Category
VC หน้าใหม่ ใจปลาซิว
วันนี้วงการสตาร์ทอัพเริ่มจะเลิกคุยเรื่องไอเดียดีๆ บริษัทใหม่ๆ แต่สิ่งที่เม้าส์มอยส์กันก็คือ VC ที่ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดในเมืองไทย จะไม่ให้คุยถึงได้อย่างไรในเมื่อบริษัทยักษ์ใหญ่ในแต่ละอุตสาหกรรมต่างลงเงินทำ Venture Capital กันเป็นว่าเล่น และทุกรายต่างมีผลงานระดับย่ำแย่กันทั้งนั้น ปีที่แล้วฟินเทค หรือสตาร์ทอัพทางด้านการเงินดังมาก ในเมืองไทยธนาคารใหญ่ๆ ต่างตื่นตัวกลัวผลงานของสตาร์ทอัพทั้งหลายจะเข้ามา disrupt กิจการธนาคารของตัวเอง ต่างก็หาวิธีง่ายที่สุดก็คือ ดักซื้อกันตั้งแต่ต้นทางซะเลย ตามต่อด้วยวงการอสังหาริมทรัพย์ หรือ พร็อพเทค กลุ่มอสังหาฯ รายใหญ่ของบ้านเราก็เลียนแบบกลุ่มธนาคารของฟินเทค ผมกำลังรอดูปีนี้ที่กลุ่ม Health Tech กำลังมาแรง จะมีพวกโรงพยาบาลใหญ่รายไหนมาตั้ง VC ของตัวเองขึ้นมาบ้างมั๊ย ในความเห็นผม ผมไม่แนะนำให้ตัวพ่อตัวแม่ในอุตสาหกรรมนั้นๆ มาตั้ง VC คอยสนับสนุนสตาร์ทอัพเท่าไหร่ เพราะข้อเสียมันมีมากกว่าข้อดี และที่สำคัญมันไม่เวิร์คโดยสิ้นเชิง อย่างไรหรือครับ ผมขออธิบาย จากประสบการณ์ของผมที่ได้ดีลงานกับแบงค์ใหญ่ๆ ที่มาตั้ง VC ก็คือ แบงค์ส่วนใหญ่จะตั้งแผนกใหม่ของตนเองขึ้นมา โดยแนวคิดก็คือ อยากให้ VC ที่ตั้งมีความแตกต่างจากองค์กรของแบงค์ ที่ค่อนข้างอนุรักษ์นิยม แต่สิ่งที่ผมเจอมีดังนี้ครับ พนักงานที่โยกย้ายเข้ามาทำงาน บางคนก็โอนลูกน้องเก่าที่พอมีฝีมือ บางคนก็รับเข้ามาใหม่กันเลย แต่สิ่งที่ผมเจอก็คือว่า พนักงานพวกนี้ไม่มีความรู้เกี่ยวกับการให้ทุนสตาร์ทอัพมาก่อนเลย ก็จะมีความรู้ได้อย่างไรครับ ในเมือเรื่องนี้มันเป็นเรื่องใหม่ สตาร์ทอัพในเมืองไทยที่เข้าสู่กระบวนการซีรียส์บี มีน้อยแบบนับหัวได้ ลูกน้องที่อยู่ในสายนี้จึงเหมือนกับมีความรู้เป็นศูนย์ ต้องเข้ามาเรียนรู้กันใหม่ทั้งหมด บาง VC ของแบงค์ ต้องจ้างพนักงานไปสัมมนาทั่วโลก เดินทางไปดูงานมากมาย เสียเงินสร้างคนเหล่านี้ขึ้นมาเพราะเห็นว่ากิจการนี้ยังไงก็ต้องมีติดเอาไว้ ทำให้ในรอบปีที่ผ่านมาผลงานของพนักงานกลุ่มนี้จึงแทบไม่ออกดอกออกผล เพราะมัวแต่เดินสายดูงานสร้างความรู้ใส่ตัว เท่านั้นยังไม่พอ สิ่งที่สตาร์ทอัพทั้งหลายที่หวังจะเห็น VC สายแบงค์ในเมืองไทยเป็นที่พึ่งพา กลับต้องฝันสลาย เพราะพนักงานพวกนี้แหละครับ เพราะการที่มีพนักงานสายนี้โดยตรงเท่ากับพนักงานจะต้องเป็นตัวกลางระหว่างธุรกิจสตาร์ทอัพที่แบงค์ต้องการลงทุนกับบอร์ดของ VC แต่สิ่งที่เจอคือ พนักงานยังรู้เรื่องเกี่ยวกับสตาร์ทอัพน้อยมาก เมื่อมาคุยกับสตาร์ทอัพแล้วเอาเรื่องไปเสนอบอร์ดพิจารณา พอเจอบอร์ดซักก็ไม่สามารถตอบได้ ต้องเทียวไล้เทียวขื่อ ไปๆ มาๆ ถามกันไม่จบไม่สิ้น ทั้งที่กระบวนการให้ทุนสตาร์ทอัพนั้นต้องรวดเร็ว เพราะเวลาของสตาร์ทอัพนั้นเป็นเรื่องสำคัญมาก แบงค์ไหนที่เจออย่างนี้ผมแนะนำเลยครับว่า เอาผู้บริหารสตาร์ทอัพไปนั่งคุยกับผู้บริหารของ VC ก่อนเลย คุยให้เข้าเป็นภาษาเดียวกัน และให้ผู้บริหารล็อบบี้บอร์ดทีละคน ให้เข้าไปตอบคำถามนอกรอบกันก่อน ถึงเวลาจะผ่านฉลุย แต่ๆๆๆๆ สุดท้ายแล้วทั้งหมดจะขึ้นกับบอร์ด ซึ่งบอร์ดบริหารของ VC ส่วนใหญ่ก็ยังเป็นผู้ใหญ่ในแบงค์ที่ค่อนข้างอนุรักษ์นิยมนั่นแหละ คนพวกนี้จะตั้งคำถามที่ป้องกันความเสี่ยงของแบงค์ตลอดเวลา