลิตที่มีมูลค่าสูงต่อยอดขยายผลเชิงพาณิชย์ เพื่อสร้างความเข้มแข็งในห่วงโซ่อุปทาน รวมทั้งการส่งเสริมวิสาหกิจให้มีศักยภาพในการพัฒนาผลิตภัณฑ์รองรับความต้องการของผู้บริโภค ในปี 2564 นี้ “สติ - STI” จึงเป็นอีกหนึ่งนโยบายที่น่าสน ที่ผู้ประกอบการจะนำไปปรับเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ ผู้ประกอบการต้องรู้จักนำไปใช้ให้ถูกวิธี โดยนำไปบูรณาการกับธุรกิจที่ตัวเองดำเนินงานอยู่ เพื่อการดำเนินธุรกิจได้อย่างมั่นคง และได้รับผลกระทบน้อยที่สุด จากวิกฤตโรคโควิด – 19 นี้
04 ม.ค. 2564
สุริยะ ยกเครื่องบริการ ก.อุตฯ เร่งพัฒนา iSingleForm ระบบแจ้งข้อมูลโรงงานในแบบฟอร์มเดียวผ่านระบบออนไลน์ ปฏิรูปการทำงานสู่ยุคดิจิทัล
อุตสาหกรรมเร่งพัฒนาแพลตฟอร์ม iSingleForm เชื่อมโยงข้อมูลหน่วยงานภายใน ปฏิรูปการให้บริการหน่วยงานในสังกัดแบบดิจิทัล พร้อมให้บริการออนไลน์แบบครบวงจร สอดรับการทำงานแบบนิว นอร์มอล ช่วยวิเคราะห์สถานะโรงงานและแจ้งสิทธิประโยชน์ พร้อมนำข้อมูลไปใช้ยกระดับภาคอุตสาหกรรมด้านต่าง ๆ สร้างปัจจัยแวดล้อมสำคัญในการยกระดับภาคอุตสาหกรรมไทยเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้เร่งขยายการบริการให้ครอบคลุมส่วนงานด้านข้อมูลการประกอบกิจการโรงงาน โดยมอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) พัฒนาจัดทำและเปิดใช้งานแพลตฟอร์ม iSingleform ขึ้น เพื่อเป็นช่องทางการบริการแจ้งข้อมูลของผู้ประกอบการให้แก่หน่วยงานต่าง ๆ ภายในกระทรวงให้เหลือเพียงแบบฟอร์มเดียวผ่านระบบออนไลน์ โดยกระทรวงอุตสาหกรรมมีเป้าหมายในการเร่งยกระดับการบริการของกระทรวงเข้าสู่ระบบออนไลน์ให้ครอบคลุมในทุกมิติเพื่อขับเคลื่อนการเป็นรัฐบาลดิจิทัล (Digital Government) ขณะเดียวกันปัจจุบันกระทรวงฯ ได้เปิดให้บริการผ่านระบบออนไลน์ในหลายบริการ อาทิ บริการด้านใบอนุญาต บริการยื่นขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน และบริการใบแจ้งการชำระค่าธรรมเนียมรายปี ซึ่งจะเป็นการลดภาระผู้ประกอบการในการเดินทางมาติดต่อหน่วยงานราชการ “การยกระดับภาคอุตสาหกรรมไทยเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ภาครัฐจำเป็นจะต้องพัฒนาปัจจัยแวดล้อมให้พร้อม อาทิ โครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารและคมนาคม การปรับกฎระเบียบให้ทันสมัย รวมทั้งการบริการของภาครัฐที่ต้องยกระดับให้สอดคล้องกับการทำงานในยุคชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) ซึ่งมีความคุ้นชินในการทำธุรกรรมออนไลน์โดยไม่ต้องเดินทางไปยังสถานที่ราชการเพื่อขอรับบริการ สามารถแจ้งข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลา โดยได้ตั้งเป้าหมายให้ผู้ประกอบการโรงงานแจ้งข้อมูลผ่านแพลตฟอร์ม iSingleForm อย่างทั่วถึงและครอบคลุมผู้ประกอบการในทุกขนาดและทุกพื้นที่มากขึ้นเพื่อสนับสนุนการสร้างกรอบตัวอย่าง (Sampling Frame) ที่ทันสมัยและมีมาตรฐานร่วมกัน ช่วยลดการสำรวจข้อมูลที่ซ้ำซ้อนภายในกระทรวงอุตสาหกรรมและสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการพัฒนาอุตสาหกรรมในด้านต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ” นายสุริยะ กล่าว นายทองชัย ชวลิตพิเชฐ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวต่อว่า สศอ. ได้เร่งพัฒนาระบบ iSingleForm และเปิดใช้งานให้ผู้ประกอบการได้แจ้งข้อมูลตามแบบฟอร์มเดียวซึ่งได้รวบรวมข้อคำถามจากหน่วยงานต่าง