โทรศัพท์ 1358
การค้นหาขั้นสูง

หมวดหมู่
“ก.อุตฯ”คุมเข้มมาตรการสกัด‘ฝุ่น PM2.5’ สั่งตรวจสอบโรงงานทั่วประเทศเสี่ยงปล่อยฝุ่นพิษเกินมาตรฐาน”
ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กำชับทุกหน่วยปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) พื้นที่ กทม.และปริมณฑลในระยะเร่งด่วน สั่งตรวจสอบ-บังคับใช้กฎหมายในโรงงานควบคุมมลพิษ ชงมาตรการจูงใจหนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า พร้อมอัดโปรสินเชื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยอย่างครบวงจรปีงบประมาณ 2562-2564 รวม 6,000 ล้านบาท! นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า จากการรายงานสถานการณ์และคุณภาพอากาศประเทศไทย โดยเฉพาะพื้นที่ กทม.และปริมณฑล ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา พบว่าค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) มีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งเป็นผลจากการดำเนินงานตามมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ของรัฐบาลที่ได้บูรณาการความร่วมมือจากหลายฝ่ายในการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ดังนั้น เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับปัญหาดังกล่าว กระทรวงอุตสาหกรรม ได้กำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาไว้ทั้ง 3 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ภาคอุตสาหกรรม ภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ และภาคเกษตรอุตสาหกรรม ทั้งมาตรการเร่งด่วนและมาตรการระยะยาว โดยในส่วนของมาตรการเร่งด่วนในภาคอุตสาหกรรม ให้ตรวจสอบ เฝ้าระวังและบังคับใช้กฎหมายกับโรงงานอุตสาหกรรมอย่างเข้มงวด โดยเฉพาะโรงงานที่มีการใช้หม้อน้ำ หรือแหล่งกำเนิดความร้อน และอุปกรณ์การเผาไหม้ในพื้นที่ กทม. และจังหวัดปริมณฑล พร้อมกับขอความร่วมมือผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรม ตรวจสอบ ควบคุมระบบบำบัดมลพิษทางอากาศ ให้ทำงานเต็มประสิทธิภาพ รวมถึงการปรับแผนการผลิตและขอความร่วมมือให้มีการติดตั้งระบบตรวจสอบ การระบายมลพิษอากาศแบบอัตโนมัติต่อเนื่อง (CEMS) และเชื่อมโยงข้อมูลมายังกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) รวมทั้ง การปรับแต่งการเผาไหม้เชื้อเพลิงจากหม้อน้ำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเผาไหม้และลดปัญหามลพิษทางอากาศ และสำหรับในระยะยาวจะดำเนินการขยายผลการติดตั้งระบบตรวจสอบการระบายมลพิษอากาศแบบอัตโนมัติต่อเนื่อง (CEMS) โดยมีการเชื่อมโยงข้อมูลให้ครอบคลุมพื้นที่และประเภทการประกอบกิจการเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมจำพวก 3 เตาเผาที่มีการใช้เชื้อเพลิง ชีวมวล และหม้อน้ำตามขนาดที่กำหนด รวมถึงการทบทวนและปรับปรุงมาตรฐานการระบายมลพิษทางอากาศจากโรงงานให้เข้มงวดมากขึ้น ตลอดจนการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และการออกกฎหมายรายงานการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษ (PRTR) มาตรการในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ ได้จัดทำมาตรการจูงใจเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการผลิตและการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าผ่านมาตรฐานที่เกี่ยวกับยานยนต์ไฟฟ้า ที่ประกาศใช้แล้ว 37 มาตรฐาน จากทั้งหมด 63 มาตรฐาน โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปีงบประมาณ 2564 พร้อมทั้งจัดหาเครื่องมือ อุปกรณ์ เพื่อรองรับการทดสอบรถยนต์หรือชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้า ส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในส่วนราชการ ส่งเสริมการลงทุนเพื่อให้เกิดการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า และรถบัสไฟฟ้า ภายในประเทศ และการกำหนดอัตราค่าไฟคงที่ทุกช่วงเวลาสำหรับการชาร์ตยานยนต์ไฟฟ้า รวมทั้งจัดทำแผนการขยายสถานีอัดประจุไฟฟ้าให้ครอบคลุมทั่วประเทศ นอกจากนี้ยังมีมาตรการในภาคเกษตรอุตสาหกรรม ด้วยการกำหนดนโยบายลดปริมาณอ้อยไฟไหม้ : อ้อยสด เป็นร้อยละ 20:80 ในฤดูการผลิตปี 2563/2564 โดยมีมาตรการกำหนดราคาอ้อยสดกับราคาอ้อยไฟไหม้ที่แตกต่างกัน เพื่อให้ชาวไร่อ้อยที่ตัดอ้อยไฟไหม้หันกลับมาตัดอ้อยสด จัดซื้อรถสางใบอ้อย เพื่อให้ชาวไร่อ้อยรายเล็กได้ยืมไปใช้ และมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐในการสนับสนุนเครื่องจักรกลการเกษตร โดยโครงการส่งเสริมสินเชื่อเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยอย่างครบวงจรปีงบประมาณ 2562-2564 วงเงินปีละ 2,000 ล้านบาท รวมระยะเวลา 3 ปี เป็นจำนวน 6,000 ล้านบาท ตั้งเป้าเพื่อการพัฒนาแหล่งน้ำ และการบริหารจัดการน้ำในไร่อ้อย จัดซื้อรถตัดอ้อย รถคีบอ้อย