กลัวพลาด ซึ่งจริงการพลาดนี่แหละคือสิ่งที่ VC ถนัด ลงทุนสิบรอดให้ได้สองถือว่าประสบความสำเร็จ ด้วยสไตล์ของแบงค์นี่ผมแนะนำเลยครับ VC แบงค์ควรลงทุนในกลุ่มสตาร์ทอัพระดับซีรียส์บี ไปจนถึง exit แล้วนั่นแหละถึงจะดี สตาร์ทอัพพวกนี้ไม่มีความเสี่ยง ทำกำไรมาแล้ว และเตรียมตัวที่จะขายกิจการแล้ว ดังนั้นถ้า VC แบงค์จะมาช้อนซื้อกลุ่มซีรียส์เอลงไปมันไม่เหมาะ ก็ควรจะประกาศตัวกันไป อย่ามาทำรีรอลังเลเหมือนตอนนี้เลย แค่ตัวอย่าง VC แบงค์อย่างเดียวก็เล่นเอาสตาร์ทอัพเข็ดขยาดกันเป็นแถว การเจรจามันเสียเวลา และบริหารจัดการยากมาก สู้คุยกับ VC ต่างชาติดีกว่าจบง่าย ไม่เรื่องมาก และกระบวนการชัดเจนมากกว่า แถมยังไม่เข้ามายุ่มย่ามในเรื่องการบริหารงานอีกด้วย นี่ผมเองยังสงสัยในกลุ่ม Constuction หรือกลุ่มก่อสร้างที่ยักษ์ใหญ่อย่าง SCG กำลังจะเข้ามา ถ้ายังเดินตามกลุ่มแบงค์ในการทำ VC ผมรู้สึกเสียดายของจริงๆ พูดถึงองค์กรใหญ่รุกเข้ามาในด้าน VC เพื่อป้องกันการ Disrupt จากสตาร์ทอัพ ผมเองไปงานข่าวของปตท.มา เรื่องการลงทุนไอทีด้าน Big Data เพื่อใช้ในการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค แว่วว่าใช้งบลงทุนไปกว่าร้อยล้านบาท โดยใช้ระบบไอทีของ Teradata ด้วยโซลูชั่น Teradata Customer Journey เพราะตอนนี้ปั้มน้ำมันแบรนด์ใหญ่ๆ ทั่วโลกมีการใช้ระบบวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้าที่มาเติมน้ำมันและใช้บริการสถานีน้ำมันกันอยู่แล้ว แต่สำหรับ ปตท. จะทำแบบครบวงจร นั่นคือ ผนวกเอาข้อมูลของฝั่งค้าปลีกและบริการอื่นๆ ในสถานีน้ำมัน เข้ามาวิเคราะห์ด้วย และน่าจะเป็นรายต้นๆ ของโลก ในระดับโลกเรายังไม่เห็นกลุ่มสตาร์ทอัพสายพลังงานเข้ามา Disrupt มากนัก ดังนั้นปตท.อาจไม่จำเป็นต้องตั้ง VC เข้ามาซื้อกิจการของใคร แต่ความจำเป็นที่จะต้องตามให้ทันเทคโนโลยีนั้นทิ้งไม่ได้ Big Data Analytics ที่เป็นการวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาแผนการตลาดในระยะยาว ทำให้เก็บข้อมูลเส้นทางของลูกค้าได้ เช่น ปกติเติมน้ำมันที่ปั๊มไหนบ้าง ซื้อสินค้าและบริการอื่นๆ ในวันใด ช่วงเวลาใด จากนี้จะต้องเก็บข้อมูลให้มากขึ้น คาดว่าจะเริ่มเห็นการทำตลาดจาก ปตท. มากขึ้นเรื่อยๆ เรื่องพวกนี้เหมือนเป็นพื้นฐาน แต่องค์กรใหญ่ต้องฝ่าไปให้ได้ จะได้ด้วยการซื้อกิจการเข้ามา หรือต้องไปซื้อโซลูชั่นต่างๆ เข้ามา ก็ล้วนเป็นการลงทุนทั้งสิ้น ที่มา : https://www.sanook.com/hitech/1430449/
16 มิ.ย. 2022
Social Monitoring อนาคตใหม่ของวงการสตาร์ทอัพไทย
ได้รับการเอื้อนเอ่ยจากทางผู้บริหาร Sanook! บอกป๋าโยช่วยจัดเรื่อง start-up ของไทยหนักๆ หน่อย บอกเลยว่าทั้งขอบคุณและแอบหวั่นใจอย่างมาก เนื่องจากช่วงนี้ผมต้องไปเป็นทั้งที่ปรึกษาและพี่เลี้ยงในเวทีต่างๆ ให้กับน้องๆ พวกนี้เยอะมาก การจะหยิบมาเขียนก็กลัวว่าจะเอาความลับที่อยู่ระหว่างการฟูมฟักของพวกเขาและเธอมาขายซะก่อน แต่ยังไงแล้วจะลองถ่ายทอดดูเพื่อให้น้องๆ ได้อยู่ในกระแสกันตลอดแล้วกัน ตั้งแต่ต้นปีมา กลุ่มซอฟต์แวร์ start-up แบบหนึ่งที่ดังเงียบๆ ดังแบบตั้งเนื้อตั้งตัวคือ กลุ่ม start-up ที่ทำโปรแกรม Social Listening หรือ Social Monitoring ถ้าถามว่าแอพพลิเคชั่นพวกนี้ทำอะไร ก็จะสรุปสั้นๆ ว่า