หมวดหมู่
แท็ก:
ศภ.7 กสอ. ยกระดับผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ เสริมศักยภาพกลุ่มสมุนไพร,ทอผ้า
วันที่ 9 มิถุนายน 2563 ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมติดตามการดำเนินงาน/โครงการพัฒนาศักยภาพและยกระดับผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ณ กลุ่มสมุนไพรบ้านขามป้อม อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี โดยมี คุณวีรวุฒิ สังฆพรม ร่วมถ่ายทอดเทคนิคและวิธีการในการผลิต มาตรฐาน และ ฟืมทอผ้า เทคนิคการกรอเส้นด้าย การขึ้นหัวม้วน ณ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและทอผ้า อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นการบูรณาการเนื้อหาในด้านการบริหาร/พัฒนาการผลิต เพื่อให้ผู้ประกอบการผลิตสินค้าได้มีประสิทธิภาพ เกิดผลิตภาพในการผลิต (Productivity) ลดอัตราการสูญเสียในการผลิต มีต้นทุนการผลิตที่เหมาะสม การบริหารจัดการ เพื่อความเข้าใจในบทบาทและหน้าที่หลัก และสามารถกำหนดกลยุทธ์หลักของแต่ละฝ่ายธุรกิจ อีกทั้งผู้ประกอบการสามารถจัดการองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ การจัดสรรทรัพยากรทางธุรกิจให้เกิดผลลัพธ์ทางธุรกิจได้สูงสุด บริหารผลประกอบการของแต่ละฝ่ายธุรกิจได้ตรงตามเป้าหมาย การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ เพื่อให้ผู้ประกอบการเข้าใจขั้นตอนของการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ สามารถสร้างนวัตกรรม หรือนำเทคโนโลยีมาสร้างนวัตกรรมและสร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ได้
09 มิ.ย. 2563
ศภ.7 กสอ. ส่งเสริมและพัฒนา SME แบบเฉพาะราย
ศภ.7 กสอ. ส่งเสริมและพัฒนา #SME แบบเฉพาะราย.ระหว่างวันที่ 4-5 มิถุนายน 2563 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมติดตามการดำเนินงานการให้คำปรึกษาแนะนำโครงการส่งเสริมและพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ แบบเฉพาะราย ประจำปีงบประมาณ 2563 ในพื้นที่ จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดศรีสะเกษ โดยมีหน่วยร่วมดำเนินโครงการโดย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.เจ้าหน้าที่ร่วมนายสุมิตร ส่งเสริม, นางสาวนราวดี จันทร์จำปา, นางสาวใหม่นภา พุฒพิมพ์, นายศุภชัย สืบวงศ์.☑ กด Like ☑ กด Share ☑ ติดตามข่าวสารผ่าน Page กันนะครับ#ipc7 #dip #ส่งเสริมพัฒนาผู้ประกอบการ#ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่7#กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมอัปเดตและติดตามข่าวสารได้ที่✔ Facebook.com/dip.ipc7✔ Line: @ipc7 (มี @ ด้วยนะครับ)✔ Website: ipc7.dip.go.th
06 มิ.ย. 2563
ศภ.7 กสอ. พัฒนาศักยภาพและยกระดับผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
วันที่ 5 มิถุนายน 2563 ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมติดตามการดำเนินงาน/โครงการพัฒนาศักยภาพและยกระดับผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ณ สมุนไพรนวลอนงค์ อ.เดชอุดม จ.