รถแทรกเตอร์ รถบรรทุกอ้อย และเครื่องจักรกลการเกษตรอื่น ๆ “กระทรวงฯ มีการตรวจสอบ และติดตามสถานการณ์โรงงานที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่สามารถก่อให้เกิด ฝุ่นละออง PM2.5 ทั่วประเทศ โดยเฉพาะโรงงานที่มีการใช้พลังงานในหม้อน้ำ หม้อต้ม ที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อนและอุปกรณ์การเผาไหม้อื่นๆ ที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมากระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ได้จัดโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการเผาไหม้สำหรับหม้อน้ำและหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน เพื่อการอนุรักษ์พลังงานและลดฝุ่นละออง PM2.5 ของโรงงานในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งการปรับแต่งการเผาไหม้นอกจากจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตแล้วยังช่วยลดปัญหา ฝุ่นละอองแก่โรงงานอุตสาหกรรมที่เข้าร่วมโครงการเป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม กระทรวงฯ ได้กำชับไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ตรวจ ติดตาม โรงงานอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงสร้างปัญหาฝุ่น PM2.5 อย่างใกล้ชิด เพื่อผลักดันให้โรงงานลดการปล่อยมลพิษรวมถึงฝุ่น PM2.5 ให้เหลือน้อยที่สุด” ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวปิดท้าย
15 ม.ค. 2564
กสอ.ปลื้มปี 63 หนุนรายได้หมู่บ้าน CIV แตะ 280 ลบ. เผยหมู่บ้าน CIV ทั่วไทย พร้อมรับนักท่องเที่ยวช่วงวันหยุดปี 64
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) มั่นใจ “หมู่บ้าน CIV ดีพร้อม” มีความพร้อมสามารถรองรับนักท่องเที่ยวช่วงหยุดยาว โดยปัจจุบันมีกว่า 230 แห่งทั่วประเทศ อาทิ บ้านนาต้นจั่น ชุมชนบางคล้า เพราะได้รับการส่งเสริมศักยภาพใน 3 ด้านหลัก ประกอบด้วย ความพร้อมด้านต้นทุนทางวัฒนธรรม ความพร้อมด้านการท่องเที่ยว และ ความพร้อมด้านสินค้าและบริการ ที่พร้อมรองรับการท่องเที่ยว โดยมีต้นแบบการพัฒนาชุมชนที่ประสบความสำเร็จ อาทิ “คนบ้านคา” ตัวอย่างชุมชนเข้มแข็ง รวมกลุ่มวัยเกษียณกว่า 50 คน ใช้วิถีเกษตรธรรมชาติ ขับเคลื่อนการท่องเที่ยว สร้างรายได้ยั่งยืน นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) มุ่งพัฒนาชุมชนเพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานราก ตามแนวนโยบายของนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ผ่านการดำเนินงานส่งเสริม หมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Industry Village : CIV ) หรือ “หมู่บ้าน CIV ดีพร้อม” ผ่านกระบวนการพัฒนาคนในชุมชนให้มีความพร้อม พัฒนากระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐาน และ พัฒนาชุมชนให้มีศักยภาพพร้อมเป็นแหล่งท่องเที่ยว โดยใช้จุดเด่นของแต่ละชุมชนเป็นจุดขาย ผ่านการดำเนินการที่ได้รับการปรับให้สอดคล้องกับวิถีชุมชน โดยมีศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมจังหวัด ที่กระจายอยู่ในทุกภูมิภาค ทั้งนี้การดำเนินการส่งเสริมที่ผ่านมาส่งเสริมไปแล้วกว่า 230 ชุมชน สามารถสร้างรายได้ในปี 2563 จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่เป็นของฝาก ของที่ละลึก 187.7 ล้านบาท รายได้จากการบริการชุมชน 92 ล้านบาท รวมรายได้ทั้งหมดกว่า 280.1 ล้านบาท นายณัฐพล เปิดเผยว่า มั่นใจในศักยภาพของชุมชนต่างๆที่ได้รับการส่งเสริมว่ามีความพร้อมรองรับการท่องเที่ยวที่จะเกิดขึ้นในช่วงปลายปี อาทิ บ้านนาต้นจั่น จังหวัดพิษณุโลก เหมาะสำหรับการท่องเที่ยววิธีธรรมชาติ พร้อมเรียนรู้วัฒนธรรมการทอผ้า ชุมชนบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพ มีการจัดรูปแบบการท่องเที่ยวที่สามารถเที่ยวได้หลากหลายภายในหนึ่งวัน หรือ One Day Trip ทั้งนี้เป็นเพราะแต่ละชุมชนได้รับการพัฒนาทั้ง 3 ด้านสำคัญ ประกอบด้วย ด้านทุนทางวัฒนธรรม อันได้แก่ อัตลักษณ์ชุมชน เสน่ห์ของชุมชน วิธีชุมชน และภูมิปัญญาชุมชน ด้านการท่องเที่ยว ประกอบด้วย ทรัพยากรการท่องเที่ยว เส้นทางการท่องเที่ยว และข้อมูลการท่องเที่ยว และด้านผลิตภัณฑ์และบริการ ผ่านการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์/บริการชุมชน ของฝาก ของที่ระลึกเพื่อการท่องเที่ยว ทำให้ชุมชนต่างๆ มีความพร้อมสำหรับการรองรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ โดยชุมชนบ้านคา ถือเป็นหนึ่งในตัวอย่างชุมชนที่มีความพร้อมในด้านการท่องเที่ยววิถีเกษตรอินทรีย์ ที่พร้อมรับรองการท่องเที่ยวที่จะเกิดขึ้น ทั้งนี้ที่ผ่านมา กสอ. ประสบความสำเร็จในการยกระดับชุมชนต่าง ๆ อาทิ ชุมชนห้วยยายจิ๋ว จังหวัดชัยภูมิ ขยายผลมายังชุมชนบ้านคา จังหวัดราชบุรี และเตรียมขยายผลให้ครอบคลุมทั่วประเทศในปี 2564 ภายใต้เป้าหมายเพื่อให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน จากการดำเนินงานอย่างเข้มข้นของ กสอ. พบว่า โดยแต่ละชุมชนมีความหลากหลายทั้งในเชิงภูมิศาสตร์ และ อัตลักษณ์ ซึ่งถือเป็นจุดเด่น และทางเลือกสำหรับนักท่องเที่ยวที่มีความหลากหลายในปัจจุบัน ชุมชนจึงควรค้นหาจุดแข็งของชุมชน เพื่อพัฒนาต่อยอดให้มีศักยภาพอย่างไรก็ดี การพัฒนาชุมชนให้มีความเข้มแข็งจนสามารถเป็น “หมู่บ้าน CIV ดีพร้อม” ในเบื้องต้น มีหลักสำคัญ 7 ประการ ประกอบด้วย 1. ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม กล่าวคือ ใช้เทคโนโลยีที่มีราคาไม่แพง แต่ถูกหลักวิชาการ 2. มีขนาดการผลิตที่เหมาะสม สอดคล้องกับความสามารถในการบริหารจัดการ 3. ไม่โลภ และไม่เน้นกำไรระยะสั้นเป็นหลัก 4. เน้นความซื่อสัตย์สุจริตในการประกอบการ ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค 5. เน้นการกระจายความเสี่ยงด้วยการสร้างผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายและมีความสามารถในการปรับเปลี่ยนผลผลิตได้ 6. เน้นการบริหารความเสี่ยงต่ำ (Downside risk management) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไม่ก่อหนี้จนเกินขีดความสามารถในการจัดการ และ 7. เน้นการใช้เสน่ห์ในท้องถิ่นในการขับเคลื่อน นายณัฐพล กล่าวทิ้งท้าย นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ด้าน นางสุประวีณ์ รัศมีตรีเนตร เจ้าของไร่มาลัยทรัพย์ อ.บ้านคา จังหวัดราชบุรี เปิดเผยว่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผักผลไม้ปลอดภัย บ้านคา จังหวัดราชบุรี เกิดจากการต่อยอดปรัชญา “โครงการหลวง” ในการทำการเกษตรอินทรีย์ สร้างแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างยั่งยืน ผ่านการการรวมตัวกันของกลุ่มข้าราชการและครูที่เกษียณอายุราชการกว่า 50 คน ในนาม “คนบ้านคา จ.ราชบุรี” แลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกัน ยกระดับเป็นแหล่งเรียนรู้เกษตร โดยมีเป้าหมายเพื่อให้คนรุ่นหลังกลับมาใช้ชีวิตสุขใจและพัฒนาบ้านเกิดร่วมกัน โดยไร่มาลัยทรัพย์ได้เพาะปลูกอินทผลัม นำเข้าเนื้อเยื่อมาจากประเทศทางตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นต้นกำเนิดสายพันธุ์อินทผลัมในราคาต้นละ 300 บาท คัดเลือกสายพันธุ์ที่เหมาะสำหรับการแปรรูปมากกว่า 10 สายพันธุ์ และทดลองนำสายพันธุ์ที่ให้เหมาะกับการบริโภคสดมาปลูกด้วย อาทิ บาฮี ฮายานี่ อะบูดาเบีย ใช้ปุ๋ยมาตรฐานที่ผลิตขึ้นเอง สร้างแปลงเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม และเป็นการทำการเกษตรผสมผสาน โดยปลูกมะขามป้อมและไม้ผลชนิดอื่น ๆ เปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้เข้าชมบรรยากาศการเพาะปลูก เกิดการถ่ายภาพและแชร์ไปยังสื่อสังคมออนไลน์ นอกจากนี้นักท่องเที่ยวหลายรายยังสั่งจองผลผลิตอินทผลัมอินทรีย์ ที่ราคากิโลกรัมละ 400 บาทต่อกิโลกรัม โดยปัจจุบันผลผลิตบางส่วนได้ส่งออกไปยังประเทศพม่า กัมพูชา และลาว ซึ่งปีที่ผ่านมามีรายได้จากการจำหน่ายอินทผลัมกว่า 7 แสนบาทนายจำนอง บุญเลิศฟ้า กลุ่มผู้ประกอบการปลูกผักผลไม้ปลอดภัยบ้านคา จังหวัดราชบุรี เปิดเผยว่า ได้ริเริ่มโครงการปลูกผักกางมุ้ง และไร่องุ่นกำนันเมี้ยง เพราะต้องการปลูกผักปลอดสารพิษ และต้องการจูงใจให้คนในพื้นที่บ้านคา ที่ออกไปทำงานในกรุงเทพฯ หรือจังหวัดอื่นๆ กลับมาใช้ชีวิตปลูกผักปลูกผลไม้และพัฒนาเกษตรที่บ้านเกิด โดยการดำเนินการได้แบ่งพื้นที่กว่า 3-4 ไร่จากทั้งหมด 20 ไร่เพื่อทำการเพาะปลูกผักสวนครัว อาทิ กวางตุ้งและคะน้าในรูปแบบแปลงปลูกกางมุ้ง นอกจากนั้นยังมีองุ่น พันธุ์บิวตี้และเพอเรท เสาวรส พันธุ์หม่าเทียนซิง ในพื้นที่บริเวณโดยรอบ โดยใช้รูปแบบของเกษตรอินทรีย์ของโครงการหลวงมาประยุกต์ โดยมีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมให้คำแนะนำในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ซึ่งในปีที่ผ่านมาสามารถสร้างรายได้จากการเพาะปลูกได้กว่า 5 แสนบาท
15 ม.ค. 2564
“อธิบดีณัฐพล” ร่วมลงนามถวายพระพร กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ให้ทรงหายจากพระอาการประชวร
กรุงเทพฯ 14 มกราคม 2564 เวลา 10.30 น. - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายแจกันดอกไม้เบื้องหน้าพระฉายาลักษณ์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และลงนามถวายพระพร ขอทรงหายจากพระอาการประชวรและมีพระพลานามัยแข็งแรงโดยเร็ววัน โดยมี นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายสุรพล ชามาตย์ นางวรวรรณ ชิตอรุณ และนายภานุวัฒน์ ตริยางกูรศรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วม ณ ศาลาสหทัยสมาคมในพระบรมมหาราชวัง
14 ม.ค. 2564
“อธิบดีณัฐพล” พร้อมผู้บริหาร ก.อุตฯ รับมอบเครื่องหมายเชิดชูเกียรติยศยิ่ง “รักษ์ทะเลยิ่งชีพ
