หมวดหมู่
DIPROM CENTER 7 เข้าร่วมพิธีเปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “ปั้นนักธุรกิจให้รุ่ง มุ่งสู่นักเกษตรอุตสาหกรรม” จัดโดยสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดอุบลราชธานี
...อุบลราชธานี วันที่ 20 มีนาคม 2567 ...นางละเอียด มธุรส ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM CENTER 7) มอบหมายให้ นางสาวภัทรนันท์ เชาวฤทธิ์ ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงานภูมิภาค และนางสาวจันทร์จิรา เสือโคล่ง เข้าร่วมพิธีเปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “ปั้นนักธุรกิจให้รุ่ง มุ่งสู่นักเกษตรอุตสาหกรรม” จัดโดยสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดอุบลราชธานี ระหว่างวันที่ 20-22 มีนาคม 2567 ณ โรงแรมบ้านสวนคุณตา กอล์ฟ แอนด์ รีสอร์ท อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี มีผู้เข้าร่วมอบรมจำนวน 48 คน โดยได้รับเกียรติจากนายสมพร ปองไว้ หัวหน้ากลุ่มนโยบายและแผนงาน เป็นประธานในพิธี และหน่วยงานภาครัฐร่วมเป็นเกียรติในพิธี อาทิ สำนักงานเกษตรจังหวัดอุบลราชธานี สำนักงานพาณิชย์จังหวัดอุบลราชธานี . เจ้าหน้าที่ร่วม นางสาวเกษรินทร์ ศรีคำ และนายมิตร แสงกล้า #DIPROM CENTER 7 #DIPROM #ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 #กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
20 มี.ค. 2567
Carbon Footprint คืออะไร ? จะก้าวสู่การเป็นธุรกิจในยุคสังคมคาร์บอนต่ำที่ยั่งยืนต้องทำอย่างไร ?
Carbon Footprint คืออะไร ? จะก้าวสู่การเป็นธุรกิจในยุคสังคมคาร์บอนต่ำที่ยั่งยืนต้องทำอย่างไร ? ปัจจุบัน Carbon Footprint นับเป็นตัวชี้วัดสำคัญ สำหรับการดำเนินกิจกรรมหรือการกระทำต่าง ๆ ของมนุษย์เกือบทุกขั้นตอน เพื่อที่จะควบคุมไม่ให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนนั่นเอง Carbon Footprint คืออะไร Carbon Footprint คือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดที่ถูกปล่อยออกมาจากกิจกรรมของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิตประจำวัน การคมนาคมขนส่ง การผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค ฯลฯ หากพูดให้เห็นภาพง่าย ๆ การดำเนินชีวิตประจำวันของเราทุกคน ไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยงสัตว์ การใช้ไฟฟ้า การเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว หรือแม้กระทั่งของเสียที่เกิดจากอาหารในแต่ละวัน ล้วนแต่ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งสิ้น โดยก๊าซเรือนกระจกที่นำมาพิจารณามีอยู่ 7 ตัวด้วยกัน คือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์, ก๊าซมีเทน, ก๊าซไนตรัสออกไซด์, กลุ่มก๊าซไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน, กลุ่มก๊าซเปอร์ฟลูออโรคาร์บอน, ก๊าซซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ และก๊าซไนโตรเจนไตรฟลูออไรด์ ซึ่งก๊าซเรือนกระจกแต่ละชนิดเหล่านี้จะมีศักยภาพในการทำให้เกิดภาวะโลกร้อน (Global Warming Potential : GWP) แตกต่างกัน โดยทางคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change : IPCC) ได้กำหนดค่าการทำให้เกิดภาวะโลกร้อนของแต่ละก๊าซให้เทียบกับศักยภาพการเกิดภาวะโลกร้อนของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มีค่าศักยภาพในการทำให้โลกร้อนเท่ากับ 