กระทรวงอุตฯ เร่งออกมาตรการด่วนฟื้นฟูเอสเอ็มอี และวิสาหกิจชุมชน หลังพายุถล่มโรงงานอีสาน สั่งการหน่วยงานในสังกัดลงพื้นที่ทันที
กรุงเทพฯ 31 กรกฎาคม 2560 - กระทรวงอุตสาหกรรม เร่งบรรเทาความเสียหายจากวิกฤตการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันในภาคอุตสาหกรรมพื้นที่ภาคเหนือและภาคอีสาน โดยมอบหมายให้หน่วยงานภายใต้สังกัด ได้แก่ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กรมโรงงานอุตสาหกรรม สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ออกมาตรการเร่งด่วนเพื่อฟื้นฟูกิจการโรงงานอุตสาหกรรม และวิสาหกิจชุมชนทันที ประกอบด้วย มาตรการการฟื้นฟูสถานประกอบการหรือโรงงานอุตสาหกรรม อาทิ มาตรการยกเว้นค่าธรรมเนียมต่าง ๆ มาตรการเชื่อมโยงโรงงานฯ และ SMEs ที่ถูกน้ำท่วมกับสินเชื่อ SMEs Bank มาตรการการลงพื้นที่ เพื่อให้คำแนะนำการป้องกัน ตลอดจนการกำหนดให้ SME Support and Rescue Center ศูนย์สนับสนุนและช่วยเหลือ SMEs เป็นศูนย์ช่วยเหลือสถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม โดยจาการติดตามสถานการณ์และการดำเนินงานอย่างใกล้ชิด พบว่า จังหวัดสกลนครเป็นพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายมากที่สุด มีสถานประกอบการและโรงงานอุตสาหกรรมของ SMEs ได้รับความเสียหายมากถึง 80 – 100 โรงงาน อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้กระทรวงฯ จะยังคงติดตามสถานการณ์และพื้นที่เฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด พร้อมด้วยพื้นที่ที่ยังคงต้องเฝ้าระวัง ได้แก่ จังหวัดนครพนม ขอนแก่น กาฬสินธุ์ และร้อยเอ็ด เพื่อการกำหนดมาตรการการช่วยเหลือระยะอื่นๆ ต่อไป นายสมชาย หาญหิรัญ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย จนทำให้เกิดภาวะน้ำป่าไหลหลาก อุทกภัยแบบฉับพลัน รวมถึงดินโคลนถล่มในหลายพื้นที่ ซึ่งขณะนี้ได้ส่งผลอย่างรุนแรงต่อการดำเนินชีวิตรวมถึงทรัพย์สินต่างๆ ที่มีความเสียหายและได้รับผลกระทบเป็นวงกว้างทั้งในส่วนของราชการและประชาชน โดยจากการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด กระทรวงอุตสาหกรรมพบว่า ภาคอุตสาหกรรมก็เป็นภาคส่วนหนึ่งที่กำลังได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก ไม่ว่าจะเป็นสถานประกอบการของผู้ประกอบการ SMEs โรงงานอุตสาหกรรม วิสาหกิจชุมชน ตลอดจนหน่วยงานและศูนย์บริการที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ จากการประเมินความเสียเบื้องต้นทราบว่า ในจังหวัดสกลนครถือเป็นพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายมากที่สุด โดยมีสถานประกอบการและโรงงานอุตสาหกรรมของ SMEs ได้รับผลกระทบถึง 80-100 โรงงาน จากจำนวนโรงงานจำพวก 2 และ 3 รวมกว่า 600 โรงงาน อีกทั้งยังมีพื้นที่ที่ยังต้องเฝ้าระวังความเสียหายอีก 4 จังหวัด คือ นครพนม ขอนแก่น กาฬสินธุ์ และร้อยเอ็ด ทั้งนี้ สามารถสรุปสถานการณ์อุทกภัยและน้ำไหลหลากปัจจุบันมี 19 จังหวัด ดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 10 จังหวัด ได้แก่ สกลนคร นครราชสีมา ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ มุกดาหาร อุบลราชธานี และอำนาจเจริญ ภาคเหนือ 5 จังหวัด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน พิษณุโลก พิจิตร สุโขทัย และอุตรดิตถ์ ภาคกลาง 2 จังหวัด ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา และลพบุรี ภาคใต้ 2 จังหวัด ได้แก่ ระนอง ชุมพร สำหรับจังหวัดสกลนคร ระดับน้ำยังมีการเพิ่มขึ้น เนื่องจากเกิดฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง ทำให้น้ำจากเทือกเขาภูพานไหลหลากลงมา ประกอบกับอ่างเก็บน้ำในพื้นที่ปริมาณน้ำสูงกว่าระดับกักเก็บน้ำ ทำให้น้ำไหลทะลักท่วมพื้นที่รวม 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองสกลนคร สว่างแดนดิน พังโคน เต่างอย กุสุมาลย์ พรรณานิคม และอากาศอำนวย ทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบ 7,863 ครัวเรือน 23,538 คน ส่วนโรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดสกลนคร มีจำนวนทั้งสิ้น 609 โรงงาน (โรงงานจำพวก 2 จำนวน 180 โรงงาน และโรงงานจำพวก 3 จำนวน 429 โรงงาน) จากอุทกภัยครั้งนี้ส่งผลกระทบต่อโรงงาน ประมาณ 100 โรงงาน คิดเป็นร้อยละ 16.42 ของจำนวนโรงงานทั้งหมด ได้แก่ โรงงานหีบน้ำมันปาล์ม โรงสีข้าว โรงงานผลิตยางเครป โรงงานผลิตเสื้อผ้า โรงกลึง โรงงานซ่อมและเคาะพ่นสี เป็นต้น สำหรับความช่วยเหลือของภาคอุตสาหกรรม ที่จะให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ประกอบด้วย