โปรแกรมพวกนี้เขาไว้ตรวจสอบว่าในเรื่องราวแต่ละหัวข้อมีใครมาแสดงความเห็นแง่บวกแง่ลบอะไรบ้าง เช่นมีคนกล่าวถึง sanook ในแต่ละแง่อย่างไรบนโลกโซเชียลบ้าง อย่างล่าสุดมีข่าวว่า ภาครัฐจะจัดซื้อจัดจ้างโปรแกรมประเภทนี้นี่แหละมาตรวจสอบหลายๆ เรื่องที่เกี่ยวกับภาครัฐ เพื่อเอาไว้ใช้งานหลายๆ ด้านทั้งทางด้านความมั่นคง และอื่นๆ เห็นว่าจะใช้งบประมาณหลายร้อยล้านกันเลยทีเดียว งบประมาณที่ลงก็จะซื้อบริการประเภทนี้นั่นแหละ จริงๆ โปรแกรมประเภทนี้มีอยู่ในโลกมากมาย แต่หลายประเทศโปรแกรมท้องถิ่นจะเป็นตัวตัดสิน เพราะเงื่อนไขทางด้านภาษา การที่จะตีตลาดในแต่ละประเทศได้ต้องได้เจ้าของภาษามาร่วมมือด้วยถึงจะเกิด โชคดีที่ภาษาไทยของเราแข็งแรงมาก โอกาสที่ต่างชาติจะเข้ามามีด้วยสถานการณ์เดียวคือ มากับดีลระดับโลกที่เกิดอยู่แล้ว เช่น เอเย่นซี่ที่ทำงานระดับโลก ไปตั้งสาขาในแต่ละประเทศ ก็จะบังคับให้ใช้โปรแกรม Social monitoring นี้ไปด้วย ดังนั้นลูกค้าของเอเยนซีอินเตอร์ทั้งหลายก็จะถูกบวกโปรแกรมนี้เข้าไปในเซอร์วิส แต่พอใช้จริงๆ มันไม่เวิร์ค บ้านเรามีสตาร์ทอัพโลคัลที่เกี่ยวกับด้านนี้ใหญ่ๆ อยู่ 4 ราย เป้าหมายเหมือนกันเด๊ะ แต่วิธีการพัฒนาไม่เหมือนกัน ตอนนี้สองรายสุดท้ายคือเบอร์สามกับเบอร์สี่นั่นได้รวมกิจการกัน สาเหตุเนื่องจากวิธีคิดในการพัฒนานั้นตอนแรกคิดน้อยไปหน่อย นั่นคือรายหนึ่งคิดวิธีการเสิร์ช หรือค้นหา อีกรายหนึ่งคิดการรับมือกับปัญหา คือการ analyze และตอบโต้ตัวปัญหา สองรายถนัดคนละอย่าง ขณะที่สองรายบนที่กินแชร์สูงสุดนั้นเขาคิดค้นสองอย่างรวมกันตั้งแต่แรก ดังนั้นในแง่ปฏิบัติจริงๆ ก็คือ เรามีสตาร์ทอัพในด้านนี้เหลือเพียงสามราย และทั้งสามรายต่างก็เข้ากระบวนการระดมทุน และได้แหล่งทุนเรียบร้อยกันแล้วทั้งหมด ไม่น่าเชื่อว่าเส้นทางระดมทุนของบริการด้านนี้จะสดใสมาก ที่สำคัญคือตัวเลขการระดมทุนนั้นแต่ละรายก็แตกต่างกันชัดเจนมาก เบอร์สามและเบอร์สี่ที่รวมกันระดมทุน ก็มีเจ้าพ่อรายใหญ่ทางด้านอีคอมเมิร์ชเป็นตัวตั้งตัวตี แม้จะระดมทุนไม่ได้มากในช่วงนี้ แต่ก็คาดว่าจะสามารถผ่านไปได้ในทุกระดับ ด้วยชื่อชั้นของเจ้าพ่อรายนั้นก็คงทำให้ทั้งสองรายที่รวมกันก้าวข้ามปัญหาทางด้านเทคโนโลยีไปได้ไม่ยาก สุดแต่ว่าจะใช้เวลาในการพัฒนามากน้อยขนาดไหนแค่นั้น ส่วนรายที่ได้มาร์เก็ตแชร์อันดับสอง ได้เข้าค่ายไปกับโอเปอเรเตอร์ และถูกค่ายโทรคมนาคมรายใหญ่จากเกาหลีใต้ซื้อกิจการจนเจ้าของบริษัท exit ไปแล้วด้วยความสบายใจ ตัวซอฟต์แวร์ก็มีการพัฒนาการขึ้นไปอย่างต่อเนื่อง แถมยังต่อยอดในต่างประเทศในกลุ่มที่นักลงทุนแถบนั้นดูแลอยู่ได้อย่างสบาย สำหรับเบอร์หนึ่งนี่สิ ทันทีที่ได้รับการลงทุนเงินก้อนใหญ่จากกองทุนใหม่แห่งหนึ่ง ก็เหมือนเสือติดปีก ที่ผ่านมาก็แทบจะครองตลาดเมืองไทยเกือบหมด ด้วยความที่เอ็นจิ้นข้างในเขียนได้ยอดเยี่ยม และตัวประธานบริษัทซึ่งยังเป็นเด็กหนุ่มนั้นขยันขันแข็งเหลือเกิน เดินหน้าเข้าหาลูกค้าด้วยตัวเองตลอด แถมยังมี Business Plan ที่คนที่รู้เรื่องก็อยากร่วมธุรกิจด้วยทั้งหมด สองสามปีที่ผ่านมาเจ้าของ Social Monitoring เบอร์หนึ่งรายนี้แอบไปเปิดกิจการในต่างประเทศอยู่หลายแห่ง และไล่ทุบระบบเดียวกันที่เคยครองตลาดในหลายประเทศทิ้งอย่างหมอบราบคาบแก้ว