กรุงเทพ ฯ 14 มกราคม 2564 - นางวรวรรณ ชิตอรุณ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายทองชัย ชวลิตพิเชฐ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และ นายวิษณุ ทับเที่ยง อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ รับมอบเครื่องหมายเชิดชูเกียรติยศยิ่ง “รักษ์ทะเลยิ่งชีพ” ซึ่งเป็นเครื่องหมายที่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มอบให้เพื่อเชิดชูเกียรติสำหรับผู้ที่ประกอบคุณงามความดี ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความมานะบากบั่นอดทนและเสียสละอย่างสูง จนบังเกิดผลดีต่อส่วนรวมในงานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยมี นายโสภณ ทองดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เป็นผู้แทนในการมอบ ณ บริเวณห้องโถง ชั้น 1 สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
14 ม.ค. 2564
กระทรวงอุตฯ รับสมัครรางวัลอุตสาหกรรม ประจำปี 2564 ชูนโยบายเศรษฐกิจหมุนเวียน โลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
กระทรวงอุตสาหกรรมขอเชิญผู้ประกอบการ และ SMEs สมัครเข้ารับการคัดเลือกรางวัลอุตสาหกรรม ประจำปี 2564 (The Prime Minister’s Industry Award ) รางวัลอันทรงเกียรติสำหรับอุตสาหกรรมไทย ปีนี้เพิ่ม “เศรษฐกิจหมุนเวียน” และ “โลจิสติกส์และโซ่อุปทาน” รวมเป็น 15 ประเภทรางวัล นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้จัดงานมอบรางวัลอุตสาหกรรมเป็นประจำทุกปีอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ.2524 เป็นต้นมา โดยมีนายกรัฐมนตรีให้เกียรติเป็นประธานในการมอบรางวัล เพื่อประกาศเกียรติคุณผู้ประกอบการที่มีความวิริยะอุตสาหะในการสร้างสรรค์งานที่มีคุณภาพ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและเป็นแบบอย่างที่ดีแก่กิจการอุตสาหกรรมอื่นๆ ตลอดจนเป็นขวัญและกำลังใจให้ผู้ประกอบการในการสร้างสรรค์สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ โดยมุ่งหวังให้เกิดการพัฒนามาตรฐาน และการประกอบการในด้านต่างๆ อย่างมีศักยภาพ เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการผลิตของภาคอุตสาหกรรม และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทางการค้า ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการเจริญเติบโตของประเทศโดยรวม “ในปีนี้พิเศษกว่าทุกปีที่ผ่านมาคือ กระทรวงอุตสาหกรรมได้เพิ่มรางวัลอีก 2 ประเภทรางวัล เพื่อสนับสนุนนโยบายรัฐบาลด้าน BCG และส่งเสริมผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้สามารถพัฒนาศักยภาพด้านการจัดการโลจิสติกส์ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ รางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น ประเภทเศรษฐกิจหมุนเวียน ที่มุ่งเน้นให้ภาคอุตสาหกรรมใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า คำนึงถึงการนำวัสดุต่างๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด มุ่งแก้ไขปัญหามลพิษ และลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ด้วยการพัฒนาเศรษฐกิจให้มีความเจริญเติบโตอย่างมั่นคง ควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชนและสร้างความยั่งยืนให้กับระบบเศรษฐกิจของไทย ทั้งนี้ ในปี 2565 กระทรวงอุตสาหกรรมเตรียมยกระดับเป็นรางวัลด้าน BCG เพื่อให้ครอบคลุมการดำเนินงานทั้งระบบในองค์กร และอีกหนึ่งประเภทรางวัลที่เพิ่มมาในปีนี้คือ รางวัลอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมดีเด่น ประเภทการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน เพื่อเปิดโอกาสให้เอสเอ็มอีสามารถสมัครเข้าร่วมประกวดกันได้มากขึ้น เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการจัดการโลจิสติกส์ในองค์กร ทำให้ผู้ประกอบการประหยัดค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการโลจิสติกส์ และประหยัดพลังงานด้วย” นายกอบชัยฯ กล่าว นายวันชัย พนมชัย เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กล่าวเพิ่มเติมว่า “ในปีนี้ สมอ. ได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานหลักในการจัดงานรางวัลอุตสาหกรรม ประจำปี พ.ศ. 2564 ซึ่งมีรางวัลอุตสาหกรรม รวมทั้งสิ้น 15 ประเภทรางวัล ดังนี้ 1. รางวัลอุตสาหกรรมยอดเยี่ยม จำนวน 1 รางวัล 2. รางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น จำนวน 9 ประเภทรางวัล ได้แก่ 2.1 ประเภทการเพิ่มผลผลิต 2.2 ประเภทการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม 2.3 ประเภทการบริหารความปลอดภัย 2.4 ประเภทการบริหารงานคุณภาพ 2.5 ประเภทการจัดการพลังงาน 2.6 ประเภทการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน 2.7 ประเภทอุตสาหกรรมศักยภาพ 2.8 ประเภทความรับผิดชอบต่อสังคม 2.9 ประเภทเศรษฐกิจหมุนเวียน 3. รางวัลอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมดีเด่น จำนวน 5 ประเภทรางวัล ได้แก่ 3.1 ประเภทการบริหารจัดการ 3.2 ประเภทการพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ 3.3 ประเภทการจัดการเทคโนโลยีเชิงนวัตกรรม 3.4 ประเภทบริหารธุรกิจสู่สากล 3.5 ประเภทการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ทั้งนี้ เกณฑ์การพิจารณาจะเข้มข้นกว่าทุกปีที่ผ่านมา โดยจะมอบรางวัลให้กับผู้ประกอบการที่มีคะแนนสูงสุดเป็น 3 อันดับแรกของแต่ละประเภทรางวัลเท่านั้น สมอ. จึงขอเชิญชวนผู้ประกอบการสมัครเข้ารับการคัดเลือกรางวัลอุตสาหกรรม ประจำปี พ.