รถบรรทุกขนาดใหญ่สำหรับอพยพผู้ประสบภัยออกนอกพื้นที่ 494 คัน เครื่องสูบน้ำ 151 เครื่อง เรือ 71 ลำ และเงินบริจาค จำนวน 515,500 บาท และบางรายได้บริจาคสิ่งของอุปโภคบริโภคที่จำเป็น เช่น น้ำดื่ม ข้าวสาร บะหมี่สำเร็จรูป ผ้าห่ม รองเท้าบูทยางกันน้ำ อาหารแปรรูป น้ำมันพืช นม น้ำตาลทราย น้ำผักและผลไม้ และยารักษาโรค เป็นต้น และขณะนี้ยังเปิดรับการช่วยเหลือจากผู้ประกอบการอยู่ อย่างไรก็ดี กระทรวงอุตสาหกรรม ได้ออกมาตรการช่วยเหลือเบื้องต้น ดังต่อไปนี้ มาตรการเร่งด่วน 1. สำรวจพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ และพื้นที่เฝ้าระวัง เพื่อให้คำแนะนำการป้องกันพร้อมแจกจ่ายคู่มือการป้องกันเครื่องจักรอุปกรณ์ที่จะได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติน้ำท่วม 2. การฟื้นฟูสถานประกอบการ SMEs และวิสาหกิจชุมชน โดยความร่วมจากมหาวิทยาลัยเครือข่ายและบริษัทเอกชนใหญ่ในพื้นที่ จะเข้าร่วมทำความสะอาด ตรวจเช็คเครื่องจักร ระบบไฟฟ้า และซ่อมแซมเครื่องจักรอุปกรณ์ ภายหลังน้ำลด 3. ยกเว้นค่าธรรมเนียมรายปีให้กับโรงงานอุตสาหกรรม ค่าธรรมเนียมตรวจควบคุมคุณภาพ ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต ค่าการตรวจติดตามทั้งร้านจำหน่ายและผู้ทำ ในพื้นที่จังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ส่วนระยะเวลาที่ยกเว้นกระทรวงอุตสาหกรรมจะพิจารณาตามความเหมาะสมต่อไป 4. มอบหมายศูนย์ปฏิบัติการเฉพาะกิจภายในศูนย์สนับสนุนและช่วยเหลือ SME (SME Support and Rescue Center : SSRC) ที่อยู่ภายในสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด เพื่อทำหน้าที่เป็นหน่วยประสานงานการให้ความช่วยเหลือสถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติน้ำท่วม พร้อมทั้งมอบหมายให้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นหน่วยงานกลางในการประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป 5. ลูกค้าสินเชื่อโครงการเงินทุนหมุนเวียนเพื่อการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครับและหัตถกรรมไทยของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นลูกหนี้เดิมให้มีการพักชำระหนี้ 4 เดือน ปลอดหนี้ไม่เกิน 4 เดือน โดยลดอัตราดอกเบี้ยลงเหลือร้อยละ 1 ระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อย และวิสาหกิจชุมชน ได้มีเงินทุนหมุนเวียนสำหรับนำไปพัฒนาระบบการบริหารจัดการ พัฒนาการผลิต พัฒนาผลิตภัณฑ์ ตลอดจนพัฒนาการตลาดต่าง ๆ อย่างสร้างสรรค์ มาตรการระยะกลาง 1. เชื่อมโยงโรงงานอุตสาหกรรม ผู้ประกอบการ SMEs และวิสาหกิจชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย กับสินเชื่อของ SME Bank โดยผ่อนปรนระยะเวลาชำระหนี้ และให้สินเชื่อ (สินเชื่ออุทกภัย) เพิ่มเติมในการฟื้นฟูกิจการรายละไม่เกิน 15 ล้านบาท (มาตรการที่ช่วยเหลือเพิ่มเติมให้แก่ SMEs ทั่วไป ทั้งนี้ SME Bank อยู่ระหว่างนำเสนอ สศค. กระทรวงการคลัง ขยายสินเชื่ออุทกภัยภาคใต้ วงเงิน 5,000 ล้านบาท ดอกเบี้ยต่ำ (3%) ผ่อนชำระยาวถึง 7 ปี ให้ครอบคลุม SMEs ที่ประสบอุทกภัยทั้งหมดของประเทศ) 2. ประสานไปยังผู้ประกอบการที่มีศักยภาพในพื้นที่จังหวัดที่ไม่ได้รับผลกระทบ (modern tradeทั้งหลาย) ผ่านผู้ว่าราชการจังหวัด และอุตสาหกรรมจังหวัดต่าง ๆ นำสินค้า มอก. (โดยเฉพาะข้าวของเครื่องใช้ภายในบ้าน) มาจำหน่ายในราคาพิเศษ https://goo.gl/9Z1buW
31 ก.ค. 2560
New OTOP Entrepreneurs
(PR) VDO ประมวลภาพกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการและการเพิ่มทักษะการประกอบการภายใต้โครงการ OTOP รุ่นใหม่ (New OTOP Entrepreneurs) เป็นหนึ่งโครงการที่สุดยอดมากของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นการฝึกอบรม พัฒนา Workshop ให้แก่ผู้ประกอบการ OTOP รุ่นใหม่ ให้มีการพัฒนาด้านการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์และมุมมองแนวความคิดต่างๆ โดยกิจกรรมครั้งนี้ยังมีการพาไปดูงานที่ประเทศญี่ปุ่นจังหวัดโออิตะ ซึ่งเป็นเมือง OVOP (One Village One Product) ต้นแบบของ OTOP ประเทศไทย
29 ก.ค. 2560
“ยุทธศาสตร์การวางแผนสำหรับธุรกิจครอบครัว”