อุบลราชธานี โดยมี คุณวีรวุฒิ สังฆพรม ร่วมถ่ายทอดเทคนิคและวิธีการในการผลิต ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นการบูรณาการเนื้อหาในด้านการบริหาร/พัฒนาการผลิต เพื่อให้ผู้ประกอบการผลิตสินค้าได้มีประสิทธิภาพ เกิดผลิตภาพในการผลิต (Productivity) ลดอัตราการสูญเสียในการผลิต มีต้นทุนการผลิตที่เหมาะสม การบริหารจัดการ เพื่อความเข้าใจในบทบาทและหน้าที่หลัก และสามารถกำหนดกลยุทธ์หลักของแต่ละฝ่ายธุรกิจ อีกทั้งผู้ประกอบการสามารถจัดการองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ การจัดสรรทรัพยากรทางธุรกิจให้เกิดผลลัพธ์ทางธุรกิจได้สูงสุด บริหารผลประกอบการของแต่ละฝ่ายธุรกิจได้ตรงตามเป้าหมาย การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ เพื่อให้ผู้ประกอบการเข้าใจขั้นตอนของการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ สามารถสร้างนวัตกรรม หรือนำเทคโนโลยีมาสร้างนวัตกรรมและสร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ได้.เจ้าหน้าที่ร่วมนางมัณฑนา ทองดวง, นายมิตร แสงกล้า
05 มิ.ย. 2563
ศภ.7 กสอ. เปิดหลักสูตร 18 วัน คพอ. 376 สู่การบริหารธุรกิจแบบมืออาชีพ
โครงการ "พัฒนาผู้ประกอบการสู่การบริหารธุรกิจแบบมืออาชีพ (Smart SME Program)" หรือที่เรารู้จักในชื่อของ..." คพอ . ".... เป็นอีกหนึ่งโครงการของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมให้เกิดผู้ประกอบการรายใหม่ และพัฒนาผู้ประกอบการที่มีอยู่เดิมให้เป็นผู้ประกอบการที่มีประสิทธิภาพ รู้หลักการคิดก่อนการลงทุนหรือขยายกิจการ และสามารถบริหารงานให้สำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้อย่างเป็นระบบ ทำให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในปีนี้ 2563 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จัดเป็น คพอ. รุ่นที่ 376 อำนาจเจริญ หลักสูตร 18 วัน เปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาส ประกอบด้วยกิจกรรมพิเศษ การบรรยาย การอภิปราย การเยี่ยมชมโรงงาน กรณีตัวอย่างและแบบฝึกหัด ฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจ ยุคโควิด-19 ครบเครื่องเรื่องการค้า ในยุค New Normal จากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งจะช่วยให้ผู้เข้ารับการอบรม ได้เรียนรู้หลักวิชาอย่างรวดเร็ว ผู้ประกอบการสามารถสมัครได้ผ่านทางช่องทาง https://bit.ly/3d54uQg คัดเลือกและสัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมฝึกอบรม 25-26 มิถุนายน 2563 ณ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดอำนาจเจริญ ประกาศผล 1 กรกฎาคม 2563 ผ่านเว็บไซต์ ipc7.dip.go.th และ facebook ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 อุบลราชธานี จัดอบรมระหว่างวันที่ 10 กรกฎาคม ถึง 6 มิถุนายน 2563.สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม- คุณหนึ่ง กรุงรัตน์ อยู่คล้ำ ติดต่อ โทร : 08 5495 3432- คุณเก่ง สมเกียรติ จันทร์เพ็ญมงคล ติดต่อ โทร : 08 6246 1388.ระหว่างวันที่ 4-5 มิถุนายน 2563 ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 มอบหมายให้ นายสุริยา โพธิยา ผู้อำนวยการกลุ่มบริการธุรกิจอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ ร่วมแนะนำประชาสัมพันธ์โครงการในพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ ณ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดอำนาจเจริญ, สภาอุตสาหกรรมจังหวัดอำนาจเจริญ หอการค้าจังหวัดอำนาจเจริญ, สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) จังหวัดอำนาจเจริญ, ประธาน คพอ. อำนาจเจริญ, Biz Club เพื่อเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการประชาสัมพันธ์ เชิญชวนผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการฯ .เจ้าหน้าที่ร่วมนายกุศล ภูวภรณ์กุล, นายสมเกียรติ จันทร์เพ็ญมงคล, สิบเอกกรุงรัตน์ อยู่คล้ำ, นางสาวปริทัศน์ เชื้อประทุม
05 มิ.ย. 2563
ศภ.7 กสอ. เสริมแกร่ง NEC ดูงานในพื้นที่ "โรงงาน...เก่า..แต่ Mindset ไม่แก่"