ศ. 2564 ได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 โดยส่งใบสมัครได้ที่ กองส่งเสริมและพัฒนาด้านการมาตรฐาน สมอ. โทร. 0 2202 3517-8 หรือสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดทั่วประเทศ หรือฝ่ายเลขานุการคณะทำงานทุกคณะ และสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.industry.go.th/industry_award/ เลขาธิการ สมอ. กล่าว
14 ม.ค. 2564
การรับสมัครการเข้ารับการคัดเลือกรางวัลอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2564 ประเภทการบริหารธุรกิจสู่สากล
ขอเชิญ SME สมัครเข้ารับการคัดเลือก รางวัลอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมดีเด่น ประจำปี 2564 (The Prime Miniter's Small and Medium Industry Award) ประเภท การบริหารธุรกิจสู่สากล (Global SME) ส่งใบสมัครได้ที่ E-mail : globalsmeaward@gmail.com สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม 02 202 4575 หรือ 02 202 4493
14 ม.ค. 2564
พาณิชย์ หนุนเกษตรกร-SMEs ปรับแผนรับมือโควิด ใช้ FTA ควบคู่ค้าขายออนไลน์
นายวีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล รมช.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้มอบนโยบายให้กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ปรับกลยุทธ์การทำงาน ปี 2564 แก้เกมโควิด-19 ระบาดระลอกใหม่ โดยให้เน้นการใช้เทคโนโลยีออนไลน์สำหรับกิจกรรมฝึกอบรมเสริมสร้างองค์ความรู้ เพื่อติดอาวุธให้กับกลุ่มเกษตรกร, SMEs, สหกรณ์ และวิสาหกิจชุมชน พร้อมใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรี (FTA) ควบคู่ไปด้วย เพื่อให้สามารถจับคู่ธุรกิจเพิ่มยอดขาย และบุกตลาดต่างประเทศได้จริง ในช่วงปีที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่ากรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้ทำงานร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร อาทิ สภาเกษตรกรแห่งชาติ วิสาหกิจชุมชน และกลุ่มสหกรณ์มาอย่างต่อเนื่อง โดยได้จัดฝึกอบรมเสริมสร้างองค์ความรู้ด้านการทำธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ กฎระเบียบและมาตรการทางการค้า รวมถึงพฤติกรรมผู้บริโภคในตลาดส่งออก และการพัฒนาสินค้าให้ตอบโจทย์ความต้องการของตลาด ซึ่งสามารถช่วยเพิ่มยอดขายและโอกาสทางการตลาดให้กับเกษตรกร และ SME ได้มากขึ้น โดยเฉพาะในตลาดที่ไทยมี FTA ด้วย "ดังนั้น ในปีนี้จึงเน้นย้ำให้กรมฯ เพิ่มการนำเทคโนโลยีออนไลน์ มาเป็นตัวช่วยในการจัดกิจกรรม เพื่อให้เกษตรกร SME สหกรณ์ และวิสาหกิจชุมชน สามารถเจาะตลาดต่างประเทศ และเพิ่มยอดขายได้มากขึ้น แม้ในช่วงวิกฤติโควิด" นายวีรศักดิ์กล่าว ด้านนางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า สำหรับโครงการสำคัญที่กรมฯ จะดำเนินการ ในปี 2564 และจะเพิ่มการนำเทคโนโลยีออนไลน์มาใช้ในการจับคู่ธุรกิจ ตามนโยบายของ รมช.พาณิชย์ ได้แก่ โครงจัดทัพโคนมไทย บุกตลาดต่างประเทศด้วย FTA ซึ่งเน้นขยายตลาดส่งออกไปอาเซียนและจีน, โครงการจับมือผู้ประกอบการใน 4 จังหวัดชายแดนใต้ เพิ่มการส่งออกต่างประเทศด้วย FTA ร่วมกับ ศอ.บต., โครงการเพิ่มศักยภาพเกษตรกรไทยให้สามารถเพิ่มการส่งออกโดยใช้ประโยชน์จาก FTA ร่วมกับสภาเกษตรกรแห่งชาติ, โครงการพัฒนาความพร้อมทางการค้าสหกรณ์ไทยสู่โลกการค้าเสรี และโครงการยกระดับผู้ประกอบการไทยผ่านโลกการค้าเสรี ร่วมกับสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ปัจจุบันไทยมีความตกลง FTA จำนวน 14 ฉบับ (รวม RCEP) กับ 18 ประเทศ ได้แก่ สมาชิกอาเซียน 9 ประเทศ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เปรู ชิลี และฮ่องกง โดยในปี 2562 การค้าของไทยกับประเทศคู่ FTA 18 ประเทศ มีมูลค่ารวม 302,991 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือกว่า 2 ใน 3 (สัดส่วน 63% ของมูลค่าการค้าไทย กับโลก) โดยส่งออกไปประเทศคู่ FTA มูลค่า 150,933 ล้านเหรียญสหรัฐ และนำเข้ามูลค่า 152,639 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับในช่วงเดือน ม.ค. - พ.ย.63 การค้าของไทยกับประเทศคู่ FTA มีมูลค่า 250,721 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นการส่งออกมูลค่า 128,221 ล้านเหรียญสหรัฐ และนำเข้ามูลค่า 122,500 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งประเทศคู่ FTA ที่เป็นคู่ค้าสำคัญ 3 อันดับแรก ได้แก่ อาเซียน จีน และญี่ปุ่น อ้างอิง https://www.ryt9.com/s/iq03/3190864