1 ซึ่งจะมีหน่วยเป็น คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (Carbon dioxide equivalent : CO2e) ประเภทของ Carbon Footprint มีอะไรบ้าง ? Carbon Footprint ของผลิตภัณฑ์ คือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดที่ปล่อยออกมาตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (Product life cycle) กล่าวคือตั้งแต่เป็นวัตถุดิบ การผลิต การขนส่ง การใช้งาน จนไปถึงการทำลายเมื่อสิ้นอายุการใช้งาน ซึ่งปัจจุบันผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จะมีเครื่องหมาย Carbon Footprint แสดงข้อมูลให้ผู้บริโภคได้ทราบว่าตลอดวัฏจักรของผลิตภัณฑ์เหล่านั้นมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาปริมาณเท่าไหร่ Carbon Footprint ของบริการ คือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดที่ปล่อยออกมาในการให้บริการนั้น ๆ (ผลิตภัณฑ์ + องค์กร) Carbon Footprint ขององค์กร คือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดที่ปล่อยออกมาจากกิจกรรมการดำเนินงานขององค์กร วิธีคำนวณ Carbon Footprint การปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ 1 กิโลกรัม = Carbon Footprint 1 กิโลกรัม และด้วยความที่ก๊าซเรือนกระจกมีหลายชนิด การคำนวณปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาเราจะใช้หน่วย คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2e) ในการคิด อ้างอิงจากค่าศักยภาพในการทำให้เกิดภาวะโลกร้อนของรายงานการประเมินสถานการณ์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของ IPCC ฉบับที่ 5 (IPCC Fifth Assessment Report 2014 : AR5) ซึ่งได้กำหนดให้ ก๊าซมีเทนมีค่าศักยภาพในการทำให้โลกร้อนเพิ่มขึ้นจาก 25 เท่า เป็น 28 เท่าของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซไนตรัสออกไซด์มีค่าศักยภาพทำให้โลกร้อนอยู่ที่ 265 เท่าของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เช่น หากเราปล่อยก๊าซมีเทน 1 กิโลกรัม จะหมายความว่าเราปล่อยคาร์บอนฟุตพริ้นท์ เท่ากับ 28 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (kgCO2e) และหากเราปล่อยก๊าซไนตรัสออกไซด์ 1 กิโลกรัม ก็จะหมายความว่า เราปล่อยคาร์บอนฟุตพริ้นท์ เท่ากับ 265 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (kgCO2e) นั่นเอง ทั้งนี้ค่าเฉลี่ยของ Carbon Footprint ต่อคนในอเมริกา คือ 16 ตัน ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยที่สูงที่สุดในโลก เพราะโดยปกติจะอยู่ที่ 4 ตัน เพื่อเป็นโอกาสที่จะหลีกเลี่ยงการเพิ่มขึ้นถึง 2 องศาของอุณหภูมิโลก จึงต้องมีการลดค่าเฉลี่ยของ Carbon Footprint ต่อปี ให้ลงมาอยู่ที่คนละ 2 ตัน ภายในปี 2050 จึงไม่แปลกที่เราจะเห็นภาคธุรกิจที่กำลังมุ่งสู่การเป็นองค์กรที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นศูนย์ ได้มีการจัดทำ Carbon Footprint ขององค์กร เพื่อเป็นการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และให้ทราบแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญขององค์กร ก่อนนำไปสู่การบริหารจัดการและวางแผนกระบวนการผลิตเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทำไมองค์กรต้องให้ความสำคัญกับ Carbon Footprint เพราะจะทำให้องค์กรทราบถึงปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกิจกรรมต่าง ๆ และสามารถวางแผนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างตรงจุด พร้อมทั้งลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะนำไปสู่การลดค่าใช้จ่ายให้องค์กร จากการลดการใช้พลังงาน และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งยังสามารถต่อยอดและพัฒนาโครงการไปสู่อนาคต โดยการขยายผลการประเมินก๊าซเรือนกระจกขององค์กร เช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้การรับรองฉลากลดโลกร้อน รวมทั้งยังเป็นการเตรียมความพร้อมในการรับมือกับมาตรการ Non-Tariff Barriers (NTBs) หรือการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี เช่น ภาษีคาร์บอนและมาตรการต่อต้านการทำลายสิ่งแวดล้อม การใช้ฉลากอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จะนำมาซึ่งความได้เปรียบทางการค้าขององค์กรด้านสิ่งแวดล้อม ที่เป็นจุดแข็งทั้งในประเทศและนานาชาติ ที่ต่างเห็นว่าภาวะโลกร้อนเป็นเรื่องเร่งด่วน และสามารถตรวจวัดเป็นตัวเลขได้ ทำให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า ที่อยู่ใน Supply Chain ที่ต้องการสินค้าหรือคู่ค้าที่มีความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม และภาวะโลกร้อน โดยทั้งหมดนี้สามารถสื่อสารให้เข้าใจได้ในระดับสากลทั่วโลก ขณะเดียวกันยังสามารถจำหน่ายเป็นคาร์บอนเครดิต หรือทำการชดเชยคาร์บอนกับองค์กรอื่นๆ พร้อมกับนำข้อมูลเหล่านั้นไปประกอบการจัดทำรายงานการพัฒนาที่ยั่งยืนของบริษัท เพื่อตอบคำถามนักลงทุน และท้ายที่สุดแล้วคือการแสดงความรับผิดชอบขององค์กร ตามหลักการ ESG ที่โปร่งใส เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ESG ขององค์กรนั่นเอง ดังนั้นในหลายประเทศจึงเริ่มมีการนำ Carbon Footprint มาใช้กันแล้ว ทั้งในอังกฤษ ฝรั่งเศส สวิสเซอร์แลนด์ แคนาดา ญี่ปุ่น และเกาหลี เป็นต้น จึงถือได้ว่าการลงทุนที่เกี่ยวกับภาวะโลกร้อนนี้จะช่วยสร้างความได้เปรียบทางธุรกิจได้เป็นอย่างดี รวมทั้งยังเป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) สร้างการรับรู้และการสื่อสารที่ดีระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค ที่จะนำไปสู่ความยั่งยืนให้กับธุรกิจ ตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ของสหประชาชาติ โดยมีแนวคิดการดำเนินธุรกิจที่มุ่งเน้นความยั่งยืน ไม่หวังผลกำไรเพียงอย่างเดียว (Investment Style) ซึ่งถือเป็นการแสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อ สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environment, Social, Governance : ESG) อย่างเป็นรูปธรรม ผ่านตัวเลขที่ออกมาในรูปแบบของ Carbon Footprint ทำให้เราสามารถประเมินสถานการณ์ ตรวจสอบ และติดตามประเมินผล เพื่อบริหารจัดการให้ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลงได้อย่างแท้จริง ข้อมูลจาก : Techsauce Team มกราคม 26, 2023 เว็ปไซต์ : https://shorturl.asia/8ac6l
19 มี.ค. 2567
TEAM DIPROM Center 7เข้าร่วมพิธีเปิดงาน “มหกรรมแสดงสินค้านวัตกรรมและผลงาน startup อุบลราชธานี 2024 (UBU Research & Innovations Expo 2024 : RISE 2024)”
