หมวดหมู่
แท็ก:
ตราสัญลักษณ์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม รูปแบบใหม่ 2564
สัญลักษณ์ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมในปัจจุบัน สื่อถึงความเจริญก้าวหน้าอย้่างไม่หยุดยั้งของภาคอุตสาหกรรมไทย ภายใต้ความช่วยเหลือต่าง ๆ ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมซึ่งจะส่งผลไปถึงความสำเร็จโดยส่วนรวมของประเทศ โดยสัญลักษณ์ดังกล่าวประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ พระนารายณ์ เป็นสัญลักษณ์ที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมให้ความเคารพนับถือเพราะเป็นองค์เทพที่ช่วยเหลือมนุษย์เมื่อถึงคราวยุคเข็ญ พระนารายณ์ประทับอยู่ที่จุดศูนย์กลางของสัญลักษณ์ เพื่อสื่อความหมายว่าพระนารายณ์คือจุดกำเนิดของการก่อตั้งกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ฟันเฟือง หรือเฟืองจักรอุตสาหกรรมแทนความหมายที่เกี่ยวกับภาระหน้าที่ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมซึ่งเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม ลูกศรสีธงชาติ พุ่งจากจุดที่กำเนิดแล้วกระจายออกแทนความหมายว่าการให้บริการและความช่วยเหลือต่าง ๆ ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมมุ่งกระจายไปสู่ประชาชนในชาติ ส่วนหัวลูกศรชี้ขึ้นแทนความหมายว่าความช่วยเหลือต่าง ๆ ขององค์กร มีเป้าหมายทะยานพุ่งขึ้นสู่ความสำเร็จของคนในชาติโดยส่วนรวม คู่มือการใช้งานตราสัญลักษณ์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ระเบียบกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมว่าด้วยการใช้ตราสัญลักษณ์กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โลโก้พัฒนาผลิตภัณฑ์ โลโก้บรรจุภัณฑ์ โลโก้วิชาการ
22 มี.ค. 2564
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ส่งเสริมสุขภาวะองค์กร เสริมแกร่งสถานประกอบการ
อุบลราชธานี 20 มีนาคม 2564 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมสุขภาวะองค์กรใน SMEs หรือ SHAP ซึ่งได้ดำเนินการสร้างองค์กรแห่งความสุขเพื่อเพิ่มผลิตภาพ SMEs ไทยมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีการถ่ายทอดองค์ความรู้การสร้างสุขภาวะองค์กรตามหลัก Happy Workplace จากทางผู้จัดและเครือข่ายหน่วยงานซึ่งทำหน้าที่สนับสนุนโครงการ ให้สถานประกอบการมีความสุข ทำงานเป็นทีมได้ดี ซึ่งจะเป็นรากฐานให้บุคลากรในองค์กรสามารถปรับตัว และนำไปใช้ในการขับเคลื่อนองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในวันนี้ (20 มีนาคม 2564) ได้รับเกียรติจาก ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในหลักสูตร "Happy and productive workplace คนสำราญ งานสำเร็จ" ณ บริษัท อุบลซันฟลาวเวอร์ จำกัด ต.นาดี อ.นาเยีย จ.อุบลราชธานี โดยมี คุณวินัยศักดิ์ เหมืองทอง ร่วมเป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้ ร่วมกันจัดทำค่านิยมองค์กร สนับสนุนให้พนักงานในองค์กรมีส่วนร่วมในการออกแบบกิจกรรมสำหรับสร้างความสุข พร้อมทั้งเขียนโครงการ วางแผน และ กรอบเวลา ในการเสริมแกร่งคุณภาพชีวิตของพนักงานเพื่อขับเคลื่อนองค์กรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยมีบุคลากรเข้าร่วมกว่า 50 คน สำหรับการจัดกิจกรรมในครั้งนี้มีเจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 ร่วมสนับสนุนการจัดกิจกรรม ได้แก่ นายสุริยา โพธิยา, นางแพงศรี พงษ์เกษม, นายอัครภณ จำปารัตน์, นายศุภชัย สืบวงศ์, นายมิตร แสงกล้า #DIPROM #ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่7 #กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม #กระทรวงอุตสาหกรรม
20 มี.ค. 2564
ศภ.7 กสอ. เสริมแกร่ง Logistics ร่วมเพิ่มศักยภาพ SMEs แลกเปลี่ยนโซ่อุปทานภาคอุตสาหกรรม
