ความเป็นกลางทางคาร์บอน (CARBON NEUTRALITY) และ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (NET ZERO EMISSIONS) สู่ธุรกิจที่ยั่งยืน
ความเป็นกลางทางคาร์บอน (CARBON NEUTRALITY) และ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (NET ZERO EMISSIONS) สู่ธุรกิจที่ยั่งยืน . 1. ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) คือ ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศเท่ากับปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ถูกดูดกลับคืน โดยผ่าน 3 กลไก ได้แก่ (1) “ลด” การปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น การใช้พลังงานหมุนเวียนแทนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล (Fossil Fuel) (2) “ดูดกลับ” ก๊าซเรือนกระจกจากชั้นบรรยากาศ เช่น การปลูกป่าเพื่อเพิ่มแหล่งสะสมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ตามธรรมชาติ (Carbon Sink) การใช้เทคโนโลยีในการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และนำกลับมากักเก็บใต้พื้นดิน หรือใช้ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ และ (3) “ชดเชย” การปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยการซื้อคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit Offset) เช่น ถ้าเราปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่ากับ 50 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และมีความสามารถในการดูดกลับก๊าซเรือนกระจกได้เพียง 30 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า เราสามารถชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เหลืออีก 20 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าด้วยการซื้อคาร์บอนเครดิต 2. การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) เกิดขึ้นได้เมื่อก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์มีภาวะสมดุลกับการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก กล่าวคือ หากเราปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่ากับ 50 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ก็จะต้องมีกิจกรรมที่ลดหรือดูดกลับก๊าซเรือนกระจกเท่ากับ 50 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าเช่นกัน ไม่สามารถชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยการซื้อคาร์บอนเครดิตได้ จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้เป้าหมายของความเป็นกลางทางคาร์บอน และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ห่างกันถึง 15 ปี เนื่องจาก การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้ตัดกลไกการชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยการซื้อคาร์บอนเครดิตออกไปนั้นเอง สำหรับประเทศไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นอันดับที่ 21 ของโลก ในปี ค.ศ. 2019 ประเทศไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่ากับ 354 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า คาดว่าจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุดเท่ากับ 368 ล้านต้นคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ภายในปี ค.ศ. 2025 เพื่อเข้าสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี ค.ศ. 2050 และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เป็นศูนย์ ภายในปี ค.ศ. 2065 ตามที่ได้ประกาศไว้ ที่มาจาก : บทความโดย นางสาวอัฏฐารจ ชาวชน นักวิชาการสิ่งแวดล้อมปฏิบัติการ กองติดตามประเมินผลสิ่งแวดล้อม เว็ปไซต์ :https://shorturl.asia/m4PNG
20 ส.ค 2567
