Category
ดีพร้อมเซนเตอร์ 7 เสริมแกร่ง SMEs ปรับกลยุทธ์ จัดการข้อมูลด้วยระบบดิจิทัล
17 มิถุนายน 2565 ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM CENTER 7) มอบหมายให้ นายกฤษณะ นอขุนทด ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรม ร่วมลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงาน ในกิจกรรมการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจไทยด้วยดิจิทัล ปีงบประมาณ พ.ศ.2565 ณ สถานประกอบการ อาทิ ร้านหมูยอแม่เสถียร, บริษัท เดอะกู๊ด คอมเมิร์ซ จำกัด, บริษัท ตั้งใจ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถบริหารจัดการ วางแผนการจัดซื้อวัตถุดิบให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า สามารถวิเคราะห์ต้นทุนการดำเนินกิจการเพื่อหาแนวทางปรับปรุงแก้ไข รวมทั้งนำไปสู่การประเมิลผลการปฏิบัติงานของพนักงานในองค์กรได้อย่างเป็นรูปธรรม . เจ้าหน้าที่ นายรัฐนนท์ บุญญา, นายพิจิตต์ จอมหงษ์ , นายตระกูล อ่อนรัตน์, นายจิตติ โสบุญ . #DIPROM #ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่7
22 มิ.ย. 2022
ZORT หยิบ Pain point ของคนขายออนไลน์มาสร้างรายได้ด้วยแพลตฟอร์มจัดการออเดอร์&สต๊อก
เมื่อการซื้อขายออนไลน์เติบโตอย่างมาก ระบบการจัดการร้านค้าออร์เดอร์และสต็อกออนไลน์จึงยิ่งมีบทบาทสำคัญ และนี่จึงทำให้ ZORT ซึ่งเริ่มต้นจากเห็นปัญหาของผู้ประกอบการในการจัดการสต็อกสินค้าเมื่อ 6ปีที่แล้วที่ไม่มีระบบการจัดการที่ดีมารองรับ ได้พัฒนากลายมาเป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยเพิ่ม Ecosystem ให้กับร้านค้าออนไลน์ทำงานด้านบริหารจัดการได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพมากขึ้น สวภพ ท้วมแสง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซอร์ทเอาท์ จำกัด (ZORT) เล่าว่า “ZORT เกิดขึ้นจากการเห็นปัญหาของธุรกิจทั้งออนไลน์และออฟฟไลน์ โดยหวังว่าจะมาปิดจุดอ่อนของผู้ประกอบการที่มีการเปิดร้านค้าผ่านหลายแพลตฟอร์ม เช่น Lazada, Shopee, JD central, Facebook หรือ Line เป็นต้น ซึ่งทำให้ไม่สามารถบริหารจัดการออร์เดอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ZORT จึงรวบรวมการขายของจากหน้าร้านทุกแพลตฟอร์มและหน้าร้านแบบออฟไลน์มาไว้ที่เดียว ทั้งระบบจัดการคลังสินค้า จัดการออเดอร์ จัดการสต๊อก จัดการขนส่ง จัดการระบบรับชำระเงิน (Payment Gateway) รวมถึงฟีเจอร์ส่งเสริมการขายจำนวนมาก” สวภพ เล่าให้ฟังเพิ่มเติมว่า ZORT เป็นแพลตฟอร์มบริหารจัดการออร์เดอร์และสต๊อกครบวงจร พัฒนาจากความคิดเห็นของผู้ใช้งานจริงและการวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้า (Data Analysis) เพื่อต่อยอดพัฒนาการขายได้อย่างมีประสิทธิภาพให้สอดคล้องกับพันธกิจของบริษัทที่ต้องการสนับสนุนการเติบโตของลูกค้า เนื่องจากสามารถทราบถึงต้นทุนจากการขาย วิเคราะห์แนวโน้มกำไร เรียกดูข้อมูลย้อนหลังเกี่ยวกับสถิติการขายของเจ้าของร้าน เช่น รายการสินค้าที่สร้างยอดขายได้ดี และรายการสินค้าที่ไม่ได้รับความนิยมได้อย่างมีประสิทธิภาพ “เราตั้งใจที่จะเป็นสะพานให้ทั้งธุรกิจเล็กและใหญ่ สามารถเติบโตได้โดยอาศัยเทคโนโลยีที่เราพัฒนาขึ้นมา สิ่งสำคัญ ลูกค้าสามารถเห็นภาพรวมต่างๆ จากระบบได้เลย ทำให้สามารถตัดสินใจได้ถูกทิศทางมากขึ้น ปัจจุบันเราให้บริการร้านค้ากว่า 3,000 ร้านค้า สิ่งสำคัญคือช่วยธุรกิจลูกค้าให้สามารถเติบโตได้มากกว่า 30เปอร์เซ็นต์ และสามารถช่วยลดต้นทุนทางธุรกิจได้มากกว่า 30 เปอร์เซ็นต์” สำหรับเป้าหมายทางธุรกิจนั้น สวภพ บอกว่า ปี 2565 เขาตั้งเป้าหมายที่จะมีลูกค้าเพิ่มขึ้นเป็น 6,000 ร้านค้ รวมถึงตั้งเป้าหมายระดับ 3 ปี จะสามารถขยายฐานลูกค้าไปถึง 18,000 ร้านค้า ซึ่งล่าสุด ZORT ได้รับการสนับสนุนด้านการเงินจาก บริษัท กรุงศรี ฟินโนเวต จำกัด และ บริษัท บัซซี่บีส์ จำกัด และนักลงทุนอิสระ ในการเพิ่มทุนระดับ Series A โดยการระดมทุนครั้งนี้จะทำให้ ZORT ได้รับเงินทุน 55 ล้านบาท ซึ่งเพียงพอให้พัฒนาฟีเจอร์ใหม่ๆ รวมถึงการบุกตลาดอาเซียนในอนาคต ที่มา : www.smethailandclub.com https://www.smethailandclub.com/startup-techstartup/8092.html
21 มิ.ย. 2022
