ตราสัญลักษณ์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม รูปแบบใหม่ 2564
สัญลักษณ์ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมในปัจจุบัน สื่อถึงความเจริญก้าวหน้าอย้่างไม่หยุดยั้งของภาคอุตสาหกรรมไทย ภายใต้ความช่วยเหลือต่าง ๆ ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมซึ่งจะส่งผลไปถึงความสำเร็จโดยส่วนรวมของประเทศ โดยสัญลักษณ์ดังกล่าวประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ พระนารายณ์ เป็นสัญลักษณ์ที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมให้ความเคารพนับถือเพราะเป็นองค์เทพที่ช่วยเหลือมนุษย์เมื่อถึงคราวยุคเข็ญ พระนารายณ์ประทับอยู่ที่จุดศูนย์กลางของสัญลักษณ์ เพื่อสื่อความหมายว่าพระนารายณ์คือจุดกำเนิดของการก่อตั้งกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ฟันเฟือง หรือเฟืองจักรอุตสาหกรรมแทนความหมายที่เกี่ยวกับภาระหน้าที่ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมซึ่งเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม ลูกศรสีธงชาติ พุ่งจากจุดที่กำเนิดแล้วกระจายออกแทนความหมายว่าการให้บริการและความช่วยเหลือต่าง ๆ ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมมุ่งกระจายไปสู่ประชาชนในชาติ ส่วนหัวลูกศรชี้ขึ้นแทนความหมายว่าความช่วยเหลือต่าง ๆ ขององค์กร มีเป้าหมายทะยานพุ่งขึ้นสู่ความสำเร็จของคนในชาติโดยส่วนรวม คู่มือการใช้งานตราสัญลักษณ์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ระเบียบกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมว่าด้วยการใช้ตราสัญลักษณ์กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โลโก้พัฒนาผลิตภัณฑ์ โลโก้บรรจุภัณฑ์ โลโก้วิชาการ
22 มี.ค. 2564
ประวัติศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 เป็นหน่วยงานราชการส่วนกลาง สังกัดกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เดิมชื่อ “ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดบุรีรัมย์” ได้จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี เพื่อการส่งเสริมการกระจายอุตสาหกรรมไปสู่ภูมิภาค เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ.2537 มีสำนักงานตั้งอยู่เลขที่ 107 หมู่ที่ 5 ตำบลหนองกระทิง อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์และมีพื้นที่รับผิดชอบ 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดอำนาจเจริญ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2539 ตามพระราชกฤษฎีกาการแบ่งส่วนราชการของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7” โดยยังมีพื้นที่รับผิดชอบ 5 จังหวัดเช่นเดิม วันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2548 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้ย้ายที่ตั้งสำนักงานศูนย์ฯ จากจังหวัดบุรีรัมย์ มาตั้งที่จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีพื้นที่รับผิดชอบ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดยโสธร และจังหวัดอำนาจเจริญ ทั้งนี้เพื่อการสอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีนัดพิเศษ วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2540 เรื่อง การจำแนกกลุ่มเพื่อการพัฒนาเป็น 19 กลุ่มจังหวัด โดยในช่วงแรกศูนย์ฯ ได้ขอใช้อาคารเก่าของสำนักงานที่ดินอำเภอเมือง ซึ่งตั้งอยู่ภายในบริเวณศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี เป็นอาคารสำนักงานชั่วคราว ปัจจุบัน ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ ตั้งอยู่เลขที่ 222 หมู่ 24 ถนนคลังอาวุธ ตำบลขามใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 34000 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 อุบลราชธานี
20 ธ.ค. 2561
วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ ค่านิยม
ประกาศกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เรื่อง วิสัยทัศน์ พันธกิจ และแผนปฏิบัติราชการกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ประจำปี พ.ศ. 2568 ประกาศกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เรื่อง วิสัยทัศน์ พันธกิจ และแผนปฏิบัติราชการกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ประจำปี พ.ศ. 2566 - 2570
05 ก.ย. 2561
โครงสร้างการแบ่งส่วนราชการ
กฎกระทรวง การแบ่งส่วนราชการกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม พ.ศ. 2560 คำสั่งกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เรื่อง ตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เป็นส่วนราชการภายในกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คำสั่งกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เรื่อง ตั้งกองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม เป็นส่วนราชการภายในกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โครงสร้างและอัตรากำลัง กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ข้อมูลเพียงวันที่ 1 เมษายน 2567 อำนาจหน้าที่ภารกิจของหน่วยงาน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กฎกระทรวง การแบ่งส่วนราชการกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม พ.ศ. 2560 หน่วยงานส่วนกลาง ทำหน้าที่บริหารงานทั่วไป งานสารบรรณ งานด้านการเงิน การบัญชี การพัสดุ อาคารสถานที่ และยานพาหนะ งานด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคลและบริหารงานบุคคล งานด้านกฎหมาย นิติกรรมและสัญญา ตลอดจนการประชาสัมพันธ์กิจกรรมและผลงานต่าง ๆ ของกรม นอกจากนี้ยังบริหารเงินทุนหมุนเวียนเพื่อการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรม โทรศัพท์ : 0 2430 6865-6 โทรสาร : 0 2354 3153 เว็บไซต์ https://os.dip.go.th/th บทบาทภารกิจและการจัดแบ่งงานภายใน สำนักงานเลขานุการกรม ทำหน้าที่ศึกษา พัฒนาหลักสูตรรูปแบบกระบวนการบริหารจัดการธุรกิจอุตสาหกรรมแบบสากล พร้อมการเสริมสร้างพัฒนาขีดความสามารถของอุตสาหกรรม และผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม บุคลากรที่เกี่ยวข้อง เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการประกอบการอย่างมีประสิทธิภาพและสูงขึ้น โทรศัพท์ : 0 2430 6869 โทรสาร : - เว็บไซต์ https://dbcd.dip.go.th/th บทบาทภารกิจและการจัดแบ่งงานภายใน กองพัฒนาขีดความสามารถอุตสาหกรรม ทำหน้าที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการ บุคลากร และวิสาหกิจ ให้นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการประกอบการทั้งกระบวนการผลิต การบริหารจัดการ การกระจายสินค้าและบริการ รวมทั้งการประชาสัมพันธ์องค์กร และสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการใช้เทคโนโลยีในอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มผลิตภาพและขีดความสามารถในการแข่งขัน ตลอดจนสามารถสร้างผู้ประกอบการดิจิทัล เพื่อรองรับการเข้าสู่สังคมดิจิทัลได้อย่างมีศักยภาพ โทรศัพท์ : 0 2430 6871 โทรสาร : 0 2354 3221 เว็บไซต์ https://ddi.dip.go.th/th บทบาทภารกิจและการจัดแบ่งงานภายใน กองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม ทำหน้าที่ศึกษาข้อมูล วิเคราะห์ วิจัย พัฒนา ส่งเสริมนวัตกรรมและสนับสนุนวิชาการด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ระบบผลิตอัตโนมัติและวัสดุอุตสาหกรรม รวมทั้งเป็นแกนกลางร่วมกับหน่วยงานอื่นทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในการถ่ายทอดเทคโนโลยี และสนับสนุนการแปลงเทคโนโลยีสู่ภาคอุตสาหกรรม โทรศัพท์ : 0 2430 6881 โทรสาร : - เว็บไซต์ https://diit.dip.go.th/th บทบาทภารกิจและการจัดแบ่งงานภายใน กองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ทำหน้าที่ส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชนและหัตถกรรมไทย ให้มีความเข้มแข็งโดยการนำภูมิปัญญานวัตกรรม มาพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน เพื่อรักษาและต่อยอดภูมิปัญญาในเชิงพาณิชย์ การพัฒนาคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์ และการวิจัยสภาวะตลาดวิสาหกิจชุมชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมชุมชน และหัตถกรรมไทยให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ตลอดจนการพัฒนาระบบการบริหารจัดการให้แก่วิสาหกิจชุมชน เพื่อสร้างองค์ความรู้ในองค์กรอย่างเป็นระบบ รวมถึงการให้บริการข้อมูลข่าวสารของอุตสาหกรรมชุมชน และหัตถกรรมไทยเพื่อให้ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมั่นคง และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน โทรศัพท์ : 0 2430 6882 โทรสาร : 0 2382 2169 เว็บไซต์ https://dci.dip.go.th/th บทบาทภารกิจและการจัดแบ่งงานภายใน กองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน ทำหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ และกำหนดแนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มในอุตสาหกรรม โดยการส่งเสริมและพัฒนาออกแบบอุตสาหกรรม วิสาหกิจในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล รวมทั้งประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการสนับสนุนให้เกิดการรวมกลุ่มธุรกิจหรือสมาคมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการดำเนินธุรกิจอย่างมีคุณภาพ โทรศัพท์ : 0 2430 6883 โทรสาร : 0 2390 2315 เว็บไซต์ https://dcr.dip.go.th/th บทบาทภารกิจและการจัดแบ่งงานภายใน กองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ทำหน้าที่เป็นแกนกลางในการศึกษา วิเคราะห์ จัดทำยุทธศาสตร์ แผนงานโครงการส่งเสริมอุตสาหกรรม การประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ การจัดทำแผนปฏิบัติงาน และงบประมาณประจำปี การพัฒนาระบบบริหารราชการ การกำกับติดตามผลการดำเนินงานและบริหารการใช้จ่ายงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการบริหารจัดการองค์ความรู้เพื่อสนับสนุนการให้บริการข้อมูลและคำปรึกษาแนะนำแก่ธุรกิจอุตสาหกรรม โทรศัพท์ : 0 2430 6867-8 โทรสาร : 0 2354 3030 เว็บไซต์ https://dsp.dip.go.th/th บทบาทภารกิจและการจัดแบ่งงานภายใน กองยุทธศาสตร์และแผนงาน ทำหน้าที่ศึกษารูปแบบแนวทางในการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดตั้งธุรกิจ สร้างผู้ประกอบการใหม่ที่มีนวัตกรรม ทั้งการพัฒนาบ่มเพาะผู้ประกอบการ และการเสริมสร้างให้เกิดสังคมผู้ประกอบการ กระตุ้นจิตสำนึก สร้างแรงจูงใจและปัจจัยแวดล้อม เพื่อเพิ่มการลงทุนให้กับเศรษฐกิจโดยรวม โทรศัพท์ : 0 2430 6873 โทรสาร : - เว็บไซต์ https://dnb.dip.go.th/th บทบาทภารกิจและการจัดแบ่งงานภายใน กองส่งเสริมผู้ประกอบการและธุรกิจใหม่ ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางข้อมูลโลจิสติกส์อุตสาหกรรมที่มีประสิทธิภาพและทันสมัย ศึกษาและวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการบริหารจัดการโลจิสติกส์ที่เชื่อมโยงตลอดโซ่อุปทานของอุตสาหกรรม และส่งเสริมการพัฒนาผู้ประกอบการบุคลากรในภาคอุตสาหกรรม ให้สามารถประยุกต์ใช้เทคนิคการบริหารจัดการโลจิสติกส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โทรศัพท์ : 0 2430 6875-6 โทรสาร : 0 2354 3169 เว็บไซต์ https://dol.dip.go.th/th บทบาทภารกิจและการจัดแบ่งงานภายใน กองโลจิสติกส์ ทำหน้าที่ออกแบบและดูแลระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในการเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานภายในและภายนอก วางแผนนโยบายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับการบริหารจัดการ รวมทั้งเป็นศูนย์กลางให้บริการปรึกษาแนะนำการจัดการสารสนเทศด้านวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และบริการให้ข้อมูล ช่วยเหลือ ให้คำปรึกษาแนะนำเบื้องต้นในรูปแบบศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ โทรศัพท์ : 0 2430 6879 โทรสาร : 0 2202 4491 เว็บไซต์ https://ict.dip.go.th/th บทบาทภารกิจและการจัดแบ่งงานภายใน ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ส่งเสริมและพัฒนาด้านเกษตรอุตสาหกรรมตามนโยบายของรัฐบาล โดยการเชื่อมโยงตั้งแต่เกษตรกรต้นน้ำไปจนถึงผู้ผลิตกลางน้ำ และส่งต่อให้ผู้ทำการตลาดปลายน้ำ อันจะเป็นการยกระดับรายได้ และสร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจฐานรากในองค์รวม และเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน โทรศัพท์ : 0 2430 6878 โทรสาร : 0 2354 0380 เว็บไซต์ https://iaid.dip.go.th/th บทบาทภารกิจและการจัดแบ่งงานภายใน กองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม ทำหน้าที่ตรวจสอบภายในองค์กร ให้ข้อเสนอแนะต่อผู้รับการตรวจสอบ และเป็นที่ปรึกษาด้านระบบการควบคุมภายใน ทั้งในด้านการบริหารจัดการ ด้านการเงิน และด้านการบริหารความเสี่ยง โทรศัพท์ : 0 2430 6884 โทรสาร : - บทบาทภารกิจและการจัดแบ่งงานภายใน กลุ่มตรวจสอบภายใน หน่วยงานส่วนภูมิภาค ทำหน้าที่กำหนดแผนปฏิบัติการเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมพื้นที่ที่รับผิดชอบ ทำการส่งเสริมพัฒนาและสนับสนุนอุตสาหกรรมในภูมิภาคต่างๆ โดยดำเนินงานตามนโยบาย แนวทาง และมาตรการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการ รวมถึงทำหน้าที่กำหนดแนวทางการพัฒนาองค์ความรู้ที่เหมาะสมและจำเป็นสำหรับผู้ประกอบการและบุคลากรภาคอุตสาหกรรมให้สอดคล้องกับความต้องการของแต่ละพื้นที่ บทบาทภารกิจและการจัดแบ่งงานภายใน ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 - 11 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่ ที่ตั้ง : เลขที่ 158 ถนนทุ่งโฮเต็ล ตำบลวัดเกต อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50000 พื้นที่รับผิดชอบ : เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน โทรศัพท์ : 0 5208 1942 โทรสาร : 0 5324 8315 เว็บไซต์ https://ipc1.dip.go.th ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก ที่ตั้ง : เลขที่ 292 หมู่ 1 ถนนสายเลี่ยงเมืองสุโขทัย-นครสวรรค์ ตำบลบ้านกร่าง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000 พื้นที่รับผิดชอบ : พิษณุโลก สุโขทัย อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ ตาก โทรศัพท์ : 0 5500 9242 โทรสาร : 0 5500 9534 เว็บไซต์ http://ipc2.dip.go.th ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 จังหวัดพิจิตร ที่ตั้ง : เลขที่ 200 หมู่ที่ 8 ถนนเลี่ยงเมือง ตำบลท่าหลวง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร 66000 พื้นที่รับผิดชอบ : ชัยนาท ลพบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง กำแพงเพชร นครสวรรค์ พิจิตร อุทัยธานี โทรศัพท์ : 0 5603 9942 โทรสาร : 0 5661 3559 เว็บไซต์ http://ipc3.dip.go.th ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 จังหวัดอุดรธานี ที่ตั้ง : เลขที่ 399 หมู่ที่ 11 ถนนมิตรภาพ ตำบลโนนสูง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี 41330 พื้นที่รับผิดชอบ : บึงกาฬ เลย หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี โทรศัพท์ : 0 4218 0162 โทรสาร : 0 4220 7240 เว็บไซต์ http://ipc4.dip.go.th ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 5 จังหวัดขอนแก่น ที่ตั้ง : เลขที่ 86 หมู่ที่ 3 ตำบลสำราญ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40000 พื้นที่รับผิดชอบ : นครพนม มุกดาหาร สกลนคร