ประชาสัมพันธ์ งาน "ISAN Moving Green Forward" ก้าวไปข้างหน้าเพื่อโลก เพื่อเราชาวอีสาน
ประชาสัมพันธ์ งาน "ISAN Moving Green Forward" ก้าวไปข้างหน้าเพื่อโลก เพื่อเราชาวอีสาน ในวันพุธที่ 24 กรกฎาคม 2567 เวลา 08.00 – 17.30 น. ณ ห้องประชุมมงกุฎเพชร โรงแรมโฆษะ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น พบกับกิจกรรมสุด Exclusive ฟรี จำนวนจำกัด250ที่นั่ง เท่านั้น สำหรับ100ท่านแรกที่ลงทะเบียนหน้างานรับของขวัญสุดพิเศษ Seminar : เจาะลึกเทรนด์ธุรกิจอุตสาหกรรมสีเขียวด้วย Green Marketing ,Green Packaging Green Economy กับอุตสาหกรรมในพื้นที่ และแชร์ประสบการณ์ขับเคลื่อนธุรกิจด้วย BCG Economy Model โดยวิทยากรและองค์กรธุรกิจชั้นนำ Green Business clinic : รับคำปรึกษาเชิงธุรกิจแบบตัวต่อตัวด้านสินเชื่อและสิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับธุรกิจรักษ์โลก อีกทั้งโชว์แอนด์แชร์จากผู้ประกอบการที่อยู่ในแวดวง BCG พิเศษเฉพาะผู้เข้าร่วมงาน ลงทะเบียนรับสิทธิ์การสนับสนุน - คำปรึกษาด้านออกแบบบรรจุภัณฑ์รักษ์โลก - สินเชื่อด้าน BCG - รับบริการฟรี จากศูนย์ ITC DC5 - รับของที่ระลึกมากมายจากบูธภายในงาน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทรศัพท์ : 0918671569 บริษัทไมซ์โซลูชั่น(ประเทศไทย) จำกัด Line Id : Mice.th E-Mail : Micesolution.th@gmail.com สมัครเข้าร่วมคลิ๊กลิงก์ https://forms.gle/8YCZLBRtHDzSWUt27 จัดโดย ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่5 ขอนแก่น กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
16 ก.ค. 2567
รับสมัครเข้าร่วมกิจกรรมการเพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการธุรกิจด้วยโมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Enterprise)
ประชาสัมพันธ์รับสมัครเข้าร่วมกิจกรรมการเพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการธุรกิจด้วยโมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Enterprise) ภายใต้โครงการยกระดับธุรกิจ SMEs ด้วยการประยุกต์ใช้โมเดลเศรษฐกิจ BCG ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 จำนวน 6 กิจการ ดำเนินการโดย ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมกับ บริษัท ออซั่ม เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด
26 มิ.ย. 2567
รับสมัครเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์อัพไซเคิล (Upcycled product)
รับสมัครเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์อัพไซเคิล (Upcycled product) โครงการการยกระดับธุรกิจ SMEs ด้วยการประยุกต์ใช้โมเดลเศรษฐกิจ BCG ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ดำเนินการโดยศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมกับ บริษัท โพรแอค เน็ตเวิร์ค จำกัด เป้าหมาย 4 กิจการ
26 มิ.ย. 2567
รับสมัครเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาและยกระดับกระบวนการผลิตพลังงานและเชื้อเพลิงจากชีวมวล (Biomass)
รับสมัครผู้ประกอบการ SMEs เข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาและยกระดับกระบวนการผลิตพลังงานและเชื้อเพลิงจากชีวมวล (Biomass) โครงการการยกระดับธุรกิจ SME ด้วยการประยุกต์ใช้โมเดลเศรษฐกิจ BCG โครงการการยกระดับธุรกิจ SME ด้วยการประยุกต์ใช้โมเดลเศรษฐกิจ BCG ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 วัตถุประสงค์เพื่อเพื่อพัฒนาและยกระดับกระบวนการผลิตพลังงานและเชื้อเพลิงจากชีวมวล (Biomass) ให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนผลิตเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตามแนวคิด BCG และส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ำ กลุ่มเป้าหมาย : วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ภาคการผลิตที่จดทะเบียนพาณิชย์ / นิติบุคคล / โรงงาน ที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงในกระบวนการผลิต หรืออื่นๆ จำนวน 3 กิจการ ระยะเวลาดำเนินโครงการ : ปัจจุบัน - 15 กันยายน 2567 ระยุกต์ใช้โมเดลเศรษฐกิจ BCG