ดีพร้อมเซนเตอร์ 7 แลกเปลี่ยนกลยุทธ์ SMEs ปรับธุรกิจให้รองรับการเปลี่ยนแปลง
อุบลราชธานี วันที่ 21 มิถุนายน 2565 ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM CENTER 7) ให้เกียรติเป็นประธานเปิดสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสรุปความสำเร็จโครงการ ในกิจกรรม "การให้คำปรึกษาแนะนำเพื่อพัฒนาศักยภาพ SMEs ให้รองรับการเปลี่ยนแปลง" ณ โรงแรมยูเพลส มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กล่าวรายงานโดย นายกฤษณะ นอขุนทด ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรม สำหรับกิจกรรมในวันนี้ มีการบรรยายแนวทางการการนำ Business Model Canvas ไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจ โดยเน้นการปรับกลยุทธ์วางแผน ทิศทางของธุรกิจให้ รองรับการเปลี่ยนแปลง SMEs ควรที่จะต้องเรียนรู้และหาแนวทางการต่อยอดธุรกิจ ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน เช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การปรับเปลี่ยนธุรกิจให้ก้าวเข้าสู่ Digital Transforms รวมทั้งการประยุกต์ใช้เทคโนโลนีสื่ออนไลน์กับโมเดลธุรกิจใหม่ สำหรับกิจการ อาทิ ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร, ผลิตภัณฑ์จากจิ้งหรีด, ผลิตภัณฑ์น้ำจิ้มหมูกระทะ, ผลิตภัณฑ์ปลาส้ม, ผลิตภัณฑ์ไม้สัพและแพลน์ปูน . เจ้าหน้าที่ร่วมจัดกิจกรรม นายสุมิตร ส่งเสริม, นางใหม่นภา ไพศาลเสถียรวงค์, นายตระกูล อ่อนรัตน์, นายมิตร แสงกล้า . #DIPROM #ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่7
21 มิ.ย. 2022
สตาร์ทอัพมาเลย์ชูซองพัสดุย่อยสลายได้แก้ปัญหาพลาสติกจากธุรกิจออนไลน์ล้น
กระแสอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโลกด้วยการลดละพลาสติกย่อยสลายยากมีมานานแล้ว บริษัทและองค์กรทั้งหลายต่างพัฒนานวัตกรรมที่ทำให้เกิดบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อธรรมชาติ แต่การเติบโตของธุรกิจอี-คอมเมิร์ซและการเกิดขึ้นของแพลทฟอร์มออนไลน์จำนวนมากทำให้เกิดปัญหาขยะพลาสติกจากพัสดุที่คนขายจัดส่งให้ลูกค้า ด้วยเล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว Startachi สตาร์ทอัพมาเลเซียที่ก่อตั้งโดยเทวา คุณาสันตาร์ และญาติอีก 2 คนได้แก่ วิโนดและปูนิธาได้แนะนำซองพัสดุพลาสติกที่ฝังดินแล้วสามารถย่อยสลายได้ใน 6 เดือน ซองพัสดุย่อยสลายได้ดังกล่าววางจำหน่ายภายใต้แบรนด์ StartPack เป็นซองที่ผลิตโดยใช้วัสดุจากพืชที่คล้ายแป้งข้าวโพดและมีส่วนผสมของ PBAT (Polybutylate Adipate Terephthalate) ซึ่งเป็นโคพอลิเมอร์แบบสุ่มที่สามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ คำแนะนำคือเมื่อใช้งานแล้วให้ตัดซองพัสดุ StartPack เป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วฝังดินหรือใส่ในถังขยะที่ใช้ทิ้งเศษอาหาร หรือขยะอินทรีย์เพื่อให้กลายเป็นปุ๋ยหมัก หากทิ้งรวมกับขยะอื่น ๆ ในที่ทิ้งขยะทั่วไปก็ทำได้แต่จะใช้เวลาในการย่อยสลายนานขึ้น อาจจะ 2-3 ปี แต่ก็ยังถือว่าเร็วกว่าพลาสติกที่ย่อยสลายยากหรือไม่ย่อยสลายเลย บรรจุภัณฑ์เป็นมิตรต่อธรรมชาติฟังดูเป็นแนวคิดที่ดีต่อทั้งผู้บริโภคและเจ้าของธุรกิจ อย่างไรก็ตาม อุปสรรคอย่างหนึ่งคือการต้องแลกกับต้นทุนที่สูงขึ้นซึ่งผู้ประกอบการอาจไม่ยินดีที่ลงทุนในส่วนนี้นัก เจ้าของผลิตภัณฑ์อาจต้องโน้มน้าวให้ผู้ประกอบการคล้อยตามและหันมาใช้บรรจุภัณฑ์รักษ์โลกเหล่านี้ โดยเฉพาะบรรจุภัณฑ์ที่มีข้อจำกัดต่าง ๆ อย่างซองพัสดุ StartPack เองก็มีข้อจำกัด เช่น การผลิตจากวัสดุที่ย่อยสลายได้ทำให้มีอายุใช้งาน 10-12 เดือน และต้องจัดเก็บในที่ไม่ร้อน และไม่โดนแสง นอกจากนั้น เบื้องต้น ซองพัสดุ StartPack มีให้เลือก 2 ขนาดได้แก่ขนาดมาตรฐาน 260 x 385 มม. และขนาด M 260 x 385 มม. ซึ่งสามารถบรรจุสิ่งของที่มีน้ำหนักไม่เกิน 1.5 กิโลกรัม ส่วนราคานั้นก็สูงเอาการ StartPack ขนาด M 1 แพ็คจำนวน 50 ซอง จำหน่ายในราคา 59 ริงกิตหรือราว 470 บาทเทียบกับซองพัสดุพลาสติกทั่วไปขนาดเดียวกัน ปริมาณเท่ากัน ราคาแค่ 11 ริงกิต หรือประมาณ 88 บาทเท่านั้น เทวาซึ่งเป็นผู้บริหาร Startachi อธิบายว่าซองพลาสติกทั่วไปสามารถจำหน่ายในราคาถูกกว่าเนื่องจากเป็นที่ต้องการมากในตลาด