ๆ ภายในกระทรวงฯ ไว้ในแบบฟอร์มเดียวเพื่อลดภาระการแจ้งข้อมูล ไม่ให้เกิดความความซ้ำซ้อน โดยข้อมูลที่ผู้ประกอบการได้แจ้งมาตามแพลตฟอร์ม iSingleForm จะถูกนำมาวิเคราะห์ข้อมูลและจัดทำเป็นผลการประเมินสถานภาพของสถานประกอบการเป็นประจำทุกเดือนตามข้อมูลที่ได้แจ้งเข้ามา ซึ่งจะได้รับผลการวิเคราะห์สถานะของกิจการตนเองในแง่มุมต่าง ๆ อาทิ ประสิทธิภาพการผลิต ความสามารถในการจำหน่าย ความสามารถในการบริหารต้นทุน โดยเปรียบเทียบกับผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมทั้งหมด และในรายสาขาอุตสาหกรรม เพื่อให้ผู้ประกอบการนำผลการวิเคราะห์ไปใช้ประโยชน์ นอกจากนี้ ผู้ประกอบการที่แจ้งข้อมูลอย่างต่อเนื่องจะได้รับแจ้งสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เช่น สินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยพิเศษจากธนาคารที่ลงนามในบันทึกความเข้าใจร่วมกัน (MOU) กับทาง สศอ. ซึ่งในปัจจุบันมี 2 ธนาคาร คือ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SMEs Bank) และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM Bank) ได้รับแจ้งสิทธิการเข้ารับคำปรึกษาเพื่อการพัฒนาสถานประกอบการ และการเข้าร่วมโครงการต่าง ๆ ในการเพิ่มประสิทธิภาพสถานประกอบการโรงงาน
04 ม.ค. 2564
ศภ.7 กสอ. บูรณาการเครือข่ายพื้นที่ ผลักดัน CIV ปรุงท้องถิ่นสู่สร้างสรรค์
ยโสธร 22 ธันวาคม 2563 ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มอบหมายให้ นางเปลี่ยน จำปาหอม เจ้าพนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมอาวุโส พร้อมคณะเจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์กิจกรรม/โครงการ ประชุมหารือกับผู้นำชุมชน ในพื้นที่จังหวัดยโสธร บ้านโคกก่อง และบ้านห้องแซง ในโครงการพัฒนาหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์สู่การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน (Creative Industry Village :CIV) เพื่อพัฒนาและยกระดับชุมชน เสริมศักยภาพอุตสาหกรรมอย่างสร้างสรรค์ ปรุงอัตลักษณ์การท่องเที่ยวสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อโยงการบูรณการการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานเครือข่ายทั้งภาครัฐและภาคเอกชน.เจ้าหน้าที่ร่วมนายธนเดช ศฤงคารนันต์, นายประหยัด ดาราย้อย, นายจิตติ โสบุญ
22 ธ.ค. 2563
ศภ.7 กสอ. ปั้นแนวคิด Textile designer รุ่นใหม่ เสริมพื้นที่ด้านแฟชั่น
อุบลราชธานี วันที่ 22 ธันวาคม 2563 ดร.รุ่งโรจน์ อัฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 มอบหมายให้ นายสุเทพ ทุตา ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมอุตสาหกรรมชุมชน เป็นประธานเปิดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “สร้างนักออกแบบสิ่งทอรุ่นใหม่” Young : Textile designer ภายใต้โครงการยกระดับผ้าทอมืออัตลักษณ์อีสานสู่สากล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 21-25 ธันวาคม 2563 ณ โรงแรมเดอะรีเจ้นท์ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี กล่าวรายงานโดย นายนฤพนธ์ ทาวะรัตน์ ตำแหน่ง นายช่างเทคนิคปฎิบัติงาน.กิจกรรมนี้เป็นการเติมเต็มองค์ความรู้การเสริมศักยภาพ การออกแบบงานด้านแฟชั่น ด้านผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ โดยมี อาจารย์ภิรมย์ แก้วมณี ที่ปรึกษาศูนย์ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Thai-idc) พร้อมคณะเป็นวิทยากร แลกเปลี่ยนมุมมอง ประสบการณ์ด้านการออกแบบให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ทั้ง 23 ท่าน ได้รับฟังและทำกิจกรรม workshop ไปพร้อมๆ กัน.การจัดกิจกรรมมีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) อย่างเคร่งครัด.เจ้าหน้าที่ร่วมนางสาวอภิชญา มาศรักษา, นายมิตร แสงกล้า