แน่นอนการไปเปิดตลาดตั้งสำนักงานในต่างประเทศมันไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ไม่น่าเชื่อว่าสตาร์ทอัพรายนี้ทำสำเร็จ และผลจากการทำเช่นนี้ก่อนระดมทุนทำให้กลายเป็นสตาร์ทอัพที่เนื้อหอมที่สุดในประเทศไทยในช่วงเวลาที่ผ่านมา แต่ แต่ แต่ การได้เงินเข้ามาของแต่ละรายมันหมายถึงยุทธศาสตร์การแข่งขันที่แตกต่างกัน รายที่สามสี่ที่ควบควมกิจการนั้น เป้าหมายที่ได้เงินคือเร่งพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อตามคู่แข่ง ปิดจุดอ่อนของตัวเองก่อน ดังนั้นที่ผ่านมาจึงได้เห็นการประกาศรับพนักงานโปรแกรมเมอร์กันจ้าละหวั่น ส่วนรายที่สองเงินที่ได้ส่วนหนึ่งเป็นการ exit ของเจ้าของกิจการ จึงทำให้เงินที่จะขยายกิจการยังไม่แน่ชัดในช่วงที่ผ่านมา ขึ้นกับเจ้าของเงินที่ซื้อไปจะเอาเข้าไปลุยในตลาดเกาหลีได้ขนาดไหน แต่สำหรับรายที่หนึ่งนั้น การขอเงินไปนั้นชัดเจนเหลือเกิน รายนี้จะได้เงินก้อนใหญ่เพื่อทำให้ซอฟต์แวร์ของตนเองขึ้นไปอยู่บนคลาวด์ระดับโลก และเป็นซอฟต์แวร์ที่ไม่ต้องการการโปรโมทอีกต่อไป แต่มันจะถูกพัฒนาให้ใช้กับทุกประเทศในโลก ตอนนี้เวทีของสตาร์ทอัพรายนี้ไม่ใช่เวทีระดับประเทศ หรือระดับภูมิภาคเหมือนเมื่อ 1-2 ปีที่ผ่านมา แต่ตอนนี้เวทีระดับโลกเท่านั้นที่สตาร์ทอัพรายนี้หมายปอง แล้วทำไมผมไม่เอ่ยชื่อทั้งหมด ผมได้บอกไปตั้งแต่เริ่มต้นแล้วว่าบางรายยังไม่ได้เปิดตัวออกมาเป็นทางการ แต่เชื่อว่าหลังจากปลายเดือนมิถุนายนนี้ผ่านไป ทุกอย่างจะกระจ่าง และเราจะได้จับตาดูสตาร์ทอัพไทยกลุ่มนี้อย่างสนุก และคุณจะตกใจกับมูลค่าที่มันทำได้ในประเทศไทยและในระดับโลก ถือเป็นอีกกลุ่มนึงเลยทีเดียวที่เป็นข่าวดีของประเทศไทย ที่มา : istockphoto https://www.sanook.com/hitech/1426409/
15 มิ.ย. 2022
Uber ซื้อกิจการ Jump Bikes หวังปั้นจักรยานไฟฟ้าทั่วโลก
Uber ซื้อกิจการ Jump Bikes ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพจักรยานไฟฟ้าที่พัฒนาใน Washington DC และ San Francisco โดยจะดำเนินงานภายใต้บริษัทย่อยของ Uber โดยมี Ryan Rzepecki นั่งแท่น CEO และขึ้นตรงต่อ Dara Khosrowshahi CEO ของ Uber ได้ตรง แต่ยังไม่ชัดเจนว่าอูเบอร์จะคิดค่าบริการ Jump Bikes เท่าไหร่และจะให้ทั่วโลกใช้งานผ่านแอป Uber อย่างไร สำหรับ Jump Bikes เป็นบริการรถจักรยานไฟฟ้าที่ผู้ใช้งานจะต้องจ่ายค่าบริการ 2 เหรียญ / 30 นาที โดยลักษณะของจักรยานจะคล้ายกับเรือลาดตระเวณริมชายหาดแต่เพิ่มมอเตอร์ไฟฟ้าเข้าไปในการเหยียบคันเร่ง ซึ่ง Ryan และทีมงานของ Jump Bikes ยังอุบเงียบเรื่องของข้อตกลงเกี่ยวกับเม็ดเงินที่ได้ ซึ่ง TechCrunch เผยมาตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมาว่าราคาอาจแตะ 100 ล้านเหรียญสหรัฐ โดย Uber จะเข้าถือหุ้น Jump Bikes ซึ่งแผนของอูเบอร์คือต้องการขยายตลาดไปยังต่างประเทศซึ่งตรงกับความตรงการของ Jump Bikes เช่นกัน โดยการขยายตลาดร่วมกันในรูปแบบที่ไม่ได้จำกัดแค่รถยนต์ จะช่วยให้อูเบอร์เป็น Multi-model Platform และเป็นเรื่องที่น่าสนใจเพราะก่อนหน้านี้อูเบอร์เองก็ไม่ได้มีแนวโน้มว่าจะดึงใครมาร่วมเข้าระบบ Ride sharing ซึ่ง Dara ก็ได้แสดงความมั่นใจว่าจะตอบโจทย์ผู้เดินทางที่หลากหลายมากขึ้น แต่ก็ยังไม่ได้สรุปว่าโมเดลค่าบริการจะแตกต่างจากเดิมหรือไม่ ที่มา : thumbsup.in.th https://www.sanook.com/hitech/1449417/