และการผลิตปริมาณมากก็ทำให้ราคาถูกลงด้วย ต่างจากบรรจุภัณฑ์ย่อยสลายได้ที่ยังใช้งานไม่แพร่หลายนัก ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงกว่า แต่เทวาเชื่อว่าหากบริษัทใหญ่ ๆ เปลี่ยนมาใช้บรรจุภัณฑ์แบบยั่งยืนมากขึ้น ราคาก็จะลดลงจนเกือบเท่าพลาสติกทั่วไป นับตั้งแต่เปิดตัวเมื่อเดือนกพ. 2021 ลูกค้าของ Startachi โดยมากเป็นผู้ขายสินค้าออนไลน์รายย่อยในอินสตาแกรม เฟสบุ๊ก หรือ Etsy แต่เทวามีแผนจะประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ของบริษัทให้เป็นที่รู้จักในกลุ่มธุรกิจหรือองค์กรที่ใหญ่ขึ้นโดยการชูประเด็นปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ และผลกระทบจากการพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งอันเป็นปัญหาที่ถูกมองข้ามในมาเลเซีย การประชาสัมพันธ์ดังกล่าวจะทำผ่านบรรดาอินฟลูเอนเซอร์บนแพลทฟอร์มต่าง ๆ เทวาซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ริเริ่มสตาร์ทอัพ Startachi สนใจสิ่งแวดล้อมมาตั้งแต่เด็ก เริ่มต้นจากการถูกปลูกฝังให้ทิ้งขยะเป็นที่เป็นทาง หลังเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย เธอก็ยิ่งสนใจประเด็นสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และได้อ่านบทความหรือข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศจนนำไปสู่ความตั้งใจที่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปี 2019 เทวาและน้องชายได้รังสรรค์ผลิตภัณฑ์ปลอดขยะขึ้นมา ได้แก่ ฟองน้ำล้างจานที่ทำจากใยของกาบมะพร้าว และได้นำไปวางขายตามร้าน zero waste หรือร้านที่มีแนวคิดในการลดขยะเป็นศูนย์ กระทั่งเทวาได้ไปช่วยงานพี่สาวในการแพ็คสินค้าที่เป็นงานศิลปะเพื่อจัดส่งให้ลูกค้า เธอพบว่าพลาสติกกันกระแทกถูกนำมาใช้เยอะมากในการห่อสินค้าแต่ละชิ้น ทำให้เกิดคำถามตามมาว่านี่ขนาดร้านของพี่สาวร้านเดียวยังใช้พลาสติกเยอะขนาดนี้ ถ้ารวมกับร้านอื่น ๆ พลาสติกจากพัสดุคงถูกทิ้งในปริมาณมหาศาล เมื่อบวกกับการได้อ่านข้อมูลว่าชาวมาเลเซียผลิตขยะพลาสติกมากสุดในเอเชีย ทำให้เธอกังวล และเกิดแรงบันดาลใจที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่โดยการผลิตซองพัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หลังจากศึกษาข้อมูลนานนับปี ทีมงาน Startachi ก็หาแหล่งผลิตได้เป็นโรงงานในออสเตรเลีย และมีแผนจะเปลี่ยนมาทำงานร่วมกับโรงงานในมาเลเซีย โดยขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการเจรจา แต่ระหว่างนี้ เป้าหมายแรกที่เทวาต้องการบรรลุคือการรณรงค์ให้ธุรกิจต่าง ๆ และผู้ค้าออนไลน์ได้เปลี่ยนจากซองพลาสติกแบบเดิมเป็นซองพัสดุย่อยสลายได้ แม้จะต้องใช้เวลา แต่ในอนาคตถ้ามีผู้ใช้ซองพัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นก็ถือว่าคุ้มค่า ที่มา : https://vulcanpost.com/736775/startpack-eco-friendly-e-commerce-parcel-packaging-malaysia/ https://www.smethailandclub.com/startup-techstartup/7755.html
20 มิ.ย. 2022
ทะยานสู่ยูนิคอร์น! Darwinbox แพลตฟอร์ม HR ที่ให้บริการยูนิคอร์นกว่า 30 แห่งทั่วเอเชีย
เอสซีบี เท็นเอกซ์ (SCB 10X) เดินหน้าลงทุนในบริษัทเทคโนโลยี และสตาร์ทอัพที่มีศักยภาพทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดประกาศร่วมลงทุนต่อเนื่องใน Series D ใน “Darwinbox” แพลตฟอร์มที่นำเทคโนโลยีระบบคลาวด์เบส (cloud-based) ในรูปแบบ HR SaaS (Software as a Service) มาใช้ในการให้บริหารจัดการทรัพยากรบุคคลให้กับองค์กรอย่างครบวงจร ร่วมกับกลุ่มนักลงทุนชั้นนำระดับโลก นำโดย Technology Crossover Ventures (TCV) พร้อมด้วยนักลงทุนที่ลงทุนต่อเนื่องจากรอบที่แล้ว อาทิ Salesforce Ventures, Sequoia India, Lightspeed India, 3One4Capital และ JGDev ทำให้มูลค่าเงินระดมทุนทั้งหมดจากการระดมทุนทุกรอบรวมกันมากกว่า 110 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยการระดมทุนใน ครั้งนี้จะนำไปใช้ในการพัฒนาแพลตฟอร์ม เสริมความแข็งแกร่งให้กับการบริการ รวมถึงขยายทีมงานเตรียมความพร้อมสู่การเป็นผู้นำในตลาดเอเชีย ส่งผลให้ตอนนี้มูลค่าบริษัทพุ่งทะยานกว่า 1 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ก้าวขึ้นเป็นสตาร์ทอัพยูนิคอร์นตัวล่าสุด