หมวดหมู่
แท็ก:
รีบเลย ❤ กิจกรรมดีๆ เริ่มต้นแล้ว รุ่นละ 60 คนเท่านั้น
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 จ.อุบลราชธานีขอเชิญผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการสู่การเป็น Smart SMEs และ Global SMEs Ready to SME 4.0 Programหลักสูตรเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการเข้าสู่ยุค INDUSTRY 4.0รุ่นที่ 1 วันที่ 1 – 2 ธันวาคม 2561รุ่นที่ 2 วันที่ 15 – 16 ธันวาคม 2561.สถานที่ : ห้องชลลดา ชั้น 2 โรงแรมรีเจ้นท์พาเลซ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานีวิทยากรโดยอัมพิกา สิขัณฑกสมิต (คุณแม่อาย)ผู้เขียนหนังสือ : จากแม่บ้านธรรมดาสู่ซุป'ตาร์ YouTubeเสกสรร เทิดสิริภัทร(เสกสรร ปั้น Youtube)ทำวีดีโอเอง ตัดต่อเอง รวยเอง ด้วย Youtubeสมัครออนไลน์ https://goo.gl/forms/dnyiknFjKueIrEp32 ------------------------------เนื้อหาหลักสูตร------------------------------ วันแรกภาคเช้า08.00 – 08.45 น. ลงทะเบียน08.45 – 09.00 น. พิธีเปิด โดย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 709.00 – 12.00 น. บรรยาย + Workshop โดย : อาจารย์อัมพิกา สิขัณฑกสมิธ (คุณแม่อาย)- เติมแรงบันดาลใจการทำธุรกิจตลาดออนไลน์ 4.0- เทคนิคการทำตลาด Facebook และเพิ่มยอดขายให้ปังดังกว่าเดิมภาคบ่าย13.00 – 16.00 น. บรรยาย + Workshop โดย : อาจารย์เสกสรร เทิดสิริภัทร (เสกสรร ปั้นยูทูบ)“ขายของออนไลน์ให้ยั่งยืนยุค 4.0 ด้วยตัวคนเดียว”- เปรียบเทียบการตลาดในยุคต่างๆ- กลยุทธ์ 5A สำหรับขายสินค้าในยุค 4.0- ข้อดีของสื่อออนไลน์- สื่อออนไลน์ตัวไหน เหมาะกับเรา- ทักษะและเครื่องมือที่จำเป็นในโลกออนไลน์- การหารายได้จากวิดีโอ วันที่ 2ภาคเช้า09.00 – 12.00 น. บรรยาย + Workshop โดย : อาจารย์เสกสรร เทิดสิริภัทร (เสกสรร ปั้นยูทูบ)“ทำคลิปง่าย ๆ ยอดขายพุ่ง”- ทำไมต้องทำวิดีโอ- เป้าหมายการทำวิดีโอของคนขายของออนไลน์- คนซื้อสินค้าออนไลน์จากอะไร- วิดีโอแบบไหน ที่คนเห็นแล้วอยากซื้อสินค้า- เทคนิคการสร้างแบรนด์ด้วยวิดีโอ- 5 เคล็ดลับทำไวรัลคลิป- เขียน Script ทำวิดีโอแบบง่ายๆภาคบ่าย13.00 – 16.00 น. บรรยาย + Workshop โดย : อาจารย์เสกสรร เทิดสิริภัทร (เสกสรร ปั้นยูทูบ)“ทำคลิปง่าย ๆ ยอดขายพุ่ง (ต่อ)”- 12 สิ่งต้องรู้ ก่อนถ่ายวิดีโอ- ถ่ายวิดีโอแบบพูดหน้ากล้อง- ตัดต่อวิดีโอด้วยแอพตัดต่อ- หลักการทำช่อง Youtube- การสมัครและอัพโหลดวิดีโอลง Youtube หมายเหตุ 1. กำหนดการอาจมีการปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม2. การอบรมเป็นลักษณะการบรรยาย + Workshop 3. พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม เวลา 09.45 – 10.00 น. และ 15.15 – 15.30 น. 4. พักรับประทานอาหารกลางวันเวลา 12.00 – 13.00 น.------------------------------ ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 08 9006 1562 คุณพงษ์08 6246 1388 คุณเก่ง08 5495 3432 คุณหนึ่ง สมัครออนไลน์ https://goo.gl/forms/dnyiknFjKueIrEp32 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 ตั้งอยู่ถนนคลังอาวุธ เส้นเดียวกันกับโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ อุบลราชธานี อยู่ฝั่งตรงข้ามกับกองร้อยอาสารักษาดินแดนจังหวัดอุบลราชธานีที่ 1 นะครับ https://ipc7.dip.go.th/ #ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 #กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม #กระทรวงอุตสาหกรรมโทรศัพท์ : 045314217โทรสาร : (045)311987website : https://ipc7.dip.go.th
22 พ.ย. 2561
กระทรวงอุตฯ โชว์ผลสำเร็จการยกระดับเกษตรแปรรูป ปลื้ม SMEs 2,000 ราย ลดต้นทุนได้กว่า 700 ลบ. ยอดขายพุ่งกว่า 1,000 ลบ.