30 พฤษภาคม 2563 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จัดกิจกรรมศึกษาดูงานสร้างแรงบันดาลใจ และสร้างความสัมพันธ์ในการเป็นพันมิตรธุรกิจ ภายใต้โครงการสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการใหม่เชิงสร้างสรรค์และนวัตกรรม ณ โรงงานผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวซุนกี่ โดยคุณวรชาติ ฐิติสมบูรณ์ ที่มุ่งเน้นการผลิตสินค้าที่ถูกสุขลักษณะ เพื่อให้เป็นที่ประทับใจของผู้บริโภคเปิดดำเนินการมายาวนาน และ บริษัท ดีมาฟุดส์ จำกัด โดยคุณสุจิตตา ทองอินทร์ ต้นแบบธุรกิจผู้พลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส โดยรวมกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ที่ต้องการสร้างอาชีพ หันมาแปรรูปสินค้าเกษตรที่ถูกมองข้ามให้กลับมาเป็นสินค้าสร้างรายได้อีกครั้ง ในรูปแบบ ‘หอมเจียวและกระเทียมเจียว’ มีมาตรฐานการผลิตระดับประเทศ ร่วมให้การต้อนรับและแลกเปลี่ยนนำเสนอเทคนิคและวิธีการในการดำเนินธุรกิจบทเรียนจากการเริ่มต้นธุรกิจและการปรับตัวในสถานการณ์ปัจจุบัน ให้สามารถผ่านพ้นวิกฤติไปได้อย่างยั่งยืน
30 พ.ค. 2563
ศภ.7 กสอ. SET คลัสเตอร์อัตลักษณ์ชุมชน "ปั้นให้เข้าใจ" สู่ New Normal
29 พฤษภาคม 2563 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จัดกิจกรรม “ปั้น” คลัสเตอร์อัตลักษณ์ชุมชน New Normal (Community Identity Cluster New Normal : CIC New Normal) ภายใต้การพัฒนาการรวมกลุ่มคลัสเตอร์และเชื่อมโยงเครือข่ายอุตสาหกรรมท่องเที่ยวภายใต้อัตลักษณ์จังหวัด โครงการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมท่องเที่ยว ภายใต้อัตลักษณ์จังหวัด ประจำปีงบประมาณ 2563 ถ่ายทอดผ่านช่องทาง Online ปักหมุด 2 “ปั้นให้เข้าใจ” และมีผู้ประกอบการเข้าร่วมภายในงานตามมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (COVID-19) ซึ่งวันนี้ได้รับเกียรติจาก ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม, นายศรชัย โพธิพิมพ์ ผู้แทนสำนักงานพาณิชย์จังหวัด, นายบูรณเกียรติ เจียงคำ ผู้แทนสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดยโสธร, นายชลวิท อภิรัตน์มนตรี ประธานสมาพันธ์ SMEs จังหวัดอุบลราชธานี , ดร.คมทัศน์ ทัศวา, นายสุทธิสินธุ์ อัครพลโชค และ นายชวพจน์ ศุภสาร ร่วมเป็นวิทยากร แลกเปลี่ยนมุมมอง นำเสนอเทคนิคและวิธีการในการดำเนินธุรกิจในครั้งนี้
29 พ.ค. 2563
ศภ.7 กสอ. สร้างแรงบันดาลใจ NEC สู้พิษ Covid-19
29 พฤษภาคม 2563 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จัดกิจกรรมศึกษาดูงานสร้างแรงบันดาลใจ และสร้างความสัมพันธ์ในการเป็นพันมิตรธุรกิจ ภายใต้โครงการสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการใหม่เชิงสร้างสรรค์และนวัตกรรม ณ ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 และ ห้างหุ้นส่วนจำกัด บ้านไร่รุ้งตะวัน จังหวัดยโสธร โดยมี นายกฤษณะ นอขุนทด ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายสุริยา โพธิยา ผู้อำนวยการกลุ่มบริการธุรกิจอุตสาหกรรม นำคณะเจ้าหน้าที่ฯ ร่วมต้อนรับ
29 พ.ค. 2563
ศภ.7 ลุย ชุมชน "ปั้น" คลัสเตอร์อัตลักษณ์ชุมชน สู่ New Normal สู้พิษ Covid-19