วันที่ 19 มีนาคม 2567 นางละเอียด มธุรส ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 มอบหมายให้ นายกฤษณะ นอขุนทด ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายสุมิตร ส่งเสริม, นางสาวเกศกนก เดชผล และนางสาวกัตติกา ศรีทาน้อย เข้าร่วมพิธีเปิดงาน “มหกรรมแสดงสินค้านวัตกรรมและผลงาน startup อุบลราชธานี 2024 (UBU Research & Innovations Expo 2024 : RISE 2024)” จัดโดย โครงการอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ณ ลานลูกยางลิ่วลม ชั้น 1 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่าอุบลราชธานี ซึ่งได้รับเกียรติจากนายสำเริง ม่วงสังข์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เป็นประธานเปิดงาน ภายในงานมีผู้ประกอบการที่ผ่านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรม โดยศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 เข้าร่วมออกร้านจำหน่ายและแสดงสินค้านวัตกรรมในครั้งนี้ด้วย เจ้าหน้าที่ร่วม นายศุภชัย สืบวงศ์
19 มี.ค. 2567
ใช้ #Hashtag ยังไงให้ปัง เมื่อทำ Social Media Marketing
ใช้ #Hashtag ยังไงให้ปัง เมื่อทำ Social Media Marketing ตั้งแต่มี # แฮชแท็ก เกิดขึ้น ชีวิตใน Social Media ก็ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป นักการตลาดหลายคนทราบดีว่า การใช้แฮชแท็กในโซเชียลมีเดียมีความสำคัญต่อแผนการโปรโมทแบรนด์มาก เพราะนอกจาก # จะเข้าไปอยู่ในเกือบทุกแพลตฟอร์มแล้ว ยังมีอิทธิพลต่อบทบาทในสังคมยุคใหม่ด้วย Hashtag คือ อะไร ? แฮชแท็ก (Hashtag) คือ คำหรือวลีที่นำหน้าด้วยเครื่องหมาย # ซึ่งจะใช้ในโพสต์บนโซเชียลมีเดียต่าง ๆ เพื่อช่วยให้ผู้ที่สนใจหัวข้อนั้นเจอโพสต์ของคุณ เมื่อมีการค้นหาแฮชแท็ก มันดีตรงที่จะช่วยให้ผู้ที่ไม่ได้ติดตาม Social Media ของคุณ สามารถค้นหาเนื้อหาของคุณได้ ดึงความสนใจไปที่โพสต์และกระตุ้นให้เกิดการโต้ตอบกันในโพสต์ด้วย เมื่อใช้วลีหรือประโยคเป็นแฮชแท็ก คุณจะต้องพิมพ์โดยไม่เว้นวรรค และห้ามมีสัญลักษณ์ เครื่องหมายวรรคตอนใดๆเลยค่ะ ตัวอย่างเช่น #BangkokCountdown2022 #จอยทุกที่ที่มีเลย์ สำหรับตำแหน่งของการใส่แฮชแท็ก สามารถใส่ไว้ที่ตอนเริ่มของโพสต์ แทรกระหว่างประโยคในคำที่ต้องการเน้น หรือตำแหน่งที่เป็นที่นิยมที่สุดก็คือท้ายสุดของโพสต์ ซึ่งการทำ Social Media Marketing ส่วนใหญ่ แบรนด์จะเลือกติด Hashtag ไว้ตามแพลตฟอร์มยอดนิยมที่เราคุ้นเคยอย่าง Facebook , Twitter และ Instagram นั่นเอง การเลือกใช้ #Hashtag ใน Social Media Marketing 1. ใช้คำง่ายและตรงประเด็น ในโลก Social Media นั้นมี hashtag อยู่มากมาย แต่ถ้าคุณใช้แฮชแท็กที่ยากเกินไป ทั้งยากจากการสะกดคำ ยากในการจดจำ หรือแฮชแท็กที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาบ่อยๆ คงไม่ดีแน่ เราแนะนำให้คุณเลือกใช้คำที่สั้นกระชับ ง่ายต่อการพิมพ์และตรงประเด็นที่สุด โดยเฉพาะคำที่กำลังเป็นที่ค้นหาในช่วงเวลานั้นๆ ยิ่งเวิร์คเข้าไปอีก เพราะถ้าคุณติดแฮชแท็กของคำที่กำลังเป็นที่นิยม หรือมีการ Engagement อยู่แล้ว จะช่วยให้ผู้คนเห็นโพสต์ของคุณได้บ่อยและมากขึ้นด้วย 2. ใช้แฮชแท็กที่กำลังมาแรง การเลือกใช้แฮชแท็กที่กำลังเป็นที่นิยมหรือมีคนพูดถึงมากที่สุดในช่วงเวลาหนึ่งนั้น จะช่วยให้แบรนด์ของคุณเข้าถึงคนทั่วไปได้ง่ายขึ้น