หมวดหมู่
แท็ก:
"ผอ.ละเอียด" นำทีมดีพร้อมเซนเตอร์ 7 จัดกิจกรรมวันรักต้นไม้แห่งชาติ ประจำปี 2565
อุบลราชธานี 26 ตุลาคม 2565 นางละเอียด มธุรส ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM CENTER 7) นำคณะผู้บริหาร นายกฤษณะ นอขุนทด ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรรม, นายฉาย ทองละมุล ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงานภูมิภาค, นายสุเทพ ทุตา ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมอุตสาหกรรมชุมชน, นางละออง ธงสอาด รักษาการผู้อำนวยการกลุ่มบริการธุรกิจอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ พร้อมเจ้าหน้าที่ดีพร้อมเซนเตอร์ 7 (DIPROM CENTER 7) จัดกิจกรรมวันรักต้นไม้แห่งชาติ ประจำปี 2565 ณ บริเวณโดยรอบศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดความรักและหวงแหนทรัพยากรป่าไม้ ให้ความสำคัญบำรุงรักษาต้นไม้ ฟื้นฟูสมดุลของธรรมชาติ บำรุง รดน้ำ ต้นไม้ กำจัดวัชพืช."วันรักต้นไม้แห่งชาติ" หรือ วันรักต้นไม้ประจำปีของชาติ National Annual Tree Care Day ที่ถือกำเนิดขึ้นจากแรงปณิธานของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือ สมเด็จย่า ที่ทรงให้ความสำคัญต่อการบำรุงรักษา ต้นไม้ และต้องการฟื้นฟูความสมดุลของ ธรรมชาติ ให้มากขึ้น โดยทรงปลูกและบำรุง ต้นไม้ ด้วยพระองค์มาโดยตลอดและทรงให้ความสำคัญของการบำรุงรักษา ต้นไม้ที่ปลูก ว่ามีความสำคัญและน่าเป็นห่วงมากกว่าการปลูก.ดังนั้นเพื่อเป็นการแสดงควากตัญญูกตเวทิตาต่อสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีที่ทรงงานพัฒนาชนบทของประเทศไทย โดยเฉพาะการฟื้นฟูความสมดุลของ ธรรมชาติ เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2533 คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการกำหนดให้วันพระราชสมภพของพระองค์คือวันที่ 21 ตุลาคมของทุกปี เป็นวันบำรุงรักษาต้นไม้ประจำปีของชาติ และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการระดมความเห็นจากบุคคลทั่วไป เพื่อเสนอชื่อที่เหมาะสมซึ่งจากการระดมความคิดเห็นปรากฎว่าชื่อที่เหมาะสมคือ "วันรักต้นไม้แห่งชาติ" และได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบแล้วเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2533 เพื่อให้ประชาชนชาวไทย ได้มีโอกาสแสดงความเสียสละแรงกายแรงใจความสามัคคีน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นราชสักการะแด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ด้วยการร่วมกันบำรุงรักษา ต้นไม้ ที่ปลูกไว้ตามสถานที่ต่าง ๆ อันเป็นช่วงปลายฤดูฝนของทุกปี.#DIPROM #ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่7
26 ต.ค. 2565
ดีพร้อมเซนเตอร์ 7 หารือแนวทางบูรณาการ ร่วม คพอ. อำนาจเจริญ เสริมแกร่งผู้ประกอบการ
อุบลราชธานี 26 ตุลาคม 2565 นางละเอียด มธุรส ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM CENTER 7) ร่วมหารือแนวทางบูรณาการทำงานและเพิ่มประสิทธิภาพในการขับเคลื่อนนโยบายการส่งเสริมผู้ประกอบการในพื้นที่ ร่วมกับผู้แทนผู้ประกอบการ นางภัสนารินทร์ ชินภัทรจีรัสถ์ ประธาน คพอ.จังหวัดอำนาจเจริญ.#DIPROM #ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่7