14 มิ.ย. 2022
สตาร์ทอัพอเมริกันพัฒนาหุ่นยนต์สำหรับผู้สูงวัยที่อยู่บ้านตามลำพัง
ในช่วง 12 ปีที่ผ่านมา SenCura ได้ให้บริการการดูแลทั่วไปที่ไม่เกี่ยวข้องกับการแพทย์แก่ผู้สูงวัยที่อาศัยในบ้านของตัวเอง ให้กับกลุ่มผู้สูงวัยจำนวนหนึ่งในรัฐเวอร์จิเนีย นาย คลิฟ กลายเออร์ (Cliff Glier) ผู้ก่อตั้งบริษัท กล่าวว่า บริการของทางบริษัทรวมถึงการอาบน้ำ การแต่งตัว การอยู่เป็นเพื่อน การวางแผนเรื่องอาหารเเละการปรุงอาหาร ตลอดจนการขนส่ง เรียกได้ว่าบริการทุกอย่างที่ผู้สูงวัยต้องการความช่วยเหลือ ฮอลลี่ หนึ่งในเจ้าหน้าที่ดูแลผู้สูงวัยของบริษัท SenCura ซึ่งทำหน้าที่ไปเยี่ยม โอล์กา โรเบิร์ตสัน อายุ 88 ปีทุกวัน วันละ 3 ชั่วโมง เธอทำหน้าที่ปรุงอาหาร ขับรถพาผู้สูงวัยไปตามตารางการนัดพบต่างๆ เล่นเกมส์ลับสมอง เป็นเพื่อนออกไปเดินเล่นด้วยกันในชุมชนหรือในห้างสรรพสินค้า แต่หากฮอลลี่ไม่ได้อยู่ด้วย คุณโรเบิร์ตสันก็ยังมีเพื่อนเป็นหุ่นยนต์ชื่อรูดี้ (Rudy) ที่สามารถพูดคุยโต้ตอบบทสนทนาได้ หุ่นยนต์รูดี้ยังสร้างความบันเทิงใจแก่คุณโรเบิร์ตสันได้ด้วย สามารถเล่าเรื่องขำขัน เล่นเกมส์เเละเต้นรำกับคุณโรเบิร์ตสันได้ นอกจากจะช่วยให้ผู้สูงวัยได้มีกิจกรรมทางสมองเเละทางกายเเล้ว หุ่นยนต์รูดี้ช่วยให้ผู้สูงวัยติดต่อขอความช่วยเหลือฉุกเฉินได้ตลอด 24 ชั่วโมง คอยเตือนเรื่องเวลา สอดส่องว่าผู้สูงวัยวางข้าวของส่วนตัวไว้ตรงไหนบ้าง เเละเตือนเรื่องนัดหมายต่างๆ ตลอดจนเวลารับประทานยา หุ่นยนต์รูดี้มีความสูงเกินหนึ่งเมตรเพียงเล็กน้อย เเละมีหน้าจอดิจิตัลติดอยู่ที่ลำตัว เพื่อใช้ผู้สูงวัยได้ใช้ติดต่อกับครอบครัวเเละผู้ให้การดูแล แอนโธนี่ นูนเนซ (Anthony Nunez) ผู้ก่อตั้ง INF Robotics บริษััทสตาร์ทอัพที่พัฒนาหุ่นยนต์รูดี้ กล่าวว่า แนวคิดเบื้องหลังการคิดค้นหุ่นยนต์ดูแลผู้สูงวัย มาจากประสบการณ์ของมารดาของเขาในการดูแลคุณยายของเขาที่สูงวัย นูนเนซ กล่าวว่า เมื่อตัวเขาเองเริ่มสูงวัยขึ้น เขามองเห็นว่าครอบครัวของเขาไม่ได้โดดเดี่ยวเพราะทุกคนล้วนเจอกับปัญหานี้ ดังนั้นเขาจึงออกแบบหุ่นยนต์ที่ง่ายแก่การใช้งาน ได้รับการออกแบบให้เหมาะสมกับผู้สูงวัยและยังมีราคาที่ไม่แพง คลิฟ กลายเออร์ เจ้าของบริษัทดูแลผู้สูงวัย SenCura ได้พบกับนูนเนซเเละทีมงานของเขา ที่งานจัดเเสดงหุ่นยนต์ดูแลผู้สูงวัยเมื่อปีกว่าที่แล้ว เขาเกิดความสนใจที่จะลองใช้หุ่นยนต์รูดี้กับลูกค้าของเขา กลายเออร์ กล่าวว่า ทางบริษัทดูแลผู้สูงวัยที่อายุ 80 ปี 90 ปี และ100 ปี เเละเทคโนโลยีหุ่นยนต์เป็นสิ่งใหม่สำหรับคนวัยนี้ จึงยังต้องเรียนรู้กันอยู่ อย่างไรก็ตาม กลายเออร์กล่าวว่า หุ่นยนต์รูดี้ไม่ได้เเข่งขันกับผู้ให้การดูแลที่เป็นมนุษย์ แต่หุ่นยนต์ตัวนี้ช่วยได้ในเรื่องอื่นๆ ที่ไม่ใช่งานบ้าน หุ่นยนต์รูดี้มีบทบาทช่วยเสริมงานของผู้ให้การดูแลคนสูงวัย เพื่อให้คนวัยทองใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุขในบ้านของตน เเทนที่จะต้องไปอยู่ในบ้านพักคนชรา ที่มา : www.voathai.com https://www.sanook.com/hitech/1457693/
13 มิ.ย. 2022
สตาร์ทอัพอินเดียพัฒนา “สมาร์ทวอทช์เตือนภัย” สำหรับผู้หญิง