ซึ่งแฮชแท็กส่วนมากจะเน้นไปที่หัวข้อข่าวสำคัญๆ ของโลก เมื่อคุณเห็นเทรนด์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณ อย่ารอช้าค่ะ ให้รีบเข้าไปมีส่วนร่วมในแท็กนั้นทันที ถ้าเนื้อหาในโพสต์ของคุณ มีข้อมูลที่ถูกใจหรือเป็นที่ชื่นชอบของคนกลุ่มนั้น ผู้คนที่กำลังเล่นแฮชแท็กนั้นอาจจะแชร์โพสต์ หรือ รีทวิตนั้นได้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มการรับรู้แบรนด์ (Brand Awareness) ได้อย่างดีเลยล่ะค่ะ ซึ่งคุณสามารถเข้าไปค้นหาแฮชแท็กมาแรง Twitter และ Instagram ที่กำลังเป็นที่นิยมนั่นเอง 3. อย่าใช้แฮชแท็กมากเกินไป แน่นอนว่าแฮชแท็ก เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้แบรนด์ของคุณเป็นที่รู้จักมากขึ้น เพราะมันสามารถกระจายคำเกี่ยวกับแบรนด์ของคุณไปยังกลุ่มคนจำนวนมากได้ แต่ว่าการใช้แฮชแท็กในแต่ละแพลตฟอร์มก็มีความถี่ที่เหมาะสมต่างกัน จากสถิติของ Social Baker พบว่าการติด Hashtag มากกว่า 10 แท็ก จะลดการอยากมีส่วนร่วมกับโพสต์ลงไปมากถึง 68.2% แต่ไม่ต้องกังวลใจไปค่ะ เราได้ลิสต์จำนวน Hashtag ที่เหมาะสมกับแต่ละ Social Media Platform มาให้แล้ว • Twitter ทวิตเตอร์ 1 โพสต์มีการจำกัดจำนวนตัวอักษรไม่ให้เกิน 240 ตัวอักษร จึงต้องหลีกเลี่ยงการใช้แฮชแท็กมากกว่า 2 แท็กต่อทวีต เพื่อการมีส่วนร่วมที่ดีที่สุด • Facebook ควรใช้ 2-3 แฮชแท็กบนโพสต์ Facebook โดยเลือก 1 แฮชแท็กยอดนิยมและอีก 1 แฮชแท็กที่เกี่ยวกับแบรนด์ของคุณเอง • Instagram ใน 1 โพสต์ของ IG อนุญาตให้ใช้แฮชแท็กได้มากถึง 30 แท็กเลยล่ะค่ะ แต่เราแนะนำให้คุณใช้ไม่เกิน 9 แฮชแท็กต่อโพสต์นะคะ เพื่อการมีส่วนร่วมที่ดียิ่งขึ้น • TikTok จำนวนที่ดีที่สุดควรใช้แฮชแท็ก 4-5 แท็กบน TikTok โดยสามารถใช้แท็กยอดนิยมเพื่อให้โพสต์เข้าถึงกลุ่มคนได้เยอะขึ้น และแฮชแท็กที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์เพื่อให้คนจำได้ค่ะ 4. ค้นหาแฮชแท็กก่อนใช้งาน ในการทำ Social Media Marketing คุณควรตรวจสอบแพลตฟอร์มที่เกี่ยวข้องก่อน เพื่อให้แน่ใจว่าแฮชแท็กที่คุณจะนำเอามาใช้นั้น พูดคุยเกี่ยวกับเรื่องที่คุณต้องการจริงๆ หรือมันสามารถตีความไปในเชิงลบได้มั้ย แบรนด์อื่นเคยนำไปใช้โปรโมทแล้วหรือเปล่า เมื่อคุณเลือกใช้แฮชแท็กได้ถูกต้อง จะช่วยสร้างการสนทนาออนไลน์ใหม่ๆให้กับแบรนด์ เพิ่มการรับรู้ถึงแบรนด์ และนำไปสู่ยอดขายที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วได้อีกด้วย เราจึงอยากให้คุณนึกถึงกลุ่มผู้ชมที่กำลังค้นหาแฮชแท็กนั้นอยู่ด้วยว่าตรงกับทาร์เกตหรือไม่ 5. เฉพาะเจาะจงและไม่เหมือนใคร หากคุณต้องการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายหรือกลุ่มลูกค้าของคุณ พร้อมกับสร้างกิจกรรมหรือสร้างการมีส่วนร่วมกับแบรนด์โดยใช้แฮชแท็ก คุณต้องคิดแฮชแท็กใหม่ที่ไม่เหมือนใครและไม่เคยมีใครใช้มาก่อน! การใช้ Social Media ทุกวันนี้ แฮชแท็กที่เป็นเอกลักษณ์หรือกำลังมาแรงมักจะเป็นแฮชแท็กที่เป็นเอกลักษณ์ เข้าใจง่ายว่ากำลังพูดถึงเรื่องอะไร แบรนด์ก็สามารถนำสไตล์การตั้งแฮชแท็กเหล่านี้มาใช้กับการทำ Social Media Marketing ที่ดีขึ้นได้ ที่มา: https://www.makewebeasy.com/.../hashtag-for-social-media.../
18 มี.ค. 2567
โอกาสดีๆ สำหรับผู้ประกอบการ SMEs หลักทรัพย์ไม่มี ดีพร้อมจัดให้