ห้องสมุดศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7ขอแนะนำหนังสือน่าอ่าน“ยุทธศาสตร์การวางแผนสำหรับธุรกิจครอบครัว” เผยยุทธศาสตร์การทำธุรกิจครอบครัวให้ประสบความสำเร็จ ทั้งด้านการดำเนินธุรกิจ และความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว เขียนโดย ศาสตราจารย์ แรนเดล เอส คาร์ล๊อค และ ศาสตราจารย์ จอนห์ แอล หวอด แปลและเรียบเรียงเป็นภาษาไทยโดย คุณอนุรัตน์ ก้องธรนินทร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อุตสาหกรรมเหล็กกล้าไทย จำกัด (มหาชน) และหนังสือเล่มนี้ยังได้รับเลือกให้เป็นหนังสือประกอบหลักสูตร “การสืบทอดธุรกิจครอบครัวอย่างยั่งยืน” ซึ่งจัดโดย สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ ร่วมกับ สถาบันพัฒนาธุรกิจครอบครัว---------------------------------------------------------- ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา ธุรกิจอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม เพื่อให้มีสมรรถนะและขีดความสามารถในการประกอบการ ที่เป็นเลิศและมีความยั่งยืนสู่สากล โทรศัพท์ : (045)314135, (045)314216-7, (045)311987โทรสาร : (045)311987website : https://ipc7.dip.go.th/facebook : https://www.facebook.com/dip.ipc7----------------------------------------------------------
27 ก.ค. 2560
ห้องแสดงตัวอย่างผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการที่ผ่านมาของ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7
ห้องแสดงตัวอย่างผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการที่ผ่านมาของ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7
26 ก.ค. 2560
ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เผยขยายเวลายื่นกู้ “กองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีประชารัฐ”
ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เผยขยายเวลายื่นกู้ “กองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีประชารัฐ” วงเงิน 20,000 ล้านบาท ดอกเบี้ย 1% ในพื้นที่ 62 จว. ออกไปจนถึง 30 ก.ย.60 เพื่อขยายโอกาสเอสเอ็มอีในภูมิภาคเข้าถึงแหล่งทุนต้นทุนต่ำได้มากและทั่วถึงยิ่งขึ้น แจงคืบหน้า ยอดเต็มจำนวนแล้ว 15 จว. จำนวนกว่า 2,100 ราย ยอด 11,000 ล้านบาท นายสมชาย หาญหิรัญ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ และประธานกรรมการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว. หรือ SME Development Bank) เปิดเผยว่า ธพว. ในฐานะหน่วยงานร่วมในการบริหารงานโครงการกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ ร่วมกับ กระทรวงอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ได้ลงพื้นที่จัดงาน “คลินิกเอสเอ็มอีสัญจรตามแนวประชารัฐ” เพื่อขับเคลื่อนมาตรการช่วยเหลือ SMEs ผ่านกองทุนต่างๆ วงเงินรวม 38,000 ล้านบาท แบ่งเป็น กองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ วงเงิน 20,000 ล้านบาท สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำของ ธพว. วงเงิน 15,000 ล้านบาท กองทุนฟื้นฟูเอสเอ็มอี และกองทุนพลิกฟื้นของ สสว. วงเงิน 2,000 ล้านบาท และ 1,000 ล้านบาท ตามลำดับ สำหรับความคืบหน้าของการดำเนินงานกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ ขณะนี้ มีผู้ประกอบการ SMEs ที่ประสงค์ยื่นคำขอสินเชื่อ ผ่านทางสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด จำนวน 2,191 ราย วงเงิน 11,056 ล้านบาท ผู้ประกอบการยื่นคำขอสินเชื่อผ่านทาง ธพว. จำนวน 1,543 ราย วงเงิน 7,377 ล้านบาท ส่วนจังหวัดที่มีผู้ประกอบการยื่นคำขอสินเชื่อเต็มวงเงินแล้ว มีทั้งหมด 15 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ ขอนแก่น เชียงใหม่ ชลบุรี อุดรธานี ปทุมธานี สุรินทร์ สุโขทัย ปราจีนบุรี เชียงราย ศรีสะเกษ ประจวบคีรีขันธ์ นครปฐม ร้อยเอ็ด และ กาญจนบุรี ซึ่งกองทุนปิดรับคำขอกู้ไปแล้ว ทั้งนี้ เพื่อขยายโอกาสสำหรับ SMEs ที่ต้องการเข้าถึงสินเชื่อกองทุนฯ ดังกล่าว สำหรับจังหวัดที่ยังมีวงเงินคงเหลือนั้น จะดำเนินการ ขยายระยะเวลาปล่อยกู้ไปจนถึง 30 กันยายน 2560 รวม 62 จังหวัด ได้แก่ เพชรบูรณ์ เพชรบุรี พังงา สิงห์บุรี นราธิวาส ยะลา ตราด ชัยนาท ตาก นนทบุรี ปัตตานี สมุทรสาคร มหาสารคาม ระยอง สุพรรณบุรี นครพนม สมุทรปราการ สระแก้ว บึงกาฬ ภูเก็ต สงขลา กำแพงเพชร สกลนคร หนองบัวลำภู อ่างทอง บุรีรัมย์ ยโสธร นครศรีธรรมราช ชุมพร จันทบุรี ลพบุรี นครสวรรค์ นครนายก อุทัยธานี พัทลุง หนองคาย ตรัง ชัยภูมิ อุตรดิตถ์ อุบลราชธานี สมุทรสงคราม พิจิตร ราชบุรี ลำพูน นครราชสีมา กาฬสินธุ์ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ระนอง น่าน เลย สตูล มุกดาหาร ฉะเชิงเทรา อยุธยา สุราษฎร์ธานี สระบุรี พิษณุโลก กระบี่ พะเยา แพร่ และ อำนาจเจริญ ???? ขยายเวลายื่นกู้ “กองทุนพัฒนาSMEประชารัฐ” เพิ่มโอกาสธุรกิจภูมิภาคถึงแหล่งทุนดอก 1% ???? “รัฐบาลต้องการให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี โดยเฉพาะรายเล็กๆ เข้าถึงแหล่งทุนดอกเบี้ยต่ำ ดังนั้น ขอเชิญชวนผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติครบตามกำหนด และมีธุรกิจอยู่ในกลุ่มยุทธศาสตร์ของแต่ละจังหวัดที่ยังเปิดรับทั้ง 62 จังหวัดดังกล่าว ที่ประสงค์ยื่นคำขอสินเชื่อโครงการกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ เร่งเข้ามาติดต่อได้ที่สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดทั่วประเทศในเขตพื้นที่ของท่าน หรือ ศูนย์สนับสนุนและช่วยเหลือเอสเอ็มอี (SME Support & Rescue Center) หรือโทรติดต่อ Call Center 1358 หรือ 02-202-3265, 02-202-3767” นายสมชาย ระบุ ???? สำหรับกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ มีเงื่อนไขอัตราดอกเบี้ยเพียงร้อยละ 1 ต่อปี ตลอดอายุสัญญา ระยะเวลาชำระคืน 7 ปี ปลอดชำระคืนเงินต้นสูงสุด 3 ปี ไม่ต้องมีหลักประกัน ให้กู้สูงสุด 10 ล้านบาทต่อราย
21 ก.ค. 2560
กสอ.เตรียมเปิดศูนย์ ITC อัพเกรด SME ไทยผลิตสินค้ามูลค่าสูง
กสอ.เตรียมเปิดศูนย์ ITC อัพเกรด SME ไทยผลิตสินค้ามูลค่าสูง กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) เผยความพร้อมการจัดตั้งศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่อนาคต (Industry Transformation Center : ITC) ศูนย์ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้วยน วัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ที่มีมูลค่าสูง โดยศูนย์ดังกล่าวประกอบด้วยฟังก์ชั่นบริการ 4 ส่วน ได้แก่ ITC Match, ITC Innovate, ITC Share และ ITC Fund โดยการส่งเสริมทั้งหมดเหล่านี้จะถูกบรรจุเป็นการบริการในรูปแบบต่างๆ ที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการของผู้ประกอบการภายในศูนย์ ITC บนพื้นที่ซอยตรีมิตร ถนนพระราม 4 คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในราวเดือนสิงหาคม 2560 ภายใต้งบประมาณ 924 ล้านบาท ดร.พสุ โลหารชุน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ตามที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้รับมอบหมายจากรัฐบาลและกระทรวงอุตสาหกรรมในการรับผิดชอบโครงการปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่ยุคประเทศไทย 4.0 (Industry Transformation for Thailand 4.0) พร้อมด้วยการจัดตั้งศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่อนาคต (Industry Transformation Center : ITC) เพื่อรองรับกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ที่เกิดขึ้นในภาคอุตสาหกรรมนั้น ขณะนี้ได้มีความคืบหน้าเกี่ยวกับความพร้อมในการให้บริการของศูนย์ฯรวมทั้งหน่วยงานและระบบปฏิบัติการสำหรับส่งเสริมผู้ประกอบการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยหลังจากนี้ กสอ.จะเร่งการประชาสัมพันธ์พร้อมสร้างการรับรู้อย่างกว้างขวางให้เกิดขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายให้ผู้ประกอบการได้เห็นความสำคัญของการปฏิวัติสินค้าและบริการด้วยงานวิจัยและนวัตกรรมขั้นสูงเพื่อผลักดันไปสู่ การต่อยอดในเชิงพาณิชย์ โดยจะนำมาซึ่งมูลค่าทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายที่รัฐบาลได้วางเอาไว้ สำหรับรูปแบบการทำงานของศูนย์ฯ จะไม่ได้ทำงานแค่เพียงลำพังเท่านั้น แต่จะเป็นศูนย์กลางที่ดึงหลากหลายหน่วยงานที่มีความชำนาญทางด้านการออกแบบและวิศวกรรมจากสถาบัน เครือข่ายผู้ประกอบการ สมาคมอุตสาหกรรมสนับสนุนต่างๆ มาให้บริการแก่ภาคเอกชน โดยในเบื้องต้นได้รับความร่วมมือทั้ง สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สถาบันพลาสติก สถาบันไทย-เยอรมัน สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย ซึ่งจะร่วมกันพัฒนาส่งเสริมด้วยกิจกรรมหลัก ได้แก่ 1.กิจกรรมปฏิรูปนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สำหรับอุตสาหกรรม มุ่งเน้นการปฏิรูปผลิตภัณฑ์ไปสู่อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น เช่น อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์อุตสาหกรรมชิ้นส่วนอากาศยาน อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ 2.