26 ต.ค. 2565
"อุตสาหกรรมรวมใจ ช่วยพี่น้องชาวไทย"
อุบลราชธานี 26 ตุลาคม 2565 นางละเอียด มธุรส ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM CENTER 7) พร้อมด้วย นายฉาย ทองละมุล ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงานภูมิภาค รับมอบสิ่งของบริจาคเพื่อช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนให้กับผู้ประสบอุทกภัยน้ำท่วมในจังหวัดอุบลราชธานี จาก นายชาติศักดิ์ จันทร์สุคนธ์ อุตสาหกรรมจังหวัดยโสธร ภายใต้กิจกรรม "อุตสาหกรรมรวมใจ ช่วยพี่น้องชาวไทย".#DIPROM #ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่7
26 ต.ค. 2565
"ผอ.ละเอียด" ร่วมประชุมคณะกรมการจังหวัดอุบลราชธานี ประจำเดือน ตุลาคม 2565
อุบลราชธานี 26 ตุลาคม 2565 นางละเอียด มธุรส ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM CENTER 7) เข้าร่วมประชุมคณะกรมการจังหวัดอุบลราชธานี ประจำเดือน ตุลาคม 2565 ณ ห้องประชุมพรหมวรราช ชั้น 4 ศาลางกลางจังหวัดอุบลราชธานี โดยมี นายชลธี ยังตรง ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เป็นประธานคณะกรมการจังหวัดอุบลราชธานี หัวหน้าส่วนราชการ หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน จังหวัดอุบลราชธานี และนายอำเภอ ประจำเดือนตุลาคม 2565 เพื่อติดตามผลการดำเนินงาน ปัญหาและอุปสรรคการดำเนินงาน ตามแผนงานโครงการ พร้อมทั้งร่วมหารือและบูรณาการเชิงปฏิบัติการกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง .เจ้าหน้าที่ร่วมนางสาวนิสา แจ่มใส, นายตระกูล อ่อนรัตน์, นายสมชาย เชาว์ประโคน.#DIPROM #ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่7
26 ต.ค. 2565
"อุตสาหกรรมรวมใจ ช่วยพี่น้องชาวไทย"
อุบลราชธานี : 25 ตุลาคม 2565 นางละเอียด มธุรส ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM CENTER 7) มอบหมายให้ นายกฤษณะ นอขุนทด ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรรม, นายฉาย ทองละมุล ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงานภูมิภาค, นางละออง ธงสอาด รักษาการผู้อำนวยการกลุ่มบริการธุรกิจอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ พร้อมเจ้าหน้าที่ดีพร้อมเซนเตอร์ 7 (DIPROM CENTER 7) เป็นผู้แทนรับมอบสิ่งของบริจาคเพื่อช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนให้กับผู้ประสบอุทกภัยน้ำท่วมในจังหวัดอุบลราชธานี จาก นางณัฏฐินา ไชยกาล นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสกลนคร ภายใต้กิจกรรม "อุตสาหกรรมรวมใจ ช่วยพี่น้องชาวไทย".#DIPROM #ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่7
25 ต.ค. 2565
"ผอ.ละเอียด" นำทีมดีพร้อมเซนเตอร์ 7 ร่วมบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เตรียมสตาร์ทโครงการเสริมแกร่งผู้ประกอบการ