25 มิ.ย. 2567
"นายก เศรษฐา" หนุนผู้ประกอบการไทยพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงรส ให้สอดคล้องความต้องการผู้บริโภคในจีน
"นายก เศรษฐา" หนุนผู้ประกอบการไทยพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงรส ให้สอดคล้องความต้องการผู้บริโภคในจีน นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี มุ่งส่งเสริมอุตสาหกรรมอาหารไทย โดยเฉพาะเครื่องปรุงรสไทยให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น เพิ่มมูลค่าวัตถุดิบจากท้องถิ่น สู่การส่งออกในตลาดต่างประเทศ ยกระดับรายได้ผู้ประกอบการอาหารไทย พร้อมสนับสนุนแนวทางให้แก่ผู้ประกอบไทยที่สนใจตลาดจีน พัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงรสให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคในจีน ซึ่งตลาดที่มีผู้บริโภคชื่นชอบอาหารและเครื่องปรุงรสไทยจำนวนมาก ทั้งนี้ ปัจจุบันวัตถุดิบและเครื่องปรุงรสไทยได้รับความนิยมในกลุ่มผู้บริโภคชาวจีนเป็นอย่างมาก สอดคล้องกับข้อมูลจากสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ (สคต.) ณ เมืองเซียะเหมิน สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งระบุว่า มีผู้บริโภคชาวจีนจำนวนมากที่นิยมและชื่นชอบอาหารไทย สะท้อนได้จากร้านอาหารไทยในจีนมีการเติบโตต่อเนื่อง โดยผู้ประกอบการร้านอาหารส่วนใหญ่มักเลือกใช้เครื่องปรุงรสไทยในการดำเนินธุรกิจร้านอาหาร เนื่องจากเครื่องปรุงรสของไทยมีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ ผลิตจากวัตถุดิบธรรมชาติ ดีต่อสุขภาพ และมีช่องทางการจำหน่ายที่หลากหลาย เช่น ในร้านสะดวกซื้อ ห้างสรรพสินค้า หรือ บนแพลตฟอร์มออนไลน์ รวมถึงตรงกับกระแสแนวโน้มเรื่องการรักสุขภาพในปัจจุบันที่สูงขึ้น ทำให้ผู้บริโภคชาวจีนมีความใส่ใจทางด้านสุขภาพและรสชาติอาหารมากขึ้น จึงนับเป็นโอกาสสำคัญสำหรับผู้ประกอบการไทยที่จะสามารถเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าในอุตสาหกรรมเครื่องปรุงรสของไทย ไปสู่ตลาดจีนเพิ่มขึ้นได้ โดยทางสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองเซียะเหมินฯ ได้เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงรสของไทยไว้ ดังนี้ 1) เน้นรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ เนื่องจากเครื่องปรุงรสแต่ละอย่างของไทย มีกลิ่นและรสสัมผัสที่แตกต่างกัน ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว 2) ควรใช้วัตถุดิบธรรมชาติในการผลิต และหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี เนื่องจากผู้บริโภคจีนให้ความสำคัญกับสุขภาพ 3) ประชาสัมพันธ์ถึงข้อมูลด้านวัตถุดิบที่นำมาผลิตเครื่องปรุงรส เนื่องจากเครื่องปรุงรสไทยหลายชนิดมีสมุนไพรและเครื่องเทศเป็นส่วนประกอบ ทำให้มีคุณสมบัติทางยา และบำรุงสุขภาพ นอกจากนี้ ควรมีการจำกัดปริมาณของน้ำตาลและโซเดียมในเครื่องปรุงที่ใช้ให้อยู่ในปริมาณต่ำ เพื่อให้ตรงกับเทรนด์การดูแลสุขภาพของผู้บริโภคชาวจีน 4) เน้นทำการตลาดออนไลน์มากขึ้น เช่น บนเว็บไซต์ โซเชียลมีเดียต่างๆ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจากศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร (Food Intelligence Center) กระทรวงอุตสาหกรรม พบว่าในปี 2566 