โอกาสดีๆ สำหรับผู้ประกอบการ SMEs หลักทรัพย์ไม่มี ดีพร้อมจัดให้ DIPROM หรือ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ขอเชิญผู้ประกอบการ และผู้สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการ " ติดปีก SMEs หลักทรัพย์ไม่มี ดีพร้อมค้ำประกันให้ " เริ่มสมัครได้ตั้งแต่บัดนี้ คลิกเลย https://forms.gle/6mn3j7CYK4kuGzBu8 เอกสารประกอบการเข้าร่วมโครงการ โปรดจัดเตรียมเอกสารเพื่อใช้สำหรับสมัครเข้าร่วมโครงการ ดังนี้ เอกสารเครดิตบูโร (Credit Bureau) งบการเงิน 3 ปี ย้อนหลัง (ปี 2564 - 2566) ทั้งนี้ โปรดศึกษาข้อมูลผลิตภัณฑ์ของธนาคารที่ร่วมโครงการ https://shorturl.at/hnTUZ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม คุณสุเทพ ทุตา 084 2764727
18 มี.ค. 2567
รายงานงบทดลองหน่วยเบิกจ่ายรายเดือน ประจำเดือน กุมภาพันธ์ 2567 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
รายงานงบทดลองหน่วยเบิกจ่ายรายเดือน ประจำเดือน กุมภาพันธ์ 2567 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
14 มี.ค. 2567
DIPROM CENTER 7 ลงพื้นที่ประสานงาน สำรวจข้อมูลชุมชนในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดศรีสะเกษ
DIPROM CENTER 7 ลงพื้นที่ประสานงาน สำรวจข้อมูลชุมชนในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดศรีสะเกษ???? ระหว่างวันที่ 14 มีนาคม 2567นางละเอียด มธุรส ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 มอบหมายให้ นางเปลี่ยน จำปาหอม นายบุญสาร แสนโท และนายสมชาย เชาว์ประโคน ลงพื้นที่ ประสานงาน สำรวจและเก็บข้อมูลชุมชน บ้านชีทวน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานีและชุมชนบ้านละทายโมเดล อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ เพื่อคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ ชุมชนเปลี่ยน เปลี่ยนให้ดีพร้อม
14 มี.ค. 2567
DIPROM CENTER 7 นำทีมคณะกรรมการวิพากษ์แผนธุรกิจ Pitching หลักสูตร “พัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมให้ ดีพร้อม (คพอ.ดีพร้อม) รุ่นที่ 407” Module 5
DAY 15 คพอ.ดีพร้อม รุ่นที่ 407 ✨️ นางละเอียด มธุรส ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นางละออง ธงสอาด ผู้อำนวยการกลุ่มบริการธุรกิจอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ นำทีมคณะกรรมการวิพากษ์แผนธุรกิจ Pitching หลักสูตร “พัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมให้ ดีพร้อม (คพอ.ดีพร้อม) รุ่นที่ 407” Module 5 ในวันที่ 14 มีนาคม 2567 ณ โรงแรมบ้านสวนคุณตา กอล์ฟ แอนด์ รีสอร์ท อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี โดยได้รับเกียรติจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ร่วมกันวิพากษ์แผนธุรกิจ คพอ.ดีพร้อม รุ่นที่ 407 ดังนี้ 1.ดร.ธรรมวิมล สุขเสริม ที่ปรึกษาด้านการบริหารธุรกิจ และการตลาดตำแหน่ง รองคณบดีฝ่ายบริหารคณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2.ดร.อนิรุธ สืบสิงห์ ที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรม ตำแหน่ง ผู้ช่วยผู้อำนวยการโครงการอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 3. นายสมนึก เหรียญรักวงศ์ เจ้าของโรงงาน หมูยอ ป.อุบล 4. นายธนภัฒน์ มณีสม ผู้จัดการธนาคาร SME BANK สาขาบุรีรัมย์ เจ้าหน้าที่จัดกิจกรรม น.ส.สุภาภร ศรีจันทร์นายสมเกียรติ จันทร์เพ็ญมงคลส.อ.กรุงรัตน์ อยู่คล้ำนายนิรันดร์ พรมลีนายสังวาลย์ จันทะเวช