นับตั้งแต่การระดมทุนรอบก่อนซึ่งนำโดย Salesforce Ventures เมื่อ 1 ปีที่ผ่านมา บริษัทมีการเติบโตกว่า 300% ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในประเทศไทย มุขยา พานิช Chief Venture and Investment Officer บริษัท เอสซีบี เท็นเอกซ์ จำกัด (SCB 10X) กล่าวว่า “ตั้งแต่ SCB 10X ได้ร่วมลงทุนในรอบ Series C ของ Darwinbox ร่วมกับนักลงทุนชั้นนำระดับโลกเมื่อปี 2564 ที่ผ่านมา Darwinbox ได้แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการดึงดูดลูกค้าเข้ามาใช้บริการกับแพลตฟอร์มที่เพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากลูกค้า นอกจากนี้ผลการดำเนินงานของบริษัทก็อยู่ในเกณฑ์ที่ยอดเยี่ยม SCB 10X จึงรู้สึกตื่นเต้นเป็นอย่างมากที่จะได้ร่วมสนับสนุน Darwinbox ต่อเนื่องในSeries D เพื่อนำเทคโนโลยีอันทันสมัยด้านการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล มาช่วยให้องค์กรต่าง ๆ รับมือกับการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีได้อย่างทันท่วงที” Darwinbox ก่อตั้งเมื่อปลายปีพ.ศ. 2558 เป็นแพลตฟอร์มด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล (Human Capital Management หรือ HCM) ที่มีการนำเทคโนโลยีทางด้านการเงินมาเป็นส่วนเพิ่มเพื่อช่วยให้องค์กรสามารถบริหารจัดการข้อมูลที่สำคัญของพนักงานได้รอบด้านผ่านมือถือสมาร์ทโฟน ซึ่งครอบคลุมทุกความต้องการด้าน HR ตั้งแต่ Recruitment, Rewards & Recognition, Employee Engagement, Employee Financial และสวัสดิการ สามารถเชื่อมโยงกับ application อื่นๆ เพื่อตอบโจทย์การใช้งานขององค์กรและพนักงาน เช่น เชื่อมโยงกับ application ประกันสุขภาพ รวมถึง People Analytics เป็นต้น ขณะนี้ Darwinbox ให้บริการด้าน HR ในรูปแบบดิจิทัลแก่พนักงานกว่า 1.5 ล้านคน ในองค์กรกว่า 650 แห่งทั่วโลก โดยมีแบรนด์ชั้นนำระดับโลกที่มีสำนักงานในภูมิภาคเอเชียใช้บริการ เช่น Starbucks, Dominos, Sephora, AXA, Tokio และ Cigna รวมถึงบริษัทขนาดใหญ่ ได้แก่ JG Summit Holdings, Indorama, Salim, Djarum และ Century Pacific Groups อีกทั้งยังให้บริการแก่บริษัทยูนิคอร์นทั่วเอเชียกว่า 30 แห่ง เช่น Tokopedia, Zalora, Zilingo, Carousell และ Kopi Kenangan นอกจากนี้ Darwinbox ยังได้เริ่มให้บริการแก่องค์กรชั้นนำในประเทศไทยแล้ว ได้แก่ SCB 10X, Harrow International School, Bitkub เป็นต้น Darwinbox ถือเป็นบริษัทที่มีอายุน้อยที่สุดและเป็นบริษัทเดียวในเอเชียที่ให้บริการด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลกับองค์กรที่มีพนักงานมากกว่า 1000 คน อีกทั้งยังได้คะแนนสูงสุด (4.8 คะแนน) จากการรีวิวของลูกค้าบนแพลตฟอร์ม Gartner’s Peer insights นำบริษัทผู้ให้บริการรายใหญ่ อย่าง SAP, Oracle และ Workday เจสสิก้า นีล (Jessica Neal) Venture Partner บริษัท Technology Crossover Ventures (TCV) เป็นบริษัทบริหารจัดการลงทุน Venture Capital ที่มีชื่อเสียงจากการลงทุนในบริษัทเทคโนโลยี อย่างเช่น Facebook, Spotify, Airbnb, GoDaddy, Netflix and Zillow และเป็นอดีต Chief Human Resources Officer (CHRO) บริษัท Netflix กล่าวว่า “เนื่องจากรูปแบบการทำงานในแต่ละองค์กรได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในช่วงที่ผ่านมา Darwinbox ได้แสดงให้เห็นถึงความสามารถในพัฒนาแพลตฟอร์มด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลที่ใช้งานง่าย มีความเข้าใจลูกค้า และสามารถปรับเปลี่ยนตามการใช้งานของลูกค้า ทำให้ Darwinbox กลายเป็นแพลตฟอร์มด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลที่บริษัทชั้นนำเลือกใช้ TCV จึงรู้สึกตื่นเต้นเป็นอย่างยิ่งที่จะสนับสนุน Darwinbox ให้เป็นผู้นำในการให้บริการแพลตฟอร์ม HCM แห่งหนึ่งของโลก” จายันท์ พาเลตี (Jayant Paleti) ผู้ร่วมก่อตั้ง Darwinbox กล่าวว่า “ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีศักยภาพในการปรับตัวสูงในการรับเทคโนโลยีใหม่ๆมาใช้ในการทำงาน ด้วยจำนวนการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่สูงและคนทำงานรุ่นใหม่ที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี ทำให้เราได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากลูกค้าผู้ใช้งานในประเทศไทย และเนื่องด้วยการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจาก SCB 10X และ TCV เรารู้สึกตื่นเต้นเป็นอย่างยิ่งที่จะนำเสนอนวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการบริการทรัพยากรบุคคลให้กับองค์กรต่าง ๆ ในประเทศไทย โดยเราจะเดินหน้าอย่างจริงจังเพื่อขยายทีมงานในประเทศไทย” การระดมทุนครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อขยายการให้บริการของ Darwinbox ไปยังภูมิภาคต่างๆทั่วโลก โดยจะส่งเสริมการพัฒนาด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีของแพลตฟอร์มเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับการให้บริการ การพัฒนาเชิงวิศวกรรม ตลอดจนขยายทีมงานเพื่อให้บริการลูกค้าจากหลากหลายภูมิภาคที่เพิ่มมากขึ้น โดยบริษัทตั้งเป้าที่จะเพิ่มทีมงานเป็นสามเท่าภายในหนึ่งปี และมีเป้าหมายที่จะเพิ่มจำนวนพนักงานมากกว่า 100 คน ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครอบคลุมสำนักงานในสิงคโปร์ กรุงเทพฯ มะนิลา และจาการ์ตา ชัยทันยา เพดดี (Chaitanya Peddi) ผู้ร่วมก่อตั้งและ Product Head ของ Darwinbox กล่าวเสริมว่า “Darwinbox ให้ความสำคัญกับการสร้างประสบการณ์การทำงานที่และมีประสิทธิภาพให้กับพนักงานในองค์กรของลูกค้าของเรา เราจึงลงทุนในนวัตกรรมและเทคโนโลยีอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่าพนักงานในองค์กรสามารถทำงานแบบ work-from-anywhere ได้อย่างมีประสิทธิภาพและไม่ติดขัด นอกจากนี้ แผนในปีนี้ยังรวมถึงการเพิ่มการให้บริการและ Solutions แก่ลูกค้าองค์กร เพื่อรองรับการบูรณาการเชื่อมต่อเทคโนโลยี (Plug and Play) ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลระหว่างองค์กรลูกค้ากับระบบของ Darwinbox ให้เพิ่มมากขึ้น” ปี 2564 เป็นปีที่สะท้อนให้เห็นความสามารถในการปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบการทำงานของหลายองค์กรทั่วโลก ผู้บริหารหันมาให้ความสำคัญกับการบริหารทรัพยากรบุคคลมากขึ้น เพื่อให้พนักงานสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในทุกสถานการณ์ รวมถึงเพื่อให้พนักงานยังมีกำลังใจและมีความสุขกับการทำงานไม่ว่าจะทำงานจากที่ไหนก็ตาม (Work-from-anywhere) เช่นเดียวกับ Darwinbox ที่เล็งเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น จึงพัฒนาแพลตฟอร์มด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลที่ครอบคลุมทุกความต้องการด้าน HR เพื่อช่วยให้องค์กรกว่า 650 องค์กรสามารถดูแลบุคลากรของตนได้อย่างต่อเนื่อง ที่มา : www.smethailandclub.com https://www.smethailandclub.com/startup-techstartup/7766.html
19 มิ.ย. 2022
พลิกปัญหาสุขภาพเป็นธุรกิจปัง! Cocoparadise แบรนด์ขนมเฮลตี้ที่อยากให้คนกินสุขภาพดี
ที่มาในการสร้างธุรกิจของผู้ประกอบการแต่ละคนอาจแตกต่างกันไป เชื่อว่ามีหลายคนเริ่มต้นธุรกิจเพราะต้องการแก้ไขปัญหาเฉพาะตัวที่กำลังประสบ เช่นเดียวกับ Cocoparadise แบรนด์สแน็คที่ทำจากมะพร้าวก็มีสตอรี่ใกล้เคียงกัน “เคยใช้ชีวิตแบบไม่ตระหนักว่ากินอะไรเข้าไป ป้อนอะไรให้ร่างกายตัวเองบ้าง กระทั่งไปตรวจสุขภาพตอนเรียนมหาวิทยาลัยปี 2 แล้วหมอเตือนว่ากำลังเข้าสู่ภาวะน้ำหนักเกิน และมีไขมันในเกาะตับสูงมาก หากไม่ดูแลร่างกายก็มีแนวโน้มจะต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล” เป็นคำบอกเล่าของวาเลอรี่ ชิว ผู้ก่อตั้งและเจ้าของ Cocoparadise คำพูดของหมอเป็นการเตือนสติที่ทำให้วาเลอรีต้องการเปลี่ยนแปลงตัวเอง นับตั้งแต่นั้น เธอก็เริ่มเข้าครัวเตรียมอาหารเองแบบง่าย ๆ และเริ่มเข้ายิมกำลังกาย กระทั่งมีเทรนเนอร์มาชวนฝึกบอดี้เวทและแนะนำตารางโภชนาการให้ กลายเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้วาเลอรีสนใจเรื่อง whole food หรืออาหารที่ผ่านการปรุงแต่งน้อย เธอเริ่มหันมาบริโภคอาหารประเภทนี้ ใช้น้ำตาลจากธรรมชาติ และลดละกลูเต็น น้ำตาลฟอกขาว และผลิตภัณฑ์จากนม เมื่อกลับมาปักหลักที่ฮ่องกง วาเลอรีได้ไปออกกำลังกายที่ยิมแห่งหนึ่งซึ่งมีคาเฟ่ให้บริการจึงได้ลองทำสแน็คสูตรโฮมเมดไปวาง