กรุงเทพฯ 22 พฤศจิกายน 2561- นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานและกล่าวปาฐกถาพิเศษในพิธีปิดโครงการ Agro-Industry 4.0 ยกระดับอุตสาหกรรมเกษตร 4.0 ภายใต้ “โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและบริหารธุรกิจ SMEs ในอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป” ในการนี้ นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวรายงาน ร่วมด้วย นายภานุวัฒน์ ตริยางกูรศรี นายจารุพันธุ์ จารโยภาส รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ผู้บริหารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ผู้ประกอบการ และคณะสื่อมวลชน เข้าร่วมงาน ณ โรงแรม เดอะ เบอร์เคลีย์ โฮเต็ล ประตูน้ำ กรุงเทพฯ กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ได้ดำเนินการส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการ SMEsในอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องผ่าน “โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและบริหารธุรกิจ SMEs ในอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป”โดยผลสำเร็จของโครงการฯ นับว่าเป็นไปตามเป้าหมาย สามารถเพิ่มผลิตภาพ หรือ Productivity ให้กับ SMEs ภาคการเกษตรอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องหรือต่อยอดเป็นซัพพลายเชน และอุตสาหกรรมสนับสนุนที่เกี่ยวข้องจำนวน 2,000 กิจการ สามารถสร้างยอดขายเพิ่มขึ้นกว่า 1,000 ล้านบาท ลดต้นทุนการผลิตได้กว่า 700 ล้านบาท ขณะที่การลดของเสียในกระบวนการผลิตลดลงกว่า 200 ล้านบาท รวมสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้กว่า 1,900 ล้านบาท ขณะเดียวกัน กสอ. ยังได้จัดกิจกรรมถ่ายทอดความรู้ตามแนวคิดการเพิ่มผลิตภาพเชิงบูรณาการ ตลอดจนแนะแนวทางการบริหารจัดการภายในองค์กรให้มีการใช้นวัตกรรมใหม่ก้าวทันเทคโนโลยีให้แก่ผู้ประกอบการและบุคลากรในภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องอีกจำนวน 4,000 คน ซึ่งผู้ประกอบการ SMEs ในอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปและอุตสาหกรรม ต่างมีความพร้อมที่จะเร่งปรับตัวและพัฒนาบุคลากร รวมถึงระบบการบริหารจัดการภายในให้มีขีดความสามารถในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 อย่างเข้มแข็ง นอกจากนี้ ภายในงานยังได้จัด “สัมมนา Agro-Industry 4.0” โดยมีการแบ่งปันประสบการณ์จากผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จในการเข้าร่วมโครงการฯ ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิตนมและโยเกิร์ต “แดรี่ โฮม”, โรงงานฟอกหนัง บริษัท ซีพีแอล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และผู้ผลิตแมคคาเดเมียแปรรูป “แมคนัทเลย” พร้อมการบรรยายเทคนิคในการเตรียมพร้อมธุรกิจเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 จากนักสร้างแรงบันดาลใจ และนักการตลาดชื่อดังของเมืองไทยอีกด้วย ### PR.DIP (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน / ภาพข่าว
22 พ.ย. 2561
กระทรวงอุตฯ ลงพื้นที่ชุมชนบางคล้า ดึงเอกชนร่วม Big Brother ชูของดีของเด่นชุมชน ขึ้นแท่นหมู่บ้าน CIV
จ.ฉะเชิงเทรา 21 พฤศจิกายน 2561 - นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมความคืบหน้าและรับฟังการบรรยายสรุปภาพรวมของชุมชนบางคล้า หนึ่งในชุมชนที่ได้รับการคัดเลือกและพัฒนาเป็นหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ หรือ หมู่บ้าน CIV ของกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมด้วย นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายประกอบ วิวิธจินดา รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม รักษาการผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม โดยมี นายประสงค์ คงเคารพธรรม รองผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา กล่าวต้อนรับ และนายวีระกิตติ์ รันทกิจธนวัชร์ อุตสาหกรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา กล่าวสรุปภาพรวมการดำเนินงานโครงการหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ หรือ หมู่บ้าน CIV และนางบุญมี ศรีสุข ประธานหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ชุมชนบางคล้า กล่าวแนะนำภาพรวมของชุมชน ณ ชุมชนบางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา "ชุมชนบางคล้า" ถือเป็นดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยไร่นาและสวนผลไม้ชนิดต่าง ๆ วิถีชีวิตของชาวชมชุนเก่าแก่แห่งนี้มีความเป็นอยู่อย่างสงบ อีกทั้งบางคล้ายังเป็นชื่อที่ตั้งขึ้นมาจากพรรณไม้ชนิดหนึ่งที่เรียกว่าต้นคล้า เอกลักษณ์ที่มีชื่อเสียงมากของชุมชนนี้ โดยเฉพาะผลไม้ เช่น มะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง ขายตึก มันเดือนเก้า แรด เขียวเสวย รวมถึงน้ำตาลสด มะพร้าวน้ำหอม หมวกกุ้ยเล้ย ตลอดจนแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่เชิงเกษตรที่มีสวนมะม่วงอยู่เป็นจำนวนมาก เพื่อจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งยังมีการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ วางจำหน่ายบนห้างสรรพสินค้าชั้นนำและคิงพาวเวอร์ นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งเรียนรู้วิธีการเพาะปลูก ดูแล เก็บเกี่ยวมะม่วง อีกทั้งยังเป็นแหล่งท่องเที่ยววัฒนธรรมต่าง ๆ เช่น วัดปากน้ำโจ้โล้ (วัดสีทอง) วัดพุทธพรหมยาน (วัดเกาะกลางแม่น้ำบางปะกง) อนุสรณ์สถานพระสถูปเจดีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ตลาดน้ำบางคล้า การล่องเรือรอบเกาะลัด ซึ่งทั้งหมดนี้นำมาเชื่อมโยงให้เกิดการท่องเที่ยวในชุมชน ถือเป็นการสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับชาวชุมชนบางคล้าอีกด้วย สำหรับเบื้องต้นชุมชนบางคล้าได้ขอรับการสนับสนุนศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 จ.ชลบุรี และสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา กระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกันบูรณาการผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งเข้าร่วมโครงการ Big brother (พี่เลี้ยงน้อง) จำนวน 8 ราย เพื่อส่งเสริมพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ การสนับสนุนอุปกรณ์กระบวนการผลิต รวมถึงสถานที่ผลิตให้กับผู้ผลิตในชุมชน ตลอดจนประสานกับเกษตรกรในพื้นที่ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวในชุมชน ซึ่งจะเป็นการสร้างงานสร้างรายได้ให้กับชุมชนอีกด้วย PR.DIP (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน /ภาพข่าว
21 พ.ย. 2561
เชื่อมโยงการค้าชายแดน
#เชื่อมโยงการค้าชายแดน วันที่ 19 พ.ย. 61 นางละเอียด ไขศรีมธุรส รักษาราชการแทนผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กล่าวรายงานพิธีเปิดกิจกรรมเชื่อมโยงธุรกิจ โดยมี นายรังสรร บุญสะอาด อุตสาหกรรมจังหวัดอุบลราชธานี เป็นประธาน พร้อมทั้งได้รับเกียรติจากทูตย์พาณิชย์ลาว นางยานี ศรีมีชัย ,พาณิชย์จังหวัดอุบลราชธานี ,นายศักดิ์สิทธิ์ ศรีวิลัย, นายรัฐนนท์ บุญญา และนางสาวจันทร์จิรา เสือโคร่ง รวมทั้งผู้ประกอบการ SMEs ไทย จำนวน 50 กิจการ และผู้ประกอบการ สปป.ลาว เข้าร่วมงาน ณ ภัตตาคารเฟื่องฟ้า โรงแรมละอองดาว เวียงจันทน์ และระหว่างวันที่ 20-21 พ.ย.61 นายรัฐนนท์ บุญญา และนางสาวจันทร์จิรา เสือโคร่ง เข้าร่วมกิจกรรมแสดงและจำหน่ายสินค้า ภายใต้โครงการเชื่อมโยงการค้าชายแดนสู่ Industry 4.0 ณ ศูนย์การค้าเวียงจันทน์ เซ็นเตอร์ เวียงจันทน์ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 ตั้งอยู่ถนนคลังอาวุธ เส้นเดียวกันกับโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ อุบลราชธานี อยู่ฝั่งตรงข้ามกับกองร้อยอาสารักษาดินแดนจังหวัดอุบลราชธานีที่ 1 นะครับ https://ipc7.dip.go.th/ #ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 #กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม #กระทรวงอุตสาหกรรมโทรศัพท์ : 045314217โทรสาร : (045)311987website : https://ipc7.dip.go.th