กิจกรรมปฏิรูปกระบวนการผลิตด้วยระบบเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับอุตสาหกรรมและการพัฒนาโรงงานแห่งการเรียนรู้ ซึ่งจะมุ่งเน้นการนำโปรแกรม อุปกรณ์เครื่องมือ หรือนวัตกรรมขั้นสูงต่าง ๆ เข้าไปเปลี่ยนแปลงหรือใช้ในระบบการผลิตที่สอดคล้องกับ Global Value Chain รวมทั้งการวางระบบพัฒนาบุคลากร การปรับปรุงสถานที่ที่มีความทันสมัย ตลอดจนสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ โดยใช้ต้นแบบจากผู้นำทางด้านอุตสาหกรรมทั้งในและต่างประเทศให้เกิดขึ้นในสถานประกอบการ โดยทั้ง 2 กิจกรรมหลักนี้ เบื้องต้นได้วางกรอบงบประมาณภาย ใต้โครงการปฏิรูปอุตสาหกรรมประเทศไทยสู่ยุค 4.0924 ล้านบาท ในการพัฒนาทั้งผู้ประกอบการ บุคลากรที่เกี่ยวข้อง สถานประกอบการ และผลิตภัณฑ์ โดยมีระยะเวลาการดำเนินงานภายใน 5 ปี ดร.พสุ กล่าวว่า สำหรับฟังก์ชั่นบริการของศูนย์ ITC มีองค์ประกอบ 4 ส่วน ได้แก่ ITC Match ศูนย์กลางการสร้างเครือข่ายความ ร่วมมือระหว่างผู้นำอุตสาหกรรมระดับโลกและระดับประเทศและเครือข่าย SMEs ไทย เพื่อให้บริการความร่วมมือทางธุรกิจ การพบปะและหารือกับ LEs หรือ SMEs ของไทยเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยี ชักจูงให้เกิดการลงทุนในศูนย์ฯ เพื่อพัฒนาให้ SMEs มีศักยภาพเพิ่มขึ้น ITC Innovate ศูนย์สาธิตและฝึกอบรมร่วมระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในการรับและถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ระหว่าง Global Players และ SMEs รวมถึงการพัฒนาและบ่มเพาะให้เกิดงานวิจัยและต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ในการรับและถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ นอกจากนี้ ยังมีเครื่องจักรที่ช่วยขึ้นรูปงานต้นแบบด้วยเทคโนโลยี 3D Printer Haptic systemสามารถรองรับการบริการให้กับ SMEs และ Startup ITC Share แหล่งรวมบริการเครื่องมือเครื่องจักรต่างๆ ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ และกำลังคนที่มีทักษะสูงเพื่อสรรค์สร้างนวัตกรรม โดยจัดให้มี Co-Working Space ให้คนเข้ามาติดต่อใช้บริการ Inspiration Galley การแสดงผลงานที่ประสบความสำเร็จ Workshop ให้คนมาสร้างต้นแบบ Learning Factory ให้คนมาทดลองเรียนรู้นวัตกรรมและเทคโนโลยี ITC Fund ศูนย์บริการโปรแกรมและนโยบายสนับสนุนทางการเงิน ผ่านช่องทางต่างๆ จากภาครัฐภาคเอกชนสู่ SMEs เพื่อเชื่อมโยงนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ โดยทั้ง 4 แพลตฟอร์มจะถูกบรรจุเป็นการบริการในรูปแบบต่างๆ ในศูนย์ปฏิบัติการ ITC ซึ่งประกอบไปด้วย 1.อาคารต้นคิดสตูดิโอ อาคารเพื่อการรับและถ่ายทอดเทคโ นโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ ระหว่าง Global Players และ SMEs พร้อมด้วย Co-Working Space ภายในอาคารที่ให้ผู้ใช้บริการสามารถใช้พื้นที่ทำงานได้ 2.อาคารต้นกล้าสตูดิโอ อาคารสำหรับแสดงผลงาน หรือจัดนิทรรศการนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีใหม่ๆ 3.อาคารปฏิบัติการ Shop A และ Shop B ศูนย์รวบรวมเครื่องจักรและระบบต่างๆ ที่สำคัญในการต่อยอดงานต้นแบบด้วยการผลิตสินค้าทดลองในตลาดได้ โดยศูนย์จัดตั้งอยู่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ซอยตรีมิตรถนนพระรามที่ 4 ซึ่งใกล้เคียงกับหน่วยงานสถาบัน เครือข่าย อาทิ สถาบันพลาสติก สถาบันสิ่งทอสถาบันไทย-เยอรมัน สถาบันยานยนต์ สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย นอกจากนี้บริเวณรอบๆ ยังมีหน่วยงานเอกชนที่เกี่ยวข้องกับภาคอุตสาหกรรมตั้งอยู่ โดยการรวมตัวที่เกิดขึ้นจะช่วยเอื้อประโยชน์และความสะดวกต่อการดำเนินงานในบางประเภทได้อย่างมีนัยสำคัญ ดร.พสุ กล่าวว่า ความพร้อมในการเปิดให้บริการ ในขณะนี้ได้ดำเนินกิจกรรมการเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการ SMEs ในการเข้าสู่อุตสาหกรรมใหม่ที่มีศักยภาพ จำนวน 95 ราย ในสาขาหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ 70 ราย (เพิ่มผลิตภาพด้วยหุ่นยนต์) ชิ้นส่วนอากาศยาน 10 ราย (มาตรฐาน AS9100) และเครื่องมือแพทย์ 15 ราย (ต่อยอดนวัตกรรม) ตลอดจนการเชื่อมโยงนักวิจัยและเตรียมการกับ Global Player (AGP และ MEDIANA) จำนวน 6 รายโดยเบื้องต้นคาดว่าศูนย์ฯ และบริการต่าง ๆ จะแล้วเสร็จภายในเดือนสิงหาคม 2560 และคาดว่าน่าจะพร้อมเปิดให้บริการแก่ผู้ประกอบการ นักวิจัย และบุคคลทั่วไปเข้ามาใช้บริการได้ในช่วงเดือนสิงหาคมนี้ นอกจากนี้ จากแผนพัฒนาโครงการฯ ในระยะเวลา 5 ปี กสอ.