อุบลราชธานี 10 มีนาคม 2564 ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มอบหมายให้ นายกฤษณะ นอขุนทด ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรม พร้อมเจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 ร่วมลงพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดศรีสะเกษ เพื่อชี้แจงรายละเอียดโครงการและการดำเนินกิจกรรม ในโครงการเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานภาคอุตสาหกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 เพื่อเตรียมความพร้อมและแลกเปลี่ยนแนวทาง ความต้องการ และปัญหาในการดำเนินธุรกิจ ณ บริษัท อีสานคอนกรีต 1991 จำกัด ในผลิตภัณฑ์ ปูน คอนกรีต และอุปกรณ์ก่อสร้าง และ บริษัท อุบลซันฟลาวเวอร์ จำกัด ในผลิตภัณฑ์ แป้งมันสำปะหลัง.เจ้าหน้าที่ร่วมนายรัฐนนท์ บุญญา, นายพิจิตต์ จอมหงษ์, นายมิตร แสงกล้า
10 มี.ค. 2564
โอกาสดี โอกาสเดียว ที่คุณจะได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยผู้เชี่ยวชาญ
โอกาสดี โอกาสเดียว ที่คุณจะได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยผู้เชี่ยวชาญ กิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด (Agro-Processing Product 4.0 : APP) ภายใต้โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปแบบครบวงจร (Agro-Processing Industry Esan Lower 2) ปีงบประมาณ 2564 กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปหรืออุตสาหกรรมอื่นที่เกี่ยวข้อง ในพื้นที่ 4 จังหวัด (อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร ศรีสะเกษ) จำนวนไม่น้อยกว่า 50 ราย ???????????????? ผลที่ได้จากการเข้าร่วมโครงการ : สถานประกอบการได้รับการพัฒนายกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ตอบสนองความต้องการ การดำเนินงาน : ได้รับการประเมินศักยภาพสถานประกอบการ จำนวน 50 ราย ได้รับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 30 ราย/ 30 ผลิตภัณฑ์ . ระยะเวลา : จำนวน 8 เดือน ตั้งแต่ เดือนมีนาคม 2564 ถึง เดือนกรกฎาคม 2564 จัดโดย : กลุ่มพัฒนาการส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรม ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เลขที่ 222 หมู่ที่ 24 ถ.คลังอาวุธ ต.ขามใหญ่ อ.เมืองอุบลราชธานี 34000 โทรศัพท์ : 08 9190 5725 (รัฐนนท์) 06 2889 4156 (เกษรินทร์) รับสมัครแล้ววันนี้ จนถึงวันที่ 8 มีนาคม 2564 สมัครก่อนมีสิทธิ์ก่อน สมัครเลย หมายเหตุ : ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 ขอสงวนสิทธิ์ในการคัดเลือกผู้เข้าร่วมกิจกรรม ดังนี้ 1. ลำดับในการสมัครเข้ากิจกรรมใน กูเกิ้ลฟอร์ม 2. ขอสงวนสิทธิ์ให้กับผู้ที่ไม่เคยเข้าร่วมกิจกรรม/โครงการ ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ปีงบประมาณ 2564 3. ขอสงวนสิทธิ์ในการคัดเลือกสถานประกอบการ โดยใช้เกณฑ์ของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 4. ปิดรับสมัครวันที่ 8 มีนาคม 2564
01 มี.ค. 2564
แตกต่างอย่างสร้างสรรค์...เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์สู้ Covid-19
แตกต่างอย่างสร้างสรรค์...เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์สู้ Covid-19.1-3 มีนาคม 2564ณ ห้องประทุมมาศ โรงแรมสุนีย์ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี.โดย ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมภายใต้กิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด : APP ภายใต้โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปแบบครบวงจร (Agro-Processing Industry Esan Lower 2).ทีมวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างกลยุทธ์ทางการตลาดทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแปรรูปสินค้าเกษตรแปรรูป (จากสถาบันอาหาร)ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างและพัฒนาแบรนด์.ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการก่อนเข้าสู่การให้คำแนะนำเชิงลึกต่อไปลงทะเบียนเลยhttps://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLScOuIJi5oEVhz7a-Unhncm2dSR5drWnMfZ1E6-EeWJQGAHNUg/viewform *ในข้อ 8 เลือกกิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด.สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม08-77858217 (คุณฝ้าย), 09-02426265 (คุณติ้ม)
25 ก.พ. 2564
ศภ.7 กสอ. ร่วมประชุมติดตามการดำเนินโครงการกลุ่มจังหวัดอีสานล่าง 2 ผลักดันผู้ประกอบการสู่นักธุรกิจเกษตร
อุบลราชธานี 19 กุมภาพันธ์ 2564 ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มอบหมายให้ นายฉาย ทองละมุล ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงานภูมิภาค เข้าร่วมประชุมคณะอนุกรรมการติดตามเร่งรัดและประเมินผลการดำเนินโครงการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี ของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 ครั้งที่ 1/2564 ณ ห้องประชุมปทุมวรราช ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี โดยมี นายศุภศิษย์ กอเจริญยศ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เป็นประธาน
19 ก.พ. 2564
ศภ.7 กสอ. ลงพื้นที่พบผู้ประกอบการ...ร่วมบริหารจัดการโลจิสติกส์...เสริมโซ่อุปทานภาคอุตสาหกรรม
ระหว่างวันที่ 16-17 กุมภาพันธ์ 2564 ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 มอบหมายให้ นายรัฐนนท์ บุญญา, นายพิจิตต์ จอมหงษ์ และนายศุภชัย สืบวงค์ ร่วมลงพื้นที่สำรวจและประเมินศักยภาพ แลกเปลี่ยนแนวทางในการดำเนินกิจการ ความต้องการ ความพร้อม สถานประกอบการซึ่งสมัครเข้าร่วมโครงการ "การเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานภาคอุตสาหกรรม" ประจำปีงบประมาณ 2564 พื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดยโสธร ณ บริษัท บัวทองสมุนไพรและสปา จำกัด ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสมุนไพร, บริษัท พรูเด็นเชียลแอมพรี (ไทยแลนด์) จำกัด ผลิตภัณฑ์ ชุด Cleanroom, บริษัท 3 เอ เบฟเวอเรจ จำกัด ผลิตน้ำดื่ม, บริษัท จรินทร์กิจ แอนด์ ทรานสปอร์ต จำกัด ผลิตภัณฑ์วุ๊ดชิพ และกิจการการขนส่ง , หจก. ลำธารสราญรมย์ ผลิตน้ำตกจำลองจากไฟเบอร์กลาส
17 ก.พ. 2564
ศภ.7 กสอ. สร้างแนวคิดการเพิ่มมูลค่าการออกแบบและแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าทออีสาน ต่อยอดอัตลักษณ์ ลวดลาย ยกระดับสินค้า เพิ่มศักยภาพชุมชน ยุค New Normal
อุบลราชธานี 17 กุมภาพันธ์ 2564 - ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร "สร้างแนวคิดเพิ่มมูลค่าการออกแบบและแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าทออีสาน ยุค New Normal" ภายใต้โครงการยกระดับผ้าทอมืออัตลักษณ์อีสานสู่สากล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ณ โรงแรมบ้านสวนคุณตา กอล์ฟ แอนด์ รีสอร์ท กล่าวรายงานโดย นายสุเทพ ทุตา ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมอุตสาหกรรมชุมชน.ครั้งนี้เป็นการจัดกิจกรรมต่อเนื่องจากหลักสูตร "การสร้างอัตลักษณ์ ลวดลาย สี เส้นใย เทคนิคการทอ ตระหนัก วัตถุดิบ" ที่ผ่านมา เป็นการเพิ่มศักยภาพด้านการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ และสามารถเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมผ้าทอมือให้กับผู้ประกอบการ เป็นการสร้างแนวคิดเพิ่มมูลค่าการออกแบบและแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าทออีสาน ยุค New Normal ตัวอย่างเช่น ผ้า หมวก กระเป๋า ออกแบบและผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า มีมาตรฐาน มีคุณภาพ เหมาะสมกับการใช้งาน พัฒนาต่อยอดและเพิ่มรายได้ให้กับผู้ประกอบการ ยกระดับสินค้าผ้าทอมือได้อย่างยั่งยืน มี รศ.ดร.ศักดิ์ชาย สิกขา, คุณอุไร เสนสุคณธ์ และทีมผู้เชี่ยวชาญ ร่วมเป็นวิทยากร มีผู้ประกอบการเข้าร่วมกว่า 40 คน.เจ้าหน้าที่ร่วมนางเปลี่ยน จำปาหอม, นายนฤพนธ์ ทาวะรัตน์, นายตระกูล อ่อนรัตน์,นางสาวอภิชญา มาศรักษา, นายมิตร แสงกล้า.#ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่7