28 พฤษภาคม 2563 ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิด กิจกรรมการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ กิจกรรม “ปั้น” คลัสเตอร์อัตลักษณ์ชุมชน New Normal (Community Identity Cluster New Normal : CIC New Normal) ภายใต้การพัฒนาการรวมกลุ่มคลัสเตอร์และเชื่อมโยงเครือข่ายอุตสาหกรรมท่องเที่ยวภายใต้อัตลักษณ์จังหวัด โครงการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมท่องเที่ยว ภายใต้อัตลักษณ์จังหวัด ประจำปีงบประมาณ 2563 ถ่ายทอดผ่านช่องทาง Online และมีผู้ประกอบการเข้าร่วมภายในงานตามมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (COVID-19) โดยมี นายสุเทพ ทุตา ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมอุตสาหกรรมชุมชน กล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์ของการจัดงาน ซึ่งการพัฒนาการรวมกลุ่มคลัสเตอร์และเชื่อมโยงเครือข่ายอุตสาหกรรมท่องเที่ยวภายใต้อัตลักษณ์จังหวัด หนึ่งในการสร้างคลัสเตอร์ เป็นการพัฒนาสร้างมูลค่าเพิ่มในสินค้าและบริการ การสร้างสินค้าให้ มีอัตลักษณ์ที่ชัดเจน พัฒนาผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน (OTOP) เข้าสู่SMEs 4.0 ซึ่งมีบทบาทในการพัฒนาตามหลัก 3P 1C คือ People (ผู้ประกอบการ และวิสาหกิจชุมชน) Product (ผลิตภัณฑ์) Process (กระบวนการผลิต) และ Cluster (คลัสเตอร์) เพื่อให้เป็นผู้ประกอบการนำองค์ความรู้ ด้านนวัตกรรม ภูมิปัญญา และเทคโนโลยี การสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยกระทรวงอุตสาหกรรมได้บูรณาการการทำงานร่วมกับ กระทรวงมหาดไทย กรมการพัฒนาชุมชน เพื่อพัฒนาในส่วนของบุคลากรผู้ประกอบการชุมชน และประสานงานหน่วยงาน ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาวัตถุดิบ เทคโนโลยี และการตลาด หรือต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ให้ก้าวทัน เทคโนโลยียุคดิจิทัล เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนให้มีศักยภาพและแข่งขันได้ ซึ่งแนวคิดการพัฒนา การรวมกลุ่มคลัสเตอร์และเชื่อมโยงเครือข่ายอุตสาหกรรมท่องเที่ยวภายใต้อัตลักษณ์จังหวัด การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์มาใช้ กับการพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs OTOP วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการรายเดียว ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยใช้หลักการ ของพัฒนาการพัฒนาการรวมกลุ่มคลัสเตอร์และเชื่อมโยงเครือข่ายอุตสาหกรรม พัฒนาผู้ประกอบการและผู้ประสานงาน CDA ให้มีศักยภาพและขีดความสามารถ พัฒนาศักยภาพปัจจัยที่ส่งเสริมศักยภาพ แนวทางจัดการทางการตลาดที่ทันสมัยของ วิสาหกิจชุมชน ใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร ผ่านระบบระบบออนไลน์หรือออฟไลน์สู้ภัยสถานการณ์การระบาดของโรคเชื้อไวรัส โควิด 19 (COVID 2019) สู่ความยั่งยืนเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับวิสาหกิจไทย ด้วยการ”ปั้น”คลัสเตอร์อัตลักษณ์ ชุมชน New Normal (Community Identity Cluster New Normal : CIC New Normal)” ซึ่งวันนี้ได้รับเกียรติ นายชาญยุทธ วันดี พาณิชย์จังหวัดอุบลราชธานี, นายธวัชชัย แก้วดา ผู้แทนสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดอุบลราชธานี, นายชลวิท อภิรัตน์มนตรี ประธานสมาพันธ์ SMEs จังหวัดอุบลราชธานี , ดร.คมทัศน์ ทัศวา, นายสุทธิสินธุ์ อัครพลโชค และ นายชวพจน์ ศุภสาร ร่วมเป็นวิทยากรในครั้งนี้.เจ้าหน้าที่ร่วมนางเปลี่ยน จำปาหอม, นายนฤพนธ์ ทาวะรัตน์, นางสาวอภิชญา มาศรักษา, นายตระกูล อ่อนรัตน์
28 พ.ค. 2563
เสริมศักยภาพพื้นที่อีสานล่าง 2 สู่เกษตรอุตสาหกรรม ภายใต้ BCG Model มุ่งเป้าสู่ความยั่งยืน SDGs สู้พิษ Covid-19