คาดว่าการส่งเสริมจากศูนย์ ITC นั้นจะเป็นส่วนช่วยให้เกิดการพัฒนาทางด้านบุคลากรรองรับการปฏิรูปอุตสาหกรรมศักยภาพได้อย่างน้อยจำนวน 14,000 คน สามารถนำเอาความรู้ไปพัฒนาองค์กรของตนให้เข้าสู่อุตสาหกรรมศักยภาพใหม่ได้ร้อยละ 40 มีการพัฒนาสถานประกอบการได้อย่างน้อย 430 กิจการ สามารถปรับปรุงกระบวนการผลิตให้เป็นระบบ Digital ได้ร้อยละ 80 และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 1,720 ล้านบาท หรือประมาณ 4 ล้านบาทต่อ กิจการและสามารถพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์นวัตกรรมสู่เชิงพาณิชย์จะเกิดขึ้นไม่ต่ำกว่า 125 ผลิตภัณฑ์ และต่อยอดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจ ได้กว่า 250 ล้านบาท รวมถึงเกิดความร่วมมือในการเข้าไปให้ความช่วยเหลือแก่ผู้รับบริการจากหน่วยงานเครือข่ายต่างๆ ในการสนับสนุนการวิจัย ฯลฯ อย่างไรก็ดี ศูนย์ ITC ยังได้ใช้งบประมาณบางส่วนของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมในปี 2560 ในการเตรียมความพร้อมสถานประกอบการเพื่อการเข้าสู่อุตสาหกรรมใหม่ที่มีศักยภาพ (Pre-Transformation) และเพื่อผลิตชิ้นงานต้นแบบและผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ต่อยอดได้ในทางอุตสาหกรรมภายใต้งบประมาณ 153.4 ล้านบาทไปส่วนหนึ่งแล้ว โดยได้แบ่งใช้ในการพัฒนาในอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์และสุขภาพ อุตสาหกรรมชิ้นส่วนอากาศยานและขนส่งระบบราง อุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมพลาสติกวิศวกรรมและไบโอพลาสติก โดยเบื้องต้นได้เกิดชิ้นงานและตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาและพร้อมต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์แล้ว อาทิ OXYGEN HOOD - อุปกรณ์การให้ออกซิเจนชนิดครอบศีรษะ,Cancer Mask – หน้ากากยึดจับสำหรับผู้ป่ วยมะเร็ง, Spacer-อุปกรณ์ช่วยพ่นยาโรคหอบหืดColostomy Bag - ชุดอุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายทวารเทียม, Flat Feet Insole แผ่นรองเท้าสำหรับผู้ป่วยโรคเท้าแบน เป็นต้น สำหรับผู้ประกอบการหรือผู้ที่สนใจรายละเอียด สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ซอยตรีมิตร ถนนพระรามที่ 4 กรุงเทพฯ โทรศัพท์ 02-367-8100 หรือเข้าไปที่ www.dip.go.th https://goo.gl/Ti3uD2
11 ก.ค. 2560
Industry Expo 2017 วันที่ 25 - 30 กรกฎาคม 2560
Industry Expo 2017 จากความสำเร็จของการจัดงาน Thailand Industry Expo 2016 มหกรรมซื้อของไทย ใช้ของดี ในปีที่ผ่านมา กระทรวงอุตสาหกรรมเห็นว่าการจัดงานดังกล่าวเป็นประโยชน์ ทั้งต่อภาคธุรกิจ และภาคประชาชน รวมทั้งยังเป็นเวทีสำคัญของกระทรวงอุตสาหกรรมในการสื่อสาร และเผยแพร่องค์ความรู้ต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ และประชาชนผู้สนใจทั่วไป ในปีนี้จึงมีการจัดงาน Thailand Industry Expo ขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ ๔ สำหรับงาน Thailand Industry Expo 2017 จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “อุตสาหกรรม ๔.๐ ขับเคลื่อนอนาคตไทย” Thailand Industry 4.0 : Shift Our Future กระทรวงอุตสาหกรรมมีความตั้งใจที่จะต่อยอดและขยายผลความสำเร็จของงานไปสู่ระดับนานาชาติมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ในปีนี้จึงจัดให้มีพื้นที่ International Pavilion ขึ้น เพื่อเป็นการขยายโอกาสทางธุุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการไทยในการพบปะเจรจาการค้า การลงทุนกับคู่ค้าต่างประเทศ งาน Thailand Industry Expo 2017 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 25 - 30 กรกฎาคม 2560 ณ อาคารชาเลนเจอร์ 1 - 3 อิมแพ็ค เมืองทองธานี
03 ก.ค. 2560
คู่มือ การเริ่มต้น ธุรกิจ SMEs โดย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
หนังสือแนะนำคู่มือ การเริ่มต้น ธุรกิจ SMEsโดย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หนังสือเล่มนี้รวบรวมเกี่ยวกับแนวทางการบริหารธุรกิจ โดยเริ่มต้นตั้งแต่การประเมินโอกาสในการทำธุรกิจการบริหารการตลาด การจัดการผลิต การบริหารการเงิน และการบริหารงานบบุคลากรอย่างมืออาชีพตลอดจนถึงการพัฒนาธุรกิจไปสู่การเป็นองค์กรระดับโลก มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเหมาะสำหรับผู้ที่สนใจจะเป็นเจ้าห้องธุรกิจเอง หรือผู้ที่มีธุรกิจอยู่แล้วและต้องการปรับปรุงประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานวิสาหกิจชุมชน ณ ห้องสมุดศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 อุบลราชธานี
03 ก.ค. 2560
ครม.ไฟเขียวเว้นเก็บภาษีเอสเอ็มอีใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เสริมธุรกิจ