นาฬิกา Safer Pro ที่ผลิตโดยบริษัท Leaf Wearables อาจจะดูเหมือนนาฬิกา smartwatch ทั่วไป แต่นาฬิกานี้อาจมีศักยภาพในการช่วยชีวิตบรรดาสุภาพสตรีได้ นาฬิกาดังกล่าวจะมีปุ่มสีแดงเพื่อใช้กดส่งข้อความ SMS และเพื่อส่งสัญญาณเตือนไปยังครอบครัว หรือคนสนิทของคุณ โดยใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ต คุณ Manik Mehta ผู้ก่อตั้ง Leaf Wearables กล่าวว่า แนวคิดของการผลิตนาฬิกา Safer Pro ก็คือการสร้างอุปกรณ์ชิ้นหนึ่งที่ช่วยให้สามารถส่งสัญญาณไปยังผู้อื่นว่าตนกำลังอยู่สภาวะคับขัน ซึ่งนาฬิกา Safer Pro เปรียบเสมือนเครื่องช่วยเหลือแบบดิจิทัล โดยผู้ใช้ต้องกดปุ่มสีแดงค้างไว้จะเป็นการส่งสัญญาณเตือนไปยัง 5 หมายเลขที่ถูกกำหนดไว้ให้ได้เป็นผู้รับการแจ้งเตือน ว่าผู้ใส่นาฬิกากำลังตกอยู่ในอันตราย อุปกรณ์ชิ้นนี้ใช้งานง่าย เพียงแค่กดปุ่มเพื่อขอความช่วยเหลือ แทนที่จะมัวเสียเวลาค้นหาโทรศัพท์ นอกจากนี้ Safer Pro ยังสามารถใช้บันทึกเสียงได้อีกด้วย ซึ่งเสียงที่ได้รับการบันทึกจะส่งไปยังหมายเลขติดต่อฉุกเฉินที่กำหนดไว้ 5 หมายเลข เพื่อให้สตรีที่กำลังตกอยู่ในอันตรายสามารถให้ความช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที และยังมีการบันทึกเสียงไว้ใช้เป็นหลักฐานอีกด้วย ตอนนี้นาฬิกา Safer Pro ไม่ได้เป็นอุปกรณ์เทคโนโลยีเพื่อความปลอดภัยเพียงชิ้นเดียวในตลาด แต่ Safer Pro เป็นอุปกรณ์ที่เพิ่งได้รับรางวัลชนะเลิศในการแข่งขัน Women's Safety XPRIZE ในเรื่องของการใช้เทคโนโลยีแบบเรียบง่าย คุณ Manik มองว่า อินเดียและประเทศอื่นๆ ในเอเชียนั้น มีเครือข่ายโทรคมนาคมในระบบ 2G และ 3G เป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นจึงต้องมีการตรวจสอบเพื่อให้แน่ใจว่าอุปกรณ์นั้น สามารถดำเนินการภายใต้ระบบ 2G ได้ ด้านคุณ Anu Jain ผู้ก่อตั้ง Women's Safety XPRIZE เล็งเห็นประโยชน์ของสมาร์ทวอทช์ชนิดนี้ในอินเดียรวมทั้งหลายประเทศที่มีภัยคุกคามมากๆ ซึ่งอุปกรณ์นี้จะเป็นเครื่องมือที่สามารถช่วยเหล่าสุภาพสตรีได้เป็นอย่างดี และด้วยราคาที่ต่ำกว่า 40 ดอลลาร์ หรือราว 1,320 บาท ทำให้ผู้พัฒนาเทคโนโลยีต่างหวังว่านาฬิกา Safer Pro จะทำให้บรรดานักจี้ปล้นทั้งหลายมีความยั้งคิดบ้าง เพราะผู้หญิงที่ใส่นาฬิกานี้ จะสามารถขอความช่วยเหลือได้ทันที และเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างความปลอดภัยให้กับผู้หญิงทั่วโลกได้ไม่มากก็น้อย ที่มา : www.voathai.com https://www.sanook.com/hitech/1460885/
12 มิ.ย. 2022
สตาร์ทอัพคิดค้นแอปพลิเคชั่นช่วยผู้ใช้สมาร์ทโฟนที่ไม่รู้หนังสือ
ผู้ใช้สมาร์ทโฟนต้องรู้หนังสือจึงจะสามารถใช้อุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์นี้ในการส่งข้อความ อ่านข่าว หรือใช้สื่อสังคมออนไลน์แมกซ์ ชัทคิน (Max Shatkhin) ผู้ร่วมก่อตั้งเเละที่ปรึกษาแห่งบริษัทเทคสตาร์ทอัพ LitOS กล่าวว่า ตนเองไม่เคยคิดว่าผู้ใช้มือถือต้องพึ่งการพิมพ์และการอ่านข้อความทางโทรศัพท์มากแค่ไหน จนกระทั่งได้ลองคิดดูและเกิดคำถามว่า เเล้วจะออกแบบสมาร์ทโฟนอย่างไรให้เหมาะกับคนที่ไม่รู้หนังสือ ชาทคิน กล่าวว่า LitOS เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อการใช้งานสำหรับคนไม่รู้หนังสือเป็นการเฉพาะ โดยเเทนที่จะใช้การพิมพ์ตัวหนังสือในการส่งข้อความ จะใช้ภาพถ่าย ภาพถ่ายวิดีโอเเละเทคโนโลยีเสียงพูด ในปัจจุบัน คนไม่รู้หนังสือในประเทศกำลังพัฒนามีจำนวนเพิ่มขึ้นทั่วโลก