อุบลราชธานี 12 ตุลาคม 2565 นางละเอียด มธุรส ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM CENTER 7) นำคณะผู้บริหาร นายกฤษณะ นอขุนทด ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรรม, นายฉาย ทองละมุล ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงานภูมิภาค, นายสุเทพ ทุตา ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมอุตสาหกรรมชุมชน, นางละออง ธงสอาด รักษาการผู้อำนวยการกลุ่มบริการธุรกิจอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ พร้อมเจ้าหน้าที่ดีพร้อมเซนเตอร์ 7 (DIPROM CENTER 7) ร่วมสักการะพระนารายและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ พร้อมวางพวงมาลัยไหว้ศาลพระภูมิประจำศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ณ อาคารอำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 เนื่องในโอกาสเข้ารับตำแหน่ง ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 และเริ่มต้นการดำเนินโครงการกิจกรรม ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และขอให้ผู้ประกอบการในพื้นที่ผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปได้อย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งได้มอบนโยบายการดำเนินโครงการ/กิจกรรม ให้กับทีมดีพร้อมเซนเตอร์ 7 ณ ห้องประชุมผาแต้ม ชั้น 2 อาคารอำนวยการ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 .#DIPROM #ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่7
12 ต.ค. 2565
ดีพร้อมเซนเตอร์ 7 ร่วมประชุมแนวทางการดำเนินงาน'66 ผลักดันผู้ประกอบการสู่ความยั่งยืน
อุบลราชธานี 11 ตุลาคม 2565 ผู้บริหารศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM CENTER 7) นายกฤษณะ นอขุนทด ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรรม, นายฉาย ทองละมุล ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงานภูมิภาค, นายสุเทพ ทุตา ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมอุตสาหกรรมชุมชน, นางละออง ธงสอาด รักษาการผู้อำนวยการกลุ่มบริการธุรกิจอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ พร้อมคณะเจ้าหน้าที่ เข้าร่วมประชุมรายละเอียดโครงการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยมี นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นประธาน.สำหรับในปีงบประมาณ พ.ศ.2566 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม มีโครงการ/กิจกรรม เพื่อขับเคลื่อนภารกิจต่าง ๆ อาทิ การส่งเสริมและสนับสนุนการรับรองมาตรฐานฮาลาล, การยกระดับสินค้าเกษตรสู่เกษตรอุตสาหกรรม,การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจไทยด้วยดิจิทัล, การเร่งการจัดตั้งและขยายธุรกิจของผู้ประกอบการอัจฉริยะ, การพัฒนาและส่งเสริมศัยภาพผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมสู่สากล, การสนับสนุนและพัฒนาปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจ และยังมีโครงการอื่นๆ ที่น่าสนใจที่จะช่วยยกระดับศักยภาพเศรษฐกิจชุมชน เสริมสร้างศักยภาพผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสู่การแข่งขันเศรษฐกิจวิถีใหม่ ได้อย่างยั่งยืน ผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วมโครงการต่างๆ สามารถติดตามข่าวสารได้ทางเพจ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม.#DIPROM #ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่7