20 พ.ย. 2561
ศภ.7 ร่วมจัดงานเชื่อมโยงการค้าชายแดน ณ สปป.ลาว
#เชื่อมโยงการค้าชายแดน วันที่ 19 พ.ย. 61 นางละเอียด ไขศรีมธุรส รักษาราชการแทนผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กล่าวรายงานพิธีเปิดกิจกรรมเชื่อมโยงธุรกิจ โดยมี นายรังสรร บุญสะอาด อุตสาหกรรมจังหวัดอุบลราชธานี เป็นประธาน พร้อมทั้งได้รับเกียรติจากทูตย์พาณิชย์ลาว นางยานี ศรีมีชัย ,พาณิชย์จังหวัดอุบลราชธานี ,นายศักดิ์สิทธิ์ ศรีวิลัย, นายรัฐนนท์ บุญญา และนางสาวจันทร์จิรา เสือโคร่ง รวมทั้งผู้ประกอบการ SMEs ไทย จำนวน 50 กิจการ และผู้ประกอบการ สปป.ลาว เข้าร่วมงาน ณ ภัตตาคารเฟื่องฟ้า โรงแรมละอองดาว เวียงจันทน์ และระหว่างวันที่ 20-21 พ.ย.61 นายรัฐนนท์ บุญญา และนางสาวจันทร์จิรา เสือโคร่ง เข้าร่วมกิจกรรมแสดงและจำหน่ายสินค้า ภายใต้โครงการเชื่อมโยงการค้าชายแดนสู่ Industry 4.0 ณ ศูนย์การค้าเวียงจันทน์ เซ็นเตอร์ เวียงจันทน์ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 ตั้งอยู่ถนนคลังอาวุธ เส้นเดียวกันกับโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ อุบลราชธานี อยู่ฝั่งตรงข้ามกับกองร้อยอาสารักษาดินแดนจังหวัดอุบลราชธานีที่ 1 นะครับ https://ipc7.dip.go.th/ #ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 #กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม #กระทรวงอุตสาหกรรมโทรศัพท์ : 045314217โทรสาร : (045)311987website : https://ipc7.dip.go.th
20 พ.ย. 2561
“อธิบดีกอบชัย” รุดเดินหน้าเชื่อมสัมพันธ์ ไทย-ญี่ปุ่น หวังยกระดับผู้ประกอบการ SMEs 2 ประเทศ
ประเทศญี่ปุ่น 19 พฤศจิกายน 2561 - นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้เข้าเยี่ยมคารวะผู้ว่าราชการจังหวัดยะมะนะชิ ประเทศญี่ปุ่น (Mr.Hitoshi Goto – ฮิโตชิ โกะโตะ) เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์อันดีระหว่างกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมกับจังหวัดยะมะนะชิ หลังจากที่มีการลงนามความร่วมมือในการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2556 ซึ่งตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา ไทยและจังหวัดยะมะนะชิ ยังคงมีความร่วมมือกันอย่างดีมาตลอด เช่น การจับคู่ธุรกิจ การแลกเปลี่ยนผู้ประกอบการเข้าร่วมงานแสดงเทคโนโลยีอุตสาหการของทั้งสองฝ่าย การศึกษาดูงาน เป็นต้น จากนั้น อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมและคณะฯ ได้เดินทางเข้าศึกษาดูงานด้านอัญมนีและการผลิตไวน์ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมการผลิตที่มีชื่อเสียงของจังหวัดยะมะนะชิ ณ พิพิธภัณฑ์จิเวลลี่ (Yamanashi Gem Museum) และศูนย์ยะมะนะชิเทคโนโลยีอุตสาหการ (Yamanashi Industrial Technology Center) สำหรับประเทศญี่ปุ่น นับเป็นประเทศคู่ค้าสำคัญและมีการลงทุนสูง โดยมีธุรกิจญี่ปุ่นกว่า 7,000 ราย ที่เข้ามาดำเนินธุรกิจในไทย และเป็นฐานการผลิตที่เชื่อมโยงกับภูมิภาคใกล้เคียง ถือเป็นประเทศที่มีปริมาณเงินลงทุนในการยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนสูงที่สุดคิดเป็นร้อยละ 47 ของมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมด ปัจจุบันมีบริษัทจากจังหวัดยะมะนะชิ ได้ให้ความไว้วางใจมาตั้งบริษัทในไทยแล้วจำนวน 15 บริษัท ### PR.DIP (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน /ภาพข่าว
19 พ.ย. 2561