บริษัท LitOS กำลังทำงานกับคนที่มีการศึกษาน้อยเเละรายได้ต่ำในอินเดียในขณะนี้ เขากล่าวว่า ประชากรกลุ่มนี้มีมือถือสมาร์ทโฟนใช้ พวกเขามีกำลังเงินซื้อมือถือมาใช้ เเละจ่ายค่าอินเตอร์เน็ท แต่พวกเขายังใช้มือถือไม่ได้ แอพพ์ตัวใหม่ที่ทางบริษัทพัฒนาขึ้นมานี้ยังใช้เทคโนโลยีการจดจำเสียงเพื่อเข้าไปในระบบเเละค้นหาชื่อ โดยกระบวนการออกแบบของทีมงานได้พิจารณาด้วยว่า คนไม่รู้หนังสือใช้โทรศัพท์มือถืออย่างไร ชาทคินบอกว่าบ่อยครั้งที่ผู้ใช้จะค้นหาชื่อโดยใช้เบอร์สี่ตัวสุดท้ายของหมายเลขโทรศัพท์ เพราะไม่สามารถจดจำเบอร์ทั้งหมดได้ แต่มักจะจำได้เฉพาะตัวเลข 4 ตัวสุดท้ายเท่านั้น ทำให้ phonebook ของบริษัท LitOS เเสดงตัวเลข 4 ตัวสุดท้ายของหมายเลขโทรศัพท์ที่ค้นหาเสมอ เเละในอนาคต ทางบริษัทบอกว่าจะใช้ระบบจดจำเสียงที่สามารถค้นหาเนื้อหาที่เป็นตัวหนังสือร่วมด้วย ซึ่งจะยิ่งเป็นประโยชน์กับผู้ใช้มากขึ้น ชาทคิน กล่าวว่า ระบบนี้จะรู้ว่ามีเนื้อหาอะไรอยู่ในหน้าไหน เเละจะสามารถให้ข้อมูลนั้นๆ เเก่ผู้ใช้ได้ทันที เขากล่าวว่า เป้าหมายคือมุ่งช่วยให้คนไม่รู้หนังสือสามารถเข้าถึงข้อมูลและการสื่อสารได้เหมือนกับคนทั่วไป สำหรับคนไม่รู้หนังสือ การอ่านไม่ออกเเละเขียนไม่ได้ จะไม่เป็นอุปสรรคในการติดต่อสื่อสารผ่านมือถืออีกต่อไป ที่มา : www.voathai.com https://www.sanook.com/hitech/1470125/
11 มิ.ย. 2022
ดีพร้อมเซนเตอร์ 7 เสริมกลไกผู้เชี่ยวชาญ สนับสนุน SMEs เพิ่มขีดความสามารถสถานประกอบการ
ระหว่างวันที่ 6-10 มิถุนายน 2565 ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM CENTER 7) มอบหมายให้ นายพัฒนพงษ์ กลิ่นลั่นทม นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการ นำคณะเจ้าหน้าที่จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในหลักสูตร "ถ่ายทอดองค์ความรู้และให้บริการแก่ SMEs/วิสาหกิจชุมชน" กิจกรรมการยกระดับกลไกสนับสนุนการดำเนินธุรกิจด้วยเครือข่ายผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม (SP@N) ภายใต้โครงการการพัฒนาระบบการส่งเสริม SME ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 ณ สถานประกอบการ ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดศรีสะเกษ .เจ้าหน้าที่ร่วมจัดกิจกรรมนายอัครภณ จำปารัตน์, นายศุภชัย สืบวงศ์.#DIPROM #ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่7
10 มิ.ย. 2022
รายงานงบทดลองหน่วยเบิกจ่ายรายเดือน ประจำเดือนพฤษภาคม 2565 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
รายงานงบทดลองหน่วยเบิกจ่ายรายเดือน ประจำเดืือนพฤษภาคม 2565 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
10 มิ.ย. 2022
สตาร์ทอัพอิสราเอลเตรียมวัดคลื่นสมองนักบินอวกาศด้วยหมวกสุดล้ำสมัย