11 ต.ค. 2565
MyVitalab เปิดโมเดลสุดเจ๋ง ขายอาหารเสริมแบบ Subscription ตอบโจทย์ลูกค้ายุคใหม่ ใส่ใจสุขภาพ
ช่วงที่ยังอายุน้อยกว่านี้ นาบิฮา ไอมี หญิงสาวชาวมาเลเซียซึ่งทำงานในสายโลจิสติกส์เคยเคลือบแคลงใจเกี่ยวกับคุณประโยชน์ของวิตามินและอาหารเสริม เธอไม่ให้ความสนใจในผลิตภัณฑ์เหล่านี้จนกระทั่งวันหนึ่งเมื่อผลตรวจสุขภาพบ่งชี้ว่าร่างกายเธอขาดวิตามิน นาบิฮาจึงเริ่มดูแลตัวเองด้วยการหาซื้ออาหารเสริมมารับประทาน แต่ปัญหาหนึ่งที่ประสบคือการต้องซื้อเป็นกระปุก หากรับประทานหลายชนิดก็ต้องซื้อหลายกระปุก และเมื่อต้องพกพาไปรับประทานระหว่างเดินทาง ก็ไม่สะดวกเอาเสียเลย ทำให้การรับประทานอาหารเสริมไม่สม่ำเสมอและขาดตอน นาบิฮาพบว่าปัญหานี้หลายคนก็ประสบเช่นกันโดยเฉพาะผู้สูงวัยในบ้านที่หลายครั้งหลงลืมทำให้การรับประทานอาหารเสริมไม่ต่อเนื่อง จากปัญหาตรงนี้ทำให้นาบิฮาคิดทำธุรกิจบริการอาหารเสริมในรูปแบบที่อำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าที่สุด ไอเดียธุรกิจผุดขึ้นช่วงต้นปี 2563 ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มเกิดการระบาดของโควิด-19 ระหว่างที่ศึกษาตลาด ทำวิจัย และหาข้อมูลก็เกิดกระแสผู้คนหันมาดูแลสุขภาพมากขึ้นเพื่อให้รอดจากโควิด นาบิฮาใช้เวลาเกือบ 2 ปีในการตระเตรียมทุกอย่างรวมถึงทีมงานที่ประกอบด้วยแพทย์ เภสัชกร และนักโภชนาการ กระทั่งเดือนพฤศจิกายน 2564 ธุรกิจ “MyVitalab” ก็เปิดตัวและพร้อมให้บริการ MyVitalab ให้บริการวิตามินและอาหารเสริมในรูปแบบสมาชิก (Subscription) โดยบริษัทจะส่งแพ็กเกจวิตามินที่บรรจุมาในซองเล็กๆ ให้ลูกค้าเดือนละกล่อง หนึ่งกล่องบรรจุวิตามิน 30 ซอง ซึ่งเพียงพอต่อการรับประทาน 1 เดือน เบื้องต้นมีอาหารเสริมและวิตามินให้เลือก 2 ชุด ได้แก่ ชุด Vitarepair ราคา 163.90 ริงกิต (1,265 บาท) ประกอบด้วย อาหารเสริมที่มีส่วนผสมของขมิ้น และน้ำมันปลาที่อุดมด้วยกรดไขมันโอเมก้า-3 ช่วยลดการอักเสบในร่างกายและฟื้นความเสียหายของกล้ามเนื้อ ส่วนอีกชุดเป็น Vitamunity ซึ่งเน้นการเพิ่มภูมิต้านทานให้ร่างกายจึงมีวิตามินซีผสมแร่ธาตุสังกะสี วิตามินดี และสารสกัดเมล็ดองุ่น ชุดนี้ราคา 89.90 ริงกิต หรือราว 700 บาท นาบิฮาเล่าว่า อาหารเสริมและวิตามินต่างๆ บริษัทจัดหาจากผู้ผลิตทั่วโลก และทุกตัวผ่านการลงทะเบียนกับกระทรวงสาธารณสุขมาเลเซียในเรื่องความปลอดภัย และผ่านการรับรองตราฮาลาลแล้ว ลูกค้ามุสลิมจึงวางใจได้ นอกจากนั้น เพื่อให้การบรรจุวิตามินลงซองเป็นไปอย่างถูกหลักอนามัย นาบิฮาลงทุนซื้อเครื่องแพ็กยาเกรดเดียวกับที่วงการเภสัชกรรมใช้และเป็นเครื่องที่ผ่านการรับรองจากองค์การอาหารและยาสหรัฐฯ และยุโรป ในส่วนของแพ็กเกจจิ้งหรือซองที่บรรจุวิตามิน นาบิฮาเลือกใช้แพ็กเกจจิ้งที่ใช้เป็นแบบย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม การทำธุรกิจอาหารเสริมและวิตามินแม้จะเป็นตลาดที่ดูสดใสน่าสนใจแต่ผู้บริโภคจำนวนหนึ่งยังมีความเชื่อว่าไม่ใช่สิ่งจำเป็นเพราะคุณค่าทางโภชนาการสามารถหาได้จากอาหารก็พอเพียงแล้ว