14 มี.ค. 2567
DIPROM CENTER 7 จัดฝึกอบรม หลักสูตร “พัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมให้ดีพร้อม (คพอ.ดีพร้อม) รุ่นที่ 407” Module 5 การจัดทำแผนกลยุทธ์ธุรกิจ (Strategic Planning) ช่วงที่ 4
DAY 13-14 คพอ.ดีพร้อม รุ่นที่ 407 ✨️ นางละเอียด มธุรส ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มอบหมายให้ กลุ่มบริการธุรกิจอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ จัดฝึกอบรม หลักสูตร “พัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมให้ดีพร้อม (คพอ.ดีพร้อม) รุ่นที่ 407” Module 5 การจัดทำแผนกลยุทธ์ธุรกิจ (Strategic Planning) ช่วงที่ 4 ระหว่างวันที่ 12-13 มีนาคม 2567 ณ โรงแรมบ้านสวนคุณตา กอล์ฟ แอนด์ รีสอร์ท อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ จากคณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี นำทีม คพอ.ดีพร้อม รุ่น 407 เขียนแผนธุรกิจ โดย1.ดร.ธรรมวิมล สุขเสริม2.ดร.อนิรุธ สืบสิงห์3.ผศ.ภัทราจิตร แสงสว่าง เจ้าหน้าที่จัดกิจกรรม น.ส.สุภาภร ศรีจันทร์นายสมเกียรติ จันทร์เพ็ญมงคลส.อ.กรุงรัตน์ อยู่คล้ำนายสังวาลย์ จันทะเวช
13 มี.ค. 2567
DIPROM CENTER 7 ประชุมคณะทำงานจัดทำแผนปฏิบัติการด้านส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ครั้งที่ 2/2567 ประชุมกำกับติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน
DIPROM CENTER 7 ประชุมคณะทำงานจัดทำแผนปฏิบัติการด้านส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ครั้งที่ 2/2567 ประชุมกำกับติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานจังหวัดอุบลราชธานี วันพุธที่ 13 มีนาคม 2567 นางละเอียด มธุรส ที่ปรึกษาคณะทำงานและขับเคลื่อนแผนส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม แผนป้องกันและปราบปรามทุจริตและประพฤติมิชอบและการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้ประชุมครั้งที่ 2/2567 ณ ห้องประชุมแก่งสะพือ ชั้น 2 อาคารอำนวยการ มีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน จำนวน 11 คน ไม่เข้าร่วมประชุม 5 คน เริ่มประชุมเวลา 14.30 น. ประธานการประชุมฯ แจ้งเรื่องส่งการประเมินองค์กรคุณธรรม ตัวชี้วัดที่ 1-9 ให้จังหวัดอุบลราชธานี ภายในวันที่ 20 มิถุนายน 2567 และ ตัวชี้วัดที่ 1-6 ให้ สล.กสอ. ภายในวันศุกร์ที่ 24 พฤษภาคม 2567 รายงานการกำกับ ติดตาม ประเมินผลความก้าวหน้าโครงการ/กิจกรรม ตามแผนส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ระหว่างเดือนตุลาคม 2566 - มีนาคม 2567 ผลการติดตามและประเมินผล กิจกรรมจำนวน 14 กิจกรรม มีจำนวนที่ปฏิบัติแล้วทั้งสิ้น จำนวน 11 กิจกรรม คิดเป็นร้อยละผลสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 78.57 ได้มีการถอดบทเรียนในแต่ละกิจกรรมและนำข้อเสนอแนะที่จะดำเนินการในระยะต่อไปมาประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนา ปรับปรุงแก้ไขการดำเนินงานส่งเสริมและพัฒนาองค์กรคุณธรรมอย่างต่อเนื่อง และรายงานผลการประเมินองค์กรคุณธรรม ระดับที่ 3 องค์กรคุณธรรมต้นแบบ ตัวชี้วัดที่ 1-3 จำนวน 9/27 คะแนน
13 มี.ค. 2567