22 ธ.ค. 2563
รายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกเป็นพนักงานจ้างเหมาบริการ งานสนับสนุนงานบริการศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 ประกาศ รายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก เพื่อจ้างเหมาบริการปฏิบัติงาน การปฏิรูปอุตสาหกรรมศักยภาพสู่อุตสาหกรรมเพิ่มมูลค่า ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 จำนวน 5 ราย ลำดับที่ 1. เลขประจำตัวสอบ 4 นางสาวเกษรินทร์ ศรีคำ ลำกับที่ 2 เลขประจำตัวสอบ 6 นางสาวรัตนกาญจน์ แพทย์เจริญ ลำดับที่ 3 เลขประจำตัวสอบ 5 นางสาวพุธิตา สิงห์ทอง ลำดับที่ 4 เลขประจำตัวสอบ 3 นางสาวอภิญญา มูลสุวรรณ ลำดับที่ 5 เลขประจำตัวสอบ 2 นางสาวพรรณิภา ตันตารัตน์ ให้ผู้มีรายชื่อลำดับที่ 1 มารายงานตัวเพื่อรับการจัดจ้างเป็นพนักงานจ้างเหมาบริการฯ และเริ่มปฏิบัติงาน ณ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 ในวันที่ 15 ธันวาคม 2563 เวลา 08.30 น. รายละเอียดตามประกาศที่แนบ ประกาศเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2563
09 ธ.ค. 2563
พิธีจุดเทียนมหามงคล เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ วันพ่อแห่งชาติ และวันชาติ (5 ธ.ค. 63)
อุบลราชธานี 5 ธันวาคม 2563 : ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 ร่วมพิธีจุดเทียนมหามงคลเพื่อสดุดีพระเกียรติคุณและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ วันพ่อแห่งชาติ และวันชาติ โดยมี นายสฤษดิ์ วิฑูรย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี พร้อมด้วย นางยุภาพร วิฑูรย์ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดอุบลราชธานี และข้าราชการ ประชาชน นักเรียน นักศึกษาและประชาชนชาวอุบลราชธานี เข้าร่วมพิธี ณ มณฑลพิธีทุ่งศรีเมืองอุบลราชธานี.ตลอดระยะเวลา 70 ปี แห่งการครองราชย์ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้ทรงดำรงมั่นอยู่ในทศพิธราชธรรม และทรงยึดมั่นในพระปฐมบรมราชโองการ “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” อีกทั้งทรงพระวิริยอุตสาหะ ปฏิบัติบำเพ็ญพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่นานัปการ หยาดพระเสโทอันเกิดจากการที่พระองค์ ทรงทุ่มเทพระวรกายเพื่อประชาชน เปรียบเสมือนหยาดน้ำทิพย์ที่ชโลมผืนแผ่นดินและจิตใจของพสกนิกร ให้ได้รับความร่มเย็น ตลอดจนทุกคราที่ชาติบ้านเมือง ประสบความทุกข์ยากจากวิกฤตภัยต่าง ๆ พระองค์ได้ทรงพระราชทาน พระบรมราชานุเคราะห์ และพระราชทานแนวทางเพื่อคลี่คลายขจัดปัญหาให้ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี นำความผาสุกมาสู่ประเทศและอาณาประชาราษฎร์โดยถ้วนหน้า พสกนิกรชาวอุบลราชธานีทุกหมู่เหล่าต่างน้อมจิตแสดงความจงรักภักดี และน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้.เจ้าหน้าที่ร่วมนายฉาย ทองละมุล, นายรัฐนนท์ บุญญา, นางกรรณิการ์ การกล้า, ว่าที่ร้อยตรีจักรพันธ์ เพ็ญพิมพ์, นายศุภชัย สืบวงศ์
05 ธ.ค. 2563