ในจุดนี้ นาบิฮาอธิบายว่าเจ้าของธุรกิจจึงต้องให้ความรู้แก่ผู้บริโภค เราได้รับสารอาหารจากอาหารที่รับประทานในแต่ละมื้อแต่ละวันก็จริง แต่ร่างกายอาจดูดซึมไปใช้งานได้ไม่เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ ยกตัวอย่าง หากต้องการวิตามินซีจากส้ม ก็อาจจะต้องกินส้มจำนวนมากในคราวเดียวถึงจะเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือแม้ร่างกายสังเคราะห์วิตามินดีได้เองจากการรับแสงแดด แต่กลับพบว่ามีผู้คนขาดวิตามินจำนวนมากเนื่องจากการหลีกเลี่ยงไม่เจอแดด หรือสวมเสื้อผ้ามิดชิดและคลุมผมคลุมหน้าแบบชาวมุสลิม การรับประทานวิตามินเสริมจึงเป็นทางเลือกที่ดี นี่เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการพยายามจะสื่อถึงผู้บริโภค ซึ่งบริการอาหารเสริมและวิตามินแบบรายเดือนสามารถตอบโจทย์ตรงนี้ได้ ทั้งยังประหยัดกว่าเมื่อเทียบกับการซื้อวิตามินเป็นกระปุกหลายกระปุก นาบิฮา ยกตัวอย่างแพ็กเกจ Vitamunity ซึ่งประกอบด้วยวิตามินซี วิตามินดี และสารสกัดเมล็ดองุ่น หากไปหาซื้อเองตามร้าน ต้องซื้อ 3 กระปุกราคาจะแพงกว่าอย่างน้อยก็ 22 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับการสั่งซื้อแพ็กเกจ Vitamunity แม้ MyVitalab จะไม่ใช่เจ้าแรกในตลาดอาหารเสริมและยังมีคู่แข่งอีก 2 ราย เช่น Vitamine และ Vitapac ที่ทำธุรกิจ Supplement Subscription คล้ายๆ กัน แต่นาบิฮาก็ตั้งใจพัฒนา MyVitalab ให้มีบริการที่ดียิ่งขึ้น เช่น เพิ่มชุดผลิตภัณฑ์ให้ลูกค้ามีทางเลือกมากขึ้น และในอนาคตมีแผนจะบริการจัดอาหารเสริมและวิตามินส่วนบุคคลสำหรับลูกค้าแต่ละคน นาบิฮา ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง MyVitalab กล่าวว่าในโลกยุคใหม่ที่การจะดำเนินวิถีชีวิตแบบสุขภาพดีเต็มไปด้วยอุปสรรคมากมาย แต่การบริโภคอาหารเสริมและวิตามินในรูปแบบที่ทันสมัยและสะดวกสบายสามารถช่วยได้ โดยมีข้อแม้ว่าสิ่งหนึ่งที่ต้องทำให้ได้คือความสม่ำเสมอต่อเนื่องในการรักษาระดับสารอาหารต่างๆ ให้เพียงพอตามที่ร่างกายต้องการ การสมัครสมาชิกเพื่อรับอาหารเสริมและวิตามินรายเดือนจึงเป็นคำตอบที่ลงตัว ในมาเลเซีย การมีผู้เล่นหน้าใหม่ผุดขึ้นในตลาดชี้ให้เห็นว่าบริการวิตามินและอาหารเสริมเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพในการเติบโตเนื่องจากสถานการณ์โรคระบาดโควิดทำให้ผู้บริโภคใส่ใจสุขภาพมากขึ้น การสมัครเป็นสมาชิกรับผลิตภัณฑ์ที่ส่งถึงบ้านรายเดือนก็เป็นบริการที่ง่ายและสะดวก และไม่เฉพาะกับลูกค้าผู้ใหญ่หรือผู้สูงวัย แม้กระทั่งคนรุ่นใหม่ที่ทำงานหนักก็หันมาดูแลตัวเองด้วยการรับประทานอาหารเสริมเช่นกัน ที่มา : https://www.smethailandclub.com/startup-techstartup/8077.html
30 มิ.ย. 2565
รู้จักสตาร์ทอัพไทย CareerDemy แพลตฟอร์มช่วยคนตกงาน อัพสกิลให้คว้างานใหม่ได้ผ่านฉลุย