28 พฤษภาคม 2563 ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมประชุมหารือโครงการสร้างศักยภาพพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 (อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร อำนาจเจริญ) สู่เกษตรอุตสาหกรรม ภายใต้ BCG Model และมุ่งเป้าสู่ความยั่งยืน SDGs พัฒนาพื้นที่ให้มีศักยภาพ เกิดการบูรณาการการใช้งานข้อมูล การทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน และเตรียมความพร้อมการจัดทำโครงการเพื่อดำเนินการตามมาตรการแผนฟื้นผู้เศรษฐกิจไทยและสังคม ตาม พ.ร.ก. กู้เงิน เยียวยา และดูแลเศรษฐกิจ จากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (COVID-19) โดยมี หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมจังหวัดอุบลราชธานี นายธวัชชัย แก้วดา ผู้แทนสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดอุบลราชธานี พร้อมด้วย ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดอุบลราชธานี นายนิรามัย เลิศพัฒนสุวรรณ ร่วมเป็นประธานการประชุม มีผู้แทนหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เข้าร่วมประชุม อาทิ ผู้แทนสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดอุบลราชธานี, ผู้แทนสภาอุตสาหกรรมจังหวัดอุบลราชธานี, ผู้แทนโครงการอุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, ผู้แทนสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดอุบลราชธานี, ผู้แทนสำนักงานเกษตรจังหวัดอุบลราชธานี, ผู้แทนสำนักงานพัฒนาที่ดินเขต จังหวัดอุบลราชธานี กรมพัฒนาที่ดิน, ผู้แทนสถาบันพัฒนาที่ดินจังหวัดอุบลราชธานี กรมพัฒนาที่ดิน, ผู้แทนสำนักวิจัย และพัฒนาเกษตรเขตที่ กรมวิชาการเกษตร, ผู้แทนสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร 11 จังหวัดอุบลราชธานี, ประธานหอการค้าจังหวัดอุบลราชธานี, นายกสมาคมการค้าเกษตรอินทรีย์ กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 เข้าร่วมประชุม ณ ชั้น 2 ห้องประชุมอุทยานวิทศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.เจ้าหน้าที่ร่วมนายตระกูล อ่อนรัตน์, นายมิตร แสงกล้า
28 พ.ค. 2563
อุบลฯ ปล่อยคาราวานรถขนส่งสินค้า“เติมสินค้า เติมใจ ห่วงใย สู้ภัยโควิด-19 ครั้งที่ 7 เพื่อให้ประชาชนลดการเดินทางออกจากบ้าน ยับยั้งการแพร่ระบาดโรคติดต่อเชื้อไวรัสโควิด 19
วันที่ 8 พฤษภาคม 2563 ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมพิธีปล่อยรถคาราวานรถขนส่งสินค้า “เติมสินค้า เติมใจ ห่วงใย สู้ภัยโควิด-19” ครั้งที่ 7 โดยมี นายสฤษดิ์ วิฑูรย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เป็นประธาน นำหัวหน้าส่วนราชการร่วมพิธี โดยจังหวัดอุบลราชานี และภาคเอกชน ได้จัดหาไข่ไก่สดเบอร์ 3 จำนวน 800 แผง หรือจำนวน 24,000 ฟอง จำหน่ายต่ำกว่าท้องตลาด แผงละ 10-15 บาท และปลานิลสด จำนวน 600 กิโลกรัม จำหน่ายราคาต่ำกว่าท้องตลาดประมาณกิโลกรัมละ 5-10 บาท สำหรับแผนการขนส่ง คาราวานสินค้าเติมสินค้า เติมใจ ห่วงใย สู้ภัยโควิด-19 ดำเนินการให้ครบทุกอำเภอจังหวัดอุบลราชธานี ในทุกวันอังคาร และวันศุกร์ ซึ่งได้กำหนดแผนระหว่างวันที่ 10 เมษายน – 8 พฤษภาคม 2563 เพื่อให้ประชาชนลดการเดินทางออกจากบ้าน เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโควิด 19 ในระดับหมู่บ้าน และชุมชนในวันนี้ (วันที่ 8 พฤษภาคม 2563) จังหวัดอุบลราชธานีได้ดำเนินการเป็นครั้งที่ 7 ปล่อยคาราวานสินค้าไปยัง 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอวารินชำราบ, อำเภอสว่างวีระวงศ์, อำเภอนาเยีย, อำเภอสำโรง ซึ่งสินค้าประกอบด้วย1. ไข่ไก่สด เบอร์ 3 จำนวน 24,000 ฟอง2. สินค้าประมง (ปลานิลสด) จำนวน 1,000 กิโลกรัม3. ปลานิลแดดเดียว ขนาด 250 กรัม/ถุง จำนวน 100 ถุง
08 พ.ค. 2563