ครม.ไฟเขียวเว้นเก็บภาษีเอสเอ็มอีซื้อหรือจ้างทำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สูงสุด 1 แสนบาท ในรอบระยะเวลาบัญชี 1 ม.ค. 60 ถึง 31 ธ.ค. 62 ภาครัฐยอมเสีย 800 ล้านแลกจูงใจเอสเอ็มอีใช้โปรแกรมเพิ่มศักยภาพธุรกิจ และเข้าสู่ฐานข้อมูลภาครัฐมากขึ้น เมื่อวันที่ 27 มิ.ย.ที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) ออกตามความในประมวลรัษฎากร เพื่อเป็นมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการบริหารจัดการธุรกิจ สำหรับสาระสำคัญของร่าง พ.ร.ฎ.ฉบับนี้ กำหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทุนชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท หรือมีรายได้จากการขายสินค้าและการให้บริการวนรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 30 ล้านบาท สำหรับเงินได้เป็นจำนวน 100% ของรายจ่ายที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหรือจ้างทำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยได้ซื้อหรือจ้างทำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือได้ใช้บริการโปรแกรมคอมพิวเตอร์จากผู้ขายหรือผู้รับจ้างที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) เฉพาะในส่วนที่ไม่เกิน 1 แสนบาท สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 ม.ค. 60 แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธ.ค. 62 ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าวคาดว่ารัฐจะสูญเสียรายได้ประมาณ 800 ล้านบาทในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี แต่จะเป็นแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs มีการนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มศักยภาพในการดำเนินกิจการและสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน อีกทั้งยังทำให้ข้อมูลของผู้ประกอบการ SMEs เข้าสู่ระบบฐานข้อมูลภาครัฐมากขึ้น ซึ่งรัฐสามารถนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ในการกำหนดมาตรการหรือกลไกในการส่งเสริมและสนับสนุนด้านต่างๆ อ้างอิง https://goo.gl/N75Lwy
03 ก.ค. 2560
กสอ.ชี้ตลาด CLMV ขุมทอง ผปก.ไทยยังฮอต โตต่อเนื่อง 9.5% รวม 3 ปีซ้อน
นายพรเทพ การศัพท์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ชี้ตลาด CLMV ยังเติบโตต่อเนื่อง เผยภาคการส่งออกใน 3 ปีล่าสุดขยายตัวเฉลี่ยสูงถึง 9.5% ขณะที่พม่า กัมพูชา และลาว รุกพัฒนาความเป็นเมืองและความทันสมัยของประเทศมากขึ้น ส่งผลอุตสาหกรรมก่อสร้างและสินค้าจากไทยยังเป็นที่ต้องการอย่างสูง พร้อมแนะตลาดสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) ก็น่าสนใจไม่แพ้กัน นายพรเทพ การศัพท์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ตลาด CLMV ถือได้ว่าเป็นตลาดที่มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับประเทศไทย โดยมีความสำคัญเทียบเท่ากับประเทศพันธมิตรด้านอุตสาหกรรมอันดับต้นๆ ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ประเทศจีน ประเทศญี่ปุ่น รวมทั้งกลุ่มประเทศอาเซียนเดิม (อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ บรูไน ฟิลิปปินส์) สำหรับสถานการณ์ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับกลุ่มประเทศ CLMV นั้นถือว่ามีทิศทางที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในด้านการส่งออกสินค้าที่มีการขยายตัวในระดับ 7-8% ทุกปี และเมื่อพิจารณาในช่วง 3 ปีล่าสุดที่ผ่านมานี้ยังพบอีกว่ามีการขยายตัวเฉลี่ยสูงถึง 9.5% (ที่มา : ศูนย์ข้อมูลธนาคารไทยพาณิชย์) ทั้งนี้ จากข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของปี 2559 ยังชี้ให้เห็นอีกว่าพม่ามีอัตราการเติบโตของ GDP อยู่ที่ 8.5% กัมพูชา 7.2% ลาว 7.5% และเวียดนาม 6.3% (ที่มา : ข้อมูลโดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ) มีมูลค่าการนำเข้าสินค้าจากไทยอยู่ที่ 4.15, 4.6, 3.9 และ 9.