การเปลี่ยนจาก Passion สู่การลงมือทำ Startup ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ จิระนันท์ ปัลณติยารักษ์, ปิตินันท์ ปัญญาศรีวินิจ และจิรัชญา ศรีทักษิณากุล 3 ผู้ร่วมก่อตั้ง CareerDemy ใช้เวลาเพียงไม่กี่เดือนในการสร้าง CareerDemy แพลตฟอร์มการเรียนรู้ที่เพิ่มทักษะและจับคู่งานสำหรับคนตกงาน “ วิกฤตโควิดครั้งนี้ส่งผลให้คนจำนวนมากตกงานแบบกะทันหัน อย่างพี่ชายที่เคยทำงานด้าน Interior Design ในบริษัท ตกงานแบบไม่ทันได้ตั้งตัว เราสัมผัสด้วยตัวเองว่าการที่คนหนึ่งคนตกงาน นอกจากตัวเขาเองที่เครียด ครอบครัวและคนใกล้ตัวก็เครียด กลายเป็น Domino Effect และสร้างปัญหาในวงกว้าง เราเลยสนใจอยากทำอะไรบางอย่างที่ช่วยคนกลุ่มนี้” จิรัชญา เล่า Passion เริ่มต้นที่อยากช่วยกลุ่มคนตกงาน เมื่อกลุ่มเป้าหมายชัด ทีม CareerDemy จึงเริ่มพัฒนาหลักสูตรที่เหมาะกับคนกลุ่มนี้ โดย 3 หลักสูตรแรกเริ่มได้แก่ Entrepreneurship สำหรับคนที่อยากเริ่มธุรกิจ, Digital Marketing สำหรับคนที่อยากเปลี่ยนมาทำงานด้านการตลาดดิจิทัลที่มีความต้องการสูง และ Financial Planning สำหรับคนที่อยากวางแผนทางด้านการเงินระหว่างหางานใหม่ “เราเปิดรับสมัครเพื่อทดลองตลาด เราต้องการพิสูจน์ว่า 3 หลักสูตรที่เราคิดมีคนสนใจตามที่ตั้งสมมุติฐานหรือไม่? หากมีคนสนใจเราก็พัฒนาต่อยอด หากคนไม่สนใจเราจะได้ปรับเปลี่ยนหลักสูตรใหม่ หลังจากที่ CareerDemy เปิดรับสมัครเพียง 24 ชั่วโมง มีคนสมัครหลายร้อยคน เราและทีมรู้ว่าตอนนี้กำลังมาถูกทางแล้ว” จิระนันท์ เล่าวิธีทดสอบไอเดียซึ่งตรงกับทฤษฎี Lean Startup ที่แนะนำให้ทุกคน สร้างสิ่งใหม่ (Build) และนำสิ่งที่สร้างทดสอบเพื่อวัดผลกับกลุ่มเป้าหมาย (Mesure) หลังจากนั้นเรียนรู้จากการทดลอง (Learn) ในวันที่มีแพลตฟอร์ม Learning Online จำนวนมากทั้งของ Startup และองค์กรขนาดใหญ่ CareerDemy มองหาช่องว่างของตลาดและสร้างความแตกต่าง โดยสร้างหลักสูตร Career Bundle ที่คนไม่มีประสบการณ์สามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองจากศูนย์จนสามารถประกอบอาชีพนั้นได้จริง นอกจากนั้นเพื่อเพิ่มโอกาสการจ้างงานให้กับผู้เรียนจึงร่วมมือกับ Adecco เพื่อส่งต่อคนที่เรียนจบหลักสูตรสู่ตลาดการจ้างงานด้วย “จากที่เริ่มต้นจาก 3 คนที่มี Passion วันนี้เราขยายทีมงาน เรามีพาร์ทเนอร์ทั้ง บริษัทจัดหางาน สถานบันการศึกษาที่ร่วมออกแบบหลักสูตร รวมถึงบริษัทพาร์ทเนอร์ต่างๆ เราเริ่มต้นจาก Passion ที่อยากให้โอกาสทุกคนสามารถพัฒนาทักษะและได้รับโอกาสในการทำงาน แต่การเปลี่ยน Passion สู่การลงมือทำและไปต่อจนสำเร็จได้ เราต้องการวินัย การทำงานเป็นทีม และทักษะการบริหารจัดการ” ปิตินันท์ กล่าวทิ้งท้ายสำหรับคนรุ่นใหม่ที่มี Passion และสนใจเริ่มทำ Startup ที่มา : https://www.smethailandclub.com/startup-techstartup/8127.html
29 มิ.ย. 2565
เทรนด์นอนไม่หลับเป็นเหตุ! ส่องกระแส Sleep Tech มาแรง ญี่ปุ่นทุ่มพัฒนานวัตกรรมช่วยนอนหลับ
เป็นที่น่าสังเกตว่าช่วงที่ผ่านมา บริษัทญี่ปุ่นทั้งกลุ่มสตาร์ทอัพและบริษัทที่มีชื่ออยู่แล้วต่างพร้อมใจกันจับธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับ sleep tech หรือเทคโนโลยีที่ช่วยแก้ปัญหาด้านการนอน เช่น การนอนไม่หลับ รวมถึงนวัตกรรมที่ทำให้นอนหลับสบายที่สุด โดยนวัตกรรมที่มีการคิดค้นก็หลากหลายแตกต่างกันไป มีทั้งการพัฒนาเครื่องนอน และชุดนอนที่ทำให้หลับง่ายและสบาย