ไทยส่งออกเครื่องปรุงรสเป็นอันดับ 6 ของโลก มูลค่า 977 ล้านเหรียญสหรัฐ มีอัตราเติบโตเฉลี่ย 5 ปีที่ร้อยละ 7.6 โดยตลาดส่งออกเครื่องปรุงรสของไทยอยู่ใน 3 ภูมิภาคสำคัญ ได้แก่ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ยุโรป และอเมริกาเหนือ นายชัย ย้ำว่า นายกรัฐมนตรีพร้อมสนับสนุนอุตสาหกรรมเครื่องปรุงรสของไทย ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของ Soft Power ด้านอาหาร ที่สามารถขยายตลาดการส่งออกได้มากขึ้น ด้วยเอกลักษณ์เฉพาะตัวของเครื่องปรุงไทย ทั้งช่วยชูรสชาติ สร้างความกลมกล่อม และเสริมสีสันให้อาหาร รวมทั้ง หลากหลายเป็นทางเลือกให้ผู้บริโภค ทั้งนี้ จีนถือเป็นตลาดใหญ่ที่มีศักยภาพ เป็นประโยชน์กับผู้ประกอบการหากได้รับการผลักดันและส่งเสริมให้เติบโต และแข่งขันได้ในตลาดต่างประเทศ #dipromcenter7 #DIPROM #ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่7 #กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ที่มา (mgronline, 2567) Website : https://mgronline.com/uptodate/detail/9670000049778
10 มิ.ย. 2567
ผลิตภัณฑ์ชุมชน แอนนาผ้าไทย ภายใต้กิจกรรมสืบสาน พัฒนาผลิตภัณฑ์ หัตถกรรม ประณีตศิลป์ เชิงพาณิชย์ (Premium Product)
ผลิตภัณฑ์ของ แอนนาผ้าไทย ที่ได้รับการพัฒนาภายใต้กิจกรรมสืบสาน พัฒนาผลิตภัณฑ์ หัตถกรรม ประณีตศิลป์ เชิงพาณิชย์ (Premium Product) โดยการสร้างสรรค์นำเอาอัตลักษณ์ ภูมิปัญญา วัฒนธรรม ของท้องถิ่น มาผสมผสานกับเทคโนโลยี และนวัตกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมประณีตศิลป์ให้มีความโดดเด่น มีคุณค่า มีคุณประโยชน์ สามารถใช้งานได้อย่างหลากหลายมากขึ้น ทันกับยุคสมัย (Trend)
08 พ.ค. 2567
ผลิตภัณฑ์ชุมชน วิสาหกิจชุมชนกลุ่มสตรีตัดเย็บผ้า (บ้านหนองแล้ง) ภายใต้กิจกรรมสืบสาน พัฒนาผลิตภัณฑ์ หัตถกรรม ประณีตศิลป์ เชิงพาณิชย์ (Premium Product)
ผลิตภัณฑ์ของ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มสตรีตัดเย็บผ้า (บ้านหนองแล้ง) ที่ได้รับการพัฒนาภายใต้กิจกรรมสืบสาน พัฒนาผลิตภัณฑ์ หัตถกรรม ประณีตศิลป์ เชิงพาณิชย์ (Premium Product) โดยการสร้างสรรค์นำเอาอัตลักษณ์ ภูมิปัญญา วัฒนธรรม ของท้องถิ่น มาผสมผสานกับเทคโนโลยี และนวัตกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมประณีตศิลป์ให้มีความโดดเด่น มีคุณค่า มีคุณประโยชน์ สามารถใช้งานได้อย่างหลากหลายมากขึ้น ทันกับยุคสมัย (Trend)
08 พ.ค. 2567
ผลิตภัณฑ์ชุมชน กลุ่มทอผ้าไหมโนนสวาง ภายใต้กิจกรรมสืบสาน พัฒนาผลิตภัณฑ์ หัตถกรรม ประณีตศิลป์ เชิงพาณิชย์ (Premium Product)
ผลิตภัณฑ์ของ กลุ่มทอผ้าไหมโนนสวาง ที่ได้รับการพัฒนาภายใต้กิจกรรมสืบสาน พัฒนาผลิตภัณฑ์ หัตถกรรม ประณีตศิลป์ เชิงพาณิชย์ (Premium Product) โดยการสร้างสรรค์นำเอาอัตลักษณ์ ภูมิปัญญา วัฒนธรรม ของท้องถิ่น มาผสมผสานกับเทคโนโลยี และนวัตกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมประณีตศิลป์ให้มีความโดดเด่น มีคุณค่า มีคุณประโยชน์ สามารถใช้งานได้อย่างหลากหลายมากขึ้น ทันกับยุคสมัย (Trend)
08 พ.ค. 2567
ผลิตภัณฑ์ชุมชน กลุ่มทอผ้าหนองคูใหญ่ ภายใต้กิจกรรมสืบสาน พัฒนาผลิตภัณฑ์ หัตถกรรม ประณีตศิลป์ เชิงพาณิชย์ (Premium Product)
ผลิตภัณฑ์ของ กลุ่มทอผ้าหนองคูใหญ่ ที่ได้รับการพัฒนาภายใต้กิจกรรมสืบสาน พัฒนาผลิตภัณฑ์ หัตถกรรม ประณีตศิลป์ เชิงพาณิชย์ (Premium Product) โดยการสร้างสรรค์นำเอาอัตลักษณ์ ภูมิปัญญา วัฒนธรรม ของท้องถิ่น มาผสมผสานกับเทคโนโลยี และนวัตกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมประณีตศิลป์ให้มีความโดดเด่น มีคุณค่า มีคุณประโยชน์ สามารถใช้งานได้อย่างหลากหลายมากขึ้น ทันกับยุคสมัย (Trend)
08 พ.ค. 2567