ปรากฎว่าขายได้ มีคนซื้อ และชมว่าอร่อย กลายเป็นอีกหนึ่งจุดเปลี่ยนที่ทำให้เธอตระหนักว่านี่เป็นโอกาสที่เธอจะได้ลองทำในสิ่งที่เชื่อ อย่างไรก็ตาม เส้นทางสู่ธุรกิจสแน็คเพื่อสุขภาพไม่ได้ง่ายดั่งปอกกล้วยเข้าปาก ต้องลองผิดลองถูกมากมาย แต่ก็ได้เรียนรู้จากอุปสรรคต่าง ๆ ตั้งแต่การเสาะหาวัตถุดิบ การผลิต การออกแบบแพคเกจจิ้ง ไปจนถึงการคิดสูตรต่าง ๆ นอกจากนั้น ยังมีเรื่องของการทำให้ลูกค้าเข้าใจถึงความยากลำบาก และต้นทุนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ยังไม่นับรวมการเฟ้นหาบุคคลากรที่จะร่วมสร้างธุรกิจไปด้วยกัน แต่ท้ายที่สุด วาเลอรีก็สามารถผลักดัน Cocoparadise เข้าสู่วงการอาหารเพื่อสุขภาพในตลาดฮ่องกงสำเร็จโดยคาดหวังว่าจะทำให้ผู้คนได้รื่นรมย์กับสแน็คที่ทั้งดีต่อร่างกายและดีต่อใจ และเป็นการพิสูจน์ว่าวิถีสู่การมีสุขภาพดีเป็นอะไรที่ง่ายขึ้น และไม่ใช่เรื่องน่าเบื่อเสมอไป Cocoparadise เป็นแบรนด์สแน็คที่เน้นวัตถุดิบมะพร้าวและผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวเพื่อเชิดชูปูมหลังไทย-จีนของครอบครัวเธอ วาเลอรีมีเชื้อสายไทย เธอเกิดและเคยใช้ชีวิตวัยเด็กที่ไทยจึงคุ้นเคยกับอาหารหรือสแน็คที่ทำจากมะพร้าว ในการเปิดตัวช่วงแรก แบรนด์ยังไม่เป็นที่รู้จัก แต่หลังจากวาเลอรีบอกเล่าที่มาของธุรกิจ และบางทีก็โพสต์ภาพ before-after ของตัวเองลงโซเชี่ยลซึ่งผลลัพธ์ออกมาดีมาก ผู้คนเริ่มสนใจ สินค้าภายใต้แบรนด์ Cocoparadise มีให้เลือกหลากหลาย เช่น กราโนล่า คุกกี้ สเปรด และไอศกรีมวีแกน นอกจากจำหน่ายทางออนไลน์ยังเปิดเป็นป๊อปอัพสโตร์ตามห้างต่าง ๆ ในฮ่องกง ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ของ Cocoparadise จัดเป็นซูเปอร์ฟู้ดเนื่องจากปลอดกลูเต็น ปลอดผลิตภัณฑ์จากนม (เหมาะกับผู้แพ้น้ำตาลในนม) ไม่มีส่วนผสมของไข่ เคมี และสารกันเสีย แม้เทรนด์อาหารเพื่อสุขภาพในฮ่องกงจะไม่เปรี้ยงปร้างนักแต่วาเลอรีมองว่าคนเริ่มหันมาใส่ใจเรื่องนี้มากขึ้น ดังจะเห็นว่าเริ่มมีผลิตภัณฑ์ plant based และ whole food วางจำหน่าย รวมถึงร้านอาหารที่ให้บริการอาหารประเภทนี้ก็มีแล้ว เชื่อว่าการเลือกมีสุขภาพดีจะกลายเป็นวิถีปกติของชาวฮ่องกง ในวันหนึ่ง การเป็นผู้ประกอบการมีทั้งปราบความสำเร็จและล้มเหลว แต่ในบางครา วิกฤติที่เผชิญอยู่อาจนำมาซึ่งผลลัพธ์ดี ๆ อย่างคาดไม่ถึงก็ได้ วาเลอรียกเล่าถึงการเตรียมตัวเพื่อเปิดร้านป็อปอัพช่วงแรก ๆ ว่ามีครั้งหนึ่งหลังจากที่แพ็คสินค้าและติดสติกเกอร์เรียบร้อยแล้วจึงพบว่า บนสติกเกอร์นั้นสะกดคำผิด จาก dairy-free เป็น diary-free ซึ่งผิดความหมาย เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นวันเดียวก่อนเปิดร้าน และแม้จะเป็นความผิดพลาดเล็ก ๆ ที่อาจจะไม่มีใครสังเกตเห็น แต่วาเลอรีสั่งแพ็คสินค้าใหม่หมด เนื่องจากไม่สามารถพิมพ์สติกเกอร์ได้ทัน จึงมองหาบรรจุภัณฑ์อื่น แล้วใช้สเตนซิลกับหมึกปั๊มลงบนแพคเกจจิ้งแทน กลายเป็นว่าลูกค้าชอบแพคเกจจิ้งแบบนี้มาก เธอจึงยึดเป็นต้นแบบมาเพราะเข้ากับแบรนด์และสตอรี่ของแบรนด์ วาเลอรีได้ฝากข้อคิดสำหรับผู้ประกอบการรุ่นใหม่ว่าอย่ายอมแพ้โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ท้าทาย เมื่อล้มเหลวก็ขอให้เรียนรู้เป็นบทเรียน และลองทางเลือกอื่นเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าในคราวหน้า พยายามกลับมายืนอีกครั้งโดยไม่จำเป็นว่าจะต้องสมบูรณ์แบบที่สุด ขอแค่พยายามทำให้ดีที่สุดเท่าที่ทำได้ทุกครั้งก็พอ ที่มา : www.smethailandclub.com https://www.smethailandclub.com/startup-techstartup/7796.html
18 มิ.ย. 2022
เปิดกลยุทธ์ Kopi Kenangan เชนร้านกาแฟโตเร็วสุดใน SEA ขึ้นแท่นยูนิคอร์นล่าสุดจากอินโด
