โครงการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมโดยใช้ทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญา
โครงการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมโดยใช้ทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญา (The Cultural Heritage Based Development Project)
รายละเอียด
แนวทางการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมโดยใช้ทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาตามลักษณะเด่นในแต่ละวัฒนธรรมมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เกิดผลที่เป็นรูปธรรม สู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ในเชิงพาณิชย์ ซึ่งจะเป็นการสานต่อกับนโยบายการส่งเสริมและพัฒนาโอทอปของประเทศที่เรียกว่า OTOP 2.0 ที่นอกเหนือจากการส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP เชิงสร้างสรรค์และตอบสนองผู้บริโภคแล้ว ยังรวมถึงการยกระดับช่องทางการจำหน่ายในตลาดที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชนให้เข้มแข็งและมีเอกลักษณ์บ่งบอกถึงวัฒนธรรมและภูมิปัญญา ด้วยวิธีการนี้จะทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการพัฒนาโดยใช้ทุนทางวัฒนธรรม สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจฐานราก ส่งผลให้เกิดการพัฒนาในชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป
วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อถ่ายทอดเสน่ห์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาของไทยโดยการพัฒนาองค์ความรู้ที่มีอยู่ในท้องถิ่น
2.2 เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ในเชิงวัฒนธรรมและภูมิปัญญาที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมศรีโคตรบูรณ์-ล้านช้าง หรือ ทราวดี หรือ สี่ชนเผ่า และวัฒนธรรมชนเผ่าไทข่า(บรู) ให้กับวิสาหกิจชุมชนและโอทอป
ผลลัพธ์
(1) ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์โดยใช้ทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมศรีโคตรบูรณ์-ล้านช้าง หรือ ทราวดี หรือ สี่ชนเผ่า และวัฒนธรรมชนเผ่าไทข่า(บรู)
(2) ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ได้เกิดแนวคิดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงวัฒนธรรมและภูมิปัญญาที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมศรีโคตรบูรณ์-ล้านช้าง หรือ ทราวดี หรือ สี่ชนเผ่า และวัฒนธรรมชนเผ่าไทข่า(บรู) สู่เชิงพาณิชย์
กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มวิสาหกิจชุมชน จำนวน 10 ราย
กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย
3.1 ผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมชุมชน วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ OTOP ระดับ 3 ดาวขึ้นไปใน 2 ประเภท คือ (1) ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย (2) ประเภทของใช้ ของตกแต่ง ของที่ระลึก
3.2 ผู้ประกอบการในข้อ 3.1 จะต้องเป็นผู้ประกอบการที่มีศักยภาพพร้อมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่เชิงพาณิชย์
ทั้งนี้ การคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการเน้นผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมชุมชน วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ OTOP ระดับ 3 – 5 ดาวที่มีประสิทธิภาพ และเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชน อาทิ ของที่ระลึกต่างๆ
สาขาเป้าหมาย
(1) ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย
(2) ประเภทของใช้ ของตกแต่ง ของที่ระลึก
ระยะเวลาดำเนินการ
พ.ย.59 - มิ.ย.60
ชื่อผู้ประสานงาน
น.ส.จันทร์จิรา ทองนำ นักวิชาการอุตสาหกรรมปฏิบัติการ
โทร. 045-313945 , 082-1532001
ติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่ facebook