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ (ที่มา : ข้อมูลจาก Trade statistics for international business development) โดยการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องเหล่านี้ยังทำให้ CLMV ติดอันดับอยู่ในกลุ่ม 15 ประเทศที่จะมีอัตราการเติบโตเร็วที่สุดในโลกในอีก 10 ปีข้างหน้า นอกจากนี้ยังมีความพร้อมในด้านทรัพยากร เสถียรภาพทางการเมือง ช่องทางการตลาดที่ขยายขึ้น ซึ่งไทยต้องเร่งสร้างความร่วมมือให้ครบทุกมิติเพื่อที่ในอนาคตจะได้ก้าวสู่การเป็นผู้นำในระดับมหภาคต่อไป นายพรเทพกล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับโอกาสของผู้ประกอบการ SMEs ไทยในการลงทุน ร่วมทุน และขยายสินค้าไปยังกลุ่ม CLMV ในปี 2560 นี้ พบว่าในประเทศพม่าและกัมพูชามีความต้องการอุตสาหกรรมก่อสร้างและสินค้าที่เกี่ยวข้อง เช่น สุขภัณฑ์ อุปกรณ์เพื่อการสาธารณูปโภค เครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างสูง เนื่องจากพม่ากำลังอยู่ในจุดของการพัฒนาและเปิดประเทศ กัมพูชาเริ่มขยายสู่ความเป็นเมือง โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของสิ่งก่อสร้างและศูนย์การค้ารองรับชาวต่างชาติ นอกจากนี้ ผู้ประกอบการไทยยังได้รับอานิสงส์จากมาตรการการอนุญาตให้ชาวต่างชาติลงทุน 4 ธุรกิจในพม่า ได้แก่ ปุ๋ย เมล็ดพันธุ์พืช ยาฆ่าแมลง และเครื่องมืออุปกรณ์การแพทย์ รวมทั้งโอกาสในการพัฒนาการร่วมค้าและลงทุนในอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตรในกัมพูชาที่ขณะนี้ประเทศดังกล่าวกำลังให้ความสำคัญอย่างมาก ซึ่งไทยเองถือได้ว่ามีความเชี่ยวชาญในด้านดังกล่าวเป็นอย่างดี ขณะที่ สปป.ลาว พบว่าสินค้าอุตสาหกรรมพื้นฐานที่ลาวยังต้องพึ่งพิงจากไทยสูงสุด ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป รถยนต์และส่วนประกอบ เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ สินค้าปศุสัตว์ และเคมีภัณฑ์ นอกจากนี้ สินค้าไลฟ์สไตล์และแฟชั่นรวมทั้งกลุ่มธุรกิจประเภทแฟรนไชส์และธุรกิจการบริการก็ได้เริ่มเข้ามามีบทบาทต่อผู้บริโภคชาวลาวมากขึ้น โดยมาจากการเริ่มผันตัวสู่วิถีชีวิตของการเป็นสังคมเมือง รวมทั้งการเข้ามาของตลาดโมเดิร์นเทรดและช่องทางการค้าออนไลน์ ซึ่งในอนาคตคาดว่าช่องทางเหล่านี้จะมีอิทธิพลต่อผู้บริโภคในกลุ่มดังกล่าวอย่างสูง ส่วนทางด้านประเทศเวียดนาม ถือได้ว่าเป็นทั้งประเทศคู่ค้าและคู่แข่งสำหรับไทย เนื่องจากมีความคล้ายคลึงกันทั้งกลุ่มตลาดส่งออกที่สำคัญเช่นเดียวกัน มีศักยภาพในด้านการเป็นฐานการผลิต โดยเฉพาะการผลิตสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออกสูง แต่อย่างไรก็ตาม แม้หลายฝ่ายจะมองว่าเวียดนามเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวโดยเฉพาะในเรื่องต้นทุน แต่ไทยเองก็ยังมีความได้เปรียบที่สูงกว่าทั้งในเรื่องคุณภาพของสินค้า กระบวนการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง โดยเฉพาะในกลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์ อาหารแปรรูป และอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งความสามารถในการเข้าสู่ช่องทางตลาดที่ไทยมีมากกว่า ดังนั้น ไทยต้องสร้างจุดแข็งด้วยความได้เปรียบดังกล่าวเพื่อยกระดับให้สินค้าไทยมีความยากที่จะแข่งขัน พร้อมผลักดันสู่ตลาดระดับบนได้ต่อไป นายพรเทพกล่าวเสริมว่า อีกหนึ่งตลาดที่มีความน่าสนใจการขยายสินค้าและน่าลงทุนสำหรับผู้ประกอบการไทยในขณะนี้ ได้แก่ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ หรือ UAE ซึ่งในปีที่ผ่านมามีมูลค่าการนำเข้าสินค้าจากไทย 2.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ และเป็นประเทศคู่ค้าอันดับหนึ่งในเขตตะวันออกกลางของไทย รวมทั้งเป็นศูนย์กลางที่สามารถส่งต่อสินค้าไปยังประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคได้ ความน่าสนใจของ UAE ยังอยู่ที่รัฐบาลของประเทศดังกล่าวได้พยายามส่งเสริมการค้าการลงทุน รวมทั้งสนับสนุนให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนในเขตเศรษฐกิจเสรีทั้งในรูปแบบการลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิต และการใช้ UAE เป็นฐานการกระจายสินค้า สำหรับสินค้า 5 อันดับแรกของปี 2559 ที่ UAE นำเข้าจากไทยมากที่สุด ได้แก่ รถยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ อุปกรณ์เครื่องจักรกล อัญมณีและเครื่องประดับ อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์จากไม้ นอกจากนี้ ตลาดอาหารและเครื่องดื่มใน UAE และตะวันออกกลางยังถือว่าเป็นตลาดที่มีความน่าสนใจ โดยมีปัจจัยส่งเสริมทั้งจากความต้องการอาหารตามมาตรฐานฮาลาลในปริมาณที่สูง ความสามารถในการผลิตอาหารที่อยู่ในระดับต่ำของ UAE และตะวันออกกลาง การใช้จ่ายค่าอาหารต่อหัวที่สูงกว่าไทยถึง 2.4 เท่า การเป็นประเทศที่มีผลผลิตและวัตถุดิบทางการเกษตรในปริมาณต่ำ ตลอดจนการประสบปัญหาน้ำหนักตัวของคนในภูมิภาคที่สูงเกินมาตรฐานที่เป็นช่องทางในการขยายกลุ่มอาหารประเภทฟังก์ชันและอาหารเพื่อสุขภาพไปยังร้านสะดวกซื้อหรือโมเดิร์นเทรดที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมากในขณะนี้ อ้างอิง https://goo.gl/1P4KHt
03 ก.ค. 2560