“เราเริ่มต้นจากร้านกาแฟเล็ก ๆ ที่ลงทุนเองทั้งหมด แต่ด้วยวิสัยทัศน์เดียวที่แน่วแน่ในใจว่าต้องการเป็นเชนร้านค้าปลีกกาแฟที่ใหญ่สุดในอินโดนีเซียโดยการเติมเต็มช่องว่างระหว่างร้านกาแฟราคาแพงกับร้านกาแฟรถเข็น ผมจึงกล้าฝัน แม้ว่าคนรอบข้างจะกังขา” เป็นคำพูดของเอ็ดเวิร์ด เทอร์ทานาต้า ซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้ง Kopi Kenangan เชนร้านกาแฟที่เติบโตเร็วสุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นสตาร์ทอัพจากอินโดนีเซียรายล่าสุดที่ไต่สู่ระดับยูนิคอร์น ความเชื่อมั่นใจสิ่งที่คิดทำให้เอ็ดเวิร์ดเดินหน้าลงขันกันด้วยเงินทุน 250 ล้านรูเปียห์ (ราว 5.7 แสนบาท) กับหุ้นส่วนอีก 2 คนได้แก่ เจมส์ ปรานันโต้ และซินเธีย แชรันนิสาเพื่อทำธุรกิจร้านกาแฟเล็ก ๆ โดยสาขาแรกที่ตึกสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ในเมืองหลวงจาการ์ตาเปิดบริการในเดือนสค. 2017 มีพนักงานเพียง 5 คน นอกจากวางตำแหน่งให้เป็นแบรนด์กาแฟที่เข้ามาอุดช่องว่างในตลาดระหว่างกาแฟราคาแพงจากเชนร้านกาแฟต่างประเทศ กับกาแฟสำเร็จรูปราคาถูกที่ขายตามแผงลอยข้างทาง โมเดลร้านยังถูกกำหนดแต่แรกให้เป็นแบบ grab ‘n go ไม่มีโต๊ะเก้าอี้ให้นั่ง ลูกค้าสามารถซื้อที่ร้านหรือสั่งซื้อทางออนไลน์แบบเดลิเวอรีก็ได้ Kopi Kenangan กลายเป็นแบรนด์กาแฟที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคในแง่ของการเป็นกาแฟคุณภาพ รสชาตีดี ราคาไม่แพง ไม่แปลกใจที่จะได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นจนสามารถขยายสาขาเป็น 223 ร้านภายในแวลาเพียง 2 ปี จากที่ทำยอดขาย 3.5 แสนแก้วต่อเดือนทั่วประเทศ ก็ก้าวกระโดดไปสู่ 3 ล้านแก้วต่อเดือน นอกจากนั้น ในการสำรวจความเห็น Kopi Kenangan ยังเป็นแบรนด์กาแฟในดวงใจลำดับสองของผู้บริโภคอินโดนีเซียอีกด้วย นับเป็นการสร้างการรับรู้แบรนด์ที่ใช้เวลาค่อนข้างสั้น เอ็ดเวิร์ดให้สัมภาษณ์ถึงเบื้องหลังกลยุทธ์ขยายสาขาแบบก้าวกระโดดเกิดจากการทำรวจตลาดแล้วพบว่ามีลูกค้าอีกมากมายที่ต้องการซื้อกาแฟ Kopi Kenangan แต่ร้านอยู่ไกล หรือบางพื้นที่ก็ไม่มีสาขา ร้อยละ 62 ของลูกค้าจึงเลือกซื้อกาแฟแบรนด์อื่น ประเด็นจึงอยู่ที่ความสะดวกของลูกค้า ถ้าเจออยู่ใกล้คือซื้อ แต่หากร้านตั้งอยู่ไกลออกไป ลูกค้าจะไม่ตามไปใช้บริการ เอ็ดเวิร์ดมองว่านอกจากคุณภาพและราคา ทำเลก็สำคัญไม่น้อย เขาจึงวางกลยุทธ์ใหม่ด้วยการขยายสาขาไปยังพื้นที่รอบนอกเมือง เน้นทำเลที่เป็นตึกแถว และตามปั๊มน้ำมันเพื่อให้เข้าถึงลูกค้ามากที่สุด ปี 2019 ถือเป็นปีทองของ Kopi Kenangan จากต้นปีที่มีสาขา 26 แห่ง หลังวางหมากขยายแบบปูพรม ช่วงปลายปี Kopi Kenangan ก็เปิดบริการมากถึง 223 สาขาโดยทั้งหมดเป็นร้านที่บริหารโดยบริษัทไม่ใช่ระบบแฟรนไชส์ เอ็ดเวิร์ดยอมรับว่าการบริหารร้านหลักร้อยสาขาย่อมแตกต่างจากหลักสิบ และช่วงแรก ๆ อาจมีปัญหาบ้างโดยเฉพาะเรื่องการซัพพลายเมล็ดกาแฟ แต่เนื่องจากอินโดนีเซียเป็นผู้ผลิตเมล็ดกาแฟรายใหญ่อันดับ 4 ของโลก ปัญหานี้จึงถูกแก้ไขอย่างรวดเร็ว จนถึงปลายปี 2019 ร้าน Kopi Kenangan ทุกสาขาอยู่ในสภาวะทำกำไร แต่ละร้านใช้เวลาโดยเฉลี่ย 4-8 เดือนถึงจุดคุ้มทุน อย่างไรก็ตาม เมื่อเข้าสู่ปี 2020 รายได้ของบริษัทลดลง 35 เปอร์เซนต์เนื่องจากเกิดวิกฤติไวรัสโควิดระบาด ทำให้จำนวนลูกค้าเดินเข้าร้านน้อยลง แต่โชคดีที่ยังสามารถชดเชยจากยอดขายออนไลน์และเดลิเวอรี กอปรกับพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน การจำหน่ายผ่านแอปพลิเคชั่นจึงเป็นช่องทางหลักของบริษัท แม้จะเป็นช่วงเกิดโรคระบาด แต่รายได้ที่สม่ำเสมอและการเติบโตของธุรกิจที่มั่นคงก็ทำให้นักลงทุนเชื่อมั่นใน Kopi Kenangan เชนร้านกาแฟที่โตเร็วสุดของอินโดนีเซีย กระทั่งล่าสุดประกาศสามารถระดมทุนรอบซีรีส์ C จำนวน 96 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่งผลให้มูลค่าบริษัทเพิ่มขึ้นเป็น 1,000 ล้านดอลลาร์ และขึ้นแท่นสตาร์ทอัพยูนิคอร์นรายล่าสุดจากอินโดนีเซีย เงินทุนที่ไหลเข้ามาตรงกับช่วงเวลาที่ Kopi Kenangan กำลังมีแผนจะขยายธุรกิจในเครือที่กำลังได้รับการตอบรับดี ได้แก่ แบรนด์ขนมปัง Cerita Roti แบรนด์ผลิตภัณฑ์จากไก่ Chigo และแบรนด์ซอฟต์คุกกี้ Kenangan Manis ขณะเดียวกัน แอปพลิเคชั่น Kopi Kenangan ก็กลายเป็นแอปกาแฟที่มีการดาวน์โหลดมาก และได้คะแนนรีวิวดีสุด บนเส้นทางธุรกิจร้านกาแฟที่ยาวนานเพียง 5 ปี ปัจจุบัน Kopi Kenangan ขยายสาขาไปมากกว่า 600 แห่งใน 45 เมือง และมีพนักงานในสังกัด 3,000 กว่าคน โดยปกติทำยอดขายรวมกันเฉลี่ย 3 ล้านแก้วต่อเดือน แต่ช่วงที่มีการระบาดของไวรัสโควิด แรก ๆ ยอดขายจากลูกค้ามาซื้อที่ร้านลดลง Kopi Kenangan พลิกกลยุทธ์หันมาเน้นจำหน่ายออนไลน์ ทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยตลอด 12 เดือนของปี 2021 ที่ผ่านมา Kopi Kenangan ทำยอดขายกาแฟ รวม 40 ล้านแก้ว คาดว่าในไตรมาสแรกของปี 2022 ยอดขายจะขยับไปอยู่ที่ 5.5 ล้านแก้วต่อเดือน เอ็ดเวิร์ดกล่าวว่าเงินทุนที่ระดมมาได้ บริษัทจะยังเน้นที่การขยายสาขาในอินโดนีเซีย และตั้งเป้าจะนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ส่วนแผนการขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศ ช่วงนี้ยังเดินทางไม่สะดวก จึงอาจมีการทบทวนอีกครั้งเมื่อสถานการณ์โรคระบาดคลี่คลาย ระหว่างนี้บริษัทได้ทำการวิจัยตลาดและพบว่าตลาดเหมาะสมกับการลงทุนของ Kopi Kenangan ได้แก่ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย โดยเฉพาะไทยที่ตลาดเดลิเวอรีกำลังบูม ซีอีโอ Kopi Kenangan ยืนยันว่าหากเป็นไปได้ก็ยังต้องการขยายสาขาในรูปแบบ corporate owned หรือบริษัทเป็นเจ้าของและบริหารเอง เว้นเสียแต่ว่าบางประเทศที่มีกฎระเบียบห้ามบริษัทต่างชาติลงทุน 100 เปอร์เซนต์ก็คงต้องใช้วิธีร่วมทุนกับบริษัทท้องถิ่น ส่วนรูปแบบการขายแฟรนไชส์นั้นไม่มีอยู่ในแผนของบริษัทแต่อย่างใด ที่มา : www.smethailandclub.com https://www.smethailandclub.com/startup-techstartup/7777.html
17 มิ.ย. 2022
ดีพร้อมเซนเตอร์ 7 เสริมเกราะ SMEs เชื่อมโยงอุตสาหกรรมสมุนไพรและอาหารเพื่อสุขภาพ
ระหว่างวันที่ 15 - 17 มิถุนายน 2565 ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM CENTER 7) มอบหมายให้ นายสุมิตร ส่งเสริม, นางสาวรจนาภรณ์ ไกรรัตน์ และนายสังวาลย์ จันทะเวช ร่วมลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานในกิจกรรมพัฒนาการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงอุตสาหกรรมสมุนไพรและอาหารเพื่อสุขภาพ จังหวัดอำนาจเจริญ ภายใต้โครงการการยกระดับสินค้าเกษตรสู่เกษตรอุตสาหกรรม ณ จังหวัดอำนาจเจริญ ซึ่งได้ดำเนินโครงการมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ แนวคิด เทคนิค และกระบวนการในการพัฒนาคลัสเตอร์สมุนไพร และอาหารเพื่อสุขภาพ เพื่อให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์ แผนแม่บท แผนปฏิบัติการ กลยุทธ์โครงการ รวมทั้งกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันวิเคราะห์ความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจและปัญหาที่วิสาหกิจกำลังประสบอยู่ เพื่อกำหนดแนวทางในการพัฒนาต่อไป . #DIPROM #ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่7
17 มิ.ย. 2022
ดีพร้อมเซนเตอร์ 7 เติมศักยภาพ SMEs สร้างโอกาสการแข่งขันธุรกิจยุคใหม่
วันที่ 17 มิถุนายน 2565 ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM CENTER 7) มอบหมายให้ พัฒนพงษ์ กลิ่นลั่นทม, นายสุมิตร ส่งเสริม, นายสมเกียรติ จันทร์เพ็ญมงคล, นายมิตร แสงกล้า ร่วมลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานโครงการสนับสนุนและพัฒนาปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจ ณ สถานประกอบการ อาทิ กิจการมาฆะฟาร์ม จ.ยโสธร , กลุ่มวิสาหกิจชุมชนครอบครัวอบอุ่นเลิกเหล้าบ้านคำกลาง 99 จ.อำนาจเจริญ ซึ่งเป็นการเสริมศักยภาพในการแข่งขันของผู้ประกอบการ SMEs . #DIPROM #ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่7
17 มิ.ย. 2022
ดีพร้อมเซนเตอร์ 7 เติมสุข SMEs คนสำราญงานสำเร็จ
วันที่ 17 มิถุนายน 2565 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM CENTER 7) จัดกิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในหลักสูตร “Happy and Productive Workplace คนสำราญงานสำเร็จ” ภายใต้โครงการส่งเสริมสุขภาวะองค์กรในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SHAP) ณ ห้องประชุมโมชาร์ท โรงแรมแกลลอรี่ดีไซน์ อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ ด้วยหลักการ Happy 8 โดยมีผู้บริหารและพนักงาน บริษัท ศรีสะเกษพันธุ์ทอง จำกัด เข้าร่วมกิจกรรมอย่างพร้อมเพรียง . เจ้าหน้าที่ร่วมจัดกิจกรรม นางกรรณิการ์ การกล้า, นางแพงศรี พงษ์เกษม, นายธนเดช ศฤงคารนันต์, น.ส.นราวดี จันทร์จำปา และ นายสมชาย เชาว์ประโคน . #DIPROM #ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่7
17 มิ.ย. 2022