13 ม.ค. 2564
บอกละเอียดยิบ! รวมมาตรการเยียวยาของสถาบันการเงินช่วยลูกค้าจากโควิด-19 ระบาดใหม่
การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ในประเทศไทยได้ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการ และประชาชนในวงกว้าง โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ถูกให้เป็นจังหวัดเสี่ยงทั้งหมด 28 จังหวัด ซึ่งมีมาตรการควบคุมที่เข้มงวดจากภาครัฐฯ ทั้งในเรื่องการเปิด-ปิดสถานประกอบการ, การเดินทางเข้า-ออก, การตรวจคัดกรองเชื้อ เหล่านี้นำมาสู่รายได้ที่ลดลง ตลอดจนสภาพคล่องทางการเงินของธุรกิจที่จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐฯ เข้ามาพยุงให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้ในสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 ที่กลับมาระบาดอีกครั้ง ซึ่งแน่นอนว่าผู้ประกอบการไทยยังอยู่ในสภาวะฟื้นตัวจากการระบาดครั้งแรกที่ต้องเจ็บตัวไปตาม ๆ กัน การประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 มกราคม 64 ที่ผ่านมา กระทรวงการคลังเปิดมาตรการด้านการเงินเพื่อดูแลและเยียวยาผู้ประกอบการ และประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทั้งมาตรการที่ทำได้ทันที และมาตรการอื่น ๆ จากสถาบันการเงินที่กำกับดูแลจากภาครัฐฯ ดังต่อไปนี้ ธนาคารออมสิน มาตรการเยียวยาลูกค้า สำหรับลูกค้าสินเชื่อในพื้นที่ควบคุมสูงสุด 28 จังหวัด พักชำระเงินต้น พัก/ลดดอกเบี้ย (แล้วแต่กรณีความรุนแรงแต่ละพื้นที่) ระยะเวลาพักชำระ 3-12 เดือน (แล้วแต่กรณีความรุนแรงแต่ละพื้นที่) หมดเขตวันที่ 31 มกราคม 2564 มาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ขยายเวลาถึง มิ.ย.64 หรือจนกว่าวงเงินจะหมด แบ่งเป็น สินเชื่อเพื่อค่าใช้จ่าย สำหรับผู้มีอาชีพอิสระ วงเงินสูงสุด 10,000 บาท สินเชื่อเสริมพลังฐานราก วงเงินสูงสุด 50,000 บาท ไม่มีหลักประกัน บุคคลค้ำ SMEs มีที่ มีเงิน กู้สูงสุด 70% ของราคาประเมิน สูงสุดไม่เกิน 3 ปี โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ช่วยเหลือ SMEs ภาคการท่องเที่ยว วงเงินสูงสุด 500,000 บาท ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน Soft Loan ฟื้นฟูท่องเที่ยวไทย สถาบันการเงินปล่อยให้กับผู้ประกอบการวงเงินสูงสุด 100 ล้านบาท สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: ธนาคารออมสิน 1115 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) พักชำระหนี้ พักหนี้ทั้งระบบ 1 ปี พักหนี้ต้นเงินโควิด-19 เกษตรกร และ SMEs 1ปี/ 6 เดือน (28 จังหวัด ที่อยู่ในเขตควบคุมสูงสุด และที่รัฐบาลประกาศเพิ่มเติม) พักหนี้ต้นเงินผู้ประกอบการ SME นอก LPH 6 เดือน (28 จังหวัด ที่อยู่ในเขตควบคุมสูงสุด และที่รัฐบาลประกาศเพิ่มเติม) พักหนี้ต้นเงินสินเชื่อฉุกเฉินโควิด-19 ระยะเวลา 6 เดือน (28 จังหวัด ที่อยู่ในเขตควบคุมสูงสุด และที่รัฐบาลประกาศเพิ่มเติม) พักหนี้ต้นเงินสินเชื่อแก้หนี้นอกระบบ 1 ปี (28 จังหวัด ที่อยู่ในเขตควบคุมสูงสุด และที่รัฐบาลประกาศเพิ่มเติม) เติมสินเชื่อฟื้นฟู&ปรับโครงสร้างธุรกิจ สินเชื่อฉุกเฉินโควิด-19 (0.1%/เดือน ปลอดต้น 6 เดือน) วงเงินสูงสุด 20,000 บาท สินเชื่อฉุกเฉินเสริมสภาพคล่องดอกเบี้ยต่ำ (4%) วงเงินสูงสุด 10,000 บาท สินเชื่อระยะสั้นฤดูกาลผลิตใหม่ (Jump Start) (4%) วงเงินสูงสุด 100,000 บาท• สินเชื่อพอเพียงเพื่อเลี้ยงชีพ (0% 3 เดือน, 4% วงเงินสูงสุด 10,000 บาท• สินเชื่อ New Gen Hug บ้านเกิด (0% 3 เดือน, MRR) วงเงินสูงสุด 60,000 บาท• สินเชื่อแก้หนี้นอกระบบ (1%ต่อเดือน) วงเงินสูงสุด 8,000 บาท• สินเชื่อ SMEs (Soft Loan ธปท. ระยะที่ 2) (2%) วงเงินสูงสุด 45,000 บาท สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 02-555-0555 ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) 4 มาตรการลดภาระให้ลูกค้าทั่วประเทศที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 รอบใหม่ ลูกค้าที่เคยเข้าร่วม หรืออยู่ระหว่างใช้มาตรการช่วยเหลือฯ ของ ธอส. ลูกค้าที่มีสิทธิ์แจ้งความประสงค์ขอใช้มาตรการจะต้องมีคุณสมบัติ คือ มีสถานะบัญชีปกติ ไม่อยู่ระหว่างการประนอมหนี้ ลดเงินงวดผ่อนชำระ (ตัดเงินต้นและตัดดอกเบี้ย) เหลือ 25% หรือ 50% หรือ 75% ของเงินงวดผ่อนชำระในปัจจุบันเป็นระยะเวลา 6 เดือน (ก.พ.-ก.ค. 64) ลูกหนี้สถานะ NPL และลูกหนี้สถานะ NPL ที่อยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้ ลดเงินงวดผ่อนชำระ ตัดเงินต้นและตัดดอกเบี้ย เหลือ 25% หรือ 50% หรือ 75% ของเงินงวดผ่อนชำระในปัจจุบันเป็นระยะเวลา 6 เดือน (ก.