17 ก.พ. 2564
ด่วน ! ขยายวันรับสมัคร ถึง 24 กุมภาพันธ์ 2564 ...ห้ามพลาด
ด่วน ! ขยายวันรับสมัคร ถึง 24 กุมภาพันธ์ 2564 ...ห้ามพลาด.???? โครงการดีๆ มาแล้วครับ !!!???? โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปแบบครบวงจร ปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ภายใต้งบประมาณกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2(จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดยโสธร จังหวัดอำนาจเจริญ).ท่านสามารถเลือกเข้าร่วม???? กิจกรรมเส้นทางเกษตรปลอดภัย???? กิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด???? กิจกรรมยกระดับอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปสู่มาตรฐาน???? กิจกรรมยกระดับธุรกิจสู่การบริหารจัดการที่ทันสมัย.???? ลงทะเบียนเลย (รับสมัครถึง 24 กุมภาพันธ์ 2564)???? https://forms.gle/npnCYfC4fu1pV2oN7.???? สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 082-153-2001 , 087-869-6321 .???? ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
17 ก.พ. 2564
ศภ.7 กสอ. เพิ่มศักยภาพวิสาหกิจชุมชน ยกระดับเกษตรแปรรูป พัฒนาผลิตภัณฑ์ตอบสนองความต้องการของตลาด
อุบลราชธานี 16 กุมภาพันธ์ 2564 - ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร "การเพิ่มศักยภาพวิสาหกิจชุมชนด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูป" โครงการส่งเสริมเกษตรอุตสาหกรรมครบวงจร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 กล่าวรายงานโดย นายสุริยา โพธิยา ผู้อำนวยการกลุ่มบริการธุรกิจอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ.การจัดฝึกอบรมในครั้งนี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 16-19 กุมภาพันธ์ 2564 ซึ่งผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมได้รับคำแนะนำในการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์สินค้าเกษตรแปรรูปให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดและผู้บริโภคได้ในเชิงพาณิชย์ จากวิทยากรโดย นายชัยยงค์ ภูมิพระบุ กรรมการผู้จัดการ, นายพิทักษ์ ศุภนันทการ, ดร.ธรรมวิมล สุขเสริม และทีมผู้เชี่ยวชาญ มีเนื้อหาในส่วนของแนวคิดในการส่งเสริมและพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรมแบบครบวงจร มาตรฐานและการแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร การออกแบบกระบวนการผลิตและลดต้นทุนผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปการสร้างตราสินค้า/ ช่องทางการขาย/ การตลาดและการทำสื่อประชาสัมพันธ์ขายสินค้า แบบจำลองธุรกิจ (Business Model Canvas) และการวิเคราะห์โอกาสทางธุรกิจ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการอาหารเพื่อกระบวนการผลิตภัณธ์อาหารแปรรูปสำหรับผู้ประกอบการขนาดเล็ก แนวคิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารพื้นบ้านแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าทางการตลาด แนวคิดการพัฒนาและเลือกใช้บรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป การวิพากย์และนำเสนผลงานร่างการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ ซึ่งจะเป็นส่วนช่วยให้ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมทั้ง 40 คน สามารถพัฒนาธุรกิจของตนเองให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจใหม่ มีองค์ความรู้ มีกระบวนการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการ การดำเนินธุรกิจ สร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนได้.เจ้าหน้าที่ร่วมนายพัฒนพงษ์ กลิ่นลั่นทม, นางแพงศรี พงษ์เกษม, นายตระกูล อ่อนรัตน์, นายอัครภณ จำปารัตน์, นายจิตติ โสบุญ.#ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่7
16 ก.พ. 2564