บริษัทสตาร์ทอัพสัญชาติอิสราเอล Brain.Space ที่ทำการศึกษาการทำงานของสมองมนุษย์อย่างละเอียดได้เตรียมพร้อมทดลองเทคโนโลยีสุดล้ำกับนักบินอวกาศบนเที่ยวบินด้วยยานของ SpaceX ที่จะเดินทางไปสู่สถานีอวกาศนานาชาติในวันที่ 3 เมษายน รายงานจากสำนักข่าวรอยเตอร์ระบุว่า นักบินอวกาศ 3 ใน 4 คนที่จะเดินทางขึ้นไปสถานีข้างต้นด้วยเที่ยวบินพิเศษของบริษัท Axiom Space จะได้สวมชุดที่มีเทคโนโลยีหมวกแบบพิเศษที่สามารถตรวจสภาวะของคลื่นไฟฟ้าในสมอง (electroencephalogram) ได้ หมวกนักบินอวกาศแบบพิเศษชนิดนี้มีเส้นแปรงขนาดเล็กถึง 460 เส้นที่เชื่อมต่อกับหนังศีรษะของนักบินอวกาศในขณะที่พวกเขาทำกิจกรรมต่างๆ ประมาณ 20 นาทีต่อวัน โดยหนึ่งในกิจกรรม คือ การทดสอบการมองเห็น (visual oddball) ที่สามารถแสดงให้เห็นถึงความผิดปกติของคลื่นสมองได้ชัดเจน จากนั้น ข้อมูลจะได้รับการบันทึกและถูกส่งไปยังคอมพิวเตอร์ที่สถานีอวกาศโลก แยร์ เลวี่ ซีอีโอของ Brain.Space กล่าวกับสำนักข่าวรอยเตอร์ว่า “เราทราบว่าสภาพแวดล้อมแบบเกือบไร้น้ำหนัก (microgravity) กระทบต่อตัวสั่งการทำงานของร่างกายมนุษย์ เพราะฉะนั้น มีโอกาสเป็นไปได้จะกระทบต่อสมองเช่นกัน เราจึงต้องการศึกษาเรื่องนี้” เขากล่าวเสริมว่า ฐานข้อมูลในปัจจุบันมีข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับการเต้นของหัวใจ ความยืดหยุ่นของผิวหนังและมวลกล้ามเนื้อในสภาพแวดล้อมในอวกาศแล้ว แต่ที่ขาดไปคือการทำงานของสมอง โดยโครงการนี้ของ Brain.Space จึงถือเป็นหนึ่งใน 30 การทดลองใหม่ภายใต้ภารกิจ Rakia Mission ที่สถานีอวกาศนานาชาติด้วย และเพื่อศึกษาความแตกต่างของคลื่นสมองได้อย่างชัดเจน ผลการทดลองข้างต้นจะถูกนำมาเปรียบเทียบกับการทดลองกิจกรรมในรูปแบบเดียวกันที่เกิดขึ้นบนโลกและหลังจากนักบินอวกาศเหล่านั้นเสร็จสิ้นภารกิจ Brain.Space ให้คำจำกัดความตนเองว่าเป็น บริษัทที่ส่งเสริมการพัฒนา “โครงสร้างพื้นฐานของสมอง” ซึ่งสามารถระดมทุนตั้งต้น (seed money) ได้ราว 8.5 ล้านดอลลาร์ และได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับการถ่ายโอนหน่วยความจำและข้อมูลจำนวนมหาศาลของสมองร่วมกับมหาวิทยาลัย Ben Gurion ในประเทศอิสราเอลอีกด้วย เลวี่ กล่าวด้วยว่า การศึกษารูปแบบนี้มีความจำเป็นเพราะการสำรวจอวกาศที่กินระยะยาวนานและการอาศัยอยู่นอกโลกมีโอกาสที่จะเกิดขึ้นในเร็ววัน และเขาหวังด้วยว่า โลกอวกาศจะเป็นตัวเร่งให้เกิดการสร้างแอปพลิเคชั่น การบริการและสินค้าใหม่ๆ เกี่ยวกับการทำงานของสมองในอนาคต โดยเฉพาะในส่วนของการเก็บข้อมูลที่ควรจะมีความสะดวกรวดเร็ว ซึ่งเขาเปรียบเทียบว่า อาจจะง่ายพอๆ กับการดึงข้อมูลจาก Apple Watch ในส่วนของเที่ยวบินเอกชนที่กำลังจะเกิดขึ้นครั้งนี้ จะใช้ระยะเวลาทั้งสิ้นรวม 10 วันนั้น และถือเป็นครั้งแรกสำหรับการเดินทางเชิงพาณิชย์สู่สถานีอวกาศที่มีนักบินอวกาศถึง 4 คนอีกด้วย ที่มา : https://www.sanook.com/hitech/1554685/
10 มิ.ย. 2022
ดีพร้อมเซนเตอร์ 7 ติดตามการดำเนินโครงการในพื้นที่
อุบลราชธานี 9 มิถุนายน 2565 ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM CENTER 7) มอบหมายให้ นายรัฐนนท์ บุญญา, นายพิจิตต์ จอมหงษ์, นายสังวาลย์ จันทะเวช ร่วมติดตามการดำเนินโครงการ กิจกรรมการเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานภาคอุตสาหกรรม, กิจกรรมประยุกต์ใช้ระบบดิจิทัลในการบริหารจัดการธุรกิจ ณ สถานประกอบการ สามชัยกรุ๊ป ผลิตภัณฑ์ หมูยอ, บริษัทมาริโอ้ สตีล จำกัด จำหน่ายเหล็กและวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง, ห้างหุ้นส่วนจำกัด อุบลชัยศิริการเกษตร 6395 ผลิตภัณฑ์ จำหน่ายปุ๋ยและวัสดุสินค้าทางการเกษตร.#DIPROM #ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่7
09 มิ.ย. 2022