พ.-ก.ค. 64) ลูกค้าที่ไม่เคยเข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือฯ ของ ธอส. ลูกค้าที่มีสิทธิ์แจ้งความประสงค์ขอใช้มาตรการต้องมีคุณสมบัติ คือ มีสถานะบัญชีปกติ ไม่อยู่ระหว่างการประนอมหนี้ ลดเงินงวดผ่อนชำระตัดเงินต้นและตัดดอกเบี้ย เหลือ 25% หรือ 50% หรือ 75% ของเงินงวดผ่อนชำระในปัจจุบันเป็นระยะเวลา 6 เดือน (ก.พ.-ก.ค.64) ลูกค้าผู้ประกอบการ SMEs สินเชื่อประเภทแฟลต แบ่งเป็น 1.ได้ลดเงินงวดผ่อนชำระ ตัดเงินต้นและตัดดอกเบี้ย เหลือ 25% หรือ 50% หรือ 70% ของเงินงวดผ่อนชำระในปัจจุบันเป็นระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน หรือไม่เกินมิถุนายน 2564 หรือ 2.พักชำระหนี้ถึงมิถุนายน 2564 ในกรณีที่ได้รับผลกระทบทำให้รายได้ไม่เพียงพอในการชำระหนี้ ยื่นคำขอเข้ามาตรการระยะแรกได้ที่สาขาทั่วประเทศ ภายในวันที่ 31 มี.ค.64 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: ธนาคารอาคารสงเคราะห์ 02-645-9000 EXIM BANK มาตรการ “พักชำระหนี้เงินต้น-ดอกเบี้ย” ช่วยเหลือลูกค้าในพื้นที่สีแดง สีส้ม และสีเหลือง พักชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 6 เดือน พักชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 6 เดือน และพักชำระดอกเบี้ยสูงสุด 3 เดือน (สำหรับผู้ประกอบการอาหารแปรรูปอาหารทะเลแช่แข็ง และผักผลไม้เป็นพิเศษ) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย โทร. 0-2617-2111 กด 4 SME D Bank มาตรการ “พักหนี้อุ่นใจ” เติมเงินใหม่ไปต่อ ช่วยเหลือลูกค้าจากการแพร่ระบาดโควิด-19 ระลอกใหม่ พักชำระหนี้เงินต้น 6 เดือน ไม่เกิน 31 ธ.ค.2564 (ขึ้นอยู่กับผลกระทบของลูกค้าแต่ละราย)สินเชื่อรายเล็ก Extra Cash (เติมทุนใหม่ให้ผู้ประกอบการ) วงเงินกู้สูงสุด 3,000,000 บาท/ราย อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น 3% ต่อปีใน 2 ปีแรก ระยะผ่อนชำระนานสูงสุด 5 ปี ปลอดชำระคืนเงินต้นสูงสุดไม่เกิน 12 เดือน ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน กู้ได้ทั้งบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล สินเชื่อเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน บุคคลธรรมดา อัตราดอกเบี้ย 4.875% ต่อปี นาน 3 ปีแรก วงเงินกู้สูงสุด 2,000,000 บาท ผ่อนนานสูงสุด 7 ปี นิติบุคคล อัตราดอกเบี้ย 2.875% ต่อปี นาน 3 ปีแรก วงเงินกู้สูงสุด 5,000,000 บาท สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: SME D Bank 1357 บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) 4 โครงการช่วยเหลือ SMEs สู้ภัยโควิด-19 ระลอกใหม่ บสย. SMEs ดีแน่นอน วงเงินค้ำประกันต่อราย ตั้งแต่ 2 แสนบาท -100 ล้านบาท วงเงินจัดสรร 20,000 ล้านบาท บสย. SMEs บัญชีเดียว วงเงินค้ำประกันต่อราย ตั้งแต่ 2 แสนบาท -100 ล้านบาท วงเงินจัดสรร 5,000 ล้านบาท บสย. SMEs ที่ได้รับสินเชื่อหนังสือค้ำประกัน (LG) วงเงินค้ำประกันต่อราย ตั้งแต่ 2 แสนบาท - 100 ล้านบาท วงเงินจัดสรร 2,000 ล้านบาท บสย. รายย่อย ทั่วไป วงเงินค้ำประกันต่อราย ตั้งแต่ 1 หมื่นบาท – 5 แสนบาท วงเงินจัดสรร 3,000 ล้านบาท สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม 02-890-9999 เงินทุนหมุนเวียนเพื่อการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมมีโครงการ ”เงินทุนหมุนเวียนเพื่อการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทย” เพื่อให้ความช่วยเหลือราษฎรและกลุ่มผู้ประกอบอาชีพอุตสาหกรรมขนาดเล็ก ได้มีโอกาสการเข้าถึงสินเชื่อ เพื่อนำเงินทุนไปเริ่มต้นธุรกิจใหม่ หรือขยายการผลิตและปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต โดยมีกลุ่มอุตสาหกรรม 7 ประเภทที่สามารถยื่นขอสินเชื่อได้ ดังนี้ 1.อาหาร 2.เครื่องดื่ม 3. ผ้าและเครื่องแต่งกาย 4. ของใช้และเครื่องประดับตกแต่ง 5. ศิลปะประดิษฐ์และของที่ระลึกที่สะท้อนวิถีชีวิตภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น 6. สมุนไพรที่ไม่ใช่ยาและอาหาร และ 7. อุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่สนับสนุนเกื้อกูลกลุ่มวิสาหกิจชุมชน หรือ SMEs ใน 6 อุตสาหกรรมข้างต้น นอกจากนี้ยังมีอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปแบบกลางน้ำ และ Food Truck ภาคการผลิต ที่ผ่านโครงการของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
13 ม.ค. 2564
รายงานงบทดลองหน่วยเบิกจ่ายรายเดือน ประจำเดือนธันวาคม 2563 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
รายงานงบทดลองหน่วยเบิกจ่ายรายเดือน ประจำเดือนธันวาคม 2563 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
13 ม.ค. 2564
โหลดแล้วลื่น! รวม 5 แอปพลิเคชันที่จะทำให้ทุกวันของคุณง่ายขึ้น (แม้จะเป็นช่วงโควิด-19)