กาฬสินธุ์ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด โทรศัพท์ : 0 4304 1362 โทรสาร : 0 4330 6873 เว็บไซต์ http://ipc5.dip.go.th ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 จังหวัดนครราชสีมา ที่ตั้ง : เลขที่ 333 ตำบลสูงเนิน อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา 30170 พื้นที่รับผิดชอบ : นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์ โทรศัพท์ : 0 4408 2032 โทรสาร : 0 4441 9089 เว็บไซต์ http://ipc6.dip.go.th ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 จังหวัดอุบลราชธานี ที่ตั้ง : เลขที่ 222 หมู่ที่ 24 ตำบลขามใหญ่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี 34000 พื้นที่รับผิดชอบ : อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ ยโสธร โทรศัพท์ : 0 4531 4216-7 โทรสาร : - เว็บไซต์ http://ipc7.dip.go.th ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 จังหวัดสุพรรณบุรี ที่ตั้ง : เลขที่ 117 หมู่ที่ 1 ถนนมาลัยแมน ตำบลดอนกำยาน อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี 72000 พื้นที่รับผิดชอบ : นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สระบุรี กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี สุพรรณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร โทรศัพท์ : 0 3596 9862 โทรสาร : 0 3544 1030 เว็บไซต์ http://ipc8.dip.go.th ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 จังหวัดชลบุรี ที่ตั้ง : เลขที่ 67 หมู่ที่ 1 ตำบลเสม็ด อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี 20000 พื้นที่รับผิดชอบ : จันทบุรี ชลบุรี ตราด ระยอง ฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี สมุทรปราการ สระแก้ว โทรศัพท์ : 0 3304 7462 โทรสาร : 0 3827 3701 เว็บไซต์ http://ipc9.dip.go.th ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ตั้ง : เลขที่ 131 หมู่ที่ 10 ตำบลวัดประดู่ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84000 พื้นที่รับผิดชอบ : ชุมพร นครศรีธรรมราช พัทลุง สุราษฎร์ธานี กระบี่ ตรัง พังงา ภูเก็ต ระนอง โทรศัพท์ : 0 7795 4342 โทรสาร : 0 7720 0449 เว็บไซต์ http://ipc10.dip.go.th ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 11 จังหวัดสงขลา ที่ตั้ง : เลขที่ 165 หมู่ที่ 1 ตำบลนำ้น้อย อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90112 พื้นที่รับผิดชอบ : นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สงขลา สตูล โทรศัพท์ : 0 7489 0632 โทรสาร : 0 7421 1904 เว็บไซต์ : http://ipc11.dip.go.th ทำหน้าที่ศึกษา วิจัย และพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรม เพื่อให้เกิดกระบวนการพัฒนา ผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ ในการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ โดยส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาเทคโนโลยีการผลิต และการจัดการวัสดุอุตสาหกรรม สร้างสรรค์ให้มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางในการให้คำปรึกษาแนะนำการบริการข้อมูล วิเคราะห์ทดสอบวัสดุ ออกแบบ พัฒนาและสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์ จากวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และนำผลการศึกษา วิจัย หรือทดสอบ มาเป็นข้อมูลเพื่อให้บริการแก่วิสาหกิจ รวมทั้งถ่ายทอดเทคโนโลยี นวัตกรรม การใช้ประโยชน์จากวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เพื่อถ่ายทอดให้แก่สถาน ประกอบการและบุคลากรในภาคอุตสาหกรรม โทรศัพท์ : 0 5401 9942 โทรสาร : 0 5428 1885 เว็บไซต์ : https://cim.dip.go.th/th บทบาทภารกิจและการจัดแบ่งงานภายใน ศูนย์วิจัยและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์
08 ส.ค 2561