ไปจนถึงการรบรวมข้อมูลแล้ววิเคราะห์เพื่อให้ลูกค้าปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนอน คำว่า “sleep tech” อาจทำให้คนส่วนใหญ่นึกถึงภาพอุปกรณ์ไฮเทคที่สามารถสวมใส่ได้ซึ่งเมื่อเทียบแล้ว บริษัทต่างชาติที่เป็นคู่แข่งบริษัทญี่ปุ่นจะมีความได้เปรียบกว่า เช่น นาฬิกาสมาร์ทวอทช์ของบริษัทแอปเปิล อุปกรณ์ที่ผลิตโดยบริษัทฟิตบิท และอีกหลายบริษัท เช่น บริษัท Dreem ของฝรั่งเศสที่พัฒนอุปกรณ์สวมศีรษะที่ช่วยวัดตำแหน่งศีรษะ อัตราการหายใจ และกิจกรรมของสมองระหว่างนอนหลับที่ได้รับความนิยมในญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม ทาคุโตะ โนโนมุระ หัวหน้าสถาบันวิทยาศาสตร์เพื่อการนอนในโตเกียวกล่าวว่านวัตกรรมเกี่ยวกับการช่วยให้นอนหลับไม่ได้จำกัดแค่เพียงอุปกรณ์ดิจิทัลเท่านั้น ตราบใดที่มีหลักฐานและข้อมูลสนับสนุน อุปกรณ์หรือเครื่องใช้ที่เป็นอนาล็อกก็สามารถยกให้เป็นเทคโนโลยีเกี่ยวกับการนอนได้เช่นกัน นับตั้งแต่ก่อตั้งเมื่อปี 1984 โดยบริษัทผลิตที่นอนนิชิคาว่า สถาบันวิทยาศาสตร์เพื่อการนอนได้วิจัยและศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งเสริมการนอนหลับอย่างมีคุณภาพ เช่น อุณหภูมิ ความสว่าง และท่วงท่าในการนอน ซึ่งงานวิจัยของสถาบันได้นำไปสู่การผลิตที่นอนรุ่น “AiR” ที่ช่วยลดแรงกดทับจากแผ่นหลัง ทำให้รักษาท่านอนที่สบาย ไม่ปวดหลังและไม่ทำร้ายสุขภาพ ขณะเดียวกัน บริษัทสตาร์ทอัพหลายแห่งก็ให้ความสนใจในธุรกิจเกี่ยวกับเครื่องนอนเช่นกัน ยกตัวอย่าง บริษัทเบรน สลีป (Brain Sleep) ในโตเกียวที่วางจำหน่ายหมอนระบายอากาศเมื่อปี 2020 คุณสมบัติของหมอนดังกล่าวคือช่วยระบายความร้อนจากร่างกายขณะนอนหลับนำไปสู่การนอนที่มีคุณภาพ โคสุเกะ มิชิบาตะ ซีอีโอเบรน สลีปเผยว่าบริษัทได้ระดมทุนผ่าน crowdfunding ซึ่งปรากฏว่ามีนักลงทุนให้ความสนใจและให้ทุนสนับสนุนเรียกได้ว่าเกินกว่าที่คาดไว้ “การนอนไม่หลับ นอนไม่พอเป็นปัญหาที่ค่อนข้างรุนแรงในญี่ปุ่น ผลิตภัณฑ์และบริการที่ช่วยแก้ปัญหานอนไม่หลับ นอนแบบไม่มีคุณภาพจึงเป็นที่ต้องการอย่างมากเมื่อเทียบกับหลายประเทศ” ข้อมูลระบุตลาด sleep tech ในญี่ปุ่นแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มหลัก ได้แก่ บริการทางการแพทย์ ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ผลิตภัณฑ์เพื่อการนอนหลับ และอุปกรณ์ดิจิทัล ทั้งนี้ ยานอนหลับถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มบริการทางการแพทย์ ขณะที่เครื่องดื่มและอาหารเสริมที่ช่วยให้นอนหลับจะอยู่ในกลุ่มผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ส่วนสินค้าในกลุ่มนี้ที่แพร่หลายในญี่ปุ่นประกอบด้วยผลิตภัณฑ์หรืออาหารฟังก์ชั่นที่มีสรรพคุณช่วยในการนอนหลับที่ผ่านการรับรองจากหน่วยงานของรัฐแล้ว แม้กระทั่งบริษัทยาคูลท์ ฮอนฉะ ผู้ผลิตเครื่องดื่มนมเปรี้ยวของญี่ปุ่นที่เก่าแก่กว่า 80 ปีก็ร่วมเล่นในตลาดนี้โดยแนะนำเครื่องดื่ม Yakult 1000 ในปี 2019 สิ่งที่แตกต่างจากยาคูลท์ทั่วไปคือการเพิ่มจุลินทรีย์ lactobacillus casei strain Shirota กว่าแสนล้านตัว จุลินทรีย์ที่ว่าบริษัทอ้างว่าช่วยคลายเครียดและทำให้นอนหลับ เบื้องต้นจำหน่ายใน 6 จังหวัด