การใช้ชีวิตในยุคนี้อาจจะเรียกได้ว่ามีความสะดวกสบายมากกว่าเมื่อก่อนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการเข้ามาของสมาร์ทโฟนที่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้คนจากหน้ามือเป็นหลังมือเลยก็ว่าได้ เพียงแค่อยากได้อะไรก็เข้าไปในสมาร์ทโฟนแล้วทุกอย่างที่ต้องการก็มาจะวางอยู่ตรงหน้า แอปพลิเคชัน กลายเป็นเครื่องมือสำคัญของผู้คนในยุคปัจจุบันที่จำเป็นต้องโหลดติดสมาร์ทโฟน ซึ่งมีบริการอย่างหลากหลายให้เลือกตามไลฟ์สไตล์ของแต่ละคน โดยในบทความนี้ Smartsme จะพามาแนะนำแอปพลิเคชันที่ควรดาวน์โหลดติดมือถือเพื่อให้การดำเนินชีวิตในแต่ละวันง่ายขึ้น แม้จะเป็นในช่วงโควิด-19 ก็ตามที แอปฯ partyhaan แอปพลิเคชัน partyhaan น่าจะเป็นแอปฯ ที่ถูกใจผู้ที่ชอบสั่งซื้อสินค้าโดยต้องการหาเพื่อนช่วยแชร์ โดยแอปฯ จะช่วยหาเพื่อนช่วยหาร ช่วยแชร์ค่าต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น โปรซื้อ 1 แถม 1, โปรเครื่องสำอาง, มา 4 จ่าย 3, แชร์ค่าทริป ตลอดจนค่าเดินทาง และอื่น ๆ อีกมากมาย โดยขั้นตอนการดำเนินงานก็ไม่ได้ยุ่งยากอะไร เพียงแค่หา Party ที่น่าสนใจ ดูรายละเอียดในห้องนั้นว่ามีกิจกรรมอะไร โดยผู้ใช้สามารถเป็นทั้งคนสร้างห้องปาร์ตี้ และขอเข้าร่วมปาร์ตี้ ซึ่งในปาร์ตี้สมาชิกจะร่วมพูดคุยผ่านระบบแชทเพื่อตกลงรายละเอียดระหว่างกัน รายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.partyhaan.com/ แอปฯ QPER ปัจจุบันการมีรายได้ทางเดียวคงไม่เพียงต่อสภาพความเป็นอยู่ ค่าครองชีพ ที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ หากใครกำลังมองหาอาชีพเสริม อยากใช้เวลาว่างในการสร้างรายได้ ขอแนะนำแอปพลิเคชัน QPER ที่จะทำให้คุณนำความรู้ ความสามารถ หรือขอแค่เพียงมีเวลาก็สามารถเพิ่มเงินในกระเป๋าสตางค์ได้แล้ว QPER ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองวิถีการใช้ชีวิตแบบ New Normal โดยการใช้เทคโนโลยีระบุตำแหน่งปัจจุบัน (Current Location) ค้นหาสิ่งที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว และไม่ต้องเสียเวลาค้นหาจากอินเทอร์เน็ต เช่น คุณอาจจะมีความสามารถในการซ่อมท่อประปา คุณก็ใช้ประโยชน์ตรงนี้รับงานหากมีท่อประปาแตกในพื้นที่ใกล้เคียง หรือหากมีเวลาว่างอาจจะใช้เวลาตรงนี้ไปต่อแถวซื้ออาหารได้ รายละเอียดเพิ่มเติม: https://qper.co/home/ แอปฯ Fixzy คงไม่ใช่เรื่องดีอย่างแน่นอน หากมีอุปกรณ์ เครื่องใช้ภายในบ้านเกิดเสียขึ้นมา แล้วไม่รู้จะทำยังไงดี เพราะใช่ว่าทุกคนจะมีทักษะ หรือความสามารถในเรื่องนี้ จะไปหาช่างซ่อมก็ไม่รู้จะติดต่อใครอีกแน่นอนว่าเรื่องบ้านจะเปลี่ยนเป็นเรื่องง่ายทันที หากโหลดแอปพลิเคชัน Fixzy ซึ่งให้บริการเกี่ยวกับบ้านแบบครบวงจร โดยช่างซ่อมมืออาชีพ สำหรับจุดเด่นของ Fixzy คือบริการดูแลบ้านที่มีให้เลือกอย่างหลากหลาย ตั้งแต่ขั้นตอนแรกไปจนถึงปิดงาน รวมถึงไม่ต้องกังวลเรื่องตารางนัดหมาย โดยผู้ใช้สามารถนัดหมาย เลือกช่างได้ด้วยตนเอง รายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.fixzy.net/ แอปฯ jord sabuy หลายคนมีความกังวลในเรื่องที่จอดรถ เวลาเดินทางไปสถานที่ใดสักที่หนึ่ง ความคิดภายในหัวตีกันไปหมด ไปแล้วจะมีที่จอดหรือไม่? ไปแล้วจะจอดที่ไหนดี จะไปจอดตามข้างทางก็หวั่นในเรื่องของความปลอดภัยที่เราไม่สามารถคาดการณ์ได้ แต่เรื่องนี้จะทำให้ง่ายขึ้นเพียงแค่โหลดแอปฯ jord sabuy โดยผู้ใช้สามารถค้นหาที่จอดรถ ด้วยการระบุตำแหน่ง วัน เวลาในการจอด รวมถึงบริการที่จอดรถ พร้อมเข้าจอดทันที นอกจากนี้ หากมีพื้นที่ลานจอดรถ หรือที่จอดรถว่างตั้งแต่ 1 ที่ขึ้นไป ไม่ว่าจะเป็นที่จอดในสำนักงาน คอนโด ภายในบ้าน ก็สามารถเข้ามาลงทะเบียนผ่านแอปฯ นี้ได้ รายละเอียดเพิ่มเติม: https://jordsabuy.com/ แอปฯ Call Zen Call Zen เป็นแอปพลิเคชันที่ช่วยในการติดต่อคอลเซ็นเตอร์ขององค์กรต่าง ๆ ที่มีระบบตอบรับอัตโนมัติ โดยผู้ใช้คอลเซนไม่จำเป็นต้องรอฟังเทป (เช่น กด1 เพื่อ… กด2 เพื่อ…) อีกต่อไป เพียงแค่เลือกเมนู และแอปพลิเคชันจะดำเนินการโทรออกไปยังเป้าหมายให้โดยอัตโนมัติ เพียงเลือกจากเมนูในแอปพลิเคชัน มาพร้อมระบบการทำงานต่าง ๆ สำหรับแอปฯ Call Zen ได้รวบรวมหมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ และจำเป็นมากกว่า 150 ที่โดยไว้ใน Contact list ไม่ว่าจะเป็น ธนาคาร, บัตรเครดิต, เครือข่ายโทรศัพท์มือถือ, ช่วยเหลือฉุกเฉิน, ไฟฟ้า, ไฟไหม้, ประปา เป็นต้น นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของแอปพลิเคชันที่นำมาแนะนำ ซึ่งยังคงมีแอปฯ อีกมากมายที่ให้ผู้ใช้ได้เลือกโหลดตามความชื่นชอบของตัวเอง เพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตให้มีความสะดวกยิ่งขึ้น อ้างอิง https://www.smartsme.co.th/content/243371
12 ม.ค. 2564