และเพิ่งจำหน่ายทั่วประเทศเมื่อปีที่ผ่านมา โดยช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2021 สามารถทำยอดขาย 1.14 ล้านขวด ซึ่งภายหลังซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านขายยาได้จำหน่ายผลิตภัณฑ์ใกล้เคียงกันนี้แพร่หลายไปหมด ด้านบริษัทไดกิ้น อินดัสตรี้ ผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศรายใหญ่สุดของโลกก็เป็นอีกรายที่ต้องการมีส่วนร่วมในการนอนหลับอย่างมีคุณภาพ บริษัทจึงศึกษาปัจจัยที่ทำให้ตื่นง่ายโดยการใช้เซนเซอร์จับอุณหภูมิที่ติดตั้งบนเพดานเพื่อมอนิเตอร์ใบหน้าของคนขณะนอนหลับ และคอยระบายอากาศให้หมุนเวียนบริเวณใบหน้า พบว่าให้ความรู้สึกเหมือนถูกกล่อมเบา ๆ ส่วนบริษัทพานาโซนิกก็เปิดตัวเครื่องปรับอากาศรุ่น Eolia ที่เชื่อมต่อกับแอปพลิเคชั่นบนบนสมาร์ทโฟน เมื่อวางมือถือใกล้หมอน แอปพลิเคชั่นจะบันทึกข้อมูลว่าผล็อยหลับตอนกี่โมง และพลิกตัวกี่ครั้ง นอกจากนั้น ยังมีเซนเซอร์ข้างเตียงที่วัดอุณหภูมิและความชื้นบริเวณรอบศีรษะและจะทำการปรับอุณหภูมิของเครื่องปรับอากาศให้เหมาะสมโดยอัตโนมัติ และระบบแสงของโคมไฟพานาโซนิกที่ค่อยเพิ่มแสงเพื่อปลุกผู้นอนในตอนเช้าแทนการปลุกด้วยนาฬิกา แม้ญี่ปุ่นจะเป็นรองคู่แข่งจากนอกในด้านสมาร์ทวอทช์ แต่สตาร์ทอัพในประเทศก็พยายามเต็มที่ในการตีตื้นขึ้นมา เช่น บริษัทแอคเซลสตาร์ส (ACCELStars) เทคสตาร์ทอัพจากเมืองคุรุเมะได้ร่วมมือกับทีมนักวิจัยมหาวิทยาลัยโตเกียวพัฒนานาฬิกาอัจฉริยะที่ติดตั้งเทคโนโลยีอัลกอริธึมซึ่งสามารถบอกได้แม่นยำเกี่ยวกับสภาวะการหลับหรือตื่นของผู้สวมใส่ มาซายูกิ อาซาโนะ ผู้บริหารแอคเซลสตาร์สกล่าวว่าการสวมใส่นาฬิกาเรือนนี้จะทำให้สามารถตรวจจับความไม่ปกติในการนอนได้ง่ายและเร็วขึ้น ลัดขั้นตอนในการเข้าสู่กระบวนการบำบัด ซึ่งหากเป็นการตรวจสอบทั่วไปจะซับซ้อนกว่านี้ เช่น ต้องวัดการทำงานของสมอง เป็นต้น แอคเซลสตาร์สมีแผนจะจำหน่ายสมาร์ทวอทช์รุ่นนี้แก่สถาบันการแพทย์ต่าง ๆ และเตรียมเปิดบริการตรวจสอบคุณภาพการนอนในปลายปีหน้าอีกด้วย ก่อนหน้านั้นมีสตาร์ทอัพหลายรายที่เข้ามาให้บริการด้านนี้ อาทิ บริษัทนูโรสเปซที่จัดทำโปรแกรมพัฒนาการนอนให้กับพนักงานในองค์กรต่าง ๆ ลูกค้ารายใหญ่ของนูโรสเปซคือราคูเท็น กรุ๊ป ผู้นำด้านอี-คอมเมิร์ซของญี่ปุ่นที่นำโปรแกรมนี้มาใช้กับพนักงานในบริษัทและพบว่าหลังเข้าโปรแกรม คุณภาพการนอนของพนักงานดีขึ้น ส่งผลให้พนักงานทำงานมีประสิทธิภาพและสร้างรายได้ให้บริษัทเพิ่มขึ้น 120,000 เยนต่อคนต่อปีเลยทีเดียว ข้อมูลองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาหรือ OECD (The Organisation for Economic Co-operation and Development) ระบุภาวะขาดการนอนหลับ หรือการนอนหลับไม่เต็มอิ่มเป็นปัญหาระดับชาติในญี่ปุ่น ประชากรญี่ปุ่นอายุระหว่าง 15-64 ปีนอนหลับเฉลี่ย 7 ชั่วโมง 22 นาทีซึ่งน้อยกว่าที่ OECD กำหนดกว่าชั่วโมง โดยเฉพาะประชากรวัยทำงาน ชั่วโมงการนอนจะยิ่งน้อยลง มีการประเมินว่าภาวะขาดการนอนหลับของประชากรญี่ปุ่นส่งผลต่อความเสียหายทางเศรษฐกิจราว 15 ล้านล้านเยนต่อปี ที่มา : https://www.smethailandclub.com/startup-techstartup/8130.html
28 มิ.ย. 2565